ย น ต.ม.ห องเช าม ต างด าวทางอ นโด

ให้คนต่างชาติเช่าบ้าน เขาต้องเอาเอกสารส่วนตัวเราไปแจ้งที่ ตม หรือเปล่า?

มีคนต่างชาติวัยเกษียณกับภรรยาคนไทย มาขอเช่าบ้านเรา เขาบอกว่าต้องทำสัญญาเช่าบ้าน 3 ชุด เพื่อเอาไปแจ้ง ตม 1 ชุด เอาเก็บที่เรากับเขาอีกอย่างละชุด และที่สำคัญคือ เขาขอเอกสารส่วนตัวเรา ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง ขอให้เราให้เอกสารนี้แก่เขาทุกๆ 3 เดือน เพื่อรายงานตัวกับ ตม เขาบอกไม่อย่างนั้นตัวเราจะต้องไปยืนยันที่อยู่ของเขาให้ทางอินเตอร์เน็ต อยากถามเพื่อนๆหรือท่านผู้รู้ว่า 1. การทำสัญญา 3 ชุดจะมีผลอย่างไร หรือมีผลเสียกับเราไหม 2. การรายงานตัวกับ ตม ต้องใช้เอกสารของเรา ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าบ้านด้วยหรือ ใช้เอกสารของภรรยาคนไทยไม่ได้หรือ หรือใช้เอกสารของญาติของภรรยาเขาที่มีที่อยู่แน่นอนไม่ได้หรือ 3. ถ้าเราจำเป็นต้องให้สำเนาบัตรกับสำเนาทะเบียนบ้นแก่เขาจริง ๆ เราควรจะรับรองสำเนาอย่างไรให้ปลอดภัย 4. เราจะตรวจสอบอย่างไรว่าฝรั่งที่มาเช่าบ้านเราจะเป็นคนที่ไม่มีปัญหา หรือมีคดีติดตัวมาก่อน 5. ทำไมเขาต้องรายงานตัวทุก 3 เดือน 6. การให้ที่พักพิงกับต่างชาติ จะมีความผืดไหม ถ้าเรามีสัญญาเช่ชัดเจน และควรทำสัญญากับใคร ระหว่าต่างชาติกับภรรยาของต่างชาติ และอยากขอคำแนะนำอื่นๆ เพิ่มเติม เพราะไม่มีความรู้ค่ะ และก็อาจมีอีกหลายอย่างที่อาจคาดไม่ถึง เพื่อนๆ หรือท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยค่ะ ***ขอบคุณค่ะ****

แผ่นหน้าของใบแจ้งรับคนต่างด้าว เข้าพักอาศัย พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลในแบบ ตม.30 เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกรอกข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรับแจ้งและฉีกแบบ ตม.30 ส่วนล่างให้ผู้แจ้งเก็บรักษาต่อไป

เป็นเวลา 3 เดือนที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อการบังคับใช้รายงาน TM30 ในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งความสับสน ไปจนถึงความไม่พอใจและความตื่นตระหนก ซึ่งก็คงจะเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ เนื่องจากผู้เช่าชาวต่างชาติ และเจ้าของบ้านส่วนใหญ่รู้สึกว่า การลงทะเบียน ตม.30 เป็นเรื่องซับซ้อน ทำให้มีผู้คนจำนวนมากเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใช้ดังกล่าว

อย่างไรก็ตามคงไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะยังมีการบังคับใช้ ตม.30 ต่อไปอีกนานแค่ไหน และในบทความนี้ PropertyScout Blog ก็จะมาเป็นผู้ช่วยแนะนำทุกคนเกี่ยวกับข้อกำหนดและข้อบังคับที่จำเป็นต่าง ๆ ที่ควรรู้ เกี่ยวกับการลงทะเบียน ตม.30

ตม.30 หรือ tm30 คือ การแจ้งที่พักคนต่างด้าว สำหรับสถานประกอบการ ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ที่ได้กำหนดไว้ว่า

“เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหะสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้น”

“ในกรณีที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ตามวรรคหนึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมือง การแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด”

ปัจจุบันการแจ้ง ตม.30 หรือ tm30 บนช่องทางออนไลน์ สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกสบายผ่านช่องทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปถึงที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานีตำรวจในท้องที่ ซึ่งก็ถือว่าช่วยอำนวยความสะดวกแก่เจ้าของบ้าน ผู้ครอบครองเคหสถาน เป็นอย่างมาก

สิ่งที่ผู้ให้เช่าต้องรับผิดชอบ

เจ้าของบ้านที่ปล่อยทรัพย์สินของตนให้ชาวต่างชาติเช่าแบบค้างคืนจะต้องรับผิดชอบในการกรอกและส่งข้อมูลอย่างครบถ้วน ไม่ว่าผู้เช่าชาวต่างชาติจะมีวีซ่าแบบ Non-Immigrant B, วีซ่าเกษียณอายุ, วีซ่านักเรียน และวีซ่าคู่สมรส ในทางตรงกันข้าม ผู้เช่าชาวต่างชาติไม่ต้องรับผิดชอบในการต้องกรอกข้อมูลและส่งรายงาน

ลืมลงทะเบียน ตม.30 มีบทลงโทษอย่างไรบ้าง?

เจ้าของบ้านที่ไม่ส่งข้อมูลรายงาน ตม.30 แล้วทำการปล่อยทรัพย์สินให้ชาวต่างชาติทำการเช่าจะต้องถูกปรับ 800-2,000 บาท และอาจส่งผลกระทบต่อผู้เช่าชาวต่างชาติในการยื่นขอวีซ่าในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาชวนปวดหัว อย่าลืมลงทะเบียน ตม.30 กัน

ย น ต.ม.ห องเช าม ต างด าวทางอ นโด

วิธีการลงทะเบียน ตม.30

1. แจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นมาแจ้ง

เอกสารที่ผู้ให้เช่า หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทนต้องเตรียม

  1. แบบฟอร์มเอกสาร ตม.30 ที่กรอกข้อมูลไว้ครบถ้วน
  2. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ให้เช่า
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ เอกสารกรรมสิทธิ
  4. สำเนาเอกสารสัญญาเช่า หรือ สัญญาซื้อขายที่ดิน (ในกรณีของการปล่อยเช่าระยะยาว)กรอกแบบ

ย น ต.ม.ห องเช าม ต างด าวทางอ นโด
ตัวอย่างแบบฟอร์มเอกสาร ตม.30

เอกสารที่ผู้เช่าชาวต่างชาติต้องเตรียมสำหรับการเช่าระยะยาว

  1. สำเนาหนังสือเดินทาง (หน้าที่มีภาพถ่ายและข้อมูลส่วนตัว, หน้าข้อมูลวีซ่า, หน้าตราประทับของประเทศไทย)
  2. สำเนาเอกสาร ตม.6

เอกสารทุกรายการจะต้องเซ็นด้วยปากกาหมึกสีน้ำเงิน*

การส่งเอกสาร

สามารถแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นมาแจ้ง ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ ที่คนต่างด้าวพักอาศัย (ตามวันและเวลาราชการ) สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถแจ้งที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยมีค่าส่งเอกสารอยู่ที่ 500-1000 บาท (ไม่รวมค่าปรับในกรณีส่งเอกสารล่าช้า)

เอกสารต้องใส่ไว้ในซองเพื่อรับการประทับตรา และอาจใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ในการดำเนินการ*

ย น ต.ม.ห องเช าม ต างด าวทางอ นโด
ตัวอย่างใบรับการแจ้งคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย

ลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น

อีกวิธีคือการลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า Section38 โดยตัวแอพนั้นรองรับทั้งระบบ IOS / Android และมีทั้งเวอร์ชั่นภาษาไทยและอังกฤษซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้การลงทะเบียนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และทางแอพพลิเคชั่นก็เช่นกัน

ย น ต.ม.ห องเช าม ต างด าวทางอ นโด
ตัวอย่างแอพพลิเคชั่น Section38 เวอร์ชั่น Android
ย น ต.ม.ห องเช าม ต างด าวทางอ นโด
ตัวอย่างหน้าล็อกอิน

เมื่อดาวน์โหลดแอพเสร็จแล้ว ให้คลิกลงทะเบียน เลือกประเภทที่พักอาศัย กรอกรายละเอียดเจ้าของบ้าน รายละเอียดทรัพย์ที่ให้ชาวต่างชาติอาศัย ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ อีเมล พร้อมแนบเอกสารบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน จากนั้นคลิกลงทะเบียน หรือ Register และรอรับแจ้ง User และ Password สำหรับเข้าระบบทางอีเมลที่ให้ไว้

ย น ต.ม.ห องเช าม ต างด าวทางอ นโด
ตัวอย่างข้อมูลที่ต้องกรอกให้ครบถ้วน

นำ User และ Password เข้าระบบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้ หลังจากนั้นให้กดที่ “บันทึกแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพัก (ตม.30)” หรือ “Notification of Residence for Foreigners (TM.30)” และกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับชาวต่างชาติที่เข้าพัก

ข้อมูลที่ต้องกรอก มีดังนี้ :

วันที่เข้าพัก-วันที่แจ้งออก

เลขหนังสือเดินทาง

กรอกข้อมูลตามที่ระบุให้ครบถ้วน และกดบันทึกแจ้งที่พัก เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

ย น ต.ม.ห องเช าม ต างด าวทางอ นโด
ตัวอย่างหน้าแสดงข้อมูลประวัติการลงทะเบียนทั้งหมด

หลังจากนั้นแอพพลิเคชั่นก็จะเข้าสู่หน้าแสดงข้อมูลดังนี้ ซึ่งจะต้องมีข้อมูลประวัติการลงทะเบียนทั้งหมด

ตม.30 มีแนวโน้มที่จะถูกยกเลิกการบังคับใช้หรือไม่?

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่การบังคับใช้กฎ ตม.30 อย่างกะทันหัน มีแรงกดดันอย่างมากจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ (โดยเฉพาะสมาคมธุรกิจและการค้าต่างประเทศ) ที่มีต่อรัฐบาลไทยที่เรียกร้องให้ยกเลิก ตม.30 เช่น หอการค้าร่วมต่างประเทศในไทย และสมาคมธุรกิจและการค้าแห่งยุโรป (EABC) ได้มองว่ากฎระเบียบดังกล่าวเป็นบ่อนทำลายธุรกิจต่างชาติ และด้วยข้อเสนอเกี่ยวกับกฎระเบียบในปัจจุบันจากทั้งสององค์กร ทำให้แรงกดดันนี้ได้ช่วยบรรเทาความยากลำบากของทั้งผู้ให้เช่าที่ถือครองอสังหาฯ และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในไทย

น่าเสียดายที่สถานะการยกเลิก ตม.30 ยังคงเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากรัฐบาลไทยยังคงมีความคิดว่าสิ่งนี้มีผลต่อการรักษาความมั่นคงของชาติและการป้องกันการก่อการร้าย และในขณะเดียวกันก็มีข่าวลือเกี่ยวกับการยกเลิกบัตรขาเข้า ตม.6 เพื่อลดปัญหาที่จะส่งผลไปถึงการลงทะเบียน ตม.30

บทสรุปส่งท้าย

หวังว่าข้อมูลทังหมดในบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน สำหรับคนที่อ่านมาจนจบ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ให้เช่า หรือผู้เช่าชาวต่างชาติ คงจะเห็นกันแล้วว่าการลงทะเบียน ตม.30 นั้นไม่ได้เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนอย่างที่อย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป เพียงแค่เลือกวิธีลงทะเบียนที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเอง เตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม และลงทะเบียนให้ตรงตามกำหนด เพียงแค่นี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องโดนค่าปรับกันแล้ว


หากยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ การลงทะเบียน ตม.30 หรือข้อกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ด้านอื่น ๆ สามารถติดต่อสอบ PropertyScout เพื่อขอคำปรึกษาจากทีมงานมืออาชีพ