ขวดน ำพลาสต ก ม สายคล องแขน โรงงานผล ต

เตือนใช้ “ขวดพลาสติกซ้ำ” สำรองน้ำหวั่นภัยแล้ง ระวังได้เชื้อแบคทีเรียแทน

เผยแพร่: 17 ก.ค. 2558 17:23 ปรับปรุง: 18 ก.ค. 2558 11:17 โดย: MGR Online

กรมอนามัย เตือนใช้ขวดพลาสติกเก่าสำรองน้ำหวั่นภัยแล้ง เสี่ยงปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย เผยการเติมน้ำซ้ำๆ ในขวดพลากสติกพบปนเปื้อนเชื้อถึง 74% แนะทำความสะอาดถูกวิธี นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค โดยนำขวดพลาสติกเปล่าที่ผ่านการใช้งานแล้วมาใส่น้ำไว้สำหรับดื่ม หรือใช้ในครัวเรือนนั้น บางครั้งไม่ได้ผ่านการทำความสะอาดที่ถูกวิธี โดยเฉพาะบริเวณปากขวด และฝาขวดที่เกิดจากการใช้ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ขวดน้ำกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่มักพบมากในน้ำบรรจุขวดพลาสติกที่มีการเติมน้ำซ้ำๆ กันหลายครั้ง ซึ่งผลจากการเก็บน้ำดื่มบรรจุขวดโดยกรมอนามัย ปี 2557 เพื่อตรวจสอบ จำนวน 500 ตัวอย่าง พบมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 370 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 74 ประชาชนจึงควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะสารเคมีที่เป็นอันตรายจากพลาสติก เพราะการขัดถูเพื่อล้างทำความสะอาดขวดน้ำ อาจทำให้เกิดรอยขูดขีด หรือการบุบชำรุดของขวดที่เกิดจากการนำมาใช้ซ้ำ หรือหากขวดน้ำตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความร้อน หรือได้รับแสงแดดอาจทำให้สารเคมีจากขวดพลาสติกปนเปื้อนลงในน้ำที่อยู่ในขวดได้

นพ.พรเทพ กล่าวว่า กรณีที่จำเป็นต้องนำขวดพลาสติกเก่ามาใช้ก็ควรทำความสะอาดให้ทั่วถึง และต้องสังเกตลักษณะของขวด หากมีรอยชำรุด รั่ว แตกร้าว บุบ ก็ไม่ควรนำมาใช้ หรือหากเป็นขวดที่มีการปนเปื้อนดินก็ควรหลีกเลี่ยงในการนำมาใช้ซ้ำเช่นกัน และสำหรับพื้นที่ทุรกันดารที่ขาดแคลนน้ำสะอาด ก่อนนำมาดื่มควรต้มให้เดือดอย่างน้อย 5 นาที เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด ส่วนการนำน้ำจากแม้น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำผิวดินแหล่งอื่นๆ มาใช้โดยตรง ควรปรับปรุงคุณภาพน้ำ และฆ่าเชื้อโรคก่อน ด้วยการแกว่งสารส้มชนิดก้อนในน้ำ และให้สังเกตตะกอนในน้ำ หากเริ่มจับตัวให้นำสารส้มออกตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอน แล้วนำเฉพาะน้ำใสมาฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หยดทิพย์ อ.32 ของกรมอนามัย ซึ่งเป็นสารละลายคลอรีนชนิดเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วน 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเติมผงปูนคลอรีนตามปริมาณที่กำหนด จากนั้นปล่อยให้มีระยะเวลาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อย 30 นาที ก่อนนำไปใช้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ

“ที่สำคัญควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนตักน้ำใส่ภาชนะบรรจุ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์จากมือที่ไม่สะอาด ทำให้ประชาชนได้บริโภคน้ำที่สะอาด ปลอดภัย เป็นการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ ซึ่งจากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-12 กรกฎาคม 2558 พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 571,183 ราย เสียชีวิต 6 ราย ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 68,524 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะนิยมนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ ที่ช่วยห่อหุ้มสินค้าจากแหล่งผลิตไปวางขายยังผู้บริโภค เพราะสามารถขึ้นรูปได้ง่าย สะอาด คงทน และน้ำหนักเบา โดยเฉพาะทำเป็นขวดน้ำที่เราคุ้นเคยอยู่ในชีวิตประจำวัน หากเราจัดการขยะเหล่านี้อย่างผิดวิธี จะเกิดเป็นขยะที่ย่อยสลายยากในธรรมชาติและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชิวตต่างๆได้ แต่รู้หรือไม่ว่า บรรจุภัณฑ์ขวดเหล่านี้ สามารถนำมารีไซเคิลได้ เป็นทรัพยากรหมุนเวียน ขึ้นรูปได้ใหม่ หรือนำมาทำเป็นของใช้ที่คงทนอย่างมาก มีประโยชน์ได้อีกไม่รู้จบ

ขวดน ำพลาสต ก ม สายคล องแขน โรงงานผล ต

1. ขายเป็นขวดพลาสติกรีไซเคิล การขายขยะรีไซเคิล นอกจากจะได้เปลี่ยนค่าเป็นเงินแล้ว ยังช่วยให้เราสามารถจัดการขยะเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ เปลี่ยนขยะให้มีประโยชน์ เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ ทางโรงงานที่รับซื้อจะรีไซเคิลขวดน้ำเป็นเม็ดพลาสติก ให้ได้แปรรูปขึ้นรูปใหม่ โดยการแยกชนิดพลาสติกก่อนขาย ทำให้ขายได้ราคาดีกว่าการขายพลาสติกรวมประเภทกัน

วิธีแยกประเภทของพลาสติก ให้สังเกตสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลขเดียวกันรวมไว้ขายด้วยกัน เช่น สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 1 จะเป็นขวดที่มีลักษณ์ใส ได้แก่ ขวดน้ำ ขวดเครื่องดื่ม ขวดน้ำผลไม้ ขวดน้ำส้ม ราคาอาจต่างกันไปตามสถานที่รับซื้อและมีปรับขึ้นลงทุกวัน

2. ทำสิ่งประดิษฐ์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล

ขวดน ำพลาสต ก ม สายคล องแขน โรงงานผล ต

พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่คงทน สามารถขึ้นรูปได้บางและแข็งแรง ทำให้การประดิษฐ์ของใชจากขวดพลาสติก สามารถทำได้ง่ายๆจากอุปกรณ์ที่มีที่บ้าน เพียงแค่ใช้กรรไกหรือคัตเตอร์ในการตัดแต่ง และใช้กาว เชือก หรืออุปกรณ์ DIY อื่นๆ มาประกอบเป็นของใช้ต่างๆได้อย่างง่ายดายหลากหลาย ตัวอย่าง ดูวิธีการทำ

หากใครที่ไม่ได้ประสงค์จะเก็บรวบรวมเพื่อขาย และอาจไม่ถนัดแปรรูป DIY แต่ยังอยากใช้ประโยชน์จากขวดพลาสติก และทำให้หมุนเวียนทรัพยากรเกิดเป็นมูลค่า ก็มีสถานที่และโครงการต่างๆ ที่รับบริจาคของพลาสติก เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบเพื่อแปรรูปให้เกิดประโยชน์หลากหลายรูปแบบ และทุกท่านสามารถบริจาคไปยังโครงการต่างๆ เหล่านี้ ให้เกิดเป็นบุญกุศลได้อีกด้วย

3. โครงการ จากขวดพลาสติก 15 ขวด เปลี่ยนเป็นผ้าไตรจีวร 1 ผืน

ขวดน ำพลาสต ก ม สายคล องแขน โรงงานผล ต

โครงการ Trash Hero Thailand

ขวดน ำพลาสต ก ม สายคล องแขน โรงงานผล ต

ทำเป็น Eco Brick เพื่อก่อสร้างกำแพงโรงเรียน สถานที่รับ : แบมบูสคูล (Bamboo School) 234 ซ.แมมแคท หมู่บ้านบ้องตี้ล่าง ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150

https://www.facebook.com/trashherothailand

ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างของประโยชน์จากขวดพลาสติก หากพวกเราทุกคนล้วนเห็นคุณค่าของทรัพยากร เก็บรวบรวมให้สามารถหมุนเวียนเป็นวัตถุดิบได้ต่อไป ขวดพลาสติกก็จะไม่ใช่ตัวร้ายแต่คอยทำลายสิ่งแวดล้อม แต่จะเป็นฮีโร่ในหมู่ทรัพยากร ที่แปรรูปได้หลากหลายวิธี น้ำหนักเบา แข็งแรง และใช้หมุนเวียนได้ไม่รู้จบ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง #ประโยชน์ของขวดพลาสติก

CircularEconomy #พลาสติกไม่ใช่ตัวร้าย #บรรจุภัณฑ์คือวัตถุดิบ #สิ่งแวดล้อมคือคุณภาพชีวิต #ขวดพลาสติก #ขวดPET