การ มี ภูมิคุ้มกัน ที่ ดี ตัวอย่าง

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) หลักปรัชญาที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ผ่านหลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ไทยรัฐออนไลน์รวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร พร้อมยกตัวอย่างการปรับใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้างมาฝาก

เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร

เศรษฐกิจพอเพียง คือ หลักการดำเนินชีวิตโดยยึดแนวทางสายกลาง อันเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน หรือประเทศชาติ ให้สามารถรับมือได้กับทุกการเปลี่ยนแปลงในสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน

ตามพระราชดำริของพระองค์ จึงเกิดเป็น “เศรษฐกิจพอเพียง” แนวทางการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย รวมถึงมีหลักเศรษฐกิจพอเพียงง่ายๆ ให้ได้ปฏิบัติตาม เพื่อให้สามารถอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีได้

รู้จัก "เศรษฐกิจพอเพียง" มีอะไรบ้าง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5 ข้อ หรือที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข” จะช่วยเพิ่มศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงได้ทุกระดับ ดังนี้

เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง

  • ความพอประมาณ คือ การเดินทางสายกลาง ที่ไม่ตึงและไม่หย่อนเกินไป
  • ความมีเหตุผล คือ การดำเนินชีวิตโดยคำนึงถึงเหตุผล ความเกี่ยวข้อง และความจำเป็น
  • การมีภูมิคุ้มกัน คือ การตื่นรู้ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และรูปแบบต่างๆ

เศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข

  • เงื่อนไขความรู้ คือ การสร้างองค์ความรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเตรียมวางแผนการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • เงื่อนไขคุณธรรม คือ หลักคุณธรรมที่ควรยึดถือไว้เสมอ ขณะดำเนินชีวิตประจำวันตามทางสายกลาง

การ มี ภูมิคุ้มกัน ที่ ดี ตัวอย่าง

หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำเกษตร

นอกจากการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังมีการนำมาปรับใช้กับการทำเกษตรกรรมร่วมด้วย เรียกว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ ป้องกันปัญหาฝนแล้ง ปัญหาปลูกพืชชนิดเดียว ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และอื่นๆ

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เริ่มแรกให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

  • 30% แบ่งไว้สำหรับจัดสร้างแหล่งน้ำ ขุดสระ สำหรับใช้ปลูกพืชผลในช่วงฤดูแล้ง
  • 30% แบ่งไว้สำหรับปลูกข้าว เพื่อเก็บไว้หุงกินภายในครอบครัว หากเหลือให้นำไปขายต่อ
  • 30% แบ่งไว้ปลูกพืชและผลไม้อื่นๆ เช่น มะม่วง มะพร้าว สมุนไพร ผักสวนครัว
  • 10% แบ่งไว้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ

ในขั้นต่อมาจากนั้นรวมกลุ่มหรือสหกรณ์ชุมชน เพื่อสร้างดุลอำนาจการค้ากับพ่อค้าคนกลาง โดยจะต้องวางแผนและปรึกษาหารือกันตั้งแต่การผลิต การส่งขาย สวัสดิการในการรวมกลุ่ม รวมไปถึงการสร้างองค์ความรู้ให้กับคนในกลุ่มและคนในชุมชน

ขั้นสุดท้าย เมื่อกลุ่มมีความเข้มแข็งและมีอำนาจการต่อรองมากขึ้น อาจเริ่มสร้างเครือข่ายที่มั่นคงมากขึ้น ผ่านการจัดหาทุน ติดต่อกับหน่วยงานรัฐหรือเอกชน เพื่อสร้างรายได้และผลประโยชน์ที่มั่นคงต่อไป

การ มี ภูมิคุ้มกัน ที่ ดี ตัวอย่าง

เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างง่ายๆ ทำตามได้

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกคน โดยอาจเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว ยกตัวอย่างเช่น

  • ประหยัดอดออม จัดสรรเงินแบ่งเก็บไว้สำหรับเรื่องจำเป็น
  • หมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อเป็นองค์ความรู้สำหรับการทำงานหรือวางแผนใช้ชีวิต
  • การรับประทานอาหารให้หมดในแต่ละมื้อ
  • การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับทำอาหารในครอบครัว หากเหลือให้นำไปขาย
  • การวางแผนทางการเงิน บันทึกรายรับ รายจ่ายเสมอ
  • พกกระบอกน้ำหรือแก้วน้ำส่วนตัวไว้ ลดการใช้ขวดพลาสติกและช่วยลดโลกร้อน
  • คำนึงถึงความจำเป็นในการใช้งานและความคุ้มค่าก่อนซื้อสินค้าเสมอ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง ที่อยู่คู่สังคมไทยมานานกว่า 40 ปี แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังคงนำมาประยุกต์ปรับใช้ตามรูปแบบการดำรงชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของตนเองได้ตามความเหมาะสม

ต่อไปนี้ คือ ตัวอย่างของชุมชนที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปศึกษาและปฏิบัติจนสำเร็จ เห็นผลภายในระยะเวลาไม่นาน ก่อให้เกิดรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ยังเหลือเผื่อแผ่ แจกจ่ายไปถึงผู้อื่นด้วย

จากหลักความมีเหตุผลในธุรกิจที่คำนึงถึงการบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมุมมองต่างๆ ในแบบองค์รวมที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันนั้น สมควรที่จะพิจารณาต่อไปว่า ความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละมุมมองนั้น มีกิจกรรมใดที่เป็นเหตุและปรากฏการณ์ใดที่เป็นผล ตัวอย่างเช่น ระดับความยั่งยืนของกิจการหนึ่งๆ จะปรากฏเป็นผลให้เห็นได้ อาจต้องรอให้เวลาผ่านพ้นไปแล้วระยะหนึ่ง ในขณะที่กิจกรรมหรือตัวบ่งชี้ที่เป็นเหตุของความยั่งยืน เช่น การผลิตที่เหมาะสม การลงทุนที่ไม่เกินตัว การใช้เทคโนโลยีที่ประหยัด การไม่เน้นกำไรระยะสั้น เป็นกิจกรรมหรือวัตถุประสงค์ที่กำลังดำเนินอยู่ในกิจการ ทั้งนี้ การพิจารณาตัวบ่งชี้ที่เป็นเหตุ จะทำให้ทราบถึงผลการดำเนินงานในปัจจุบันและปัจจัยที่จะส่งผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว ส่วนการพิจารณาตัวบ่งชี้ที่เป็นผล จะทำให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตหรือสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว

ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาแยกแยะความสัมพันธ์ของตัวบ่งชี้ทั้งที่เป็นเหตุและเป็นผล จะทำให้สามารถคาดการณ์ได้ถึงโอกาสและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และส่งผลให้กิจการสามารถวางแผนรับมือกับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ด้วยการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนภายในองค์กรเป็นข้อพิจารณาประกอบ ถือเป็นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีในธุรกิจนั่นเอง

ผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกซึ่งควบคุมไม่ได้ เช่น ในด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ความผันผวนของตลาด ฯลฯ ในด้านสังคมหรือรัฐ ได้แก่ นโยบายสาธารณะต่อธุรกิจที่ดำเนินอยู่ (หรือที่ธุรกิจมักเรียกว่า License to Operate) ฯลฯ ในด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภัยธรรมชาติ พลังงานในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิต ฯลฯ และในด้านวัฒนธรรม ได้แก่ วิถีชีวิตของแต่ละภูมิสังคม ฯลฯ ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายในซึ่งสามารถควบคุมและแก้ไขได้ อาทิ ปัจจัยด้านทุน ด้านเทคโนโลยี และด้านการบริหารจัดการ เป็นต้น

โดยธรรมชาติองค์กรจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายใน เช่น การโยกย้ายผู้บริหาร การเปลี่ยนผู้ถือหุ้น การปรับโครงสร้างทางธุรกิจ จะส่งผลต่อความก้าวหน้าของกิจการ ความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวให้ทันและเข้ากับสภาวการณ์ภายนอก การสร้างภูมิคุ้มกันในส่วนแรกนี้ จึงเป็นการจัดองค์ประกอบของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายในเพื่อให้ทันและเข้ากับสิ่งภายนอก ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนรัฐบาล การเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ การเกิดขึ้นของตลาดใหม่ จะส่งผลให้เกิดทั้งโอกาสและความเสี่ยงหรือความผันผวนทางธุรกิจ การสร้างภูมิคุ้มกันในส่วนที่สองนี้ จึงเป็นการจัดองค์ประกอบของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งภายในได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย

การสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี จึงสามารถแบ่งได้เป็นสองกรณี คือ การสร้างจากภายในและการสร้างที่ภายนอก การสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน ได้แก่ การพิจารณาและจัดองค์ประกอบต่างๆ ในองค์กรให้เอื้อต่อการปรับตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เช่น โรงงานไม่ควรสร้างภาระหนี้มากจนเกินทุน เมื่อเวลาที่เจ้าหนี้ทวงถาม กิจการก็สามารถจะชำระหนี้ได้ ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในด้านการเงิน หรือโรงงานควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถบริหารจัดการได้เอง เมื่อเวลาที่มีปัญหากับเทคโนโลยี กิจการก็สามารถจะซ่อมแซมแก้ไขได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเจ้าของเทคโนโลยีทั้งหมด ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในด้านเทคโนโลยี หรือการที่กิจการมีโครงการถ่ายทอดทักษะและความรู้เกี่ยวกับงานที่ทำ ฝึกอบรมให้พนักงานอยู่อย่างสม่ำเสมอ และเปิดโอกาสให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รวมถึงการให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม กิจการก็จะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องมั่นคง ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในด้านทรัพยากรบุคคล

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ภายนอก ได้แก่ การพิจารณาและจัดองค์ประกอบที่อยู่รายรอบองค์กรให้เอื้อต่อการดำเนินงาน เช่น การส่งเสริมและสนับสนุนคู่ค้าเพื่อให้สามารถจัดส่งวัตถุดิบและปัจจัยในการผลิตหรือการบริการที่มีคุณภาพให้แก่กิจการด้วยการให้ความรู้และทรัพยากรที่จำเป็นต่างๆ เพราะหากกิจการได้วัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพเข้าโรงงาน ผลผลิตแปรรูปที่ออกจากโรงงานก็จะไม่มีคุณภาพตามไปด้วย การช่วยเหลือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแบบหนึ่งที่มักถูกละเลยหรือไม่ได้ให้ความสำคัญ กิจการส่วนใหญ่มัวแต่คิดถึงตนเอง คิดว่าทำแล้วจะได้อะไร กำไรปีนี้จะได้เท่าไร ค่าใช้จ่ายส่วนเกินตรงไหนที่ตัดออกได้อีก โดยที่ไม่ได้คิดถึงการให้หรือการช่วยเหลือผู้อื่นก่อน ในทางธรรมชาตินั้น การกระทำใดๆ ย่อมต้องได้รับการตอบสนองเป็นผลแห่งการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเสมอ ซึ่งในกรณีนี้ คือ “ได้ให้” ก็จะ “ได้รับ” ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีความเฉียบขาดอยู่ในตัวเอง ฉะนั้น การที่กิจการเอาใจใส่ดูแลชุมชน สิ่งแวดล้อม หรือคู่ค้าของตนเอง ผลแห่งการกระทำนี้ก็จะหวนกลับมาจุนเจือกิจการในภายหลัง ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กร

กระบวนการปรับตัว (Adaptive Process) ในธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นต่อการตอบสนองภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ เห็นได้จากวัฏจักรของธุรกิจหรือรอบอายุของผลิตภัณฑ์โดยส่วนใหญ่ มีคาบเวลาที่สั้นลง ในขณะที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้น ทำให้ความยืดหยุ่นและการปรับตัวอย่างรวดเร็วได้กลายเป็นคุณลักษณะที่กิจการต้องสร้างให้เกิดขึ้น สอดคล้องกับคุณลักษณะด้านการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประโยชน์ในระยะสั้นของกิจการ อาจมาจากการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคา เพื่อการกระตุ้นยอดขายหรือการเพิ่มผลกำไรเฉพาะหน้า ใช้วิธีการรณรงค์เรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อการลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่สามารถประหยัดได้ตามวาระที่จำเป็น เช่นเมื่อเกิดวิกฤตด้านพลังงาน เป็นต้น

ประโยชน์ในระยะปานกลางของกิจการ อาจมาจากการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ด้านลูกค้า เป็นการปลูกสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเป้าหมายและลูกค้า เพื่อหวังผลในการปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายมาเป็นลูกค้าใหม่ของกิจการ ดูแลรักษาลูกค้าเดิมของกิจการให้คงอยู่ เพื่อหวังผลในการเพิ่มปริมาณการขาย (Up-Selling) หรือขยายสายผลิตภัณฑ์ (Cross-Selling) จำหน่ายให้แก่ลูกค้ารายเดิม และแม้กระทั่งการเปลี่ยนลูกค้าในอดีตที่ยุติการซื้อผลิตภัณฑ์ไปแล้ว ให้กลับมาเป็นลูกค้าของกิจการดังเดิม

ประโยชน์ในระยะยาวของกิจการ อาจมาจากการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ด้านวิจัยและพัฒนา เพื่อการสร้างนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ ทั้งการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการแก้ไขและปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม ให้มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้น คุณภาพดีขึ้น คุณประโยชน์สูงขึ้น และแม้แต่การซื้อทรัพย์สินทางปัญญาหรือการซื้อกิจการอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมที่จะสร้างคุณค่าให้แก่กิจการในระยะยาว

จากที่กล่าวแล้วว่า องค์กรธุรกิจสามารถประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ในสองระดับ คือ เศรษฐกิจพอเพียงระดับพื้นฐาน และเศรษฐกิจพอเพียงระดับก้าวหน้า ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรและภายนอกองค์กรตามลำดับ การดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงระดับพื้นฐาน มุ่งเน้นที่การสร้างกิจการเพื่อให้อยู่รอดในธุรกิจและการพัฒนาศักยภาพเพื่อการเจริญเติบโตของกิจการ เป็นบันไดขั้นที่หนึ่ง ในขณะที่การดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงระดับก้าวหน้า จะให้ความสำคัญกับการแบ่งปันหรือการใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือการรวมกลุ่มในแนวดิ่งตามสายอุปทาน (Supply Chain) เป็นบันไดขั้นที่สอง จนพัฒนามาสู่ความร่วมมือระหว่างกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในแนวราบ ในลักษณะของเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) เพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ เป็นบันไดขั้นที่สาม

การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสามขั้นข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาที่เริ่มต้นจากหลักของการพึ่งพาตนเองให้ได้ก่อน (Self-Reliance) แล้วจึงพัฒนาเป็นการรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน (Cooperation) จนนำไปสู่การร่วมมือกัน (Collaboration) อย่างเป็นขั้นตอน

การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีอะไรบ้าง

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีไว้ในตัว (Self-immunity) หมายถึง การ เตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะ เกิดขึ้นโดยคานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล ระบบภูมิคุ้มกันในตัว อาจเกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ หรือเกิดจากความไม่ประมาท ความมีเหตุผล

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีมีประโยชน์อย่างไร

ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี” ในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างไร

ธุรกิจต้องมีภูมิคุ้มกัน โดย ความรู้ คือความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งนักธุรกิจจะต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาพัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจอยู่เสมอเพื่อให้ธุรกิจเกิดความก้าวหน้าและเติบโตต่อไปได้ในอนาคต

หน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันมีอะไรบ้าง

ป้องกันและทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม ทำหน้าที่จดจำ และต่อต้านสารที่เป็นอันตรายจากสิ่งแวดล้อม ต่อสู้กับเซลล์ที่แปรสภาพผิดปกติ เช่น เนื้องอก เซลล์มะเร็ง