การไล คนท ออกจากบ าน ไม ม ช อในทะเบ ยนบ าน

ไม่ว่าคุณจะต้องการดำเนินเอกสารใดๆ ก็ตามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ขั้นตอนแรกสุดที่ต้องทำคือการจองคิวเพื่อเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจองคิวในช่วงก่อนหน้าจะเป็นการแจกคิวให้กับคนที่ไปถึงได้เร็วที่สุดและเรียงตามลำดับ ทำให้ผู้คนรู้สึกเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ปัญหานี้จึงถูกหยิบยกมาให้แก้ไขได้ด้วย 2 รูปแบบการจองคิวย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ ดังนี้

จองคิวผ่านเว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

เราสามารถทำการจองคิวเพื่อแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการเลือกเข้าสู่เว็บไซต์ https://q-online.bora.dopa.go.th/ หรือค้นหาคำว่า ‘ลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้า’ จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย บนหน้าเว็บไซต์นี้คุณจะสามารถเลือก Login หรือเข้าสู่ระบบใช้งานด้วยการกรอกข้อมูลไม่ว่าจะเป็น เลขประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด และเบอร์โทรศัพท์ หรือหากคุณใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) สามารถเลือก Login ผ่านการแอปพลิเคชันนี้ได้ เมื่อคุณเข้าสู่ระบบมาแล้วทำการเลือกที่ปุ่มเมนู เพื่อทำการเลือกระบบนัดหมายรับบริการ และระบุจังหวัด อำเภอ สำนักทะเบียน งานบริการที่ต้องการ และวันที่ที่คุณสะดวกเข้ารับบริการ

จองผ่านแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID )

กรมการปกครองได้มีการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัลด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งจะหนึ่งในตัวช่วยให้ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์สะดวกสบายยิ่งขึ้นโดยที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชัน D-DOPA ได้ด้วยการดาวน์โหลดลงบนโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้ารับบริการจากทางสำนักงาน โดยขั้นตอนการใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA มีดังนี้

ขั้นตอนการดาวน์โหลดเพื่อใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA
  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน D-DOPA

แอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) สามารถรองรับบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการ IOS และ Android โดยผู้ใช้งานควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าโทรศัพท์มือถือของคุณใช้ระบบปฏิบัติการแบบใด แล้วจึงเลือกติดตั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • กรณีหากใช้งานระบบปฏิบัติการ IOS สามารถเข้ายัง App Store ทำการค้นหา D-DOPA จากนั้นจึงเลือก Install ( ติดตั้ง ) ลงบนโทรศัพท์มือถือของท่าน
  • กรณีหากใช้งานระบบปฏิบัติการ Android สามารถเข้าไปยัง Gooogle Play Store ทำการค้นหา D-DOPA แล้วจึงเลือกติดตั้งลงบนโทรศัพท์มือถือของท่าน
  • ลงทะเบียนเข้าใช้งาน

เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) ลงบนโทรศัพท์มือถือของคุณแล้วเริ่มต้นเข้าสู่ขั้นตอนการลงเทียนเพื่อเข้าใช้งานโดยสามารถดำเนินการได้ 8 ขั้นตอน ดังนี้

  1. กดเริ่มต้นเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID )
  2. ในการเริ่มต้นใช้งานครั้งแรกผู้ใช้งานจำเป็นต้องทำการยืนยันตัวตนด้วยการนำบัตรประชาชนใบล่าสุดไปแจ้งยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียน ณ สำนักงานเขตในท้องที่
  3. เมื่อได้รับการยืนยันตัวตนจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตแล้วทำการเปิดแอปพลิเคชัน D-DOPA ขึ้นอีกครั้ง พร้อมทั้งกดอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องมือและระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของตนเองให้ถูกต้อง
  4. อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขในการให้บริการให้เรียบร้อยและกดยอมรับ
  5. สแกน QR Code ในแอปพลิเคชัน D-DOPA
  6. ระบบจะทำการแจ้งเตือนให้กำหนดตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ จำเป็นต้องกรอกรหัสผ่านทั้ง 2 ครั้งให้ตรงกัน
  7. ระบบจะทำการแจ้งเตือนขอยินยอมอีกครั้ง โดยจะต้องระบุรหัสผ่านเพื่อทำการอัพโหลดข้อมูลลงแอปพลิเคชันของตน
  8. เมื่อการลงทะเบียนเสร็จสิ้นแล้วหน้าจอจะแสดงสถานะการสมัครสำเร็จ
ฟังก์ชันการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

เมื่อทำการลงทะเบียนเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถเริ่มขั้นตอนย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการกรอกรหัสประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก และเลือกไปคำสั่งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเพื่อทำการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์ได้ทันที หลังจากนั้นคำสั่งยินยอมจะขึ้นแจ้งเตือนไปยังเจ้าบ้านตามที่ระบุไว้ในทะเบียนบ้าน ซึ่งตัวเจ้าบ้านมีสิทธิ์ในการยินยอมหรือไม่ในการรับลูกบ้านให้ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์เข้ามาอยู่ร่วมกัน

ฟังก์ชันอื่น ๆ นอกจากการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

นอกจากฟังก์ชันในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์แล้ว แอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ ที่ช่วยตอบโจทย์แก่ผู้ใช้งานที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้บริการกับสำนักงานเขตไม่ว่าจะเป็น

งานทะเบียนราษฎร

1.การรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน 1.1 การขอเลขที่บ้าน ให้เจ้าของบ้านผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกบ้าน ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 15 นับแต่วันสร้างบ้านแล้วเสร็จ หากไม่ขอภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ใช้ 1. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอ 2. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และแบบแปลนการก่อสร้าง (ถ้ามี) 3. หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดิน (ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตามข้อ 2) 4. หนังสือมอบหมายและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ได้รับมอบหมาย (กรณีเจ้าของบ้านมอบหมายให้ดูอื่นมาดำเนินการแทน) 5. แบบฟอร์ม ท.ร.900 (ใบคำร้องขอเลขหมายประจำบ้าน)

1.2 การแจ้งรื้อถอนบ้าน และบ้านถูกทำลาย ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รื้อบ้านเสร็จ หรือวันที่บ้านถูกทำลาย หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 3. หนังสือมอบหมาย และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมาย (กรณีเจ้าบ้านมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน) 4. หลักฐานการรื้อบ้าน เช่น ใบอนุญาตรื้อถอนอาคาร (ถ้ามี) **ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์

2. การแจ้งเกิด 2.1 เด็กเกิดในบ้าน (อาคารที่มีบ้านเลขที่รวมถึงสถานพยาบาล) ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดาแจ้งต่อนายทะเบียนที่เด็กเกิด หรือสำนักทะเบียนที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งและของบิดามารดา 2. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี) 3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด 4. หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (กรณีเด็กในสถานพยาบาล) **ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ 2.2 เด็กเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาหรือผู้ที่ได้รับหมอบหมายจากบิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนที่เด็กเกิดหรือสำนักทะเบียนที่บิดา มารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง และของบิดา มารดา 2. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี) 3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด 2.3 การแจ้งการเกิดเกินกำหนด ให้บิดา มารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบิดา มารดา แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นที่เกิดหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นอื่นที่บิดา มารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตั้งแต่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เกิด ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งและของบิดา มารดา 2. สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีชื่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็ก (ถ้ามี 3. รูปถ่ายเด็กขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป 4. หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด

3.การแจ้งตาย 3.1 คนตายในบ้าน (รวมถึงสถานพยาบาล) ให้เจ้าบ้านที่มีคนตาย หากไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง โดยแจ้งที่สำนักทะเบียนที่มีคนตายหรือพบศพ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย และทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี) 3. หนังสือรับรองการตายที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคนตาย 4. รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช(กรณีตายผิดธรรมชาติหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ) **ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์

3.2 หากเป็นการแจ้งตายต่างท้องที่ ให้เจ้าบ้านนำมรณะบัตรของผู้ตายไปจำหน่ายตายในทะเบียนบ้านที่ผู้ตายมีชื่ออยู่ หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง 2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ 3. มรณะบัตร

3.3 การแจ้งการตายเกินกำหนด ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง 2. บัตรประจำตัวประชาชนของคนตาย 3. หนังสือรับรองการตายที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคนตาย 4. รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช (กรณีตายผิดธรรมชาติหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ) 5. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่

3.4 กรณีเก็บ ฝัง เผา ทำลายหรือเคลื่อนย้ายศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิม หากจะเปลี่ยนแปลงการจัดการศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิมให้ญาติผู้ตายแจ้งการเปลี่ยนแปลงการจัดการศพ ณ ทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ศพนั้นตั้งอยู่ หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง 2. มรณะบัตร