การน งก อนเห ด ท อ ณหภ ม 90-100

เห็นลมเป็นชื่อเรียกกันทางภาคเหนือ ในภาคีอานเรียกเห็ดบด หรือเํห็ดกระด้าง ในธรรมาชาติมักพบขึ้นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม่ตะเคียน และ ไม้กระบาก เป็นต้น เห็ดลมเป็นเห็ดพื้นเมืองที่รสชาติดี เป็นเห็ดที่มี คลีป หมวดดอกขนาดใหญ่ กว้าง 5-12 เซนติเมตร ก้านสั้น 1-2 เซนติเมตร สีน้ำตาลถึงน้ำตาลปนดำ มักพบเกิดนขึ้นใน ฤดูร้อน/ฝน ฤดูฝน/หนาว ที่อากาศกลางวันและกลางคืนอุณหภูมิจะต่างกันมากๆ เห็ดชนิดนี้ดอกอ่อนจะนิ่มเมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง จึงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานข้ามปี เวลานำมาปรุงอาหารก้นำไปแช่น้ำให้คืนสภาพ ราคาของเห็ดลม จะค่อนข้างสูงกว่าเห็ด ชนิดอื่นๆ แล้วแต่ฤดูกาล

วัสดุอุปกรณ์การเพาะเห้ดที่สำคัญ

1.หัวเชื้อเห็ดบด

2.ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนได้แก่ ไม้ยางพารา

3.อาหารเสริมได้แก่รำละเอียด ปูนขาว ยิปซัม ดีเกลือ เกลือแร่ ซึ่งใช้ผสมผสานตามสูตร

4.ถุงพลาสติก ยางรัด สำลี ตะเกียบแอลกอฮอร์สำหรับฆ่าเชื้อ คอขวดพลาสติกและจุกประหยัด และสำลี

5.แอลกอฮอร์สำหรับฆ่าเชื้อแอลกอฮอร์สำหรับจุดไฟ

6.หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ

7.โรงเรือนสถานที่ใช้บ่มก้อนเชื้อเห็ด

8.โรงเรือนสถานที่ ที่ใช้เปิดดอกเห็ด เผื่อผลิตเห็ด

การทำถุงก้อนเชื้อ

ควรเริ่มในเดือนกุมภาพันธุ๋ดีที่สุด เพื่อให้ทันช่วงที่อุณหาภูมิืเหมาะสมกับการเจริญเติมโตของเห็ดบด การทำถุงก้อนเชื้อจะใช้ขี้เลื่อยยางพาราเป็นวัสดุเพราะ โดยใช้วัสดุอาหารอื่นๆผสมตามสูตร ดังนี้

1. ชี้เลื่อย 100 กิโลกรัม

2.รำละเอียด 7.5 กิโลกรัม

3.ปลายข้าว 1 กิโลกรัม

4.ปูนขาว 2 กิโลกรัม

5.ยิปซัม 0.5 กิโลกรัม

6. ดีเกลือ 0.2 กิโลกีัม

7.ความชื้น (น้ำ) 65-70 %

8.ภูไมท์ 2-4 กิโลกรัม

วิธีบรจุและรึ่งก้อนเชื้อ

1.บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนความร้อนกดให้แน่น ประมาน2/3ของถุง

2.รวบปากถุง สามคอขวดพลาสติก พับปากถุงลงดึงให้ตึง จากนั้นใช้จุกยางประหยัดอุดลงไป

3.นำไปนึ้งหรือฆ่าเชื้อ ในอุหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียสสม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ซม จากนั้นทิ้งให้แห้ง

4.นำถุงก้อนเชื้อที่นึ้งฆ่าเชื้อแล้ว มาใส่เชื้อจากหัวเห็ดที่เตรียมไว้ โดยทั่วไปจะเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟาง จากนั้นใช้ไม้หรือแท่งเหล็กที่ แข็งจ่มใน แอลกอฮอล์ แล้วเขี่ยให้เมล็ดข้าวฟางแตกตัวออกจากกัน จากนั้นก้หยอดหัวเชื้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อเห็ด โดยปฏิบัติในพื้นที่ที่สะอาด ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคและแมลง

5.ฃนำไปวางไว้ในโรงเรือนหรือสถานที่สำหรับเพาะเส้นใย อุณหภูมิอยูที่ 28-30 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเจริญเติมโต

การบ่มพักเส้นใย

เส้นใยที่เจริญเติบโตในถุงเพาะเห็ด 1 กิโลกรัม เส้นใยใช้ประมาน 30-35 วัน จึงจะเดินเต็มถุงเพาะ เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้วต้องพักบ่มเส้นใยโดยให้เส้นใยสีน้ำตาล โดยเฉลี่ยนจะใช้เวลาประมาณ 80-90 วัน จึงนำไป เปิดดอกได้ โรงพักบ่มเส้นใยควรเป็นโรงเรือน ที่่ร่ม โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี อุณหภูมิอยู่ที่ 38-35 องศาเซลเซียส

การเปิดถุงและการกระตุ้นให้เกิดดอก

1.เปิดจุกประหยัดหรือตัดปากถุงในโรงเรือน ให้ความชื้นโดยการให้น้ำในโรงเรือนและบริเวณก้อนเชื้อให้มีความชั้นสัมพัทธุ๋ที่ 70-80%

2.ปรับโรงเรือนให้มีสภาพร้อนชื้นอุณหภูมิประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส ประมาฯ 2-3 วัน ดอกเห็ดจะเริ่มงอกออก

3.จากนั้นปรับอุณหภุมิในโรงเรือนให้ลดลงอากาศท่ายเทได้สะดวกความเชื้อ สัมพัทธุ๋ 60-70 % มีแสงสว่างปานกลางให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตต่อไปในระหว่างให้ผลผลิตแต่ละครั้ง เส้นใยเห็ดบดจะพักตัวประมาณ 5-7 วัน ส่วนเห็ดขอนขาวจะทยอย ให้ผลผลิต

โรงเรือนเปิดดอก

โรงเรือนเปดิดอกเห็ดบดควรใก้มีอแสง ผ่านเข้าภายในโณงเรือนได้ประมณ 60-70% มีช่องเปิด/ปิด สำหรับอากาศถ่ายเทอาจใช้ตาค่ายำรางแสงมุงฟลังคา และด้านข้าง ในฤดูฝนมึงหลังคาทับด้วยหญ้่าคาหรือวัสดุกันน้ำ

การเก็บผลผลิต

การเก็บดอกเห็ดในระยะที่ดอกเห็ด มีอายุ 2-3 วันหรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่ได้ ราคาดีที่สุด ทั้งการบริโภคสดหรือแห้ง ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 100-250กรัม/ถุง เก็บได้ในระยะเวลา 100-120 วัน

วิธีเพาะเห็ดลม :http://www.youtube.com/watch?v=1bw-mtDu6EE

เห็นขอนขาว

การน งก อนเห ด ท อ ณหภ ม 90-100

เห็ดจอนขาว ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lenti nus suarrosulus Mont ในธรรมชาตมักพบขึ้นบนไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกัน เห็นขอนขาวจะเป็นเห็ดที่เพาะไม่อยากแต่เห็ดขอนขาวจะต้องการความเอาใจใส่ในขั้นตอนการเก็บผลผลิต เห็ดขอนขาว เป็นเห็ดที่ชอบอากาศร้อน ซึ้งปันจุบันมีวงจรในการผลิตอยู่ที่เดือนพฤษจิกายน-มิถุนายน

ปัจจัยที่มีต่อการเจริญเติมโต

1.แสงสว่าง

เห็ดขอนขาวต้องการแสงสว่างพอสมควร โรงเรือนจึงไม่ปิดทึบหรือมากจนเกินไปพออ่านหนังสือได้

2.ความชื้นสัมพัทธ์

ความชื้อนสัมพัทธ์ควรอยู่ที 80-85% หรือรดน้ำวันละ 4-5 ครั้งตรวจสอบจากเครื่องวัดตุ้มแห้ง-ตุ้มเปียก

3.อุณหภูมิ

อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ประมาณ 30-40 องศาเซลเซียส ดังนั้นเห็ดชนิดนี้สามารถเพาะได้ทุกฤดูร้อนของทุกภาคยกเว้นฤดูหนาวของทางเหนือและอีสานตอนบน

สูตรอาหารเห็ดขอนขาว

มีสูตรวัสดุที่เพาะที่ประกอบด้วยส่วนผสมดังนี้

สูตรที่1

-ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม

-รำละเอียด 5 กิโลกรัม

-น้ำตาลทราย 3 กิโลกรัม

-ปูนขาว 1 กิโลกรัม

-ดีเกลือ 200 กรัม

สูตร2

-ขี้เลื่อยไม่เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม

-แอมโมเนียมซัตเฟต 1 กิโลกรัม

-ปูนขาว 1 กิโลกรัม

-รำละเอียด 3 กิโลกรัม

นำส่วนผสมมาคลุกเคล้าให้เข้ากันดี ปรับความชื้นให้อยู่ประัมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ต่อขากนั้นนำมาบรรจุลงถุงที่เตรียมไว้อัดให้แน่น ต่อจากนั้นนำคอขวดที่เตรียมไว้ จับจีบถุงคอขวดคลอมลง ดึงให้ตึงสมำเสมอ รัดด้วยหนังยางปิดด้วยสำลี ต่อจากนั้นนำกระดาษหนงสือพิมหุ้มต่อจากสำลีอีกชั้นหนึ่งจากนั้นนำไปนึ้งฆ่าเชื้อทันทีไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ซม เพาะจะทำให้อาหารบูด.

การผลิตดอกเห็ด

เมื่อเส้ยใยเริ่มสร้างสีน้ำตาลบนผิววัสดุ เพาะมีเส้นใยหนาๆมาออตัวดันที่ปากถุงประมาณ 2-3 % ให้นำไปเปิดที่ก้อนเชื้อเห็ดโดยใช้มีด กรีดพลาสติกรอบๆปากถุงออก ซึ่งเรียกว่า ตัดบ่า ในโรงเรือยนเปิดดอก ในโณงเรือนเปิดดอกแล้วนำไปวางซ้อนบนชั้นเอ การเรียงตัวไม่สูงเกิน 0.5 เมตร เพราะจะสดวกต่อการเก็บดอกและความชื้น ความเย็นจากโรงเรือนกระจายขั้นถึงภายในโรงเรือนควรรักษาความชื้นไว้ที่ 70-90 % โดยการรดน้ำควรใช้ความระมัดระวังอย่าให้น้ำเข้าไปในก้อนเชื้อ เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อเน่าเสียเร็ว อุณห๓มิที่เหมาะสม ในการเปิดดอกอยู่ระหว่าง 20-35 องศาเซลเซียส

การเก็บผลผลิต

ระยะที่เหมาะต่อการเก็บนำมารับประทานมากที่สุด คือระยะที่ดอกเห็ด เป็นสีขาวนวล หรือหมวกเห็นมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 3 ้ซนติเมตรเห็ดขอนขาวเมื่อนำมารับประทานจะให้รสชาติหวาน เหนียวเล็กน้อยคล้ายกันเนื้อสัตว์ นิยมรับประทานกันมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบน ราคาเห็ดขอนขาวจะอยู่ระหว่าง 35-80 บาท/กิโลกรัม ผลผลิตที่เก็บได้จะ ประมาณ 80-100 กรัมต่อถุง เนื่องจากเห็ด ขอนขาวมีน้ำหนักเขา

การรักษาเห็ดขอนขาว

ควรเก็บไว้ในที่เย็น ป้องกันไม่ให้ดอกฉ่ำน้ำ เน่าเร็ว วิธีง่ายๆคือห่อกระดาษหรือถุงกระดาษแล้วนำในแช่ในชองแช่ผักหากบันจุในถุงพลาดติกควรเจาะรูให้ไอน้ำระเหยออกไป ซึ้งจะเก็บไว้ได้นานประมาณ1สัปดาห์ หรือแปรรูปโดยการต้มน้ำเหลือ 3 % บรรจุลงในขวดแก้วที่สะอาด เก็บไว้ในตู้เย็นใต้ช่องแช่แข็ง จะช่วยยืดอายุการเก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น

โรคแลัศัตรูเห็ดขอนขาว

ศัตรูตัวฉกาดของเห็ดขอนขาวคือ ไรไข่ปลาซึ่งมักจะทำลายเส้นใยของเห็นขอนขาวที่เจริญอยู่ในถุงพลาดติก ก่อนนำไปเปิดให้เห็ดออกดอก หรือทำลายโดยตรงที่ดอกเห็ด ทำให้ดอกเห็ดแคระแกร็น ในถุงเชื้อเห็ดจะพบเมล็ดกลมๆเล็กๆ เหมือนไข่ปลากระจายอยู่ตัวไปหากระบาดเยอะจะพบซากตัวเต็มไวที่ตายแล้วผงฝุ่นสีน้ำตาลคล้านขี้เลื่อยละเอียดเต็มไปหมดบริเวณปากถุงเห็ดและชั้นที่วางถุกเห็ด

วิธีกำจัด

-ใช้คาร์บาริลหรือเซฟวิน ในอัตราเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 8-10 ช้อนแกง พูน/น้ำ1 ปี๊บ หรือใช้เพนโปรพาธริน อัตรา 0.05 % หรือประมาณ 100 CC./น้ำ 1 ปี๊บ ผสมน้ำยาจับใบฉีดพ่นให้ทั่วโรงเรือน ถุงเชื้อเห็ด และจุกสำลี ซึ้งจะป้องกันการเข้าทำลายของศัตรูเห็ดได้ประมาณ 10.14 วัน

-ร่มถุงเชื้อเห็ดด้วยเมทิลโบรไมด์ อัตรา 10 กรัมในตู้ขนาด กว้างXยาวXสูงเท่ากับ 1X1X1/2 เมตร ประมาณ 5-7 ชั่วโมง หากพบการระบาดมากให้ทำการอบโรงเรือน เห็ด แล้วฉีดพ่นด้วยสารเซฟวิน

-ควรทำลายและเคลื่อนย้ายถุงเห็ดที่ถูกทำลายจากไรไข่ปลาออกจากโรงเรือนทันทีเพื่อป้องกันการขยายพันธุ๋ของโรไข่ปลา

วิธีเพาะเห็ดขอนขาว: http://www.youtube.com/watch?v=zDak1cJ4edk

เห็ดนางฟ้า

การน งก อนเห ด ท อ ณหภ ม 90-100

ชื่อสามัญ : Sajor-caju Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plerotus sajor caju (Fr.) Sing ชื่ออื่น เห็นแขก

เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดสกุลเดียวกับเห็นนางรมและเห็ดเป๋าฮื้อ แต่เห็ดนางฟ้าจะมีหมวกหนาแน่นกว่าเห็ดนางรม ในปัจจุบันได้มีการผสมและปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อให้เห็ดมีสายพันธุ์ที่ดีอยู่ตลอดเวลา ซึ้งพบว่า เห็ดนางฟ้าภูฏานที่นำมาจากภูฏาน ประเทศอินเดียเป็นพันธุ๋ที่มีข้อดีหลายประการ เช่น เส้นใยเห็ดเจริญเติมโตได้ดีในอาหารวุ้น พี.ดี.เอ โดยเฉพาะอาหารวุ้นที่ผสมถั่วเหลืองและถั่วเขียวให้ผลผลิตสูงกว่าเห็ดที่อยู่ในสกุลเดียวกัน นอกจากนี้เห็ดนางฟ้าภูฏานยังมีประสิทธืภาพในการเปลี่ยนอาหารที่อยู่ในวัสดุเพาะมาใช้ในการเจริญเติบโตได้สูงมาก มีความต้านทานต่อราดำ ราเขียวได้ จึงทำให้ก้อนเชื้อมีโอกาศเสียน้อยลง

ปัยจัยที่มีผลต่อการเจริญเติมโต

1.อุณหภูมิ

ระดับอุณหภูมิภายในโรงเรือนที่เหมาะสมการเจริญเติบโตเป็นดอกของเห็ดนางฟ้าจะ อยู่ที่ประมาณ20-30องศาเซลเซียล หรือสูงกว่า 35องศาเซลเซียสเห็ดนางฟ้าจะไม่ออกดอก และทำให้ก้อนเชื่อได้รับอุณหภูมิต่ำกว่า20 องศาเซลเซียส ใน ระยะสั้นๆ หรือได้รับอุณหภูมิในช่วงเวลากลางคืนก็จะช่วยชักน้ำให้การออกดอกของเห็ดดีขึ้น

2.ความชื้น

ความชื้อนภายในโรงเรือนไม่ควรต้ำกว่า 80% ถ้าไม่ชำนาญในการสังเหตุควรใช้เครื่องมือวัดความชื้น คือ ไฮดรอมิเตอร์ แล้วนำตัวเลขไปเปรียบเทยบกับตารางดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้เห็นชื้นหรือแห้งเกินไป ซึ่งมีผลต่อการเกิดดอกเห็ด

3.แสง

เห็ดหลายชนิดไม่จำเป็นต้องได้รับแสงเลยเพราะเห็นไม่มีการสังเคราะห์แสงได้เอง แต่แสงมีความจำเป็นต่อการทำให้ดอกเห็ดสมบูรณ์ หรือเพื่อให้เห็ดออกดอกเร็วขึ้น เห็ดนางฟ้า เมื่อไม่ได้รับแสงก้านดอกจพยาวออก ดอกเล็กและผลผลิตต่ำ

4.การถ่ายเทอาหาร

เห็ดทุกชนิดขณะสร้างเส้นใยและออกดอก เห็ดต้องได้รับออกซิเจนสูงมาก แต่ในระยะที่สร้างเส้นใยจะทนต่ออกซิเจนได้ดีกว่าในระยะที่เกิดดอกเห็ด โรงเรือนที่ดีต้องให้อากาศถ่ายเทได้ดีโดยเฉพาะโรงเรีือน ขนาดใหญ่ ถ้าระบายอากาศไม่ดี ภายในโรงเรือนจะสะสมก๊าซคารฺบอนไดออกไซด์ไว้มาก สังเกตุที่ลำต้นจะยืดยาวดอกหุบไม่บาน

5.ปริมาณอาหารในวัสดุเพาะ

นับว่ามีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตเห็ดนางฟ้าเป็นอย่างมาก พบว่าหากในอาหารเสริมพวกแอมโมเนียไนเตรด จะทำให้ผลิตเห็ดนางฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ50%

วิธีเพาะเห็ดนางฟ้า

หลังจากทำก้อนเชื้อได้จำนวนมากพอแล้วถึงเวลาต้องนำก้อนเชื้อนั้นไปบ่มไว้ประมาณ 20-25 วัน เก็บเข้าโรงเรือนเตรียมไว้ให็เป็นระเบียบ ไม่ควรให้ถูกแดดถูกฝน ลมไม่โกรกมาก อากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนชั้นตอนเปิดดอก ให้นำก้อนเชื้อที่เส้นใยเห็ดเจริญเต็มถุงคัดเฉพาะที่ไม่มีการปนเปื้อน มาเปิดในโรงเรือนเปิดถุงโอยเอาสำลีออก รักษาความชื้นในโรงเรือน 70-90 % แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำเข้าถุง เพราะถุงจะเน่า และเสียเร็ว หลังจากนั้นประมาณ 7 วัน ดอกเห็ดเล็กๆจะเกิดขึ้น จากนั้นจึงเริ่มเก็บผลผลิตได้ ซึ่งจะเก็บประมาณ1สัปดาห์ จากนั้นพักก้อน 4-5 วัน คือหยุดให้น้ำ รอให้ดอกเห็ดแทงหน่อใหม่ จากนั้น เริ่มให้น้ำใหม่และรอ เก็บผลผลิตในรอบต่ิอไป

ต่อมารือเรื่องการดูแลรักษา

ในฤดูแล้งให้รดน้ำที่พ้นวันละ 1-2 ครั้ง แต่สำหรับในฤดูฝนถ้่าฝนตกมากให้งดให้น้ำ ในเวลาให้น้ำอย่าให้ถูกดอกเห็ด ภายในโรงเรือนจะต้องมีอากาศถ่ายเทและมีแสงสว่างส่องเข้าถึง เส้นใยจะพัฒนาดอกเห็ดขนาดเล็กเท่าดอกเข็ม หลังจากนั้นไม่เกิน 7 วันก้จะเก็บผลผลิตได้

สูตรอาหารสำหรับเห็ดนางฟ้า

– ขี้เลื่อยแห้ง 100 กิโลกรัม

-รำละเอียดหรือรำข้าวสาลี 8กิโลกรัม

-ใบกระถินป่น 3 กิโลกรัม

-ส่าเหล้า 1-2 กิโลกรัม

แป้งต่างๆ หรือน้ำตาลทราย 1-2 กิโลกรัม

-หินฟอสเฟต 1-2 กิโลกรัม

-โดโมไมท์ หรือหินปูน 1 กิโลกรัม

-ดีเหลือ 0.1 กิโลกรัม

ศัตตรูเห็ดนางฟ้า

เห็ดนางฟ้ามีคุณสมบัตรที่กลิ่นที่ดึงดูดโรคและแมลงศัตรูเห็ดได้อย่างดี ดังนั้นจึงมีศัตรูเห็ดรบกวนหลายชนิด

1.หนูและแมลงสาบ กำจัดโยยาหรือกับดับ

2.ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงในระยะก้อนเชื้อ และดอกเห็ดทำให้ผลผลิตลดลง

ไรจะระบาดเมื่อความชื้นในโรงเรือนต่ำ ไม่ควรปล่อยให้เกิดการหมักหมม ดังนั้นกานป้องกันจะดีกว่าการดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ การใช้สารเคมีกำจัดไม่วครทำเพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโรค

3.แมลงหวี่ จะเกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมาก แมลงหวี่จะมาตอมและมาไข่และขยายพันธุ๋ควรย้ายก้อนเหล่านั้นออกจากโรงเรือนและทำลาย

4.โรคจุดเหลือง เกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บ หรือเพราะน้ำที่รดนั้นสกปรก

5.ราเมือก ลักษณะเป็นสีเหลือง กลิ่นดาวจัด สามารถระบาดโดยสปอร์ได้ ควรป้องกันโดยเอาก้อนที่หมดอายุแล้วและเศษวัสดุในโรงเรือนออกอย่าให้หมัดหมม