ภ ม ป ญญา ว ฒนธรรม การทำล กประคบ

ลูกประคบ คือสิ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ที่ใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาใช้ในการรักษาหรือเพื่อช่วยในการไหลเวียนของโลหิต ต่อมาก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาลูกประคบเรื่อยมา เพื่อประโยชน์ในการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ส่วนผสมในการทำลูกประคบสมุนไพร[แก้]

  • การบูร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cinnamomum camphora ( L . ) J.S. Presl มีสรรพคุณเป็นยาระงับเชื้ออ่อนๆ เป็นยากระตุ้นหัวใจ ช่วยขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อยตามข้อ
  • เกลือ สามารถใช้ฆ่าเชื้อแก้อาการอักเสบได้ อีกทั้งเกลือยังมีความสามารถในการดูดความร้อน จะช่วยทำให้สรรพคุณทางยาของสมุนไพรซึมได้เร็วขึ้น
  • ผิวมะกรูด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCitrus hystrix DC. มีสรรพคุณในการรักษาอาการหน้ามืดเป็นลม แก้อาการวิงเวียน และบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ได้อีกด้วย
  • ขมิ้นชัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCurcuma longa Linn. Zingiberaceae มีสรรพคุณในการลดการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการแพ้ได้
  • ไพล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าZingiber cassumunar Roxb. มีสรรพคุณในการลดอาการปวด บวมแดงและแก้ฟกช้ำได้ด้วย
  • ใบมะขาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn. มีสรรพคุณในการบำรุงผิวพรรณ
  • ใบส้มป่อย ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia concinna (Willd.) DC. แก้โรคผิวหนัง

อุปกรณ์สำหรับการทำลูกประคบ[แก้]

  1. ผ้าขาวบาง ควรจะเป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบ เพื่อไม่ให้ตัวสมุนไพรหลุดออกมาจากตัวผ้าได้
  2. สมุนไพรข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ก่อนนำมาทำลูกประคบต้องทำความสะอาด แล้วหั่นหรือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  3. หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ
  4. เชือกที่ไว้ใช้สำหรับมัดลูกประคบ

วิธีการทำลูกประคบ[แก้]

  1. นำไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด มาทำความสะอาด แล้วมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ตามที่ต้องการ
  2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย มาผสมกับส่วนผสมในข้อ 1 แล้วใส่เกลือและการบูร ผสมให้เข้ากัน
  3. แบ่งส่วนผสมที่ได้ออกเป็นส่วนๆ ใส่ในผ้าที่ได้เตรียมไว้ แล้วใช้เชือกที่เตรียมไว้มัดให้แน่น

สรรพคุณ[แก้]

หากยังไม่ต้องการนำลูกประคบมาใช้งาน เราสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 3-5 วัน ควรเก็บให้อยู่ในที่แห้ง และเมื่อต้องการนำลูกประคบออกมาใช้งาน เราเพียงแค่นำมานึ่งก่อนนำไปใช้งานประมาณ 10-15 นาที และก่อนใช้งานควรทดสอบก่อนด้วยว่าลูกประคบร้อนเกินไปหรือไม่

การทำลูกประคบสมุนไพร คือ การใช้สมุนไพรหลายๆ อย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยนำมานึ่งให้ร้อนประคบบริเวณปวดหรือเคล็ดขัดยอกงัยละท่าน….อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตได้ดีเยี่ยม ด้วยศาสตร์แห่งการคิดค้นที่สามารถนำสารสำคัญในสมุนไพรมาช่วยในการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้อีกด้วย ประโยชน์ของลูกประคบโดยรวมก็ ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัด ยอก และลดปวดได้

อุปกรณ์การทำลูกประคบ

1. ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ขนาด กว้าง 35 x ยาย 35 เซนติเมตร 2 ผืน (เอาไว้ห่อนั่นละ) 2. เชือก หรือ หนังยาง 3. ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ 4. หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ 5. จานหรือชามอลูมิเนียมเจาะรู (เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้) รองลูกประคบ

ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ (ลูกประคบ 2 ลูก) สาเหตุที่ทำ 2 ก็เพราะเอาไว้เปลี่ยนเวลานำอีกลูกขึ้นนึ่งนั่นเอง จะได้ไม่ต้องรอ…

1.

ไพล (500 กรัม) แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ 2. ผิวมะกรูดถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ (200 กรัม) มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน 3. ตะไคร้บ้าน (100 กรัม) แต่งกลิ่น 4. ใบมะขาม (300 กรัม) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว 5. ขมิ้นชัน (100 กรัม) ช่วยลดการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง 6. เกลือ (1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่าน ผิวหนังได้สะดวกขึ้น 7. การบูร (2 ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ 8. ใบส้มป่อย (100 กรัม) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน 9. ใบเป้า

วิธีการทำลูกประคบ

1. หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด ตำมะกรูด ตำพอหยาบๆ ตำพอหยาบๆ (เวลาประคบจะได้ไม่ระคายเคือง) 2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย (เฉพาะใบ) ผสมกับสมุนไพรข้อ 1 เสร็จ แล้วให้ใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่อย่าแฉะจนเป็นน้ำเด้อ… 3. แบ่งตัวยาที่เรียบร้อยแล้ว ใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบประมาณลูกส้มโอ รัดด้วยเชือกให้แน่น (ลูกประคบเวลาถูกความร้อนยาสมุนไพรจะฝ่อลง ให้รัดใหม่ให้แน่นเหมือนเดิม) 4. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที 5. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่างๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ

วิธีการประคบ

1. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแครง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบสมุนไพร 2. นำลูกประคบที่รับร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ (การทดสอบความร้อนของลูกประคบคือ แตะที่ท้องแขนหรือหลังมือ) 3. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆ ต้องทำด้วยความเร็ว ไม่วางแช่นานๆ เพราะคนไข้จะทนร้อนไม่ได้มาก 4. เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน (นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ) ทำซ้ำตามข้อ 2,3,4ประโยชน์ของการประคบ (จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน)

1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย 2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง 24-48 ชั่วโมง 3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ 4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ผืดตัวออก 5. ลดการติดขัดของข้อต่อ 6. ลดอาการปวด 7. ช่วยเเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต