ความส าค ญของโรคท ม ต อการเล ยงส ตว

ผู้ชายที่ติดเชื้อจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด มีหนองข้นสีเหลืองหรือเขียวไหลออกจากปลายท่อปัสสาวะ โดยอาจเกิดหลังมีเพศสัมพันธ์ เจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอักเสบ ต่อมลูกหมากอักเสบ ท่ออสุจิตีบตัน และเพิ่มโอกาสในการเป็นหมันในอนาคต

  • อาการในผู้หญิงอาจไม่มีหรือมีน้อย เช่น ตกขาวผิดปกติ มีลักษณะเป็นน้ำหรือเส้นบาง ๆ สีออกเขียวหรือเหลือง รู้สึกเจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ หากไม่ได้รับการรักษาโรคจะลุกลามและอาจก่อให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ท่อรังไข่ตีบตัน เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมีบุตรยาก ท้องนอกมดลูก รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

การป้องกันการติดเชื้อโรคหนองในแท้สามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองในหรือคู่นอนที่มีความเสี่ยง ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อยเพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคหนองในแท้เป็นประจำทุกปี

โรคหนองในเทียม (Chlamydia) เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียคลามีเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis) จากการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ติดเชื้อ อาการของโรคหนองในเทียมบางรายอาจไม่ปรากฏชัดเจน ส่วนบางรายจะแสดงอาการหลังได้รับเชื้อแล้วในระยะเวลา 1 – 3 สัปดาห์ และอาการจะแตกต่างกันตามเพศ ดังนี้

  • อาการในผู้ชาย มักพบว่ามีอาการปัสสาวะแสบขัด มีมูกใสหรือขุ่นไหลออกจากปลายท่อปัสสาวะ เกิดการอักเสบที่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ บางรายอาจไม่มีอาการซึ่งหากไม่ได้รักษา โรคอาจลุกลามและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในลักษณะเดียวกับโรคหนองในแท้ เช่น โรคไขข้ออักเสบ โรคตาอักเสบ โรคทวารหนักอักเสบ เป็นต้น
  • อาการในผู้หญิง ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการตะคริวหรือรู้สึกเจ็บใต้ท้องน้อย ประจำเดือนเปลี่ยนแปลง ตกขาวผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น รู้สึกเจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ เลือดออกหรือรู้สึกเจ็บระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่มีอาการเหล่านี้หรือมีความกังวลว่าตนเองติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองและบำบัดรักษาหากติดเชื้อ เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก การเป็นหมันเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับท่อรังไข่ ภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น

3.กลุ่มอาการภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์)

คือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) ที่สามารถพบได้ในของเหลว เช่น เลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำนมของผู้ที่ติดเชื้อ

ช่องทางการติดต่อที่สำคัญ ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีโดยไม่ป้องกัน
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  • การสัมผัสเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อผ่านผิวหนังที่มีแผลเปิดหรือถลอก
  • การรับเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อทั้งขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และการให้นมทารก

โดยเชื้อเอชไอวีจะทำให้ภูมิคุ้มกันของเม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลง เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อและเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ จำนวนเม็ดเลือดขาวและประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรคจะเสื่อมถอย ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้ออื่นและเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น วัณโรคและปอดบวม เป็นต้น

4.โรคไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการตับอักเสบเรื้อรังและมีสาเหตุการแพร่เชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัสเลือด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี โดยการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบสามารถติดต่อได้จากกลุ่มผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกายแต่ไม่แสดงอาการและมีโอกาสในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ เรียกว่า ‘พาหะ’ ซึ่งมักเป็นได้กับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีเท่านั้น สามารถแพร่เชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือเลือด เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เจ้าหน้าที่พยาบาลถูกเข็มฉีดยาที่มีเชื้อไวรัสตำมือ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้ที่ติดยาเสพติด การสัก การให้เลือด หรือแม่สู่ลูก เป็นต้น

ส่วนผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนมากไม่แสดงอาการ หรือมักมีอาการเรื้อรัง เช่น รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา ปวดท้อง มีไข้ น้ำหนักลด อารมณ์แปรปรวน ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นคัน เป็นต้น และเนื่องจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการผิดปกติทำให้ไม่ทราบว่าตนเองกำลังติดเชื้อ จะทราบก็ต่อเมื่ออาการปรากฏในช่วงที่ตับได้รับความเสียหายมากแล้ว โดยหากปล่อยไว้ไม่รับการรักษาอาจส่งผลให้เกิดโรคตับแข็งได้

เนื่องในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้จะเป็นวันรณรงค์ป้องกันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases; NCDs) มาทำความรู้จักกันว่ากลุ่มโรคนี้คืออะไรและสามารถป้องกันได้หรือไม่ อย่างไร

โรค NCDs คืออะไร

โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้

ตัวอย่างของโรค NCDs

  • โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคมะเร็งต่างๆ
  • โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง
  • โรคไตเรื้อรัง
  • โรคอ้วนลงพุง
  • โรคตับแข็ง
  • โรคสมองเสื่อม

พฤติกรรมเสี่ยง...ตัวการก่อโรค NCDs

สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ

ความรุนแรงของโรค NCDs

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

ปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงโรค NCDs

การป้องกันโรค NCDs ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเรา นั่นก็คือการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ผ่อนคลายความเครียด
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

เรียบเรียงโดย ศูนย์จัดการความรู้ผู้ป่วย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ศูนย์ต่อมไร้ท่อ เบาหวานและโภชนบำบัด อาคาร A ชั้น 19 8.00-20.00 (BKK Time) Hot line tel. +66 63 221 0957

20.00-8.00 (BKK Time) เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: