Dietary supplement ม อ นตรายต อต บหร อไม

JESSIE MIND (เจสซี่ ไมน์ด) BY JESSIE MUM

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT)

1 กล่อง บรรจุ 20 แคปซูลมีส่วนประกอบจาก เลซิติน ที่มาจากสารสกัดจากธรรมชาติ (Lecithin)วิธีการรับประทาน : รับประทานวันละ 2 แคปซูล หลังอาหารเช้าหรือเย็นเลซิตินเหมาะสำหรับ -มีส่วนช่วยให้การอุดตันท่อน้ำนมลดลง -มีส่วนช่วยให้เผาผลาญไขมัน -มีส่วนช่วยให้สร้างเยื่อบุผิวของเซลล์ -มีส่วนช่วยให้ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล -มีส่วนช่วยให้สร้างสาระสำคัญต่างๆ ในร่างกาย -มีส่วนช่วยในการดูดซึมวิตามินได้รับเลขสารบบอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เลขที่ 67-1-18762-5-0177 โรงงานได้รับการรับรองระบบประกันคุณภาพ GHPs และ HACCP สำหรับการผลิต ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จาก บริษัท เอชซีแอนด์พีอาร์ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด

Jessiemum

JessieM #อาหารเสริมสำหรับผู้หญิง #อาหารเสริมคุณแม่ #อาหารเสริมเพิ่มน้ำนม #เพิ่มน้ำนมแม่ #เสริมน้ำนมแม่

วิตามินมีความสำคัญต่อร่างกายทุกช่วงอายุ ช่วยการทำงานของทุกระบบในร่างกาย ทุกคนจึงต้องได้รับวิตามินอย่างเพียงพอ ส่วนใหญ่ร่างกายได้รับวิตามินมาจากอาหาร มีเป็นส่วนน้อยที่ร่างกายสร้างได้ ผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับวิตามินไม่เพียงพอควรบริโภควิตามินเสริม มีผลิตภัณฑ์ประเภทวิตามินชนิดที่ให้เสริมอาหารออกวางจำหน่ายมากมาย ผู้บริโภคอาจได้รับวิตามินซ้ำซ้อนจนมากเกินและเกิดอันตราย โดยเฉพาะวิตามินชนิดที่ละลายได้ในไขมัน ในบทความนี้ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มและชื่อเรียกวิตามิน (ช่วยให้เกิดความเข้าใจและลดความซ้ำซ้อนในการบริโภค), ความสำคัญของวิตามินและปริมาณที่ร่างกายควรได้รับ, สาเหตุของการบริโภควิตามินมากเกิน, อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกิน และข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินมากเกินจนเกิดอันตราย

การแบ่งกลุ่มและชื่อเรียกวิตามิน

วิตามินมีมากมาย ชื่อเรียกที่ต่างกันอาจเป็นวิตามินชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันแต่มีฤทธิ์รวมถึงผลเสียที่เหมือนกัน การรู้ถึงชื่อเรียกวิตามินชนิดต่าง ๆ ช่วยให้เกิดความเข้าใจและลดความซ้ำซ้อนในการบริโภควิตามินชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันแต่มีฤทธิ์ที่เหมือนกัน วิตามินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้

1. กลุ่มวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน (fat-soluble vitamins) ได้แก่ วิตามินเอ (vitamin A) ซึ่งครอบคลุมถึงเรตินอล (retinol), เรตินาล (retinal), เรตินิลเอสเทอร์ (retinyl esters), เรติโนอิกแอซิด หรือกรดเรติโนอิก หรือกรดวิตามินเอ (retinoic acid) และยังอาจครอบคลุมถึงสารกลุ่มที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ (provitamin A) คือกลุ่มแคโรทินอยด์ (carotenoids) เช่น เบตาแคโรทีน (beta-carotene) สารเหล่านี้จัดเป็นพวกวิตามินเอและมีฤทธิ์เหมือนกัน หากบริโภคซ้ำซ้อนจะทำให้ได้รับมากเกินและเป็นอันตรายได้, วิตามินดี (vitamin D) หรือชื่ออื่นคือกลุ่มแคลซิเฟอรอล (calciferols) ซึ่งครอบคลุมถึงวิตามินดี 2 (vitamin D2) หรือชื่ออื่นคือเออร์โกแคลซิเฟอรอล (ergocalciferol) ที่ได้จากอาหาร และวิตามินดี 3 (vitamin D3) หรือชื่ออื่นคือโคเลแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol) ที่ได้จากอาหารและสร้างที่ผิวหนังเมื่อได้รับแสงแดด, วิตามินอี (vitamin E) ซึ่งส่วนใหญ่หมายถึงสารพวกโทโคฟีรอล (tocopherols) เช่น แอลฟา-โทโคฟีรอล (alpha-tocopherol) และวิตามินเค (vitamin K) ซึ่งในธรรมชาติอยู่ในรูปวิตามินเค 1 (vitamin K1) หรือชื่ออื่นคือฟิลโลควิโนน (phylloquinone) ได้จากผักใบเขียว และวิตามินเค 2 (vitamin K2) หรือชื่ออื่นคือเมนาควิโนน (menaquinone) ได้จากอาหารที่มาจากสัตว์ อาหารหมัก และสร้างโดยแบคทีเรียในลำไส้

2. กลุ่มวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ (water-soluble vitamins) ได้แก่ กลุ่มวิตามินบีรวม (vitamin B complex) ซึ่งมีมากมาย ได้แก่ วิตามินบี 1 (vitamin B1) หรือชื่ออื่นคือไทอะมีน (thiamine) หรือไทอะมิน (thiamin), วิตามินบี 2 (vitamin B2) หรือชื่ออื่นคือไรโบฟลาวิน (riboflavin), วิตามินบี 3 (vitamin B3) ซึ่งครอบคลุมถึงไนอะซิน (niacin) หรือชื่ออื่นคือนิโคตินิกแอซิดหรือกรดนิโคตินิก (nicotinic acid), ไนอะซินาไมด์ (niacinamide) หรือชื่ออื่นคือนิโคตินาไมด์ (nicotinamide) และมีสารอื่นอีก, วิตามินบี 5 (vitamin B5) หรือชื่ออื่นคือแพนโททินิกแอซิดหรือกรดแพนโททินิก (pantothenic acid), วิตามินบี 6 (vitamin B6) ในธรรมชาติพบในรูปไพริดอกซีน (pyridoxine) หรือชื่ออื่นคือไพริดอกซอล (pyridoxol ซึ่งมีโครงสร้างเป็นแอลกอฮอล์), ไพริดอกซามีน (pyridoxamine ซึ่งมีโครงสร้างเป็นอะมีน) และไพริดอกซาล (pyridoxal ซึ่งมีโครงสร้างเป็นอัลดีไฮด์), วิตามินบี 7 (vitamin B7) หรือชื่ออื่นที่คุ้นเคยคือไบโอติน (biotin), วิตามินบี 9 (vitamin B9) ซึ่งครอบคลุมถึงโฟเลต (folate) พบในธรรมชาติ และโฟลิกแอซิดหรือกรดโฟลิก (folic acid) เป็นสารสังเคราะห์เพื่อใช้แทนโฟเลต, วิตามินบี 12 (vitamin B12) หรือชื่ออื่นคือไซยาโนโคบาลามิน (cyanocobalamin), และวิตามินซี (vitamin C) หรือชื่ออื่นคือแอสคอร์บิกแอซิดหรือกรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid)

ความสำคัญของวิตามินและปริมาณที่ร่างกายควรได้รับ

วิตามินมีความสำคัญต่อร่างกายทุกช่วงอายุ ปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวันอาจแตกต่างกันตามเพศและวัย วิตามินช่วยการทำงานของทุกระบบในร่างกาย รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกัน วิตามินดียังทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ควบคุมกระบวนการแมแทบอลิซึมของกระดูก และช่วยในการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่ร่างกายได้รับวิตามินมาจากอาหาร มีเป็นส่วนน้อยที่ร่างกายสร้างได้ (ปริมาณวิตามินในอาหารประเภทต่าง ๆ สามารถค้นข้อมูลได้จากแหล่งอื่น ไม่ได้กล่าวไว้ในบทความนี้) วิตามินในอาหารสลายไปบางส่วนเมื่อถูกความร้อนขณะปรุงอาหารโดยเฉพาะวิตามินกลุ่มที่ละลายได้ในน้ำ อาหารที่มาจากธรรมชาติหากเก็บไว้นานปริมาณวิตามินลดลงได้ หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรต้องการสารอาหารซึ่งรวมถึงวิตามินมากกว่าคนทั่วไป ผู้สูงอายุมักรับประทานอาหารได้น้อยอีกทั้งทางเดินอาหารดูดซึมสารอาหารได้ลดลงจึงอาจเสี่ยงต่อการได้รับวิตามินไม่เพียงพอ ผลกระทบที่เกิดจากการบริโภควิตามินไม่เพียงพอมีได้แตกต่างกันขึ้นกับชนิดของวิตามิน โดยรวมแล้วจะทำให้เจริญเติบโตช้า (กรณีที่เป็นเด็ก) ร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคลดลง สุขภาพผิวหนังและเส้นผมไม่ดี การมองเห็นบกพร่อง ระบบประสาททำงานผิดปกติ เป็นต้น การขาดวิตามินอย่างรุนแรงทำให้เกิดโรค เช่น การขาดวิตามินบี 1 ทำให้เกิดโรคเหน็บชา (beriberi), การขาดวิตามินบี 3 ทำให้เกิดโรคเพลแลกรา (pellagra), การขาดวิตามินซีทำให้เกิดโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิด (scurvy), การขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก (rickets) ผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับวิตามินไม่เพียงพอจึงควรบริโภควิตามินเสริม ปริมาณวิตามินที่ควรได้รับในแต่ละวันดูได้จากดูตาราง

Dietary supplement ม อ นตรายต อต บหร อไม
Dietary supplement ม อ นตรายต อต บหร อไม
Dietary supplement ม อ นตรายต อต บหร อไม
Dietary supplement ม อ นตรายต อต บหร อไม
Dietary supplement ม อ นตรายต อต บหร อไม

สาเหตุของการบริโภควิตามินมากเกิน

การบริโภควิตามินมากเกินอาจมีสาเหตุมาจากสิ่งที่จะกล่าวถึงข้างล่างนี้

1. ผลิตภัณฑ์ประเภทวิตามินชนิดที่ให้เสริม จัดเป็นสาเหตุสำคัญของการบริโภควิตามินมากเกินที่พบในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีจำหน่ายมากมายและหาซื้อได้สะดวก มีทั้งชนิดที่เป็นวิตามินรวม (multivitamins) และวิตามินผสมแร่ธาตุ (vitamins and minerals) ไม่ควรบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริมโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์หรือนักโภชนาการ และไม่ควรบริโภคเกินขนาดที่แนะนำ ชื่อวิตามินที่ระบุไว้ต่างกันอาจเป็นวิตามินชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันแต่มีฤทธิ์เหมือนกัน หากบริโภคซ้ำซ้อนอาจได้รับวิตามินมากเกิน เช่น “วิตามินเอ (vitamin A)” ซ้ำซ้อนกับ “เรตินอล (retinol)”, “วิตามินบี 3 (vitamin B3)” ซ้ำซ้อนกับ “ไนอะซิน (niacin)” และซ้ำซ้อนกับ “นิโคตินิกแอซิด (nicotinic acid)”, “วิตามินดี (vitamin D)” ซ้ำซ้อนกับ “เออร์โกแคลซิเฟอรอล (ergocalciferol)” และซ้ำซ้อนกับ “โคเลแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol)” ดูชื่อวิตามินเพิ่มเติมในหัวข้อ การแบ่งกลุ่มและชื่อเรียกวิตามิน นอกจากนี้การบริโภคตามกระแสความเชื่อโดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้มาสนับสนุนทำให้เกิดการบริโภคมากเกินได้เช่นกัน

2. วิตามินที่ใช้เป็นยา เป็นสาเหตุของการบริโภควิตามินมากเกินได้แม้พบไม่บ่อยเท่าการบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริม เช่น วิตามินดีที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน การบริโภคยาเป็นเวลานานและในปริมาณสูงทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง และภาวะแคลเซียมในปัสสาวะสูง ทำให้เนื้อเยื่อเสียหายได้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้แม้ว่าระดับวิตามินดีในเลือดอาจไม่สูง หรือผู้ที่ใช้ยาไอโซเทรทิโนอิน (isotretinoin) ซึ่งเป็นยารักษาสิวชนิดรับประทาน ยานี้เป็นอนุพันธ์วิตามินเอ การบริโภคยาดังกล่าวเป็นเวลานานอาจเกิดความเป็นพิษคล้ายกับการได้รับวิตามินเอมากเกิน ผู้ที่ใช้ยานี้ควรหลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินเอเสริม

3. อาหารที่เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการโดยการเติมสารอาหาร (fortified foods) ซึ่งสารอาหารที่เติมมีหลายอย่างรวมถึงวิตามิน อาหารมีทั้งผลิตภัณฑ์ประเภทนม, โยเกิร์ต, นมถั่วเหลือง, ขนมปัง, ผลิตภัณฑ์ประเภทธัญพืชที่รับประทานเป็นอาหารเช้า เป็นต้น การบริโภคอาหารประเภทนี้เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการบริโภควิตามินมากเกินหากรับประทานร่วมกับผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นที่มีวิตามิน

4. อาหารที่มีปริมาณวิตามินสูงมาก โดยทั่วไปการบริโภควิตามินในอาหารที่มาจากธรรมชาติไม่เป็นสาเหตุของการได้รับวิตามินมากเกิน ยกเว้นการบริโภคตับปลาบางชนิดในปริมาณมาก เช่น มีรายงานถึงการเกิดภาวะที่มีวิตามินเอในเลือดสูงจนเกิดอาการพิษในผู้ที่บริโภคตับปลาทะเลปริมาณมากในคราวเดียว (ตับปลา 1 กิโลกรัมร่วมกันบริโภค 3 คน เกิดอาการผิดปกติหลังการบริโภค 2 ขั่วโมง) หรือผู้บริโภคตับปลาถี่เกิน (ครั้งละประมาณ 100 กรัม จำนวน 4 ครั้งในช่วง 15 วัน) ส่วนการบริโภคอาหารที่มีเบตาแคโรทีนปริมาณสูงจนสภาพผิวหนังชั้นนอกสุดเป็นสีเหลืองส้ม (carotenodermia หรือ carotenosis) นั้นไม่เป็นอันตรายและกลับเป็นปกติได้เมื่อหยุดบริโภค

อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกิน

วิตามินที่มาจากธรรมชาติมักไม่พบการบริโภคจนมากเกินหรือการสะสมจนเกิดเป็นอันตราย (อาจพบได้บ้างเป็นส่วนน้อยในกรณีที่บริโภคตับปลาบางชนิดในปริมาณมากหรือบริโภคบ่อยเกินตามที่กล่าวข้างต้น) ส่วนใหญ่การบริโภควิตามินมากเกินที่เป็นปัญหาและพบได้ทั่วโลกเกิดจากวิตามินชนิดที่ให้เสริม แม้ว่าการตรวจวัดระดับวิตามินในเลือดและพบภาวะวิตามินในเลือดสูง (hypervitaminosis) จะช่วยยืนยันว่ามีการบริโภคมากเกินและเสี่ยงต่อความเป็นพิษ แต่บางครั้งความเป็นพิษเกิดได้โดยไม่พบภาวะวิตามินในเลือดสูง วิตามินที่ละลายได้ในไขมันมีโอกาสเกิดความเป็นพิษมากกว่าวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เนื่องจากมีการสะสมในเนื้อเยื่อ เช่น ที่ตับ ไต หัวใจ และอาจทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหล่านั้น การบริโภควิตามินที่ละลายได้ในน้ำในปริมาณมากจนเกิดอันตรายพบได้น้อย เนื่องจากวิตามินที่มากเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะและบางชนิดถูกขับออกทางอุจจาระได้ด้วย ปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้โดยไม่เป็นอันตรายของวิตามินบางชนิดมีระบุไว้ในตาราง อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกินอาจเกิดแบบเฉียบพลันหรือเกิดแบบเรื้อรังดังกล่าวข้างล่างนี้

อันตรายที่เกิดแบบเฉียบพลัน อันตรายหรืออาการพิษที่เกิดแบบเฉียบพลันจากการบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริมนั้นยังไม่มีข้อมูล การใช้วิตามินเป็นยารักษาโรคและใช้เกินขนาดทำให้เกิดอาการพิษแบบเฉียบพลันได้ ซึ่งมีโอกาสเกิดเช่นเดียวกับยารักษาโรคชนิดอื่นทั่วไป และมีโอกาสเกิดได้ไม่ว่าจะเป็นวิตามินชนิดละลายได้ในไขมันหรือวิตามินชนิดละลายได้ในน้ำ โดยเฉพาะหากให้ยาโดยการฉีดและให้เกินขนาด อาการพิษแบบเฉียบพลันเกิดได้แตกต่างกันขึ้นกับชนิดของวิตามิน แต่มีอาการโดยทั่วไปที่คล้ายกัน เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ไม่รู้สึกตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ความดันโลหิตต่ำ กระสับกระส่าย สับสน

อันตรายที่เกิดแบบเรื้อรัง พบได้มากเมื่อบริโภควิตามินชนิดที่ให้เสริม เกิดจากการบริโภคมากเกินเป็นเวลานาน ผู้บริโภคมักซื้อผลิตภัณฑ์มาบริโภคเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์หรือนักโภชนาการ และส่วนใหญ่ผู้บริโภคไม่ทราบถึงปริมาณวิตามินที่ควรได้รับต่อวัน ตลอดจนไม่ทราบถึงปริมาณที่บริโภคไปในแต่ละวัน ทำให้บริโภคมากเกินจนเกิดความเป็นพิษเรื้อรังได้ อาการที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปตามชนิดของวิตามินที่บริโภคมากเกิน (ดูรายละเอียดในตาราง) แต่มีอาการโดยทั่วไปที่คล้ายกัน เช่น ร่างกายอ่อนแอลง ทำกิจวัตรประจำวันได้ลดลง ออกกำลังกายไม่ไหว อ่อนล้า เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้

วิตามินชนิดที่ละลายได้ในไขมัน ความเป็นพิษส่วนใหญ่เกิดจากวิตามินเอและวิตามินดี พบการสะสมที่เนื้อเยื่อบางแห่ง เช่น ตับ ไต หัวใจ ส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะเหล่านั้น อาจเกิดรุนแรงจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ในกรณีที่บริโภควิตามินดีมากเกินจนเกิดความเป็นพิษนั้นเกิดจากการที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง และภาวะแคลเซียมในปัสสาวะสูง พบการสะสมแคลเซียมที่เนื้อเยื่อไตและการเกิดนิ่วแคลเซียมที่ไต แม้ว่าระดับวิตามินดีในเลือดอาจไม่สูง

วิตามินชนิดที่ละลายได้ในน้ำ พบรายงานการเกิดความเป็นพิษได้น้อยกว่าวิตามินเอและวิตามินดี วิตามินในกลุ่มนี้ที่มีรายงานถึงการบริโภคมากเกินจนเกิดอันตราย เช่น วิตามินบี 6 ทำอันตรายต่อประสาทส่วนปลาย ทำให้รู้สึกเสียวแปลบ แสบร้อน หรือชา มักเกิดที่มือหรือเท้า อาจทำอันตรายต่อประสาทส่วนปลายที่อื่นได้ด้วย เช่น ที่กระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดปัญหาในการขับถ่าย หากได้รับการวินิจฉัยล่าช้าและยังคงบริโภควิตามินบี 6 มากเกินอาจทำให้ประสาทส่วนปลายเสียหายมากขึ้นและเซลล์ประสาทอาจถูกทำลายอย่างถาวร สำหรับวิตามินบี 12 แม้เป็นชนิดที่ละลายได้ในน้ำแต่การบริโภคปริมาณมากเป็นเวลานาน พบการสะสมที่ตับและเกิดภาวะวิตามินบี 12 ในเลือดสูงได้ ส่วนวิตามินซีหากบริโภคปริมาณมากเป็นเวลานานแม้ไม่พบผลเสียที่รุนแรง แต่อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลง เวียนศีรษะ มีอาการผิดปกติทางผิวหนัง ปวดท้อง กระตุ้นการสะสมสารออกซาเลต (oxalates) ทำให้เกิดนิ่วที่เนื้อเยื่อไตและในถุงน้ำดี

ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินมากเกินจนเกิดอันตราย

วิตามินเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายจึงควรได้รับอย่างเพียงพอ แต่บางคนอาจบริโภคมากเกินจนอาจเกิดอันตราย จึงมีข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินมากเกินไว้ดังนี้