ก นยาค มแผงแรกก อนม ประจำเด อน ม โอกาสท องไหม

ยาเลื่อนประจำเดือน เป็นทางออกของสาว ๆ ที่ไม่อยากให้การมีประจำเดือนมาเป็นเรื่องกวนใจเพราะหลายครั้งที่ขอเลื่อนแผนเที่ยว ขยับแล้วขยับอีกก็ไม่ลงตัว การหันไป “เลื่อนประจำเดือน” จึงเป็นทางออกที่ดีกว่า

Show

วิธีใช้ยาเลื่อนประจำเดือน

ด้วยธรรมชาติของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนประจำเดือนจะมา ดังนั้นวิธีดีที่สุดต้องเริ่มกินยาก่อนวันที่คาดว่ามีประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้ทัน หากกินยาเพื่อเลื่อนในวันที่มีประจำเดือนแล้ว หรือก่อนมีประจำเดือนเพียง 2-3 วัน อาจจะไม่ได้ผล เนื่องจากธรรมชาติรู้ว่าไม่มีการฝังตัวอ่อน ร่างกายจึงเริ่มกระบวนการสร้างประจำเดือนไปตามปกติ โดยการกินยาต้องกินทุกวันจนกว่าต้องการให้มีประจำเดือนอีกครั้งจึงหยุดกินยา

ยาเลื่อนประจำเดือนทำงานอย่างไร?

ผู้หญิงทุกๆ คนที่ถึงวัยเจริญพันธุ์จะมีเลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน ในทุกๆ 28-30 วัน โดยหลังจากมีประจำเดือนแล้วกระบวนการในร่างกายจะทำการคัดไข่เตรียมไว้จนไปถึงกลางรอบเดือน สำหรับผู้ที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ 28-30 วัน ประมาณวันที่ 14-15 นับจากการมีประจำเดือนวันแรก จะเป็นวันตกไข่ ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) ขึ้นมา ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้นเพื่อรองรับตัวอ่อน ประมาณ 2 สัปดาห์ หากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น สมองจะสั่งให้หยุดสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาก็จะหลุดออกมาเป็นประจำเดือน

ยาเลื่อนประจำเดือน คืออะไร

ยาเลื่อนประจำเดือน หรือ ยาเลื่อนเมนส์ เป็นฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสเตอโรน จึงช่วยทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวนั้นไม่หลุดออกมา สำหรับผู้ที่ต้องการเลื่อนประจำเดือน ต้องรู้วันที่มีประจำเดือนของตนเองที่แน่นอน เช่น ประจำเดือนมาทุกๆ วันที่ 29 และมาเป็นประจำ 2-3 วัน แสดงว่าไข่ตกประมาณวันที่ 14-15 ดังนั้นหากอยากเลื่อนประจำเดือนออกไปก็ต้องทำให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังคงอยู่ โดยการบังคับธรรมชาติให้สร้างฮอร์โมนมาในช่วงกลางรอบเดือน ซึ่งทำได้ด้วยการกินฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเข้าไป ตามจำนวนวันที่ต้องการเลื่อน จากนั้นจึงค่อยหยุดกินยา ซึ่งทันทีที่หยุดยา เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดออกมาเป็นประจำเดือน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ ยาเลื่อนประจำเดือน

  • สำหรับผู้ที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือไม่สามารถคาดเดาวันที่จะมีประจำเดือน การรับประทายาเลื่อนประจำเดือนมักไม่ได้ผล เนื่องจากไม่ทราบวันตกไข่ที่แน่ชัด
  • ข้อควรระวังในการกินยาเลื่อนประจำเดือน เนื่องจากยาเลื่อนประจำเดือนเป็นกลุ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน แม้ว่าที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีผลต่อการเกิดมะเร็งหรือเนื้องอกในมดลูกแต่อย่างใด ทำให้สามารถกินยาเลื่อนประจำเดือนได้หลายวันและหลายๆ ครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม หากใช้ยานานเกินไประบบร่างกายอาจเกิดความสับสน ส่งผลให้อาจต้องใช้เวลานานเพื่อปรับตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาเกิน 1 สัปดาห์และควรใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  • ในผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ และยังไม่ทราบว่าเลือดนั้นเป็นประจำเดือนหรือไม่ หรือมีสาเหตุจากอะไร ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาก้อนเนื้อหรือมะเร็งและสาเหตุที่แน่ชัด เนื่องจากการกินยาเลื่อนประจำเดือนอาจบดบังอาการของโรคได้
  • กรณีที่ไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ การกินยาเพื่อเลื่อนประจำเดือนยังถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ เนื่องจากขณะท้องร่างกายจะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อรองรับตัวอ่อน พอมีการฝังตัวฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นยาเลื่อนเมนส์จึงไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์
  • ผู้ที่กินยาคุมเป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องกินยาเพื่อเลื่อนประจำเดือน แต่สามารถเลื่อนประจำเดือนได้โดยกินยาคุมกำเนิดที่กินเป็นประจำต่อไป หากหมดแผงก็สามารถเริ่มกินแผงใหม่ได้ต่อเนื่อง ไปจนกว่าต้องการให้มีประจำเดือนจึงหยุดกินยาคุมนั้น ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้ได้กับยาเม็ดคุมกำเนิดมาตรฐานที่มี 21 เม็ด แต่หากเป็นแบบ 28 เม็ด จะมีตัวฮอร์โมนเพียง 21 เม็ด และเป็นเม็ดแป้ง 7 เม็ด วิธีกินคือทิ้งเม็ดแป้งและนำยาแผงใหม่มากินต่อจาก 21 เม็ด ทั้งนี้ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดอยู่แล้วไม่ควรกินยาเลื่อนประจำเดือน ในทางกลับกันยาเลื่อนประจำเดือนนั้นไม่ใช้ทดแทนยาคุมกำเนิด เนื่องจากไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์เช่นกัน

แม้ยาเลื่อนประจำเดือนจะไม่มีผลร้ายต่อร่างกาย แต่การใช้ยานาน ๆ หรือบ่อยมากเกินไป อาจทำให้ระบบการมีประจำเดือนเกิดความสับสน และต้องใช้เวลาเพื่อปรับสภาพร่างกายสู่ภาวะปกติ ดังนั้นจึงควรใช้ยาเพื่อเลื่อนประจำเดือนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

หากมีอาการผิดปกติ หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับการมีประจำเดือนให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุ รับคำแนะนำและการรักษาอย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ภาวะกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มายังอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน รวมถึงยาคุมกำเนิดที่กิน หรือวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ แถมการที่ประจำเดือนไม่มา ก็อาจเป็นเพราะไลฟ์สไตล์ของเราเองด้วย ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

ยาเม็ดคุมกำเนิด มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด > 90% นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนมามาก ลดการเกิดสิว ลดความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่และมะเร็งมดลูก และช่วยรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามยาเม็ดคุมกำเนิดไม่สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ หากต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยทุกครั้ง

ยาเม็ดคุมกำเนิดประเภทต่าง ๆ

ยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นแบ่งออกได้เป็นฮอร์โมน 2 ประเภท

  1. ยาฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรน) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป
  2. ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว ยาคุมฉุกเฉินเป็นโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว แนะนำกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เหมาะสำหรับหญิงที่กำลังให้นมบุตร หรือมีประวัติโรคเลือดสมองหรือภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

ประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงที่ราว 93% เมื่อรับประทานเป็นประจำทุกวัน แต่ถ้าหากลืมรับประทานยา ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์จะลดลง สำหรับยาคุมฉุกเฉิน ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดเพียง 60-80% ไม่แนะนำให้ใช้เป็นประจำหรือใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดหลัก

การทำงานของยาเม็ดคุมกำเนิด

  • ระงับไม่ให้ไข่สุกหรือขัดขวางไม่ให้มีการตกไข่
  • เพิ่มความเหนียวข้นให้กับเมือกบริเวณปากมดลูก เพื่อให้อสุจิเข้าไปปฏิสนธิได้ยากขึ้น
  • ทำให้ผนังมดลูกบางลง ไม่พร้อมให้ไข่ที่ปฏิสนธิฝังตัว

วิธีรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด

อาจเริ่มรับประทานภายใน 3-5 วันแรกของการมีประจำเดือน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

ยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นมีหลากหลายรูปแบบ 1) แบบที่ให้มีประจำเดือนตามรอบเดือน ได้แก่ 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด 2) แบบรับประทานยาว ๆ เช่น 84 เม็ด หรือ 365 เม็ด (ไม่ค่อยนิยม) โดยแต่ละแบบจะบรรจุตัวยาต่างกันและมีกำหนดเวลาที่ต้องรับประทานแตกต่างกันไป จึงควรรับประทานยาให้ถูกต้องถูกเวลาเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

ยาฮอร์โมนรวม

ในแผงยาจะบรรจุยาที่มีฮอร์โมนและยาที่ไม่มีฮอร์โมนหรือยาหลอก

  1. ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบทั่วไป
    • ยาคุมแบบแผง 28 เม็ด ประกอบไปด้วยยาจริง 21 เม็ดและยาหลอก 7 เม็ด หรือยา 24 เม็ด ยาหลอก 4 เม็ดช่วงที่รับประทานยาหลอกมักมีเลือดคล้ายประจำเดือนออกมา หากยาหมดแผงให้เริ่มแผงใหม่ได้ทันที
    • ยาคุมแบบแผง 21 เม็ด ประกอบไปด้วยยาจริง 21 เม็ดและเว้นการรับประทานยาไป 7 วัน ซึ่งระหว่างนั้นมักมีเลือดออก จากนั้นจึงเริ่มรับประทานยาอีกครั้งในวันที่ 29
  2. ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว
    • แบบยาจริง 28 เม็ด ซึ่งต้องรับประทานทุกวันในเวลาเดียวกัน ห่างกันได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง
    • แบบยาจริง 24 เม็ด และยาหลอก 4 เม็ด

หลังรับประทานยาคุมกำเนิดแล้ว ยาจะเริ่มออกฤทธิ์เมื่อไหร่?

หากเริ่มทานยาใน 3 วันแรกของการมีประจำเดือน ยาแผงนั้นจะมีประสิทธิภาพคุมกำเนิดได้ในรอบนี้เลย ยาจะเริ่มออกฤทธิ์หลังรับประทานไปได้หนึ่งสัปดาห์ ดังนั้นในสัปดาห์แรกควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาไป 1 วัน ควรรีบรับประทานยาโดยทันทีที่จำได้ และใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 7 วันหลังจากนั้น หากลืมรับประทานยาเป็นเวลาหลายวัน ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

สามารถรับประทานยาคุมกำเนิดควบคู่ไปกับยาอื่น ๆ ได้หรือไม่?

ขณะรับประทานยาคุมกำเนิด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทุกครั้ง เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลง โดยเฉพาะยาแก้ชัก ยารักษาโรคเอดส์ หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ทำมาจากสมุนไพรพร้อมกับยาคุมกำเนิด

สามารถรับประทานยาคุมกำเนิดระหว่างที่ให้นมบุตรได้หรือไม่?

หากกำลังให้นมบุตร ควรเลือกรับประทานยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว เพราะยาฮอร์โมนรวมซึ่งมีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบอาจส่งผลให้ปริมาณน้ำนมลดลง อย่างไรก็ตามแนะนำปรึกษาแพทย์

ประโยชน์ของยาเม็ดคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง?

  • สะดวก: รับประทานเพียงวันละ 1 เม็ด หาซื้อได้ง่าย
  • ประสิทธิภาพดี: สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึง 93%
  • สามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้ทันที: หลังจากที่หยุดรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด

นอกจากนี้ยาเม็ดคุมกำเนิดยังช่วย

  • ลดสิว ลดขนดก
  • ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ประจำเดือนไม่มามาก ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนและปวดไมเกรนจากประจำเดือน
  • ลดอาการเหวี่ยงวีนก่อนมีประจำเดือน
  • รักษากลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญภายนอกโพรงมดลูก
  • ลดความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากใช้ต่อเนื่องหลายปี

ยาเม็ดคุมกำเนิดช่วยป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่?

ยาเม็ดคุมกำเนิดไม่สามารถช่วยป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหนองในเทียม โรคเริม โรค HIV หรือเชื้อ HPV

การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

เมื่อเริ่มรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด อาจมีอาการข้างเคียง เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หงุดหงิดง่าย คัดหน้าอก มีเลือดออกกระปริดกระปรอย ซึ่งอาการเหล่านี้จะดีขึ้นหรือหายได้เองหลังรับประทานยาไปแล้ว 2-3 เดือน หากอาการไม่หายไปหรือมีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนตัวยาหรือเข้ารับการตรวจวินิจฉัย ผลข้างเคียงที่รุนแรงแต่พบได้น้อย ได้แก่ ลิ่มเลือดอุดตัน ก้อนเนื้อที่เต้านมหรือมะเร็งเต้านม หากใช้ยาเป็นระยะเวลานานกว่า 5-10 ปี