ทำไมไม ม ขนมฟ งกาด เน ยท ไทยแล ว

อาหารจานด่วน (Fast Food) คือ อาหารที่ปรุงเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว หรือทันเวลาพอดี (Just-in-time) และพร้อมกินได้ทันที ซึ่งโดยทั่วไปคนมักจะนึกถึงแต่อาหารจานด่วนของฝรั่งจำพวก พิซซ่า ไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ ฮอทดอก ฯลฯ หากความจริงแล้วอาหารไทยบางประเภทก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอาหารจานด่วนด้วยเหมือนกัน เช่น ข้าวราดแกง อาหารตามสั่งทุกชนิด ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีนน้ำยา สุกี้ เป็นต้น ซึ่งอาหารดังกล่าวล้วนมีกรรมวิธีในการปรุงที่รวดเร็วและพร้อมกินได้เลย

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีประโยชน์ครบถ้วนมากนัก หากรู้จักเลือกกินให้เหมาะสมก็พอจะให้คุณค่าทางโภชนาการอยู่บ้าง โดยเฉพาะอาหารจานด่วนของไทย

ส่วนอาหารขยะ (Junk Food) คือ อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย หรือแทบไม่มีเลย เรียกว่าอาหารพลังงานสูญเปล่า นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังก่อให้เกิดท็อกซินสะสมในร่างกายอีกด้วย เพราะอาหารประเภทนี้มักจะมีโซเดียมหรือเกลือ น้ำตาล พลังงาน หรือไขมันอย่างใดอย่างหนึ่งในปริมาณที่สูง แต่มีสารอาหารประเภทโปรตีน วิตามิน เกลือแร่น้อยมาก เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบ ลูกอม หมากฝรั่ง โดนัท ไอศกรีม ขนมหวานต่างๆ รวมทั้งอาหารที่ทอดด้วยความร้อนสูงอย่างมันฝรั่งทอดกรอบ ฉะนั้นการกินเป็นประจำ หรือกินปริมาณมาก จะก่อโทษกับร่างกายได้

หลากโรคที่แฝงมากับความเร็ว

- โรคอ้วน ผลเสียที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากการกินอาหารจานด่วน คือน้ำหนักเพิ่มขึ้น และเมื่อกินบ่อยๆก็จะก่อให้เกิดโรคอ้วน และอีกสารพัดโรคตามมา

- โรคกระดูกข้ออักเสบ น้ำหนักส่วนเกินจากการสะสมไขมัน และน้ำตาล จะทำให้กระดูกสันหลัง ข้อสะโพก และข้อเข่าล้า และมีผลทำให้กระดูกอ่อนเสื่อมสภาพ ช่องข้อต่อจะหดแคบลง และกระดูกข้อต่อจะบดทับกัน

- โรคหัวใจ เมื่อกินอาหารที่มีไขมันบ่อยๆ จะทำให้มีคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งอาจทำให้มีการสะสมลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง

- ความดันโลหิต ความเค็มปริมาณสูงจากอาหารดังกล่าว หากสะสมในร่างกายเยอะๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิต และโรคไตค่อนข้างสูง

- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คนที่กินอาหารดังกล่าวเป็นประจำมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากการสะสมไขมัน โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง

- โรคตับ การสะสมไขมันในตับ อาจทำให้เกิดโรคตับแข็งได้

- โรคเบาหวาน ผู้ที่มีไขมันในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องมากเกินไป มักเกิดภาวะต้านอินซูลิน ทำให้มีการสะสมกลูโคสในร่างกาย ซึ่งส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานได้ และภาวะแทรกซ้อนประการหนึ่งคือการทำลายหลอดเลือดในจอตา อันจะทำให้ตาบอดได้

- ภาวะไขมันในเลือดสูง คนที่กินอาหารดังกล่าวเป็นประจำ จะมีระดับไขมันในเลือดมากกว่าคนที่ไม่ได้กิน และมีโอกาสเป็นเส้นเลือดในสมองอุดตัน

- หลอดเลือดพิการ เพราะอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยแป้งขาว ไขมัน และน้ำตาล เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด

เลือกกินฟาสต์ฟู้ดให้ได้คุณค่าทางโภชนาการ ?

เพื่อไม่ต้องเสี่ยงกับสารพัดโรคที่มากับอาหารจานด่วนแบบเดิมๆ เรามีทางเลือกเพื่อสุขภาพให้ดังนี้

- ประเภทฟาสต์ฟู้ด : ปลาและมันฝรั่งทอด

ผลเสียที่เกิดกับร่างกาย : แม้ร่างก่ายจะได้รับวิตามินบี 6 บี 12 โปรตีนคาร์โบไฮเดรตสูง และโพแทสเซียมอยู่บ้าง ทว่าอาหารจานนี้ก็มีไขมันสูง ใยอาหารน้อย มีวิตามินเอ ซี ดี โฟเลต และเบต้าแคโรทีนต่ำ ให้ไขมันร้อยละ 30-50 ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน

ทางเลือกเพื่อสุขภาพ : ขนมปังโฮลวีท กับสลัดผักกาดแก้ว มะเขือเทศ หอม น้ำมันมะกอก และน้ำมะนาว เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ แต่มีวิตามินซี ดี โฟเลต และเบต้าแคโรทีนสูง

- ประเภทฟาสต์ฟู้ด : แซนด์วิชกับแอปเปิ้ล 1 ผล

ผลเสียที่เกิดกับร่างกาย : หากใช้เนื้อสัตว์คลุกน้ำสลัดข้นมายองเนสกับขนมปังทาเนยคุณจะได้พลังงาน 2 เท่าและไขมัน 3 เท่าของแซนด์วิชปลาทูน่า

ทางเลือกเพื่อสุขภาพ : อาหารจานนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของขนมปัง ส่วนประกอบและปริมาณไส้ของแซนด์วิช หากคุณใช้ขนมปังโฮลวีท ไส้ปลาทูน่ากับผักกาดแก้ว และแอปเปิ้ลไม่ปอกเปลือก คุณจะได้รับคุณค่าทางอาหารมากกว่า

- ประเภทฟาสต์ฟู้ด : พิซซ่า

ผลเสียที่เกิดกับร่างกาย : อาหารจานนี้ให้พลังงานและไขมันสูง แต่โปรตีนต่ำ บางครั้งมีเกลือโซเดียมสูง ถ้าเป็นหน้าบลูชีส ซาลามิ เพ็ปเปอโรนิ หรือแฮมระดับไขมันก็ยิ่งเพิ่มขึ้น

ทางเลือกเพื่อสุขภาพ : แป้งพิซซ่าที่ทำจากแป้งโฮลวีทจะช่วยเพิ่มใยอาหาร มะเขือเทศให้โปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัส

- ประเภทฟาสต์ฟู้ด : เบอร์เกอร์เนื้อ มันฝรั่งทอด และมิลก์เชก (นมปั่น)

ผลเสียที่เกิดกับร่างกาย : แม้จะมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม แต่ในขณะเดียวกันก็มีไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว นอกจากนี้ยังมีคอเลสเตอรอลและเกลือโซเดียมสูง รวมทั้งมีสีและสารแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์ มีใยอาหารและวิตามินซีต่ำ

ทางเลือกเพื่อสุขภาพ : สลัดที่ใส่พาสต้าชนิดที่ทำจากแป้งโฮลวีท กับผักสดนึ่งพอสุก แป้งโฮลวีทให้ใยอาหาร ผักให้วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน ส่วนบล็อกโคลีให้ธาตุเหล็ก

อย่างไรก็ตาม อาหารไม่ใช่ทั้งหมดของการมีสุขภาพดี หากยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่มีผลต่อการสร้างภูมิต้านทานในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การมองโลกในแง่ดี หรือการใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ

10 อาหารขายดีที่อันตราย ?

1.) แฮมเบอร์เกอร์ ส่วนใหญ่ใส่สารปรุงรส MSG (Monosodium Gutamate) ที่ทำให้ปวดศีรษะและเกิดอาการแพ้ ส่วนเครื่องปรุงรสของเบอร์เกอร์จำพวกพริก กะหล่ำปลี มะเขือเทศ ล้วนใช้สารก่อมะเร็งจากเกลือเคมีกำมะถัน เพื่อควบคุมความสดของผัก

2.) ฮอทด็อก มักจะใส่สารไนไตรท์ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีไขมันที่มีสารประกอบไม่เปิดเผยอยู่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำไปปิ้งย่างจะเกิดสารพิษชื่ออะคริลิไมด์ ซึ่งเป็นอีกสารหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและทำลายประสาท

3.) เฟร้นช์ฟรายหรือมันฝรั่งทอด การทอดในอุณหภูมิที่สูงทำให้มีสารอะคริลิไมล์ และน้ำมันที่ใช้ในการทอดมันฝรั่งจะเกิดการออกซิไดซ์ ที่สำคัญมันฝรั่งมีกลีซีมิคอยู่สูงมาก ซึ่งจะเปลี่ยนมันฝรั่งที่เรากินเข้าไปนั้นเป็นน้ำตาลได้เร็วมาก กล่าวคือกินมันฝรั่งทอดหนึ่งหัว จะมีน้ำตาลเท่าๆกับเค้กช็อคโกแลตชิ้นโตๆเลยทีเดียว

4.) คุกกี้ช็อกโกแลต การกินคุกกี้ช็อกโกแลตบ่อยๆ จะเพิ่มความกระหายน้ำตาลในร่างกายภายใน 3 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งการที่ร่างกายได้รับน้ำตาลในปริมาณที่สูงเกินไป จะส่งผลให้ผิวหนังเหี่ยวย่น และเกิดริ้วรอยเร็วขึ้น

5.) พิซซ่า ผิวหน้าพิซซ่าที่อบด้วยอุณหภูมิที่สูง อาจมีสารอะคริลิไมล์เกิดขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มหน้าไส้กรอกยังทำให้มีความเสี่ยงสูงจากสารไนไตรน์ สารกันบูดและสารเคมีอื่นๆ รวมทั้งไขมันอิ่มตัว

6.) น้ำอัดลม ในน้ำอัดลม 1 กระป๋องมีน้ำตาลที่ไม่ให้พลังงานอยู่ประมาณ 12 ช้อนชา ดังนั้นการกินน้ำอัดลม 1 กระป๋องก็เท่ากับกินแท่งช็อกโกแลตน้ำตาลเหลวดีๆนี่เอง

7.) ชิ้นไก่ทอดเนื้อนุ่มไร้กระดูก มีสารฟอสเฟตที่ทำให้ร่างกายเกิดกรด ส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ยากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจมีสารอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นสารพิษที่มีอันตรายต่อสมอง และกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย

8.) ไอศกรีม มีไขมันไฮโดรจีเน็ตและไขมันที่แปรเปลี่ยนไปจากธรรมชาติ และเป็นตัวการที่ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ฮอร์โมนที่ฉีดเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำนมในวัวยังส่งผลให้เกิดเนื้องอก ซีสต์ มะเร็งเต้านม และรังไข่

9.) โดนัท ในโดนัท 1 ชิ้นมีคาร์โบไฮเดรตมากกว่าที่ร่างกายต้องการ และมีเกลือโซเดียมในปริมาณมากซึ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำ นอกจากนี้การทอดในน้ำมันที่มีอุณหภูมิสูงจะมีกลิ่นหืน และมีสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง

10.) ขนมขบเคี้ยว การกินขนมขบเคี้ยว 1 ถุงจะทำให้ได้รับสารอะคริริไมด์สูงมากกว่า 500 เท่า เมื่อเทียบกับอัตราสูงสุดที่อนุญาตให้มีในน้ำดื่มทั่วไป นอกจากนี้ในขนมขบเคี้ยวยังมีไขมันอิ่มตัว เกลือโซเดียมอยู่สูงมาก

นิ่วในไตห้ามกินผักอะไร

ผักที่มีกรดออกซาลิกในปริมาณสูง เช่น หัวไชเท้า แครอท กระเทียม ผักแพว ผักโขม ใบชะพลู ใบยอ ฯลฯ เพราะกรดออกซาลิกนี้จะทำให้เกิดนิ่วที่ไต ซึ่งได้จากการไปจับตัวกับแคลเซียมในร่างกาย

กินอะไรช่วยสลายนิ่ว

ทานอาหารที่มีกากใยมากๆ เพิ่มการทานอาหารที่มีแคลเซียม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดออกซาเลตสูง เช่น ช็อกโกแลต นมถั่วเหลือง หน่อไม้ ผักบางชนิด เป็นต้น ลดอาหารรสเค็มมากและหวานมาก

กินยาสลายนิ่วในไตกี่วันหาย

การรักษานิ่วในไต การใช้เครื่องสลายนิ่ว เป็นการสลายนิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงไปทำให้ก้อนนิ่วแตกตัว ซึ่งจะสลายตัวหลังจากใช้เครื่องสลายนิ่วประมาณ 1 ชั่วโมง และจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะภายหลังการรักษาแล้วหลายวันถึง 1 สัปดาห์

โรคนิ่วมีสาเหตุมาจากอะไร

ก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นในไตประกอบด้วยหินปูนแคลเซียม กับสารเคมีอื่นๆ เช่น ออกซาเลต, กรดยูริก เป็นต้น การเกิดนิ่วจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะที่มีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการกินอาหารที่แคลเซียมสูง การดื่มนมมากๆ หรือมีภาวะผิดปกติอื่นๆ เช่น ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไปซึ่งทำให้แคลเซียมในเลือดสูง นอกจากนี้ ...