ภ ม ศาสตร และประว ต ศาสตร ไทยภาคเหน อ

ชมรมประวัติศาสตร์ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อันมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่นิสิตในภาควิชาประวัติศาสตร์ โดยทางภาควิชาและชมรมประวัติศาสตร์มีหน้าที่อำนวยการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาไปเยือนแหล่งโบราณสถานสำคัญต่างๆ และมอบหมายให้นิสิตชั้นปีที่ 4 เป็นวิทยากรในการให้ความรู้และบรรยายแหล่งโบราณสถานให้แก่นิสิตชั้นปีอื่นๆ ทั้งนี้ โบราณสถานที่สำคัญที่ทางชมรมประวัติศาสตร์ได้จัดให้มีการทัศนศึกษาหมุนเวียนไปเป็นประจำทุกปีได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย สุพรรณบุรีและอยุธยา ทั้งนี้ การทัศนศึกษาดังกล่าวไม่เพียงจะทำให้นิสิตได้ไปเห็นแหล่งที่ตั้งของโบราณสถานเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการส่งเสริมให้นิสิตเกิดการตั้งคำถาม ถกเถียงในข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บูรณาการระหว่างสิ่งที่เห็นกับความรู้ที่มีอยู่ และส่งเสริมการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมด้วยตัวนิสิตเอง

ภ ม ศาสตร และประว ต ศาสตร ไทยภาคเหน อ

อนึ่ง ในปี พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา ชมรมประวัติศาสตร์ได้ก้าวไปสู่บทบาทใหม่ เพราะไม่เพียงแต่ดำเนินกิจกรรมเพียงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิตในภาควิชาเท่านั้น หากแต่ยังเล็งเห็นถึงการขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ให้ออกไปยังบุคคลภายนอกอีกด้วย โดยกิจกรรมที่จะจัดขึ้นนั้นได้ริเริ่มจากนิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ในนามของชมรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์สามารถเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในวงกว้างได้ง่ายขึ้น จึงได้มีการนำความรู้ด้านประวัติศาสตร์ที่มีอยู่มาผนวกเข้ากับการจัดแสดงหุ่นกระบอกร่วมสมัย โดยใช้เวลาเตรียมการและซักซ้อมนานร่วมปี เพื่อให้การแสดงจะสามารถถ่ายทอดความประทับใจและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ให้แก่บุคคลภายนอกและเยาวชนได้รับความรู้ที่ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูประวัติศาสตร์ โดยทำให้เยาวชนรุ่นใหม่เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านหุ่นกระบอก ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวอยู่บนความร่วมมือของสถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน ชมรมประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และชมรมศิษย์เก่า นอกจากนี้ การแสดงหุ่นกระบอกของชมรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ยังได้รับเกียรติให้ไปจัดแสดงในเทศกาลหุ่นโลก ณ กาญจนบุรี 2016 (Thailand Harmony World Puppet Festival in Kanchanaburi 2016) ในระหว่างวันที่ 1-7 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

ด้วยบทบาทดังกล่าว ชมรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน อีกทั้ง ยังเป็นการดำเนินกิจกรรมบนการจัดการแบบมีส่วนร่วมของนิสิตในภาควิชา จึงถือเป็นการส่งเสริมให้นิสิตได้แสดงศักยภาพของตนเองได้ในอีกทางหนึ่ง

NU Dorm @ Naresuan University

http://www.nudorm.nu.ac.th

ภ ม ศาสตร และประว ต ศาสตร ไทยภาคเหน อ
ภ ม ศาสตร และประว ต ศาสตร ไทยภาคเหน อ
ภ ม ศาสตร และประว ต ศาสตร ไทยภาคเหน อ

นอกจากมหาวิทยาลัยนเรศวรจะมีหอพักสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีโดยทั่วไปแล้ว บริเวณรอบมหาวิทยาลัยยังมีหอพักเอกชนจำนวนมากเปิดดำเนินการ โดยอาจมีราคาแพงกว่าหอพักในมหาวิทยาลัย แต่ก็หอพักหลายประเภทให้เลือกและมีเครื่องอำนวยความสะดวกมากน้อยตามราคา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อตั้งขี้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ตามประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 25 ตอนที่ 72 หน้า 433-437 นับถึงปัจจุบันมีอายุครบสี่ทศวรรษ มีพัฒนาการในด้านต่างๆ แบ่งตามทศวรรษ ดังนี้

“ ยุคของการสร้างตัว ”

การก่อตั้งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นคณะลำดับที่ 7 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน คือ การรวมบุคลากรสาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ที่กระจัดกระจายอยู่ในคณะต่าง ๆ ให้มาอยู่ในหน่วยงานเดียวกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนด้านการสอนวิชาในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดังนั้น ในยุคแรกจึงมีเพียง 4 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาภาษาต่างประเทศ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ซึ่งเดิมสังกัดคณะวิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ และภาควิชามนุษยศาสตร์ ซึ่งได้รวบรวมบุคลากรที่สอนรายวิชาพื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ และรายวิชาด้านเศรษฐศาสตร์ที่สังกัดคณะเกษตรศาสตร์มาไว้ด้วยกัน เปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี 4 หลักสูตร ได้แก่ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ (พ.ศ.2518) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (พ.ศ.2523) สาขาวิชาพัฒนาชุมชน (พ.ศ. 2527) และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (พ.ศ. 2527)

“ยุคของการขยายตัว”

มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีนโยบายในการขยายขอบเขตการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ.2532 คณะได้จัดโครงสร้างการบริหารใหม่ โดยแบ่งเป็นสำนักงานคณบดี และเพิ่มจำนวนภาควิชาเป็น 8 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาภาษาต่างประเทศ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภาควิชาพัฒนาสังคม ภาควิชาภาษาไทย ภาควิชาปรัชญาและศาสนา และภาควิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี นอกจากนี้มีบางสาขาวิชาแยกตัวออกไปตั้งคณะใหม่ ได้แก่ สาขาวิชาศิลปะและดนตรี แยกออกไปก่อตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ แยกออกไปก่อตั้งคณะวิทยาการจัดการ ในยุคนี้ได้มีการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีเพิ่มอีก 2 สาขาวิชา คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส (พ.ศ.2531) และสาขาวิชาภาษาไทย (พ.ศ.2532) และเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท 5 สาขาวิชา คือ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาการพัฒนา (พ.ศ.2531) สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (พ.ศ.2537) สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา (พ.ศ.2538) สาขาวิชาพัฒนาสังคม (พ.ศ.2538) และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ (พ.ศ.2540)

“ยุคของการเปลี่ยนแปลง”

คณะในทศวรรษที่สาม มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในหลาย ๆ ด้าน สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยและมหาวิทยาลัยชั้นนำในอาเซียน มีการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอก ซึ่งเป็นฐานสำหรับการวิจัยและสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยจำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ สาขาวิชาพัฒนศาสตร์ (พ.ศ.2541) สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา (พ.ศ.2546) และสาขาวิชาสังคมวิทยา (พ.ศ.2550) นอกจากนี้ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี ด้านภาษาเพิ่มขึ้นอีกหลายภาษา ได้แก่ ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาสเปน และภาษาจีน ในปี พ.ศ.2549 คณะได้ปรับโครงสร้างการบริหารตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยยกเลิกการบริหารแบบภาควิชา มาเป็นแบบ กลุ่มวิชา แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาภาษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสารสนเทศและการสื่อสาร

“ยุคมหาวิทยาลัยวิจัย”

ยุคมหาวิทยาลัยวิจัย ในช่วงของทศวรรษที่สี่ คณะจำเป็นต้องพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน เพื่อสามารถตอบสนองการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยและการมีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับในระดับสากล ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนั้นจึงได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีแบบสองปริญญา สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ (พ.ศ.2551) ร่วมกับ Southwest University ประเทศจีน และเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพงานวิจัย ได้แก่ ระดับปริญญาโท ประกอบด้วย สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา (พ.ศ.2553) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ (พ.ศ.2558) และสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมจีน (พ.ศ.2559) ระดับปริญญาเอก สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ (พ.ศ.2555) สาขาวิชาปรัชญาและศาสนาตะวันออก (พ.ศ.2556) และสาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (พ.ศ.2557) นอกจากนี้เพื่อตอบสนองต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คณะได้ก่อตั้งศูนย์ภาษาอาเซียน (พ.ศ.2556) เพื่อรับผิดชอบการสอนและให้บริการวิชาการด้านภาษาอาเซียนทุกภาษา รวมทั้งได้เปิดหลักสูตร ระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (พ.ศ.2559) ด้วย และในปี พ.ศ.2560 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานคณะใหม่ โดยแบ่งดังนี้