พรบ.คอมพ วเตอร ม ผลบ งค บใช ต งแต เม อใด

ตั้งแต่ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขพรบ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เพื่อประกาศใช้แทนฉบับเก่า เชื่อว่ายังมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ที่ยังไม่ทราบและยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของพรบ.ฉบับนี้ วันนี้เราจึงจะมาสรุปความสำคัญและความแตกต่างของพรบ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิมกับฉบับล่าสุดให้คุณได้ทราบกันภายในไม่กี่นาที

ความสำคัญของพรบ.คอมพิวเตอร์

พรบ.คอมพิวเตอร์ก็คือกฎหมายที่บังคับใช้กับการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ทั้งหลาย เนื่องด้วยปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มากมายอยู่ในอินเตอร์เน็ตที่ผ่านการนำเข้าและการเรียกดูจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป แท็บเลต และสมาร์ทโฟนจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏในโลกออนไลน์เหล่านั้นมีทั้งข้อมูลที่เป็นความจริง รวมถึงข้อมูลที่เป็นเท็จ อีกทั้งยังมีการกระทำซึ่งเป็นเจตนาของการนำเข้าข้อมูลที่บิดเบือน ปลอมแปลง ไปจนถึงการทำลายระบบเพื่อสร้างความเสียหายให้กับตัวบุคคลและส่วนรวม พรบ.คอมพิวเตอร์จึงเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญในการบังคับใช้ หากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น พรบ.ฉบับนี้จะช่วยให้ผู้กระทำผิดได้รับการลงโทษตามกฎหมายได้

ความแตกต่างของพรบ.คอมพิวเตอร์ฉบับปี 2550 และ ปี 2560

พรบ.คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ใช่พรบ.ฉบับแรกที่ถูกประกาศใช้ แต่เป็นฉบับที่ 2 ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาจากฉบับแรก โดยเน้นเรื่องของบทลงโทษ ได้แก่

การนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศและประชาชน จากที่พรบ.ฉบับเดิม กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี และปรับตั้งแต่ 6 หมื่นบาทแต่ไม่เกิน 2 แสนบาท เปลี่ยนเป็นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท รวมถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความแก่ประชาชน พรบ. ปี 2560 ก็ได้กำหนดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

ในประเด็นของผู้ให้บริการที่ไม่ลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ซึ่งระบุไว้ในพรบ.ฉบับเดิม ที่ผู้ให้บริการจะได้รับโทษก็ต่อเมื่อมีเจตนาที่จะสนับสนุนหรือยินยอมเท่านั้น แต่ในพรบ.ฉบับใหม่จะมีการระบุความรับผิดชอบก็ต่อเมื่อผู้ให้บริการร่วมมือหรือรู้เห็นเป็นใจเท่านั้น หากผู้ให้บริการได้รับการแจ้งเตือนแล้วลบข้อมูลเหล่านั้นทิ้งก็จะไม่ต้องรับโทษแต่อย่างใด ส่วนการส่งข้อความในลักษณะของ Spam mail ในพรบ. ปี 2560 ก็ได้มีการเพิ่มโทษจากโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท เป็นโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาทด้วย นอกจากนี้พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ยังได้มีการเพิ่มการกระทำที่ก่อความเสียหายให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 2 แสนบาท รวมถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบความมั่นคง ที่แต่เดิมไม่มีโทษเฉพาะ พรบ.ฉบับใหม่ได้มีการกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่น – 2 แสนบาท

ใครที่ยังไม่รู้ว่าพรบ.คอมพิวเตอร์มีการแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติมจากฉบับแรกและได้มีการประกาศใช้เรียบร้อยแล้ว ต้องทำการอัพเดทความรู้โดยด่วน เพราะหากพลาดพลั้งทำอะไรลงไปในโลกออนไลน์โดยไม่ได้ไตร่ตรองล่วงหน้า อาจจะเข้าข่ายการกระทำความผิดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นได้

ถ้ายังจำกันได้ถึงการผลักด้น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อปี 2559 และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค.2560

พรบ.คอมพ วเตอร ม ผลบ งค บใช ต งแต เม อใด

เพื่อการใช้ออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้

1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม

5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3

6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด

8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้

9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ

10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย

11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ

13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นจึงควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายได้

พรบ คอมพิวเตอร์ มีโทษอะไรบ้าง

กรณีไม่เกิดความเสียหาย จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท กรณีเกิดความเสียหาย จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 – 2 แสนบาท กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 5 – 20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 มีโทษอย่างไร

“ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

นำข้อมูลที่ผิด พ.ร.บ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์มีโทษอย่างไร

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

พรบคอมพิวเตอร์หมวดที่ 1 ว่าด้วยเรื่องอะไร

หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ