Atopic dermatitis ภ ม แพ ผ วหน ง

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของผิวหนังตั้งแต่กำเนิด การแพ้เนื่องจากสัมผัสกับพืช เกสรดอกไม้ อาหารบางชนิดหรือสารก่อภูมิแพ้ โดยผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) ผื่นเป็นผื่นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด รองลงมาคือ ผื่นแพ้ (Contact dermatitis) และ ลมพิษ (Urticaria)

ผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema; Atopic dermatitis)

ผื่นผิวหนังอักเสบ หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) สามารถพบได้ประมาณ 10-20% ในเด็ก และ 1-3% ในผู้ใหญ่ โดยสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย เช่น ด้านในข้อพับหรือด้านนอกของข้อเข่า ข้อศอก รอบคอ มือ แก้ม และหนังศีรษะ

อาการที่พบได้บ่อย คือ ผิวเป็นปื้นสีแดง หรือสีน้ำตาลอ่อนปนเทาที่มักปรากฏบริเวณมือ เท้า ข้อเท้า ข้อมือ คอ อกช่วงบน ข้อพับ เปลือกตา ใบหน้าและศีรษะผิ หากเผลอเกามีการติดเชื้อร่วมด้วย ผื่นผิวหนังอักเสบนี้มักพบว่า มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) มักเกิดขึ้นในวัยเด็กช่วงอายุก่อน 5 ปี และอาจคงอยู่ไปเรื่อย ๆ จนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แบบเป็น ๆ หาย ๆ ทั้งนี้ ความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ ขนาดของบริเวณที่เกิดอาการ และการเกาบริเวณที่ติดเชื้อ

สาเหตุของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

ในปัจจุบันยังไม่ระบุได้ชัดถึงสาเหตุ แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน เช่น

  • ปัจจัยทางพันธุกรรมที่มีในตัวผู้ป่วยเอง หรือคนในครอบครัวที่มีโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด และอาการแพ้อากาศ ร่วมกับภาวะทางภูมิต้านทานโรคในร่างกายผู้ป่วยเอง ความเครียดสะสม หรือร่างกายอาจขาดโปรตีนบางชนิดที่ช่วยให้ผิวหนังกักเก็บน้ำ จนทำให้มีอาการดังกล่าวได้
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สารก่ออาการระคายเคือง และสารก่ออาการแพ้ น้ำหอมและสีในโลชั่นหรือสบู่ ไรฝุ่น ละอองเกสร เชื้อรา หรือขนสัตว์ ผ้าขนสัตว อากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะหน้าหนาวที่มีอากาศแห้งและเย็น สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหัน (อาบน้ำร้อนเสร็จแล้วตากแอร์ทันที) อาบน้ำหรือว่ายน้ำบ่อยเกินไป อาหารบางชนิด เช่น ไข่ ถั่วลิสง นม เป็นต้น
  • "ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome)" ซึ่งเป็นสภาวะที่ เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ที่เรียงตัวชิดติดกันเป็นระเบียบ (Tight Junctions) เกิดการอักเสบ จนเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ หมดความสามารถในการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารอาหารและหมดความสามารถในการป้องกันสารพิษ เชื้อก่อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อสารแปลกปลอมเหล่านี้ลอดผ่านช่องว่างเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยไม่ผ่านการกรอง ร่างกายจึงสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอม จนก่อให้เกิดปัญหาของภูมิแพ้ทางผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุได้

การวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

โดยส่วนใหญ่โรคนี้ วินิจฉัยได้จากประวัติทางการแพทย์ และวิธีอื่น ๆ เช่น ตรวจร่างกาย หรือสังเกตผิวหนังของผู้ป่วย การทดสอบการแพ้ทางผิวหนัง แพทย์อาจใช้สารก่ออาการแพ้กระตุ้นบริเวณท้องแขนหรือแผ่นหลังก่อน หรืออาจใช้วิธีอื่น ๆ เพื่อทดสอบอาการแพ้ทางผิวหนังตามดุลยพินิจของแพทย์

ผิวหนังอักเสบหรือผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคที่พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก โดยเฉพาะในช่วงก่อนวัย 1 ปี หากไม่รีบทำการรักษาและดูแลให้ถูกวิธีตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเป็นเรื้อรังจนถึงตอนโตได้ ดังนั้นการพบแพทย์โดยเร็วที่สุดนอกจากช่วยรักษาให้หายขาด ยังช่วยให้เจ้าตัวเล็กไม่หงุดหงิด งอแง พร้อมเรียนรู้ในทุกช่วงวัย

รู้จักผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างผิวหนัง ทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำ เมื่อผิวหนังสูญเสียน้ำเยอะ ผิวจะแห้งและเกิดการอักเสบได้ง่าย อาการมีตั้งแต่ระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซึ่งในเด็กแต่ละช่วงอายุจะมีอาการแตกต่างกัน หากอายุต่ำกว่า 2 ปีมักพบบริเวณแก้ม หน้าผาก คอ แขนและขาด้านนอก ข้อมือและข้อเท้า ส่วนเด็กโตมักพบบริเวณข้อพับ แขน ขา เท้า ข้อเท้า ซึ่งหากผู้ป่วยมีปรากฏอาการแรกเริ่มของโรคนี้ตอนโตมักจะหายยากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการตอนเด็ก


อาการบอกโรค

หากเจ้าตัวเล็กมีอาการ 4 ข้อดังต่อไปนี้อาจบ่งบอกว่ากำลังเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง

  1. มีผื่นแดง มีอาการคัน
  2. ผื่นขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ตามช่วงอายุ เช่น ผื่นมักเกิดที่บริเวณแก้ม หน้าผาก คอ แขนและขาด้านนอก ข้อมือ ข้อเท้าในทารก และผื่นมักเกิดตามข้อพับในเด็กโตและผู้ใหญ่
  3. ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ
  4. มีประวัติคนในครอบครัวสายตรงเป็นภูมิแพ้ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้มากขึ้น เช่น
    • จมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)
    • ภูมิแพ้ผิวหนัง
    • หอบหืด

หากมีอาการไม่ครบทั้งหมด แต่มีอาการคัน มีผื่นบริเวณข้อพับ ซึ่งเด็กเล็กมักพบบริเวณข้อพับด้านนอก เด็กโตมักพบบริเวณข้อพับด้านใน มีผื่นผิวหนังอักเสบที่เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง มีประวัติครอบครัวหรือพี่น้องสายตรงเป็นโรคภูมิแพ้ ร่วมกับอาการผิวแห้ง รอบ ๆ ปากซีด ใต้ตาคล้ำ ขนคุด มีลักษณะคล้ายหนังไก่ (Perifollicular Accentuation) ผิวหนังไม่เรียบ ผิวแห้งหรือลักษณะเป็นขุย ผิวแตกหน้าหนาว อาจเป็นบางบริเวณหรือเป็นทั่วร่างกาย เหล่านี้ก็เป็นอาการร่วมที่บ่งบอกว่าเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้เช่นกัน ซึ่งควรต้องรีบพบแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญเพื่อวินิจฉัยโรคจะดีที่สุด


Atopic dermatitis ภ ม แพ ผ วหน ง

ตรวจเช็กผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก

ควรพบแพทย์เฉพาะทางโดยเร็วที่สุดเพื่อรักษาโรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก โดยแพทย์จะทำการพิจารณาลักษณะของผื่นที่เกิดขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ และซักประวัติโดยละเอียด เพื่อทำการแยกโรคที่ถูกต้องและทำการรักษาอย่างถูกวิธี เนื่องจากโรคผิวหนังในเด็กมีหลากหลาย อาทิ ภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมันหรือเซ็บเดิร์ม โรคสะเก็ดเงิน โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง เป็นต้น


รักษาผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก

การรักษาผื่นแพ้ผิวหนังในเด็กมี 3 วิธีหลัก ๆ คือ

  1. การดูแลผิวเบื้องต้นและการใช้ครีมเพิ่มความชุ่มชื้น (Basic Skin Care) แพทย์จะทำการสอนวิธีการทาครีมและสอนวิธีปฏิบัติตัวในการดูแลผิวอย่างถูกต้อง การลดปัจจัยที่ทำให้เกิดผิวแห้ง การเลือกใช้สบู่ และการอาบน้ำอย่างถูกวิธี
  2. ใช้ยาทาเพื่อลดการอักเสบตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์จะเลือกชนิดของยาให้เหมาะสมกับลักษณะ ตำแหน่ง และความรุนแรงของผื่น ร่วมกับการสอนทายาอย่างถูกวิธี
  3. รับประทานยา เพื่อลดอาการคัน โดยที่ผู้ป่วยห้ามซื้อยามาทาหรือรับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะหากใช้ยาไม่ถูกกับโรคอาจส่งผลให้อาการแย่ลงได้

นอกจากนี้โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็กมีโอกาสเกิดจากภูมิแพ้อาหารได้ โดยมักพบมีอาการร่วมกับระบบอื่นของร่างกาย เช่น มีอาการหายใจครืดคราดหรือถ่ายอุจจาระมีเลือดปนร่วมด้วย ในกรณีนี้แพทย์อาจทำการซักประวัติอาหารเพิ่มเติม หาสาเหตุ เพื่อรักษาตามอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อไป

อย่างไรก็ตามการหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติคือสิ่งสำคัญที่สุด หากเจ้าตัวเล็กมีผื่นคันที่เป็น ๆ หาย ๆ และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และดูแลผิวของเจ้าตัวเล็กอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อจะได้หายจากโรคโดยเร็วที่สุด