การทอดก งเทมป ระใช อ ณภ ม น ำม นเท าไรในการทอด

ปิโยรส ทิพย์มงคล และ ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์. (2563). การจัดการและการแปรรูป น้ำมันใช้แล้ว ในภาคครัวเรือน. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 24 (ฉบับที่ 4).


บทความ: การจัดการและการแปรรูป น้ำมันใช้แล้ว ในภาคครัวเรือน

1 วิศวะสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย * E-mail: [email protected]


น้ำมันใช้แล้ว หรือ Waste Cooking Oil เป็นน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนจากกระบวนการทำอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจานทอดทั้งหลาย (Deep fry) แหล่งที่มาของน้ำมันใช้แล้วนอกจากน้ำมันที่ใช้ทอดแล้ว ยังสามารถมาจากน้ำมันจากการล้างภาชนะ ซึ่งสามารถแยกออกจากน้ำได้โดยบ่อหรือถังดักไขมัน

คุณสมบัติของน้ำมันใช้แล้วของประเทศไทย จะมีคุณลักษณะคล้ายกับน้ำมันปาล์ม ซึ่งประกอบไปด้วยไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) แต่มีคุณภาพต่ำเนื่องจากผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่สูงและปนเปื้อนน้ำและเศษอาหาร โดยเฉพาะ ค่าความเป็นกรดที่สูง (Acid value) จากการสลายตัวของไตรกลีเซอร์ไรด์เป็นกรดไขมันอิสระ (Free fatty acid) จากกระบวนการสลายตัวด้วยน้ำ (Hydrolysis) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันพืชใช้แล้วก่อนน้ำไปแปรรูปสำหรับบางกระบวนการ เช่น การผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น

เนื่องจากคุณสมบัติที่ไม่ละลายน้ำของน้ำมันใช้แล้ว สามารถก่อให้เกิดปัญหามากมายถ้าไม่มีการจัดการที่ถูกต้อง โดยส่วนใหญ่แล้วภาคครัวเรือนอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการของเสียกลุ่มนี้มากเท่าที่ควร โดยจะนำไปเทรวมกับขยะมูลฝอย หรือเททิ้งลงท่อระบายน้ำที่ไม่ได้ติดตั้งบ่อ/ถังดักไขมัน

การทอดก งเทมป ระใช อ ณภ ม น ำม นเท าไรในการทอด
ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ 2551

หัวใจสำคัญในการจัดการน้ำมันใช้แล้วอย่างถูกวิธี คือ การแยกน้ำมันใช้แล้วดังกล่าวออกจากขยะมูลฝอย และท่อระบายน้ำ สำหรับน้ำมันทอดอาหารที่ใช้แล้ว หลังจากพักให้เย็นแล้ว สามารถนำมาบรรจุลงในขวดพลาสติกและติดฉลากระบุว่าเป็นน้ำมันพืชใช้แล้ว สำหรับน้ำมันจากบ่อ/ถังดักไขมัน ถ้าเป็นระบบขนาดเล็กที่ติดตั้งไว้ใต้อ่างล้างจาน ควรตักออกและบรรจุใสขวดพลาสติกเช่นเดียวกับน้ำมันทอดอาหารที่ใช้แล้ว แต่ต้องระวังไม่ให้มีเศษอาหารหรือน้ำปนเปื้อนมาด้วยกับน้ำมันใช้แล้วดังกล่าว ซึ่งถ้าเรามีการแยกน้ำมันใช้แล้วบรรจุใส่ขวดพลาสติก นอกจากที่จะทำให้การจัดการขยะมูลฝอยทำได้ง่ายแล้ว น้ำมันใช้แล้วดังกล่าวยังสามารถนำไปขายเพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล หรือแปรรูปเป็นอาหารเสริมแก่ปศุสัตว์ (15-20 บาทต่อลิตร)

การปรับสภาพน้ำมันใช้แล้ว ในการเก็บรักษาน้ำมันใช้แล้ว เพื่อรอแปรรูป มีความจำเป็นที่จะต้องแยกเอาส่วนที่เป็นของแข็งและน้ำออกจากน้ำมันใช้แล้วเสียก่อน • ขั้นตอนแรก นำน้ำมันใช้แล้วมาอุ่น เพื่อระเหยน้ำออก และลดความหนืดของน้ำมันใช้แล้ว • ขั้นที่สอง คือ กรองเอาส่วนของแข็งออกจากน้ำมันใช้แล้ว โดยใช้ตะแกรงเหล็ก หรือกระดาษชำระซ้อนกันหลายๆ ชั้น • ขั้นที่สาม คือ การรอให้น้ำมันใช้แล้วที่ผ่านการกรองเย็นตัวลง และบรรจุใส่ขวดเก็บไว้ในที่ๆ ไม่โดนแดด และความชื้น

ไบโอดีเซล ไบโอดีเซล (Biodiesel) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเปลี่ยนน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ เป็นสาร เอสเทอร์ของกรดไขมัน (Fatty acid alkyl ester) โดยใช้แอลกอฮอล์สายสั้น เช่น เมทานอล หรือ เอทานอล และตัวเร่งปฏิกิริยาด่าง เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ทรานส์เอสเตอร์ริฟิเคชั่น (Transesterification) จากโครงสร้างไตรกลีเซอร์ไรด์ของน้ำมันใช้แล้ว จะเห็นได้ว่าในปฏิกิริยาเอสเตอร์ริฟิเคชั่น ตัวแอลกอฮอล์จะเข้าไปทำลายโครงสร้าง โดยจะทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์แตกตัวออกเป็น กลีเซอรีน (Glycerin) และตัวแอลกอฮอล์จะเข้าไปรวมตัวกับกรดไขมันอิสระ กลายเป็นไบโอดีเซล โดยใช้ด่าง (โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าว ด้วยคุณสมบัติการมีชั้วและไม่มีขั้วที่ต่างกันของไบโอดีเซล,กลีเซอรีน และตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้หลังสิ้นสุดปฏิกิริยา สามารถแยกไบโอดีเซลออกจากกลีเซอรีนได้ โดยกลีเซอรีนที่ได้สามารถนำไปกลั่นให้บริสุทธิ์เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา เครื่องสำอางค์ รวมถึงตัวตั้งต้นของการผลิตพลาสติก ได้อีกด้วย

การทอดก งเทมป ระใช อ ณภ ม น ำม นเท าไรในการทอด
เนื่องด้วยคุณภาพของน้ำมันใช้แล้วที่ต่ำ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันใช้แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด สบู่ ในระหว่างการผลิตไบโอดีเซล ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ระหว่างกรดไขมันอิสระในน้ำมันใช้แล้วกับตัวเร่งปฏิกิริยาด่างที่ใช้ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซล โดยจะทำให้ปฏิกิริยาทราสเอสเตอร์ริฟิเคชั่นเกิดไม่สมบูรณ์เนื่องจากการหายไปของตัวเร่งปฏิกิริยาด่าง นอกจากนั้นยังทำให้การแยกชั้นระหว่างไบโอดีเซลและกลีเซอรีนทำได้ยาก เกิดการสูญเสียไบโอดีเซลไปกับชั้นของกลีเซอรีนเป็นจำนวนมาก รวมถึงการมีสบู่ปนเปื้อนในไบโอดีเซลจะทำให้คุณภาพของไบโอดีเซลเสื่อมเร็วขึ้น โดยเฉพาะค่าความเป็นกรด ความหนืด และค่าต้านทางปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ดังนั้นการจัดการกับกรดไขมันอิสระและน้ำในน้ำมันใช้แล้วจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง (Knothe, Krahl, & Gerpen, 2010)