Bloomington ร กบทแรก บ ล ม ง ต น

เฮปเบิร์นเติบโตขึ้นในรัฐคอนเนทิคัตและถูกเลี้ยงดูโดยบิดามารดาที่มั่งคั่งและอยู่ในยุคสมัยแห่งความก้าวหน้า เฮปเบิร์นเริ่มแสดงขณะศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยบรินมอร์ หลังจากใช้เวลาสี่ปีแสดงในโรงละคร ได้มีบทวิจารณ์ที่ดีในช่วงที่ทำการแสดงละครบรอดเวย์ได้ทำให้เธอเป็นที่สนใจของฮอลลีวูด ช่วงปีแรกๆของเธอในวงการภาพยนตร์เริ่มต้นด้วยความสำเร็จ โดยเธอได้รางวัลออสการ์จากการแสดงในภาพยนตร์เรื่องที่สามของเธอ คือ เรื่อง มอร์นิ่งกลอรี (ค.ศ. 1933) แต่ก็ตามมาด้วยความล้มเหลวในเชิงพาณิชย์ซึ่งทำให้เธอถูกตีตราว่าเป็น "บ็อกซ์ออพฟิศพอยชั่น" ในปี ค.ศ. 1938 เฮปเบิร์นมีความคิดที่เฉียบแหลมในการทำให้ตัวเธอเองกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง โดยการไปซื้อสัญญากับ อาร์เคโอพิกเจอร์ และทำให้ได้สิทธิในบทประพันธ์ เดอะฟิลาเดลเฟียสตอรี ซึ่งเธอได้ประกาศขายโดยมีเงื่อนไขว่าเธอจะต้องได้เป็นนักแสดงนำในเรื่อง ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 เธอได้รับการติดต่อจาก เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์ ซึ่งทำให้งานการแสดงของเธอเน้นไปที่การเป็นพันธมิตรกับสเปนเซอร์ เทรซี ความเป็นหุ้นส่วนกันนี้เป็นเวลา 25 ปี และผลิตภาพยนตร์ออกมา 9 เรื่อง

เฮปเบิร์นได้สร้างความท้าทายให้ตนเองในช่วงครึ่งหลังของชีวิต โดยเธอมักจะปรากฏตัวเป็นประจำในละครเวทีแนวเชกสเปียร์และสร้างความท้าทายในบทบาทที่หลากหลายในด้านวรรณกรรม เธอพบช่องทางในการแสดงบทบาทเป็นสตรีทึนทึกวัยกลางคน เช่นในภาพยนตร์เรื่อง เดอะแอฟริกันควีน (ค.ศ. 1951) ได้ทำให้เธอกลายเป็นบุคคลที่สาธารณะอ้าแขนรับ เธอได้รับรางวัลออสการ์อีกสามครั้งในภาพยนตร์ เกรสฮูส์คัมมิ่งทูดินเนอร์ (ค.ศ. 1967), ราชันใจเพชร (ค.ศ. 1968) และ ออนโกลเดนพอนด์ (ค.ศ. 1968) ในช่วงทศวรรษ 1970 เธอเริ่มปรากฏตัวในภาพยนตร์โทรทัศน์ ซึ่งจะเป็นจุดสนใจของอาชีพการทำงานในบั้นปลายชีวิตของเธอ เธอยังคงทำงานต่อเนื่องในวัยชรา ซึ่งทำให้เธอปรากฏตัวในจอครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1993 ขณะมีอายุ 87 ปี หลังจากนั้นเธอก็ไม่สามารถทำงานได้อีกและมีปัญหาสุขภาพ เฮปเบิร์นเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2003 ด้วยวัย 96 ปี

เฮปเบิร์นเป็นที่รู้จักจากการที่เธอพยายามหลบหลีกจากสังคมสาธารณชนในฮอลลีวูด และปฏิเสธที่จะทำตามภาพความคาดหวังของสังคมที่มีต่อผู้หญิงในยุคนั้น เธอมีบุคลิกที่ตรงไปตรงมา แน่วแน่ ว่องไวและมักจะสวมใส่กางเกงขายาวเสมอก่อนที่มันจะกลายมาเป็นแฟชั่นสำหรับผู้หญิง เธอเคยแต่งงานหนึ่งครั้งขณะเป็นวัยรุ่น แต่หลังจากนั้นเธอก็อยู่อย่างอิสระ เธอมีเรื่องอื้อฉาวจากการมีความสัมพันธ์กับดาราดังอย่าง สเปนเซอร์ เทรซี ซึ่งถูกปิดซ่อนจากสังคมมาเป็นเวลากว่า 26 ปี ด้วยการที่เธอมีวิถีการดำเนินชีวิตที่แปลกใหม่และมีบุคลิกที่เป็นอิสระซึ่งได้นำเธอให้ก้าวเข้ามาสู่จอภาพยนตร์ เฮปเบิร์นจึงถูกเขียนคำจารึกไว้ว่าเป็น "ผู้หญิงยุคใหม่" ในสหรัฐอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และถูกจดจำในฐานะตัวแสดงทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญ

ช่วงต้นของชีวิตและการศึกษา[แก้]

เฮปเบิร์นเกิดที่ฮาร์ตเฟิร์ด ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1907 เป็นบุตรคนที่สองจากจำนวนบุตรทั้งหมดหกคน บิดาของเธอ คือ โธมัส นอร์วัล เฮปเบิร์น (1879 - 1962) ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะประจำโรงพยาบาลฮาร์ตเฟิร์ด ส่วนมารดาของเธอ คือ แคทารีน มาร์ธา ฮอตัน (1878 - 1951) เป็นนักรณรงค์เรียกร้องสิทธิสตรี ทั้งบิดามารดาต้องต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสหรัฐอมริกา โธมัส เฮปเบิร์นได้ร่วมช่วยก่อตั้งสมาคมสุขอนามัยสังคมนิวอิงแลนด์ ซึ่งให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในขณะที่แคทารีน ผู้เป็นมารดาดำรงเป็นประธานสมาคมรณรงค์เพื่อสิทธิเลือกตั้งของสตรีรัฐคอนเนทิคัต หลังจากนั้นเธอก็ร่วมรณรงค์การเคลื่อนไหวเพื่อการคุมกำเนิดในสหรัฐอเมริการ่วมกับมาร์กาเร็ต ซานเจอร์ เมื่อยังเยาว์วัย เฮปเบิร์นได้ร่วมเดินขบวน "Votes For Women" พร้อมกับมารดาหลายครั้ง เด็กๆในครอบครัวเฮปเบิร์นได้ถูกอบรมเลี้ยงดูให้เห็นความสำคัญของเสรีภาพในการพูดและถูกกระตุ้นให้ใช้ความคิดและโต้แย้งในเรื่องที่ปรารถนา บิดามารดาของเธอมักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชุมชนเพราะมีมุมมองหัวก้าวหน้า ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เฮปเบิร์นพยายามต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคที่ต้องพบเจอ เฮปเบิร์นกล่าวว่าเธอได้รับรู้ว่าในช่วงวัยเด็กเธอเป็นผลผลิตของ "พ่อแม่ที่พิเศษมากทั้งสอง" และได้ให้เครดิตเธอว่าได้รับการเลี้ยงดูอย่าง "โชคดีเป็นอันมาก" โดยเป็นการปูพื้นฐานไปสู่ความสำเร็จในชีวิตของเธอ เธอยังคงใกล้ชิดกับครอบครัวเสมอตลอดชีวิต

Bloomington ร กบทแรก บ ล ม ง ต น
ภาพถ่ายเฮปเบิร์นในทำเนียบหนังสือรุ่นของวิทยาลัย ค.ศ. 1928 ในขณะศึกษาที่วิทยาลัยบรินมอร์ ซึ่งเธอตัดสินใจเลือกงานด้านการแสดง

เฮปเบิร์นในวัยเยาว์มีลักษณะเป็นทอมบอยซึ่งมักจะเรียกตัวเธอเองว่า จิมมี่ และมักจะตัดผมสั้นเหมือนเด็กผู้ชาย โธมัส เฮปเบิร์นต้องการให้ลูกๆของเขาใช้ความคิดและกำลังกายอย่างเต็มที่ และเขามักจะสอนลูกๆให้ว่ายน้ำ วิ่ง ดำน้ำ การขี่ม้า กีฬามวยปล้ำ และเล่นกอล์ฟกับเทนนิส กีฬากอล์ฟกลายเป็นกีฬาที่แคทารีนชอบมาก เธอเรียนรู้ทุกๆวันและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญมากคนหนึ่ง โดยสามารถแข่งขันเข้าไปได้ถึงรอบชิงชนะเลิศของการแข่งขันกอล์ฟเยาวชนหญิงคอนเนทิคัต เธอชอบไปว่ายน้ำที่ชะวากทะเลลองไอส์แลนด์ซาวนด์ และอาบน้ำเย็นทุกเช้าโดยมีความเชื่อที่ว่าเป็น "ยาขมที่ดีสำหรับตัวคุณ" เฮปเบิร์นเป็นแฟนภาพยนตร์มาตั้งแต่ยังเยาว์ และมักจะไปดูภาพยนตร์ทุกคืนวันเสาร์ เธอมักจะเล่นการแสดงร่วมกับพี่น้องและเพื่อนและแสดงให้เพื่อนบ้านชม เพื่อจะได้นำเงิน 50 เซนต์ที่เป็นค่าตั๋วไปบริจาคให้แก่ชนเผ่านาวาโฮ

ในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1921 ขณะที่เธอไปเยี่ยมเพื่อนที่กรีนิชวิลเลจ เฮปเบิร์นได้พบศพของ ทอม พี่ชายที่เธอรักมาก ซึ่งเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายอย่างเห็นได้ชัด เขาได้ผูกเชือกรอบขื่อและแขวนคอตาย ครอบครัวเฮปเบิร์นพยายามปฏิเสธเรื่องการฆ่าตัวตาย และพยายามเก็บเรื่องการตายของทอมให้เป็นเรื่องการทดลองที่ผิดพลาด เหตุการณ์นี้ได้ทำให้เฮปเบิร์นในวัยรุ่นมีความวิตกกังวล เจ้าอารมณ์และเป็นที่น่าสงสัยต่อคนทั่วไป เธอหลีกหนีจากเด็กคนอื่นๆ เธอออกจากโรงเรียนคิงส์วูด-ออกซฟอร์ดและเริ่มเรียนที่บ้าน เป็นเวลาหลายปีที่เธอใช้วันเกิดของทอม (8 พฤศจิกายน) เป็นวันเกิดของเธอเอง และความเป็นจริงก็ระบุในอัตชีวประวัติของเธอในปี ค.ศ. 1991 คือหนังสือ Me: Stories of My Life ซึ่งเฮปเบิร์นได้เปิดเผยวันเกิดที่แท้จริงของเธอ

ในปี ค.ศ. 1924 เฮปเบิร์นได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยบรินมอร์ เธอได้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาเพื่อให้มารดาพอใจ เนื่องจากมารดาของเธอเคยศึกษาที่นี่ และนั่นเป็นประสบการณ์ที่เธอไม่ชอบใจเลย เป็นครั้งแรกที่เธอได้เข้าเรียนเป็นเวลาหลายปี เธอรู้สึกประหม่าและอึดอัดกับเพื่อนร่วมชั้นของเธอ เธอต้องต่อสู้กับความต้องการทางวิชาการในวิทยาลัยและครั้งหนึ่งเธอถูกสั่งพักการเรียนจากการที่เธอแอบสูบบุหรี่ในห้องของเธอเอง เฮปเบิร์นถูกดึงไปแสดงละคร แต่บทบาทในการเล่นละครของวิทยาลัยจะขึ้นอยู่กับเกรดที่ดี ครั้งหนึ่งเธอทำคะแนนได้ดีขึ้น จึงทำให้เริ่มแสดงละครได้บ่อยขึ้น เธอได้แสดงบทนำในละครเวทีเรื่อง เดอะวูเม่นอินเดอะมูน ในช่วงการศึกษาตอนปลาย และเธอได้รับกระแสตอบรับในทางที่ดี ได้เป็นตัวเชื่อมแรงจูงใจของเธอในอาชีพการแสดงละครเวที เธอจบการศึกษาในระดับปริญญาด้านประวัติศาสตร์และปรัชญาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1928

การทำงาน[แก้]

โด่งดังในละครเวที (ค.ศ. 1928 - 1932)[แก้]

เฮปเบิร์นออกจากมหาวิทยาลัยโดยมุ่งมั่นที่จะเป็นนักแสดง หลังจากจบการศึกษา เธอเดินทางไปที่บอลทิมอร์เพื่อพบกับเอ็ดวิน เอช. คน็อปฟ์ ผู้ประสบความสำเร็จในวงการบริษัทละครเวทีเขาประทับใจในความทะเยอทะยานของเธอ คน็อปฟ์ให้เธอแสดงในละครที่เขาจัดอยู่ในขณะนั้นคือ เรื่อง The Czarina เธอได้รับคำวิจารณ์ที่ดีในบทเล็กๆของเธอ และการแสดงในเรื่อง Printed Word ได้ถูกบรรยายว่าเป็นที่ "น่าตราตรึง" เธอได้แสดงในอีกสัปดาห์ต่อมา แต่การแสดงครั้งที่สองของเธอได้รับการตอบรับน้อยกว่าเดิม เธอถูกวิจารณ์ในเรื่องเสียงที่แหลมสูงของเธอ และเพราะเหตุนั้นเธอจึงเดินทางออกจากบอลทิมอร์เพื่อเรียนกับผู้ฝึกสอนด้านเสียงในนิวยอร์ก

Bloomington ร กบทแรก บ ล ม ง ต น
เฮปเบิร์นในบทบาทที่ดึงดูดความสนใจจากฮอลลีวูด ในละครเวที เดอะวอรริเออร์ฮัสแบนด์ ค.ศ. 1932

คน็อปฟ์ตัดสินใจที่จสร้างละครเวทีเรื่อง เดอะบิ๊กพอนด์ ในนิวยอร์ก และได้ตั้งเฮปเบิร์นให้ฝึกซ้อมเพื่อเป็นตัวสำรองบทนักแสดงนำ เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ก่อนทำการแสดง นักแสดงนำถูกไล่ออกและเฮปเบิร์นเข้ามาแทนที่ ซึ่งทำให้เธอได้มีบทบาทในการแสดงเพียงสี่สัปดาห์ในสายงานละครเวที ในคืนเปิดทำการแสดง เธอปรากฏตัวช้าเกินไป พูดบทมั่ว เดินสะดุดเท้าตัวเอง และพูดเร็วเกินกว่าจะจับใจความได้ เธอถูกไล่ออกทันที และผู้หญิงที่เล่นบทนำคนเดิมได้ถูกจ้างใหม่อีกครั้ง ด้วยไม่มีใครสามารถขวางได้ เธอจึงไปเข้าสังกัดของผู้อำนวยการสร้าง คือ อาเธอร์ ฮ็อปกินส์ และรับบทเป็นนักเรียนหญิงในเรื่อง These Days การเปิดตัวในละครบรอดเวย์ครั้งแรกของเธอเริ่มในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928 ที่โรงละครคอร์ท แต่คำวิจารณ์ที่ออกมานั้นย่ำแย่และละครต้องยุติลงหลังจากแสดงไปแปดคืน ฮ็อปกินส์รับจ้างเฮปเบิร์นโดยทันทีในฐานะตัวสำรองบทนักแสดงนำในบทละครของฟิลิป แบร์รี เรื่อง ฮอลิเดย์ ในช่วงต้นเดือนธันวาคม หลังจากนั้นเพียงสองสัปดาห์ เธอได้ลาออกเพื่อไปแต่งงานกับลัดโลว์ อ็อกเดน สมิธ เพื่อนสนิทเมื่อครั้งศึกษาที่วิทยาลัย เธอวางแผนที่จะทิ้งงานละครเวทีไว้เบื้องหลัง แต่เธอก็เริ่มคิดถึงการทำงานและรีบกลับมาดำเนินการแสดงบทตัวสำรองนักแสดงนำในเรื่อง ฮอลิเดย์ ซึ่งเป็นระยะเวลาหกเดือน

ในปี ค.ศ. 1929 เฮปเบิร์นปฏิเสธบทบาทร่วมกับเธียเตอร์กิลด์ โดยไปแสดงบทนำในละคร เดตเทกส์อะฮอลิเดย์ เธอรู้สึกว่าบทบาทนี้เธอทำได้สมบูรณ์แบบ แต่แล้วเธอก็ถูกไล่ออกอีกครั้ง เธอได้กลับมายังกิลด์อีกครั้ง และรับบทเป็นตัวสำรองเพื่อให้ได้รับเงินค่าจ้างขั้นต่ำในละคร อะมันท์อินเดอะคันทรี ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1930 เฮปเบิร์นร่วมงานกับบริษัทโรงละครในสต็อกบริดจ์, แมสซาชูเซตส์ เธอใช้เวลาช่วงครึ่งของวันหยุดภาคฤดูร้อนและเริ่มเรียนการแสดงกับครูสอนพิเศษด้านการละคร ช่วงต้น ค.ศ. 1931 เธอได้ไปรับการคัดเลือกนักแสดงในละครบรอดเวย์ Art and Mrs. Bottle เธอถูกปลดจากบทบาทที่ได้รับหลังจากที่คนเขียนบทไม่ชอบเธออย่างมาก โดยกล่าวว่า "เธอดูตื่นตระหนกตกใจ มารยาทของเธอเป็นที่น่ารังเกียจ และเธอไม่มีความสามารถใดๆเลย" แต่ในภายหลังก็ต้องจ้างเธออีกครั้งเนื่องจากไม่มีนักแสดงหญิงคนอื่นคนใดอีก ซึ่งละครบรอดเวย์นี้ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย

เฮปเบิร์นปรากฏตัวในละครหลายเรื่องของบริษัทซัมเมอร์สต็อกเธียเตอร์ที่ไอวอรีตัน, คอนเนทิคัต และเริ่มพิสูจน์ให้เห็นว่าเธอเริ่มโด่งดัง ระหว่างฤดูร้อน ค.ศ. 1931 ฟิลิป แบร์รีเสนอให้เธอแสดงในละครเรื่องใหม่ของเขา คือ เรื่อง เดอะแอนิมอลคิงดอม คู่กับเลสลี่ ฮาวเวิร์ด พวกเขาเริ่มฝึกซ้อมในเดือนพฤศจิกายน เฮปเบิร์นรู้สึกแน่ใจว่าบทบาทนี้จะทำให้เธอกลายเป็นดาราดัง แต่ฮาวเวิร์ดกลับไม่ชอบนักแสดงหญิงคนนี้ ซึ่งทำให้เธอถูกไล่ออกอีกครั้ง เมื่อเธอเข้าไปถามแบร์รีว่าทำไมเธอถึงถูกปลดออก เขาตอบว่า "ก็ดี จะได้พูดตรงๆไม่อ้อมค้อม คุณทำได้ไม่ดีอย่างมาก" ความวุ่นวายครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะความมั่นใจในตัวเองเกินไปของเฮปเบิร์น แต่เธอก็ยังคงหางานต่อไป เธอได้รับบทเล็กๆในละคร แต่ในขณะที่การฝึกซ้อมเริ่มขึ้น เธอได้ถูกขอให้ไปอ่านบทมากกว่านี้เพื่อรับบทแสดงนำในนิทานกรีก เรื่อง เดอะวอรริเออร์ฮัสแบนด์

เรื่อง เดอะวอรริเออร์ฮัสแบนด์ ได้พิสูจน์เห็นเห็นถึงความพลุ่งพล่านในการแสดงละครของเฮปเบิร์น ชาร์ล ฮิกแฮม ผู้เขียนชีวประวัติ ได้กล่าวว่า บทบาทนี้เป็นอุดมคติสำหรับนักแสดงหญิงที่มีลักษณะพลังที่ก้าวร้าวและกระฉับกระเฉง และเธอมีความกระตือรือร้นอย่างมากในละครเรื่องนี้ ละครเวทีเปิดรอบแสดงในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1932 ที่โรงละครโมรอสโกในบรอดเวย์ การปรากฏตัวครั้งแรกของเฮปเบิร์น เรียกได้ว่า เธอกระโจนลงมาจากบันไดแคบๆ โดยสวมเสื้อคลุมเหนือไหล่และใส่ทูนิคสั้นสีเงิน ละครเวทีแสดงเป็นเวลาสามเดือน และเฮปเบิร์นได้รับบทวิจารณ์ในแง่บวก ริชาร์ด การ์แลนด์จากหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กเวิลด์-เทเลกราฟ ได้เขียนว่า "เป็นเวลาหลายคืนนับตั้งแต่นั้นที่มีความเปล่งแสงโชติช่วงด้วยการแสดงที่ได้ฉายแสงในฉากของบรอดเวย์"

ความสำเร็จในฮอลลีวูด (ค.ศ. 1932 - 1934)[แก้]

Bloomington ร กบทแรก บ ล ม ง ต น
เฮปเบิร์นปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์แนวประโลมโลก เรื่อง อะบิลออฟดีโวสเมนต์ (ค.ศ. 1932) ในบท ซิดนีย์ แฟร์ฟิลด์ โดยคู่กับเดวิด แมนเนอร์ นักวิจารณ์ชื่นชอบการแสดงของเธอและทำให้เธอโด่งดังในทันที

แมวมองของลีแลนด์ เฮย์วาร์ด นายหน้าในฮอลลีวูดได้มาสังเกตเห็นรูปโฉมของเฮปเบิร์น ในละครเวที เดอะวอรริเออร์ฮัสแบนด์ และได้ขอให้เธอลองมาทดสอบในบท ซิดนีย์ แฟร์ฟิลด์ ในภาพยนตร์ของอาร์เคโอพิกเตอร์ เรื่อง อะบิลออฟดีโวสเมนต์ จอร์จ คูกอร์ ผู้กำกับรู้สึกประทับใจในสิ่งที่เขาเห็น เขากล่าวว่า "นี่คือสิ่งแปลกที่พระเจ้าได้สร้างสรรค์ขึ้นมา" เขาจำได้ว่า "เธอไม่เหมือนใครที่ผมเคยได้ยินพบเจอมาก่อน" โดยเฉพาะเขาชื่นชอบอากัปกิริยาที่เธอหยิบแก้วขึ้นมา โดยกล่าวว่า "ผมคิดว่าเธอมีความสามารถมากในการแสดงอากัปกิริยาเช่นนั้น" เฮปเบิร์นเรียกร้องค่าจ้าง 1,500 ดอลลาร์ฯต่อสัปดาห์ สำหรับการรับบทนี้ ซึ่งเป็นค่าจ้างที่สูงมากสำหรับนักแสดงหน้าใหม่ คูกอร์ได้สนับสนุนให้ทางสตูดิโอยินยอมตามข้อเรียกร้องของเธอและพวกเขาก็ได้เซ็นสัญญากับเฮปเบิร์นเป็นการชั่วคราวรับประกันสามสัปดาห์ เดวิด โอ.เซลสนิคก์ ประธานอาร์เคโอ ได้คิดทบทวนใหม่ถึงการที่เขาจะได้ "โอกาสครั้งยิ่งใหญ่" จากการคัดเลือกนักแสดงหญิงผู้แหวกแนวคนนี้

เฮปเบิร์นเดินทางมาถึงแคลิฟอร์เนียในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1932 ขณะมีอายุ 25 ปี เธอแสดงภาพยนตร์ อะบิลออฟดีโวสเมนต์ โดยบทที่ได้รับต้องเป็นคู่ขัดแย้งกับจอห์น แบร์รีมอร์ แต่ก็ไม่มีสัญญาณของความหวดกลัวใดๆเลย แต่เธอก็พยายามปรับตัวให้เข้ากับลักษณะของการแสดงภาพยนตร์ ซึ่งเฮปเบิร์นได้หลงใหลในอุตสาหกรรมภาพยนตร์นี้ตั้งแต่เริ่มต้น ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จและเฮปเบิร์นได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก มอร์ดันท์ ฮอลล์จากเดอะนิวยอร์กไทมส์ได้เรียกการแสดงของเธอว่า "ยอดเยี่ยมเป็นพิเศษ...ลักษณะท่าทางของคุณเฮปเบิร์นเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่พบเจอบนหน้าจอภาพยนตร์" บทวิจารณ์ของนิตยสาร Variety ได้ประกาศว่า "ความยอดเยี่ยมที่เกิดขึ้นที่นี่คือความประทับใจที่พุ่งเข้าชนโดยฝีมือของแคทารีย เฮปเบิร์นในภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ เธอมีบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญซึ่งทำให้เธอมีลักษณะที่แตกต่างไปจากกลุ่มกาแล็กซีภาพยนตร์" ด้วยกระแสของ อะบิลออฟดีโวสเมนต์ ที่กำลังมาแรง ทำให้ อาร์เคโอ ตัดสินใจเซ็นสัญญาระยะยาวกับเธอ จอร์จ คูกอร์ได้กลายเป็นเพื่อนและผู้ร่วมงานที่ยาวนานตลอดชีวิตของเธอ เขาและเฮปเบิร์นได้ร่วมงานกันในภาพยนตร์ทั้งหมด 10 เรื่อง

Bloomington ร กบทแรก บ ล ม ง ต น
แสดงเป็น โจ มาร์ช ใน สี่ดรุณี (ปี 1933) อันเป็นภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนั้น

ภาพยนตร์เรื่องที่สองของเฮปเบิร์นคือ คริสโตเฟอร์สตรอง (ปี 1933) เป็นเรื่องราวของนักบินและความสัมพันธ์ของเธอที่มีต่อชายที่แต่งงานแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าไร แต่บทวิจารณ์เฮปเบิร์นนั้นดี เรจินา ครีวี เขียนในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กจัวนัล-อเมริกันว่าแม้ว่ากิริยาท่าทางของเธอจะค่อนข้างเถื่อน แต่"กิริยาเหล่านั้นก็สามารถดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้รับชมต้องหลงใหลเธอ เธอมีบุคลิกชัดเจน เด็ดขาด และบุคลิกภาพด้านบวก" ภาพยนตร์เรื่องที่สามของเฮปเบิร์นเป็นสิ่งยืนยันให้เธอเป็นนักแสดงหลักของฮอลลีวูด ด้วยการแสดงเป็นนักแสดงผู้ทะเยอทะยานชื่อ เอวา เลิฟเลซ บทที่ตั้งใจมอบให้กับคอนสแตนซ์ เบนเนต ในเรื่อง มอร์นิ่งกลอรี ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เธอเคยเห็นบทวางอยู่บนโต๊ะของโปรดิวเซอร์ปานโดร เอส.เบอร์แมน และเธอเชื่อว่าเธอเกิดมาเพื่อรับบทนี้ เป็นบทที่สร้างมาเพื่อเธอ เฮปเบิร์นเลือกที่จะไม่เข้าร่วมงานประกาศรางวัล และเธอจะไม่เข้าร่วมเลยตลอดอาชีพการทำงานของเธอ แต่ก็รู้สึกตื่นเต้นต่อชัยชนะมาก ความสำเร็จของเธอยังมีต่อในบท โจ ในเรื่อง สี่ดรุณี (ปี 1933) ภาพยนตร์โด่งดังมาก จนกลายเป็นหนึ่งในความสำเร็จของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในช่วงเวลานั้น และเฮปเบิร์นได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส เรื่อง สี่ดรุณี เป็นภาพยนตร์ที่เธอชอบเป็นการส่วนตัวและเธอพึงพอใจกับการแสดงมาก ซึ่งในภายหลังเธอบอกว่า "ฉันท้าได้เลยว่า ใครจะเล่นเป็น [โจ] ได้ดีกว่าที่ฉันเล่น"

ปลายปีค.ศ. 1933 เฮปเบิร์นเป็นนักแสดงภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง แต่เธอต้องการพิสูจน์ตัวเองในบรอดเวย์ เจ็ด แฮร์ริส ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์ละครเวทีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในทศวรรษที่ 1920 กำลังผ่านช่วงตกต่ำของอาชีพของเขา เขาขอให้เฮปเบิร์นแสดงในละครเวทีเรื่อง เดอะเลค ซึ่งเฮปเบิร์นยินยอมรับงานในอัตราค่าตอบแทนที่ต่ำ ก่อนที่เธอจะลาไปบรอดเวย์ อาร์เคโอเสนอให้เธอเล่นภาพยนตร์เรื่อง สปิทไฟเออร์ (ปี 1934) เฮปเบิร์นแสดงเป็น ทริกเกอร์ ฮิกส์ เด็กสาวที่อาศัยบนภูเขาซึ่งไม่ได้รับการศึกษา แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ทำได้ดีในบ็อกซ์ออฟฟิศ แต่สปิทไฟเออร์ก็ถูกวิจารณ์ว่าเป็นภาพยนตร์ที่แย่ที่สุดของแคทารีน เฮปเบิร์น และเธอก็ได้รับคำวิจารณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก เฮปเบิร์นเก็บรูปถ่ายของตัวเองที่แสดงเป็นฮิกส์ไว้ในห้องนอนตลอดชีวิตเพื่อให้ฉัน "[มี]ความเจียมเนื้อเจียมตน"

มีการฉายตัวอย่างการแสดงละครเวทีเรื่องเดอะเลคในวอชิงตัน ดี.ซี. ทำให้มีการซื้อตั๋วล่วงหน้าจำนวนมาก ทิศทางการทำงานที่ย่ำแย่ของแฮร์ริสได้ทำลายความเชื่อมั่นของเฮปเบิร์นและเธอก็ประสบความลำบากในการแสดง ด้วยเหตุนี้แฮร์ริสจึงย้ายการแสดงไปยังนิวยอร์กโดยไม่มีการซ้อมล่วงหน้า ละครเวทีจัดแสดงที่โรงละครมาร์ติน แบ็ค ในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1933 และเฮปเบิร์นก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทันที โดโรธี ปาร์กเกอร์ ได้เหน็บแนมว่า "เฮปเบิร์นใช้แต่ช่วงโทนเสียงอารมณ์ตั้งแต่เอถึงบีตลอดทั้งเรื่อง" ด้วยต้องผูกติดกับสัญญาทั้งหมด 10 สัปดาห์ เฮปเบิร์นต้องทนลำบากใจที่ยอดขายบ็อกซ์ออฟฟิศลดลงอย่างรวดเร็ว แฮร์ริสจึงตัดสินใจจัดแสดงที่ชิคาโก และพูดกับเฮปเบิร์นว่า "ที่รัก ความสนใจหนึ่งเดียวที่ผมมีต่อคุณคือเงินที่ผมได้จากคุณ" เฮปเบิร์นไม่อยากแสดงในละครเวทีที่ล้มเหลวของแฮร์ริสอีกต่อไป เธอจึงจ่ายเงินให้แฮร์ริสถึง 14,000 ดอลลาร์ ซึ่งมาจากเงินเก็บชั่วชีวิตของเธอ เพื่อหยุดยั้งการจัดแสดงนี้แทน ในภายหลังเธอกล่าวถึงแฮร์ริสว่า "ตัดสินให้เป็นคนที่โหดร้ายที่สุดที่ฉันเคยพบเจอมาในชีวิต" และเธออ้างว่าประสบการณ์ครั้งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สอนให้เธอมีความรับผิดชอบในอาชีพของเธอ

ความล้มเหลวในอาชีพ (ค.ศ.1934-1938)[แก้]

Bloomington ร กบทแรก บ ล ม ง ต น
ในเรื่อง แมรีแห่งสกอตแลนด์ (1936) เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ไม่สำเร็จของเฮปเบิร์นในช่วงเวลานี้

หลังจากล้มเหลวใน สปิทไฟเออร์ และเดอะเลค อาร์เคโอได้เลือกให้เฮปเบิร์นแสดงในเรื่อง เดอะลิตเติ้ลมินิสเตอร์ ตามนวนิยายสมัยวิกตอเรียนของเจ.เอ็ม. บาร์รี โดยพยายามให้สำเร็จเหมือนภาพยนตร์เรื่อง "สี่ดรุณี" แต่มันก็ไม่เกิดขึ้นและกลายเป็นความล้มเหลวเชิงการค้า ภาพยนตร์ดราม่าโรแมนติกเรื่อง เบรกออฟฮาร์ทส์ ในปี 1935 ซึ่งแสดงคู่กับชาร์ล บอเยอร์ได้รับการตอบรับที่ไม่ดีและสูญเสียรายได้ หลังจากแสดงภาพยนตร์ที่ไม่น่าจดจำสามเรื่อง เฮปเบิร์นก็ประสบความสำเร็จอีกครั้งในเรื่อง อลิซ อดัมส์ (ปี 1935) เป็นเรื่องราวความสิ้นหวังของหญิงสาวในการไต่เต้าชนชั้นทางสังคม เฮปเบิร์นชื่นชอบนิยายเล่มนี้และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้รับการเสนอบทนี้ ภาพยนตร์โด่งดังมาก และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของเฮปเบิร์น และเรื่องนี้ทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมเป็นครั้งที่สอง และได้รับคะแนนโหวตเป็นลำดับสอง แต่ผู้ชนะคือ เบตตี เดวิส

ด้วยความโดดเด่นนี้ เฮปเบิร์นตัดสินใจแสดงภาพยนตร์เรื่องใหม่ของจอร์จ คูกอร์ ในเรื่อง ซิลเวีย สการ์เล็ต (ปี 1935) ซึ่งเธอแสดงคู่กับแครี แกรนต์เป็นครั้งแรก เธอตัดผมสั้นเพราะตัวละครของเธฮนั้นปลอมตัวเป็นเด็กผู้ชายเกือบทั้งเรื่อง นักวิจารณ์นั้นไม่ชอบซิลเวีย สการ์เล็ตและไม่เป็นที่นิยมต่อสาธารณชน ภาพยนตร์ต่อไปเธอแสดงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ หรือ แมรี สจวต ในภาพยนตร์เรื่อง แมรีแห่งสกอตแลนด์ของจอห์น ฟอร์ด (ปี 1936) ซึ่งได้รับการตอบรับกระแสไม่ค่อยดีเช่นกัน ตามมาด้วยเรื่อง อะวูเม่นรีเบลส์ (ปี 1936) ภาพยนตร์ดราม่ายุควิกตอเรียนที่ซึ่งเฮปเบิร์นรับบทที่ท้าทายจากการมีลูกนอกสมรส เรื่อง ควอลิตี้สตรีท (ปี 1937) ละครย้อนยุคเช่นกันแต่คราวนี้มีภาพยนตร์ตลก ภาพบนตร์แต่ละเรื่องไม่ได้รับความนิยมจากสาธารณชนเลย ซึ่งหมายความว่าเธอไม่ประสบความสำเร็จในภาพยนตร์สี่เรื่องติดต่อกัน

นอกเหนือจากภาพยนตร์ที่ล้มเหลวแล้ว ปัญหาอีกประการคือ กิริยาท่าทางของเธอ เธอมักมีปัญหากับสื่อมวลชนซึ่งมองว่าเธอหยาบคายและยั่วยุ เมื่อสื่อถามว่าเธอมีลูกหรือไม่ เธอตอบกลับไปว่า "ใช่ฉันมีลูกห้าคน ผิวขาวสองคน ผิวสีสามคน" เธอไม่ให้สัมภาษณ์และปฏิเสธที่จะให้ลายเซ็น ทำให้ได้รับสมญาว่า "แคทารีนจอมหยิ่งยโส" สื่องงงันกับพฤติกรรมแบบเด็กๆของเธอ และการเลือกแฟชั่นของเธอ และนั่นทำให้เธอเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับความนิยมอย่างมาก เฮปเบิร์นรู้สึกว่าเธอต้องออกไปจากฮอลลีวูด ดังนั้นเธอเดินทางกลับไปยังตะวันออกและเล่นละครเวทีตามบทประพันธ์ของเจน ไอร์ ซึ่งประสบความสำเร็จ แต่ด้วยบทที่ไม่แน่นอน และความไม่เต็มใจเสี่ยงต่อความล้มเหลวเพราะกลัวจะซ้ำรอยเรื่องเดอะเลค เฮปเบิร์นจึงตัดสินใจไม่รับงานแสดงบรอดเวย์ จนถุงปลายปีค.ศ. 1936 เฮปเบิร์นต้องการเล่นบทสการ์เล็ต โอฮาราในเรื่องวิมานลอย เดวิด โอ.เซลสนิก ผู้ผลิตปฏิเสธที่จะให้บทเธอเพราะมองว่าเธอไม่มีแรงดึงดูดทางเพศ เขาบอกเฮปเบิร์นว่า "ผมไม่เห็นเลยว่าเร็ท บัทเลอร์จะสามารถไล่ตามคุณได้ถึง 12 ปี"

Bloomington ร กบทแรก บ ล ม ง ต น
เฮปเบิร์นเล่นหนังประกบคู่แครี แกรนต์ 4 เรื่อง จากภาพนี้คือเรื่อง บริงกิงอัพเบบี้ (1938) ซึ่งล้มเหลวในการเปิดตัว แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักในฐานะภาพยนตร์ดั้งเดิมของแนวตลกพ่อแง่แม่งอน

ภาพยนตร์เรื่องถัดไปของเฮปเบิร์นคือ สเตจดอร์ (1937) โดยแสดงคู่กับจิงเจอร์ รอเจอส์ ในบทบาทที่สะท้อนชีวิตของเธอเอง ซึ่งเป็นสาวสังคมที่ร่ำรวยพยายามที่จะเป็นนักแสดง เฮปเบิร์นได้รับคำชมในช่วงต้นทำให้เธอมีรายได้ที่สูงกว่ารอเจอส์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รรับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่ได้โด่งดังในบ็อกซ์ออพฟิศตามที่อาร์เคโอหวังไว้ ผู้เชี่ยวชาญในวงการกล่าวหาว่าเป็นเพราะเฮปเบิร์นทำให้ได้ผลกำไรน้อย แต่บริษัทภาพยนตร์ก็พยายามมุ่งมั่นที่จะฟื้นความนิยมของเธอ เธอแสดงในภาพยนตร์ตลกพ่อแง่แม่งอนของฮอเวิร์ด ฮ็อคส์เรื่อง บริงกิงอัพเบบี้ (1938) เธอต้องรับบททายาทวัยสาวผู้เหลาะแหละของตระกูล ซึ่งทำเสือดาวหายไประหว่างที่กำลังเกี้ยวพานนักบรรพชีวินวิทยา (แครี แกรนต์) เธอเข้าถึงความตลกขบขันของบทด้วยความมั่นใจ และได้รับการฝึกฝนด้านตลกจากดาราร่วมคือ วอลเตอร์ แคทเล็ต บริงกิงอัพเบบี้ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออพฟิศ ด้วยแนวภาพยนตร์ประเภทนี้รวมถึงแกรนต์ทำให้ภาพยนตร์โด่งดังมากในขณะนั้น แต่เอ. สก็อต เบิร์ก นักเขียนชีวประวัติมองว่า ความล้มเหลวนั้นเกิดจากผู้ชมภาพยนตร์ปฏิเสธเฮปเบิร์น

หลังจากภาพยนตร์ บริงกิงอัพเบบี้ ออกฉาย สมาคมเจ้าของโรงภาพยนตร์อิสระแห่งอเมริกาได้รวมชื่อของเฮปเบิร์นเข้ากับรายชื่อ "บ็อกซ์ออพฟิศพอยชั่น" ชื่อเสียงของเธออยู่ในระดับต่ำ อาร์เคโอได้เสนอภาพยนตร์ต่อไปให้คือเรื่อง มาเธอร์แครีส์ชิกเกน ภาพยนตร์เกรดบีและมีแนวโน้มว่าไม่ดี เฮปเบิร์นปฏิเสธ และเธอเลือกที่จะซื้อหนังสือสัญญาคืนเป็นเงิน 75,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ นักแสดงหลายคนในขณะนั้นกลัวที่จะต้องละทิ้งจากความมั่นคงในระบบบริษัทภาพยนตร์ แต่ด้วยเฮปเบิร์นมีทุนทรัพย์ส่วนตัวที่มั่งคั่งทำให้เธอสามารถเป็นอิสระได้ เธอเซ็นต์สัญญาเล่นภาพยนตร์เรื่อง ฮอลลีเดย์ ของโคลัมเบียพิคเจอร์ส และเธอได้เล่นประกบคู่แกรนต์เป็นครั้งที่สาม เธอเล่นเป็นสาวสังคมหัวดื้อที่เล่นสนุกกับคู่หมั้นของน้องสาว ภาพยนตร์ตลกเรื่องนี้ได้รับการวิจารณ์เชิงบวก แต่ก็ไม่สามารถดึงดูดผู้ชมได้มากนัก และบทต่อมาเสนอให้เฮปเบิร์นพร้อมเงินเดือน 10,000 ดอลลาร์ฯ ซึ่งน้อยกว่าที่เธอได้รับเมื่อแรกเข้าวงการ แอนดรูว์ บริทตัน เขียนถึงการเปลี่ยนแปลงของโชคชะตาเฮปเบิร์นว่า "ไม่มีดาราคนไหนทะยานโด่งดังอย่างรวดเร็วหรือได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากที่สุด และไม่มีดาราคนไหนร่วงหล่นจากความนิยมอย่างรวดเร็วเช่นกันมาเป็นเวลานานแล้ว"

ฟื้นคืนชีพ (ค.ศ.1939-1942)[แก้]

หลังจากล้มเหลวในอาชีพ เฮปเบิร์นพยายามกลับคืนสู่ความนิยมอีกครั้ง เธอออกจากฮอลลีวูดเพื่อรับงานแสดงละครเวที และเซ็นต์สัญญาเป็นดาราในบทละครใหม่ของฟิลิป บาร์รี เรื่อง เดอะฟิลาเดลเฟียสตอรี บทได้รับการปรับแต่งเพื่อนักแสดงหญิงที่มีคุณลักษณะเป็นสาวสังคมอย่าง เทรซี ลอร์ด ซึ่งเป็นคนที่มีความผสมผสานทั้งด้านอารมณ์ขัน ความก้าวร้าว ขี้หงุดหงิด และเป็นคนใจอ่อน ฮอเวิร์ด ฮิวส์เป็นหุ้นส่วนของเฮปเบิร์นในเวลานั้น ได้รู้สึกว่าละครเรื่องนี้อาจเป็นตั๋วตีตราให้เธอกลับสู่วงการฮอลลีวูด และเขาได้ซื้อลิขสิทธิ์ให้เธอก่อนที่เธอจะเข้าลองแสดงบนเวทีด้วยซ้ำ เดอะฟิลาเดลเฟียสตอรี ตระเวนแสดงครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ได้รับการวิจารณ์เชิงบวกและเปิดแสดงในนิวยอร์กที่โรงละครชูเบิร์ตในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1939 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากทั้งด้านการแสดงและการเงิน ละครเรื่องนี้แสดงถึง 417 ครั้ง จากนั้นก็ออกตระเวนแสดงครั้งที่สองก็ประสบความสำเร็จ

บริษัทภาพยนตร์ใหญ่ๆพยายามเข้าหาเฮปเบิร์น เพื่อนำบทประพันธ์ของบาร์รีมาผลิตเป็นภาพยนตร์ เธอเลือกที่จะขายลิขสิทธิ์ให้เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์ (เอ็มจีเอ็ม) บริษัทภาพยนตร์เบอร์หนึ่งของฮอลลีวูด ด้วยเงื่อนไขว่าเธอจะต้องได้โด่งดัง จากข้อตกลงทำให้เธอมีสิทธิเลือกผู้ผลิต คือ จอร์จ คูกอร์ และเธอเลือกเจมส์ สจวร์ตกับแครี แกรนต์ (ซึ่งเธอหวังว่าจะได้รับความนิยม) เป็นดาราร่วม ก่อนที่จะถ่ายทำ เฮปเบิร์นได้กล่าวอย่างชาญฉลาดว่า "ฉันไม่อยากจะทำตัวเด่นดังอะไรก่อนถ่ายภาพยนตร์ พวกคนดูมันหมั่นไส้ฉัน คิดว่าฉันเป็นพวกหัวสูงผู้ดีตีนแดง พวกเขาอยากจะเห็นฉันล้มหน้าคว่ำ" แต่ในภาพยนตร์ฉากแรกเธอก็โดนแกรนต์ทำหงายท้อง เบิร์กได้สร้างตัวละครเพื่อให้ผู้ชม "หัวเราะเยาะเธอมากพอก่อนที่สุดท้ายพวกเขาจะเห็นใจเธอ" ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่เฮปเบิร์นจะสามารถ "สร้างภาพลักษณ์ของเธอใหม่"