การน บเวลาทางประว ต ศาสตร ม ประโยชน อย างไร

ประวัติศาสตร์ มีความหมายแบบกว้างๆ หมายถึง เหตุการณ์ในเกิดขึ้นในอดีต ซึ่งบางเหตุการณ์อาจไม่มีหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน ทำให้นักประวัติศาสตร์ ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นผ่านกระบวนการที่เรียกว่า "วิธีการทางประวัติศาสตร์" โดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร วัตถุ สถานที่ ฯลฯ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเพื่อประกอบการศึกษาวิเคราะห์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง?

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษา วิเคราะห์ และตีความจากร่องรอยหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักเหตุผลอธิบายเหตุการณ์ และความเป็นมาต่างๆ ในอดีต ให้มีความใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด

การศึกษาประวัติศาสตร์ ช่วยให้เราเข้าใจปัจจุบันมากยิ่งขึ้น วิธีการทางประวัติศาสตร์ จึงถูกใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยภูมิหลังในอดีต เพื่อให้ผู้ศึกษาพิจารณาหลักฐานอย่างรอบด้านก่อนสรุปผล อีกทั้งยังเป็นกระบวนการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับชุดข้อมูลด้วย สำหรับวิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน มีดังนี้

1. การกำหนดหัวข้อ ถือเป็นขั้นตอนแรกที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องกำหนดเป้าหมาย และขอบเขตที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน ว่าต้องการศึกษาเรื่องอะไร เพราะเหตุใด อยู่ในความสนใจหรือไม่ แล้วจึงตั้งคำถามต่อสิ่งที่ต้องการศึกษา รวมถึงการประเมินเรื่องเวลา และทุนสำหรับวิจัย

การน บเวลาทางประว ต ศาสตร ม ประโยชน อย างไร

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งสมมติฐานไว้สำหรับหัวข้อที่ต้องการศึกษา แล้วเริ่มค้นคว้าข้อมูล ความแตกต่างของการสืบค้นทางประวัติศาสตร์ ไม่สามารถใช้ชุดแบบสอบถามได้ แต่ต้องลงมือศึกษาหลักฐานต่างๆ ทั้งหลักฐานชั้นต้น และชั้นรอง เพื่อรวบรวมข้อมูลให้รอบด้าน และตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

3. ประเมินคุณค่าหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์จะใช้วิธีการประเมินคุณค่าของหลักฐานที่เรียกว่า การวิพากษ์ โดยพิจารณาว่าหลักฐานแต่ละชิ้นน่าเชื่อถือหรือไม่ สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้หรือไม่ ตรวจสอบความแท้-เทียม อายุความเก่าแก่ ซึ่งบางครั้งอาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี หรือใช้การพิสูจน์หลักฐานด้วยวิทยาศาสตร์

การน บเวลาทางประว ต ศาสตร ม ประโยชน อย างไร

4. การตีความวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อคัดเลือกหลักฐานได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการตีความเจตนาที่แท้จริงของหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่ใช้ ขนาด รูปร่าง ลักษณะทางศิลปะ สภาพสังคม ฯลฯ วิเคราะห์ว่าหลักฐานและข้อมูลที่ได้รับแฝงคติความเชื่ออย่างไรบ้าง

5. การเรียบเรียงนำเสนอ ขั้นตอนสุดท้ายของวิธีทางประวัติศาสตร์ เมื่อสรุปผลการศึกษาวิจัยได้แล้ว แบ่งออกเป็นการนำเสนอระดับพื้นฐาน เชิงบรรยาย งานเขียน และการนำเสนอระดับวิเคราะห์ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี

การน บเวลาทางประว ต ศาสตร ม ประโยชน อย างไร

ประวัติศาสตร์ทั้งกระแสหลักและกระแสรอง สามารถถูกปรับเปลี่ยนหรือถูกหักล้างลงได้ หากมีหลักฐานหรือชุดข้อมูลที่ใหม่กว่า น่าเชื่อถือกว่าปรากฏขึ้นมาสนับสนุน

ทุกเรื่องราวประวัติศาสตร์ย่อมมีความเป็นมา และนัยที่ซ่อนไว้ในแต่ละยุคสมัย ทำให้การเขียนประวัติศาสตร์แต่ละฉบับ ย่อมมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์จึงเป็นการศึกษาวิจัยที่ช่วยให้เราเข้าสู่กระบวนการที่ "เข้าใกล้" ความจริงที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมากที่สุดนั่นเอง

ยุคสมัยประวัติศาสตร์มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์เนื่องจากเป็นการแบ่งช่วงเวลาในอดีตอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะนำไปสู่การวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างมีเหตุผล โดยตระหนักถึงความสำคัญของความต่อเนื่องของช่วงเวลา จะทำให้การลำดับเปรียบเทียบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มีความชัดเจนขึ้นตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. การแบ่งช่วงเวลา มีพื้นฐานมาจากยุคสมัยทางศาสนาแบ่งออกเป็น

(1) การแบ่งช่วงเวลาตามประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)จุลศักราช (จ.ศ.) และพุทธศักราช (พ.ศ.) ปัจจุบันที่ใช้กันอยู่คือ พุทธศักราช (พ.ศ.) ซึ่งเป็นศักราชในกลุ่มผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาการนับปีของพุทธศาสนา เริ่มปี พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือปีแรกนับเป็น พ.ศ. 0 เมื่อครบ 1 ปี ของพุทธศาสนาจึงเริ่มนับ พ.ศ.1 โดยเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนมาเป็นที่แพร่หลายและระบุใช้อย่างเป็นทางการในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ในปีพุทธศักราช 2455 และบางครั้งมีการแบ่งเป็นทศวรรษ และศตวรรษ เช่นพุทธศตวรรษที่ 25 คือ ปี พ.ศ. 2500 เท่ากับ คริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ ปี ค.ศ. 2000

(2) การแบ่งช่วงเวลาตามประวัติศาสตร์สากล ได้แก่ คริสต์ศักราช (ค.ศ.)เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้ที่นับถือคริสต์ที่นิยมใช้กันมาทั่วโลก โดยคริสต์ศักราชที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ (ตรงกับ พ.ศ. 543 )และถือระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไปจะเรียกว่า สมัยก่อนคริสต์ศักราชหรือก่อนคริสตกาล และฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนาอิสลามโดยที่อาศัยปีที่ท่านนบีมูฮัมหมัดได้อพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองมาดินา เป็นปีเริ่มต้นศักราชอิสลามซึ่งตรงกับวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 622

2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์โดยการใช้หลักเกณฑ์การพิจารณารูปแบบและลักษณะของหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร สามารถแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เป็นยุคต่างๆ ได้ดังนี้

(1) ยุคก่อนประวัติศาสตร์

(2) ยุคประวัติศาสตร์

เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร แต่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและหลงเหลืออยู่ จึงเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการในยุคก่อนประศาสตร์ ซึ่งแบ่งย่อยออกไปตามลักษณะวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ดังนี้

1. ยุคหิน เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักนำหินมาดัดแปลงเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ โดยมีวิวัฒนาการดังนี้

(1) ยุคหินเก่า มนุษย์นำกระดูกสัตว์ นำหินมากะเทาะทำเครื่องมืออย่างหยาบๆยังคงใช้ชีวิตเร่ร่อนย้ายที่อยู่ตามฝูงสัตว์ที่ล่าเป็นอาหารโดยอาศัยอยู่ตามถ้ำ

(2) ยุคหินกลาง มนุษย์เริ่มรู้จักสร้างบ้านเรือนแทนการอยู่ถ้ำ เริ่มทำเกษตรและรู้จักปั้นหม้อไหอย่างหยาบๆด้วยดินเหนียวตากแห้ง

(3) ยุคหินใหม่ มนุษย์อยู่เป็นหลักแหล่ง สามารถทำการเกษตรและผลิตอาหารได้เอง เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินมีการขัดเกลาให้แหลมคม ทำเครื่องปั้นดินเผามาใช้ในบ้านเรือนได้ และเริ่มรู้จักการนำเส้นใยมาทอผ้า

2. ยุคโลหะ ในยุคนี้มนุษย์เริ่มทำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะแทนหินและกระดูกสัตว์ ยุคโลหะสามารถแบ่งย่อยไปได้อีก 2 ยุค ตามลักษณะโลหะที่ใช้คือ

(1) ยุคสำริด เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคนี้ทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดงและดีบุก เช่น ขวาน หอก กำไล เป็นต้น

(2) ยุคเหล็ก เมื่อมนุษย์รู้จักวิธีการถลุงเหล็กจึงนำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ เช่น ใบหอก ขวาน มีด ซึ่งจะมีความแข็งแกร่งทนทานกว่าสำริดมาก

เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรและบันทึกไว้บนวัสดุต่างๆ เช่น แผ่นหิน แผ่นดินเหนียว แผ่นผ้า ยุคประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็นยุคสมัยต่างๆ ดังนี้

1. สมัยโบราณ มนุษย์เลิกใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่รวมกัน สร้างระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันขึ้นจนเป็นสังคมที่มีความซับซ้อน อารายธรรมในสมัยนี้ ได้แก่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์ อารายธรรมอินเดีย อารยธรรมจีนไปจนถึงจักรวรรดิโรมันล่มสลาย

2. สมัยกลาง เมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลาย โดยการรุกรานของพวกเตอร์ก ศิลปะวิทยาการต่างๆ จึงหยุดชะงักไปด้วย ยุคสมัยนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยุคมืด

3. สมัยใหม่หรือยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ นับว่ายุคนี้เป็นรากฐานของความเจริญทุกๆ ด้านในยุคต่อมา ช่วงเวลาของยุคนี้เริ่มตั้งแต่การออกสำรวจดินแดนไปจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1

4. สมัยปัจจุบันคือ ช่วงเวลาตั้งแต่ยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

แบ่งตามความเจริญทางอารยธรรมมนุษย์

แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ

แบ่งตามชื่อจักรวรรดิหรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง

แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ

แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง

2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

ส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทยและสมัยประวัติศาสตร์ไทย

สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม

สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ.1180 ถึง พ.ศ. 1792

สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 ถึง พ.ศ. 2006

สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310

สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2310 ถึง พ.ศ. 2325

สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 ถึงปัจจุบัน

การน บเวลาทางประว ต ศาสตร ม ประโยชน อย างไร

ตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่แสดงความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของกาลเวลา

1. ประวัติศาสตร์สากล

เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สากลนำมาเป็นตัวอย่างคือ ยุคจักรวรรดินิยมเกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและพลังทางสังคม ซึ่งทำให้ประเทศในทวีปยุโรปมีอำนาจเข้มแข็ง มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ มีความเจริญรุ่งเรือง แต่การมีอำนาจและความมั่นคงดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรมและยุคจักรวรรดินิยมสิ้นสุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้มหาอำนาจทั้งหลายหยุดการล่าอาณานิคม แต่อาณานิคมทั้งหลายที่เป็นอยู่ก็ยังคงเป็นอาณานิคมตอ่ มาอีกหลายป ี หลายชาติ เริ่มเรียกรอ้ งเอกราชและสว่ นใหญไ่ ดเ้ อกราชคืนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

2. ประวัติศาสตร์ไทย

เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยที่นำมาเป็นตัวอย่างคือ ยุคการปรับปรุงประเทศอยู่ในช่วง พ.ศ. 2394-2475 หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนี้มีการปรับปรุงและปฏิรูปประเทศทุกด้านทั้งการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ