ตัวอย่าง ใบสำคัญ จ่าย เงินสด ย่อย

ในปัจจุบันมีผู้คนมากมายให้ความสำคัญต่อการทำบัญชีไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ธุรกิจขนาดเล็ก หรือจะเป็นบุคคลธรรมดาที่ใส่ใจทางด้านการเงินก็เริ่มหันมาทำบัญชี หรือศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับบัญชีด้วยตัวเองมากขึ้น และสำหรับใครที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับบัญชี หรือสงสัยเรื่องราวเกี่ยวกับบัญชีอย่างเรื่องของเงินสดย่อย (Petty cash) อยู่วันนี้ SMEMOVE ก็จะพาทุกคนมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันว่าเงินสดย่อย (Petty cash) คืออะไร แล้วเจ้านี้จะนำไปใช้งานอย่างไรในการทำบัญชี

เงินสดย่อย (Petty cash) คืออะไร

เงินสดย่อย หรือ Petty cash คือเงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเป็นผู้กำหนดขึ้นไว้จ่ายค่าใช้จ่ายภายในกิจการ โดยเป็นเงินที่มีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเบิกจ่ายเป็นเช็ค หรือไม่สะดวกในการเขียนเช็คสั่งจ่ายเมื่อต้องการใช้งาน ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแล้วกิจการก็มีความจำเป็นที่จะต้องรีบจ่ายเงินทันที เช่นค่ารับรอง ค่าไปรษณีย์ ค่าพาหนะ ซึ่งการจ่ายในลักษณะนี้จะถูกเรียกว่าเงินสดย่อย และเงินสดย่อยนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานการเงิน หรือพนักงานบริษัทคนใดคนหนึ่งก็ได้ เรียกว่า “ผู้รักษาเงินสดย่อย” ส่วนหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รักษาเงินสดย่อยก็คือ

– เก็บรักษาเงินสดย่อยไว้ให้ปลอดภัย

– นำจ่ายเงิน พร้อมเก็บหลักฐานในการเบิก

– บันทึกการจ่ายเงินในสมุดเงินสดย่อย

– จัดทำใบสำคัญเพื่อขอเบิกชดเชยเงินสดย่อย

ตัวอย่างฟอร์มเงินสดย่อยของระบบ SMEMOVE

ตัวอย่าง ใบสำคัญ จ่าย เงินสด ย่อย

ประเภทของเงินสดย่อยที่คุณควรรู้

1. เงินสดย่อยแบบจำกัดวงเงิน หรือ Impress System คือระบบเงินสดย่อยที่เป็นที่นิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยทางกิจการจะทำหน้าที่ในการกำหนดวงเงิน เงินสดย่อยขึ้นมาจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม และมอบให้ผู้รักษาเงินสดย่อยรับผิดชอบในการจ่ายค่าใช้จ่ายเล็กน้อยภายในกิจการ ซึ่งวงเงินเงินสดย่อยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะเปลี่ยนแปลงเฉพาะในกรณีที่มีการเพิ่ม หรือลดวงเงินเงินสดย่อยเท่านั้น

2. เงินสดย่อยแบบไม่จำกัดวงเงิน หรือ Fluctuating System คือวิธีการ หรือระบบที่เกี่ยวกับเงินสดย่อย ที่ไม่ได้กำหนดวงเงินเงินสดย่อยไว้เป็นจำนวนแน่นอน เนื่องจากผู้รักษาเงินสดย่อยสามารถทำการขอเบิกเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับ มากกว่า หรือน้อยกว่า จำนวนของเงินสดย่อยที่จ่ายไปได้ตลอดเวลา

ประโยชน์ของเงินสดย่อย

1. เมื่อมีระบบของเงินสดย่อยเข้ามาใช้ในกิจการ ภายในกิจการจะมีการบริหารงานด้านการเงินที่เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการใช้ระบบเงินสดย่อยภายในกิจการจำเป็นจะต้องมีการบันทึก หรือจัดเก็บหลักฐานในการเบิก ดังนั้นเมื่อเกิดระบบเงินสดย่อย หรือบัญชีเงินสดย่อยขึ้นแล้วโอกาสในการเกิดการทุจริตจะน้อยลงอีกด้วย

2. ประหยัดเวลาในการทำงาน เพิ่มความสะดวกในการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะรวบรวมบันทึกครั้งเดียวเมื่อผู้รักษาเงินสดย่อยเบิกชดเชย

3. สร้างความปลอดภัยในการจัดเก็บเงินสดไว้ใช้ภายในกิจการ เนื่องจากกิจการสามารถหลีกเลี่ยงการเก็บเงินสดจำนวนมากไว้กับตัวที่อาจสูญหายหรือถูกโจรกรรมได้ง่ายๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เกี่ยวกับเงินสดย่อยที่ SMEMOVE นำมาฝากในวันนี้ สำหรับใครที่กำลังศึกษาหรือเรียนรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีอยู่ก็สามารถเข้าไปอ่านบทความดีของ SMEMOVE ได้บนเว็บไซต์เลยนะคะ และสำหรับใครที่อยากทำบัญชีด้วยตัวเองแบบง่ายๆ โปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ SMEMOVE ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดีๆ ที่สามารถเข้ามาทดลองใช้งานในการบันทึกบัญชีได้ แม้คุณจะไม่ความเชี่ยวชาญด้านบัญชีมากนัก ก็สามารถทำได้เพราะเรามี คู่มือการใช้งานและตั้งค่าช่องทางเงินสดย่อย ไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วย

ใบสำคัญรับ, ใบสำคัญจ่าย, ใบสำคัญต่างๆ

ใบสำคัญรับ, ใบสำคัญจ่าย, ใบสำคัญเงินสดย่อย, ใบสำคัญต่างๆ รับพิมพ์และรับทำเเบบฟอร์ม ใบสำคัญที่ใช้สำหรับการจัดทำบัญชี แบบฟอร์มใบำสำคัญ นิยมพิมพ์ ไซส์ A4 หรือ A5 พิมพ์ 1 สี แบบฟอร์มใบสำคัญนิยมใช้กระดาษปอนด์ขาว 60 แกรม , แบงค์สี 55 แกรม (มีให้เลือก 5 สี สีขาว, สีเหลือง, สีฟ้าอ่อน, สีฟ้าเข้ม, สีชมพูอ่อน, สีชมพูเข้ม, สีเขียวอ่อน, สีเขียวเข้ม) หรือ ทำแบบฟอร์มใบสำคัญ เป็นก็อปปี้แบบมีเคมีในตัว ซึ่งอาจแยกใบสำคัญต่างๆ ตามสี เพื่อแยกให้แตกต่างของแบบฟอร์มใบสำคัญ สะดวกในการใช้ กาวหัวฉีก หรือ จะรันเลขที่ หรือ ไม่รันเบอร์ ก็ได้

**แบบฟอร์ม ใบสำคัญต่างๆ รับพิมพ์ขั้นต่ำ 30 เล่มขึ้นไป+จัดอาร์ตเวิรค์ให้ฟรี!!

แบบฟอร์มใบสำคัญรับ-ใบสำคัญจ่าย ลูกค้าแจ้งรายละเีอียดโรงพิมพ์เพื่อขอราคา ดังนี้

1. แบบฟอร์ม ใบสำคัญ เช่น ใบสำคัญรับ, ใบสำคัญจ่าย

2. แบบฟอร์ม ไซส์ ใบสำคัญต่างๆ เช่น เอ 4, ครึ่งเอ4 (คือ เอ 5), 7*10 นิ้ว

3. แบบฟอร์ม ใบสำคัญ กี่ใบ/1 ชุด เช่น 100 ใบ/เล่ม(ไม่มีสำเนา) , 2 ใบ/ชุด

  1. แบบฟอร์มใบสำคัญกระดาษอะไร เช่น กระดาษเคมีในตัว, กระดาษแบงค์สี

5. แบบฟอร์ม ใบสำคัญต่างๆ พิมพ์กี่สี 1 สี, 2 สี

6. แบบฟอร์ม ใบสำคัญต่างๆ มีการรันเบอร์หรือไม่

7. แบบฟอร์ม ใบสำคัญ ปรุฉีก หรือ กาวหัว

8. จำนวนที่สั่งพิมพ์แบบฟอร์มใบสำคัญ

9. ใบสำคัญรับ-ใบสำคัญจ่าย มีอื่นๆ เพิ่มเติม

ประโยชน์การใช้งานแบบฟอร์มใบสำคัญรับ-ใบสำคัญจ่าย เพื่อเป็นแบบฟอร์มทางบัญชี เพื่อเป็นไปตามหลักการบัญชีกรมสรรพากร ง่ายต่อการใช้งาน สำหรับตรวจสอบทางบัญชี บันทึกรายรับ, รายจ่าย, ค่าใช้จ่ายทั่วไป, เงินสดย่อย

เงินสดย่อย มีอะไรบ้าง

เงินสดย่อย หมายถึง วงเงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการได้มีการเบิกเงินสดออกมาถือไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการจ่ายค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนเงินเล็กน้อย และหรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ที่ไม่คุ้มกับการเขียนเช็คสั่งจ่าย หรือผู้ขายขอรับชำระเป็นเงินสด เช่น ค่าอาหารว่างสำหรับการประชุม ค่าไปรษณีย์ เป็นต้น

ขั้นตอนการดำเนินงานเกี่ยวกับเงินสดย่อยมีกี่ขั้นตอน

ขั้นตอนง่าย ๆ ในการจัดการกับระบบเงินสดย่อยมีดังนี้คือ.

ขั้นตอนแรก ก่อนอื่นเราต้องมีการตั้งวงเงินของเงินสดย่อยกันก่อน.

ขั้นตอนที่สอง หลังจากตั้งวงเงินแล้ว ก็จะมีใช้จ่ายเงินสดย่อย.

ขั้นตอนที่สาม การเบิกเงินชดเชยเงินสดย่อย.

วิธีการควบคุมเงินสดย่อย มีอะไรบ้าง

การควบคุมเงินสดย่อย.

กำหนดตัวผู้รับผิดชอบเงินสดย่อยโดยเฉพาะ.

กำหนดตัวเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติรายจ่ายเงินสดย่อย.

เมื่อจ่ายเงินสดย่อยผู้รักษาเงินสดย่อยทำใบสำคัญเงินสดย่อยพร้อมแนบหลักฐาน การจ่ายเงิน.

ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คแล้วมอบให้ผู้รักษาเงินสดย่อย.

ระบบเงินสดย่อยวิธีใดที่กิจการนิยมใช้มากที่สุด

1. เงินสดย่อยแบบจำกัดวงเงิน หรือ Impress System คือระบบเงินสดย่อยที่เป็นที่นิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยทางกิจการจะทำหน้าที่ในการกำหนดวงเงิน เงินสดย่อยขึ้นมาจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม และมอบให้ผู้รักษาเงินสดย่อยรับผิดชอบในการจ่ายค่าใช้จ่ายเล็กน้อยภายในกิจการ ซึ่งวงเงินเงินสดย่อยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการจ่ายค่าใช้ ...