ต วอย างหน งส อเช ญผ ปกครองประช ม

ต วอย างหน งส อเช ญผ ปกครองประช ม

สำนักงานส่งเสริมการปกครอง

ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ชั้น 3 อาคารอำนวยการกลาง ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา กม.7 50300 โทรศัพท์ : 053112620, 053112637,053112608, 053112602 และ 053112988 E-mail : [email protected]

ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ปัจจุบันนาย ประพัฒน์ ตันสุวรรณนนท์]</ref> เป็นเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง

อำนาจพิจารณาพิพากษา[แก้]

ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มี อำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิด กับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
  2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
  3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎคำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
  4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
  5. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
  6. คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

เรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง[แก้]

  1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร
  2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
  3. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น

อำนาจศาลปกครองสูงสุด[แก้]

ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้

  1. คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุม ใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด
  2. คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออก โดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
  3. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด
  4. คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

เขตอำนาจ[แก้]

ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"

  • ศาลปกครองชั้นต้น
    • ศาลปกครองกลาง มีเขตอำนาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสระบุรี หรือคดีที่ยื่นฟ้องที่ศาลปกครองกลาง
    • ศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันมี 14 แห่ง ดังนี้
      • ศาลปกครองเชียงใหม่ มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดน่าน พะเยา และแพร่
      • ศาลปกครองสงขลา มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง และสตูล
      • ศาลปกครองนครราชสีมา มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์
      • ศาลปกครองขอนแก่น มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดมุกดาหาร
      • ศาลปกครองพิษณุโลก มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก พิจิตร สุโขทัย และอุตรดิตถ์
      • ศาลปกครองระยอง มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว
      • ศาลปกครองนครศรีธรรมราช มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดชุมพร
      • ศาลปกครองอุดรธานี มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู และเลย และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดนครพนม บึงกาฬ และสกลนคร
      • ศาลปกครองอุบลราชธานี มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ
      • ศาลปกครองเพชรบุรี มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรสงคราม
      • ศาลปกครองนครสวรรค์ มีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี ลพบุรี และเพชรบูรณ์
      • ศาลปกครองสุพรรณบุรี มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี และ กาญจนบุรีและมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในท้องที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และอ่างทอง
      • ศาลปกครองภูเก็ต มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง และ จังหวัดภูเก็ต
      • ศาลปกครองยะลา มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส
  • ศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจตัดสินคดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรง หรือคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

รายนามประธานศาลปกครองสูงสุดของไทย[แก้]

  1. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. อักขราทร จุฬารัตน (21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553)
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 23 กันยายน พ.ศ. 2558)
  3. นายปิยะ ปะตังทา (31 มีนาคม พ.ศ. 2559 – 27 กันยายน พ.ศ. 2564)
  4. นายชาญชัย แสวงศักดิ์ (27 กันยายน พ.ศ. 2564)

รายนามตุลาการศาลปกครองสูงสุดของไทย[แก้]

รายนามทั้งหมดมีผล 1 ตุลาคม 2566

  1. พินิจ มั่นสัมฤทธิ์
  2. สมมาศ รัฐพิทักษ์สันติ
  3. เกียรติภูมิ แสงศศิธร
  4. วิชัย พจนโพธา
  5. สายทิพย์ สุคติพันธ์
  6. อภิรัฐ ปานเทพอินทร์
  7. เมธี ชัยสิทธิ์
  8. ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว
  9. สิทธานต์ สิทธิสุข
  10. อาทร คุระวรรณ
  11. อุดมศักดิ์ อังศุพิสิฐ
  12. ประพันธ์ คล้ายสุบรรณ
  13. วุฒิชัย ไทยเจริญ

อ้างอิง[แก้]

  • ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒, เล่ม 116 ตอนที่ 94 ก, หน้า 1, 10 ตุลาคม 2542
  • ราชกิจจกานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐, เล่ม 133 ตอน 84 ก หน้า 1, 23 กันยายน 2559
  • ตราสัญลักษณ์ศาลปกครอง
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 273 ง หน้า 123 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566
  • โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง
  • "เขตอำนาจของศาลปกครอง". www.admincourt.go.th. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-14. สืบค้นเมื่อ 2022-12-01. ประกาศที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด เรื่อง ให้ศาลปกครองนครราชสีมา ศาลปกครองขอนแก่น และศาลปกครองอุดรธานีมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดใกล้เคียง