ก นน ำอ ดลมไม ม น ำตาล จะเป นเบาหวานไหม

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างผิดปกติและเป็นอันตราย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยพบมากในผู้ป่วยเบาหวาน รวมทั้งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ การรับประทานอาหารน้อยกว่าปกติ การออกกำลังกายอย่างหนัก และการดื่มแอลกอฮอล์

โดยทั่วไป เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยมักมีอาการใจสั่น อ่อนเพลีย และมีเหงื่อออกมาก แต่หากมีอาการรุนแรง อาจทำให้มีอาการสับสน ตอบสนองช้าลง ชัก และหมดสติได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรสังเกตอาการและรับการรักษาให้ทันท่วงที

ก นน ำอ ดลมไม ม น ำตาล จะเป นเบาหวานไหม

อาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการทางร่างกายจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่

  • รู้สึกหิว
  • มีเหงื่อออกมาก
  • รู้สึกกังวล
  • มือสั่น กระสับกระส่าย
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
  • ความดันโลหิตซิสโตลิคสูง
  • ชารอบปากหรือส่วนอื่นๆ

อาการสมองขาดกลูโคส ได้แก่

  • อุณหภูมิร่างกายต่ำ
  • อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศีรษะ
  • ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง สับสน ไม่มีสมาธิ ตาพร่ามัว พูดช้า ง่วงซึม หลงลืม
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
  • อัมพฤกษ์ครึ่งซีก (Hemiparesis) คล้ายโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หมดสติ และชัก

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที

  • มีอาการที่บ่งบอกว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคเบาหวานและมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น เช่น ดื่มน้ำผลไม้ น้ำหวาน อมลูกอม หรือรับประทานกลูโคส
  • เป็นโรคเบาหวานหรือมีประวัติการกลับมาเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ ซึ่งมีอาการที่รุนแรงหรือเป็นลมหมดสติ ควรได้รับการช่วยเหลือโดยเร็ว

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีหลายสาเหตุ มักจะเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคเบาหวานหรืออินซูลิน เพราะหากใช้ซูลินมากเกินไปก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงต่ำมาก นอกจากนั้น หากน้ำตาลที่อยู่ในร่างกายถูกใช้หมดเร็วจนเกินไป น้ำตาลถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดช้าเกินไป หรือมีปริมาณอินซูลินในกระแสเลือดมากเกินไป ก็ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้เช่นกัน รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่

  • ได้รับยารักษาเบาหวานที่ไม่เหมาะสมทั้งชนิดของยา ขนาดยาที่มากเกินไป และเวลาในการรับประทานยา
  • รับประทานอาหารปริมาณน้อยกว่าปกติหรือไม่เพียงพอ หรืองดมื้ออาหาร หรือเลื่อนเวลารับประทานอาหาร รวมไปถึงปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารที่ทำให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลต่ำลง
  • มีการใช้กลูโคส (Glucose Utilization) เพิ่มขึ้น เช่น ออกกำลังกายมากขึ้น เป็นต้น
  • มีการผลิตกลูโคสที่ตับน้อยลง เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นโรคตับแข็ง

นอกจากนั้น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำยังเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน แต่จะพบได้น้อยมาก ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

  • ใช้ยารักษาโรค เช่น เผลอรับประทานยารักษาโรคเบาหวานของผู้อื่น หรืออาจเกิดจากรักษาโรคชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะยาสำหรับเด็ก และยาสำหรับผู้ป่วยโรคไตวาย หรือยาที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย เช่น ยาควินิน (Quinine) เป็นต้น
  • บริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักโดยไม่ได้รับประทานอาหาร จะปิดกั้นไม่ให้ตับสามารถปล่อยกลูโคสสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • โรคที่มีความรุนแรง เป็นโรคตับที่รุนแรง เช่น โรคตับอักเสบรุนแรงทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ หรือมีความผิดปกติของไตที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับเอายารักษาออกมาได้ตามปกติ ทำให้เกิดการสะสมและส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนั้น การอดอาหารเป็นเวลานานที่อาจเกิดจากโรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่ร่างกายต้องการใช้ในการสร้างกลูโคส ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
  • การผลิตอินซูลินมากเกินไป เนื้องอกของตับอ่อนที่สร้างอินสุลิน (Insulinoma) อาจทำให้เกิดการผลิตอินซูลินที่มากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ รวมไปถึงเนื้องอกชนิดอื่น ๆ ก็อาจทำให้เกิดการผลิตอินซูลินที่มากเกินได้เช่นกัน นอกจากนั้น เบต้าเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินมีการขยายตัว อาจส่งผลให้เกิดการปล่อยอินซูลินที่มากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
  • ความบกพร่องของฮอร์โมน ความผิดปกติบางอย่างของต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมองสามารถส่งผลให้เกิดความบกพร่องของฮอร์โมนสำคัญที่ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตกลูโคส โดยเฉพาะเด็กที่มีความผิดปกติดังกล่าวจะมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมักจะเกิดขึ้นเมื่อไม่ได้รับประทานอาหารหรืออดอาหาร แต่ไม่ได้เกิดขึ้นได้เสมอไป หรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร เนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินออกมามากเกินความจำเป็น นอกจากนั้น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในช่วงหลังรับประทานอาหาร อาจเกิดกับผู้ที่ผ่านการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

การวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แพทย์จะอาศัยปัจจัยดังต่อไปนี้

  • แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ หากสงสัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่พบว่าไม่มีอาการที่แสดงชัดเจน แพทย์อาจพิจารณาให้ตรวจเลือดเพิ่มเติม
  • ตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด หากค่าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม
  • หากอาการหายไป ภายหลังจากการรับประทานอาหารหวาน ก็แสดงว่าอาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

นอกจากนั้น แพทย์อาจตรวจร่างกายและสอบถามประวัติของผู้ป่วยเพิ่มเติม เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำยิ่งขึ้น

การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีเป้าหมาย คือ การเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นจนกลับมาสู่ภาวะปกติ และการรักษาสาเหตุเบื้องหลัง รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการรักษาและการดูแลตนเอง

การรักษาด้วยตนเองในเบื้องต้นจะขึ้นอยู่กับอาการ หากมีอาการระยะเริ่มต้นมักจะรักษาได้ด้วยการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbohydrates) ปริมาณ 15-20 กรัม โดยอาจเลือกรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อไปนี้

  • น้ำผึ้งและน้ำตาล ประมาณ 1 ช้อนชา
  • เครื่องดื่มที่มีรสชาติหวาน ประมาณ 120 มิลลิลิตร อย่างน้ำผลไม้ หรือ ION Drink ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับของเหลวในร่างกาย สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้นและทดแทนปริมาณน้ำตาลในเลือดที่ต่ำกว่าปกติ
  • ลูกอม กลูโคสแบบเม็ด หรือแบบเจล โดยอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ เพื่อรับประทานในปริมาณที่ถูกต้อง

ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีนหรือไขมัน เพราะจะทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ช้า หลังจากนั้น 15 นาที ให้ตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด หากระดับน้ำตาลในเลือดยังต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำยังไม่ดีขึ้น ให้บริโภคคาร์โบไฮเดรตเพิ่มอีก 15-20 กรัม และให้ตรวจสอบซ้ำอีกครั้งในอีก 15 นาที และให้ปฏิบัติซ้ำตามวิธีข้างต้นจนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือมีอาการดีขึ้น

เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาสู่ภาวะปกติ ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารเพื่อช่วยคงระดับน้ำตาลในเลือดต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายกักเก็บไกลโคเจนที่อาจเสียไปจากการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

หากผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรง และไม่สามารถรับประทานอาหารหรือน้ำตาลได้ อาจจำเป็นต้องฉีดกลูคากอน (Glucagon) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด โดยชุดอุปกรณ์ฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon Kit) ชนิดที่สามารถใช้ได้เองนั้นยังไม่ได้รับการรับรองในประเทศไทย จึงควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพื่อรับกลูโคสผ่านทางหลอดเลือดดำ และควรระวังอย่าให้ผู้ป่วยที่หมดสติรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม เพราะผู้ป่วยอาจสำลักอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าสู่ปอดได้

การรักษาโรคประจำตัว

การรักษาโรคประจำตัว จะช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกลับมาเกิดซ้ำ โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น

  • หากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น หรืออาจปรับปริมาณการใช้ยา โดยยาที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน
  • เนื้องอกที่ตับอ่อนเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งแพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัดนำเนื้องอกออก และในบางรายมีความจำเป็นต้องนำตับอ่อนเพียงบางส่วนออก

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะแทรกซ้อนของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ย่อมเกิดขึ้นได้ถ้าหากปล่อยให้เกิดอาการนานจนเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติ เพราะสมองต้องการน้ำตาลเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ นอกจากนั้น ควรสังเกตถึงสัญญาณและอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเพื่อให้ทันท่วงที เพราะหากไม่ได้รักษาอาจทำให้เกิดอาการที่รุนแรง เช่น อาการชัก หมดสติ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำโดยที่ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำซ้อน เมื่อเวลาผ่านไป อาจทำให้เกิดภาวะดังกล่าวโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ซึ่งหากเกิดก็จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่รุนแรงหรือเป็นอันตรายต่อชีวิต

นอกจากนั้น หากผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจเกิดอาการที่รุนแรงได้ และการเกิดภาวะดังกล่าวซ้ำซ้อนอาจทำให้ผู้ป่วยต้องใช้อินซูลินในปริมาณน้อยเพื่อควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกินไป อย่างไรก็ตาม หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปติดต่อกันระยะยาวก็ทำให้เกิดความเสียหายกับระบบประสาท หลอดเลือด หรืออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ได้แก่

  • ปฏิบัติตามแผนการรักษาตามที่แพทย์ได้แนะนำไว้อย่างระมัดระวัง ทั้งการรับประทานยา การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
  • ตรวจสอบปริมาณยารักษาเบาหวานและอินซูลินอย่างรอบคอบ
  • หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง
  • หมั่นตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอตามที่แพทย์แนะนำ
  • พกสายรัดข้อหรือบัตรประจำตัวที่บ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน
  • บางรายแพทย์อาจแนะนำให้ติดเครื่องวัดระดับน้ำตาลในร่างกาย (Continuous Glucose Monitor: CGM) โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำโดยที่ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ซึ่งเครื่องวัดนี้จะถูกติดตั้งไว้ใต้ผิวหนัง และเครื่องจะส่งสัญญาณเตือนหากระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำกว่าปกติ ควรหาลูกอมหรือเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวไว้ใกล้ตัว เช่น Ion Drink ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ดื่มง่ายและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็ว หรือ

คนเป็นเบาหวานกินโค๊กไม่มีน้ำตาลได้ไหม

ย้ำอีกครั้ง หมอเตือนเครื่องดื่มน้ำอัดลม No sugar หรือสารให้ความหวานอื่นๆ โทษไม่ได้ต่างจากน้ำตาล เสี่ยงป่วยโรคเบาหวาน, โรคหัวใจ และโรคสมองขาดเลือด ย้ำใช้คุมน้ำหนักไม่ได้

สังเกตุตัวเองวาาเปนเบาหวานไหม

อาการเริ่มแรกของโรคเบาหวาน คือ อาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ รับประทานเก่งขึ้น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ถ้าระดับน้ำตาลสูงนานๆ และยังไม่ได้รับการรักษาจะมีน้ำหนักตัวลดลงตามมา

กินอะไรให้น้ำตาลในเลือดลดลง

โรงพยาบาลนนทเวช.

13 อาหาร ลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง เลี่ยงเป็น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ... .

บร็อคโคลื่ ... .

อาหารทะเล ... .

ฟักทอง เมล็ดฟักทอง ... .

พืชตระกูลถั่ว ... .

กิมจิ ... .

กระเจี๊ยบ อาหาร ลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง ... .

กินน้ำหวานทุกวันจะเป็นเบาหวานไหม

การรับประทานอาหารรสหวานจัดหรือมีน้ำตาลมาก ไม่ได้แปลว่าจะเป็นโรคเบาหวานเสมอไป หากมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โรคเบาหวานอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือการทำงานที่ผิดปกติของตับอ่อน ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็อาจทำให้เกิดเบาหวานได้