ผลกระทบของการเปล ยนแปลงท ม ผลต อว๔ ช ว ต

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ผลกระทบต่อความยั่งยืนของระบบประกันสุขภาพ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ความมั่นคงของมนุษย์ และ รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว

ผลกระทบของการเปล ยนแปลงท ม ผลต อว๔ ช ว ต

ดำเนินโครงการโดย: รศ. ดร. ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติและคณะ

เกี่ยวกับโครงการ: ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี พศ 2539 ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างรุนแรงมากกว่าช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะการคลังของประเทศ และย่อมส่งผลโดยตรงต่อระบบบริการสุขภาพของรัฐและเอกชน ตลอดจนการเข้าถึงบริการสุขภาพ เนื่องจากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติอาศัยเงินรายได้จากภาษีของรัฐเป็นหลัก นอกจากนั้นประเทศไทยยังเผชิญปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ในขณะที่ประเทศยังมีรายได้ระดับกลางอยู่ ทำให้เกิดปัญหาการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวทั้งรูปแบบในระบบและนอกระบบตามมา ในท้ายสุดคือการส่งผลต่อความมั่นคงและความยั่งยืนของมนุษย์

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา

(1) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทย โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัย-ผลผลิต และการวิเคราะห์ส่วนแบ่งส่วนแปรเปลี่ยน (2) การประชุมกลุ่มในภาคต่างๆทั้งสี่ภาค เพื่อวิเคราะห์ถึงประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสุขภาพของแรงงานในภาคทางการอย่างไร (3) ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย เน้นที่ประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมีผลกระทบอย่างไร รวมทั้งการเข้าถึงบริการสุขภาพ และ (4) ทบทวนรูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงวัยในเขตเมือง เพื่อเสนอข้อเสนอะแนะเชิงนโยบาย

ตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 จากการประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ใน ปี พศ 2560 สรุปประเด็นได้ดังนี้

  1. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ท้าทายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจคือคุณภาพและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ในกำลังแรงงาน ทั้งสี่ภาคมีความเห็นตรงกันว่าคนรุ่นใหม่ต้องการแสวงหางานที่ให้ค่าตอบแทนสูงแต่ทำงานน้อยๆ และไม่ได้สนใจมุมอื่นๆที่สำคัญเช่น ความมั่นคงของงาน หรือการพัฒนาทักษะของตนเอง แรงงานรุ่นใหม่มีความรับผิดชอบต่ำและไม่ทนต่อการทำงานหนัก ทำให้เกิดความขัดแย้งกับคนรุ่นเก่า ส่งผลให้การดำเนินงานไม่ราบลื่น นอกจากนั้นประเด็นด้านแรงงานที่เห็นพ้องกันทั้งสี่ภาคคือ ต้องการนโยบายแรงงานที่มุ่งต่อปัญหาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่นบริษัทในภาคใต้รายงานว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อทำงานในระดับปฏิบัติการเนื่องจากคนไทยรุ่นใหม่ไม่ต้องการทำและยินดีอยู่กับบ้านหากไม่ได้งานประเภทอื่น แต่การจ้างแรงงานต่างด้าวมีความซับซ้อนและใช้เวลามาก บริษัทในภาคกลางก็เผชิญปัญหาที่แรงงานที่มีทักษะมีไม่เพียงพอ ทำให้ต้องจัดการรณรงค์เพื่อไปรับแรงงานที่โรงเรียนหรือวิทยาลัยวิชาชีพโดยตรงทั่วประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ประเด็นสำคัญลำดับถัดมาคือ แรงงานแบบรายวันไม่มีการออมที่เพียงพอ สุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงในอนาคตของแรงงานกลุ่มดังกล่าวหากไม่มีนโยบายความมั่นคงทางสังคมจากภาครัฐ สาเหตุที่สำคัญคือ (1) ความล้มเหลวของค่าจ้างขั้นต่ำที่ไม่สามารถตามการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพได้ทัน และ (2) การขาดทักษะการจัดการทางการเงินในหมู่แรงงาน

  1. ความมั่นคงด้านสุขภาพ

ผู้เข้าร่วมสนทนาได้ถกเถียงในประเด็นท้าทายต่อโครงการประกันสังคมดังนี้ (1) คุณภาพบริการที่ต่ำ เช่นทัศนคติของผู้ให้บริการที่มีต่อแรงงาน (2) ต้องรอนานในการเข้ารับการรักษา (3) ผู้รับบริการมีความรู้สึกว่าการรักษาและยาที่ได้รับมีคุณภาพต่ำ แรงงานหลายคนเห็นว่า การประกันสังคมไม่มีประโยชน์และหากไม่ผิดกฎหมายก็ไม่อยากจ่ายเบี้ยประกันสังคม ในขณะที่ แรงงานในวัยกลางคน และแรงงานอาวุโสล้วนเห็นว่าประกันสุขภาพเอกชนแบบกลุ่มเป็นสวัสดิการที่สำคัญของบริษัท ผู้เข้าร่วมสนทนามีความเห็นว่าการตั้งเพดาน 15,000 บาทเพื่อการคำนวณเงินบำนาญนั้นไม่เพียงพอ อีกทั้งผู้เข้าร่วมสนทนาส่วนใหญ่คิดว่าอยากออมเงินด้วยตัวเองมากกว่าเนื่องจากคิดว่าการบริหารเงินกองทุนโดยประกันสังคมไม่ได้เป็นการบริหารเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิก

สำหรับประเด็นการดูแลผู้สูงวัยในระยะยาวนั้น ผู้เข้าร่วมสนทนาเห็นว่าสมาชิกในครอบครัวควรดูแลพ่อแม่ที่สูงอายุเอง และไม่เห็นด้วยที่จะให้องค์กรหรือศูนย์ทำหน้าที่ดูแล โดยมีข้อเสนอะแนะจากผู้ร่วมสนทนาบางส่วนว่าองค์การบริหารส่วนตำบลควรทำหน้าที่สนับสนุนระบบการดูแลผู้สูงอายุเพื่อที่ผู้สูงอายุจะไม่ต้องย้ายออกไปจากพื้นที่ เช่น จัดให้มีสมาคมผู้สูงอายุในชุมชน หรือท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุจะได้พบปะ และทำกิจกรรมร่วมกันหรือ จัดให้มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางวัน

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น (ในความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ

แต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์

มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ?

กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming)

ผลกระทบของการเปล ยนแปลงท ม ผลต อว๔ ช ว ต
ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?

ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (เกิดจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม และการตัดไม้ทำลายป่า) มีเธน(เกิดจาก การย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว) ไนตรัสออกไซด์ (เกิดจาก อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในการเกษตร) ฯลฯ

ภาวะเรือนกระจก คืออะไร ?

ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่

ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือน

กระจกที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจาย

อยู่ภายในบรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก

ภาวะโลกร้อน คืออะไร ?

สภาวะโลกร้อนเป็นปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นเนื่องจากโลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากรังสีดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างปกติ จึงทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปโดยจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์

โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ ?

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report - TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปี

ความผันแปรของอุณหภูมิเฉลี่ยในซีกโลกเหนือในรอบ 1,000 ปีที่ผ่านมา

ผลกระทบของการเปล ยนแปลงท ม ผลต อว๔ ช ว ต

ความผันแปรอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2423-2552

ผลกระทบของการเปล ยนแปลงท ม ผลต อว๔ ช ว ต

ที่มา http://data.giss.nasa.gov

ปริมาณฝนและระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?

ในศตวรรษที่ 20 ปริมาณน้ำฟ้า (น้ำฟ้า หมายถึง น้ำที่ตกลงมาจากฟ้าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะของเหลวหรือของแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ) บริเวณพื้นแผ่นดินส่วนใหญ่ของซีกโลกเหนือในเขตละติจูดกลางและละติจูดสูง สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 5 - 10 % แต่ลดลงประมาณ 3 % ในบริเวณกึ่งเขตร้อน

ผลกระทบของการเปล ยนแปลงท ม ผลต อว๔ ช ว ต

ส่วนระดับน้ำทะเล จากข้อมูลทางธรณีวิทยา ปรากฏว่าเมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณ 0.5 มม./ปี และในระยะ 3,000 ปีที่ผ่านมา สูงขึ้นเฉลี่ย 0.1 - 0.2 มม./ปี (IPCC, 2001) แต่จากข้อมูลตรวจวัดในศตวรรษที่ 20 ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ย 1 - 2 มม./ปี

ผลกระทบของการเปล ยนแปลงท ม ผลต อว๔ ช ว ต

ประชาคมโลกตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร ?

ในการประชุมภูมิอากาศโลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การประชุมครั้งนี้เน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงและป้องกันการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง "แผนงานภูมิอากาศโลก" (World Climate Programme หรือ WCP) ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO), โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSU

หลังจาก พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาได้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกหลายครั้ง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ The Villach Conference ประเทศออสเตรีย (9 - 15 ตุลาคม 2528), The Toronto Conference ประเทศแคนาดา (27 - 30 มิถุนายน พ.ศ.), The Ottawa Conference ประเทศแคนาดา (20 - 22 กุมภาพันธ์ 2532), The Tata Conference นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย (21 - 23 กุมภาพันธ์ 2532), The Hague Conference and Declarationประเทศเนเธอร์แลนด์ (11 มีนาคม 2532), The Noordwijk Ministerial Conference ประเทศเนเธอร์แลนด์ (6 - 7 พฤศจิกายน 2532), The Cairo Compact ประเทศอียิปต์ (ธันวาคม 2532) และ The Bergen Conference ประเทศนอรเวย์ (พฤษภาคม 2533) การประชุมเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับปัญหานี้

ปี พ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ-สังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบ การปรับตัว และการบรรเทาปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

พ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่ 1 (The First Assessment Report) ซึ่งเน้นย้ำปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รายงานนี้มีผลอย่างมากต่อสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย และเป็นพื้นฐานในการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ในเดือนธันวาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจาข้อตกลง โดยตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmatal Nogotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change หรือ INC/FCCC) ซึ่งได้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 - พฤษภาคม 2535 และเนื่องจากเส้นตายที่จะมีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit) หรือการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development หรือ UNCED) ในเดือนมิถุนายน 2535 ผู้เจรจาจาก 150 ประเทศจึงจัดทำร่างอนุสัญญาฯ เสร็จสิ้น และยอมรับที่นิวยอร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535

ในการประชุมสุดยอดของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ตัวแทนรัฐบาล 154 รัฐบาล (รวมสหภาพยุโรป) ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) โดยเป้าหมายสูงสุดของ UNFCCC คือ การรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบภูมิอากาศ

วันที่ 21 มีนาคม 2537 เป็นวันที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุว่าให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน หลังจากประเทศที่ 50 ให้สัตยาบัน

ต่อจากนั้นอีก 6 เดือน คือ วันที่ 21 กันยายน 2537 ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเสนอรายงานแห่งชาติ (National Communications) เกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ (INC) ได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ การจัดการเกี่ยวกับการเงิน การสนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานและสถาบันที่เกี่ยวข้อง ต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ค่อย ๆ ลดบทบาทลง และยุบไป (การประชุมครั้งสุดท้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2538) และได้ให้ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ( The Conference of the Parties หรือ COP) เป็นองค์กรสูงสุดของอนุสัญญาฯ โดย COP มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ และประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการตัดสินใจสนับสนุนและส่งเสริมการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง COP มีการประชุมทุกปี จำนวนทั้งหมด 21 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2558 ดังนี้

COP-1

เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งแรก จัดขึ้นที่ เบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2538