ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น

โครงงานสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ข้าวต้มมัด ได้จัดทำขึ้นเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอห้วยแถลง และศึกษาเพื่อประกอบการเรียนของชั้นมัธยมศึกษษปีที่ 4 โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม ดดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาถึงความเป็นมาของข้าวต้มมัดและเรียนรู้วิธีการทำข้าวต้มมัดจากวิทยากรในท้องถิ่น และเผยแพร่ภูมิปัญญาเหล่านี้ ซึ่งสมาชิกทุกคนมีความภาคภูมิใจกับผลงานที่ได้ปฏิบัติไปนั้น และความสำเร็จครั้งนี้ต้องขอขอคุณ คุณยายดี หงวนไธสง วิทยากรในท้องถิ่นที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการทำโครงงานและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับข้าวต้มมัด และคุณครูศิริพร วีระชัยรัตนา ที่คอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการทำโครงงานครํงนี้ และกลุ่มของข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้จัดทำขึ้นจะเป้นประโยชน์อย่างมาก ข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะศึกษา ข้าวต้มมัด จุดประสงค์ 1.เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านในอำเภอห้วยแถลง 2.เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 3.เพื่อนำไปประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา 4.เพื่อนำวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นมาทำให้เกิดประโยชน์ บทคัดย่อ โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาเรื่องข้าวต้มมัดห้วยแถลง โดยกลุ่มของข้าพเจ้ามีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอห้วยแถลง โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาความเป็นมาของข้าวต้มมัดที่มีความเป็นมาหลายสิบปี และเรียนรุการทำข้าวต้มมัดซึ่งได้รู้ว่าการทำข้าวต้มมัดนั้นไม่ยาก วัสดุก็หาง่ายในท้องถิ่นและเป็นวัสดุธรรมชาติซึ่งได้ศึกษาและเรียนรู้จากวิทยากรในท้องถิ่น ก็คือคุณยายดี หงวนไธสง และเมื่อลงมือปฏิบัติ สมาชิกทุกคนจัดหาอุปกรณ์ที่จะมาทำซึ่งอยู่ในสวนหลังบ้าน เมื่ทำเสร็จแล้ว สมาชิกก้จะนำข้อมูลที่ได้มาเผยแพร่ในเว็บไซต์ Gotoknow.orgเพื่อเป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความสำคัญของโครงงาน เมื่อสมาชิกในกลุ่มของเราได้เรียนรู้วิธีการทำข้าวต้มมัดจากวิทยากรในท้องถิ่น ซึ่งจะได้รู้ถึงวิธีการทำหรือความเป็นมาของข้าวต้มมัดจึงทำให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนได้ปฏิบัติลงมือทำจริงเมื่อปฏิบัตได้เเล้วก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้ เช่น สามารถนำข้ามต้มมัดไปทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ ซึ่งทำให้สมาชิกทุกคนเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตนและได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย

บทคัดย่อ

ขนมตาล เป็นขนมไทยแท้ดั้งเดิม และเริ่มหาซื้อรับประทานยากขึ้น ตามจำนวนของต้นตาลที่นับวันจะลดน้อยลงไป ความเด่นของขนมตาล อยู่ที่ความหอมหวลของน้ำคั้นจากผลตาลสุกงอม ความหวานมันที่ได้จาก มะพร้าวขูดเป็นเส้นโรยอยู่หน้าขนม ว่ากันว่าที่ใดมีต้นตาลที่นั่นต้องมี ขนมตาล เพราะต้นตาลเป็นไม้ยืนต้นที่ให้ประโยชน์กับคนไทยมากมาย นับแต่ลูกตาลเนื้อนิ่มใสหวานชื่นใจ ที่จะรับประทานสด ๆ หรือนำไปเชื่อม รับประทานกับน้ำแข็งก็อร่อยไม่แพ้กัน จาวตาล หรือส่วนที่อยู่ด้านใน ของเมล็ดตาลที่แก่จัด เฉาะเอามาเชื่อมกับน้ำตาลก็รับประทานได้ แถมน้ำ หวานที่ได้จากงวงตาลก็นำมาทำน้ำตาลโตนด ที่มีความหอมและหวาน แหลมอย่างที่น้ำตาลทรายก็สู้ไม่ได้ คนไทยนิยมเอามาปรุงอาหารไทย

การทำขนมหวานไทยให้ดี ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง คือ ต้องมีใจรัก ชอบทำมีความอดทนตั้งใจมีความพิถีพิถันในการประดิษฐ์ให้ขนมมีรูปร่างที่น่ารับประทาน ขนมหวานไทยบางชนิดต้องฝึกทำหลายๆ ครั้งจึงจะได้ลักษณะที่ดี ประสบการณ์ และความชำนาญในการทำบ่อย ๆ ผู้ประกอบขนมหวานไทย จะประสบความสำเร็จในการทำ

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานเล่มนี้จะสำเร็จไปมิได้หากไม่ได้รับความสนับสนุน และคำปรึกษาจาก อาจารย์พรทิพย์ มหันตมรรค และขอขอบพระคุณ คุณปราณี พรหมทอง และผู้ปกครองที่คอยเป็นกำลังใจ จนโครงงานเล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากเนื้อหาในโครงงานเล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

บทที่ 1

บทนำ

แนวคิดที่มาและความสำคัญ

สืบเนื่องมาจากมีความชื่นชอบในขนมตาล ซึ่งในปัจจุบันขนมตาลเป็นขนมที่หากินได้ยากและกระบวนการทำส่วนผสมมีความยุ่งยาก ส่วนต้นทุนในการลงทุนสูงแต่ได้กำไรน้อย เพราะส่วนมากในกลุ่มลูกค้าโดยทั่วไปจะเป็นผู้สูงอายุ แต่เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่นิยมบริโภคขนมตาลเพราะไม่ทราบว่ามันคือขนมอะไร รสชาติเป็นยังไง และรูปลักษณ์การบรรจุภัณฑ์ไม่น่าดึงดูดใจเหมือนขนมขบเคี้ยวทั่วไป จึงทำให้ดิฉันมีความสนใจในการทำโครงงานเรื่องการทำขนมตาลเพื่ออนุรักษ์การทำขนมไทยและเพื่อเป็นประโยชน์ในการประการอาชีพ

วัตถุประสงค์

1.จัดทำขึ้นเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดการทำขนมตาล

2.จัดทำขึ้นเพื่อได้รู้วิธีการทำขนมตาล

3.สามารถนำไปเผื่อแพร่ให้กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับวิธีการทำ

หลักการและทฤษฎี

เนื่องจากเด็กไทยสมัยนี้มีความนิยมจากชาติตะวันตกมากจนเกินไป จนลืมไปความเป็นไทยว่าไทยเราก็มีของดีเยอะมากมาย เช่น เสื้อผ้าการแต่งกาย สถานที่ท่องเที่ยว และอาหารไทย (ขนมตาล) ข้าพเจ้าได้มองเห็นความสำคัญของอาหารไทย(ขนมตาล) จึงได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อที่จะสืบทอดของไทย

ขอบเขตของโครงงาน

1.ศึกษาค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต

2.ศึกษาค้นคว้าจาก คุณปราณี พรหมทอง

สถานที่

ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้ทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มขึ้น

2.ได้มีประสบการณ์ในการลงพื้นที่ได้มากขึ้นกว่าเดิม

3.ได้รักษาอรุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ไว้เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลัง

4.ได้ใช้เวลาว่างให้เกินประโยชน์

5.เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจ

6.เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

จากบทสัมภาษณ์

คุณปราณี พรหมทอง

ขนมตาลเป็นขนมที่มีรสชาติหวาน มัน ขั้นตอนในการทำนั้นมีความยากพอสมควร ปัจจุบันขนมตาลจะหานำมารับประทานนั้นก็ยากขึ้น เพราะวัตถุดิบในการทำเริ่มมีปริมาณลดลง และคนที่ทำขายส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ เด็กวัยรุ่นสมัยใหม่ก็ไม่ค่อยนิยมซื้อไปบริโภค อาจเพราะเหตุว่า เป็นขนมที่ไม่ทันสมัย จึงไม่นิยมบริโภค

วัตถุดิบในการทำ

  1. ลูกตาลสุก 2. ข้าวสารเก่า 3. แป้ง 4. น้ำตาลทราย
  1. หัวกะทิ 6. มะพร้าวทึกขูดฝอย 7. เกลือป่น

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงาน

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับดังต่อไปนี้

  1. ขั้นศึกษาข้อมูล

1.1 ขั้นสำรวจและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการสำรวจและศึกษาเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำขนมตาล

1.2 ศึกษาวัตถุดิบและส่วนประกอบการทำขนมตาล

2. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล

2.1 ได้มีการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสำรวจและศึกษาจากเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำขนมตาล

2.2 ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการได้สังเกต และสัมภาษณ์

3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล

นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาศึกษา และวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และเรียบเรียงนำเสนอในเชิงความเรียง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

  1. ลูกตาลสุก
  1. ข้าวสารเก่า
  1. แป้ง
  1. น้ำตาลทราย
  1. หัวกะทิ
  1. มะพร้าวทึกขูดฝอย
  1. เกลือป่น

บทที่ 4

ผลการศึกษา

ขั้นตอนการผลิต

1. อันดับแรกต้องลอกเปลือกลูกตาลออกให้หมด แล้วขูดเอาเนื้อสีเหลืองออก ตัวลูกตาลแช่น้ำไว้จนเนื้อลูกตาลละลายออกหมด ใช้ผ้าห่อเนื้อลูกตาล และน้ำที่ละลายผูกมัดปากรวมไว้ให้แน่นแขวนหรือทับไว้ให้แห้ง

ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น

ลูกตาลสุก ล้าง ปอก ขูดเนื้อตาลออก

ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น

เนื้อตาลที่ได้ ส่วนเมล็ดตาลนำไปขยำกับน้ำให้เนื้อออกให้

ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น

กรองด้วยกระชอน แล้วกรองด้วยถุงผ้าขาวหนา แขวนไว้ให้น้ำตกจนหมด ทำก่อนใช้ 1 คืน

2. โม่ข้าวสารที่แช่น้ำไว้ให้ละเอียด แล้วทับให้แห้ง 3. จากนั้นผสมข้าวสารที่โม่และทับจนแห้งแล้ว รวมกับแป้งท้าวยายม่อม และลูกตาลที่ทับจนแห้งแล้วนวดส่วนผสมทั้งหมด เข้าด้วยกันจนแป้งที่ผสมเนียนและนุ่มมือ(ประมาณ 30-60 นาที)ใส่น้ำตาลสลับกับหัวกะทิ นวดจนหัวกะทิและน้ำตาล ละลายหมด พักไว้ประมาณ 5-10 ชั่วโมง

ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น

นำเนื้อตาลที่ได้มานวดกับแป้งแล้วเติมกะทิ(ผสมกับน้ำตาลทรายตั้งไฟให้เดือดพักให้เย็น)

ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น

นวดเนื้อลูกตาลกับแป้งข้าวเจ้าให้เข้ากัน แล้วค่อยๆเติมกะทิที่เคี่ยวไว้จนหมด

ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น

เมื่อเติมกะทิจนหมดได้ลักษณะดังภาพ ปิดฝาพักไว้ 4-5 ชั่วโมงจนขึ้นฟู (เป็นฟองปุดๆๆ)

4. ขั้นตอนรองสุดท้ายให้ตักแป้งที่ผสมแล้วใส่กระทงหรือถ้วยตะไล โรยมะพร้าว แล้วนึ่งให้สุกยกลงถ้าใส่ถ้วยตะไลรอให้เย็นก่อนแล้วจึงนำออกจากถ้วยจัดใส่ภาชนะ

ตัวอย่าง โครง งาน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น

บทที่ 5

สรุปผลการศึกษา

การวิจัยเรื่องการทำขนมตาล ทำให้ได้รู้ถึงรู้หลักวิธีการทำ และวัฒนธรรมการการอนุรักษ์ของชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สมควรรับการส่งเสริม และอนุรักษ์ตลอดไป

จากการศึกษาพบว่า ขนมตาล เป็นขนมไทยที่นิยมกินกันมาตั้งแต่โบราณ โดยให้นำสิ่งแวดล้อมความเป็นธรรมชาติมาพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน การทำขนมตาลเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่เราควร อนุรักษ์ถึงวัฒนธรรมของชุมชนที่ได้สะท้อนความเป็นอยู่ของชาวบ้านในท้องถิ่นตามที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำขนมตาล

2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นคืออะไร ยกตัวอย่าง

ภูมิปัญญาของชุมชน ( Local wisdom ) เป็นภูมิปัญญาที่ สั่งสม สืบสาน อยู่ในวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือในชุมชน ไม่มีตัวบุคคลใด บุคคลหนึ่งเป็นเจ้าของ อาจเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็นภูมิปัญญานิรนาม เช่น ภูมิปัญญาการทอผ้าแพรวาของชุมชนชาวผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์ การท าไข่เค็ม ไชยา ของชาวสุราษฎร์ธานี

ในชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอะไรบ้าง

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2535) แบ่งประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ดังนี้.

ภูมิปัญญาด้านการเกษตร.

ภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจ.

ภูมิปัญญาด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความเชื่อ.

ภูมิปัญญาด้านการจัดการทรัพยากรและการพัฒนาหมู่บ้าน.

ภูมิปัญญาด้านศิลปะ.

ภูมิปัญญาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม.

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยมีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นความรู้เรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า ทอเสื่อ การสานตระกร้า และเครื่องใช้ด้วยไม้ไผ่ ด้วยหวาย การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องมือทางการเกษตร นอกจากนั้น ยังมีศิลปะดนตรี การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆ การรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การนวด เป็นต้น

การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมีอะไรบ้าง

1. การบอกเล่า บรรยาย ด้วยวาจา ... .

2. การสาธิต ... .

3. การปฏิบัติจริง ... .

4. วิธีถ่ายทอดโดยให้เรียนรู้จากสื่อด้วยตนเอง ... .

5. วิธีถ่ายทอดโดยจัดในรูปของแหล่งเรียนรู้ ... .

6. วิธีถ่ายทอดโดยใช้การแสดงพื้นบ้านเป็นสื่อ ... .

7. วิธีถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยบันทึกองค์ความรู้ไว้เป็นลายลักษณ์ เช่น ตำราต่าง ๆ และในรูปของสื่ออื่น ๆ.