ก ย ม กยศ พอ มหาล ยก กรอ ต องทำไง

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการฯ นัดแรก เห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยจะคำนวณภาระหนี้ของลูกหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันใหม่ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาหนี้กลุ่ม กยศ.จะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับการช่วยเหลือ จากนี้จะขยายความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มอื่นๆ ต่อไปให้ครอบคลุมทั้งระบบ

"ลูกหนี้ที่ยังมีหนี้อยู่กับ กยศ. ที่ยังชำระไม่หมด ให้กลับไปคำนวณเงินต้น และเงินที่ชำระมาว่าเกิน 150% ของเงินที่กู้มาหรือไม่ ถ้าเกิน 150% แล้ว สามารถหยุดจ่ายหนี้ เพราะกลุ่มนี้เมื่อคำนวณดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่ ยังไงหนี้ก็หมดอยู่ดี" นายกิตติรัตน์ กล่าว

ด้าน นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตามกฎหมายฉบับใหม่จะมีการคำนวณภาระหนี้ของลูกหนี้ กยศ.ใหม่ โดยปรับลำดับการตัดยอดหนี้ใหม่ จากเดิมเมื่อลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้มาแล้ว จะตัดยอดดอกเบี้ยผิดนัดชำระก่อน ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่ และเงินต้น แต่การคำนวณใหม่ จะปรับลำดับใหม่ เริ่มจากตัดเงินต้นก่อน แล้วจากนั้นจึงตัดดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ทำให้เงินต้นลดลงเร็วมากกว่าเดิม

สำหรับ การคำนวณยอดหนี้ กยศ ครั้งนี้ จะครอบคลุมลูกหนี้ประมาณ 3.5 ล้านราย ที่ยังมีสถานะเป็นลูกหนี้ของกองทุน กยศ.หลังจาก พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 โดยการคำนวณจะเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่วันแรกที่ได้ชำระหนี้ให้กับ กยศ.

"ลูกหนี้ที่ผ่อนชำระมาแล้ว เมื่อคำนวณใหม่จะมีภาระหนี้ลดลงอย่างชัดเจน ส่วนลูกหนี้บางรายที่ยังผ่อนอยู่ยังไม่หมด เมื่อคำนวณใหม่อาจจะหมดหนี้ และปิดหนี้ได้เลย แต่ที่ต้องดูเพิ่มเติมหลังกฎหมายใหม่ออกมา นั่นคือ กลุ่มของลูกหนี้ที่ปิดยอดไปแล้ว กยศ. จะตามไปคำนวณยอดหนี้ให้เช่นกัน" นายลวรณ กล่าว

นายลวรณ กล่าวว่า ในขั้นตอนการดำเนินงาน กยศ.จะไปจัดทำระบบการคำนวณให้เสร็จสิ้นภายใน 5 เดือนนับจากนี้ แต่ที่ประชุมมองว่าเป็นเวลาที่นานเกินไป จึงขอให้มีการทำระบบขึ้นมาแบบง่าย หรือคำนวณด้วยเจ้าหนี้ที่ก่อน เพื่อเร่งคำนวณยอดหนี้ให้ลูกหนี้กลุ่มที่มีความเดือดร้อน และมีความจำเป็นเร่งด่วนก่อน 2 กลุ่ม ดังนี้

  1. ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องร้อง และอยู่ในชั้นของกรมบังคับคดี จำนวน 4.6 หมื่นคน จะเริ่มทำให้เสร็จในเดือน ธ.ค. 2566
  2. ลูกหนี้ที่จะหมดอายุความในเดือน มี.ค. 2567 จำนวน 4 หมื่นคน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. ใหม่

"หากคำนวณได้เร็วจนทำเสร็จทั้ง 2 กลุ่มแล้ว แต่ระบบยังไม่พร้อม เจ้าหน้าที่จะเร่งทำการคำนวณลูกหนี้ กยศ. อื่นๆ อีกเพิ่มเติม เพื่อคำนวณยอดหนี้ใหม่ให้กับกลุ่มนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นข่าวดี และเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับลูกหนี้ กยศ. ทั้งหมด"

ส่วน นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า ลูกหนี้ทุกคนจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ซึ่งมีสถานะลูกหนี้ ตั้งแต่ พ.ร.บ. กยศ. ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ ขณะที่ผู้ค้ำประกันเดิมที่มีอยู่ เมื่อลูกหนี้ได้ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว จะหลุดพ้นจากภาระค้ำประกันทันที โดยเริ่มต้นนำร่องลูกหนี้ในกรุงเทพฯ ก่อน และขยายไปยังภูมิภาคต่อไป

เคยกู้ กยศ จากมอที่เรียนแล้วลาออกจะไปกู้เรียนมอใหม่ต้องทำยังไงคะ

ปีนี้เรียนแล้วทำเรื่องกู้ กยศ (แต่ยังไม่เสร็จนะคะอยู่ในช่วงตรวจสอบ) แล้วลาออก ถ้าปีหน้าจะเรียนจะยังกู้ได้ 4 ปีไหม ต้องบอกว่าเป็นรายเก่าหรือรายใหม่คะ แล้วเอกสารที่ส่งไปจากตอนม.6 ล่ะคะ ต้องไปเอากับที่มอเก่าหรือทำเอกสารใหม่คะ ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะคะ 灬º‿º灬

กู้กยศ.แล้วต้องการย้ายสถานศึกษา

สอบถามหน่อยค่ะคือเราเรียนอยู่ปี1ได้กู้กยศ.ที่สถานศึกษาเก่าเทอม1กับเทอม2ไปเเล้วเเต่ต้องการย้ายสถานศึกษาที่ใหม่ไปเริ่มเรียนปี1ใหม่หมดต้องทำยังใงค่ะ คำถามที่สงสัย คือ 1.เราจะยกเลิกกยศ.ที่เก่าได้ยังใง 2.ถ้ายกเลิกที่เก่าเเล้วจะขอยื่นกู้ที่ใหม่ได้มั้ย 3.ถ้ากู้ที่ใหม่จะได้เวลากู้เต็ม4ปีครบมั้ย 4.ถ้ายกเลิกจากกยศ.เป็นกรอ.จะได้มั้ย ใครมีประสบการณ์เรื่องนี้หรือว่าคล้ายๆกันช่วยเเนะนำหน่อยค่ะ🙏

เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับจอภาพขนาด 1280x1024 พิกเซล ควรใช้โปรแกรม Microsoft Internet Explorer 9 หรือ Mozilla Firefox 7 ขึ้นไป

ก ย ม กยศ พอ มหาล ยก กรอ ต องทำไง
เป็นกองทุนหมุนเวียนที่มุ่งสร้างโอกาสทางการศึกษา โดยการสนับสนุนค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ ให้กับนักเรียนและนักศึกษาที่มีความจำเป็น โดยไม่คิดดอกเบี้ยระหว่างที่ศึกษาอยู่ แต่ต้องชำระเงินคืนหลังจากจบการศึกษาแล้ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีทุนทรัพย์ไม่มาก ต้องการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว หรือต้องการบริหารจัดการเงินเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง

เช็คคุณสมบัติ เราจะสามารถกู้ กยศ. ได้หรือไม่?

หลายคนคิดว่า... การกู้ กยศ. สามารถทำได้เฉพาะ “นักศึกษา” ที่เรียนในระดับปริญญาตรีเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว “นักเรียน” ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ไปจนถึง “นักศึกษา” ในระดับปริญญาตรี ก็สามารถกู้ กยศ. ได้ โดยจะแบ่งลักษณะในการกู้ออกเป็น 4 ลักษณะ คือ

1. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ (ครอบครัวมีรายได้ไม่เกินปีละ 360,000 บาท) 2. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ 3. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ 4. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ

ศึกษาคุณสมบัติอย่างละเอียด คลิก

วงเงินและขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเป็นอย่างไร?

วงเงินที่แต่ละคนจะสามารถกู้ยืมได้นั้น จะแบ่งออกตามระดับการศึกษาและสาขาวิชาที่ผู้กู้ศึกษาอยู่ โดยแบ่งออกเป็นวงเงินสำหรับ ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ซึ่งจะไม่เกินอัตราที่สถานศึกษาเรียกเก็บในแต่ละหลักสูตร รวมไปถึง ค่าครองชีพ ดังตัวอย่างในตารางนี้

หมายเหตุ : รายละเอียดกรอบวงเงินอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายในแต่ละปี ดูรายละเอียดกรอบวงเงินในแต่ละสาขาวิชา คลิก

ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. ศึกษาอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง ซึ่งนาย ก. มีคุณสมบัติที่ผ่านเข้าเกณฑ์ของผู้กู้ กยศ. ทั้งหมด โดยกรอบวงเงินค่าเล่าเรียนระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ อยู่ที่ 70,000 บาท แต่ค่าเทอมต่อปีของมหาวิทยาลัยของนาย ก. อยู่ที่ 60,000 บาทต่อปี ดังนั้น หากนาย ก. ทำเรื่องกู้ยืมเงินกับ กยศ. นาย ก. จะได้วงเงินกู้ยืมค่าเล่าเรียนที่ 60,000 บาท พร้อมกับค่าครองชีพที่ 3,000 บาทต่อเดือน

ค่าครองชีพที่ได้จาก กยศ. เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือไม่?

ต้องขอบอกก่อนเลยว่า... ใครที่คิดจะกู้ กยศ. แล้วหวังว่าจะใช้เงินค่าครองชีพที่ได้มา เป็นแหล่งรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตเพียงแหล่งเดียว อาจไม่ใช่ความคิดที่เหมาะสม เพราะเงินค่าครองชีพที่ได้รับจาก กยศ. อาจไม่เพียงพอในกรณีที่เรายังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย เช่น ค่าที่พักอาศัย ค่าเดินทาง และค่าอุปกรณ์การเรียนต่าง ๆ ไม่นับรวมค่าอาหารที่เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำหรับทุกคนอยู่แล้ว

หากคิดแบบง่าย ๆ ว่าเราได้ค่าครองชีพที่ 3,000 บาทต่อเดือน นั่นเท่ากับว่า เราต้องบริหารการใช้เงินให้ได้เพียงวันละ 100 บาทเท่านั้น ดังนั้น หากเราต้องการมีเงินให้เพียงพอกับการใช้จ่าย โดยไม่ต้องเดือดร้อนผู้ปกครองเพิ่มเติม ทางเลือกก็คือ การใช้จ่ายอย่างประหยัด และการหารายได้เสริมนั่นเอง

อย่าลืมว่า... วัตถุประสงค์ของการกู้ กยศ. ก็เพื่อการศึกษา ดังนั้น หน้าที่ของเรา คือ การศึกษาเล่าเรียนให้ดีที่สุดเพื่อวางรากฐานความมั่นคงให้กับอนาคตข้างหน้า และที่สำคัญ เมื่อกู้เงินมาแล้ว ก็ต้องชำระคืน หากเราศึกษาจบ มีรายได้เป็นของตัวเอง ก็อย่าลืมวางแผนชำระหนี้เพื่อส่งต่อโอกาสนี้ให้กับรุ่นน้องของเราด้วย ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.studentloan.or.th

สำหรับใครที่สนใจอยากรู้แนวทางในการวางแผนบริหารจัดการหนี้ เพื่อให้มีเงินเหลือใช้ และสามารถเก็บออมเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตได้ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “วางแผนลดหนี้มีออม สำหรับบัณฑิตยุคใหม่” ฟรี!!! >> คลิกที่นี่

กู้กรอ.ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

① สาเนาบัตรประจาตัวประชาชน 1 ฉบับ ② สาเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ (บัตรตัองไม่หมดอายุ มารดารับรองสาเนา) ❒ 5.เอกสารรับรองรายได้ครอบครัว (บิดามารดา/ผู้ปกครอง) มีรายได้ประจา ใช้หนังสือรับรองเงินเดือน /สลิปเงินเดือน

กู้กรอ ได้เงินกี่บาท

กู้ได้เดือนละ 2,400 บาท หรือ ปีละ 28,800 บาท (รายได้ครอบครัวต้องไม่เกิน 200,000 บาท/ปี)

กยศ กรอ คืออะไร

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กรอ.) กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 ซึ่งได้เห็นชอบหลักการและแนวทางการปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษา โดยมีสาระสำคัญ คือ

กยศ กับ กรอ ต่างกันตรงไหน

กยศ. ชื่อเต็มคือ กองทุนเพื่อการศึกษา ส่วน กรอ. ชื่อเต็มคือ กองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต สิ่งที่เหมือนกันคือ ทั้ง 2. กองทุนนี้ล้วนเป็นกองทุนกู้ยืมเหมือนกัน