ตัวอย่าง การ ประชาสัมพันธ์ เชิง รับ

การประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ คือ เครื่องมือการสื่อสารการตลาด ที่มุ่งสร้างภาพพจน์และทัศนคติที่ดีขององค์กรผลิตภัณฑ์ และตรายี่ห้อต่อผู้บริโภค สื่อมวลขน สาธารณชน พนักงานในองค์กร ผู้ถือหุ้นหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มมวลชนอื่น ๆ

วัตถุประสงค์ 1.สร้างภาพพจน์ที่ดี ทั้งต่อองค์กร ตรายี่ห้อ และสินค้า 2.ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 3.สร้างความน่าเชื่อถือ

ประเภทของการประชาสัมพันธ์ 1.การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (Proactive PR) เป็นการมุ่งสร้างโอกาสทางการตลาดมากกว่าคอยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวในภาวะการแข่งขันทางการตลาดอย่างรุนแรง การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุกมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะมุ่งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นสำคัญ

2.การประชาสัมพันธ์เชิงรับ (Reactive PR) เป็นการมุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสินค้าหรือบริษัท อันเป็นการทำลายชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริษัท เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพื่อแก้ไขและควบคุมการเกิดข่าวลือ (Rumor Control) การจัดการกับภาวะวิกฤต (Crisis Management) เป็นต้น

ลักษณะของการประชาสัมพันธ์

  1. เป็นการติดต่อสื่อสารทั้งโดยการใช้สื่อมวลชน และการไม่ใช้สื่อมวลชน
  2. เป็นการใช้ทั้งสื่อที่ต้องจ่ายเงิน และไม่ต้องจ่ายเงิน
  3. บางครั้งไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของข่าวสารได้
  4. มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทัศนคติ ความเชื่อถือ และภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์การหรือผลิตภัณฑ์
  5. มีกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม

บทบาทของการประชาสัมพันธ์

  1. ประกาศแจ้งความ ให้เกิดการรับรู้
  2. ให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เข้าใจในรายละเอียด และมีความรู้ที่ถูกต้อง
  3. จูงใจให้เกิดทัศนคติที่ดี เกิดการคล้อยตาม หรือเปลี่ยนพฤติกรรม
  4. สร้างการยอมรับ
  5. สร้างความคาดหวัง
  6. เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับฆาณาที่ภาพพจน์ไม่ค่อยดี
  7. ให้การศึกษา
  8. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ด้วยการเล่าถึงภูมิหลัง ความสำเร็จของสินค้า
  9. สร้างภาพพจน์ที่ดี
  10. เปลี่ยนทัศนคติที่เป็นลบ
  11. สร้างความรู้สึกที่ดี ด้วยการทำสิ่งที่ดีให้กับสังคม
  12. สร้างความภักดี
  13. เปลี่ยนกระบวนทัศน์ความคิด เพื่อสร้างทัศนคติ มุมมองใหม่ที่ดีกว่า
  14. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการสนับสนุน

เครื่องมือที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ -การตีพิมพ์ -ภายในองค์การ -ภายนอกองค์การ -เหตุการณ์พิเศษ -การให้ข่าว -การกล่าวสุนทรพจน์ -การใช้สื่อเฉพาะของบริษัท เช่น ชุด/โลโก้

ประโยชน์ของการออกข่าว ให้คุณค่าของข่าว กระตุ้นพนักงานและตัวแทนจำหน่าย สร้างความเชื่อถือ : โดยเฉพาะสินค้าขั้น Maturity งบประมาณต่ำ

หลายคนชอบผูกเรื่องการประชาสัมพันธ์หรือ PR เข้ากับการสร้างภาพลักษณ์ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องซักทีเดียว จริงอยู่เป้าหมายของการประชาสัมพันธ์คือมุ่งให้เกิดภาพลักษณ์เชิงบวกในสายตา Stakeholder ทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่กว่าภาพลักษณ์จะดีได้ รู้ไหมนักประชาสัมพันธ์ต้องทำอะไรบ้าง?

สาระสำคัญของงาน PR คือ การให้ข้อมูล ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับองค์กรในแง่มุมต่างๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เกิดทัศนคติที่ดี จนนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับ Stakeholder แต่ละกลุ่ม เมื่อความสัมพันธ์พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่าภาพลักษณ์ขององค์กรย่อมดีงามเช่นกัน ภาพลักษณ์นี้ไม่ได้เกิดจากการมโนหรือคิดเอาเอง แต่เป็นการสะสมความไว้เนื้อเชื่อใจ สุดท้ายชื่อเสียงจะตามมาในที่สุด

ฉะนั้น อย่าบอกว่างาน PR เน้นเรื่องสร้างภาพลักษณ์ สร้างชื่อเสียงให้รู้จักในวงกว้าง เพราะกว่าภาพลักษณ์จะเกิด ชื่อเสียงจะมา นักประชาสัมพันธ์ต้องทำงานอย่างหนักในการหาข้อมูล จัดกิจกรรมต่างๆ และเผยแพร่ข้อมูลนั้นๆ ไปสู่ Stakeholder หลายกลุ่ม

สำหรับกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ โดยทั่วไปมี 2 กลยุทธ์หลัก เริ่มจากกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (Proactive Public Relations) พูดง่ายๆ ก็คือ ชิงทำประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า ชิงทำก่อนที่จะมีผลกระทบบางอย่างเกิดขึ้น กิจกรรมที่อยู่ภายใต้กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก อาทิ การเปิดตัวสินค้า การจัดแถลงข่าว การส่งข่าวแจก การจัดกิจกรรมพิเศษ การวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลอดจนการทำซีเอสอาร์

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างซักสองกิจกรรมเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ สมมติ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ต้องการปรับราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ “มาม่า” ขึ้นอีกซองละ 2 บาท บริษัทอาจใช้วิธีจัดแถลงข่าวเพื่อบอกเหตุผลของการปรับขึ้นราคาสินค้า หรืออาจใช้วิธีซื้อพื้นที่ในสื่อหนังสือพิมพ์ล่วงหน้าเพื่อเขียนบทความ แจ้งข้อเท็จจริงว่า “ด้วยต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งจากค่าแรงงาน ค่าขนส่ง ค่าวัตถุดิบ บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้า” ซึ่งการเผยแพร่บทความดังกล่าวจะลดความรู้สึกไม่พอใจของลูกค้าได้ดีกว่าขึ้นราคาเสร็จสรรพแล้วค่อยมาแจ้งภายหลัง

ถัดมาคือกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรับ (Reactive Public Relations) เป็นการประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดระหว่างองค์กรกับ Stakeholder รวมถึงการปกป้องแบรนด์และชื่อเสียงขององค์กรไม่ให้เสียหายมากขึ้น พูดง่ายๆ การประชาสัมพันธ์เชิงรับมักใช้ตอนเกิดวิกฤติหรือพบเจอปัญหาแล้ว เพราะการเป็น “ผู้ตั้งรับ” ย่อมบาดเจ็บน้อยกว่าอยู่ในสถานะ “ผู้ตอบโต้” ตัวอย่างกิจกรรมที่อยู่ภายใต้กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรับ อาทิ การจัดการข่าวลือ การแก้ไขข่าวสารเชิงลบ

ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกหรือเชิงรับ อันดับแรกผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในเครื่องมือนี้อย่างถ่องแท้ ตอบคำถามเบื้องต้นให้ได้...ทำไมต้อง PR มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร นำมาใช้เมื่อใด กลยุทธ์ไหนเหมาะสำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สำคัญสุดน่าจะอยู่ตรงการปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า งาน PR ไม่ใช่แค่ การสร้างภาพ!!!

ข้อใดคือการประชาสัมพันธ์แบบเชิงรับ

วัตถุประสงค์หลักของการประชาสัมพันธ์ Page 5 การประชาสัมพันธ์เชิงรับ (Re-active PR.) หมายถึง การประชาสัมพันธ์ที่เมื่อมีเหตุการณ์ เกิดขึ้น จึงได้มีการชี้แจงและให้ความรู้ความเข้าใจ กับประชาชนโดยทั่วไป โดยไม่มีการวางแผน ล่วงหน้า

การประชาสัมพันธ์เชิงรุก มี อะไร บ้าง

๑) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (Proactive Public Relations) หมายถึง การทํา การประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า ก่อนที่จะมีผลกระทบบางอย่างเกิดขึ้น กิจกรรมที่อยู่ภายใต้กลยุทธ์ การประชาสัมพันธ์เชิงรุก อาทิการจัดแถลงข่าว การส่งข่าวแจก การจัดกิจกรรมพิเศษ เป็นต้น

การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ มีอะไรบ้าง

สื่อออนไลน์ มีกี่ประเภท?.

1. Weblogs หรือ blogs. ... .

2. Social Networking หรือ เครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ต ... .

3. Micro Blogging. ... .

4. Online Video. ... .

5. Photo Sharing. ... .

6. Wikis. ... .

7. Virtual Worlds. ... .

8. Crowd Sourcing..

รูปแบบการประชาสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

เครื่องมือและสื่อที่ใช้ในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์นั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น สื่อบุคคล (Personal media) คำพูด (Spoken words) ส่วนสื่อมวลชน (Mass media) ก็คือ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ นอกจากนี้ยังมีสื่ออื่น ๆ อีก อันได้แก่ สิ่งพิมพ์ และเอกสาร (Printed media) วารสาร นิตยสาร ภาพนิ่ง ฟิล์มสคริป ...