คนได บำนาญ ปกส.ม ส ทธ เบ กร กษาพยาบาลร เปล า

นางกนกนันท์ วีริยานันท์ หัวหน้าสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ สาขาพระประแดง กล่าวว่า ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 (ทำงานกับนายจ้าง ภาคบังคับ) และผู้ประกันตน มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) ที่ส่งเงินสมทบครบตามระยะเวลาที่กำหนด จะมีสิทธิได้รับเงินชราภาพประกันสังคม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เงินบำเหน็จชราภาพ กับเงินบำนาญชราภาพ โดยจะได้รับก็ต่อเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

ในส่วนของเงินบำเหน็จชราภาพคือ เงินที่ผู้ประกันตนจะได้รับเป็นเงินก้อน สำหรับผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 1-179 เดือน ส่วนเงินบำนาญชราภาพคือิ เงินที่ผู้ประกันตนจะได้รับรายเดือนไปตลอดชีวิต สำหรับผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี โดยคำนวณจากอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานคำนวณ ซึ่งปัจจุบันฐานคำนวณค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท

ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39 ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนหรือ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ โดยสูตรคำนวณอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานคำนวณ ซึ่งปัจจุบันฐานคำนวณค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 4,800 บาท เท่ากับจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 960 บาทต่อเดือน ทั้งนี้เมื่อเกิดสิทธิรับบำนาญชราภาพแล้ว ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบต่อเนื่อง ประกันสังคมจะบวกเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนได้รับเงินบำนาญชราภาพเพิ่มขึ้น

สำหรับตัวอย่างการคำนวณเงินบำนาญชราภาพ กรณีผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายค่าจ้างอยู่ที่ 10,000 บาท ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 2,000-2,750 บาท ,กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบค่าจ้างเฉลี่ย 12,000 บาท ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 2,400-3,300 บาท ,กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 3,000-4,125 บาท กรณีส่งเงินสมทบ 21-25 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 4,350-5,250 บาท กรณีส่งเงินสมทบ 26-30 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 5,475-6,375 บาท

ผู้ประกันตนแต่ละคนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับฐานค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายและระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบของแต่ละบุคคล ผู้ประกันตนสามารถตรวจเช็คเงินสมทบที่นำส่งประกันสังคมว่าได้ส่งมาแล้วกี่เดือน เช็คข้อมูลได้ที่แอปพลิเคชัน sso Connect หรือ LINE @ssothai หรือที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

ผู้ประกันตนที่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือน ซึ่งเป็นผู้ประกันตนใน ม.33 และ ม.39 รู้กันหรือยังว่าอายุเท่าไหร่ถึงจะได้เงินชราภาพจากประกันสังคม แล้วจะได้รับในรูปแบบไหน รับเป็นเงินก้อน หรือ เงินรายเดือน แล้วขั้นตอนการรับเงินมีอะไรบ้าง ต้องทำอย่างไร มาหาคำตอบกันได้เลยในบทความนี้

เงินชราภาพ ประกันสังคม คืออะไร ใครบ้างมีสิทธิรับเงิน?

เงินผู้สูงอายุ หรือ เงินบำเหน็จ บำนาญ ในระบบประกันสังคม โดยผู้ที่ได้รับสิทธิเงินสูงอายุ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (33, 39, 40)

  • ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 – มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
  • ผู้ประกันตน ม.40 – มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

กลุ่มที่ 2 ทายาทของผู้ประกันตนที่เสียชีวิต

  • ลูก หรือ ลูกบุญธรรมที่ชอบด้วยกฏหมาย
  • สามี-ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • บิดา-มารดา ที่มีชีวิตอยู่

เงินคนชรา ประกันสังคม จะได้รับเมื่อไหร่

มาตรวจสอบสิทธิกันว่าผู้ประกันตนจะได้รับเงินคนชรา ประกันสังคมยามเกษียณแบบไหน เป็นเงินก้อนจ่ายครั้งเดียว หรือ เงินรายเดือน ตลอดชีวิต ซึ่งผู้สูงอายุ

ไม่สามารถเลือกรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญได้

แต่จะขึ้นอยู่กับ

ระยะเวลาส่งเงินสมทบประกันสังคม

ตามเงื่อนไข ดังนี้

รับเงินก้อนเดียว หรือ บำเหน็จ

ผู้ที่จะได้รับเงินชราภาพแบบก้อนเดียว จะต้องจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

  1. จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน รับบำเหน็จเท่ากับเงินส่วนของเงินสงเคราะห์บุตรและชราภาพคิดเป็นร้อยละ 3 ของค่าจ้างแต่ละปี
  2. จ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน ได้บำเหน็จเท่ากับเงินส่วนของเงินสงเคราะห์บุตรและชราภาพบวกกับเงินที่นายจ้างสมทบ หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของค่าจ้างแต่ละปี

ทั้งนี้ ผู้สมัครเป็นผู้ประกันตน ม. 39 ได้นั้น ต้องเคยเป็นผู้ประกันตน ม. 33 มาแล้ว 12 เดือน

รับเงินรายเดือน หรือ บำนาญ

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน แม้ว่าจะหยุดส่งไปช่วงหนึ่งแล้วกลับมาเข้าระบบประกันสังคมใหม่ หรือ ส่งติดต่อกัน 15 ปี จะมีสิทธิ์รับบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

เช็คเงินชราภาพประกันสังคม ใครได้เท่าไหร่? เทียบสูตรคำนวณบำนาญแบบง่าย ๆ

เงินประกันสังคมที่ผู้ประกันตนจะได้รับเงินมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการส่งเงินสมทบ โดยมีเช็คเงินชราภาพประกันสังคม และวิธีคำนวณแบบง่าย ๆ 2 วิธี

ผู้ประกันตนที่รับเงินบำนาญรายเดือน

เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย ( สูงสุด 15,000 บาท) โดยคิดคำนวณเงินบำนาญจากค่าจ้างแล้วคูญด้วย 20%

ตัวอย่างเช่น รายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป คำนวณเงินบำนาญได้เป็น 15,000 x 20% เท่ากับได้รับเงินบำนาญเดือนละ 3,000 บาท

ทั้งนี้ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญตามข้อ 1 ขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

[20+ (1.5 x จำนวนปี)] x 15,000 100

คำนวณรับเงินก้อน หรือ บำเหน็จ

แบบที่ 1 สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน เมื่ออายุ 55 ปี ขึ้นไปจะได้รับเงินบำเหน็จมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ

ตัวอย่าง ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน จะได้รับ เท่ากับ 300 x 10 = 3,000 บาท

แบบที่ 2 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่ง รวมทั้งผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี สิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2547 เจ้าหน้าที่วินิจฉัยในวันเดียวกัน โดยมีรายการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน ดังนี้

ปีจำนวนเงินสมทบนายจ้างผู้ประกันตน 25428508501,700 25431,5501,5503,100 25442,3002,3004,600 25453,2003,2006,400 25464,1004,1008,200 25472,8002,8005,600 รวม14,80014,80029,600

ทั้งนี้ ต้องคำนวณ รวมกับ ผลประโยชน์ต่างตอบแทนที่ประกันสังคมกำหนด โดยมีวิธีคำนวณผลประโยชน์ต่างตอบแทนดังนี้

วิธีคำนวณผลประโยชน์ตอบแทน

ปีเงินสมทบเงินสมทบสะสม x อัตราผลประโยชน์ตอบแทน 25421,7001,700 x 2.4% 40.80 25433,100(1,700 + 3,100 = 4,800 ) x 3.7%177.60 25444,600(4,800 + 4,600 = 9,400) x 4.2%394.80 25456,400(9,400 + 6,400 = 15,800) x 4.3%679.40 25468,200(15,800 + 8,200 = 24,000) x 6.5%1,560 25475,600(24,000 + 5,600 = 29,600) x 2.00% x 11/12542.67

ตรวจสอบเงินคนชรา ประกันสังคม ผ่านแอปฯ SSO Connect หรือ แอปฯ ทางรัฐ

ขอคืนเงินสูงอายุก่อนอายุ 55 ปีได้หรือไม่

คำตอบ คือ

ไม่ได้

แม้ว่าจะส่งเงินมาครบ 15 ปี แต่ถ้าอายุยังไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องรอจนกว่าอายุจะครบเท่านั้น

ยกเว้น 2 กรณีที่สามารถรับเงินประกันสังคมคืน ก่อนอายุ 55 ปีได้ คือ

  1. ผู้ประกันตนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ ก่อนอายุ 55 ปี จะคืนเป็นเงินบำเหน็จ
  2. ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี ทายาทจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จเท่านั้น ไม่มีสิทธิรับเป็นเงินบำนาญ แม้จะส่งเงินสมทบครบ 15 ปีแล้วก็ตาม

ขอรับเงินบางส่วน ก่อนอายุ 55 ปีได้หรือไม่

โดยปกติแล้ว ประกันสังคมกำหนดให้ได้รับเงินประกันสังคม เมื่ออายุ 55 ปี และลาออกจากประกันสังคมเท่านั้น แต่ขณะนี้กำลังศึกษาแนวทางที่จะให้ผู้ประกันตนเลือกขอรับบำเหน็จหรือบำนาญล่วงหน้าได้บางส่วนก่อนอายุ 55 ปี

แม้มีข้อดีคือ สามารถบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินได้ แต่ก็มีข้อเสียคือ หากใช้สิทธิรับเงินล่วงหน้าไปแล้ว จะเหลือเงินบำเหน็จหรือบำนาญลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความมั่นคงของกองทุนประกันสังคมในระยะยาว

แล้วแบบไหนคุ้มกว่ากัน ระหว่าง บำเหน็จกับบำนาญ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าหลักการประกันสังคมต้องการให้ผู้สูงอายุมีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหลังเกษียณ ดังนั้น ผู้ประกันตน หากส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือนจะได้เงินบำเหน็จ

หากส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไปหรือทำงานเกิน 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญ เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถเลือกรับบำเหน็จได้

เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย

การรับเงินบำเหน็จ

ข้อดี ได้เงินก้อนใหญ่มาเลยทีเดียว เหมาะกับคนที่ต้องการใช้เงินก้อน ข้อเสีย จะได้บำเหน็จน้อยกว่าบำนาญ และมีโอกาสที่จะใช้เงินหมดก่อน หากอายุยืนอาจไม่มีเงินเพียงพอใช้ในบั้นปลายชีวิต

การรับเงินบำนาญ

ข้อดี ได้เงินมากกว่าและมีเงินใช้รายเดือนไปจนเสียชีวิต ข้อเสีย ไม่มีเงินก้อนสำหรับการลงทุนหากมีความต้องการ

ยื่นขอคืนเงินที่ไหน อย่างไร

  1. ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับเงินบำนาญผู้สูงอายุ โดยกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)
  2. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ของ 11 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  3. ยื่นขอสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา

จะได้รับเงิน เมื่อไหร่

  • เงินบำเหน็จ ได้รับภายใน 7-10 วันทำการ (ไม่นับวันหยุดราชการ) หลังจากได้รับการอนุมัติ
  • เงินบำนาญ หลังจากได้รับการอนุมัติ จะมีเงินโอนเข้าบัญชีภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป

สำหรับผู้ประกันตนที่วางแผนเกษียณอายุการทำงาน จะเห็นได้ว่าการจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนั้น มิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่า การทำงานจำนวนมากแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังคง มั่นใจได้ว่ามีเงินชราภาพไว้เป็นหลักประกัน เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้