การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

หมายเหตุ: FOB (Free On Board) คือ เงื่อนไขการส่งมอบสินค้าที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบเมื่อสินค้าวางบนเรือที่ท่าเรือต้นทาง (on board the vessel) และผู้ขายต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายพิธีการส่งออกด้วย ส่วนผู้ซื้อจะเป็นผู้รับภาระในการทำสัญญาการขนส่งและจ่ายค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทาง (ค่าระวางเรือ) รวมถึงรับความเสี่ยงต่อความเสียหายของสินค้าจากจุดส่งมอบ (ท่าเรือต้นทาง) ซึ่งผู้ซื้อควรทำประกันภัยในการขนส่ง

Show

ขนส่งทางเรือ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบอบการค้าระหว่างประเทศ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นพียงการขนส่งชนิดเดียวที่ขนสินค้าได้มีปริมาณน้ำหนักที่มาก ค่าระวางมีราคาถูกกว่าการขนส่งชนิดอื่น และการขนส่งทางเรือยังเป็นที่นิยมสำหรับการขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทย

บริษัท ลิ้งซ์จิสติกส์ อินเตอร์ เฟรท จำกัด มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์มาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี โดยเป็นผู้ให้บริการขนส่งทางเรือหลายรูปแบบ เช่น แบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ (FCL), แบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ (LCL), แบบเทกอง (Bulk Cargo) และยังให้บริการขนส่งทางเรือแบบงาน Project เรารับเดินพิธีการศุลกากร และเดินเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย


สารบัญ

ประเภทการขนส่งทางเรือ

การขนส่งทางเรือแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ (Full Container Load : FCL)

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การขนส่งทางเรือแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การขนส่งทางเรือแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การบรรจุสินค้าแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าที่บรรจุในตู้จะเป็นของลูกค้าเพียงรายเดียว ซึ่งจะเหมาะสำหรับลูกค้าที่มีการขนส่งสินค้า ปริมาณมาก และ ขนาดใหญ่ โดยบริษัท ลิ้งซ์จิสติกส์ อินเตอร์ เฟรท จำกัด ให้บริการตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20’ 40’ 40’HC, Open Tops, Flat Racks, Reefers เป็นต้น บริษัทของเราสามารถดูแลสินค้าตั้งแต่การบรรจุที่ต้นทางจนถึงผู้รับปลายทางได้เป็นอย่างดี เรามีบุคลากรที่สามารถประสานงานการขนส่งทางเรือกับทางประเทศเช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนนาดา สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ ยุโรป ตะวันออกกลาง เป็นต้น บริษัทของเราสามารถตรวจสอบรายละเอียดสินค้าตั้งแต่คุณมีการสั่งซื้อ ว่าสินค้าสามารถนำเข้าได้ทันที หรือต้องขอใบอนุญาต รวมทั้งอัตราภาษีที่ต้องชำระก่อนสินค้าจะมีการจัดส่งมาจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ส่งและผู้รับมีความสะดวกรวดเร็วในการรับและส่งสินค้า ตลอดจนรู้ถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนสินค้าจะมีการขนส่งทางเรือมาที่ประเทศไทยอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา

การขนส่งทางเรือแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ (Less than Container Load : LCL)

การบรรจุสินค้าไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าในตู้จะเป็นของลูกค้ามากกว่าหนึ่งรายใช้ตู้คอนเทนเนอร์เดียวกัน โดยจะเหมาะสำหรับลูกค้าที่มีการขนส่งสินค้าจำนวนน้อย โดยบริษัท ลิ้งซ์จิสติกส์ อินเตอร์ เฟรท จำกัด สามารถดูแลสินค้าตั้งแต่การบรรจุที่ต้นทางจนถึงผู้รับปลายทางได้เป็นอย่างดี เรามีบุคลากรที่สามารถประสานงานการขนส่งทางเรือกับทางประเทศเช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนนาดา สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ ยุโรป ตะวันออกกลาง เป็นต้น บริษัทของเราสามารถตรวจสอบรายละเอียดสินค้าตั้งแต่คุณมีการสั่งซื้อ ว่าสินค้าสามารถนำเข้าได้ทันที หรือต้องขอใบอนุญาต รวมทั้งอัตราภาษีที่ต้องชำระก่อนสินค้าจะมีการจัดส่งมาจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ส่งและผู้รับมีความสะดวกรวดเร็วในการรับและส่งสินค้า ตลอดจนรู้ถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนสินค้าจะมีการขนส่งทางเรือมาที่ประเทศไทยอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา

การขนส่งสินค้าทางเรือแบบเทกอง (Bulk Cargo)

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การขนส่งทางเรือแบบเทกอง (เครื่องจักร)

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การขนส่งทางเรือแบบเทกอง (หัวรถจักร)

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การขนส่งทางเรือแบบเทกอง (รถไฟเครน)

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การขนส่งทางเรือแบบเทกอง (สายไฟ)

เหมาะกับสินค้ามีขนาดใหญ่มาก น้ำหนักและ/หรือปริมาณมาก จนไม่สามารถขนส่งได้โดยการบรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์หรือมัดรวมเป็นหีบห่อได้ เช่น เหล็กเส้น เหล็กแผ่น ท่อที่มีความยาว หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นต้น สามารถดูแลสินค้าตั้งแต่การบรรจุที่ต้นทางจนถึงผู้รับปลายทางได้เป็นอย่างดี เรามีบุคลากรที่สามารถประสานงานการขนส่งทางเรือกับทางประเทศเช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนนาดา สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ ยุโรป ตะวันออกกลาง เป็นต้น บริษัทของเราสามารถตรวจสอบรายละเอียดสินค้าตั้งแต่คุณมีการสั่งซื้อ ว่าสินค้าสามารถนำเข้าได้ทันที หรือต้องขอใบอนุญาต รวมทั้งอัตราภาษีที่ต้องชำระก่อนสินค้าจะมีการจัดส่งมาจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ส่งและผู้รับมีความสะดวกรวดเร็วในการรับและส่งสินค้า ตลอดจนรู้ถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนสินค้าจะมีการขนส่งทางเรือมาที่ประเทศไทยอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา

บริษัท ลิ้งซ์จิสติกส์ อินเตอร์ เฟรท จำกัด มี contracted rate หรือเรทพิเศษกับสายเรือต่างๆ เช่น บริษัทหมินเซิง ชิปปิ้ง ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่าลูกค้าจะได้ราคาที่พอใจและสามารถนำราคาไปแข่งขันได้จากเรา

เปรียบเทียบการ ขนส่งทางเรือ

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

เปรียบเทียบ การขนส่งทางเรือ

ข้อดีของการ ขนส่งทางเรือ

การขนส่งทางเรือ มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการขนส่งทุกประเทศ ถูกกว่า การขนส่งทางเครื่องบิน และ การขนส่งทางรถยนต์

การขนส่งสินค้าทั่วโลกกว่า 95% เป็นการขนส่งทางเรือ ลูกค้าจึงสามารถ ขนส่งสินค้าทางเรือ ไปที่ไหนก็ได้ ที่มีท่าเรือ เนื่องจากสายเรือมีครอบคลุมทุกที่

ข้อเสียของการ ขนส่งทางเรือ

การขนส่งทางเรือ ใช้ระยะเวลานาน อาจจะ 2-60 วัน ขึ้นอยู่กับระยะทาง เส้นทางเดินเรือ และกำหนดการของเรือ

การขนส่งทางเรือ ต้องวางแผน เผื่อระยะเวลา เนื่องจากเรือ อาจจะล่าช้ากว่ากำหนดเนื่องจากสภาพภูมิอากาศ หรือเนื่องจากปัญหาที่ท่าเรือ

การขนส่งทางเรือ ในบางเส้นทาง จะมีโจรสลัด ซึ่งอาจจะทำให้สินค้าของท่านล่าช้า หรือสูญหายได้ จึงควรทำประกันภัยการขนส่งไว้ด้วย

ประเภทการให้บริการ ขนส่งทางเรือ

ลูกค้าสามารถเลือกบริการ ขนส่งทางเรือ ของเราได้หลากหลายรูปแบบ เช่นแบบ door-to-door, แบบ door-to-port และแบบ port-to-door

ขนส่งทางเรือ แบบ door-to-door

บริษัทจะดำเนินการตั้งแต่ จัดรถไปรับสินค้าที่โรงงานของลูกค้า ส่งไปที่ทางเรือ ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรขาออก

เมื่อสินค้าไปถึงปลายทาง ก็จะดำเนินการพิธีการทางศุลกากรขาเข้า ที่ประเทศปลายทาง และนำส่งให้ถึงบริษัทปลายทาง

ขนส่งทางเรือ แบบ door-to-port

บริษัทจะดำเนินการจัดรถไปรับสินค้าที่โรงงานของลูกค้า ส่งไปที่ทางเรือ ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรขาออก

ขนส่งทางเรือ แบบ port-to-door

บริษัทจะดำเนินการพิธีการทางศุลกากรขาเข้า และนำส่งสินค้าให้ถึงบริษัทของลูกค้า

ขนส่งแบบผสม (mixed)

บริษัทจะจัดหาการขนส่งแบบผสมต่างๆ เช่น

  • การขนส่งทางเรือต่อด้วยเครื่องบิน เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งทางด้านต้นทุน และระยะเวลา
  • การขนส่งทางเรือต่อด้วยรถไฟ เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งทางด้านต้นทุน
  • การขนส่งทางเรือต่อด้วยรถข้ามประเทศ เพื่อให้ขนส่งไปประเทศที่ไม่ติดทะเลได้ เช่น ประเทศลาว

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การขนส่งทางเรือ ส่งต่อไปลาว ข้ามแม่น้ำแม่โขง

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การขนส่งทางเรือ ส่งต่อด้วยรถยนต์ ไปลาว

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การขนส่งทางเรือแบบผสม ขึ้นเทรลเลอร์ ข้ามแม่น้ำไปลาว

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

การขนส่งทางเรือแบบผสม ขึ้นเทรลเลอร์ ไปลาว

  • การขนส่งทางเรือแบบมี transit

ขั้นตอนการขนส่งทางเรือ

  1. ติดต่อจองระวางเรือ (Freight) โดยเราจะหาระวางเรือที่เหมาะสมที่สุดให้กับลูกค้า เรามีสัญญาระวางเรือราคาพิเศษกับสายเรือชั้นนำทั่วโลก (Contracted Rate) ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่า จะได้ราคาขนส่งทางเรือ อัตราพิเศษแน่นอน
  2. รอยืนยันการจองระวางเรือ (Booking Confirmation) เราจะแจ้งยืนยันการจองระวางเรือให้กับลูกค้าโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ลูกค้าสามารถวางแผนได้ล่วงหน้า
  3. เราจัดตู้คอนเทนเนอร์ ไปให้ถึงสถานที่ของลูกค้า รอลูกค้าโหลดสินค้า แล้วลากไปยังท่าเรือต้นทาง หรือ ลูกค้าจะดำเนินการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือต้นทาง ตามวันเวลาที่จองระวางเรือไว้ก็ได้
  4. ดำเนินพิธีศุลกากร ลูกค้าสามารถดำเนินการด้วยตนเอง หรือให้เราดำเนินการแทนให้ได้ โดยว่าจ้างเราเป็น ตัวแทนออกของ (Customs Broker) เพื่อเดินพิธีการศุลกากร
  5. ท่าเรือต้นทาง (Port of Loading) จะทำการยกตู้คอนเทนเนอร์ ขึ้นไปบนเรือ และออกเอกสารใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of lading) ให้ลูกค้า
  6. เรือออกเดินทาง ไปสู่ท่าเรือปลายทาง (Port of Discharge) ซึ่งโดยส่วนใหญ่ จะมีแวะท่าเรือต่างๆ กลางทาง
  7. เมื่อเรือถึงท่าเรือปลายทาง ท่าเรือปลายทาง จะทำการยกตู้คอนเทนเนอร์ ลงจากเรือ
  8. ผู้รับสินค้าปลายทาง นำใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of lading) มาติดต่อกับสายเรือ เพื่อเปลี่ยนเป็น ใบปล่อยสินค้า (Delivery Order)
  9. ผู้รับสินค้าปลายทาง นำใบปล่อยสินค้า (Delivery Order) มาดำเนินพิธีการศุลกากร ที่ประเทศปลายทาง
  10. ผู้รับสินค้าปลายทางจัดเตรียมรถ มารับสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

ลานหน้าท่าเรือแหลมฉบัง

พิธีการศุลกากร

การนำเข้าสินค้าทางเรือ ต้องดำเนินพิธีการทางศุลกากร ตามข้อบังคับและข้อกำหนดของกรมศุลกากร ตามรายละเอียด พิธีการนำเข้าทางเรือ และ พิธีการส่งออกทางเรือ ซึ่งมีรายละเอียดซับซ้อน บริษัท ลิ้งซ์จิสติกส์ อินเตอร์ เฟรท จำกัด มีความเชี่ยวชาญทางด้านพิธีการศุลกากรโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นพิธีการทั่วไป พิธีการนำสินค้าเข้า-ออกเขตปลอดอากร (Free Zone) การขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ หรือการใช้สิทธิ์ BOI ของลูกค้า เรามีประสบการณ์ด้านศุลกากรมากว่า 20 ปี มีพนักงานที่ผ่านหลักสูตรตัวแทนออกของ อย่างพอเพียง

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีการพิเศษต่างๆ เช่น พิธีการหลายเที่ยวเรือ พิธีการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ พิธีการส่งเสริมการลงทุน พิธีการสินค้าส่งกลับ พิธีการนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ)

เอกสารที่ใช้ดำเนินพิธีการศุลกากร สำหรับการขนส่งทางเรือ

  1. ใบขนสินค้า
  2. ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading)
  3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) เอกสารนี้ออกโดยผู้ส่งออก
  4. บัญชีบรรจุหีบห่อ (Packing List) เอกสารนี้ออกโดยผู้ส่งออก

เอกสารการขนส่งทางเรือ

ในการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ จะมีเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนี้

ใบตราส่งสินค้า หรือ B/L (Bill of Loading)

เป็นเอกสารที่มีความสำคัญในการขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นเอกสารที่บริษัทผู้ขนส่งสินค้าออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า ผู้ขนส่งได้รับสินค้าไว้เพื่อบรรทุกลงเรือแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงปลายทาง ผู้รับสินค้าปลายทางจะนำใบตราส่งสินค้ามาให้แก่บริษัทผู้ขนส่งเพื่อรับเอกสารใบปล่อยสินค้า (D/O) แล้วนำใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการศุลกากรเพื่อนำสินค้าออกจากท่าเรือ

หน้า B/L จะแสดงข้อมูลดังนี้

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

1. ชื่อที่อยู่ของผู้ส่งสินค้า (Shipper) 2. ชื่อที่อยู่ของผู้รับสินค้า (Consignee) 3. ชื่อที่อยู่ของผู้เกี่ยวข้องกับการรับสินค้า (Notify Party) 4. เลขที่ใบตราส่งสินค้า (Bill of lading No.) 5. ตัวแทนที่ปลายทาง (Agent at Destination) 6. ชื่อเรือที่บรรทุกสินค้าลำแรก (Precarriage / Feeder Vessel) เที่ยวเรือ (Voy no.) 7. ชื่อเรือที่บรรทุกสินค้า (Mother Vessel) เที่ยวเรือ (Voy no.) 8. สถานที่รับสินค้าที่ต้นทาง (Place of Receipt) 9. เมืองท่าต้นทาง (Port of Loading) 10. เมืองท่าปลายทาง (Port of Discharge) 11. สถานที่รับสินค้าปลายทาง (Place of Delivery) 12. เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Mark & No.) 13. จำนวนสินค้า (No. of packages) 14. รายละเอียดสินค้า (Description of Goods) 15. น้ำหนักสินค้า (Gross weight) 16. ปริมาตรสินค้า (Measurement) 17. หมายเลขตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้า (Container No.) 18. หมายเลขซีล (Seal No.) 19. ค่าระวางสินค้าและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บ (Freight & Charge) 20. วันที่สินค้าขึ้นเรือ (On Board Date) 21. สถานที่รับชำระค่าระวางเรือ (Freight Payable At) 22. จำนวนของต้นฉบับใบตราส่งสินค้า (No. of Original B/L) 23. สถานที่ออกใบตราส่งสินค้า (Place of issued) 24. วันที่ออกใบตราส่งสินค้า (Issued Date) 25. ลายมือชื่อผู้ออกตราส่งสินค้า (Signature)

B/L นั้นสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 3 ประเภท  ORIGINAL B/L  SURRENDER B/L หรือ Telex release  SEA WAYBILL

ORIGINAL B/L Original B/L มีทั้งหมด 3 ฉบับ ผู้รับสินค้าต้องใช้เอกสาร Original B/L(ฉบับจริงเท่านั้น)ในการติดต่อกับตัวแทนสายเรือเพื่อขอแลกเอกสาร D/O เพื่อรับสินค้าที่ปลายทาง ตัวอย่าง Original B/L

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

SURRENDERED B/L ผู้ส่งสินค้าต้นทางสามารถนำ original B/L ทั้ง3ฉบับ ไปดำเนินการกับตัวแทนสายเรือต้นทางเพื่อทำ Surrendered B/L โดยตัวแทนสายเรือจากต้นทางจะทำการลงข้อมูลในระบบเป็น telex release ซึ่งผู้รับสินค้าปลายทางสามารถติดต่อกับตัวแทนสายเรือขอแลกเอกสาร D/O เพื่อรับสินค้าที่ปลายทาง โดยไม่ต้องมีเอกสาร Original B/L

ตัวอย่าง Surrendered B/L

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

SEA WAYBILL ผู้รับสินค้าปลายทางสามารถติดต่อกับตัวแทนสายเรือขอแลกเอกสาร D/O เพื่อรับสินค้าที่ปลายทางได้ทันทีโดยไม่ต้องมีใบตราส่งสินค้าต้นฉบับ การใช้ Sea waybill จะค่อนข้างสะดวกและรวดเร็วกว่า แต่สำหรับผู้ส่งออกสินค้าจะมีความเสี่ยงต่อการเก็บเงิน ดังนั้นSea waybill จึงไม่เป็นที่นิยม อย่างไรก็ตามการออก Sea waybill เหมาะกับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าที่ทำการค้าด้วยกันมาเป็นเวลานานและได้เกิดความเชื่อใจกันระหว่างบริษัท

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

ข้อดีข้อเสียของของ B/L ทั้ง 3 ประเภท

ประเภท B/Lข้อดีข้อเสียOriginal B/L· ผู้ส่งสินค้าสามารถควบคุมการเคลื่อนย้าย การส่งมอบสินค้า รวมถึงสามารถโอนสิทธิ์ในการครอบครองในเวลาที่เลือกได้

· มีประโยชน์ในการจัดส่งภายใต้ตราสารเครดิตต เนื่องจากเป็นตัวควบคุมการโอนสินค้าและเงินทุน

· เนื่องด้วยระยะเวลาและความจำเป็นต้องรอต้นฉบับที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง การส่งเอกสารที่จำเป็นในบางครั้งอาจทำได้รับสินค้าล่าช้า หรือ เรือถึงท่าเรือปลายทางแล้วแต่เอกสารฉบับจริงยังส่งไปไม่ถึงSurrendered B/L· ผู้รับไม่ต้องรอ B/L ตัวจริงจากผู้ส่งสินค้าเพื่อประกันการปล่อยสินค้า สามารถหลีกเลี่ยงความล่าช้าเมื่อสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางแล้ว· เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มในการดำเนินการ surrender B/L กับตัวแทนสายเรือSea waybill· ผู้รับไม่ต้องรอ B/L ตัวจริงจากผู้ส่งสินค้า สามารถหลีกเลี่ยงความล่าช้าเมื่อสินค้ามาถึงปลายทาง

· ไม่ควบคุมกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือสิทธิในการครอบครอง ผู้รับสามารถรับสินค้าได้เมื่อมาถึง

· ธนาคารไม่รับ Sea waybill เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการชำระเงิน ต่างจาก Original B/L ผู้ขนส่งไม่สามารถห้ามการปล่อยสินค้าได้เมื่อมีการชำระค่าขนส่งไปยังผู้ขนส่งแล้ว · เมื่อออก Sea waybill แล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้

บัญชีสินค้า หรือ Manifest

เป็นบัญชีสินค้าที่ขนส่งมาทางเรือ ใช้สำหรับสำแดงสินค้า ให้กรมศุลกากร และท่าเรือปลายทาง

ใบสั่งปล่อยสินค้า หรือ D/O (Delivery Order)

เป็นเอกสารที่สายเรือออกให้กับผู้รับสินค้าปลายทาง เพื่อนำไปใช้รับสินค้าออกจากท่าเรือ

ใบยืนยันการจองเรือ หรือ Booking Confirmation

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

ตัวอย่างเอกสาร Booking Confirmation

เอกสารนี้ จะได้มาจากสายเรือ เมื่อทำการจองระวางเรือสำเร็จแล้ว ประกอบด้วยข้อมูล และรายละเอียดดังนี้

  • ชื่อเรือ (Vessel)
  • วันที่เรือออกจากต้นทาง (ETD)
  • วันที่เรือถึงจุดหมาย (ETA)
  • ท่าเรือต้นทาง
  • ท่าเรือปลายทาง
  • ชื่อผู้ส่งออก
  • จำนวนตู้คอนเทนเนอร์
  • ขนาดตู้คอนเทนเนอร์
  • ประเภทตู้คอนเทนเนอร์
  • ชนิดของสินค้า

การทำประกันภัย ขนส่งทางเรือ

ลูกค้า สามารถเลือกทำประกันภัยได้หลายรูปแบบ โดยผู้ที่จะทำประกันภัยได้ จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสินค้าหรือการขนส่งนั้นเท่านั้น เช่น เจ้าของสินค้า เจ้าของเรือ เจ้าของรถบรรทุก บริษัทผู้รับขนส่ง โดยผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้า ขณะเกิดความเสียหาย จะได้รับเงินค่าสินไหมทดแทน

ภัยที่คุ้มครองระหว่างการ ขนส่งทางเรือ มีดังนี้

ภัยธรรมชาติทางทะเล เช่น มรสุม พายุ

ภัยจากอุบัติเหตุทางเรือ เช่น เรือชนกัน เรืออัปปาง อัคคีภัย ตู้คอนเทนเนอร์หล่นจากเรือ

ภัยจากการจรกรรม เช่น โจรสลัด

เงื่อนไขการคุ้มครอง

มี 3 เงื่อนไข ดังนี้

Institute Cargo Clauses (A)

เป็นการประกันภัย การขนส่งทางเรือ ที่คุ้มครองมากที่สุด ราคาเบี้ยประกันภัยแพงที่สุด คลอบคลุมภัยทุกชนิด (All Risks)

Institute Cargo Clauses (B)

เป็นการประกันภัย การขนส่งทางเรือ ที่ครอบคลุมปานกลาง ราคาเบี้ยประกันภัยปานกลาง

Institute Cargo Clauses (C)

เป็นการประกันภัย การขนส่งทางเรือ ที่ครอบคลุมน้อยที่สุด ราคาเบี้ยประกันภัยถูกที่สุด

ตารางเปรียบเทียบการประกันภัย ขนส่งทางเรือ ประเทภต่างๆ

รายละเอียดความเสียหายI.C.C (A)I.C.C (B)I.C.C (C)อัคคีภัย ระเบิดคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองเรือชน เรือล่ม เรือจม เรือเกยตื้นคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองรถชน รถพลิกคว่ำคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองรถไฟชน รถไฟตกรางคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองขนถ่ายสินค้าหลบภัยคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองการเสียสละเพื่อส่วนรวมคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองการทิ้งสินค้าลงทะเล เนื่องจากประสบภัยคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองแผ่นดินไหวคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครองภูเขาไฟระเบิดคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครองฟ้าผ่าคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครองตู้คอนเทนเนอร์ หรือสินค้า ถูกคลื่นซัดตกทะเลคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครองสินค้าเสียหาย จากการขนถ่าย ขึ้น/ลง/สับเปลี่ยน เรือคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครองน้ำอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำฝน เข้าไปในเรือ หรือ เข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์คุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครองน้ำฝนเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์คุ้มครองไม่คุ้มครองไม่คุ้มครองการกระทำด้วยความประสงค์ร้าย ของบุคคลอื่นคุ้มครองไม่คุ้มครองไม่คุ้มครองโจรสลัดคุ้มครองไม่คุ้มครองไม่คุ้มครองถูกขโมยคุ้มครองไม่คุ้มครองไม่คุ้มครองสินค้าแตก หัก เปื้อน ฉีกขาดคุ้มครองไม่คุ้มครองไม่คุ้มครอง

ข้อยกเว้นความคุ้มครองการประกันภัย ขนส่งทางเรือ

รายละเอียดข้อยกเว้นI.C.C (A)I.C.C (B)I.C.C (C)ผู้เอาประกันภัย ตั้งใจทำมิชอบยกเว้นยกเว้นยกเว้นการเสื่อมสภาพตามปกติยกเว้นยกเว้นยกเว้นการบรรจุหีบห่อ ไม่เหมาะสมยกเว้นยกเว้นยกเว้นการล่าช้ายกเว้นยกเว้นยกเว้นการล้มละลาย ของผู้ให้บริการขนส่งยกเว้นยกเว้นยกเว้นภัยจากอาวุธนิวเคลียร์ ฟิวชั่น หรือ ฟิชชั่นยกเว้นยกเว้นยกเว้นภัยจากอาวุธกัมมันตภาพรังสียกเว้นยกเว้นยกเว้นความไม่พร้อมของยานพาหนะยกเว้นยกเว้นยกเว้นความไม่ปลอดภัยของยานพาหนะยกเว้นยกเว้นยกเว้นภัยสงครามยกเว้นยกเว้นยกเว้นภัยจลาจลยกเว้นยกเว้นยกเว้นการนัดหยุดงานยกเว้นยกเว้นยกเว้นบุคคลอื่น ตั้งใจทำมิชอบคุ้มครองยกเว้นยกเว้น

สินค้าแบบพิเศษ

สินค้าที่ต้องขออนุญาต

สมอ.

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้าน สมอ. (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ซึ่งจะตรวจสอบพิกัดศุลกากรสินค้าและให้คำปรึกษาด้านข้อกำหนดของสินค้าที่เข้าข่าย

อาหารและยา

สินค้าที่เป็นอาหารและยา ผู้นำเข้าจะต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าและจัดเก็บจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อน หลังจากได้รับใบอนุญาตแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงด่านศุลกากร ตัวแทนออกของของผู้นำเข้าจะต้องมีการติดต่อด่านอย. เพื่อแจ้งการมาถึงของสินค้า และทำการชักตัวอย่าง(ตามดุลยพินิจเจ้าหน้าที่)

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

สินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายและสินค้าที่เป็นเศษทางอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะนำเข้าสินค้าดังกล่าวใช้การขนส่งทางเรือเป็นหลัก ผู้นำเข้าและส่งออกจะต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยในเอกสาร B/L จะระบุ UN NUMBER กับ CLASS NUMBER เมื่อสินค้าขนส่งสินค้ามาถึงประเทศไทย ทางบริษัทจะดำเนินการ ENTER เอกสารกับทางสายเรือ แจ้งว่าเป็นวัตถุอันตราย และทางบริษัทฯจะต้องบันทึกข้องมูลในส่วนของ http://www.dg-net.org/en/ เพื่อแจ้งให้ทางท่าเรือและกรมศุลกากรทราบว่ามีสินค้าเป็นทีเป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เพื่อการจัดเก็บสินค้าดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับวัตถุอันตราย ทางบริษัทฯสามารถตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่นำเข้ามาได้ว่าต้องขอใบอนุญาตอย่างไร เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าให้กับทางลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

กรมวิชาการเกษตร

สินค้าที่ผลิตจากไม้เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม้อัด เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนำเข้าสินค้าดังกล่าวใช้การขนส่งทางเรือเป็นหลัก ผู้นำเข้าจะต้องขอใบแจ้งการนำเข้าสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม ( พ.ก.5 ) จากกรมวิชาการเกษตร โดยทางบริษัทฯสามารถดำเนินการลงทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรและยื่นขอใบแจ้งการนำเข้าสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม ( พ.ก.5 )ให้กับทางผู้นำเข้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าให้กับทางลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

ท่าเรือในประเทศไทย

ท่าเรือหลักๆ ของการขนส่งทางเรือ ในประเทศไทย มีดังนี้

  1. ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือที่ทันสมัย และยอดนิยมในไทย มีการขนส่งที่สะดวก มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่เพรียบพร้อม การเดินทางเชื่อมต่อกับนิคมต่างๆในชลบุรี และระยอง ทำได้รวดเร็ว
  2. ท่าเรือคลองเตย เป็นท่าเรือของรัฐบาล อยู่ใกล้ใจกลางเมือง สะดวกต่อการขนส่ง
  3. ท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยอง

ระยะเวลาขนส่งทางเรือ

ข้อมูลด้านล่าง เป็นระยะเวลาขนส่งทางเรือแบบคร่าวๆ ระยะเวลาขนส่งทางเรือจริงจะช้ากว่านี้ เนื่องจาก

  • ต้องรอรอบเรือเข้า ตามกำหนด
  • เรือไม่มีที่ว่างพอ ต้องรอรอบเรือถัดไป
  • มีการขนถ่ายตู้ที่ท่าเรือ ในกรณีที่ไม่มีเที่ยวเรือแบบ direct
  • เรือล่าช้า เนื่องจากภัยธรรมชาติ หรือ อุบัติเหตุ
  • มีการเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือระหว่างทาง หรือแวะท่าเรือเพิ่ม

ขนส่งทางเรือ ไปจีน

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

เส้นทางขนส่งทางเรือไปเซี่ยงไฮ้

จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไป ท่าเรือ Shanghai ประเทศจีน ระยะทาง 3,878 กม.

สายเรือระยะเวลาประเภทMSC6-7 DAYSDIRECTZIM8-10 DAYSDIRECTCOSCO9 DAYSDIRECTOOCL9-10 DAYSDIRECTYANG MING8-10 DAYSDIRECTHYUNDAI10-12 DAYSDIRECTWAN HAI10-12 DAYSDIRECTONE9-10 DAYSDIRECTSITC7-8 DAYSDIRECTEVERGREEN7-10 DAYSDIRECTKMTC7-9 DAYSDIRECTHEUNG-A12-14 DAYSDIRECT

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

เส้นทางขนส่งทางเรือ ไป HUANGPU

จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไป ท่าเรือ HUANGPU ประเทศจีน ระยะทาง 1,419 กม.

สายเรือระยะเวลาประเภทZIM12-14 DAYSTRANSSHIPCOSCO10-12 DAYSTRANSSHIPOOCL10-12 DAYSTRANSSHIPYANG MING6 DAYSTRANSSHIPWAN HAI7-10 DAYSTRANSSHIPEVERGREEN9 DAYSTRANSSHIPKMTC9-10 DAYSTRANSSHIP

ขนส่งทางเรือ ไปสิงคโปร์

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

เส้นทางขนส่งทางเรือ ไปสิงคโปร์

จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไป ท่าเรือ Singapore ประเทศสิงค์โปร์ ระยะทาง 1,403 กม.

สายเรือระยะเวลาประเภทMSC3 DAYSDIRECTZIM2 DAYSDIRECTCOSCO2-3 DAYSDIRECTOOCL2-3 DAYSDIRECTYANG MING2-4 DAYSDIRECTPIL2 DAYSDIRECTHYUNDAI3-5 DAYSDIRECTWAN HAI3 DAYSDIRECTONE5-6 DAYSDIRECTEVERGREEN3-4 DAYSDIRECTKMTC3 DAYSDIRECT

ขนส่งทางเรือ ไปเวียดนาม

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

เส้นทางขนส่งทางเรือ ไปเวียดนาม

จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไป ท่าเรือ Hochiminh ประเทศเวียดนาม ระยะทาง 1,256 กม.

สายเรือระยะเวลาประเภทCOSCO9-11 DAYSDIRECT & TRANSSHIPOOCL14-17 DAYSTRANSSHIPYANG MING2 DAYSDIRECTPIL8-11 DAYTRANSSHIPHYUNDAI2-3 DAYSDIRECTWAN HAI3-5 DAYSDIRECTONE6-7 DAYSDIRECTSITC1-2 DAYSDIRECTEVERGREEN3-4 DAYSDIRECTKMTC1-3 DAYSDIRECTHEUNG-A1-2 DAYSDIRECT

ขนส่งทางเรือ ไปพม่า

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

เส้นทางขนส่งทางเรือ ไปพม่า

จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไป ท่าเรือ Yangon ประเทศพม่า ระยะทาง 3,411 กม.

COSCO 7 DAYS

ZIM 8 DAYS

EVERGREEN 12 DAYS

PIL 9 DAYS

ONE 14 DAYS

ขนส่งทางเรือไปฮ่องกง

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไป ท่าเรือ Hong kong ระยะทาง 2600 กม.

COSCO 3-5DAYS

YANGMING 4-6DAYS

SITC 4DAYS

KMTC 4DAYS

EVERGREEN 5-6DAYS

ZIM 5DAYS

ขนส่งทางเรือไปอินโดนีเซีย

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไป ท่าเรือ Jakarta ประเทศอินโดนีเซีย

MSC 7 DAYS

COSCO 5 DAYS

OOCL 5 DAYS

HMM 7 DAYS

SITC 5 DAYS

KMTC 3 DAYS

HEUNG-A 3 DAYS

ขนส่งทางเรือไปฟิลิปปินส์

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไป ท่าเรือ Manila ประเทศฟิลิปปินส์ ระยะทาง 2,539 กม.

ONE 6 DAYS

CMA CGM 6 DAYS

CNC 5 DAYS

CK LINE 4 DAYS

OOCL 11 DAYS

MSC 18 DAYS

SITC 5 DAYS

SEALAND 6 DAYS

RCL 5 DAYS

YANG MING 46 DAYS

ขนส่งทางเรือไปไต้หวัน

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไป ท่าเรือ Taichung ประเทศไต้หวัน ระยะทาง 3,093 กม.

YANG MING 7 DAYS

APL 9 DAYS

WAN HAI 4-6 DAYS

KMTC 12-13 DAYS

CNC 7 DAYS

TS LINE 7-9 DAYS

INTERASIA 7 DAYS

EVERGREEN 5 DAYS

ขนส่งทางเรือไปแคนาดา

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

จาก ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไป ท่าเรือ Vancouver ประเทศแคนาดา ระยะทาง 14,011 กม.

ZIM 30 DAYS

MSC 36 DAYS

HMM 27 DAYS

ONE 27 DAYS

YANG MING 27 DAYS

EVERGREEN 30 DAYS

OOCL 24 DAYS

HYUNDAI 29 DAYS

MAERSK 36 DAYS

APL 37 DAYS

COSCO 43 DAYS

CMA CGM 45 DAYS

HAPAG-LLOYD 24 DAYS

HAMBURG SUD 30 DAYS

ตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับการขนส่งทางเรือ

ตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับการขนส่งทางเรือ สามารถแบ่งแยกย่อยโดยขนาดตู้ และโดยประเภท

แบ่งตามขนาดตู้

ขนาดตู้20 ฟุต40 ฟุต40 ฟุต Height Cube40 ฟุต Reeferความกว้าง (mm)2352235023522352ความยาว (mm)5898120321202312023ความสูง (mm)2395239226982698น้ำหนักบรรจุสูงสุด (ตัน)21.727.427.427.4ปริมาตรบรรจุสูงสุด (คิวบิกเมตร)33.267.676.276.2ความกว้างประตู (mm)2340233823402340ความสูงประตู (mm)2280228025852585น้ำหนักตู้ (kg)2200373039003900

แบ่งตามประเภทตู้

  • ตู้มาตรฐานทั่วไป (Dry Box) เป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบปกติ ที่ใช้งานกันหลากหลายทั่วไป

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐานทั่วไป

  • ตู้แบบควบคุมความเย็น (Reefer) เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็น และมีเครื่องวัดอุณหภูมิ ใช้บรรจุสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม เช่น อาหารสด ผลไม้ สารเคมีที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ
  • ตู้แบบ Open Top เป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบเปิดโล่งด้านบน สำหรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ หรือไม่สามารถเข้าทางประตูตู้ได้ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ก่อสร้างขนาดใหญ่ รถยนต์สูงๆ

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Open Top

  • ตู้แบบ Flat Rack เป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบเปิดโล่งด้านบน และด้านข้าง สำหรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ทั้งความสูง และความกว้าง เช่น เครื่องจักร

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Flat-Rack

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Flat-Rack

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Flat-Rack

  • ตู้แบบ Tank เป็นตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุของเหลว ซึ่งจะสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายของเหลวด้วยระบบท่อ มากกว่าการบรรจุเป็นถัง

สินค้าที่นิยมขนส่งทางเรือ

ลักษณะเฉพาะของสินค้าที่นิยมขนส่งทางเรือ

  • เป็นสินค้าที่ต้องการขนส่งเป็นจำนวนมาก
  • ไม่ต้องการความเร่งด่วนในการขนส่ง
  • สินค้ามีขนาดใหญ่
  • ต้องการค่าขนส่งที่ราคาถูก
  • มี self-life ที่ยาวนาน

ตัวอย่างสินค้าที่นิยมขนส่งทางเรือ

  • เฟอร์นิเจอร์
  • รถนานาชนิด เช่น รถเก๋ง รถกระบะ รถดับเพลิง รถบัส รถถัง รถตัก รถขุด ฯ
  • เครื่องจักร เครื่องจักรเกือบทุกชนิดยกเว้นหม้อแปลงที่ขนาดใหญ่และหนักเป็นพิเศษ
  • วัถุดิบต่างๆ เช่น ยางพารา ไม้ยาง น้ำเชื่อม ผ้าดิบ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น แอร์ เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์
  • อาหารต่างๆ ข้าวโพด ขนม น้ำตาล หมากฝรั่ง ลูกอม เครื่องดื่ม
  • สินค้าอันตรายบางชนิด เช่น ระเบิด กัมมันตรังสี เคมีประเททควบคุม แบตเตอรี่
  • สิ่งทอต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าปู ผ้าม่าน
  • อะไหล่ต่างๆ เช่น ล้อรถ มอเตอร์รถยนต์ โครงรถ อะไหล่เครื่องจักร
  • วัสดุก่อสร้าง เช่น ปูน สี กระเบื้อง หินอ่อน สุขภัณฑ์

แนะนำท่าเรือหลักในประเทศไทย

ปริมาณจำนวนเที่ยวเรือและสินค้าขาเข้า-ขาออกในแต่ละท่าเรือ จากข้อมูลเศรษฐกิจการขนส่งสินค้าทางน้ำบริเวณเมืองท่าชายทะเล ปี 2563 พบว่าจำนวนเที่ยวเรือที่มีการขนส่งสินค้าที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลจำนวน 22 ด่าน มีจำนวนทั้งสิ้น 139,088 เที่ยวลำ ปริมาณสินค้ารวมทั้งสิ้น 293.852 ล้านตัน สามารถจำแนกเป็นเรือค้าต่างประเทศ และเรือค้าชายฝั่ง ได้ดังนี้

1.เรือค้าต่างประเทศ

– จำนวนเรือขาเข้า-ออกมากที่สุด โดยจำแนกตามขนาดช่วงตันเนต ได้แก่ ด่านระนอง

– ปริมาณสินค้าขาเข้า-ขาออก มากที่สุด ได้แก่ ด่านแหลมฉบัง โดยมีประเภทสินค้า คือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สินค้า

เบ็ดเตล็ด และที่ไม่ระบุประเภทสินค้า

2.เรือค้าชายฝั่ง

– จำนวนเรือขาเข้า-ออกมากที่สุด โดยจำแนกตามขนาดช่วงตันเนต ได้แก่ ด่านแหลมฉบัง

– ปริมาณสินค้าขาเข้า มากที่สุด ได้แก่ ด่านสมุทรปราการ และขาออก ได้แก่ ด่านแหลมฉบัง โดยมีประเภทสินค้า

คือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สินค้าเบ็ดเตล็ด และผลผลิตเกษตรอื่นๆ

การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง
การ เด นทาง ทาง น ำ ม อะไร บ าง

แนะนำท่าเรือในประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) หรือPort Authority of Thailand (PAT) และอีก 1 แห่งที่มีบริษัท C.T. International Line จำกัด (CTIC) หรือ บริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการ ดังนี้