ภ ยพ บ ต ทางบรรยากาศภาค ม อะไรบ างไทย

ชนิดของป่าของประเทศไทย

ป่าไม้ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ ป่าไม่ผลัดใบ (evergreen forest) และป่าผลัดใบ (deciduous forest) และในแต่ละประเภทยังจำแนกเป็นป่าชนิดต่างๆ ดังนี 1. ป่าไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีเรือนยอดเขียวชอุ่มตลอดปีเนื่องจากต้นไม้ในป่าชนิดนี้เมื่อผลัดใบจะ ไม่ทิ้งใบพร้อมกันทั้งต้น จะมีใบอ่อนแตกใหม่มาแทนที่ใบเก่าเสมอ สามารถจำแนกได้เป็นชนิดใหญ่ๆ 5 ประเภท ดังนี้ 1.1) ป่าดงดิบ (Tropical evergreen forest) 1.2) ป่าสนเขา (Pine Forest) 1.3) ป่าชายเลน (Mangrove forest) 1.4) ป่าพรุ (Peat Swamp forest) 1.5) ป่าชายหาด (Beach forest)

1.1) ป่าดงดิบเขตร้อน เป็นป่าที่อยู่ในเขตที่มีความชุ่มชื้นสูง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม มีปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยเกินกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ดินมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่ได้ทั้งใน ที่ราบ และที่เป็นภูเขาสูง มีกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือลงไปจนถึงภาคใต้สามารถแบ่งย่อยตามสภาพความชุ่มชื้น และระดับความสูงต่ำของภูมิประเทศ เป็น 3 ชนิด ได้แก่ 1.1.1) ป่าดงดิบชื้นโดยทั่วไปอาจเรียกว่า “ป่าดงดิบ” หรือ “ป่าฝน” ลักษณะของป่าและไม้เด่น เป็นป่าที่เกิดในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกเกือบ ตลอดปีและมีความชุ่มชื้นในดินค่อนข้างสูง สม่ำเสมอทั้งปีสภาพโครงสร้างป่าจะรกทึบประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมาย หลายชนิด ไม้ชั้นบนส่วนใหญ่เป็นไม้ในวงศ์ยาง มีลำต้นสูงใหญ่ ตั้งแต่ 30 – 50 เมตร มีเถาวัลย์ปาล์ม หมาก หวายปรากฏอยู่มาก มีไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และไม้ไผ่ต่างๆ บนต้นไม้ จะมีกล้วยไม้ชนิดต่างๆ รวมถึงมอส และ เฟิร์นขึ้นอยู่ทั่วไป รวมทั้งมีเถาวัลย์มากกว่า ป่าชนิดอื่นไม้เด่น ได้แก่ ไม้ในวงศ์ยาง-ตะเคียน เช่น ยางนา ยางเสี้ยน ยางมันหมูยางยูง ตะเคียนชันตาแมว ตะเคียนทอง ตะเคียนราก และไม้อื่นๆ เช่น กระบาก เคี่ยม ไข่เขียว สยา กาลอ หลุมพอ ตังหน เป็นต้น ปัจจัยในการเกิดป่า มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปีความชื้นสูงมาก บริเวณที่พบ ภาคใต้และฝั่งทะเลตะวันออก แถบจันทบุรีและตราดอาจพบในภาคอื่นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นมากๆและสามารถแบ่งโดยอาศัยความแตกต่างในด้านความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1.1.2) ป่าดงดิบแล้ง ลักษณะของป่าและไม้เด่น ป่าดงดิบแล้งมีลักษณะโครงสร้างคล้าย ป่าดงดิบชื้นคือมีเรือนยอดเขียวชอุ่มตลอดปี แต่ในป่านี้จะมีชนิดพันธุ์ไม้ประเภทที่ ผลัดใบผสมแต่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพลมฟ้าอากาศและความชุ่มชื้นในดินโครงสร้างของป่าประกอบไปด้วยเรือนยอด 3 ชั้น ไม้เด่นของเรือนยอดชั้นบนสูงตั้งแต่ 25 เมตร ขึ้นไป ได้แก่ ยางแดง ยางนา ยางปาย ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง เคี่ยมคะนอง ตาเสือ กระบก ลำไยป่า ดีหมีมะไฟ และ กระบาก ไม้สำคัญชนิดที่ไม่ผลัดใบ ได้แก่ มะค่าโมง ตะแบก พะยูงชิงชัน ชนิดไม้ผลัดใบ ได้แก่ สมพง ปออีเก้ง ซ้อ มะมือ ยมหิน ยมป่า สะเดาช้าง คงคาเดือด ตะแบกใหญ่ ตะแบกเกรียบ เสลาดอกขาว สอม เป็นต้น เรือนยอดรองมีความสูงประมาณ 10 -20 เมตร ประกอบไปด้วยไม้จำพวก พลองใบใหญ่ กระเบากลักหรือหัวค่าง ลำดวน และไม้สกุล Diospyros ไม้ชั้นล่าง มักมีความสูงไม่เกิน 5 เมตร ประกอบด้วย ข่อยหนาม หมักม่อ เข็มขาวเป็นต้น ตามพื้นป่า จะมีลูกไม้ของพวกไม้เด่น ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น รวมทั้งขิง ข่ากระเจียวหวาย และเถาวัลย์พบกล้วยไม้บนต้นไม้ ปัจจัยในการเกิดป่า กระจายตามที่ราบเชิงเขา ไหล่เขา และหุบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 – 600 เมตร มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณที่พบ กระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะภาคที่มีฤดูแล้งระหว่าง 4 – 6 เดือน ได้แก่ภาคกลาง บางส่วนของภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ 1.1.3) ป่าดงดิบเขา ลักษณะของป่าและไม้เด่น เป็นป่าดงดิบที่ขึ้นอยู่บนพื้นที่ระดับความสูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่ามีเรือนยอดแน่นทึบ มีไม้พื้นล่าง หนาแน่นเหมือนป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง บนที่ต่ำ แต่แตกต่างกันในองค์ประกอบ ของพรรณไม้ ไม้เด่นได้แก่ ไม้ในสกุลก่อ เช่น ก่อเดือย ก่อน้ำ ก่อแป้น ก่อตลับ ก่อหนาม ก่อแหลม และพวกพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (จิมโนสเปอร์ม) และไม้อื่นๆ เช่น เมี่ยง เหมือดคน มณฑา จำปีหลวง ฮ้อมช้าง มะขามป้อมดง กำลังเสือโคร่ง กายอม จุมปีพญาไม้ สารภีดง ชมพูภูพาน กุหลาบขาว และกุหลาบแดง เป็นต้น และปาล์ม เช่น ค้อ เต่าร้างภูคา ไม้พื้นล่าง เฟินบัวแฉก มะพร้าวเต่า ปัจจัยในการเกิดป่า มีปริมาณน้ำฝน 1,500– 2,000 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณที่พบ กระจายตามยอดเขาสูงทั่วทุกภาคของประเทศ ใต้สุดปรากฏที่ยอดเขาหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ส่วนมากจะอยู่ตามบริเวณยอดเขาทางภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยเชียงดาว และดอยปุย เป็นต้น ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบบ้าง เช่น เขาใหญ่ ภูกระดึง และยอดเขา อื่นๆ ที่มีความสูงเกินกว่า 1,000 เมตรขึ้นไป

1.2) ป่าไม้สนเขา (Lower montane coniferous forest) เป็นป่าไม้ที่มีกลุ่มไม้เนื้ออ่อนจำพวก conifer หรือไม้สนเขาโดยทั่วไป ป่าสนเขาชอบขึ้นอยู่ตามสันเขา ที่มีอากาศหนาวเย็น และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ส่วนมากจะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลในช่วง200–1,800 เมตร มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000–1,500เมตร ต่อปีสภาพป่ามีลักษณะ เป็นป่าโปร่ง ป่าชนิดนี้จะกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ส่วนมากจะพบในภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก และเพชรบูรณ์และบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดเลย ศรีสะเกษ สุรินทร์และอุบลราชธานีเป็นต้น หากมีไฟไหม้บ่อยๆ จะมีสภาพเหมือนป่าทุ่ง เช่นที่ ภูกระดึง และทุ่งแสลงหลวง เป็นต้น องค์ประกอบของชนิดไม้ขึ้นอยู่เพียงไม่กี่ชนิด มีสนสองใบ และ สนสามใบ เป็นไม้เด่น มีไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นร่วมได้แก่ พญาไม้สนสามพันปี สนใบพาย ขุนไม้ซางจิง ในบางพื้นที่ ดินเป็นดินลูกรังก็จะเป็นป่าเต็งรัง มีเหียง พลวง ไม้ในวงศ์ก่อ ขึ้นผสมไม้สน และไม้พุ่ม เช่น พิกุลป่าเข็มป่า มะห้า ขางแดง กำลังช้างสาร ปรงเขา และกุหลาบขาว เป็นต้น

1.3) ป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง (Mangrove forest) ป่าชายเลนเป็นป่าที่ขึ้นอยู่ในที่ดินเลนริมทะเล ตามบริเวณปากน้ำที่มีน้ำทะเลท่วมถึงและตามเกาะต่างๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดระนองถึงจังหวัดสตูล แถบอ่าวไทย ตั้งแต่สมุทรสงคราม ถึงตราด จากเพชรบุรีถึงนราธิวาส ป่าชายเลนมีลักษณะโครงสร้างของป่าและองค์ประกอบของพรรณไม้ โดยเฉพาะ มีไม้เด่นได้แก่ : โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ซึ่งทั้งสองชนิดนี้จะมีรากค้ำยัน (buttress root หรือ stilt root) ออกมาจากโคนต้น บางชนิด เช่น แสม ลำพู ประสัก จะมีรากอากาศโผล่พ้นพื้นดินเลน เรียกว่า รากหายใจไม้ชนิดอื่นๆ เช่น พังกาหัวสุม โปรงขาว โปรงแดงและรังกะแท้เป็นต้น

1.4) ป่าพรุหรือป่าบึง (Peat Swamp forest) เป็นป่าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) มีที่มีสภาพเป็นแอ่งน้ำจืดขังติดต่อมานานหลายๆปี มีการสะสมของชั้นอินทรีย วัตถุหรือดินอินทรีย์ที่หนามากหรือน้อยอยู่เหนือชั้นดินแท้ๆ การสะสมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันในสภาวะที่น้ำท่วมขังที่ได้จากน้ำฝนในแต่ละปี ซึ่งอาจเป็นบริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำ ตามหนอง บึง ส่วนมากอยู่บริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย มากกว่า2,000 มิลลิเมตรต่อปี การที่พืชพรรณต่างๆ ต้องดำรงชีพอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำขังชื้นแฉะ อยู่เช่นนี้ ทำให้เกิดการปรับตัว และมีลักษณะพิเศษเช่น ที่โคนต้นมักจะมีพูพอน ระบบรากส่วนใหญ่ จะเป็นรากแขนงแผ่กว้าง และแข็งแรง มีระบบรากพิเศษหรือระบบรากเสริม เช่น รากหายใจ เพื่อช่วย ในการหายใจ และรากค้ำยัน ช่วยในการพยุงลำต้น สามารถจำแนกตามสภาพแวดล้อมออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ 1.4.1) ป่าบึงน้ำจืดหรือป่าบุ่ง ป่าทาม (freshwater swamp forests) ลักษณะของป่าและไม้เด่น ป่าบึงน้ำจืดแตกต่างจากป่าพรุ คือ ป่าพรุ จะเกิดบนพื้นที่เป็นแอ่งรูปกระทะ ที่มีการสะสมถาวรของซากพืชหรืออินทรีย์วัตถุที่ไม่ผุสลายแช่อยู่ในน้ำจืดที่ได้รับจากฝนเป็นส่วนใหญ่ ป่าบึงน้ำจืดเกิดตามที่ราบสองฝั่งแม่น้ำและลำน้ำสายใหญ่ในภาคใต้และภาคกลาง และป่าบึงน้ำจืดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำมูล ชีเรียกว่า ป่าบุ่ง-ทาม พื้นที่เป็นแอ่งมีน้ำขังเรียกว่า บุ่ง พื้นที่ดอนมีต้นไม้ใหญ่น้อยเรียก ทามป่าบึงน้ำจืดได้รับน้ำจืดที่เอ่อล้นตลิ่งลำน้ำ ในฤดูน้ำหลาก บนพื้นป่าไม่มีการสะสมของ อินทรียวัตถุอย่างถาวร เนื่องจากซากพืชถูก น้ำพัดพาไปกับกระแสน้ำหลากที่แปรปรวน อยู่เสมอ ลักษณะโครงสร้างของป่าจะ แตกต่างไปในแต่ละท้องที่ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำ ปริมาณน้ำในฤดูน้ำหลาก และ สภาพของดิน ป่าบึงน้ำจืดบนฝั่งที่เป็นที่ราบในฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำค่อนข้างสูง จะมีต้นไม้ปกคลุม พื้นที่เป็นกลุ่มๆ กระจัดกระจายและต้นไม้ มีความสูงไม่มากนัก พื้นล่างเป็นพืชจำพวก หญ้าและกก ส่วนพื้นที่ดอนที่น้ำท่วมถึงเป็น ครั้งคราวในระยะเวลาสั้นๆ จะพบกลุ่มไม้ ต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ปกคลุมพื้นที่หนาแน่น ติดต่อเป็นผืนใหญ่ ไม้ต้นที่พบทั่วไปในป่าบึงน้ำจืด เช่น กรวยสวน กันเกรา กระเบาใหญ่ ตะขบน้ำ สักน้ำ ชุมแสง สะแก มะม่วงปาน เฉียงพร้านางแอ อินทนิลน้ำ พิกุลพรุ นาวน้ำ คาง หว้า แฟบน้ำ ส้านน้ำ สำเภา เทียะจิกหรือกระโดนน้ำ อินทนินน้ำ โสกน้ำ กระทุ่ม และระกำป่า เป็นต้น ปัจจัยในการเกิดป่า พื้นที่น้ำขังหรือน้ำท่วม บริเวณที่พบ ภาคใต้(แม่น้ำตาปี) ภาคกลาง (แม่น้ำเจ้าพระยา สะแกกรัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มูล ชี) และเรียกว่าป่าบุ่งป่าทาม 1.4.2) ป่าพรุ (Peat swamp forest) ลักษณะของป่าและไม้เด่น เป็นป่าไม่ผลัดใบ ขึ้นอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นที่ลุ่มต่ำ มีสภาพเป็นแอ่งมีน้ำจืดขังอยู่ตลอดเวลา แตกต่างจากป่าบึงน้ำจืด โดยทั่วไปมีพื้นป่าพรุ จะมีการสะสมของอินทรียวัตถุอย่างต่อเนื่องถาวรจนเป็นดินอินทรีย์ (peat) อยู่เหนือชั้นดินแท้ๆ มีความหนาไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ส่วนป่าบึงน้ำจืดจะไม่มีการสะสมชั้นอินทรียวัตถุอย่างถาวร แต่จะมีการสะสมของดินตะกอนหรือดินเลน พืชพรรณที่ขึ้นอยู่ในป่าที่มีน้ำท่วมขังเหล่านี้มีการปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม โดยมีระบบรากแก้วสั้น โคนต้นมีพูพอน มีระบบรากพิเศษช่วยค้ำยัน และช่วยในการหายใจพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ช้างไห้อ้ายบ่าวจันทน์แดง ทุเรียนนก กราย เลือดควายใบใหญ่ มะมุด พิกุลพรุ เสม็ด ชุมพูป่าสะท้อนนก อ้ายบ่าว จันทน์ป่า ตันหยงป่าสะเตียว ขี้นอนพรุ กาบอ้อย และหว้า ชนิดต่างๆ เป็นต้น บริเวณที่พบ ภาคใต้(พื้นที่แอ่งที่มีน้ำขัง เช่นป่าพรุโต๊ะแดง นราธิวาส ป่าพรุควนเคร็ง นครศรีธรรมราช) ภาคเหนือ (อ่างกาดอยอินทนนนท์ จ.เชียงใหม่)

1.5) ป่าชายหาด (Beach forest) เป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเล โดยปกติน้ำทะเลจะท่วมไม่ถึง ส่วนมากจะเป็นเนินทราย (sand dune) บางแห่งจะเป็นดินกรวดปนทรายและโขดหิน หากบริเวณที่ฝั่งทะเลยกตัวสูงขึ้น และห่างฝั่งขึ้นมา หรือมีลักษณะสภาพคล้ายเกาะก็จะมีดินปนอยู่มาก อาจจะมีสภาพเปิดโล่งประกอบด้วย พงหญ้าไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก หรือมีสภาพเป็นป่าละเมาะ หรือสภาพเป็นป่าที่มีเรือนยอดชิดกัน พันธุ์พืชที่ขึ้นอยู่ในป่าชนิดนี้จะต้องเป็นพวกที่ทนต่อสภาพดินเค็ม และสามารถปรับตัวเข้ากับกระแสลมแรง ความแห้งแล้งและไอเค็มจากทะเล และมีพืชคลุมดินเกาะยึดทรายยื่นเป็นสายออกไป เช่น กระทิง โพทะเล ปอทะเล หูกวาง โกงกางหูช้าง ตีนเป็ดทราย เม่าจิกทะเล หมันทะเล โพกริ่ง หยีทะเล เทียนทะเล งวงช้างทะเล งาไซ ไม้พุ่มได้แก่ รักทะเล สำมะงาช้าเลือด คนธิสอทะเล หนามพุงตอ เตยทะเลหนามพรม ไม้เถาเช่น ผักบุ้งทะเล ดองดึงจั่นดิน หญ้าลอยลม และถั่วคล้า เป็นต้น