การเพาะเล งเน อเย อจากส วนของดอกต ม ว านส ท ศ

TISSUE CULTURE

การเพาะเลี้ ยงเนื้ อเยื่ อ

คำนำ

E-book เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาในรายวิชาการดำรงชีวิตละครอบครัว3โดยมี เนื้อหาและตัวอย่างการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ ผู้จัดทำหวังว่า E-bookเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้อ่านและผู้ที่สนใจได้มีแนวทางในการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ เพื่อนำไปสู่การเรียนต่อไป

ญาณิากา กันทะปง ผู้จัดทำ

สารบัญ ข

คำนำ ก สารบัญ ข การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 1 ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 2 ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3 เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 4 พืชที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 5 ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ตัวอย่างการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 6 9 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย 13 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกุหลาบ บรรณานุกรม

1

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นความเจริญก้าวหน้าในด้านการเกษตรเกี่ยวกับพืช ที่มีการ พัฒนาเทคนิคในการขยายพันธุ์แบบใหม่ ที่ทำให้ได้พืชต้นใหม่ จำนวนมาก อย่างรวดเร็วใน เวลาอันจำกัด โดยมีคุณภาพดีเหมือนเดิม

ปัจจุบัน ปัญหาอย่างหนึ่งในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ การขยายต้น กล้าพันธุ์ดีจากภาครัฐและภาคเอกชนออกไปสู่เกษตรกร ซึ่งถ้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุสั้น มีการเจริญเติบโตทางยอดได้ง่าย สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือเมล็ดพันธุ์แท้ออกสู่ ตลาดได้เลย ก็จะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรใน ประเทศไม่ยากนัก แต่หากเป็นพืชที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตช้า เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มอื่น พืชสมุนไพรบางชนิด หรือแม้กระทั่งแม้ยื่นต้นเนื้อแข็งบางชนิด ที ไม่สามารถใช้เมล็ดที่เกิดจากการผลมตัวเองออกไปเพาะเป็นต้นกล้าได้ เนื่องจากมีการกระจา ยตัวทางพันธุกรรมสูงต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น จะมีความต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์ ตั้งต้นหรือเกิดการกลายพันธุ์ให้ลักษณะที่ต่างไปจากต้นพ่อแม่ รวมถึงมีต้นทุนในการ จัดการสูง ทั้งในเรื่องของแรงงาน พื้นที่ และอุปกรณ์ในการผลิตต้นกล้าด้วยการเพาะเมล็ด ตัวอย่างเช่น การเพาะต้นกล้ามะพร้าวจากผลมะพร้าว นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังใช้พื้นที่ และแรงงานในการจัดการดูแลสูงจำนวนต้นกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเมล็ดนี้ก็ยังไม่เพียง พอต่อความต้องการของภาคเกษตรกรผู้ผลิต นอกจากนั้น ในพืชที่มีลักษณะแยกเป็นต้น ตัวผู้และต้นตัวเมีย เช่น อินทผาลัม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดก็มีความเสี่ยงสูงในการ ที่จะได้ต้นต้วผู้มากกว่าต้นตัวเมีย ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตอินทผาลัมเกิดความเสียหาย เนื่องจากได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาดหมาย

2

ทางหน่วยวิจัยฯ ร่วมกับกับหน่วยการอื่น ได้แก่ สวก. และ iTAB ได้พัฒนาโครงการต้นแบบ เพื่อการพัฒนาต้นกล้าปาล์มและมะพร้าวพันธุ์ดีแบบก้าวกระโดด เพื่อการขยายผลออกสู่ เกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการ ขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่มีอายุยาว เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้ จะเป็นการนำเอาเซลเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีดีเอ็นเอใน การขยายพันธุ์พืชให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุน แรงงาน และร่นระยะเวลา ทั้งการผลิตและปรับปรุงพันธุ์เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศให้เกิดความมั่งคง มั่งคั่งและยั่งยืน

ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ เนื้อเยื่อเซลล์ หรือเซลล์ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลิทรีย์ และอยู่ใน สภาพควบคุมอุณหภูมิ แสงและความชื้นเพื่อให้เซลล์พืชที่นำมาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจากเชื้อ ที่มารบกวนและทำลายการเจริญเติบโตของพืช

3

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีวิธีการทำ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเตรียมอาหาร คือ การเตรียมอาหาร คือ การนำธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ

ในการเจริญเติบโต และธาตุอาหารรองมาผสมกับวุ้น ฮอร์โมนพืช วิตามินและน้ำตาล ใน อัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำไปฆ่าเชื้อ ใส่ลงในขวดอาหารเลี้ยง บางครั้งอาจหยดสีลงไป เพื่อให้สวยงามและสังเกตได้ชัดเจน

ธาตุอาหารที่พืชต้องการ • ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม แคลเซียม แมกนี

เซี่ยมและกำมะถัน • ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุอาหารที่จำเป็นน้อย เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี

ทองแดง 2. การฟอกฆ่าเชื้อส่วนเนื้อเยื่อ คือ เป็นวิธีการใช้สารเคมีหรือวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้ชิ้น

ส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยง ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ 3. การนำเนื้อเยื่อลงขวดเลี้ยง เป็นการนำเอาชิ้นส่วนของพืชที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้ว วาง

ลงบนอาหารเลี้ยงที่ปลอดเชื้อ โดยใช้เครื่องมือและปฏิบัติการในห้องหรือตู้ย้ายเนื้อเยื่อโดย เฉพาะ

4. การนำขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปเลี้ยงเป็นการนำเอาขวดอาหารเลี้ยงที่มีชิ้นส่วนของ เนื้อเยื่อไปเลี้ยงไว้บนเครื่องเขย่า เพื่อให้อากาศได้คลุกเคล้าลงไปในอาหาร ทำให้แร่ธาตุ, ฮอร์โมนและสารอาหารต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อที่นำมาเลี้ยงบนอาหารนั้น เกิดต้น อ่อนของพืชจำนวนมาก

5. การย้ายเนื้อเยื่อออกจากขวด เมื่อกลุ่มของต้นอ่อนเกิดขึ้น ให้แยกต้นอ่อนออก จากกัน เพื่อนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงใหม่ จนต้นอ่อนแข็งแรงดีแล้ว จึงนำต้นอ่อนที่ สมบูรณ์ออกจากขวด ปลูกในแปลงเลี้ยงต่อไปประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

4

เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย Gottlieb Haberlandt นักพันธุศาสตร์ชาวออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1902 เทคนิคดังกล่าวถูกพัฒนามาตลอดช่วงต้น ศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มจากการเพาะเลี้ยงบางส่วนของพืช เช่น เอมบริโอ และเนื้อเยื่อเจริญ บริเวณปลายยอดและปลายราก ขณะที่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างแท้จริงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1934 โดย Roger J. Gautheret สามารถเพาะต้น Sycamore บนอาหารสังเคราะห์ สูตร Knop's solution แข็งที่เติมน้ำตาลและวุ้นที่ได้จากสาหร่าย อย่างไรก็ตามในช่วงแรก ของการพัฒนากลับพบปัญหาในการทำให้เนื้อเยื่อพืชมีการพัฒนาเป็นยอด ราก หรือลำต้น ตามต้องการ จึงเริ่มนำสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชมาใช้โดยตอนแรกมีการใช้น้ำ มะพร้าวมาผสมกับอาหารสังเคราะห์ ต่อมาจึงเริ่มปรับใช้สารสังเคราะห์ในการชักนำให้ เนื้อเยื่อพืชมีการเจริญและพัฒนาเป็นต้นอย่างสมบูรณ์ หลังจากที่มีการปรับใช้สารควบคุม การเจริญเติบโตพืชมาใช้ ก็มีการปรับปรุงอาหารสังเคราะห์ โดยการศึกษาคุณสมบัติของ ธาตุอาหารพืชหลายๆชนิด สูตรที่เป็นที่นิยมกันได้แก่ Murashige and Skoog (MSO) ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้นต้องทำภายใต้สภาพปลอดเชื้อ โดยทำงานในตู้ปลอดเชื้อที่มี การกรองผ่านแผ่นกรองเฮป้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้ อนจากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ใน อากาศไปเจริญเติบโตบนอาหารเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อจะมีการเจริญเติบโตบนอาหารสังเคราะห์ ในภาชนะปิด ภายในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและแสง อาหารเพาะเลี้ยงอาจมีการเติม สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชและวิตามินบางชนิด

5

พืชที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาในเรื่องของการขยายพันธุ์ หรือพืช ที่มีปัญหาเรื่องโรค เช่น ขิง กล้วยไม้ หรือพืชเศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ ดาวเรือง ข้าว แครอท คาร์เนชั่น เยอร์บีร่า เป็นต้น

ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1. เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว 2. เพื่อการผลิตพืชที่ปราศจากโรค 3. เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช 4. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน 5. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ทนทาน 6. เพื่อการผลิตยาหรือสารเคมีจากพืช 7. เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืชมิให้สูญพันธุ์

6

ตัวอย่างการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย

เทคโนโลยีทางชีวภาพที่มีการนำมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชให้มีปริมาณมากๆ ได้ พืชพันธุ์ดีที่ปลอดโรคและให้ผลผลิตสูงก็คือเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นวิธีการ ขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ใช้ชิ้นส่วนของพืช เช่น ลำต้น ตายอดตาข้าง ก้านช่อดอก ใบ ก้านใบ เป็นต้น มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ภายใต้สภาพที่ควบคุมเรื่องความสะอาดแบบปลอด เชื้อ อุณหภูมิ และแสง เมื่อชิ้นส่วนนั้นเจริญและพัฒนาเป็น ต้นพืชที่สมบูรณ์ มีทั้งส่วนใบ ลำต้นและรากที่ สามารถนำไปปลูกในสภาพธรรมชาติได้

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1. คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง ลูกโตให้หวีต่อเครือมาก 2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก

7 3. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช 4. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10 –15 นาที

5. ใช้ปากคีบ คีบชิ้นส่วนพืชล้างในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง 6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์ 7. หลังจากนั้นจึงเขียนรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี รหัส แล้วนำไปพักในห้องเลี้ยง เนื้อเยื่อต่อไป

เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีบทบาทสําคัญ ในการผลิตกล้วยเพื่อการค้าเนื่องจาก สามารถผลิตได้ ในปริมาณที่มากในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับการขยายพันธุ์โดยวิธีตัด แยกและยังมีความจําเป็นสําหรับ การเพาะเมล็ดกล้วยเนื่องจากเมล็ดกล้วยไม่มีอาหาร สะสมภายในเมล็ด จึงไม่สามารถงอกได้เองในสภาพธรรมชาติหรืองอกได้แต่มีปริมาณน้อย มาก เนื่องจากจะต้องอาศัยจุลินทรีย์ในวัสดุปลูกที่จําเพาะ นอกจากนี้การปลูกเลี้ยงกล้วย นั้นต้องใช้ต้นพันธุ์ที่มี ความสม่ำเสมอคราวละมากๆ จึงเป็นการยากที่จะ ขยายพันธุ์โดยวิธี ตัดแยก

8

ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1. สามารถผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว 2. ต้นพืชที่ผลิตได้จะปลอดโรค 3. ต้นพืชที่ผลิตได้จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่คือ มีลักษณะตรงตามพันธุ์ ด้วยการใช้เทคนิคของการเลี้ยงจากชิ้นตาพืชให้พัฒนาเป็นต้นโดยตรง 4. ต้นพืชที่ผลิตได้จะมีขนาดสม่ำเสมอ จึงให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งละมากๆ พร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน

9

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกุหลาบ

กุหลาบ เป็นดอกไม้สวยงาม อยู่ในวงศ์ Rosaceae หรือเรียกกันว่า วงศ์กุหลาบ เป็นพืชที่โดดเด่นและนิยมปลูกกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง รวมทั้งเป็นดอกไม้ที่สามารถทำราย ได้สูงในตลาดการค้าดอกไม้ของแต่ละประเทศทั่วโลก กุหลาบได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นราชินีของดอกไม้ Queen of flower นอกจาก กุหลาบแล้ว พืชในวงศ์นี้ที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันเป็นอย่างดียังมีอีกหลายชนิด เช่น บ๊วย พรุน อัลมอนด์ ท้อ สาลี่ แอปเปิ้ ล สตรอเบอรี่ แบล็คเบอร์รี่ ราสป์เบอร์รี่ และแอปปริคอท จึงนับได้ว่าพืชในวงศ์กุหลาบมีความใกล้ชิดและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของ มนุษย์รวมทั้งสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโลกเป็นอย่างมาก

การขยายพันธุ์กุหลาบ สามารถทำได้หลายวิธีการ เช่น วิธีเพาะเมล็ด วิธีตอน วิธีติดตา และวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช วิธีสุดท้ายเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ เพื่อประโยชน์ในการขยายพันธุ์พืชกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับอีกหลายชนิดสำหรับการขยาย พันธุ์กุหลาบด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้มีการดำเนินการมานานแล้วแต่ยังไม่เป็นที่ แพร่หลาย ส่วนใหญ่ทำกันในแวดวงวิชาการ เช่น การผลิตกุหลาบเพื่อให้เกิดดอกในขวด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือการผลิตเป็นต้นพันธุ์ขนาดเล็ก แล้วนำมาปลูกเป็นกุหลาบจิ๋ว หรือ เบบี้โรส (Baby rose) เพื่อใช้เป็นของฝากของที่ระลึกระหว่างกัน ความรู้ที่เกิดจากการ ศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกุหลาบก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนางานทางด้าน วิชาการและระบบธุรกิจการค้ากุหลาบหลายประการ

10

ขั้นตอนและวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกุหลาบ

1.การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบ กุหลาบหนูแต่ละสายพันธุ์ มีขนาดดอกไม่เท่ากัน เราจะคัดเลือกกุหลาบที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ดอกไม่เกิน 2 เซนติเมตร เลือกสายพันธุ์ที่เกิดดอกง่าย บานทน ไม่อ่อนแอต่อเชื้อราที่เป็น สาเหตุของโรคกุหลาบที่สําคัญ สำหรับชิ้นส่วนที่เหมาะสมเพื่อนํามาทําการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ ให้เลือกกิ่งกุหลาบที่มีอายุน้อยและดอกยังไม่บาน (หรือบานแต่ดอกยังไม่โรย) นำ มาตัดเป็นข้อสั้นๆ ให้มีตาติด 1 ตา ต่อข้อ จากนั้นจึงนำมาฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ต่อไป

2. ขั้นตอนการฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ นำชิ้นส่วนกุหลาบมาฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์ (คลอร๊อกซ์) ความเข้มข้น 10% เป็นเวลานาน 10 นาที จากนั้นจึงล้างด้วยน้ำกลั่นที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ จุลินทรีย์แล้ว 3 ครั้ง นำชิ้นส่วนกุหลาบแต่ละข้อไปวางบนอาหารเพาะเลี้ยงสูตรเพิ่มปริมาณ (ฤดูกาลที่เหมาะสมต่อการฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์คือฤดูหนาวและฤดูแล้ง ส่วนฤดูฝนที่มี ความชื้นในบรรยากาศสูง เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีการฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์จะประสบความ สำเร็จน้อยกว่าฤดูอื่ นๆ)

11

3. ขั้นตอนการเพิ่มปริมาณ ชิ้นส่วนข้อกุหลาบที่วางบนอาหารสูตรเพิ่มปริมาณ สามารถพัฒนาเกิดเป็นปลายยอดใหม่ ได้ภายในเวลาประมาณ 15-20 วัน โดยมีอัตราการเพิ่มปริมาณยอดใหม่ ประมาณ 3-5 เท่า ต่อรอการเปลี่ยนอาหารทุกๆ 30 วัน อาหารสูตรที่เหมาะสมคืออาหารสูตร Murashige และ Skoog (1962) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนิน (cytokinin) โดย ใช้สารที่ชื่อ BA ระดับความเข้มข้น 1-2 มิลลิกรัม ต่อลิตรสารตัวนี้มีอิทธิพลกระตุ้นให้เกิด การแบ่งเซลล์และการเกิดยอดกุหลาบเพิ่มขึ้น แต่มีข้อควรระวังในการใช้สาร BA คือหากใช้ ในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ยอดกุหลาบเกิดอาการฉ่ำน้ำ (มีลักษณะบวมใส) ซึ่งเป็น อาการที่ไม่สามารถเพิ่มปริมาณยอดหรือรากได้ ชิ้นส่วนที่ฉ่ำน้ำจะต้องถูกคัดทิ้งในทุกๆ รอบของการเปลี่ยนอาหารใหม่

4. ขั้นตอนการชักนำให้เกิดราก เมื่อได้ปริมาณยอดกุหลาบเพียงพอต่อความต้องการแล้ว เราจะนำแต่ละยอดมาทำการ เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตรชักนำให้เกิดราก โดยใช้อาหารสูตร Murashige และ Skoog (1962) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มออกซิน (auxin) โดยใช้สารตัวที่ชื่อว่า NAA ที่ระดับความเข้มข้น ประมาณ 0.1 มิลลิกรัม ต่อลิตร สารตัวนี้มีอิทธิพลชักนำให้เกิด การพัฒนาของระบบรากที่สมบูรณ์พร้อมนำต้นกุหลาบไปอนุบาลได้ภายในระยะเวลา ประมาณ 30 ถึง 45 วัน

12

5. ขั้นตอนการอนุบาล นำต้นกุหลาบที่มีระบบรากสมบูรณ์มาล้างวุ้นในน้ำสะอาดเบาๆ จากนั้นจึงนำไปแช่ในสาร ป้องกันเชื้อราและนำไปอนุบาลในวัสดุเพาะชำ เช่น ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 ต่อ 1 สภาพแสงรำไร ให้น้ำแบบชื้นแต่ไม่แฉะ เป็นเวลาประมาณ 30 วัน กุหลาบจะมีความแข็งแรง เพียงพอต่อการนำไปปลูกและเจริญเติบโตตามธรรมชาติได้ต่อไป

13

บรรณานุกรม

ทีมงานทรูปลูกปัญญา./(2564).//การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ./09 กุมภาพันธ์ 2565, /จากhttps://www.trueplookpanya.com

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร กรมวิชาการเกษตร./(2559).//การเพาะเลี้ยเนื้อเยื่อ กล้วย./09 กุมภาพันธ์ 2565,/จากhttps://www.kubotasolutions.com

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอำนาจเจริญ./(2564).//กุหลาบสวยด้วย การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ./09 กุมภาพันธ์ 2565,/จากhttps://www.opsmoac.go.th

สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช.//หน่วยปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. /09 กุมภาพันธ์ 2565,/จากhttp://www.rspg.or.th

THANK YOU