จร ยธรรมในช ว ตประจำว นท ม ต อตนเอง

คุณธรรม 4 ประการที่ควรปลูกฝังในผู้เรียน คือ การรักษาความสัตย์, การรู้จักข่มใจตนเอง, การอดทน อดกลั้น และอดออม และการรู้จักละวางความชั่ว

จร ยธรรมในช ว ตประจำว นท ม ต อตนเอง

ความคาดหวังของสังคมที่มีต่อเยาวชนไทยปัจจุบัน คงหนีไม่พ้นความต้องการเห็นบัณฑิตไทยมีสติ เกิดปัญญา ที่สะท้อนความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตที่ดีงาม และสำคัญที่สุดคือต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งความต้องการข้างต้น ครูสามารถปลูกฝังผู้เรียนผ่านการสร้างคุณธรรม จริยธรรม

คำถามสำคัญที่ครูหลายท่านสงสัย การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเยาวชนไทย ต้องทำอย่างไร? ก่อนจะอธิบายเรื่องอื่น ครูต้องทราบก่อนว่า “คุณธรรม” เป็นความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ จนเกิดเป็นจิตสำนึกที่ดี และมีความกตัญญู ส่วน “จริยธรรม” นั้น เป็นความประพฤติ หรือแนวทางในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมแก่การยึดปฏิบัติ ตามความดีงามแห่งคุณธรรม เพื่อเสริมให้ผู้เรียนเติบโตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และ “ศีลธรรม” คือการไม่ละเมิดต่อสิ่งที่จะเป็นเหตุทำลายความดีงามแห่งคุณธรรม จริยธรรม ให้เกิดการเสื่อมลง

ดังนั้น การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จึงเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตใจ ที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของผู้เรียน ให้ปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ควร และละทิ้งสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย โดยการสอดแทรกไปกับกิจกรรม หรือแบบฝึกเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ชุด ฝึกคิด ฝึกธรรม ระดับประถมศึกษา

จร ยธรรมในช ว ตประจำว นท ม ต อตนเอง
จร ยธรรมในช ว ตประจำว นท ม ต อตนเอง

แบบฝึกเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ชุด ฝึกคิด ฝึกธรรม เรื่อง ซื่อสัตย์ จริงใจ

เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสำรวจตนเองให้ลึกซึ้ง ก่อนการทำความเข้าใจเรื่องคุณธรรมในด้านต่าง ๆ และสามารถนำหลักคุณธรรมที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งคุณธรรมอันดับแรกที่ควรปลูกฝังในผู้เรียนประถมฯ คือ ความกตัญญู ที่ผู้เรียนต้องแสดงออกทั้งทางกาย วาจา และทางใจ ซึ่งความกตัญญูนี้ถือเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจที่สื่อถึงความดีงาม และมีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยน สุภาพ นอบน้อม และมีความจริงใจ แล้วเสริมด้วยคุณธรรม

4 ประการสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ 1. การรักษาความสัตย์ มีความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม 2. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์และความดี 3. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์ มีแต่ความสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด 4. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของ บ้านเมือง การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ในผู้เรียนประถมฯ จำเป็นต้องสอนควบคู่ไปกับการพัฒนาในส่วนอื่น ๆ “ครู” จึงเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการสอนและฝึกผู้เรียนให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกหลักสูตรการเรียน เพื่อสร้างผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขอย่างยั่งยืน

ข้อมูลบางส่วนจาก sites.google.com

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่น ๆ ได้ที่ \>>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่น ๆ ได้ที่ \>>> คลิก <<<

บทความที่เกี่ยวข้อง

คำว่า New Normal หรือ ความปกติใหม่ กำลังเป็นคำพาดหัวยอดนิยมบนข่าว บทความออนไลน์ หรือการพูดถึงกันผ่านคีย์บอร์ดบนสื่อโซเชียล การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-1... ว่าด้วยเรื่องจริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรมีในทุกกิจกรรมงานในทุก ๆ ด้าน ไม่เว้นแม้แต่งานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีอยู่เป็นพื้นฐานแก่ผู้ประกอบอาชีพหรือผู้ที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

คุณธรรม และจริยธรรม มีความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมีจริยธรรมได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีพื้นฐานทางความคิด ความรู้ ความเข้าใจ สามารถแยกแยะผิดถูก ควรไม่ควรได้จากคุณธรรมที่ถูกอบรมบ่มเพาะมาตั้งแต่บุคคลนั้นจำความได้

คุณธรรม จึงหมายถึง “สภาพคุณงามความดี” ซึ่งเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงาม ทั้งทางกาย วาจา และใจ เช่น 1) ความจริงใจ ซื่อสัตย์ พูดจริง ทำจริง 2) การฝึกฝนข่มใจ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้า ด้วยปัญญาความรู้ 3) ความอดทน มีความอดทน ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหวในจุดมุ่งหมาย 4) ความเสียสละ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ต้องมีความเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง ผู้มีน้ำใจเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทุกคนในสังคม ช่วยเหลือเท่าที่เห็นว่าสมควรจะช่วยเหลือได้ เห็นใครควรแก่การช่วยเหลือก็ช่วยเหลือตามกำลัง (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ศีลธรรม. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.onab.go.th (วันที่ค้นข้อมูล : 4 ธันวาคม 2561)