ภ ม ศาสตร ต องเร ยนใช เกรดเท าไร

6 ประเทศ อันดบั ท ี่ ประเทศ อนั ดบั ท ่ี ประเทศสิงคโปร ์ 1 ประเทศออสเตรเลีย 14 ประเทศฮอ่ งกง 2 ประเทศนิวซแี ลนด์ 17 ประเทศเกาหลีใต้ 3 ประเทศไทย 47 ประเทศไต้หวนั 4 ประเทศมาเลเซยี 52 ประเทศญป่ี ุน่ 4 ประเทศอนิ โดนเี ซีย 69 ประเทศเวยี ดนาม 12 ที่มา : จริ ประภา อคั รบวร, 2559: 41 ทมี่ า : ขอ้ มลู จากการสมั ภาษณเ์ มือ่ ปพี .ศ. 2559 จะเห็นได้ว่าการวางรากฐานการศึกษาเป็นไปอย่างมีทิศทางและ สอดคล้องกับนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างแนบแน่นเพ่ือให้การศึกษาและเศรษฐกิจ ส่งเสรมิ ซง่ึ กันและกันอยา่ งได้สมดลุ 3.5.5 สถาบันครอบครัว จากการศึกษา พบว่า ชาวเกาหลีใต้ให้ความสำคัญต่อครอบครัวเป็น อนั ดบั ตน้ ๆ จงึ เอาใจใส่ ดแู ลครอบครวั ใหพ้ งึ่ ตนเองไดโ้ ดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ การใหก้ ารศกึ ษาในระดบั สงู ที่มีคุณภาพ เรียกว่า ชาวเกาหลีใต้น้ันมีค่านิยมหรือคล่ังไคล้ในการศึกษาระดับสูง (จิรประภา อัครบวร, 2559: 145) และปลูกฝังความมีวินัยแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัวให้เป็นคนดีของ สังคมโดยถ้วนหน้าให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและท่ีสำคัญที่สุด ชาวเกาหลีใต้จะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นอันดับแรกโดยอาศัยการศึกษา เป็นเครื่องมือที่ศักดิ์สิทธ์ิในการพัฒนานักวิชาการทางด้านการศึกษา Sorensen ได้กล่าวถึง 88 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สร้างวินัยในสถานศึกษาระดบั การศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ ความสำเรจ็ ของการพัฒนาในสงั คมเกาหลใี ต้ท่ไี ด้รบั อิทธิพลทางความคดิ มาจากลัทธิขงจ๊ือที่นับถอื และให้คุณค่าของคนขยันและรักการทำงานหนักยกย่องนับถือคุณค่าของการศึกษาพร้อมทั้งคนท่ี มีการศึกษาสูง การประหยัดและครอบครัวที่อบอุ่นซ่ึงถูกหล่อหลอมจนกลายเป็นวัฒนธรรมอันมี พลังที่จะช่วยขับเคล่ือนให้สังคมเกาหลีใต้มีวินัยสูงยิ่งข้ึนซึ่งสอดคล้องกับคำสอนในลัทธิขงจ๊ือที่ กล่าวไว้ว่า “การมีชวี ิตอยู่นานเทา่ ใดมใิ ชส่ ง่ิ สำคัญ สงิ่ สำคัญ นนั่ คอื มชี ีวติ อยอู่ ย่างไร” (จิรประภา อคั รบวร, 2559: 37) ขอ้ มูลจากการสัมภาษณ์ Joo Ook Kim พบวา่ การเรยี นรู้ในความรักชาติ จากบรรพบุรุษ ความรักและความผูกพันในชาติพันธุ์ของชาวเกาหลีใต้ในอีกมิติหนึ่ง คือ พ่อแม่ เสียสละเพื่อทุ่มเทงบประมาณให้บุตรธิดาได้รับโอกาสทางการศึกษาในระดับสูงและมีคุณภาพ จึงกล่าวได้ว่านักเรียนเกาหลีใต้ล้วนมีวินัยสูงและมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียนเพ่ือสอบเข้าศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยชั้นดีและได้มาตรฐานเป็นจำนวนมากกว่าประเทศอ่ืนๆ (มุน ฮวีชัง, 2560: 106) นอกจากน้ี ครอบครัวชาวเกาหลีใต้ส่วนหนึ่งได้ทุ่มเงินลงทุนด้านการศึกษาโดยส่งบุตรธิดา ไปศึกษาตอ่ ในต่างประเทศเป็นจำนวนเพม่ิ ขน้ึ ทกุ ปตี งั้ แตป่ พี .ศ. 2550 – พ.ศ. 2553 ดงั ตอ่ ไปนี ้ ตาราง 4 แสดงจำนวนนกั เรยี นชาวเกาหลีใต้ท่ีศึกษาตอ่ ในต่างประเทศ (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2553) Korean Students Abroad (2007 - 2010) Year Top Five Overseas Study Destinations Total First Second Third Fourth Fifth 2010 USA Japan Australia UK Canada 126,447 (71,514) (25,660) (7,311) (4,347) (4,326) 2009 USA Japan Australia UK Canada 125,165 (73,832) (24,580) (6,796) (4,277) (4,105) 2008 USA Japan Australia UK Canada 112,588 (69,198) (23,290) (6,270) (4,031) (3,929) 2007 USA Japan Australia UK Canada 105,327 (63,772) (22,109) (5,430) (4,311) (3,901) ที่มา : จิรประภา อคั รบวร, 2556: 146 89 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สรา้ งวินยั ในสถานศึกษาระดบั การศึกษาขนั้ พ้นื ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ อดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกากล่าวสุนทรพจน์ที่ หอการค้าและอุตสาหกรรมในเมืองลาสเวกัส (Las Vegas) ในวันท่ี 19 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ว่า “นักเรียนชาวเกาหลีใต้เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนสูงมาก” (มุน ฮวีชัง, 2560: 106) และ ผู้ปกครอง ชาวเกาหลีใต้ต้องการให้บุตรธิดาได้รับการศึกษาสูงกว่าประเทศอ่ืนๆ กล่าวคือ ใน ปีพ.ศ. 2552 อัตราค่าใชจ้ ่ายทางการศึกษาของครอบครวั ไดเ้ พ่มิ ขึน้ จาก 11.1 % ในปพี .ศ. 2546 เป็น14.2 % ในพ.ศ. 2552 ซ่ึงค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่สูงข้ึนดังกล่าวข้างต้นเกิดจากสาเหตุ นักศกึ ษาเรียนพิเศษเพมิ่ ขึ้นในรอบ 6 ปที ผ่ี า่ นมาถึง 68.4 % เรียกวา่ ผ้ปู กครองชาวเกาหลใี ตน้ ั้น ยอมมีชีวิตที่ลำบากเพ่ือให้การศึกษาท่ีดีแก่บุตรธิดาซ่ึงเป็นปัจจัยท่ีส่งผลให้เป็นพลเมืองท่ีมี คณุ ภาพ (มุน ฮวชี ัง, 2560: 109) 3.5.6 สถาบันศาสนา ทุกสถาบันศาสนาในประเทศเกาหลีใต้น้ันล้วนมีภารกิจท่ีสำคัญท่ีจะช่วย กล่อมเกาให้ชาวเกาหลีใต้เป็นพลเมืองดีของชาติตลอดจนการดำรงชีวิตของคนเหล่านี้มีคุณค่าใน สังคมยุคดิจิตัลและมีความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและระบบนิเวศน์ ผู้เขียน ไดน้ ำเสนอแลว้ ดงั ปรากฏในหน้า 69 – 71 เม่ือก่อนชาวเกาหลีใต้ได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ (Confucianism) ซึ่งเผยแพร่เข้าไปในคาบสมุทรเกาหลีในยุคอาณาจักรโชซอนใหม่ในปีพ.ศ. 1935 โดยมุ่งมั่นสอน ให้คนเป็นคนฉลาด มีความรู้คู่คุณธรรมเป็นหลักและยึดมั่นในความยุติธรรมตลอดจนค้นหาความ สำเร็จด้วยความสามารถของตนเองที่ เรียกว่า ลัทธิขงจื๊อสอนหนังสือและสอนคนทุกชนชั้นโดย ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ก็คือ ลัทธิขงจ๊ือให้โอกาสคนโดยถ้วนหน้า ความคิดของขงจื๊อจึงถูกนำไปวาง รากฐานองค์การทางสังคม คือ ระบบราชการที่เปิดให้มีการสอบแข่งขันเพ่ือสรรหาคนดีให้เข้ามา ปฏิบัติงาน ทุกคนที่สอบผ่านนั้นต่างได้รับเกียรติจากสังคม มีชื่อเสียงและมีหลักประกันความ สำเรจ็ ทางสงั คม หลกั การของลทั ธิขงจ๊ือจะสอนให้คนคดิ เป็น นน่ั คอื “การเรยี นรู้ท่ปี ราศจากการ คิดเป็นนั้นย่อมเป็นการสูญเปล่า แต่การคิดที่ปราศจากการเรียนรู้อันตรายมากกว่า” พร้อมท้ังได้ ถูกนำมาถ่ายทอดสู่การสอนคุณธรรม จริยธรรมและสอนการพูดท่ีเหมาะสมกับสถานการณ์ สอน การบริหารการปกครองและสอนศิลปะ อย่างไรก็ตาม การศึกษาจริยธรรมเป็นศาสตร์ท่ีสำคัญ ท่ีสุดในลัทธิขงจ๊ือเพราะเป็นการศึกษาที่สามารถนำมาปรับใช้และแก้ไขสถานการณ์และเป็นการ ปลกู ฝังค่านิยมที่ดีในสังคม (จริ ประภา อคั รบวร, 2559: 31) 3.5.7 สภาพทางดา้ นเศรษฐกจิ หลังจากสงครามเกาหลีสิ้นสุดลง แต่ประชาชนประสบกับสภาวะวิกฤติ ทางเศรษฐกิจ และขาดแคลนปัจจัยส่ีที่ใช้ในการเล้ียงชีพอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า เป็นหนึ่งใน 90 รูปแบบและกลไกการเสรมิ สร้างวนิ ยั ในสถานศึกษาระดบั การศึกษาข้ันพนื้ ฐานของประเทศเกาหลีใต ้ ประเทศทม่ี คี วามยากจนที่สดุ ในโลก (มุน ฮวีชงั , 2560: 17) และรฐั บาลของประเทศเกาหลีใตไ้ ด้ เริ่มพัฒนาประเทศต้ังแต่ปีพ.ศ. 2505 เป็นต้นมา ในช่วงเวลาน้ีประชาชนเกาหลีใต้มีชีวิตความ เป็นอย่ทู แี่ ร้นแค้นและยากจนมาก ท้งั นี้ อาจจะมสี าเหตมุ าจากประเทศเกาหลใี ต้มพี ้ืนทขี่ นาดเล็ก ประกอบกับพื้นท่ีราบที่ใช้ทำกินมีน้อยและมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนจำกัดพร้อมกับผู้นำนั้น ขาดการเอาใจใส่ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนมาเป็นลำดับ แต่ผู้นำกลับแก่งแย่ง ผลประโยชน์เพ่ือหวังอำนาจทางการเมืองโดยต่างฝ่ายต่างรวบรวมผู้คนเพื่อประหัตประหาร กันเอง ประชาชนขาดแคลนท่ีอยู่อาศัย ขาดแคลนปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต ประชาชนไม่มีงานทำ จึงส่งผลให้มีรายได้ไม่สมดุลกับรายจ่ายเป็นเวลายาวนานถึง 25 ปี (ดำรงค์ ฐานดี, 2530: 28) แต่เศรษฐกจิ ของประเทศเกาหลีใตเ้ ริม่ กระเตอ้ื งขน้ึ ในสมัยของประธานาธิบดปี ารค์ จุง ฮี จึงทำให้ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเร่ิมดีขึ้นเป็นลำดับ หลังจากน้ัน ทุกประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกจึงใช้ประเทศเกาหลีใต้เป็นแม่แบบ (Model) ในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศของตน ส่งผลให้บรรดาประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนาได้พัฒนาตนเองมาเป็นลำดับจน กระทั่งมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกจนกระท่ังสามารถแบ่งตลาดส่งออกสินค้าของ เกาหลีใต้พอสมควร ดังกล่าวจึงทำให้ประเทศเกาหลีใต้ประสบกับอุปสรรค กล่าวคือสภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำในปลายปีพ.ศ. 2513 เรียกว่า เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้น้ันถูกมองว่า ประสบกับสภาวะเงินเฟ้อสูงเนื่องจากเกิดวิกฤติด้านน้ำมันคร้ังที่ 2 จึงส่งผลให้เศรษฐกิจของ เกาหลีใต้ตกต่ำลงอย่างต่อเน่ืองรวมท้ังภายในประเทศยังถูกรบกวนจากปัญหาทางการเงินอย่าง รุนแรงที่มีสาเหตุมาจากการลงทุนท่ีซ้ำซ้อน ตลาดส่งออกตกต่ำ ราคาผลผลิตทางการเกษตร ซบเซาและราคานำ้ มันสูงขึน้ อย่างต่อเน่ือง (มุน ฮวชี งั , 2560: 22 - 24) ในปีพ.ศ. 2540 ประเทศเกาหลีใต้ได้เกิดสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ เรียกว่า “ต้มยำกุ้ง” เป็นเหตุให้เกิดการเลิกจ้างงานเป็นจำนวนมาก คนตกงานในอัตราสูง อัตราค่าครอง ชีพสูง ประชาชนมีรายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย ประเทศเกาหลีใต้จึงต้องพึ่งพากองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF : International Monetary Fund) ข้อมูลจากการศึกษาพบว่า ประชาชนชาวเกาหลีใต้ได้ปรับเปล่ียนกระบวนทัศน์ใหม่ ก็คือ ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลโดยนำ เอาทองคำท่ีเป็นสมบัติส่วนตัวไปให้รัฐบาลเกาหลีใต้ยืมเพ่ือนำเงินไปใช้หนี้ต่างประเทศ และเมื่อ เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ฟ้ืนตัวขึ้นรัฐบาลเกาหลีใต้จึงคืนทองคำให้ประชาชน (จิรประภา อัครบวร, 2559: 39) และในปีพ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2544 รัฐบาลได้ใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาล สำหรับโครงการประกันสุขภาพแห่งชาติ (Nation Health Insurance) จนกระท่ังเกิดภาระ หนี้สินล้นพ้นตัวนับเท่าทวีคูณ (จิรประภา อัครบวร, 2559: 135) ถ้าหากพลเมืองชาวเกาหลีใต้ ขาดความมวี นิ ัย อาทิ ขาดความรับผดิ ชอบที่สูงยงิ่ ขาดความอดทนอดกลั้น ความขยันหม่ันเพยี ร และความซ่ือสัตย์สุจริตแล้ว ย่อมกล่าวได้ว่าไม่สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขซ่ึง 91 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวนิ ัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขัน้ พ้ืนฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ สอดคลอ้ งกับคำกล่าวของพระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต, 2554: 36) ท่ไี ดก้ ลา่ วไวว้ ่า จติ ใจน้ัน ย่อมจะเปลี่ยนแปลงไปในทางท่ีเจริญงอกงามย่ิงข้ึน ถ้าหากเจริญงอกงามด้วยกุศลธรรมแล้ว ก็ย่ิง จะมีกุศลธรรมยง่ิ กง็ ามมากขึน้ เทา่ นัน้ แลว้ ก็มีความสขุ ทีแ่ ท้จริง ไมข่ ึ้นตอ่ สงิ่ ปรงุ แต่งภายนอกใดๆ และเป็นชีวิตท่ีนับได้ว่าแสนอุดมไปด้วยคุณค่าอันแท้จริง ดังท่ีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัส เรียกว่า “เป็นอโมฆชีวิต” ก็คือ ชีวิตท่ีว่างเปล่านั่นเองเพราะมีกุศลธรรมเกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นชีวิตท่ีเป็นสุขยิ่ง จึงกล่าวได้ว่าชาวเกาหลีใต้น้ันล้วนเคยได้รับบทเรียนที่เจ็บปวดแสนสาหัสมา แล้วในครั้งอดีตจากชีวิตที่อดอยาก ยากไร้ และแร้นแค้นจึงต้องต่ืนตัวอยู่ตลอดเวลาและกระทำ ทกุ ๆ อย่างเพ่ือใหห้ ลุดพน้ จากวงจรอุบาทว์ นอกจากนี้ ภาคธุรกิจด้านภาพยนตร์และละครพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น โดยใช้ภาพยนตร์หรือละครที่แฝงไว้ด้วยคุณธรรม จริยธรรมสำหรับปลูกฝังพลเมืองชาวเกาหลีใต้ ไดแ้ ก่ ละครเรอ่ื งแท จัง กมึ (Dae Jang Geum) และหมอโฮ จนุ (Doctor Hur Jun) คอื ตวั เอก ของละครเร่ืองแท จัง กึมและหมอโฮ จุน ได้ใช้วินัยด้านความเพียรพยายาม และความอดทน อดกลั้นท่ีสูงในการพัฒนาตนเองจนประสบความสำเร็จในชีวิตจนได้รับการยกย่องให้เป็นนางใน และหมอทมี่ เี กียรตใิ นราชสำนกั ซ่งึ ละครเร่ืองแท จงั กมึ ไดร้ ับความนยิ มในประเทศไทยและญ่ีปุน่ ในระดบั สงู มาก (เบญจ์ กติ ิคณุ , 2556: 74 – 75) 3.5.8 การสะท้อนกลับ (Reflection) ข้อมูลจากการศึกษาพบว่า ชาวเกาหลีใต้น้ันจะไม่ยอมหลงใหลอยู่กับ ความเจริญทางด้านวัตถุ แต่ในทางตรงกันข้ามกลับหม่ันทบทวนตนเองให้รู้เท่าทันต่อการ เปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกท่ีล้วนแต่จะบ่ันทอนความเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ของตนเองให ้ ลดน้อยลงเป็นลำดับ คือ การทำลายความมีวินัยของพลเมืองชาวเกาหลีใต้ให้เหลือน้อยลง ชาวเกาหลีใต้จึงได้หันมาศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรมของประเทศเพ่ือนบ้านท่ีส่งผล ต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณค่าและนำสิ่งท่ีมีความสอดคล้องกับประเทศของตนเองมาประยุกต์ใช้ได้ อย่างลงตัว ได้แก่ การนำเอาศิลปะการฟ้อนรำท่ีอ่อนช้อยของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงโขนรวมท้ังการแสดงละครของกรมศิลปากร ซ่ึงกิจกรรมเหล่าน้ีนับว่าช่วยขัดเกลาจิตใจ ของมนุษย์โลกให้ผ่องใส อ่อนน้อม สงบ เย็นและสุขยิ่งๆ ขึ้น การศึกษา เรียนรู้ถึงแบบอย่างท่ีดี ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ จากส่ิงแวดล้อมใกล้ๆ ประเทศของตนเองและการสร้างความเข้าใจ จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพและบริบทของตนเองได้อย่างน่าทึ่งซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ต่อไปซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของมุน ฮวีชัง (2017: 40 - 42) ท่ีกล่าวไว้ว่า คนเกาหลีใต้มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาซ่ึงสภาพ ระบบกลไกและ ความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุนวินัยในตนเอง เช่น การศึกษาในระดับสูงและได้มาตรฐาน สากลท่ีชาวเกาหลีใต้ได้รับอย่างเสมอภาครวมท้ังชาติพันธุ์เกาหลีใต้เป็นผู้ที่ไขว่คว้าหาการศึกษา 92 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สรา้ งวินัยในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ ระดับสูงเป็นอาจิณและรักการทำงานหนักเป็นชีวิตจิตใจ พวกเขาจึงสามารถก้าวข้ามอุปสรรค ทั้งหลายไปได้ น่ันคือ ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของเขา นอกจากน้ี ภาครัฐบาล ภาคเอกชน หนว่ ยงานอ่ืนๆ และบริษทั หา้ งร้านตา่ งๆ ตา่ งระดมสรรพกำลงั เพื่อให้การสนบั สนุน ส่งเสรมิ อยา่ ง เต็มท่ีอยู่เสมอๆ ท่ีชาวเกาหลีใต้เรียกว่า การสร้างชาติเกาหลีใต้ให้ย่ิงใหญ่และทัดเทียมกับนานา อารยประเทศ นอกจากน้ี ยังไม่ลืมท่ีจะฉุกคิดเหลียวมองตนเองให้รอบด้านและเปรียบเทียบ ตนเองกับประเทศข้างเคียงเสมอๆ เพื่อรักษามาตรฐานและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา (ข้อมูล จากการสัมภาษณ์ประธานสาขาวิชาภาษาเกาหลี ศูนย์เกาหลีศึกษา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่) 3.5.9 อ่นื ๆ สำหรับองค์กรอ่ืนๆ ท่ีให้การสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษาและ การเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานของประเทศเกาหลีใต้ไว้รองรับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน สถาบันฝึกอบรมวัยรุ่นและสถาบันศาสนาซึ่งผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้ว ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะ โรงเรียนเกษตรกรคานาอาน (Canaan Farmers School) ท่ีนับได้ว่ามีความสำคัญต่อบริบทใน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ท่ยี งั่ ยนื มรี ายละเอยี ด ดังตอ่ ไปน้ี โรงเรยี นเกษตรกรคานาอานถูกจดั ตัง้ ข้นึ ในปีพ.ศ. 2474 ท่ีเมอื ง Bong – an Ideal Village ด้วยความเชอื่ ของ Kim Yong – Ki ชาวเกาหลีใตท้ ่มี ีความเช่อื วา่ เกษตรกรที่มี ความรกั ชาตแิ ละเชอ่ื มน่ั วา่ การกำจดั ความยากจนตลอดจนการพฒั นาทย่ี งั่ ยนื สามารถเปลยี่ นแปลง ได้โดยการเปล่ียนแปลงระบบคิด (Paradigms) และสร้างจิตสำนึกใหม่ข้ึนท่ี เรียกว่า กระบวน ทัศน์ใหม่ ซ่ึงกระบวนทัศน์ใหม่ของโรงเรียนเกษตรกรคานาอาน น่ันคือ “เพื่อช่วยให้โลกหลุดพ้น จากความจน” หมายถึง ชาวโลกปลอดจากความหิวโหย และต้ังแต่ปีพ.ศ. 2513 – พ.ศ. 2554 เจ้าหน้าท่ีของรัฐและภาคเอกชนจากหลายๆ ประเทศตลอดจนนักเรียนและนักศึกษาชาว เกาหลีใต้ได้มาศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้กระบวนทัศน์ใหม่โดยการปฏิบัติงานภาคสนามน้ัน (Field Research) แล้วฝึกปฏิบัติกิจกรรมตามท่ีกำหนดไว้จนกลายเป็นนิสัยหรือเป็นกิจวัตรประจำวัน (Lifestyle) จนกระทง่ั เปลย่ี นแปลงตวั เอง ครอบครวั ชมุ ชนและประเทศชาตใิ นทสี่ ดุ ประกอบดว้ ย ประเทศต่างๆ ทใ่ี หค้ วามสนใจดังกลา่ วข้างตน้ อาทิ บังคลาเทศ เมยี นมาร์ อนิ โดนีเซีย ฟิลปิ ปินส์ และจีน เป็นตน้ โดยมเี ปา้ หมายเพ่ือสรา้ งความเป็นมนุษย์ที่สมบรู ณ์ของประเทศตนเอง Kim Yong – Ki มีความเช่ือว่ามวลมนุษย์จะเปล่ียนแปลงได้น้ันจะต้อง เปล่ียนที่จิตสำนึกก่อนเป็นอันดับแรกซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ Kuhn ที่ได้กล่าวไว้ว่าใน ข้อเทจ็ จริงเม่ือองค์ความรู้เดิมๆ หรือกระบวนทัศน์เดิม (Old Paradigms) น้นั ไมส่ ามารถอธบิ าย ปรากฏการณ์ใหม่ให้ประสบความสำเร็จได้และถึงภาวะตีบตันหรือเมื่อมีการค้นพบองค์ความรู้ 93 รปู แบบและกลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ ใหม่ๆ เกดิ ข้นึ แลว้ การปฏิวตั ดิ ังกลา่ วขา้ งต้นส่งผลใหเ้ กิดการเปลยี่ น Paradigm Shift ไปจากเดมิ โดยสิ้นเชิงจนกลายเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ข้ึน (New Paradigms) ซึ่งคนในชุมชนน้ันๆ มีความ เห็นพ้องไปในทางเดียวกันให้เป็นแนวปฏิบัติใหม่ (Kuhn, 1975: 8) เม่ือมนุษย์เปล่ียนวิธีคิดย่อม จะเปลี่ยนวิธีปฏิบัติใหม่ท่ีฝังลึกในตัวบุคคลอันนับเนื่องมาจากประสบการณ์จากการปฏิบัติ กล่าว คือ ได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัสหรือได้ลงมือปฏิบัติสิ่งใหม่และวิธีคิดนั้นจะเปล่ียนแปลงไปในที่สุดท่ี เรียกว่า การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประธานสาขาวิชาภาษาเกาหลี ศูนย์ เกาหลีศกึ ษา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่) Kim Yong – Ki กล่าวไว้ว่า คำสอนการสร้างชาติของโรงเรียนเพ่ือ ปลกู ฝงั คนเกาหลใี ต้ให้เป็นคนดี คือ “ไมบ่ อกให้คนอนื่ ไปทำงาน แต่เราตอ้ งไปทำงานใหเ้ ห็นก่อน” “ถา้ ไมท่ ำงาน กไ็ มต่ อ้ งกนิ ” “ตอ้ งมกี ำลงั ใจ มคี วามกลา้ หาญ เพอื่ ประเทศของเรา” “เปน็ ผบู้ กุ เบกิ ซึ่งพร้อมจะเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตัวเอง” “ทำส่ิงที่ดี และไม่ส้ินหวัง” “เราเป็นหนุ่มสาว รา่ งกายแขง็ แรง จติ ใจเข้มแข็ง งานทำมีเยอะ ลองทำได้ ชนะอยไู่ ด้ เกยี จครา้ นตายแน”่ “อย่ากนิ อาหารเลย” “อย่ากินเพ่ือกิน” “กินเพ่ือทำงาน” “เกียจคร้านทำงาน” “อาหารหนึ่งมื้อมีค่า เท่ากับทำงานสี่ชั่วโมง” ซ่ึงคำสอนเหล่านี้ถูกสอดแทรกไว้ในกิจกรรมประจำวันทุกวันต้ังแต่เช้า จรดเย็นเพื่อปลูกฝังให้เป็นคนดี คำสอนดังกล่าว เรียกว่า “ปรัชญาแห่งหยาดเหงื่อ” (Philosophy of Sweat) เพื่อชีวิตใหม่ที่มีคุณค่าที่ดีกว่าท่ีจะคณานับ และ Kim Yong – Ki มีความเชื่อว่าการเปล่ียนแปลงทางความคิดน้ันกระทำได้ด้วยวิธีการปฏิบัติถึงจิตสำนึกของผู้เรียน ซึ่งคำสอนเรือ่ งการเปลีย่ นแปลงมี 6 ประการ ไดแ้ ก่ (จริ ประภา อัครบวร, 2559) 1) เปลี่ยนตวั เองก่อน (Change Myself First) 2) เปลย่ี นเดีย๋ วน้ี (Change Now First) 3) เปลย่ี นทีน่ ่ี (Change Here First) 4) เปลี่ยนสิ่งเลก็ ๆ กอ่ น (Change Small Things First) 5) เปลี่ยนสิ่งท่ที ำไดก้ อ่ น (Change Doable Things First) 6) เปล่ียนจนถึงทสี่ ดุ (Change until the End) 94 รูปแบบและกลไกการเสริมสรา้ งวนิ ัยในสถานศึกษาระดบั การศกึ ษาข้นั พื้นฐานของประเทศเกาหลีใต ้ บทที่ 5 สรปุ อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยเร่ืองการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ รูปแบบและกลไกการเสริมสร้างวินัยใน สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศเกาหลีใต้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 4 ประการ ไดแ้ ก่ 1) เพอ่ื ศกึ ษา วเิ คราะห์ และสงั เคราะหน์ โยบายรฐั บาล กฎ ระเบยี บที่เกย่ี วขอ้ ง ท่ีเป็นปจั จัยชว่ ย หนนุ เสรมิ หรอื เปน็ อปุ สรรคต่อการเสรมิ สรา้ งวินยั ในสถานศึกษาระดบั การศึกษา ขน้ั พ้นื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ 2) เพือ่ ศึกษามาตรฐานการศึกษา หลักสตู รการศึกษาขัน้ พื้นฐาน ที่เปน็ ปัจจัยช่วย หนุนเสรมิ หรือเปน็ อุปสรรคต่อการเสริมสรา้ งวินัยในสถานศกึ ษาระดบั การศึกษา ขั้นพื้นฐานของประเทศเกาหลีใต้ 3) เพ่ือศึกษาแนวทางและกระบวนการเสริมสร้างวินัยใน สถานศกึ ษาระดบั การศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ และ 4) เพอื่ ศกึ ษาสภาพ ระบบกลไก และความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุนในการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษา ขนั้ พน้ื ฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ สรุปผลการวิจัย การสรปุ ผลการวจิ ยั เพือ่ ตอบวตั ถุประสงคข์ องการวจิ ยั แบ่งออกได้เป็น 3 ข้นั ตอน ดังน ี้ ขั้นตอนที่ 1 ผลการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์นโยบายรัฐบาล กฎ ระเบียบท่ี เกี่ยวข้องท่ีเป็นปัจจัยช่วยหนุนเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับ การศึกษาขนั้ พื้นฐานของประเทศเกาหลใี ต้ ข้อมูลจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์นโยบายรัฐบาล กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องท่ีเป็น ปัจจัยช่วยหนุนเสริมในการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานของประเทศ เกาหลีใต้ พบว่า สิ่งเหล่าน้ีมีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างการศึกษาของประเทศเกาหลีใต้ซึ่ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ กล่าวคือ การศึกษาระดับข้ันพื้นฐาน (Primary Education) โดยรวมเอาการศึกษาเพื่อการเตรียมความพร้อม ก็คือ ระดับอนุบาล (Pre – School Education) เข้าไว้ในระดับนี้ด้วยซึ่งการศึกษาในระดับนี้นับว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับที่มี 95 รูปแบบและกลไกการเสรมิ สร้างวนิ ัยในสถานศกึ ษาระดบั การศึกษาขั้นพนื้ ฐานของประเทศเกาหลีใต้ กฎหมายรองรับท่ีทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาโดยถ้วนหน้าแบบให้เปล่า การศึกษาระดับ อุดมศึกษา (Higher Education) และการศึกษาผู้ใหญ่รวมทั้งการศึกษาต่อเนื่อง (Adult and Continuing Education) ทั้งนี้ หลักสูตรทกุ ระดับช้นั ได้กำหนดเนือ้ หาในการเสริมสรา้ งความเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์สำหรับเยาวชนในระบบการศึกษาของเกาหลีใต้ไว้อย่างหลากหลายและเข้มข้นที่ ครูสามารถนำไปปฏบิ ตั ไิ ด้จริง ส่วนนโยบายรัฐบาลเกาหลีใต้ท่ีเป็นปัจจัยช่วยหนุนเสริมในการเสริมสร้างวินัยใน สถานศึกษาระดบั การศกึ ษาขั้นพ้นื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ ไดแ้ ก ่ 1. นโยบายฟื้นฟูวิชาชีพคร ู นโยบายน้ีถูกกำหนดขึ้นเพ่ือป้องกันสมองไหลและควบคุมคุณภาพของครูท่ีเฉื่อยชา ให้กระตือรือร้นท่ีจะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาโดยภาครัฐได้จัดสรรงบประมาณเพ่ิมเติมและ มนี โยบายเพ่ือบ่มเพาะความภาคภูมใิ จในความเปน็ ครู 2. นโยบายกระตุ้นให้โรงเรียนเอกชนมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมและการขยาย ความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างทั่วถงึ นโยบายรัฐบาลจึงส่งเสริมให้โรงเรียนเอกชนบริหารงานอย่างมีอิสระและมีความ รับผิดชอบต่อสังคมโดยการปลูกปั้นนักเรียนให้มีคุณภาพและโปร่งใสรวมท้ังเพ่ิมความช่วยเหลือ ทางด้านการเงนิ และการจัดการอกี โสตหน่ึง 3. นโยบายสร้างเครือขา่ ยสารสนเทศและปฏิรปู การเรียนรู้ของสังคม นโยบายรัฐข้อน้ีมีเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของ เกาหลีใต้และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมอย่างเป็นระบบโดยการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาและ การเรียนรขู้ องสังคม ได้แก่ 3.1 การกำหนดแผนงานและภารกิจในการจัดการศึกษาให้แก่สังคมที่กระจายอยู่ใน สถาบันและภมู ิภาคต่างๆ ให้เข้ามาอยใู่ นระบบเดยี วกนั 3.2 การจัดตั้งสถาบันและองค์กรท่ีมีความจำเป็นขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่แสวงหา แนวทางและส่งเสริมรปู แบบใหมใ่ นการเรยี นรู้ของคนในสังคม 3.3 การจัดต้ังโครงสร้างเพ่ือระดมทรัพยากรทางการศึกษาท่ีหลากหลายและมี ประสิทธิภาพท่ัวประเทศโดยมีแนวคิดเพ่ือประโยชน์ในการจัดการศึกษาตลอดชีพ (สำนักงาน คณะกรรมการการศกึ ษาแหง่ ชาติ: 144 - 148) 96 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวินยั ในสถานศกึ ษาระดับการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ยังมีกฎ ระเบียบท่ีเป็นปัจจัยช่วยหนุนเสริมในการเสริมสร้างวินัยใน สถานศึกษาระดบั การศกึ ษาข้นั พ้นื ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ ประกอบด้วย 1. การประชาสัมพันธ์ให้ชาวเกาหลีใต้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด ยกตัวอย่าง เช่น กฎหมาย ประกาศ ระเบียบหรือข้อบังคับของ องค์กรปกครองสว่ นท้องถน่ิ เทศบาลและองคก์ รอื่นๆ ของรัฐ 2. ภาครัฐประชาสัมพันธ์ และรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนชาวเกาหลีใต้ ปฏบิ ตั ิตามกฎจราจรโดยเครง่ ครัด 3. การให้บริการความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชนชาวเกาหลีใต้โดยภาครัฐ (สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาแหง่ ชาติ: 127 - 129) 4. รัฐบัญญัติกฎหมายส่งเสริมการศึกษาเบ้ืองต้น (Pre – School Education Promotion Law) ซึ่งกฎหมายน้ีเป็นการศึกษาสำหรับผู้ท่ีมีงานทำ แต่ไม่มีโอกาสเข้ารับ การศึกษาในระบบจึงได้รับการสนับสนุนให้จัดชั้นเรียนข้ึนในโรงงานอุตสาหกรรมพร้อมกับปลูกฝัง ความเปน็ คนดี 5. รัฐบัญญัติกฎหมายส่งเสริมการศึกษาเพื่อสังคม (The Social Education Promotion Law) เป็นกฎหมายที่กำหนดเกณฑ์ไว้เพื่อรองรับการจัดการศึกษานอกระบบ โรงเรียนในแต่ละระดับเพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษานั้นเป็นผู้ที่มีความรู้ ความ สามารถเทียบเท่ากับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระบบโรงเรียนและอาจจะศึกษาต่อในระดับสูงข้ึนไป ในระบบโรงเรียนได้เช่นกันเพ่ือสร้างโอกาสให้ประชาชนได้พัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพ (จิรประภา อัครบวร, 2559: 55) ทั้งน้ี ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนคู่ขนาน ไปกบั การสรา้ งจิตสำนกึ ทดี่ ีของเยาวชน ข้ันตอนที่ 2 ผลการศึกษามาตรฐานการศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานท่ีเป็น ปัจจัยช่วยหนุนเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษา ข้ันพื้นฐานของประเทศเกาหลีใต้ สำหรับมาตรฐานการศึกษาที่เป็นปัจจัยช่วยหนุนเสริมในการเสริมสร้างวินัยใน สถานศกึ ษาระดับการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ ไดแ้ ก ่ 1. การศึกษาที่สอดคลอ้ งกบั โลกาภิวัตน์ (Globalization) มนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะตลอดจนการบ่มเพาะความเข้าใจในสาระ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ความเป็นพลเมืองท่ีดีของโลกและการศึกษาสันติซ่ึงสามารถใช้ชีวิต ร่วมกับกลุ่มชาติพันธ์ุอื่นๆ ได้อย่างศานติสุขท่ีเก่ียวเน่ืองกับการดำเนินชีวิตท่ีมีคุณค่าในสังคม สมัยใหม่ซึ่งสื่อดิจิตัล (Digital) ได้โหมกระหน่ำโฆษณาชวนเชื่อให้มวลมนุษย์ชาติใช้ชีวิตท่ีไกลห่าง จากศลี ธรรม 97 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวินัยในสถานศกึ ษาระดับการศกึ ษาขนั้ พื้นฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ 2. ความเป็นอสิ ระของชมุ ชนในการจัดการศึกษา ในบริบทของการศกึ ษาทีส่ มบูรณ์แบบนน้ั ชุมชนภวิ ัตน์ (Localization) ท่เี ข้มแข็งควร จะดำเนินไปพร้อมๆ กับโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซ่ึงมิติของโลกาภิวัตน์ในบริบททาง การศึกษาจะเน้นที่การควบคุมการใช้อำนาจจากหน่วยงานส่วนกลางมาเป็นการกระจายอำนาจ เพื่อให้อิสระในการจัดการศึกษาแก่หน่วยงานท้องถิ่นรวมทั้งปรับเปลี่ยนจากการใช้มาตรฐาน เดียวกันทั้งหมดมาเป็นการเน้นความหลากหลายแทนซ่ึงความเป็นอิสระน้ันจะต้องไม่ละทิ้งความ เป็นมนษุ ยท์ ี่สมบรู ณ์ของพลเมอื งชาวเกาหลใี ต ้ 3. ความเปน็ สากลและเอกลกั ษณ์ของชาต ิ กระแสโลกาภิวัตน์ที่ทะลักไหลบ่าเข้ามาสู่สังคมเกาหลีใต้ทุกสารทิศน้ันมิได้ หมายความว่าคนเกาหลีใต้จะต้องละทิ้งเอกลักษณ์เดิมของตนเองเสียเพื่อหันมายอมรับเอกลักษณ์ ใหม่โดยขาดการคิดอย่างมีวิจารณญาณและส่ิงท่ีควรกระทำอย่างย่ิงยวด คือ การพยายามสร้าง และธำรงไว้ซ่ึงวัฒนธรรมอันดีงามของตนเองไว้ด้วยดี ได้แก่ ความรักชาติ ความขยันหม่ันเพียร รักการทำงานหนักและความเป็นครอบครัวนิยม แต่ในขณะเดียวกันชาวเกาหลีใต้ควรจะยินดี เปิดใจกว้างรับเอาวัฒนธรรมอ่ืนๆ กระแสโลกาภิวัตน์ท่ีเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้เมื่อชาวเกาหลีใต ้ มีการปลูกฝังความเป็นสากลในขอบเขตของความเป็นมนุษย์ท่ีมีลักษณะจำเพาะแตกต่างกัน ออกไปในการศึกษาทกุ ระดบั ท่ี เรียกว่า“มหัศจรรย”์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน (Basic Education Curriculum) เป็นการศึกษา ภาคบังคับตามกฎหมายมี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา (6 – 3 – 3) ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น (6 – 3 – 3) และระดับมัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย (6 – 3 – 3) เพ่ือให้เห็นภาพ การจดั การศกึ ษาโดยรวมอยา่ งชดั เจนใครข่ อนำเสนอการจดั การศกึ ษาระดบั อนบุ าล (Pre–School Education) กอ่ น มรี ายละเอยี ด ดงั ต่อไปน้ ี 1. การศกึ ษาระดบั กอ่ นระดบั ประถมศกึ ษาหรอื การศกึ ษาระดบั อนบุ าล (Pre – School Education) การศึกษาในระดับน้ีเป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กท่ีมีอายุ 3 – 5 ขวบ ซึ่ง เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจ ร่างกายและการเรียนรู้ร่วมกับผู้อ่ืนพร้อมกับการปลูกฝัง คณุ ธรรม จรยิ ธรรมใหแ้ ก่เดก็ ระดับก่อนประถมศกึ ษาหรอื ระดบั อนบุ าล 2. การศกึ ษาระดับประถมศึกษา (Primary School) การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นการจัดการศึกษาภาคบังคับเพ่ือเด็กทุกคน ท่ีมีอายุต้ังแต่ 6 ขวบข้ึนไป ที่รัฐบาลเกาหลีใต้จัดให้เปล่า ข้อมูลจากการศึกษาชี้ชัดว่า ประเทศ เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาระดับนี้สูงมาก กอปรกับ หลักสูตรการศึกษา ข้ันพื้นฐานน้ันได้กำหนดเน้ือหาไว้ในหลักสูตรรวมทั้งการบ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรมท่ีค่อยเป็น 98 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สรา้ งวินยั ในสถานศึกษาระดบั การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐานของประเทศเกาหลีใต้ ค่อยไปที่เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละระดับชั้นท่ีโรงเรียนจะต้องบูรณาการปลูกฝังสิ่งเหล่านั้น เขา้ ไปในตัวเด็กทกุ คนดว้ ย ได้แก ่ 2.1 ระดับอนบุ าล – ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 3 การศึกษาในระดับน้ีจะเน้นความเป็นระเบียบวินัยในสังคม กฎจราจรและ จิตสำนกึ ของการอยูร่ ่วมกนั ในสังคม 2.2 ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี 4 – ช้นั มธั ยมศึกษาตอนตน้ ในระดบั นจ้ี ะเนน้ ถงึ สทิ ธแิ ละหนา้ ทขี่ องพลเมอื งเกาหลใี ตแ้ ละศกั ดศิ์ รี เกยี รตภิ มู ิ ของมนุษย์ การเคารพกฎหมายบ้านเมอื งรวมท้ังการตดั สนิ ใจทช่ี อบด้วยเหตผุ ล 2.3 ชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย (High School) สำหรับการศึกษาในระดับนี้หลักสูตรจะเน้นเก่ียวกับเร่ืองสิทธิและหน้าที่ของ การเป็นพลเมอื งของโลก ความเขา้ ใจอนั ดตี อ่ วฒั นธรรมและสันตภิ าพศกึ ษารวมทง้ั มารยาทสากล การศกึ ษาระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลายแบ่งออกเป็น 3 ระดบั ประกอบด้วย 2.3.1 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญที่ผู้เรียนสามารถ เรยี นตอ่ ในระดบั ปริญญาตรีทัง้ ในวทิ ยาลยั และมหาวิทยาลัย 2.3.2 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพที่ผู้เรียนสามารถ เรียนตอ่ ในวทิ ยาลัยอาชีวศึกษา (High School Attached to Industrial Firm) สำหรบั เตรยี ม คนไปสู่สังคมอุตสาหกรรมบนพ้ืนฐานความรู้ (Knowledge – based Economy) ยกตัวอย่าง เชน่ ด้านเทคโนโลยี ด้านเกษตรกรรม ด้านพานิชยกรรม ดา้ นการตอ่ เรอื และดา้ นงานบา้ น 2.3.3 โรงเรียนที่ชำนาญเฉพาะทาง (Special Class) โรงเรยี นเหลา่ นี้ ไดแ้ ก่ โรงเรยี นดา้ นภาษาตา่ งประเทศ ดา้ นวทิ ยาศาสตร ์ ด้านศิลปะและพลศึกษาซ่ึงโรงเรียนนั้นมุ่งหวังตอบสนองเด็กท่ีมีความเป็นอัจฉริยภาพหรือ มีความถนัดเพ่ือให้เด็กได้พัฒนาไปสู่โปรแกรมการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง (Special Class) ยกตัวอย่าง เช่น โรงเรียนมัธยมปลายวิทยาศาสตร์คย็องกี (Gyeongi Science High School) ซึ่งเป็นโรงเรียนท่ีเปิดรับสมัครเด็กท่ีมีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นแห่งแรกของ ประเทศเกาหลีใต้และเปิดทำการสอนเป็นคร้ังแรกในปีพ.ศ. 2527 โดยจัดการเรียนการสอนตาม เนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ท้ังน้ี โรงเรียนมุ่งมั่นท่ีจะปลูกฝังความมีวินัยของนักเรียนอย่าง สม่ำเสมอให้คู่ขนานกันไปกับเนื้อหาในด้านวิชาการ (The School Curriculum of the Republic of Korea: 8 - 10) 99 รปู แบบและกลไกการเสริมสร้างวนิ ัยในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐานของประเทศเกาหลีใต ้ ข้ันตอนที่ 3 ผลการศึกษาแนวทางและกระบวนการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับ การศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ และสภาพ ระบบกลไกและความรว่ มมอื ในการสง่ เสรมิ สนับสนุนในการเสริมสร้างวินยั ในสถานศกึ ษาระดบั การศกึ ษาข้ันพื้นฐานของประเทศเกาหลีใต ้ จากการศกึ ษาวจิ ยั เรอ่ื งการศกึ ษาและพฒั นาองคค์ วามรู้ รปู แบบและกลไกการเสรมิ สรา้ ง วนิ ัยในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาขั้นพื้นฐานของประเทศเกาหลใี ต้ พบว่า 3.1 บรบิ ทของชมุ ชนในเขตบริการทางการศกึ ษาของโรงเรียน 3.1.1 สภาพทางด้านภูมิศาสตร์ ทำเลท่ีต้ังและปัจจัยต่างๆ ท่ีส่งผลกระทบต่อ การเสริมสร้างวนิ ยั ในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐานของประเทศเกาหลใี ต้ โรงเรียน Chiang Mai Korean School นัน้ ตงั้ อยใู่ นเขตพ้นื ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพของอาคารเรียนส่วนมากค่อนข้างใหม่ มีห้องเรียนจำนวนเพียงพอสำหรับ การจัดการเรียนการสอนและมีนักเรียนตั้งแต่ระดับช้ันอนุบาล 1– 3 ถึงช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 120 คน มีครูผู้สอน จำนวน 15 คน และผู้อำนวยการโรงเรียน รวมท้ังส้ิน 16 คน นักเรียนทั้งหมดอาศัยอยู่ใกล้โรงเรียนและสามารถเดินทางมาเรียนด้วยเท้าได้ นักเรียนที่อาศัย อยไู่ กลจากโรงเรยี นมากทสี่ ดุ คดิ เปน็ ระยะทางประมาณ 800 เมตร แตผ่ ปู้ กครองนกั เรยี นสว่ นใหญ ่ จะนำนักเรียนมาส่งที่โรงเรียนโดยรถยนต์ส่วนตัว ผู้ปกครองนักเรียนเหล่าน้ีอพยพมาจากประเทศ เกาหลีใต้เพ่ือมาประกอบอาชีพในประเทศไทยเมื่อประมาณ 30 ปีท่ีแล้ว รวมทั้งส้ิน 50 ครอบครัว โรงเรียนแห่งน้ีปลอดกลิ่น ฝุ่นและเสียงรบกวนต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอน การคมนาคมสะดวกรวมทั้งนกั เรยี นสามารถเดินทางมาเรียนโดยสะดวกในทุกฤดูกาล 3.1.2 ระดบั การศกึ ษา อาชพี เศรษฐกจิ ของชมุ ชนและความคาดหวงั ของผปู้ กครอง นักเรยี นทมี่ ตี ่อการเสรมิ สรา้ งวนิ ยั ในสถานศึกษาระดบั การศึกษาขนั้ พนื้ ฐานของประเทศเกาหลีใต ้ จากการศกึ ษาระดบั การศกึ ษา อาชพี เศรษฐกจิ ของชมุ ชนและความคาดหวงั ของผปู้ กครองนกั เรียนทม่ี ตี ่อการปลกู ฝงั วนิ ัยของนกั เรยี น ดงั น้ี 100 รูปแบบและกลไกการเสรมิ สร้างวินยั ในสถานศกึ ษาระดับการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ ตาราง 1 แสดงระดับการศึกษา อาชีพ เศรษฐกิจของชุมชนและความคาดหวังของผู้ปกครอง นักเรียนท่ีมีต่อการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ของประเทศเกาหลีใต ้ ล ำดับท ่ี ระ ดับการศกึ ษา ผูป้ กครองนักเรยี น เศรษฐกิจของชมุ ชน อาชีพหลกั ความคาดหวัง รายได/้ บาท/ป ี 1 ระดบั ปริญญาเอก อาจารย์ประจำของ อยากให้ลกู 444,000 – 474,000 มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม ่ เปน็ คนดีและ มอี าชพี ทมี่ นั่ คง 2 ระดบั ปรญิ ญาโท อาจารยป์ ระจำของ อยากใหล้ ูก 378,000 – 420,000 มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ เป็นคนดแี ละ มีอาชพี ที่มน่ั คง 3 ระดับปรญิ ญาโท ครูของโรงเรยี น อยากให้ลกู 336,000 – 378,000 Chiang Mai Korean เป็นคนดแี ละ School มีอาชพี ทมี่ น่ั คง 4 ระดับปริญญาตร ี ครูของโรงเรยี น อยากใหล้ ูก 230,500 – 240,000 Chiang Mai Korean เปน็ คนดแี ละ School มีอาชพี ทม่ี ั่นคง 5 ระดับปรญิ ญาตรี อาชพี อสิ ระสว่ นตวั อยากใหล้ ูก 250,000 - 260,500 และแม่บา้ น เปน็ คนดีและ มอี าชพี ที่มน่ั คง ที่มา : ข้อมูลจากการสมั ภาษณเ์ ม่อื ปี พ.ศ. 2559 สรุป ผู้ปกครองนักเรียนอาจจะมีรายได้ท่ีเพียงพอกับรายจ่ายในครอบครัว และมองเห็นคุณค่าของการศึกษาที่จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้เนื่องจากบุตรของตนไม่เกเร เอาใจใส่ต่อการเรียน อ่านหนังสือออกและคิดเลขคล่องตลอดจนผู้ปกครองนักเรียนตั้งใจจะให้ เรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ คนเหล่าน้ีส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและ ประกอบอาชีพท่ีหลากหลายและมรี ายไดป้ ระมาณ 230,500 - 474,000 บาท/ปี กลุ่มคนเหล่านี้ มีความคาดหวังให้บุตรสำเร็จการศึกษาระดับสูงท่ีสุดตามศักยภาพของผู้เรียนพร้อมกับเป็นคนดี ของสังคมตลอดจนเป็นผู้ท่ีมีความรักในรักชาติพันธุ์ของตนเองโดยใช้การศึกษาเป็นกลไกสำคัญ โดยเฉพาะวชิ าประวตั ศิ าสตร์ 101 รปู แบบและกลไกการเสริมสร้างวนิ ยั ในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาขน้ั พื้นฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ 3.2 ศกึ ษาบริบทของโรงเรยี น การศึกษาบริบทของโรงเรียนโดยเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และ นกั การภารโรง พบว่า 3.2.1 ปรชั ญาและวสิ ยั ทัศน์ของโรงเรียน จากการศึกษาพบว่า โรงเรียนกำหนดปรัชญาในการจัดการศึกษาคือ โรงเรียนเนน้ ใหผ้ ้เู รียนมีความรคู้ ่คู ุณธรรมและอยู่รว่ มกับสงั คมไดอ้ ยา่ งมคี วามสขุ ส่วนวิสัยทัศน์ของโรงเรียน กล่าวคือ มุ่งส่งเสริมให้เด็กในวัยเรียนมีความรู้ ความสามารถในระดบั มาตรฐานสากล และมีคณุ ธรรม จริยธรรมตามทหี่ ลักสูตรไดก้ ำหนดไว้ 3.2.2 วุฒกิ ารศกึ ษา อายุ และประสบการณ์ในการสอนของคร ู จากการศึกษาวุฒิการศึกษา อายุ และประสบการณ์ในการสอนของครู โรงเรยี น Chiang Mai Korean School ดังนี ้ ตาราง 2 แสดงวฒุ กิ ารศกึ ษา อายุ และประสบการณ์ในการสอนของครโู รงเรียน Chiang Mai Korean School ล ำดบั ท่ ี ว ฒุ กิ า ร ศคกึรษูผสู้า อนโรงเรยี น Chiang Mai Korean School อาย ุ ประสบการณใ์ นการสอน 1 ปริญญาโท สาขาวิชาฟสิ ิกส์ 45 ป ี 23 ป ี 2 ปริญญาโท สาขาวิชาคณติ ศาสตร์ 25 ป ี 2 ป ี 3 ปรญิ ญาตรี สาขาวชิ าภาษาเกาหลี 50 ปี 31 ปี 4 ปรญิ ญาตรี สาขาวิชาประวตั ศิ าสตร ์ 50 ปี 26 ปี 5 ปรญิ ญาตรี สาขาวชิ าสังคมวทิ ยา 43 ป ี 20 ป ี ทีม่ า : ข้อมลู จากการสมั ภาษณเ์ มือ่ ปพี .ศ. 2559 สรุป ครูโรงเรียน Chiang Mai Korean School มีอายุระหว่าง 25-50 ปี พร้อมกบั ครบู างคนมปี ระสบการณ์ในการสอนมากกวา่ 30 ป ี จากผลการประเมินผลปลายปีของโรงเรียนทุกปีการศึกษาในทุกวิชา พบว่า สูงกว่าเกณฑ์ท่ีโรงเรียนกำหนด คอื เกรดเฉล่ีย (GPA.) ทุกวิชาสูงกว่า 3.00 พร้อมทัง้ ไดม้ าตรฐาน ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ ท้ังนี้ เนื่องจากโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนร่วมมือกันกวดขัน นกั เรียนในเรอื่ งวินัยในตนเองเป็นกรณพี ิเศษจนกลายเป็นวัฒนธรรมการเรียนรูข้ องคนเกาหลใี ต ้ 102 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สร้างวนิ ยั ในสถานศึกษาระดบั การศึกษาขน้ั พน้ื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ 3.3 การวเิ คราะหบ์ ริบทของชมุ ชนและบริบทของโรงเรยี น จากการวิเคราะห์บริบทของโรงเรียน พบว่า สภาพของอาคารเรียนนั้นค่อนข้างใหม่ และมนี ักเรยี นตง้ั แตร่ ะดบั ช้ันอนบุ าลจนถงึ ช้นั มธั ยมศกึ ษาปีที่ 6 จำนวน 120 คน และมคี รทู ้ังสิ้น จำนวน 16 คน ท้งั นี้ รวมถึงผู้อำนวยการโรงเรยี นและมนี ักการภารโรงอกี จำนวน 1 คน นักเรียน ส่วนมากอาศัยอยู่ใกล้โรงเรียนจึงสามารถเดินทางมาเรียนด้วยเท้าได้ แต่ท่ีพบผู้ปกครองนักเรียน สว่ นใหญ่จะใชร้ ถยนต์สว่ นตัวนำนกั เรียนมาส่งทโี่ รงเรียนดว้ ยตนเองเสมอๆ โรงเรียนได้กำหนดปรชั ญาในการจดั การศึกษาไว้ คือ โรงเรยี นเนน้ ให้ผเู้ รียนมีความรู้ คู่คุณธรรมและอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข ส่วนวิสัยทัศน์ของโรงเรียนมุ่งส่งเสริมให้เด็กใน วัยเรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถในระดับมาตรฐานสากลทัดเทียมกับนานาอารยประเทศชั้น นำของโลก อาทิ เยอรมัน ญีป่ นุ่ และสงิ คโปร์ เปน็ ต้น รวมท้ังคณุ ธรรม จริยธรรมตามทหี่ ลกั สูตร กำหนดไว ้ ผลสัมฤทธ์ิทางการศึกษา ยกตัวอย่าง เช่น ผลการประเมินผลปลายปีของนักเรียน โรงเรียน Chiang Mai Korean School พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามท่ีโรงเรียน กำหนดและมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์และมีวิจารณญาณพร้อมกับม ี ความคดิ สร้างสรรค์ คิดไตรต่ รองในระดับท่ีนา่ พอใจ 3.4 การศึกษาแนวทางและกระบวนการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษา ขัน้ พ้นื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ จากการศึกษาแนวทางและกระบวนการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับ การศึกษาขั้นพนื้ ฐานของประเทศเกาหลใี ต้นัน้ ชาวเกาหลใี ต้ไดข้ นานนามวา่ กระบวนทศั น์ใหมใ่ น การเสริมสรา้ งมหศั จรรยว์ ฒั นธรรมเกาหลีใต้ ประกอบดว้ ย รายละเอยี ด 7 ขน้ั ไดแ้ ก่ ขนั้ ที่ 1 การประชมุ ชี้แจง (Discussion) ขัน้ ท่ี 2 การนำเสนอแบบอย่างที่ดี (Idol) ข้นั ท่ี 3 การปลูกฝังคณุ ธรรม จริยธรรม กฎ ระเบยี บ ขอ้ บงั คบั ของโรงเรยี นอยา่ ง เขม้ ขน้ ขั้นที่ 4 การจัดกิจกรรมแข่งขันการพูด (Speech) และเขียนเรียงความ (Essay) ในมติ ิคุณธรรม จริยธรรม ขัน้ ท่ี 5 การนเิ ทศ ตดิ ตาม ขน้ั ที่ 6 การบม่ เพาะและกวดขนั คุณธรรม จริยธรรมโดยครอบครัว ขน้ั ที่ 7 การสนับสนนุ จากองค์กรภายนอก 103 รูปแบบและกลไกการเสรมิ สรา้ งวนิ ัยในสถานศึกษาระดบั การศึกษาขนั้ พ้ืนฐานของประเทศเกาหลใี ต้ จากการศึกษาพบว่า สภาพ ระบบกลไกและความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน ในการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดบั การศึกษาข้นั พ้ืนฐานของประเทศเกาหลีใต้ ไดแ้ ก ่ 1. บทเรยี นจากประวตั ิศาสตร์ 2. สภาพทางภูมิศาสตรแ์ ละทรพั ยากรธรรมชาติ 3. การเมอื ง การปกครอง 4. สถาบันการศึกษาและหลกั สูตรการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน 5. สถาบนั ครอบครัว 6. สถาบันศาสนา 7. สภาพทางดา้ นเศรษฐกจิ 8. การสะทอ้ นกลบั (Reflection) 9. อน่ื ๆ อภิปรายผล ผลการวิจยั เร่อื งการศึกษาและพัฒนาองคค์ วามรู้ รูปแบบและกลไกการเสรมิ สร้างวินยั ใน สถานศึกษาระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานของประเทศเกาหลีใต้ พบว่า โรงเรียน Chiang Mai Korean School มุ่งจัดการเรียนการสอนด้านวิชาการควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณลักษณะอัน พงึ ประสงค์ ได้แก่ ความรบั ผิดชอบ ความขยันหมั่นเพียร ความซอ่ื สตั ย์สุจริต ความอดทนอดกลั้น และอื่นๆ ซ่ึงสอดคล้องกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสว่า “ในชีวิตของมนุษย์หน้าท่ี ถือว่าเป็นภาระท่ีสำคัญที่สุด” (พุทธทาสภิกขุ, 2550: 42) โดยเฉพาะอย่างย่ิงในยุคท่ีการศึกษา อิงอยู่กับเศรษฐกิจและการเมืองแล้วย่ิงทวีความสำคัญย่ิงขึ้น (พุทธทาสภิกขุ, 2550: 29) โลก เปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วมนุษย์ประสบกับปัญหาที่ซับซ้อนย่ิงข้ึนนานาประการ หากแม้นว่า มนษุ ยไ์ มข่ วนขวายท่จี ะฝึกฝนอบรมจิตใจของตนเปน็ ทส่ี ุดแลว้ ความเอนเอียงไปกับสิง่ แวดล้อมจะ ทำให้มนุษย์หลงลืมตัวตนและขาดสติย้ังคิดได้ตลอดเวลาซ่ึงอาจจะเกิดความเสียหายอย่างใหญ่ หลวงได้ (มหาตมา คานธี, 2550: 509) โรงเรียนเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติการใช้ชีวิตจริงและการอยู่ ร่วมกันในสังคมที่ปราศจากการเบียดเบียนโดยยึดม่ันในกฎและกติกาของสังคมโดยใช้รูปแบบและ กลไกในมิติต่างๆ ตลอดจนนักเรียนมีโอกาสฝึกสมาธิเพื่อทำจิตใจให้สงบสว่าง สอดคล้องกับ อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ที่กล่าวไว้ว่า การฝึกสมาธิทำให้การเรียนเป็นเร่ืองง่ายไม่จำเป็นต้อง ท่องจำเพราะเมื่อนักเรียนมีสมาธิแล้วย่อมส่งผลต่อการจดจำบทเรียนได้ง่ายและเข้าใจได้เร็ว ย่ิงขึ้นพร้อมกับทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพและได้ทำใจให้ว่าง เย็นหรือปราศจากอกุศล ท้ังหลาย สมาธิจึงถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการศึกษาท่ีชาวตะวันตกให้ความสนใจอย่างน่าทึ่ง 104 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวนิ ยั ในสถานศึกษาระดบั การศกึ ษาข้นั พืน้ ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ (อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา, 2553: 60) ประกอบกับ ครอบครัวน้ันเป็นแหล่งเรียนรู้ท่ีมีพลัง มากที่สุด ถ้าหากครอบครัวหมั่นฝึกฝนจะทำให้นักเรียนเกิดความซาบซึ้งในแก่นแท้ของความดี ความงามและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถกู ต้อง แมน่ ยำ David Elwarthy (2007: 67) ได้สรปุ ไว้วา่ ยิง่ ฝกึ ฝนมากเท่าไรนักเรยี นย่อมเข้าใจและเรียนรู้ได้มากข้ึนเท่านนั้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า มนุษยชาติจะอยู่ได้น้ัน มนุษย์จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดเสีย ใหม่โดยสิ้นเชิงซ่ึงสอดคล้องกับคำกล่าวของประเวศ วะสี ท่ีได้กล่าวไว้ว่า ในสภาวะวิกฤติการณ์ ของมนุษยชาติ ระบบการศึกษาไม่ควรส่งเสริมจิตสำนึกแบบเก่าและวิธีคิดเดิมเพราะจะซ้ำเติม วกิ ฤตกิ ารณใ์ ห้หนักขึ้น ระบบการศึกษาจงึ ควรสรา้ งจติ สำนึกใหม่และวิธีคิดใหม่ เราต้องกล้าหาญ พอท่ีจะออกจากความคิดในการจัดการศึกษาท่ีเอาวิชาเป็นตัวต้ังไปสู่ความคิดที่เอาการศึกษาท่ี เอาชีวิตและสังคมหรือการอยู่ร่วมกันเป็นตัวต้ัง (ประเวศ วะสี, 2554: 29) กระบวนทัศน์ใหม่ใน การปรับเปล่ียนแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแบบเป็นองค์รวม (Holistic View) จึงจำเป็น ต้องปรับเปล่ียนแนวคิดเดิมๆ ของตนเองโดยสร้างแนวคิดใหม่ให้เกิดประโยชน์ที่ส่งผลดีต่อ การปรับตัวของมนุษย์พร้อมกับรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างกลมกลืน ในฐานะที่ การศึกษาเป็นเคร่ืองมือที่สำคัญในการพัฒนามนุษยชาติในโลก จึงนับได้ว่ามีความจำเป็นท่ีต้องใช้ กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการศึกษาอย่างยิ่ง (ไพพรรณ เกียรติโชติชัย, 2545: 20 - 41) พทุ ธทาสภกิ ขุ (2545: 23 – 24) ไดย้ ำ้ วา่ ใหค้ รสู อนกันเองจะดกี ว่าเพราะครูใชภ้ าษาพูดเดียวกนั ย่อมส่อื ความหมายได้ตรงกว่า ปัจจัยท่ที ำใหค้ ุณภาพการศกึ ษาลดตำ่ ลง คือ คณุ ภาพของครู ถ้าครู มสี มรรถภาพดา้ นความรู้ ทกั ษะ เจตคติ ค่านิยมและคณุ ลักษณะต่างๆ ทจ่ี ำเป็นต่อการปฏบิ ตั ิงาน ในหน้าท่ีย่อมสามารถนำพาพลเมืองของชาติให้มีคุณภาพตามไปด้วย นอกจากนี้ ผู้วิจัยค้นพบว่า นโยบายของรัฐบาลท่ีไม่ให้ตกซ้ำช้ันและการกระจายอำนาจทางวิชาการของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มอบอำนาจให้โรงเรียนเป็นผู้ทำหน้าที่วัดและประเมินผลการเรียนปลายปีได้เองได้ซ้ำเติมความ ลม้ เหลวในการจัดการศึกษาเป็นทวีคณู เพราะรัฐบาลนั้นมีนโยบายลดความสูญเปล่าทางการศกึ ษา และละท้ิงการสอนประวัติศาสตร์เป็นเวลานาน ผลเสียท่ีเกิดขึ้นจากนโยบายดังกล่าว คือ ผลิต ภาพทางการศึกษานั้นนับวันด้อยคุณภาพมาเป็นลำดับ ในทางตรงกันข้ามประเทศเกาหลีใต้ทุ่มเท จัดการศึกษาท่ีสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ การศึกษาจะต้องสร้างความเป็นมนุษย์ให้ถูกต้องและ สมบูรณ์ อนั ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ไดแ้ ก่ 1. ผเู้ รียนมีความรู้หรือสติปัญญาทพ่ี อแกค่ วามต้องการ 2. ผเู้ รียนมคี วามรูเ้ รื่องอาชีพและประกอบอาชีพเล้ยี งตัวเองได้ 3. ผู้เรียนน้ันมีมนุษยธรรม มีความเป็นมนุษย์ที่เกิดจากการอบรม สั่งสอนอย่างถูกต้อง และเพยี งพอ (พุทธทาสภิกขุ, 2549: 188) 105 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สร้างวินยั ในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐานของประเทศเกาหลีใต ้ พระพทุ ธองคไ์ ด้ตรสั ไว้วา่ “คฤหัสถ์กต็ าม หรอื บรรพชิตก็ตาม ถา้ มสี มั มาปฏิบัติแล้วก็ทำ กุศลธรรมให้สำเร็จทั้งสิ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตก็ตาม หรือเป็นคฤหัสถ์ก็ตามถ้ามีมิจฉาปฏิบัติ คือ ปฏิบัติผิด แล้วทำกุศลธรรมให้สำเร็จไม่ได้ด้วยกันท้ังสองฝ่ายลักษณะอย่างนี้ เรียกว่า วิภัชชวาท” (พระราชวรมุนี) (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2529: 30 – 31) แต่ในปัจจุบันการศึกษา เป็นการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม เรียกว่า การศึกษาไม่สามารถช่วยเหลือ สังคมได้ การศึกษาที่ดีจะต้องสามารถนำสังคมเสมือนโอสถขนานวิเศษท่ีมีสรรพคุณรักษาโรค สังคมให้มีสติย้ังคิด แล้วกลับลำท่ีเดินทางผิดเสียใหม่โดยการบรรจงสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ ทางการศึกษาท่ี เรียกว่า มหัศจรรย์เท่าน้ันจึงจะเยียวยาได้และทวนกระแสต้ังแต่บัดน้ีเป็นต้นไป (ข้อมูลจากการสมั ภาษณ์ Dr. Kwon Hyun Sook, Professor of Korean Division, Faculty of Humanities, Chiang Mai University) เพราะการศกึ ษาแบบเก่าๆ ทผี่ า่ นมานน้ั ไม่สามารถ แก้ไขปัญหาของคนในชาติได้ แต่ทำให้ชาติล่มสลาย ในทางตรงกันข้ามเจตนารมณ์ของการศึกษา เพ่ือให้ทุกคนมีที่ยืนในสังคมอย่างสง่างาม จึงกล่าวได้ว่ากระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้าง มหัศจรรย์วัฒนธรรมเกาหลีใต้ได้ปรับเปลี่ยนวิธีคิดทางการศึกษาของชาวเกาหลีใต้ทำให้พลเมือง ชาวเกาหลใี ต้หลุดพ้นจากความโงเ่ ขลา (Literacy) และมวี ินยั สูง จากผลการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่า คุณภาพการเรียนการสอนอยู่ในระดับท่ีน่าพอใจ ซง่ึ ปัจจัยต่างๆ ท่สี ่งผลต่อการเรียนการสอน นอกจากจะข้ึนอย่กู ับประสิทธภิ าพในการทำงานของ ครูแล้ว ยังข้ึนอยู่กับประสิทธิภาพของการบริหารงานโรงเรียนไม่ย่ิงหย่อนไปกว่ากันเพราะ คุณภาพของครูมีผลโดยตรงต่อระดับการเรียนของนักเรียน กอปรกับการพัฒนาคุณภาพการ ศกึ ษาไม่มที างจะสำเรจ็ ไดเ้ ลย ถา้ ครผู ้สู อนมีพฤติกรรมการสอนทเี่ หมอื นเดิม สมาน รังสิโยกฤษฏ์ ไดก้ ล่าวไว้ว่า ในสภาวะปจั จุบันท่ีโลกมกี ารเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็วจึงมีความจำเปน็ อยา่ งย่งิ ยวด ที่จะต้องพัฒนานักเรียนในทุกๆ ด้านอย่างสม่ำเสมอเพ่ือให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เน่ืองจากการกระทำข้างต้นเป็นกระบวนการเสริมสร้างและเปล่ียนแปลงผู้เรียนในมิติต่างๆ เช่น ดา้ นความรู้ ความสามารถ ทกั ษะ อุปนิสยั ทศั นคติตลอดจนวิธีการทำงานเพ่ือนำไปสู่พลเมืองทีม่ ี คุณภาพเน่ืองจากวิทยาการและเทคนิคในการเรียนรู้ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนต้องใฝ่เรียนรู้ให้ ทนั ต่อการเปลย่ี นแปลง (สมาน รังสิโยกฤษฎ,์ 2540: 34) กระบวนทศั นใ์ หมใ่ นการเสรมิ สรา้ งมหศั จรรยว์ ฒั นธรรมเกาหลใี ตเ้ ปน็ กลไกหนงึ่ ทโี่ รงเรยี น รงั สรรค์ขนึ้ เพ่ือนำไปส่กู ารเปลีย่ นแปลงทางความคดิ และพฤตกิ รรมการสอนของครแู ละพฤตกิ รรม ทางด้านวินัยของนักเรียนอย่างเป็นองค์รวม (Holistic View) ส่ิงเหล่าน้ีจะเป็นคุณูปการต่อ นักเรียนมากน้อยเพียงใดน้ันย่อมข้ึนอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่ องค์ประกอบภายใน บุคคล นั่นคือ (1) แรงขับ (Drive) ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่เกิดข้ึนภายในร่างกายของคนเพื่อให้ ร่างกายแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็น อาทิ ความหิว ความกระหาย ความอยากเรียน ความ 106 รปู แบบและกลไกการเสริมสร้างวินยั ในสถานศึกษาระดบั การศกึ ษาขั้นพน้ื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ ตอ้ งการมีชื่อเสยี ง ต้องการรางวลั และ (2) ความพรอ้ ม (Readiness) ทงั้ ทางร่างกายและจิตใจซ่ึง ทางร่างกาย ประกอบด้วย วุฒิภาวะ (Maturity) และทางจิตใจ อาทิ ความพึงพอใจและ องค์ประกอบภายนอกตัวบุคคล ยกตัวอย่าง เช่น ส่ิงแวดล้อมต่าง ๆ ท่ีมากระทบ (Abraham Maslow, 1970: 90) แสดงให้เห็นว่า นักเรียนจะต้องมีทั้งบทบาทและหน้าท่ีในการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาตนเองในมิติต่างๆ เป็นประจำอันนำไปสู่การยกระดับการเรียนรู้ ดังที่ Marquardt, M. (2002) กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาร่วมกันนั้นย่อมสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ในการปรับปรุงการเรียนการสอนได้อย่างน่าทึ่ง เสมือนนักเรียนในระยะเริ่มแรกนับว่าจะต้องใช้ เวลาในการเรียนรแู้ บบค่อยเปน็ คอ่ ยไป คอื เรียนรไู้ ปและแกไ้ ขปญั หาไปเพราะนกั เรยี นยงั ยดึ ติดใน วิธีคิดแบบเดิมๆ อยู่ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสวงหาแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาโดยการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างครบครัน วิเคราะห์ทางเลือกพร้อมท้ัง ตัดสินใจและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่เลือกไว้อย่างสมเหตุสมผล (อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์, 2548: 13 – 37) เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นในลักษณะท่ีมีความคิด ขัดแย้งกันจากการเห็นจุดบกพร่องของระบบคิดเดิมๆ และคิดว่าน่าจะมีแนวทางอ่ืนท่ีดีกว่า ในท่ีสุดจำเป็นต้องใช้แนวทางในการจัดการศึกษาใหม่ และนำมาซ่ึงการลบล้างคำกล่าวของ สำนกั งานคณะกรรมการการประถมศกึ ษาแหง่ ชาตทิ เี่ คยกลา่ วไวอ้ ยา่ งมเี หตผุ ลวา่ การจดั การเรยี น การสอนของครูเป็นการสอนหนังสือมากกว่าการสอนคน คือ ครูมีพฤติกรรมการสอนแบบเดิม น่ันคือ ครูส่วนใหญ่เน้นการสอนเนื้อหามากกว่าให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง ท้ังน้ี อาจจะกล่าวได้ ว่าครูไม่สามารถพัฒนาพฤติกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของ หลักสูตร นักเรียนส่วนมากมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับน้อยมาก (สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแหง่ ชาติ, 2545: 55) ข้อเสนอแนะ 1. ขอ้ เสนอแนะสำหรับรัฐบาล การวจิ ัยครงั้ นี้ ผู้วจิ ัยมขี ้อเสนอแนะเพ่ือนำผลการวิจยั ไปใช้ ดังตอ่ ไปน้ี 1.1 ผลการวจิ ยั เรอ่ื งการศกึ ษาและพฒั นาองคค์ วามรู้ รปู แบบและกลไกการเสรมิ สรา้ ง วินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานของประเทศเกาหลีใต้ พบว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ใน ฐานะท่ีเป็นหน่วยงานที่กำหนดนโยบายด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทุกสังกัดได้ปลูกจิต สำนึกของพลเมืองให้มีความรักชาติโดยให้เรียนรู้ประวัติศาสตร์เกาหลีใต้และประวัติศาสตร์โลก อย่างเข้มข้นและ จริยศาสตร์ ปรัชญา คุณธรรม จริยธรรมโดยไม่มีการเปล่ียนแปลงนโยบาย ดังกล่าวไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ตาม เฉกเช่นการศึกษาของไทยภายใต้หลักสูตรประโยค ประถมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2503 ที่ได้กำหนดรายวิชาต่างๆ ไว้สำหรับจัดการเรียน 107 รปู แบบและกลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศกึ ษาระดบั การศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐานของประเทศเกาหลีใต ้ การสอนอย่างเขม้ ข้นตลอดทัง้ ปีการศึกษา เชน่ วชิ าเลขคณติ ซึ่งกอ่ นทคี่ รจู ะสอนวิชาเลขคณิตครู จะให้นักเรียนฝกึ คิดเลขในใจ เรียกว่า คณติ คดิ ในใจ จำนวน 10 ขอ้ โดยกำหนดใหน้ ักเรยี นทำใน เวลา 10 นาที วชิ าภาษาไทย วิชาเรียงความ วิชาจดหมาย วชิ าเรขาคณิต วิชาสังคมศกึ ษา วิชา ประวัติศาสตร์ วิชาศีลธรรม วิชาหน้าท่ีพลเมือง วิชาหัตศึกษาและวิชาพลศึกษา ข้อมูลจาก การศึกษา พบว่า นักเรียนได้เรียนรู้อย่างลุ่มลึกและดิ่งเด่ียวตลอดจนสามารถนำไปปฏิบัติงานได้ จริง เพราะฉะนั้น รัฐบาลไทยจะต้องมีความชาญฉลาดและมีความกล้าหาญพอที่จะบรรจุวิชา ประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์โลก วิชาหน้าท่ีพลเมืองและวิชาศีลธรรมไว้ในหลักสูตรทุก ระดับชั้นต้ังแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษาตลอดจนบรรจุและแต่งต้ังครูประวัติศาสตร์ โดยตรงในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเพ่ือให้ครูปฏิบัติการสอนอย่างสม่ำเสมอ ผู้วิจัย เชื่อว่าจะช่วยให้คนไทยเกิดความรักในชาติพันธุ์ของตนเองย่ิงขึ้น รู้หน้าที่และมีระเบียบวินัยดีข้ึน พรอ้ มทง้ั เปน็ คนท่ีมีความกตัญญกู ตเวทจี นกลายเป็นวฒั นธรรมไทยท่ีมีคณุ ค่า 1.2 ภาครัฐไม่ควรเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการศึกษาท่ีสร้างความเข้มแข็งของชาติ และมเี หมาะสมกับบรบิ ทของสงั คมไทยตามนโยบายพรรคการเมืองทีต่ นเองสังกดั 1.3 ภาครัฐจะต้องเฟ้นหาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านการศึกษาอย่างแท้จริง สำหรับทุกองค์กรทางการศึกษาเพื่อทำหน้าท่ีในการบริหารจัดการการศึกษาอย่างมีวิสัยทัศน์ที่ ยาวไกลและมที ิศทาง 1.4 สำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นๆ ควรมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทกุ ระดบั อย่างจรงิ จงั และตอ่ เนอื่ ง 2. ขอ้ เสนอแนะสำหรบั ผบู้ รหิ ารโรงเรียน 2.1 ผู้บริหารโรงเรียนมืออาชีพจะต้องจัดการศึกษาเพ่ือเปล่ียนคนเป็นมนุษย์ภายใต้ แนวคิดการศกึ ษาทสี่ มบรู ณ์แบบตามทพ่ี ทุ ธทาสภิกขไุ ด้นำเสนอตอ่ ชาวโลกเมอ่ื 30 ปที แี่ ล้ว 2.2 ผบู้ ริหารโรงเรยี นจะตอ้ งเป็นแบบอยา่ งทด่ี เี ลศิ ในเร่อื งความมวี ินยั 2.3 ผู้บริหารโรงเรียนมืออาชีพจะต้องถือเป็นหน้าท่ีท่ีสำคัญในการนิเทศ กำกับ ติดตามความมวี ินยั ของนกั เรยี นอย่างสม่ำเสมอ 2.4 ผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษท่ี 21 จะต้องให้ขวัญและกำลังใจครูทุกคนที่ปฏิบัติ งานในดา้ นวนิ ยั นักเรยี นทงั้ ในและนอกสถานที่ด้วยความเตม็ ใจ เต็มเวลาและเตม็ ความสามารถ 2.5 ผู้บริหารโรงเรียนในอุดมคติพึงมีใจอันบริสุทธ์ิท่ีรักลูกศิษย์เสมือนลูกของตนจะ ส่งผลใหก้ ารศึกษาบรรลุผลสำเร็จ 108 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สรา้ งวนิ ยั ในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาข้นั พื้นฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ 3. ขอ้ เสนอแนะสำหรบั คร ู 3.1 ครูพงึ สร้างความศรทั ธาในความเป็นครผู ูน้ ำจติ วิญญาณมนษุ ย ์ 3.2 ครูจะตอ้ งอบรม บม่ นสิ ัย และสง่ั สอนให้ศษิ ย์เปน็ มนุษย์ทีส่ มบรู ณ์ 3.3 ครูควรประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ความดีของศิษย์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สงั คม 4. ขอ้ เสนอแนะในการวจิ ยั คร้งั ต่อไป 4.1 นักวิจัยควรศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้กระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้าง มหศั จรรยว์ ฒั นธรรมเกาหลใี ตร้ ะหวา่ งนกั เรยี นทมี่ าจากภมู หิ ลงั ทแี่ ตกตา่ งกนั อาทิ นกั เรยี นในทอ้ งถนิ่ ทรุ กันดารกบั นกั เรยี นในชมุ ชนเมอื งเพื่อยืนยนั ถึงประสทิ ธภิ าพของกระบวนทศั น์ใหมน่ ั้น 4.2 นักวิจัยควรศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้กระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้าง มหศั จรรย์วฒั นธรรมเกาหลีใต้ระหวา่ งนกั เรยี นในระดับช้นั เดยี วกนั แตแ่ ตกตา่ งเพศกัน เชน่ ศึกษา เปรยี บเทียบระหว่างเพศชายกบั เพศหญิงสำหรบั นกั เรียนชั้นมธั ยมศึกษาปีที่ 1 4.3 นักวิจัยควรศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้กระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้าง มหัศจรรย์วัฒนธรรมเกาหลีใต้ระหว่างกลุ่มตัวอย่างในระดับช้ันเดียวกันในสภาพและบริบทท ่ี แตกตา่ งกนั ไดแ้ ก่ นกั เรยี นชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1 ของโรงเรยี นในเขตพนื้ ทภี่ าคเหนอื ภาคตะวนั ออก เฉยี งเหนอื ภาคกลาง และภาคใต ้ 4.4 นักวิจัยควรศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้กระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้าง มหัศจรรย์วัฒนธรรมเกาหลีใต้ระหว่างกลุ่มตัวอย่างในระดับช้ันเดียวกันในสภาพและบริบทที ่ แตกตา่ งกนั ไดแ้ ก่ นกั เรยี นชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 3 โรงเรยี นขยายโอกาสทางการศกึ ษา คอื โรงเรยี น ในเขตพืน้ ที่ภาคเหนือ ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ 4.5 นักวิจัยควรศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้กระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้าง มหัศจรรย์วัฒนธรรมเกาหลีใต้ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) กับระเบียบวธิ ีวิจัยเชงิ คณุ ภาพ (Qualitative Research Methodology) 109 รปู แบบและกลไกการเสริมสร้างวนิ ัยในสถานศกึ ษาระดับการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐานของประเทศเกาหลีใต้ บรรณานกุ รม ภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2). พิมพ์ครั้งท่ี 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว. กระทรวงศึกษาธิการ สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำกัด. เกษม วัฒนชัย. (2549). การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียง. พิมพ์ครั้งท่ี 3. กรุงเทพฯ : สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรี ติ บุญเจือ. (2542). จรยิ ศาสตรส์ ำหรบั ผู้เริม่ เรยี น. (พมิ พ์ ครั้งที่ 8). กรงุ เทพฯ : ไทยวฒั นา พานชิ จำกัด. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2550). องค์กรไม่ใช่เครื่องจักร : การบริหารจัดการกระบวนทัศน์. นนทบรุ ี : สำนกั วิจยั สงั คมและสุขภาพ. (สวสล.). เกียรติคุณ สิทธิชัย. (2545). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของ นักศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ภาคใต้ สงขลา. แผนกเอกสาร การพิมพ์ วทิ ยาเขตภาคใต้. กฤษณมรู ติ. (2549). มติ ใิ หม่ทางการศึกษาเพ่อื ความเปน็ มนุษย์ทส่ี มบูรณ.์ กรุงเทพฯ : บรษิ ทั อมรินทร์พร้นิ ตงิ้ แอนดพ์ บั ลิชชิ่ง จำกดั (มหาชน). ----. (2556). การศึกษาและสาระสำคัญของชีวิต. พิมพ์คร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรนิ ทร์ พร้นิ ต้งิ แอนดพ์ บั ลชิ ชิ่ง จำกดั (มหาชน). คีซู อึน. (2559). ค่านิยมของชาวเกาหลีใต้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั . จิรประภา อัครบวร. (2559). 5 ทศวรรษ การพัฒนาคนเกาหลีใต้. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน จำกัดกนกการพิมพ.์ 110 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวนิ ยั ในสถานศึกษาระดับการศึกษาข้นั พน้ื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ จินตนา พุทธเมตะ. (2548). คุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของ ประเทศเกาหลี. กรงุ เทพฯ : บรษิ ทั พริกหวานกราฟฟคิ จำกัด. จำเนียร จวงตระกูล. (ม.ป.พ.). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎี และ กระบวนทศั น์การพัฒนาทรัพยากรมนษุ ย์. บี แอล ซี ไอ กรปุ๊ . โชคชัย ปัญญาคำ. (2550). ปัจจัยท่ีส่งผลต่อคุณลักษณะด้านจริยธรรมของนักศึกษา สถาบัน การพลศกึ ษา วทิ ยาเขตเชยี งใหม.่ วทิ ยานพิ นธศ์ กึ ษาศาสตรมหาบัณฑติ . มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่. เชาว์ โรจนแสง. (2551). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1–7. กรงุ เทพฯ : สำนกั พิมพ์มหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช. ณฐมน ปญั ญาวัชระ. (2550). การศึกษาคณุ ลกั ษณะด้านจริยธรรมของนกั ศกึ ษา มหาวทิ ยาลัย รามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวทิ ยาลัยรามคำแหง. ณรงค์ วงษพ์ านชิ . (2548). ความคาดหวังของผู้บรหิ ารและครตู อ่ คุณลกั ษณะท่ีพงึ ประสงค์ของ นกั ศกึ ษาหลักสูตร 5 ปี. ทนุ อดุ หนุนการวจิ ัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบรุ ี. ดรุณี ชูประยูร. (2547). การน้อมนำสาระสำคัญของหลักธรรมในพระไตรปิฎกเพ่ือการพัฒนา รูปแบบการพัฒนานิสิตนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลยั จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั . ดำรงค์ ฐานด.ี (2530). เกาหลใี ต้ : บทบาทของรฐั ในการพฒั นาประเทศ. กรุงเทพฯ : โครงการ เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตน- ราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร.์ ทพิ าพร พิมพ์พิสุทธ์ิ. (2546). การพัฒนาองค์กรและเพ่ิมขดี ความสามารถของสำนกั งาน ป. ป. ช. รายงานการวจิ ยั ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์สำนักงานคณะกรรมการป้องกนั และ ปราบปราม การทจุ รติ แห่งชาต.ิ ดวงเดอื น พันธมุ นาวิน. (2524). พฤตกิ รรมศาสตร์ เลม่ 2 และจิตวทิ ยาจริยธรรมและจิตวทิ ยา ภาษา. กรงุ เทพฯ : ไทยวฒั นาพานิช. เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. (2545). ภูมิปัญญาบูรณาการ. พิมพ์คร้ังท่ี 2. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรนิ ทรพ์ รนิ้ ต้ิงแอนด์พับลชิ ซงิ่ จำกัด (มหาชน). 111 รูปแบบและกลไกการเสรมิ สร้างวนิ ยั ในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ ธนวัฒน์ สุวรรณจรัส. (2548). การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณธรรมในนิสิตนัก ศึกษาไทยระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา บณั ฑิตวิทยาลัย จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. นิตยา ก่ำทา. (2548). การศึกษาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัย รามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวทิ ยาลัยรามคำแหง. นรดี กิจบูรณะ. (2538). ผลของการเพ่ิมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนต่อพฤติกรรมตั้งใจ เรียนและผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย. นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2553). รูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของนิสิตนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. บุญเรือน เติมสารทรัพย์. (2552). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัย รามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวทิ ยาลัยรามคำแหง. เบญจ์ กิติคุณ. (2544). การผลิตในระบบเกษตรกรรมทางเลือก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบณั ฑติ สาขาวชิ าการศึกษานอกระบบ บัณฑิตวทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่. ----. (2551). “สภาวะการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัฒน์.” วารสารศึกษาศาสตร์สาร. ปีท่ี 35 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2551) : 1 - 21. ----. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ในการเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนของครู คณิตศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎี บัณฑติ สาขาวชิ า การวิจัยและพฒั นาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม.่ ประดินันท์ อุปรมยั . (2523). จิตวทิ ยา. กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พ์ศรอี นันต์. ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลเชิงจริยธรรมกับพฤติกรรม วินัยในตนเองของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑติ มหาวิทยาลัยขอนแกน่ . 112 รูปแบบและกลไกการเสริมสร้างวนิ ัยในสถานศึกษาระดบั การศึกษาข้ันพน้ื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ ปญั ญฎา ประดษิ ฐบาทุกา. (2548). คา่ นิยมทางจรยิ ธรรมของนกั ศึกษาครชู ัน้ ปีท่ี 2 (หลักสูตร 5 ป)ี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภัฏจันทรเกษม. ทุนการวิจัยสมาคมนักวิจัย ครงั้ ท่ี 3. ในความอปุ ถมั ภข์ องสภาวิจยั แหง่ ชาต.ิ ปราณี ตันตยานุบุตร. (2551). การศึกษาความรู้ความเข้าใจและเหตุผลเชิงจริยธรรมของนัก ศกึ ษาระดับปริญญาตรี. กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลยั ธุรกจิ บณั ฑิตย์. ประเวศ วะสี. (2550). ระบบการเรียนร้ใู หม่ไปใหพ้ น้ วกิ ฤตแิ หง่ ยุคสมัย. กรงุ เทพฯ : สำนกั พมิ พ์ ร่วมดว้ ยช่วยกัน. ----. (2553). ธรรมชาติของสรรพส่ิงการเข้าถึงความจริงท้ังหมด. พิมพ์คร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนกั พมิ พก์ รีน – ปญั ญาญาณในเครอื กลุ่มบรษิ ทั กรีน – มัลตมิ เี ดยี . ----. (2554). ระบบการศึกษาท่ีแก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งท่ี 2. กรงุ เทพฯ : หา้ งห้นุ สว่ นจำกัด สำนกั พิมพ์ฟิสกิ ส์เซ็นเตอร.์ ----. (2555). วิถีมนุษย์ในศตวรรษท่ี ๒๑. กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพร์ ่วมดว้ ยชว่ ยกนั . ประสาน ต่างใจ. (2539). มุมมองเรื่องความตายและภาวะใกล้ตาย. กรุงเทพฯ : โครงการจัด พิมพ์ คบไฟ. ปฐม มณีรัตน์. (2517). ทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาการบริหาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สถาบนั บณั ฑติ พัฒนบริหารศาสตร์. ปรชี า เรืองจนั ทร์ และนสิ ติ จันทร์สมวงศ.์ (2542). “การปรบั เปล่ยี นกระบวนทัศน์ในการพัฒนา สังคม.” วารสารทอ้ งถน่ิ ปที ่ี 39 ฉบับท่ี 2 (กมุ ภาพันธ์ 2542). เปาโล เฟรเร. (2559). การศึกษาของผ้ถู กู กดข.่ี กรงุ เทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกดั ภาพพิมพ์. เพลต, ทอม กอรด์ อน. (2557). จับเขา่ คยุ บนั คีมนุ . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มตชิ น. พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2529). คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับเด็ก และเยาวชน รุ่นใหม.่ พมิ พค์ ร้ังท่ี 2. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั . ---.(2536). การพฒั นาจริยธรรม. พมิ พ์คร้งั ท่ี 4. กรงุ เทพฯ : บริษัท สหธรรมิก จำกดั . --. (2545). การศึกษาฉบับง่าย. พิมพค์ รั้งท่ี 3. กรุงเทพฯ : บรษิ ทั สื่อตะวนั จำกดั . --. (2546). รุ่งอรุณของการศึกษาเบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ย่ังยืน. พิมพ์คร้ังที่ 3. กรุงเทพฯ : บรษิ ทั พิมพส์ วย จำกดั . --. (2548). สูก่ ารศึกษาแนวพุทธ. พิมพค์ ร้ังท่ี 6. กรุงเทพฯ : บรษิ ทั พมิ พ์สวย จำกดั . 113 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวนิ ัยในสถานศกึ ษาระดับการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐานของประเทศเกาหลใี ต้ --. (2549). การพฒั นาทย่ี ่งั ยืน. พิมพค์ ร้งั ที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนกั พิมพม์ ลู นิธโิ กมลคีมทอง. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ ์ ธรรมสภา. ----.(2554). การเสริมสร้างคุณลักษณะเด็กไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ พระพทุ ธศาสนาของธรรมสภา. พิพาดา ยังเจริญ. (2556). ประวัติศาสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย. พชิ ิต ฤทธิจ์ รูญ. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสงั คมศาสตร.์ พิมพค์ ร้ังที่ 2. กรงุ เทพฯ : เฮ้า ออฟ เคอร์มีสท.์ พศิน แตงจวง. (2549). จากโรงเรียนสูโ่ รงงาน. พิมพค์ รงั้ ท่ี 2. เชยี งใหม่ : ศนู ย์วจิ ยั เพอ่ื การศกึ ษา และแรงงาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม.่ ---.(2554). รปู แบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา. เชยี งใหม่ : สำนักพิมพ์ ดวงกมลพับลิซซิ่ง. พุทธทาสภิกขุ. (2542). จริยธรรม (การเสริมสร้างจริยธรรมสำหรับเด็กวัยรุ่น). กรุงเทพฯ : สำนกั พิมพอ์ รุณวิทยา. --. (2549). วาทะธรรมทางการศึกษา. พิมพ์คร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ : อ็อฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด. --.(2549). การศึกษาสมบูรณแ์ บบ : คอื วงกลมท่คี ้มุ ครองโลกถึงที่สุด. กรุงเทพฯ : อุษา การพมิ พ.์ --. (2550). เด็กจะเป็นผู้สร้างโลกในอนาคต. พิมพ์คร้ังที่ 4 . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สุขภาพใจ. --. (2550). เปลยี่ นคนเป็นมนุษย.์ พมิ พ์ครงั้ ท่ี 2. กรงุ เทพฯ : สำนกั พมิ พอ์ มรินทร์. ไพรพรรณ เกียรติโชตชิ ยั . (2545). กระบวนทศั นใ์ หม่แห่งการศกึ ษาในศตวรรษที่ 21. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพก์ ารศึกษา. พรเพ็ญ สุวรรณเดชา. (2532). แนวโน้มคุณภาพชีวิตของประชากรจังหวัดปัตตานีใน 10 ปี ข้างหน้า ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ 6 กระทรวงหลัก : รายงานการวิจัย. คณะ ศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั สงขลานครินทร์ วทิ ยาเขตปัตตานี. 114 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สร้างวนิ ยั ในสถานศึกษาระดบั การศกึ ษาข้ันพนื้ ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ ฟริตจ๊อฟ คาปร้า. (2549). จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ 1. พิมพ์คร้ังท่ี 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มูลนธิ ิโกมลคีมทอง. ----. (2550). จุดเปล่ียนแห่งศตวรรษ 2. พิมพ์ครั้งท่ี 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิ โกมล คมี ทอง. ----. (2550). จุดเปล่ียนแห่งศตวรรษ 3. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิ โกมล คีมทอง. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา. (2559). คำพ่อสอน ประมวลพระบรม ราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์กรงุ เทพ. มานติ มานิตเจริญ. (2550). พจนานกุ รมไทย : ฉบบั สมบูรณ์ ทันสมัยท่ีสดุ . กรงุ เทพฯ : สำนัก พมิ พร์ วมสาส์น. มหาตมา คานที. (2553). ข้าพเจ้าทดลองความจริง. พิมพ์คร้ังท่ี 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มลู นิธโิ กมลคมี ทอง. มุน ฮวีชัง. (2560). แรงขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเกาหลี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แหง่ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. มุน ฮย็อนนา. (2560). การเปล่ียนแปลงของเศรษฐกิจของประเทศเกาหลี และการ เปล่ียนแปลงโครงสร้างครอบครัวเกาหลี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั . ระพี สาครกิ . (2553). ธรรมะ ธรรมชาติ เลม่ 2. กรุงเทพฯ : บรษิ ัทพมิ พ์ดี จำกดั . ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมี. วัชราภรณ์ มานิมนต์. (2549). จริยธรรมสำหรับบุคลากรในองค์การ : กรณีศึกษาโรงเรียน สายน้ำทิพย์. วทิ ยานิพนธ์ศิลปะศาตรมหาบัณฑติ มหาวิทยาลัยเกรกิ . วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2535). การวัดจริยธรรม. วารสารการวัดผลการศึกษา, 14, 1-2. (ม.ป.ป.). วจิ ารณ์ พานิช. (2555). วิถสี รา้ งการเรยี นร้เู พื่อศิษย์. พมิ พค์ ร้ังท่ี 3. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์บริษทั ตถาตาพับลิเคช่ัน จำกัด. 115 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สรา้ งวินยั ในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ ----. (2557). สอนเด็กใหเ้ ปน็ คนดี. พมิ พค์ ร้ังที่ 2. กรงุ เทพฯ : บรษิ ัท เอส. อาร.์ พริ้นต้งิ แมสโปรดกั ส์ จำกดั . วิจิตร ศรีสอ้าน. (2524). อนาคตการศึกษาใน 1 ปีข้างหน้า. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหารักษ์ ธรุ กิจบัณฑติ ย์. วริศรา ภานวุ ฒั น์. (2557). คดิ แบบเนลสัน แมนเดลา. กรงุ เทพฯ : พี. เอ็น. เอส. ครีเอช่ัน. วทิ ยากร เชยี งกลู . (2553). ศาสตรแ์ ละศลิ ปะในการเปน็ ผนู้ ำในโลกยคุ ใหม.่ กรงุ เทพฯ : สำนกั พมิ พ ์ เดอื นตลุ า. สันถวี นิยมทรัพย์. (2549). ความคิดเห็นด้านจริยธรรมของนักศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปกร. ทุนการวิจัยสมาคมนักวิจัย. คร้ังท่ี 2. ในความอุปถัมภ์ของ สภาวิจัยแห่งชาต.ิ สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2540). การจัดโครงสร้างราชการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวัสดิการ สำนกั งาน ขา้ ราชการพลเรอื น. เสรี พงศ์พศิ . (2548). ชมุ ชนเรยี นรอู้ ยู่เย็นเปน็ สขุ . กรุงเทพฯ : เจริญวทิ ย์การพมิ พ.์ สุชาติ ประสทิ ธิ์รัฐสนิ ธ์.ุ (2539). จรยิ ธรรมทางวชิ าการ. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พเ์ ล่ยี งเชยี ง. สุภาวดี พรประสิทธ์ิกุล. (2547). การศึกษาพฤติกรรมทางจริยธรรมของพนักงานธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร ์ สภุ างค์ จนั ทวานชิ . (2549). วิธีการวิจยั เชิงคุณภาพ. พมิ พค์ รงั้ ที่ 9. กรงุ เทพฯ : สำนักพมิ พแ์ หง่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . ---. (2549). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์คร้ังที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนกั พมิ พ์แหง่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . สุเมธ ตันตเิ วชกุล. (2549). หลกั ธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท. กรุงเทพ ฯ : สำนกั พมิ พ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั สุทธิภรณ์ แหยมรักษา. (2546). พฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัด นครปฐม. วทิ ยานิพนธศ์ กึ ษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวทิ ยาลยั รามคำแหง. สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2531). ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง. 116 รูปแบบและกลไกการเสริมสรา้ งวินยั ในสถานศึกษาระดบั การศึกษาข้ันพื้นฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ สมนึก แก้ววิไล. (2548). การปฏิบัติตนทางจริยธรรมตามการรับรู้ของนักศึกษา สาขา บริหารธุรกิจ ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร. กรุงเทพฯ : สถาบนั เทคโนโลยรี าชมงคล วทิ ยาเขตพณิชยการพระนคร. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ฝ่าวิกฤติการปฏิรูปการศึกษาสู่สังคมแห่ง ปญั ญาและการเรียนรู.้ กรงุ เทพฯ : บริษทั พมิ พด์ ี จำกัด. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (ม.ป.พ.). การปฏิรูปการศึกษาสำหรับศตวรรษ ท่ี 21 เพือ่ ความเป็นผู้นำในยุคสารสนเทศและโลกาภิวตั น์. (ม.ป.ป.). สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.). (2547). แนวทางการเขียน รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. อนรุ กั ษ์ ปญั ญานวุ ฒั น.์ (2548). การศึกษาชมุ ชนเชิงพหลุ กั ษณ์ : บทเรียนจากวจิ ยั ภาคสนาม. กรงุ เทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรยี นรเู้ พอื่ ชุมชนเป็นสขุ (สรส.). อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2553). คุณธรรมนำความรู้. กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพ์ฟรีมายด.์ อาภรณ์ พลเสน. (2550). ผลการวิเคราะห์ตัวแปรพหุของคุณธรรม จริยธรรมเพ่ือพัฒนา แนวทาง การสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมของราชนาวีไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบณั ฑิต จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. กรุงเทพฯ : จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . อุทัย ดุลยเกษม. (2537). (บรรณาธิการ). คู่มือ การวิจัยเชิงคุณภาพเพ่ืองานพัฒนา. พิมพ์ ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : สถาบันวจิ ยั และพฒั นา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ---. (2542). ศึกษาเรียนร.ู้ พิมพ์ครงั้ ท่ี 2. กรุงเทพฯ : มลู นิธสิ ดศรี – สฤษดว์ิ งศ์. ---. (2545). ศึกษาเรยี นรู้ ภาค 2. กรงุ เทพฯ : มูลนิธสิ ดศรี – สฤษวงศ์. ภาษาองั กฤษ Amobi, Funni A. (2006). Global Warning : the Green Peace Report. Oxford (England) New York : Oxford University Press. Brookfield, Stephen D. (1995). Understanding and Facilitating Learning. San Francisco : Jossey-Bass. Bruno, Latour. (2007). The Culture Studies Reader. 3rd ed. London; New York : Routledge. 117 รูปแบบและกลไกการเสรมิ สรา้ งวนิ ยั ในสถานศกึ ษาระดบั การศึกษาขัน้ พนื้ ฐานของประเทศเกาหลีใต้ Corrwell, Steve. (1993). New Ways in Teacher Education. Alexandria, VA : Teachers of English to Speakers of Others Languages. Crano,William D. (1982). Social Psychology : Principles and Themes of Interpersonal Behavior. Homewood, Ill : Dorsey. David, Elwarthy. (2007). The Curriculum Studies Reader. New York, N.Y. : Routledge-Falmer. Dewey, John. (1933). How We Think : A Restatement of the Relation of Reflective Thinking to the Educative Process. Chicago : Regnery. Eraut, Michael. (1995). Training in Curriculum Development and Educational Technology in Higher Education. Surrey : Society for Research into Higher Education. Harman, Willis W. (1976). An Incomplete to the Future. Standford Calif : Standford Alumni Association. Heiss, George D. (1981). A Practical Guide to Research Mothods. 5th ed. Lanham : University Press of America. Jame, Allison and Hill, Bennett D. (1984). Research with Children : Perspective and Practices. New York, NY : Routledge. Kuhn, Thomas S. (1970). The Structure of Scientific Revolution. Chicago : University of Chicago Press. Kuhn, Thomas S. (1975). The Structure of Scientific Revolution. 6th ed. Chicago : University of Chicago Press. Leatzow, Nancy. (1999). Creating Discipline in the Early Childhood Classroom. Utah : Brigham Young University Press. Lieberman, Josefa Nida. (1984). Playfullness : Its Relationship to Imagination and Creativity. New York : American Press. Lim Jaccinta, Lee, And Joyce. (2002). Learning Through Knowledge Management. Oxford; Boston: Butterworth-Heinemann. 118 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวินยั ในสถานศึกษาระดับการศึกษาข้นั พน้ื ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ Marquardt, M. (2002). Building the Learning Organization : A Systems Approach to Quantum Improvement and Globe Success. New York : McGraw-Hill. Maslow, Abbraham H. (Abbraham Harold). (1970). Motivation and Personality. New York : Harper & Row. Mounier, Alain. (2007). The State of Learning Thailand. Center for Education Labour Studies. Faculty of Education, Chiang Mai University. Page, Alfred N. and Thomas S, Alan. (1977). Urban Analysis : Reading in Housing and Urban Development. (Glenview, Ill) : Scott, Foreman. Pollard, Andrew. And Tanny, Sarah. (1994). Reflective Teaching in the Primary School : A Handbook for the Classroom. London : cassell. Scöhon D. (1983). The Theory in Practice : Increasing Professional Effectiveness. San Francisco : Jossey Bass. Thibuat, John W. and Kelley, John L. (1959). Elementary Mathematics for Teachers. San Francisco : Hold-Day. Tsang, Chiu-Sam. (1998). Society, School & Progress in China. Oxford : Pergamon Press. Yeigh, Tony. (2008). Learning System Design : An Approach to the Improvement of Instruction. New York McGraw-Hill. Zeichner, Kenneth M. and Liston, John. (1996). Studying Teacher Education the Report of the AERA on Research and Teacher Education/ Mathematics. Mahwah, N. J. //ncic.kice.re.kr/english.kri.org.inventor. The School Curriculum of the Republic of Korea. 119 ภาคผนวก รปู แบบและกลไกการเสรมิ สรา้ งวินัยในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ ภาคผนวก ก รายชอ่ื ผูเ้ ชย่ี วชาญในการหาประสิทธภิ าพเคร่ืองมอื ทีใ่ ช้ในการวิจยั 1. ศาสตราจารย์ ดร. พศิน แตงจวง 2. รองศาสตราจารย์ ดร. ต่าย เซ่ยี งฉ ี 3. ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร. ฤตินันท์ สมทุ ร์ทยั 121 รูปแบบและกลไกการเสรมิ สร้างวนิ ยั ในสถานศึกษาระดบั การศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ ภาคผนวก ข เครอ่ื งมอื ทีใ่ ชใ้ นการวจิ ัย แนวคำถามในการสัมภาษณแ์ บบเจาะลกึ (In – Depth Interview Guideline) สำหรับครโู รงเรียน Chiang Mai Korean School เกีย่ วกับวุฒิการศึกษา อายุ และประสบการณใ์ นการสอน ตอนท่ี 1 สัมภาษณเ์ กี่ยวกบั วฒุ ิการศกึ ษา อายุ และประสบการณ์ในการสอนของคร ู คำชี้แจง โปรดตอบคำถามตามความเปน็ จริง ขัน้ ตอนท่ี 1 ผู้สัมภาษณ์แนะนำตนเองและบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลอดจนสร้าง บรรยากาศในการพูดคุยให้เป็นกันเองพร้อมกับแจ้งผู้ให้สัมภาษณ์ว่าข้อมูลท่ีได้จะ ถกู ปิดเป็นความลบั ขั้นตอนที่ 2 เรมิ่ สมั ภาษณเ์ กยี่ วกบั วุฒิการศึกษา อายุ และประสบการณใ์ นการสอนของคร ู 1. เพศ ❏ 1) ชาย ❏ 2) หญงิ 2. ปจั จบุ ันทา่ นอายุประมาณเท่าใด ? 3. ทา่ นไดร้ ับการบรรจแุ ละแต่งตงั้ ใหร้ ับราชการครูครงั้ แรกในปีใด ? 4. ทา่ นไดร้ บั การบรรจุและแตง่ ตง้ั ใหร้ บั ราชการครูครง้ั แรกในตำแหนง่ อะไร ? 5. ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งอะไร ? 6. ท่านการสอนวิชาอะไร ? 7. ทา่ นมปี ระสบการณ์ในการสอนนานเท่าใด ? 8. ท่านมภี าระงานหลกั ที่ตอ้ งรบั ผิดชอบอะไรบา้ ง ? 9. ทา่ นมภี าระงานสนับสนนุ งานวชิ าการอะไรบา้ ง ? 10. ทา่ นตง้ั รากฐานอย่ทู ใี่ ด และ เม่ือใด ? 11. ระยะทางจากท่ีพักอาศยั ของทา่ นถงึ โรงเรยี นมีระยะทางประมาณเทา่ ใด ? 12. ทา่ นเดินทางมาปฏิบัตหิ นา้ ทีท่ ี่โรงเรียนด้วยวธิ ใี ด ? 13. ท่านใชใ้ นการเวลาเดนิ ทางมาปฏบิ ัตหิ น้าทท่ี โ่ี รงเรยี นนานเทา่ ใด ? 14. ทา่ นสำเรจ็ การศกึ ษากอ่ นระดบั ปรญิ ญาตรี สาขาวชิ าอะไร และสถาบนั การศกึ ษาใด ? 15. ท่านสำเรจ็ การศกึ ษาระดับปรญิ ญาตรี สาขาวิชาอะไร และสถาบนั การศกึ ษาใด ? 16. ทา่ นสำเรจ็ การศกึ ษาหลงั ระดบั ปรญิ ญาตรี สาขาวชิ าอะไร และสถาบนั การศกึ ษาใด ? ตอนท่ี 2 การสรปุ ประเด็นทไ่ี ดจ้ ากการสนทนาสัน้ ๆ และกล่าวขอบคุณผู้ทีใ่ หข้ ้อมลู ทุกคน 122 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวนิ ยั ในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ เครือ่ งมือท่ใี ชใ้ นการวิจยั แนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลกึ (In – Depth Interview Guideline) สำหรบั ผบู้ ริหารโรงเรยี นเก่ยี วกับการกำหนดปรัชญาและวิสยั ทัศนข์ องโรงเรียน ตอนที่ 1 สัมภาษณ์เกยี่ วกับการกำหนดปรัชญาและวิสัยทัศนข์ องโรงเรียน คำชแี้ จง โปรดตอบคำถามตามความเป็นจริง ขัน้ ตอนท่ี 1 ผู้สัมภาษณ์แนะนำตนเองและบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลอดจนสร้าง บรรยากาศใน การพูดคุยให้เป็นกันเองพร้อมกับแจ้งผู้ให้สัมภาษณ์ว่าข้อมูลท่ีได้จะ ถกู ปิดเปน็ ความลบั ขั้นตอนท่ี 2 เร่ิมประเด็นสมั ภาษณ์เกยี่ วกับสถานศกึ ษา 1. โรงเรียนของท่านมนี ักเรยี นท้งั หมดจำนวนเท่าใด ? 2. โรงเรยี นของท่านมนี กั เรยี นระดับช้นั ละเทา่ ใด ? 3. โรงเรยี นของทา่ นมีครแู ละบุคลากรทง้ั หมดจำนวนเทา่ ใด ? 4. ผ้บู รหิ ารโรงเรยี นจัดครูเขา้ สอนชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ 1 จำนวนเท่าใด ? 5. ผู้บริหารโรงเรียนจัดครูเข้าสอนเก่ียวกับคุณธรรม จริยธรรมช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 จำนวนเท่าใด ? ตอนที่ 2 สมั ภาษณ์เก่ยี วกบั การกำหนดปรชั ญา และวิสัยทศั น์ของโรงเรยี น 1. ทา่ นคดิ ว่าปรชั ญา และวิสยั ทศั นข์ องโรงเรยี นมีความสำคญั หรอื ไม่ อย่างไร ? 2. ท่านคดิ วา่ ใครมีส่วนเก่ยี วขอ้ งในการกำหนดปรัชญา และวสิ ัยทัศนข์ องโรงเรียน ? 3. ผู้มีส่วนเก่ียวข้องในการกำหนดปรัชญาและวิสัยทัศน์ของโรงเรียนจะต้องใช้ข้อมูล พืน้ ฐานอะไรบา้ ง สำหรับประกอบการพจิ ารณากำหนดปรชั ญาและวิสยั ทัศนข์ องโรงเรยี น ? 4. ผู้มีส่วนเก่ียวข้องในการกำหนดปรัชญาและวิสัยทัศน์ของโรงเรียนกำหนดปรัชญา และวสิ ยั ทศั นข์ องโรงเรยี นไวอ้ ยา่ งไร เพราะเหตุใด ? 5. การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับปรัชญาและวิสัยทัศน์ของโรงเรียนหรือไม่ เพราะเหตุใด ? ตอนที่ 3 การสรุปประเด็นท่ีได้จากการสนทนาสัน้ ๆ และกลา่ วขอบคณุ ผใู้ หข้ ้อมูลทกุ ท่าน 123 รูปแบบและกลไกการเสริมสร้างวนิ ยั ในสถานศกึ ษาระดบั การศกึ ษาข้นั พ้ืนฐานของประเทศเกาหลใี ต้ เคร่ืองมอื ท่ีใชใ้ นการวจิ ัย แนวคำถามในการสัมภาษณแ์ บบเจาะลึก (In – Depth Interview Guideline) สำหรับครปู ระจำช้นั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 1 เกยี่ วกับแนวคิดการเตรียมการสอน และการจดั ทำแผนการจัดการเรยี นรู้ (Lesson Plan) ตอนที่ 1 สัมภาษณ์เกี่ยวกบั การเตรยี มการสอนและการจัดทำแผนการสอน (Lesson Plan) คำชแ้ี จง โปรดตอบคำถามตามความเปน็ จรงิ ขัน้ ตอนที่ 1 ผู้สัมภาษณ์แนะนำตนเองและบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลอดจนสร้าง บรรยากาศในการพูดคุยให้เป็นกันเองพร้อมกับแจ้งผู้ให้สัมภาษณ์ว่าข้อมูลที่ได้จะ ถูกปดิ เปน็ ความลบั ข้นั ตอนท่ี 2 สัมภาษณ์เก่ียวกับการเตรียมการสอนและการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) ของครูประจำชั้นมัธยมศกึ ษาปที ี่ 1 1. ก่อนเตรยี มการสอนท่านปฏบิ ัตอิ ยา่ งไร ? 2. ท่านเตรียมการสอนเพราะเหตุใด และเตรียมการสอนอย่างไร ? 3. ทา่ นเตรยี มการสอนในด้านใดบ้าง เป็นปัจจุบนั หรือไม่ เพราะเหตุใด ? 4. ผู้บริหารโรงเรียนได้กำกับ ติดตามการเตรียมการสอนและการจัดทำแผนการจัด การเรียนรู้หรอื ไม่ อย่างไร ? 5. ท่านคิดว่าแผนการจัดการเรียนรู้ท่ีสำนักพิมพ์เอกชนพิมพ์จำหน่ายมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร ? 6. ท่านคิดว่าช่วงเวลาใดที่เหมาะสมในการเตรียมการสอนและจัดทำแผนการจัด การเรียนรู้มากท่สี ดุ เพราะเหตุใด ? 7. ทา่ นสามารถจดั การเรยี นการสอนตามทว่ี างแผนไวไ้ ดอ้ ยา่ งสมบรู ณห์ รอื ไม่ เพราะเหตใุ ด ? 8. ท่านคิดว่าแผนการจัดการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2559 สามารถใช้ประกอบการสอน ในปตี อ่ ไปไดห้ รอื ไม่ เพราะเหตใุ ด ? ตอนที่ 2 สมั ภาษณ์เกย่ี วกับปัจจยั ท่ีสนับสนนุ การเตรยี มการสอน 1. ทา่ นไดร้ บั การสนบั สนนุ ดา้ นการเตรยี มการสอนจากผบู้ รหิ ารโรงเรยี นหรอื ไม่ อยา่ งไร ? 2. นักเรียนมีสว่ นเก่ยี วข้องในการเตรยี มการสอนร่วมกับครูผ้สู อนหรอื ไม่ เพราะเหตุใด ? 3. ทา่ นตอ้ งการไดร้ บั การสนบั สนนุ ดา้ นการเตรยี มการสอนจากผบู้ รหิ ารโรงเรยี นดา้ นใดบา้ ง ? 4. ท่านคิดว่าส่ือการเรียนการสอนท่ีครูผู้สอนจัดทำข้ึนมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ เพราะเหตุใด ? ตอนที่ 2 การสรุปประเด็นทไี่ ด้จากการสนทนาส้ันๆ และกลา่ วขอบคุณผู้ให้ขอ้ มูลทกุ ท่าน 124 รูปแบบและกลไกการเสรมิ สรา้ งวินัยในสถานศึกษาระดบั การศึกษาข้ันพืน้ ฐานของประเทศเกาหลีใต้ เครื่องมือท่ใี ชใ้ นการวิจัย แนวคำถามในการสัมภาษณแ์ บบเจาะลึก (In – Depth Interview Guideline) สำหรบั ครปู ระจำชั้นมธั ยมศึกษาปที ี่ 1 เก่ียวกับสภาพการจัดการเรยี นการสอน คำชี้แจง โปรดตอบคำถามตามความเป็นจริง ตอนท่ี 1 สมั ภาษณเ์ กย่ี วกบั สภาพการจดั การเรยี นการสอนของครปู ระจำชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 1 ขั้นตอนที่ 1 ผู้สัมภาษณ์แนะนำตนเองและบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลอดจนสร้าง บรรยากาศใน การพูดคุยให้เป็นกันเองพร้อมกับแจ้งผู้ให้สัมภาษณ์ว่าข้อมูลที่ได้จะ ถกู ปดิ เปน็ ความลบั ขั้นตอนท่ี 2 สมั ภาษณเ์ กยี่ วกบั สภาพการจดั การเรยี นการสอนของครปู ระจำชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 1 1. ในแตล่ ะคาบท่านปฏิบตั ิการสอนเน้ือหาอะไรบา้ ง ? 2. ท่านปฏิบัติการสอนตามกระบวนการสอนในแต่ละขัน้ หรอื ไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด ? 3. ทา่ นสอนไดท้ ันตามหลักสตู รหรอื ไม่ เพราะเหตใุ ด ? 4. ท่านแกไ้ ขปัญหาการสอนไม่ทนั ตามหลักสตู รอย่างไร ? 5. ทา่ นให้นักเรียนฝึกทกั ษะหลงั จากสอนเนื้อหาใหม่หรอื ไม่ อยา่ งไร ? 6. ทา่ นใช้เกณฑอ์ ะไรในการคัดเลอื กนักเรียนให้รว่ มกิจกรรมการเรียนการสอน ? 7. ทา่ นส่งั การบา้ นนักเรยี นในแตล่ ะคร้งั เกี่ยวกับเนื้อหาอะไร ปรมิ าณเท่าใด ? 8. นักเรยี นทำการบา้ นเสรจ็ ตามเวลาทีก่ ำหนดหรือไม่ เพราะเหตใุ ด ? 9. ทา่ นตรวจการบา้ นนักเรียนเสรจ็ ตามกำหนดหรอื ไม่ เพราะเหตุใด ? 10. สืบเนื่องจากข้อ 9 ท่านแก้ไขปัญหาการตรวจการบ้านของนักเรียนไม่เสร็จตาม กำหนดอย่างไร ? 11. ท่านคิดว่านักเรียนที่เรียนอ่อน และไม่สนใจเรียนสามารถเรียนรู้ได้หรือไม่ เพราะ เหตใุ ด ? 12. ท่านคิดว่าครูควรสอนเนื้อหาเพ่ิมเติมหรือให้นักเรียนจัดทำโครงการท่ีเกี่ยวข้องกับ เนอ้ื หาหรือไม่ เพราะเหตุใด ? 13. เนือ้ หาที่บรรจไุ ว้ในชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 1 มีความเหมาะสมกับนกั เรยี นหรอื ไม่ เพราะ เหตุใด ? 14. โครงการอะไรท่นี ักเรยี นใหค้ วามสนใจ และนักเรียนมีส่วนรว่ มอยา่ งไร ? 15. ใครเป็นผ้จู ัดทำโครงการ ? 16. แหลง่ ทุนสนบั สนุนโครงการดังกล่าวมาจากที่ใด ? ตอนท่ี 2 การสรุปประเด็นทไ่ี ดจ้ ากการสนทนาสนั้ ๆ และกล่าวขอบคณุ ผใู้ หข้ ้อมลู ทุกท่าน 125 รูปแบบและกลไกการเสรมิ สรา้ งวินยั ในสถานศกึ ษาระดับการศึกษาขน้ั พ้นื ฐานของประเทศเกาหลีใต ้ เคร่อื งมือท่ีใช้ในการวิจยั แนวคำถามในการสมั ภาษณ์แบบเจาะลกึ (In – Depth Interview Guideline) สำหรับ ครูประจำชัน้ มัธยมศึกษาปที ี่ 1 เกีย่ วกับการสร้างปฏิสมั พันธท์ ด่ี ีระหวา่ งครกู บั นักเรียน คำช้แี จง โปรดตอบคำถามตามความเปน็ จริง ตอนท่ี 1 ผู้สัมภาษณ์แนะนำตนเองและบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลอดจนสร้างบรรยากาศ ในการพดู คยุ ใหเ้ ปน็ กนั เองพรอ้ มกบั แจง้ ผใู้ หส้ มั ภาษณว์ า่ ขอ้ มลู ทไี่ ดจ้ ะถกู ปดิ เปน็ ความลบั ขนั้ ตอนท่ี 1 สัมภาษณเ์ ก่ียวกับการสร้างปฏสิ ัมพันธด์ ้านการสอน 1. ในการจดั การเรยี นการสอนท่านแสดงสีหนา้ อยา่ งไร เพราะเหตุใด ? 2. ในการจัดการเรียนการสอนท่านคิดว่าการเสริมแรงทางบวก และเสริมแรงทางลบ มคี วามจำเป็น หรือไม่ เพราะเหตใุ ด ? 3. ในการให้รางวัลเสรมิ แรงทางบวก และเสรมิ แรงทางลบทา่ นปฏิบตั ิอยา่ งไร ? 4. ท่านใช้เกณฑ์อะไรคัดเลือกนักเรียนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังต่อไปนใ้ี หน้ กั เรยี นตอบคำถาม ใหน้ ักเรียนแสดงความคดิ เห็น ใหน้ กั เรียนแกโ้ จทยป์ ญั หา ฯลฯ ? 5. ท่านปฏิบตั ิตอ่ นักเรยี นทีไ่ ม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรยี นการสอนอย่างไร ? ขัน้ ตอนที่ 2 สมั ภาษณเ์ กี่ยวกบั การสรา้ งปฏสิ มั พนั ธ์ดา้ นการเรียน 1. นกั เรียนมคี วามกระตอื รอื รน้ ในการเรียนหรอื ไม่ อยา่ งไร ? 2. ในการจัดการเรียนการสอนท่านดูแล เอาใจใส่นักเรียนอย่างไรจึงจะส่งผลดีต่อ นกั เรยี น ? 3. ท่านคิดว่านักเรียนท่ีเรียนอ่อน และไม่สนใจเรียนทำให้ครูสอนไม่ทันตามท่ีกำหนดไว้ ในแผนการจัดการเรยี นรหู้ รอื ไม่ เพราะเหตุใด ? ขั้นตอนที่ 3 สมั ภาษณเ์ กี่ยวกับการสร้างปฏสิ มั พันธด์ ้านสงั คม 1. นักเรียนให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนสำหรับผู้ด้อยโอกาสกว่าหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตใุ ด ? 2. ในขณะทำการสอนนกั เรียนมปี ฏสิ มั พันธ์ตอ่ เพ่ือนอย่างไร ? 3. ท่านคิดว่าการดูแล เอาใสใส่ ไตร่ถามทุกข์สุข และปัญหาของนักเรียนส่งผลต่อ การเรยี นการสอนหรือไม่ เพราะเหตุใด ? ตอนที่ 2 การสรปุ ประเด็นทไ่ี ดจ้ ากการสนทนาสน้ั ๆ และกล่าวขอบคุณผูใ้ ห้ขอ้ มลู ทุกท่าน 126 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวนิ ยั ในสถานศึกษาระดับการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐานของประเทศเกาหลีใต ้ เคร่อื งมอื ที่ใช้ในการวิจัย แนวคำถามในการสัมภาษณแ์ บบเจาะลกึ (In – Depth Interview Guideline) สำหรบั ครปู ระจำชัน้ มัธยมศึกษาปที ี่ 1 เกย่ี วกบั การสร้างความเสมอภาคในการเรียนรู ้ คำช้ีแจง โปรดตอบคำถามตามความเป็นจรงิ ตอนท่ี 1 ผู้สัมภาษณ์แนะนำตนเองและบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลอดจนสร้างบรรยากาศ ในการพดู คยุ ใหเ้ ปน็ กนั เองพรอ้ มกบั แจง้ ผใู้ หส้ มั ภาษณว์ า่ ขอ้ มลู ทไ่ี ดจ้ ะถกู ปดิ เปน็ ความลบั ขน้ั ตอนที่ 1 สมั ภาษณเ์ กย่ี วกบั การสรา้ งความเสมอภาคในการเรยี นร้ ู 1. นกั เรยี นเคยบอกจดุ ม่งุ หมายในอนาคตของนักเรยี นต่อท่านหรือไม่ อย่างไร ? 2. นักเรียนเคยบอกความต้องการของนักเรียนให้ครูปฏิบัติต่อนักเรียนด้านการเรียน การสอนหรือไม่ อยา่ งไร ? 3. ท่านคิดว่าในขณะทำการสอนควรให้นักเรียนทั้งชั้นมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน การสอน เหมือนกนั หรือไม่ เพราะเหตใุ ด ? 4. นักเรยี นมสี ว่ นร่วมในการเรยี นการสอนครบทุกคนหรอื ไม่ เพราะเหตุใด ? 5. ทา่ นปฏิบตั ติ ่อนกั เรียนทีเ่ รียนอ่อนและไม่สนใจเรยี นอยา่ งไร เพราะเหตุใด ? 6. ท่านปฏบิ ตั ิตอ่ นกั เรียนทีเ่ รยี นเกง่ และสนใจเรยี นอย่างไร เพราะเหตุใด 7. ทา่ นปฏบิ ตั ติ อ่ นกั เรยี นทไี่ มม่ สี ว่ นรว่ มในกจิ กรรมการเรยี นการสอนอยา่ งไร เพราะเหตใุ ด ? 8. ทา่ นใหค้ วามสำคัญต่อนกั เรียนบางคนเปน็ กรณพี เิ ศษหรอื ไม่ เพราะเหตุใด ? ตอนที่ 2 การสรปุ ประเดน็ ทไ่ี ด้จากการสนทนาสนั้ ๆ และกลา่ วขอบคุณผ้ใู ห้ขอ้ มลู ทกุ ทา่ น 127 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สร้างวินยั ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขัน้ พ้นื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ เครอ่ื งมอื ทใ่ี ชใ้ นการวิจัย แนวคำถามในการสมั ภาษณแ์ บบเจาะลกึ (In – Depth Interview Guideline) สำหรบั คร ู ประจำชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1 เกี่ยวกบั การวัดและประเมนิ ผลการจดั การเรยี นการสอน คำชี้แจง โปรดตอบคำถามตามความเป็นจรงิ ตอนท่ี 1 ผู้สัมภาษณ์แนะนำตนเองและบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลอดจนสร้างบรรยากาศ ในการพดู คยุ ใหเ้ ปน็ กนั เองพรอ้ มกบั แจง้ ผใู้ หส้ มั ภาษณว์ า่ ขอ้ มลู ทไ่ี ดจ้ ะถกู ปดิ เปน็ ความลบั ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณเ์ กี่ยวกบั การวดั และประเมินผลกอ่ นเรยี น 1. ท่านมแี นวคดิ ในการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนอย่างไร ? 2. เคร่ืองมือวัดและประเมินผลประกอบด้วยอะไรบ้าง และท่านวัดและประเมินผล ด้านใดบา้ ง ? 3. ทา่ นวัดและประเมนิ ผลไดค้ รอบคลมุ นักเรยี นทุกคนหรอื ไม่ เพราะเหตใุ ด ? 4. ทา่ นวัดและประเมินผลได้ครอบคลุมทุกจดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้หรือไม่ เพราะเหตุใด ? 5. ท่านแก้ไขปัญหาการวัดและประเมินผลที่ไม่ครอบคลุมนักเรียนทุกคนและไม่ ครอบคลมุ ทุก จดุ ประสงค์การเรยี นรู้หรือไม่ อยา่ งไร ? ข้ันตอนท่ี 2 สัมภาษณ์เกี่ยวกบั การวดั และประเมนิ ผลระหวา่ งเรยี น 1. ท่านวดั และประเมนิ ผลไดค้ รอบคลมุ นักเรยี นทกุ คนหรอื ไม่ เพราะเหตใุ ด ? 2. ท่านวดั และประเมินผลไดค้ รอบคลุมจุดประสงค์การเรยี นรหู้ รอื ไม่ เพราะเหตุใด ? 3. ท่านวัดและประเมินผลด้านใดบ้าง และเคร่ืองมือวัดและประเมินผลประกอบด้วย อะไรบ้าง ? 4. ท่านแก้ไขปัญหาเรื่องการวัดและประเมินผลที่ไม่ครอบคลุมนักเรียนทุกคน หรือไม่ ครอบคลมุ ทกุ จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรูห้ รือไม่ อย่างไร ? ขั้นตอนท่ี 3 สมั ภาษณ์เกี่ยวกับการวดั และประเมินผลหลังเรียน 1. ท่านวัดและประเมินผลด้านใดบ้าง และเคร่ืองมือวัดและประเมินผลประกอบด้วย อะไรบ้าง ? 2. ทา่ นวัดและประเมนิ ผลไดค้ รอบคลุมนกั เรียนทกุ คนหรือไม่ เพราะเหตุใด ? 3. ท่านวัดและประเมินผลไดค้ รอบคลมุ ทุกจดุ ประสงค์การเรียนรู้หรอื ไม่ เพราะเหตใุ ด ? 4. ท่านท่านแก้ไขปัญหาเรื่องการวัดและประเมินผลท่ีไม่ครอบคลุมนักเรียนทุกคน หรือ ไม่ครอบคลุมทกุ จุดประสงค์การเรยี นร้หู รอื ไม่ อย่างไร ? ตอนท่ี 2 การสรปุ ประเดน็ ที่ได้จากการสนทนาส้นั ๆ และกล่าวขอบคุณผู้ใหข้ ้อมลู ทุกทา่ น 128 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวินยั ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขน้ั พ้นื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ เคร่ืองมือทีใ่ ชใ้ นการวิจยั แนวคำถามในการสัมภาษณแ์ บบเจาะลึก (In – Depth Interview Guideline) สำหรับครูโรงเรียน Chiang Mai Korean School เก่ียวกับสภาพทางภมู ิศาสตร์ ทำเลทีต่ ้ังและปัจจัยต่างๆ ท่สี ง่ ผลกระทบต่อการเสริมสร้างวนิ ัยในสถานศกึ ษา ระดับการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐานของประเทศเกาหลใี ต้ คำชีแ้ จง โปรดตอบคำถามตามความเป็นจริง ตอนที่ 1 ผู้สัมภาษณ์แนะนำตนเองและบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลอดจนสร้างบรรยากาศ ในการพดู คยุ ใหเ้ ปน็ กนั เองพรอ้ มกบั แจง้ ผใู้ หส้ มั ภาษณว์ า่ ขอ้ มลู ทไ่ี ดจ้ ะถกู ปดิ เปน็ ความลบั ขนั้ ตอนท่ี 1 สมั ภาษณเ์ กย่ี วกบั สภาพทางภมู ศิ าสตร์ ทำเลทตี่ งั้ และปจั จยั ตา่ ง ๆ ทส่ี ง่ ผลกระทบ ต่อการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ของประเทศเกาหลใี ต้ 1. โรงเรียนของทา่ นตงั้ อย่ทู ใี่ ด และลักษณะภูมิประเทศเปน็ อยา่ งไร ? 2. การคมนาคมในเขตบริการทางการศกึ ษาของโรงเรยี นสะดวกหรือไม่ อยา่ งไร ? 3. โรงเรียนของทา่ นมมี ลภาวะต่างๆ ไดแ้ ก่ กลิ่น เสียง อากาศ ฝุ่นละออง ควันไฟ ฯลฯ รบกวนในขณะจัดการเรียนการสอนหรือไม่ อย่างไร ? 4. มลภาวะตา่ งๆ ตามข้อ 3. มคี วามรุนแรงตอ่ การเรียนการสอนหรอื ไม่ อย่างไร ? 5. ปัจจัยด้านบุคคลมีผลกระทบต่อการการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการ ศกึ ษาระดับการศกึ ษาขัน้ พื้นฐานหรอื ไม่ อยา่ งไร ? 6. หน่วยงานท่ีทำหน้าท่ีกำกัดมลภาวะปฏิบัติหน้าท่ีได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะเหตุใด ? 7. ในฤดูฝนโรงเรยี นประสบกบั อทุ กภัยหรือไม่ และมคี วามรุนแรงในระดบั ใด ? 8. ในฤดูแล้งโรงเรียนของท่านประสบกับปัญหาภัยแล้งหรือไม่ และมีความรุนแรงใน ระดับใด ? ตอนท่ี 2 การสรปุ ประเดน็ ทไี่ ด้จากการสนทนาสั้นๆ และกลา่ วขอบคุณผูใ้ หข้ ้อมูลทกุ ท่าน 129 รูปแบบและกลไกการเสรมิ สร้างวินัยในสถานศกึ ษาระดับการศึกษาข้ันพ้นื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ เครอ่ื งมือท่ใี ช้ในการวิจยั แนวคำถามในการสมั ภาษณแ์ บบเจาะลึก (In – Depth Interview Guideline) สำหรับ ครูประจำชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1 เก่ียวกบั การเสรมิ สร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนการสอน คำช้แี จง โปรดตอบคำถามตามความเป็นจริง ตอนท่ี 1 ผู้สัมภาษณ์แนะนำตนเองและบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลอดจนสร้างบรรยากาศ ในการพดู คยุ ใหเ้ ปน็ กนั เองพรอ้ มกบั แจง้ ผใู้ หส้ มั ภาษณว์ า่ ขอ้ มลู ทไี่ ดจ้ ะถกู ปดิ เปน็ ความลบั ขนั้ ตอนที่ 1 สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเสริมสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนการสอนสำหรับ ครปู ระจำช้ันมธั ยมศึกษาปที ี่ 1 1. ท่านคิดว่าสภาพแวดล้อมในห้องเรียนส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนหรือไม่ เพราะเหตุใด ? 2. ท่านคดิ วา่ ใครมสี ่วนเก่ียวขอ้ งในการจดั สภาพแวดล้อมในหอ้ งเรยี น เพราะเหตุใด ? 3. ท่านจดั สภาพแวดล้อมในห้องเรียนหรอื ไม่ เพราะเหตุใด ? 4. ท่านจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนอย่างไร และเกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน หรอื ไม่ อยา่ งไร ? 5. ทา่ นใชเ้ กณฑอ์ ะไรในการจัดที่นง่ั ของนักเรียน เพราะเหตุใด ? 6. การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนส่งผลต่อการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หรือไม่ อย่างไร ? 7. ท่านใช้เวลานานเท่าในการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยใช้การเสริมสร้าง บรรยากาศในการจัดการเรียนการสอน และเกิดผลอย่างไร ? ตอนท่ี 2 การสรุปประเดน็ ที่ได้จากการสนทนาสัน้ ๆ และกลา่ วขอบคณุ ผู้ใหข้ ้อมูลทุกท่าน 130 รปู แบบและกลไกการเสรมิ สร้างวนิ ัยในสถานศกึ ษาระดับการศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐานของประเทศเกาหลีใต ้ เครอื่ งมอื ทใ่ี ช้ในการวิจยั แนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลกึ (In – Depth Interview Guideline) สำหรบั ชุมชนเก่ียวกบั ระดบั การศกึ ษา อาชีพ เศรษฐกิจของชมุ ชนและ ความคาดหวงั ของผูป้ กครองนกั เรียนทมี่ ตี อ่ การเสริมสร้างวินัย ในสถานศกึ ษาระดับการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐานของประเทศเกาหลีใต้ คำชีแ้ จง โปรดตอบคำถามตามความเปน็ จริง ตอนที่ 1 ผู้สัมภาษณ์แนะนำตนเองและบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลอดจนสร้างบรรยากาศ ในการพดู คยุ ใหเ้ ปน็ กนั เองพรอ้ มกบั แจง้ ผใู้ หส้ มั ภาษณว์ า่ ขอ้ มลู ทไี่ ดจ้ ะถกู ปดิ เปน็ ความลบั ขน้ั ตอนที่ 1 สมั ภาษณเ์ กย่ี วกบั ระดบั การศกึ ษา อาชพี เศรษฐกจิ ของชมุ ชน และความคาดหวงั ของผปู้ กครองนกั เรียนทมี่ ตี อ่ การการเสริมสร้างวนิ ัยในสถานศึกษาข้ันพื้นฐาน 1. ท่านคิดว่าการศึกษาทำให้คุณภาพชีวิตดขี ึน้ หรอื ไม่ เพราะเหตใุ ด ? 2. ท่านคิดอย่างไรกบั คำกลา่ วท่ีว่า “ การศึกษา คือ การลงทนุ ” ? 3. ในชุมชนที่ท่านอาศัยอยู่หรือชุมชนใกล้เคียงมีผู้ท่ีสำเร็จการศึกษาสูง และมีงานทำใน ตำแหนง่ สงู หรือเป็นขา้ ราชการตลอดจนรบั เงินเดือนจำนวนมากหรือไม่ ? 4. บุตรของท่านใหค้ วามสนใจตอ่ การเรียนอยใู่ นระดับทน่ี ่าพอใจหรือไม่ เพราะเหตุใด ? 5. หลังจากบุตรของท่านสำเร็จการศึกษาขั้นพ้ืนฐานแล้ว ท่านส่งเสริมให้บุตรศึกษาต่อ ในระดับสงู ขน้ึ หรือไม่ เพราะเหตใุ ด ? 6. ท่านส่งเสริม สนบั สนุนการศึกษาของบุตรหรือไม่ อยา่ งไร ? 7. ท่านสง่ เสริม สนบั สนนุ การจัดการศึกษาของโรงเรียนหรอื ไม่ อย่างไร ? 8. ทา่ นมีความคาดหวงั ในการศกึ ษาของบุตรหรือไม่ เพราะเหตุใด ? 9. ท่านสำเรจ็ การศึกษาสูงสดุ ในระดับใด และจากสถานบันการศึกษาใด ? 10. ปัจจุบนั ทา่ นประกอบอาชพี อะไร และมรี ายไดต้ ่อปีประมาณเทา่ ใด ? 11. ทา่ นมรี ายรบั สมดุลกบั รายจ่ายในครอบครวั หรอื ไม่ เพราะเหตุใด ? 12. ทา่ นมีบตุ รจำนวนเท่าใด และมีบุตรท่ีกำลงั รบั การศกึ ษาอยูจ่ ำนวนเทา่ ใด ? 13. ทา่ นไดม้ อบหมายงานใหบ้ ุตรช่วยเหลอื ครอบครัวหรอื ไม่ เวลาใด อย่างไร ? 14. ทา่ นต้องการใหบ้ ตุ รของทา่ นศกึ ษาต่อในระดบั สูงข้ึนหรอื ไม่ เพราะเหตุใด ? 15. ท่านสง่ เสรมิ สนับสนนุ ให้บตุ รของท่านเปน็ คนอย่างไร เพราะเหตใุ ด ? ตอนท่ี 2 การสรปุ ประเด็นทไี่ ด้จากการสนทนาสนั้ ๆ และกล่าวขอบคณุ ผ้ใู ห้ขอ้ มูลทกุ ทา่ น 131 รูปแบบและกลไกการเสริมสรา้ งวนิ ยั ในสถานศึกษาระดบั การศกึ ษาขั้นพื้นฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ เครือ่ งมือที่ใชใ้ นการวิจยั แบบสงั เกตพฤตกิ รรมดา้ นวนิ ยั ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ในสถานศกึ ษา ระดับการศึกษาขน้ั พนื้ ฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ รายการสงั เกต ความถี ่ พฤตกิ รรมของนกั เรียน (✓) 1. ดา้ นความรบั ผดิ ชอบบริเวณทีไ่ ด้รับมอบหมาย (Zone) 1.1 เกบ็ ขยะ ทำความสะอาดบรเิ วณโรงเรียนและใน อาคารเรยี น 1.2 ทำความสะอาดห้องเรยี น และกระดานดำ 1.3 ทำความสะอาดหอ้ งนำ้ 1.4 ทิ้งขยะในทีท่ โี่ รงเรยี นจดั ไว้ให้ 2. ด้านความขยนั หม่ันเพียร 2.1 มาโรงเรียนแต่เช้าเป็นปรกต ิ 2.2 ใฝร่ ู้ ใฝ่เรยี น 2.3 ทำงานเสรจ็ ตามเวลาทก่ี ำหนดไว ้ 2.4 เรยี นเต็มเวลา ไม่ขาดเรียนโดยไม่มีเหตุจำเป็น 3. ดา้ นความซอ่ื สัตย์สุจริต 3.1 ไม่ถอื เอาของคนอ่นื ที่ไม่ใช่ของตนเอง 3.2 ไม่โกหก 3.3 พดู สอ่ เสยี ด 3.4 ไม่เคยทุจรติ ในการสอบ 3.5 ไม่เคยทุจริตเงินกองทนุ สวสั ดิการหอ้ งเรียน 4. ด้านความอดทนอดกลัน้ 4.1 รักการทำงานหนักเปน็ นสิ ยั 4.2 ไมโ่ กรธงา่ ย 4.3 ไม่ทำตามใจตนเองในทางท่ผี ดิ 4.4 ชอบช่วยเหลือผูท้ ดี่ อ้ ยกวา่ 132 รูปแบบและกลไกการเสริมสรา้ งวินัยในสถานศกึ ษาระดบั การศึกษาข้นั พน้ื ฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ เครื่องมอื ท่ีใชใ้ นการวิจัย วัน เดอื น ปี สถานท่ี บนั ทกึ ภาคสนาม (Field Note) เหตกุ ารณ์ วิเคราะห ์ หมายเหตุ 133 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวนิ ัยในสถานศกึ ษาระดบั การศกึ ษาข้นั พ้ืนฐานของประเทศเกาหลใี ต ้ คณะผจู้ ัดทำรายงานการวจิ ยั รปู แบบและกลไกการเสรมิ สร้างวินยั ในสถานศกึ ษาระดับการศึกษาข้นั พืน้ ฐาน ของประเทศเกาหลใี ต ้ ทป่ี รกึ ษา เลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา ดร.ชัยพฤกษ ์ เสรีรกั ษ ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ ์ ผอู้ ำนวยการสำนักมาตรฐานการศกึ ษา นางเกื้อกูล ชง่ั ใจ และพฒั นาการเรียนร้ ู รายนามผ้ทู รงคณุ วุฒวิ ิพากษ์งานวจิ ัย ศาสตราจารย์ ดร.พจน ์ สะเพียรชัย ผู้ทรงคณุ วฒุ ิ ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑรู ย์ สินลารัตน์ คณบดวี ทิ ยาลัยครศุ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธุรกจิ บณั ฑติ ย ์ นายวรัท พฤกษากลุ นนั ท์ ผู้อำนวยการสำนักการลูกเสือ ยวุ กาชาด และกจิ การนกั เรยี น ดร.บญุ ลือ ทองอยู่ ผู้ทรงคณุ วฒุ ิ คณะศึกษาศาสตร ์ มหาวทิ ยาลยั บรู พา ดร. ผดงุ ชาต ิ สวุ รรณวงศ์ ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ คณะศึกษาศาสตร ์ มหาวทิ ยาลยั บรู พา ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ นาวาตรี ดร.พงศ์เทพ จริ ะโร อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรู พา นายสมควร วรสนั ต์ ขา้ ราชการบำนาญ ตำแหนง่ ศกึ ษานิเทศก์ นายทองสขุ รวยสูงเนิน ข้าราชการบำนาญ ตำแหนง่ ศกึ ษานเิ ทศก์ นายจริ ฏั ฐ์ แจม่ สว่าง ข้าราชการบำนาญ โรงเรียนสวนกหุ ลาบวทิ ยาลยั นนทบรุ ี ดร.ศริ ิลักษณ ์ เส็งม ี ผู้อำนวยการโรงเรียนวดั บญุ ญราศรี นางพยุงศรี วงั โส ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นบา้ นเขาชีจรรย ์ นายวันชยั ทองเกดิ ผู้อำนวยการโรงเรียนมธั ยมวัดหนองแขม 134 รปู แบบและกลไกการเสริมสรา้ งวนิ ัยในสถานศกึ ษาระดบั การศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐานของประเทศเกาหลีใต้ นายนพดล เด่นดวง ผอู้ ำนวยการ โรงเรยี นกาญจนาภเิ ษกวิทยาลยั นครปฐม (พระตำหนกั สวนกหุ ลาบมธั ยม) นายวทิ ยา อรณุ แสงฉาน ผอู้ ำนวยการ โรงเรียนจุฬาภรณราชวทิ ยาลยั ชลบรุ ี นางชไมพร งามย่ิงยวด ครูประจำการโรงเรยี นมัธยมวดั หนองแขม นางสาวเกศนิ ี หลา้ ปนิ ตา ครูประจำการโรงเรยี นสามเสนวทิ ยาลัย รายชอ่ื นกั วจิ ัย มหาวิทยาลัยนครพนม ดร.เบญจ ์ กิตคิ ุณ บรรณาธิการเอกสาร ผอู้ ำนวยการกลมุ่ พัฒนานโยบายดา้ นการเรียนร ู้ นายสำเนา เนื้อทอง ประสานการจดั พิมพ ์ นักวชิ าการศึกษาชำนาญการ นายสภุ สทิ ธิ์ ภภู ักดี ผรู้ บั ผิดชอบโครงการ ผ้อู ำนวยการกลุ่มพฒั นานโยบายดา้ นการเรยี นรู้ นายสำเนา เน้อื ทอง นกั วชิ าการศกึ ษาชำนาญการพเิ ศษ นางสาวจกั ษณา อธิรัตน์ปญั ญา นักวชิ าการศกึ ษาชำนาญการพเิ ศษ นางสาวจนั ทมิ า ศุภรพงศ ์ นกั วิชาการศึกษาชำนาญการ นางสาวสมพร พรมดี นกั วิชาการศึกษาชำนาญการ นางสาวณุตตรา แทนขำ นักวชิ าการศึกษาชำนาญการ นายสมชาย นยั เนตร นักวชิ าการศึกษาชำนาญการ นายสุภสทิ ธ์ิ ภภู ักด ี หน่วยงานทรี่ บั ผดิ ชอบ กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรยี นรู ้ สำนกั มาตรฐานการศกึ ษาและพฒั นาการเรยี นรู ้ สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา กระทรวงศึกษาธิการ โทร. 02 668 7123 ต่อ 2516 และ 2560 โทรสาร 02 243 1129 135

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน