การรายงานผลการด าเน นงานผ ส งอาย ท ม ภาวะพ งพ ง

๒๖ ตาม ๕ ข้อ ที่ก าหนดไว้ มีรายละเอียดและเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยการท างานอย่างเข้าถึง ที่แท้จริง จึงจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อค้นพบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้านมีภารกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่มีมากทั้งเชิงรับและเชิงรุก ไม่ใช่เฉพาะการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากมีความครอบคลุม และใกล้ชิดกับชุมชน ได้สร้างคุณประโยชน์อย่างมากมายต่อการพัฒนาสาธารณสุขระดับชุมชน มายาวนานและต่อเนื่องทั้งด้านสุขภาพ สภาพแวดล้อมของชุมชนและประชาสัมพันธ์ข่าวสาร สาธารณสุขให้ชุมชน และพบว่า อสม. ส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างมาก ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า ในการดูแล ผู้สูงอายุต้องเป็นผู้มีจิตอาสา เสียสละ อดทน มีใจรักการดูแลและบริการผู้สูงอายุ ดังนั้น คุณสมบัติ ข้อนี้จึงเป็นพื้นฐานส าคัญในการคัดเลือก อสม.ในการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านนี้ ๓.๑.๔ บริการดูแลสุขภาพส าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการให้บริการ ใน รูป แบบ อื่น น วัต ก ร รม ก า รบ ริก ารสุ ขภ าพ (health service innovation) ห ม าย ถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ๆ ที่เป็นแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในการบริการสุขภาพให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายก่อให้เกิดความคุ้มทุนส าหรับ การใช้การบริการสุขภาพ ซึ่งนวัตกรรมการบริการสุขภาพนี้จะสามารถพัฒนาระบบสุขภาพให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งทางระบบสุขภาพได้ นวัตกรรมบริการสุขภาพ ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ ใหม่ ๆ ที่ใช้ในการให้บริการสุขภาพ รูปแบบการบริการสุขภาพใหม่ ๆ ระบบงานบริการสุขภาพ แบบใหม่ เช่น แบบประเมินภาวะสุขภาพ โปรแกรมการบริการสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการ แนวปฏิบัติทางการพยาบาล กิจกรรมการบริการสุขภาพทั้งในด้าน การส่งเสริม การป้องกัน รักษา และการฟื้นฟูนวัตกรรมเชิงรุกในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงจะต้อง ประเมินคัดกรองกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง สัมภาษณ์ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ดูแล และบุคคลที่เกี่ยวข้อง และ การศึกษาข้อมูลเชิงสังคมวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางประกอบในการพัฒนานวัตกรรม ที่เหมาะสม นวัตกรรมบริการสุขภาพเชิงรุก เป็นบริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน เข้าถึงการบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยการพัฒนาคุณภาพเวชปฏิบัติชุมชน เพื่อสร้างแนวปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการในชุมชน เปลี่ยนแปลงวิธีการพัฒนาระบบ การบริการพยาบาลโดยมุ่งเน้นให้บริการสุขภาพเชิงรุก (๑) นวัตกรรมบริการสุขภาพเชิงรุกของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล (รพสต.) ซึ่ง รพช.และรพสต.ถือเป็นจุดเชื่อมต่อส าคัญท าให้ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและครอบครัวเข้าถึงบริการการวินิจฉัยบ าบัด รักษาและการดูแลอย่าง ต่อเนื่องจนครบวงจร โรงพยาบาลทุกระดับจะมีหน่วยงานที่ติดตามเยี่ยมบ้านเมื่อจ าหน่ายผู้สูงอายุ

๒๗ ออกจากโรงพยาบาล การเยี่ยมบ้านของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นกิจกรรมการดูแลร่วมสนับสนุนสุขภาพชนิดหนึ่งที่ใช้บ้านที่พักอาศัยเป็นฐานในการดูแล ประกอบด้วยการวางแผนก่อนการเยี่ยม การระบุข้อบ่งชี้ในการเยี่ยมพร้อมก าหนดวัตถุประสงค์ การเยี่ยม และวางแผนงานเยี่ยมบ้าน๕ หน้าที่และบทบาท การเยี่ยมบ้านให้การดูแลเกี่ยวกับการป้องกันสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การช่วยแพทย์รักษาโรค การฟื้นฟูภาวะสุขภาพ และการรักษาโรคโดยใช้ ที่อยู่อาศัย/บ้านของบุคคลและผู้ป่วยเป็นสถานที่ให้บริการสุขภาพ การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึ่งพิงท าเพื่อประเมินและวางแผนให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ครอบครัว หรือประสานกับหน่วยงานอื่น เพื่อร่วมดูแลผู้ป่วย มีการตรวจสุขภาพเชิงรุก เช่น วัดความดันโลหิต ให้ค าปรึกษา แนะน าการดูแล สุขภาพ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ทีมเยี่ยมบ้านสหสาขาของรพช. หรือ รพสต. ต้องให้ความส าคัญกับการเยี่ยมติดตามผู้สูงอายุที่บ้านใน ๒ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มติดบ้าน (Home Bound Elder) การเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มนี้มุ่งเน้น การรักษาพยาบาลโรคที่รักษาได้ตั้งแต่เริ่มต้น การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและป้องกันการเกิดภาวะ ทุพพลภาพ การเฝ้าระวังและค้นหาโรค หรือกลุ่มอาการของผู้สูงอายุ (Geriatic Syndrome) และ การป้องกันการเสื่อมถอยของการท าหน้าที่ตั้งแต่เริ่มต้น (Early Detection) โดยแพทย์เวชศาสตร์ ครอบครัวและทีมต้องเน้นการพูดคุยให้ก าลังใจ เสริมสร้างพลังอ านาจในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มนี้ ๒) กลุ่มติดเตียง (Bed Bound Elder) เป้าหมายการเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มนี้ มุ่งด ารงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพและความสามารถในการท าหน้าที่ตามที่เป็นอยู่ เฝ้าระวังและป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน ให้การบ าบัดฟื้นฟูสภาพและป้องกันการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เน้นการควบคุม และจัดการอาการที่ไม่สุขสบายของผู้สูงอายุ (Syndrome Management) โดยค านึงถึงคุณภาพ ชีวิตทุกมิติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นส าคัญ ๕ สายฝน กันธมาล และคณะ, “การเยี่ยมบ้านของพยาบาลเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง Home Visiting of Nurses for Caring the Dependent Elderly People.”, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓ เดือน กันยายนธันวาคม ๒๕๖๑, หน้า ๑๐๗ – ๑๑๙.

๒๘ หลังจากออกจากบ้านผู้ป่วยควรมีการสรุปปัญหาครอบครัวที่พบทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ และบันทึกข้อมูล ควรต้องมีสมุดหรือแฟ้มประจ าครอบครัว เพื่อใช้ส าหรับบันทึกข้อมูลการดูแลครอบครัว๖ กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ สาธารณสุข เช่น ๑) พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ๒) พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบ าบัด พ.ศ. ๒๕๔๗ ๓) พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ ๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ ๕) พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๖ แหล่งงบประมาณ งบประมาณประจ ากระทรวงสาธารณสุข ส านักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วิเคราะห์จุดอ่อน -จุดแข็งจุดอ่อน ได้แก่ การออกเยี่ยมบ้านต้องใช้ทีมสหสาขา ท าให้ต้องมีแผนและตารางการเยี่ยมบ้านอย่างดี และจะต้องมีความร่วมมือของผู้สูงอายุและ ครอบครัว อีกทั้งผู้สูงอายุมีจ านวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ มีทีมที่เชี่ยวชาญ ในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและเป็นการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ข้อค้นพบ รพช. และ รพสต. มีแผนการเยี่ยมบ้านอย่างสม่ าเสมอ ท าให้ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง (๒) นวัตกรรมบริการสุขภาพเชิงรุกของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ร่วมกับ ท้องถิ่นและชุมชน ในการดูแลผู้สูงอายุจะมีเครือข่ายทางสังคมที่ส าคัญทั้งระดับครอบครัว และระดับชุมชน การเพิ่มบทบาทให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเกื้อหนุนผู้สูงอายุจึงเริ่มเข้า มามีบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้เพราะชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นพลังสนับสนุนและ เป็นฐานรองรับการพึ่งตนเองของประชาชน รวมทั้งช่วยให้เกิดการลดการพึ่งพิงบริการของรัฐ๗ เช่น นวัตกรรมของโรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนา อ าเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ พระครูสิริศีล สังวร หรือครูบาน้อยเตชปัญโญ เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล อ าเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้การดูแล ๖ ชาญชัย ลิ้มธงเจริญ, “แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวกับการเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน”, ศรีนครินทร์ เวชสาร, ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๕ เดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๖๐. ๗ ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ, แนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมโดยการลดการพึ่งพิงบริการของรัฐ, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจ าปีของสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย เรื่อง “การวิจัยทางสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาสังคม” วันที่ ๒๑ - ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๙.

๒๙ ต่อเนื่องแบบประคับประคองแก่กลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การแพทย์แบบผสมผสานร่วมกับธรรมบ าบัด และการดูแลสุขภาพตามวิถีพุทธ หน้าที่และบทบาท ฟื้นฟูสุขภาพ เยี่ยมคนติดเตียง และเตรียมตัวตาย มีบริการแพทย์แผนไทยครบวงจร รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีลักษณะรีสอร์ท มีสถานที่ดูแล ด้านจิตใจผู้ป่วยและญาติ(ศาลาพระและศาลาอโรคยา) มีการบริจาคสนับสนุน อุปกรณ์ที่มี ประสิทธิภาพด้านฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น เครื่องเอ๊กซเรย์ดิจิตอล เครื่องเลเซอร์ เพิ่มเติมอย่าง ต่อเนื่อง นอกจากนี้ โรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนาได้สร้าง Smart Home ซึ่งเป็น อาคารหรือบ้านเพื่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาฟื้นฟูหรือบ าบัด โดยมีระบบการให้ความ ช่วยเหลือและขอความช่วยเหลือที่ทันสมัยแห่งเดียวในประเทศไทย สามารถให้ความช่วยเหลือชีวิต ผู้ป่วยพิการและผู้สูงอายุได้อย่างรวดเร็วหากเกิดวิกฤตฉับพลัน อุปกรณ์ในบ้านครบครันติดตั้งไว้ทั่วบ้าน แม้แต่ในห้องน้ า ห้องนอน ประตูหน้าต่าง โดยเฉพาะห้องน้ า หากผู้สูงอายุเข้าไปนานและเกิดล้มลง ไม่ได้สติ เพียง ๑๐ นาที สัญญาณขอความช่วยเหลือจะถูกส่งไปยังรถกู้ชีพและโรงพยาบาลทันที เพื่อส่งคนมาตรวจสอบและให้การช่วยเหลือ ถือได้ว่าเป็นบ้านพักฟื้นส าหรับผู้ป่วยและผู้ที่อยู่ ระหว่างกายภาพบ าบัดหลังฟื้นฟูได้อย่างดีที่สุด โดยบ้านดังกล่าวทางโรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนา ได้ใช้ชื่อว่า “อาคารศูนย์เทคโนโลยีชุมชนต้นแบบในการดูแลสุขภาพและสิ่งอ านวยความสะดวก ในการด าเนินชีวิตส าหรับผู้สูงอายุและผู้ที่ก าลังฟื้นฟูจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วย” ภายในอาคารได้ใช้ ระบบเทคโนโลยี โดยผู้ป่วยที่นั่งรถเข็นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทุกอย่าง เช่น ประกอบอาหาร เข้าห้องน้ า นอน เป็นต้น หากมีปัญหาสามารถกดออด หรือแอพพิเคชั่น เพื่อเรียกญาติให้ช่วยเหลือ ได้ ซึ่งจะมีไฟปรากฏที่หน้าบ้าน และสัญญาณยังดังที่โรงพยาบาล ซึ่งจะส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือ รวมทั้งการใช้ปลั๊กไฟอยู่ในระดับพอดี ห้องน้ า ชักโครก อาบน้ า หรือหน้าต่างได้ออกแบบให้พอดีกับ ระดับสายตา สามารถมองออกไปนอกอาคารได้เพื่อเป็นการผ่อนคลาย โดยได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ออกแบบโดยอาจารย์ภาควิชา กิจกรรมบ าบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นบ้านต้นแบบส าหรับผู้สูงอายุ หรือคนพิการหลังแรกของประเทศไทย แหล่งงบประมาณ งบประมาณโรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนาและ วัดศรีดอนมูล รวมทั้งเงินบริจาคจากประชาชน วิเคราะห์จุดอ่อน - จุดแข็ง จุดอ่อน ได้แก่ ขาดแคลนอัตราก าลังทั้งแพทย์ เวชศาสตร์และครอบครัว/แพทย์/พยาบาล/พนักงานผู้ช่วย และการคมนาคมติดต่อประสานงานกับ โรงพยาบาลแม่ข่ายไม่สะดวก ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ เป็นโรงพยาบาลประชารัฐเต็มรูปแบบที่มีมูลนิธิ ครูบาน้อยอุปถัมภ์ต่อเนื่อง มีคณะกรรมการของชุมชนเข้าร่วมพัฒนาต่อเนื่อง รวมทั้งผู้รับบริการมี

๓๐ จิตศรัทธาบริจาคงบประมาณต่อยอดจากครูบาน้อย เครือข่ายภาคประชาชนมีความร่วมมืออย่าง เข้มแข็ง เจ้าหน้าที่ทุกคนพร้อมเรียนรู้และปฏิบัติงานได้หลายบทบาทหน้าที่ เต็มใจและเสียสละ ประโยชน์ส่วนตัว โดยมีค่านิยมร่วมกันว่าเป็นการร่วมบุญสร้างบารมีกับครูบาน้อย ข้อค้นพบ เป็นนวัตกรรมดูแลผู้สูงอายุที่มีเครือข่ายภาคประชาชนมีความ ร่วมมืออย่างเข้มแข็ง วัดและชุมชนให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง มีผู้น าศาสนาที่เข้มแข็ง อุปถัมภ์ ท าให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคอย่างเต็มใจ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ ควรมีการเพิ่มกรอบอัตราก าลัง โดยให้มีแพทย์เวชศาสตร์ ฟื้นฟูประจ าการ และขยายผลไปยังสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดอื่น ๆ เพื่อพัฒนา นวัตกรรมโดยความร่วมมือของโรงพยาบาลและท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง บ้านทันสมัย (๓) นวัตกรรมบริการสุขภาพเชิงรุก “ท้องถิ่นเป็นหลักร่วมกับชุมชน” เป็นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ โดยมีท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น กรณีเทศบาลต าบลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมกับ ๘ หน่วยงานในอ าเภอแม่สะเรียง บูรณาการความร่วมมือการพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลต าบลแม่สะเรียง เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และบูรณาการระบบ การดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างกลไกที่เอื้อต่อผู้สูงอายุ ตามอ านาจหน้าที่และภารกิจของแต่ละหน่วยงาน หน้าที่และบทบาท เทศบาลต าบลแม่สะเรียง น าร่องโครงการดูแลผู้สูงอายุ ด้วยระบบ Service to Care (STC) มีบริการผู้สูงวัยด้วยใจ ให้ผู้สูงอายุในพื้นที่เลือกใช้บริการ ซึ่งมีบริการ ๔ กลุ่ม ได้แก่ ๑) บริการรับ-ส่ง ๒) บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพ ๓) บริการปรับปรุง สภาพแวดล้อม และ ๔) อสม.จิตอาสาชุมชน โดยการให้บริการนี้ประกอบด้วยชื่อ รูปถ่าย และเบอร์โทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่ส าคัญ คือ การติดธงสีส้ม ไว้หน้าบ้านผู้รับบริการ เพื่อเป็นจุดสังเกตให้เจ้าหน้าที่ทราบพิกัด รวมถึงเพื่อให้คนในพื้นที่มีการดูแลกันเอง เบื้องต้น ก่อนที่หน่วยงานหรือองค์กรอื่นจะเข้ามาดูแล ซึ่งบ้านใดที่จะติดธงสีส้มต้องผ่าน การคัดเลือกจากประชาคมที่ชุมชนมีส่วนร่วม แหล่งงบประมาณ งบประมาณท้องถิ่น ส านักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ และส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ วิเคราะห์จุดอ่อน - จุดแข็ง จุดอ่อน ได้แก่ ขาดแคลนอัตราก าลังสหสาขา อาชีพ ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ มีการร่วมมือท างานเป็นระบบทีม ข้อค้นพบ เป็นความร่วมมือช่วยกันดูแลในชุมชน การมีธงเป็นสัญลักษณ์ ท าให้ชุมชนและผู้ดูแลสามารถทราบได้ว่าบ้านใดมีผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแล และสามารถเข้าถึงได้ง่าย

๓๑ กรณีศึกษาการดูแลผู้สูงอายุต าบลกลอนโด อ าเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัด กาญจนบุรีต าบลกลอนโดมีผู้สูงอายุ จ านวน ๑,๑๐๐ คน ทั้งประเภทติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง ด าเนินการดูแลโดยอาสาสมัครและบุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สาธารณสุข พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์การบริหารส่วนต าบล เป็นต้น อาสาสมัครที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านมีมาจากหลายหน่วยงานและมีชื่อเรียกที่ แตกต่างกัน เช่น Care Giver ภายใต้โครงการ LTC อาสาสมัครสาธารณสุขประจ า หมู่บ้านโดยกระทรวงสาธารณสุข อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น อาสาสมัครเหล่านั้นด าเนินงานภายใต้ ระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานที่ตนเองสังกัด ส่งผลให้การด าเนินงานการพัฒนาทักษะ การดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครและค่าตอบแทนมีความแตกต่างกัน ซึ่งควรมีการ ทบทวนและจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนให้ลงตัวมากยิ่งขึ้นต่อไป คณะกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

๓๒ กรณีศึกษาการดูแลผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองทับกวาง อ าเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เทศบาลเมืองทับกวางมีผู้สูงอายุ จ านวน ๒,๕๘๙ คน เทศบาลฯ ได้สนับสนุนกิจการ ผู้สูงวัยทั้งกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุตั้งชื่อกันเองว่า “โรงเรียนฟ้าวันใหม่” มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พัฒนาอาชีพ นันทนาการ ดูแลสุขภาพ พัฒนา สิ่งแวดล้อมของบ้าน สร้างบ้านให้ผู้สูงอายุยากไร้ และมี “ทีมโอบอุ้ม” ซึ่งเป็นทีม อาสาสมัครท างานโดยไม่มีค่าตอบแทนได้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่ม ติดเตียงตามบ้าน นอกจากนี้ได้จ้างงานแพทย์ที่เกษียณอายุราชการ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ผู้ป่วย ติดเตียง (ผู้สูงอายุ/คนพิการ/ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือ) ร่วมกับพยาบาล วิชาชีพ และนักกายภาพบ าบัด ซึ่งเทศบาลฯ ได้สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีภาคเอกชนในพื้นที่บริจาคร่วมด้วยช่วยเหลือ อีกทั้งได้รับงบประมาณสนับสนุน จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเทศบาลจ่ายสมทบทุกปี จึงท าให้ การด าเนินงานดูแล ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่มีความคล่องตัว เช่น การจัดฝึกอบรมอาชีพ บริการเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน ตรวจสุขภาพเบื้องต้น การให้ ความรู้ด้านโภชนาการ มอบสิ่งของจ าเป็น การซ ่อมแซมและสร้างที่อยู่อาศัย ที่ถูกสุขลักษณะให้แก่ผู้สูงอายุ คณะกรรมาธิการฯลงพื้นที่เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๔

๓๓ กรณีศึกษาการดูแลผู้สูงอายุของเทศบาลต าบลทัพทัน อ าเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี เทศบาลต าบลทัพทันมีผู้สูงอายุ จ านวน ๘,๗๙๘ คน ด าเนินการดูแล ส่งเสริม และ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่โดยใช้กลไกของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและ ส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) เป็นหลักในการท างานเชื่อมโยงกับผู้สูงอายุ โดยมี เครือข่ายหน่วยงานในพื้นที่และนอกพื้นที่ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมให้แก่ ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดเตียง และกลุ่มติดสังคม เช่น การปรับปรุงที่อยู่อาศัยและ สภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรม สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ (ผลิตหน้ากากอนามัย ถุงมือผู้ป่วย) โครงการผู้สูงวัยใส่ใจ ลูกหลาน โครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่ไม่ได้อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้สูงอายุที่ มีภาวะพึ่งพิงโดย ศพอส. ได้ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกัน สุขภาพเทศบาลต าบลทัพทันและกองทุนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและ บุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ซึ่งท าให้การด าเนินงานในพื้นที่มีความรวดเร็ว คล่องตัว และทันสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเทศบาลฯ มี Care Giver ในโครงการ LTC จ านวน ๖ คน ท างานภายใต้การควบคุมของ Care Manager เพื่อให้เป็นไปตาม Care plan ได้รับค่าตอบแทน ๖,๐๐๐ บาท/เดือน ท าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (กลุ่มติดบ้าน และติดเตียง) ทั้งด้านชีวิตประจ าวัน สุขภาพและการกายภาพบ าบัดโดย Care Giver จะต้องไม่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแล ที่มีคุณภาพ ที่นี่มีเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส านักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นก าลังส าคัญในการสนับสนุนการด าเนินงานของ ศพอส. และจัดกิจกรรมการดูแล ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ เป็นการสร้างสุขให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คณะกรรมาธิการฯลงพื้นที่เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔

๓๔ กรณีศึกษาการดูแลผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนต าบลบางด้วน อ าเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ต าบลบางด้วนได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุ ร้อยละ ๑๙.๐๔ ด าเนินงานกิจการผู้สูงอายุและการจัดระบบรองรับสังคมสูงวัยตามหลักการ “จตุพลัง” โดยมีท้องถิ่น (อบต., อบจ.) ท้องที่ (ก านัน,ผู้ใหญ่บ้าน) องค์กรชุมชน (สภาองค์กร ชุมชนต าบลบางด้วน ชมรมผู้สูงอายุชมรมคนพิการ สภาเด็กและเยาวชน กองทุน สวัสดิการสังคม กองทุนต่าง ๆ) และหน่วยงานอื่น ๆ (รพ.สต. พมจ. สสส. สป.สว.ฯลฯ) ครอบคลุมทั้ง ๔ มิติ ได้แก่ (๑) มิติสุขภาพ จัดให้มีCG จ านวน ๗ คน ดูแลผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง จ านวน ๖๑ คน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน จากโครงการ LTC ของสปสช. และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครบริบาลโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนต าบล บางด้วน (อาสา ๑ คน : ผู้สูงอายุ ๕ คน) นอกจากนี้มีการดูแลสุขภาวะในชุมชน ทุกกลุ่มวัยโดยกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บางด้วน และธรรมนูญสุขภาพ การส่งเสริมการออกก าลังกาย นวัตกรรมดูแลและฟื้นฟูสุขภาพ เช่น ยางยืดแขนลด ไหล่ติด เชือกรอกออกก าลังกาย ขันแป้งแปลงร่าง (๒) มิติการออม/เศรษฐกิจ มี อสม. อ านวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมเงินจากสมาชิกเพื่อน าฝากกับธนาคาร ธกส. ในโค รงก ารก ารออม รองรับ สังคมสูงวัย สสส . โดยส่งเส ริมก ารออมตั้งแต่ วัยประถมศึกษา และสร้างกลุ่มอาชีพเน้นใช้ผลิตภัณฑ์ในชุมชน เช่น ไตปลาคั่วกลิ้ง จักสาน (๓) มิติสังคม ได้จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยกลไกคณะกรรมการและหลักสูตร โดยให้ความรู้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และกลุ่มพี่เลี้ยง (๔) มิติสภาพแวดล้อม ได้ด าเนินการปรับสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยให้กับผู้สูงอายุ คนพิการและกลุ่มเปราะบางร่วมกับหน่วยงานและองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ คณะกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๕

๓๕ ๓.๒ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้วยการให้บริการในลักษณะสถาบันของภาครัฐ (Public Institutional Care) การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามการให้บริการในลักษณะสถาบันของภาครัฐ (Public Institutional Care) เป็นอีกทางเลือกส าหรับผู้สูงอายุและครอบครัว ทั้งในรูปแบบของ การดูแลในสถานสงเคราะห์ ศูนย์บริการดูแลผู้สูงอายุ และสถานพยาบาล โดยให้บริการ ด้านการดูแล การบ าบัดรักษา ฟื้นฟูและพักฟื้นภายหลังการเจ็บป่วย สามารถจ าแนกรูปแบบตาม การจัดตั้งของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้ดังนี้ ๓.๒.๑ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) เป็นสถาบันของรัฐ ภายใต้กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยจัดบริการดูแล ผู้สูงอายุในรูปแบบการสงเคราะห์แก่ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะหรือผู้ดูแล ซึ่งเป็นการให้บริการแบบมีที่พักอาศัย ผ่านศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุทั่วประเทศ มีทั้งหมด ๑๒ แห่ง ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยได้แก่ ๑ ) ศู น ย์พั ฒ น า ก า ร จั ด ส วั ส ดิ ก า ร สังค ม ผู้ สูงอ า ยุ บ้ าน บ างแ ค กรุงเทพมหานคร ๒) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี ๓) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี ๔) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ๕) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ ๖) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ๗) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม ๘) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ๙) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดล าปาง ๑๐) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์ จังหวัด เชียงใหม่ ๑๑) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านทักษิณ จังหวัดยะลา ๑๒) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา ในปีพ.ศ. ๒๕๖๓ มีผู้สูงอายุเข้ารับบริการรวมทั้งสิ้น ๑,๒๘๕ คน แบ่งเป็น ผู้สูงอายุเข้ารับบริการประเภทสามัญ คือ ได้รับการสงเคราะห์ จ านวน ๑,๒๑๒ คน มีผู้สูงอายุ

๓๖ ที่รอใช้บริการ จ านวน ๒๗๒ คน ส าหรับผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการประเภทเสียค่าบริการ จ านวน ๗๓ คน และมีผู้สูงอายุที่รอใช้บริการ จ านวน ๓,๘๗๓ คน๘ หน้าที่และบทบาท ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ให้บริการ ครอบคลุมความจ าเป็นด้านปัจจัย ๔ รวมทั้งบริการด้านการรักษาพยาบาล กายภาพบ าบัด ศาสนกิจ งานอดิเรก นันทนาการ กิจกรรมส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรม โดยให้การดูแลในกิจวัตร ประจ าวันผู้สูงอายุ และจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละช่วงของกิจวัตรประจ าวัน เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผ่อนคลายและได้ท ากิจกรรมที่ตนเองสนใจ ซึ่งผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมได้ตามความสมัครใจ การท า กิจกรรมกลุ่มท าให้ผู้สูงอายุได้ติดต่อสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ลดความเครียด ความวิตก กังวล และปัญหาทางสุขภาพจิต ท าให้ผู้สูงอายุมีความสุขในการใช้ชีวิตอยู่ในศูนย์พัฒนาการจัด สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ด าเนินการภายใต้กรอบกฎหมาย ที่ส าคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ แผนยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ ๒๐ ปี และระเบียบกรมกิจการ ผู้สูงอายุว่าด้วยการให้บริการผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๕๘ การขับเคลื่อนงานด้านการดูแลผู้สูงอายุภายใต้ แผนยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) มีภารกิจเกี่ยวกับ การส ่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการและการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ รวมทั้งการพัฒนารูปแบบงานด้านสวัสดิการสังคมให้ครอบคลุมและตอบสนองต่อสภาพการณ์ ทางสังคมโดยมีพันธกิจ ดังนี้ ๑) ผลักดันนโยบาย มาตรการ กลไก การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม ๒) เตรียมความพร้อมคนทุกวัยเพื่อรับสังคมผู้สูงอายุ ๓) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุให้ได้มาตรฐานบนพื้นฐานการคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิ ๔) พัฒนาสภาพแวดล้อมและระบบเกื้อหนุนผู้สูงอายุเพื่อเข้าถึงบริการ สาธารณะ ๕) ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและ เหมาะสมส าหรับผู้สูงอายุ ๘ ระพีพรรณ ค าหอม, “การจัดที่อยู่อาศัยส าหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการ สังคมผู้สูงอายุ”, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ส านักงานการวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๓.

๓๗ แหล่งงบประมาณ ผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการประเภทเสียค่าบริการ ใช้งบประมาณภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และแหล่งงบประมาณ จากการบริจาค วิเคราะห์จุดอ่อน - จุดแข็ง จุดอ่อน ได้แก่ ผู้สูงอายุต้องการเข้ารับบริการ จ านวนมาก ท าให้ไม่มีที่ว่างเพียงพอ บุคลากรมีไม่เพียงพอต่อจ านวนผู้สูงอายุ ท าให้มีข้อจ ากัด ในการให้บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง นอกจากนี้ ผู้สูงอายุมีปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมถอยของ สมรรถภาพทางร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการให้บริการของ ศพส. เนื่องจากไม่มีแพทย์ และพยาบาลประจ า ศพส. ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ การดูแลมีความใกล้ชิดระหว่างผู้ดูแลกับผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส หรือผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนจะได้รับการสงเคราะห์ในการเข้ารับบริการ ข้อค้นพบ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุแต่ละแห่งมีความ พร้อมในการดูแลผู้สูงอายุแตกต่างกัน มีผู้สูงอายุที่รอใช้บริการจ านวนมาก แต่ ศพส. ไม่สามารถรับ ผู้สูงอายุเข้ามาดูแลได้ทั้งหมด เนื่องจากมีบุคลากรไม่เพียงพอ ขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะหรือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ ศพส.ไม่ได้เป็นสถาบันหลักของรัฐในการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุอย่าง กว้างขวาง หากแต่มีภารกิจในการพัฒนารูปแบบ วิธีการ มาตรการและวิชาการเกี่ยวกับการดูแล ผู้สูงอายุ ซึ่ง ศพส. ยังไม่สามารถด าเนินการบทบาทใหม่นี้ได้มากนัก ๓.๒.๒ สถานสงเคราะห์คนชราในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นภารกิจ ที่ได้รับการถ่ายโอนมาจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (กรมประชาสงเคราะห์เดิม) กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ โดยมีการ ถ่ายโอนสถานสงเคราะห์คนชราให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ านวน ๑๓ แห่ง และศูนย์บริการ ทางสังคมผู้สูงอายุจ านวน ๒ แห่ง รวมจ านวนทั้งสิ้น ๑๕ แห่ง ดังนี้ ๑) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค ๒ สังกัดกรุงเทพมหานคร ๒) สถานสงเคราะห์คนชราวัยทองนิเวศน์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ ๓) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว สังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดนครสวรรค์ ๔) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านลพบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ลพบุรี ๕) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านมหาสารคาม สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดมหาสารคาม

๓๘ ๖) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์(วัดม่วง) สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนครราชสีมา ๗) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ (โพธิ์กลาง) สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ๘) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านนครปฐม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด นครปฐม ๙) สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี(หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม ๑๐) สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี(หลวงพ่อล าไย) สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ๑๑) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านจันทบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จันทบุรี ๑๒) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านอู่ทอง-พนังตัก สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชุมพร ๑๓) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านศรีตรัง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ๑๔) ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร ๑๕) ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุศรีสุคต สังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดพิษณุโลก หน้าที่และบทบาท จัดบริการด้านที่อยู่อาศัยด้านอาหารและโภชนาการ ให้การรักษาพยาบาล กายภาพบ าบัดการป้องกันโรค อาชีวบ าบัด การฟื้นฟูสมรรถภาพ จัดกิจกรรม นันทนาการ กิจกรรมวันส าคัญต่าง ๆ งานประเพณี รวมทั้งการจัดฌาปนกิจศพเมื่อผู้สูงอายุ เสียชีวิต กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง เป็นภารกิจขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามพระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ แหล่งงบประมาณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิเคราะห์จุดอ่อน - จุดแข็ง จุดอ่อน ได้แก่ สถานสงเคราะห์คนชรา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดบางแห่งไม่รับผู้สูงอายุข้ามพื้นที่จังหวัด และมีผู้รับผิดชอบดูแล ผู้สูงอายุไม่เป็นไปตามมาตรฐานการจัดบริการของสถานสงเคราะห์คนชรา โดยมีสัดส่วนจ านวน ผู้รับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุต่อจ านวนผู้สูงอายุในช่วงเวลากลางคืนต่ ากว่าตามเกณฑ์ที่ก าหนด บุคลากรในสถานสงเคราะห์คนชราขาดองค์ความรู้ทักษะและวิทยาการสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการ

๓๙ ดูแลผู้สูงอายุ ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ การให้บริการดูแลด้านปัจจัยสี่และการจัดกิจกรรมทางศาสนา และประเพณี การดูแลเรื่องสาธารณูปโภค สุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย มีความสะดวก มั่นคงปลอดภัย ท าให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจ อีกทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกับ ชุมชนมากกว่าหน่วยงานสังกัดส่วนกลางและมีภารกิจดูแลการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรในพื้นที่ อยู่แล้ว ข้อค้นพบ ขาดการปฏิบัติตามแนวทางการให้บริการผู้สูงอายุข้ามพื้นที่ และผู้รับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุไม่เป็นไปตามมาตรฐานการจัดบริการของสถานสงเคราะห์คนชรา ข้อเสนอแนะ องค์การบ ริห ารส่วนจังห วัดควรให้ความส าคัญ กับ การด าเนินงานสถานสงเคราะห์คนชราที่อยู่ในความรับผิดชอบและด าเนินการให้เป็นไปตามแนวทาง การปฏิบัติงานที่ก าหนดไว้ในคู่มือการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการก าหนดขั้นตอนการกระจาย อ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ๓.๒.๓ การจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีความหมายว่า “พระราชาผู้ทรงท าความเจริญยิ่ง” เป็นโรงพยาบาล ภายใต้ส านักการแพทย์ เปิดบริการรักษาพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๒ ครอบคลุมบริการ ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และโดดเด่นในด้านผู้สูงอายุ โดยได้รับรางวัลต่าง ๆ เช่น รางวัลชนะเลิศ การดูแลผู้สูงอายุ ในงานประชุมวิชาการส านักการแพทย์ มีการจัดบริการทางการแพทย์ส าหรับ ผู้สูงอายุที่ครบวงจร ทั้งทางด้านการป้องกันโรค การสร้างเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ ผู้สูงอายุได้รับการสร้างเสริมสุขภาพและดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน รวมทั้งเน้นเรื่องการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุ การฟื้นฟูและส่งเสริมสมรรถภาพผู้สูงอายุ การเป็นสถาบันฝึกอบรมทางด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุให้สามารถดูแล และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน้าที่และบทบาท โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ได้ให้บริการการดูแลผู้สูงอายุ และการประคับประคองแบบครบวงจรในรูปแบบ “คลินิกสุขใจ สูงวัยประคับประคอง” หอผู้ป่วย ชีวภิบาล และมีแผนจะขยายบริการเป็นศูนย์แพทยศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ผู้สูงอายุและการดูแล แบบประคับประคอง เพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิและรองรับจ านวนผู้รับบริการ ที่เพิ่มขึ้น มีหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เรียกว่า หอผู้ป่วยชีวาภิบาล มีจ านวน ๑๒ เตียง เป็นการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ และที่ส าคัญโรงพยาบาลจะให้ผู้ดูแลได้อยู่กับผู้สูงอายุด้วย ทีมพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพสอนวิธีการดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถกลับไปดูแลที่บ้านได้ โครงการสุขใจ สูงวัยประคับประคอง โดยโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สังกัด ส านักการแพทย์กรุงเทพมหานคร เป็นโครงการที่ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง มีเป้าหมาย คือ การดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อผู้สูงวัยป่วยและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็น

๔๐ โรคที่รักษาไม่หายขาด เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคปอดอักเสบ โรคหัวใจล้มเหลว ประกอบกับ ผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรังเดิม ๒ - ๓ โรคอยู่แล้ว จนกระทั่งป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายหรือก าลังจะเสียชีวิต จากโรค ซึ่งสามารถดูแลควบคู่ไปกับการรักษาเฉพาะส าหรับโรคนั้น ๆ อีกทั้งยังได้ตระหนักถึงสิทธิ ของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วยเมื่อต้องการ รวมถึงการให้ผู้ป่วยและ ครอบครัวได้แสดงความต้องการของตนเองและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องแนวทางการรักษา และเป้าหมายของการดูแลรักษา โดยเน้นการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและยอมรับความตาย เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของทุกชีวิต ตลอดจนเน้นการไม่ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ หรือ วิธีการรักษาใด ๆ เพียงเพื่อยื้อความทรมานของผู้ป่วย และในขณะเดียวกันไม่ยอมรับวิธีการรักษา ที่เป็นการเร่งหรือท าให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วกว่าการด าเนินโรคเองตามธรรมชาติ หอผู้ป่วยชีวาภิบาล เป็นหอที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เนื่องจากมีผู้สูงอายุ กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นโรคเรื้อรังอาจจะรักษาไม่หายหรือบางคนเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย โดยกระบวนการ จะมีการประชุมกับทีมที่ดูแลรักษาเพื่อวางแผนในการรักษา หลาย ๆ คนที่คิดว่าเป็นผู้ป่วยระยะ สุดท้ายโรงพยาบาลจะมีการท าพินัยกรรมชีวิต (Living Will) เป็นการตัดสินใจโดยผู้ป่วย โดยญาติ ผู้ป่วยทุกคนที่มาร่วมประชุมกันวางแผนให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุระยะสุดท้ายมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการใช้หุ่นยนต์มินิดินสอที่มีกล้องสามารถจับภาพผู้สูงอายุได้ตลอดเวลา และสามารถถ่ายทอดภาพไปยังญาติ แพทย์และพยาบาล ซึ่งเชื่อมโยงกับโทรศัพท์มือถือได้ และมีปุ่ม Emergency Call ซึ่งผู้สูงอายุสามารถกดแล้วไปดังที่โทรศัพท์แพทย์พยาบาลและญาติ พร้อมกันทันทีอีกหนึ่งหน้าที่ของหุ่นยนต์มินิดินสอ คือ สอนสุขศึกษาให้กับคนไข้หรือเป็นเพื่อน คนไข้ สอนการออกก าลังกาย หรือมีสัญญานเตือนเมื่อถึงเวลากินยา โดยหุ่นยนต์มินิดินสอท างาน ๒๔ ชั่วโมง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี การดูแลต่อเนื่องเมื่อผู้สูงอายุกลับบ้ าน มีช่องท างที่ติดต่อกันได้ โดยผู้สูงอายุและญาติสามารถโทรเข้ามาติดต่อกับเจ้าหน้าที่พยาบาลได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยผ่าน VDO Call Center กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ได้ด าเนินงาน ตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยก าหนดยุทธศาสตร์การบริหารระบบการดูแลสุขภาพ ประชาชนที่ตอบสนองต่อการพัฒนาเมือง โดยมุ่งเน้นเวชศาสตร์ผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดี ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุตลอดจนเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต วิเคราะห์จุดอ่อน - จุดแข็ง จุดอ่อน ได้แก่ ผู้สูงอายุต้องการเข้ารับบริการ มากท าให้จ านวนเตียงไม่เพียงพอและเป็นการดูแลในโรงพยาบาลซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการดูแล ที่บ้านและที่ชุมชน ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่รับการรักษาส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคประจ าตัว หลายโรค ซึ่งโรงพยาบาลราชพิพัฒน์มีการดูแลผู้สูงอายุ แบบ One Stop Service ภายใต้ คลินิก

๔๑ สุขใจ สูงวัยประคับประคอง โดยรวมบุคลากรทางการแพทย์ที่จะดูแลผู้สูงอายุในหลายแผนก นอกจากนั้นการให้บริการดูแลผู้สูงอายุแบบสุขใจสูงวัยประคับประคองได้ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด อบอุ่นดีมาก มีกิจกรรมมากมายและอาหารที่ดี ให้ญาติอยู่ร่วมกัน สอนการดูแลผู้สูงอายุ และ วางแผนร่วมกัน ท าให้ผู้สูงอายุและญาติที่เป็นคนเมืองในกรุงเทพมหานครมีความสุข ร่างกาย แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ถือเป็นการบริการตัวอย่าง ข้อค้นพบ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีบริการดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจร โดยผู้เชี่ยวชาญสหสาขา ให้บริการแบบมีส่วนร่วมกับญาติผู้สูงอายุ พร้อมทั้งมีบริการอย่างต่อเนื่อง แม้ผู้สูงอายุกลับไปอยู่บ้าน นอกจากนั้นยังมีนวัตกรรมในการดูแลผู้สูงอายุ มีการตรวจเยี่ยม ประเมินผลเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ๓.๒.๔ การจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยสภากาชาดไทย สภากาชาดไทยมีนโยบายการพัฒนาต้นแบบการให้บริการด้านผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชน โดยได้จัดตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ สภากาชาดไทย” ขึ้นในโรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรีโดยใช้ชื่อว่า อาคารเทพรัตน์การุญ สร้างขึ้น เพื่อรองรับประชากรสูงอายุในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ สภากาชาดไทยได้จัดท า โครงการสวางคนิเวศ เป็นโครงการที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสภากาชาดไทยซึ่งได้รับ การบริจาคจากมูลนิธิอื้อจือเหลียง มีทั้งหมด ๙ อาคาร จ านวน ๔๖๘ ห้อง บนพื้นที่ ๒๓ ไร่ หน้าที่และบทบาท อาคารเทพรัตน์การุญให้บริการด้านสุขภาพ การรักษา การดูแล การส่งเสริม การฟื้นฟูสุขภาพและการป้องกันโรคครบวงจร เพื่อสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ชีวิตที่ดี โดยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบ าบัด นักโภชนาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ และเทคโนโลยีช่วยฟื้นฟูพัฒนาการของผู้ป่วย และเน้นการให้บริการทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์ แผนจีน ศูนย์ฯ จึงเป็นจุดเชื่อมต่อให้กับผู้ป่วยสูงวัยที่ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลในพื้นที่ก่อน กลับไปใช้ชีวิตที่บ้าน นอกจากนี้มีหน่วยบริบาลผู้สูงอายุซึ่งรับดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ที่ช่วยเหลือตนเองได้และช่วยเหลือตนเองไม่ได้ รวมทั้งรับดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะติดเชื้อ หรือภาวะสมองเสื่อมที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้โดยให้บริการแบบรายวัน (ไป-กลับ) และพักค้างคืน ๒๔ ชั่วโมง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ยังมีโครงการสวางคนิเวศ เป็นโครงการต้นแบบที่พักอาศัย ส าหรับผู้สูงอายุ เป็นที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะระดับกลางและมีสุขภาพดีโดยให้ ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน ให้บริการสนับสนุนวิชาการ การวิจัย และบริการสังคมด้านผู้สูงอายุ บริเวณด้านหน้าโครงการมีศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูพร้อมแพทย์และอุปกรณ์ และสถานีกาชาดที่ ๕ ซึ่งโครงการมีแพทย์ประจ าทุกวัน บริหารจัดการห้องพักแบบหมุนเวียน บริการจัดกิจกรรมสุขภาพ และบริการต่าง ๆ ให้แก่ผู้สูงอายุ มีสระว่ายน้ าระบบเกลือที่ไม่ลึกและออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ

๔๒ โดยเฉพาะ ลานกีฬา ห้องฟิตเนส ห้องคาราโอเกะ ห้องพระ ห้องสมุด และบริการฟรี wifi บริเวณ ห้องโถง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้อยู่ร่วมกับสังคม บริการตรวจสุขภาพประจ าปีจากรถเคลื่อนที่ของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บริการกายภาพบ าบัดหรือการรักษาอื่น ๆ มีบริการผู้ดูแลตลอด ๒๔ ชั่วโมง หรือเฉพาะกิจ รถตู้บริการรับ - ส่งไปสถานที่ต่าง ๆ บริการห้องพยาบาล โดยมีพยาบาล ประจ าห้องตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ - ๐๗.๐๐ นาฬิกา เนื่องจากในช่วงกลางวันมีบริการของสถานีกาชาด ที่ ๕ ซึ่งกิจกรรมของโครงการมีให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายและมีค่าใช้จ่าย เช่น กิจกรรมออกก าลังกาย เป็นต้น กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง โครงการด าเนินงานภายใต้ระเบียบ ของสภากาชาดไทยและกฎหมายเกี่ยวกับควบคุมอาคาร โดยโครงการได้จัดท าระบบข้อมูลผู้พัก อาศัยแต่ละห้องไว้ชัดเจน อนึ่ง ขณะนี้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพอยู่ระหว่างยกร่างกฎกระทรวง ก าหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามความในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อก าหนดมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับ โรงพยาบาลผู้สูงอายุและโรงพยาบาลส่งเสริมฟื้นฟูผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ ให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน แหล่งงบประมาณ โครงการสวางคนิเวศบริหารจัดการงานบริการโดยใช้ งบประมาณที่ได้รับจากผู้พักอาศัย ซึ่งราคาค่าห้องมีราคาแตกต่างกัน และต้องช าระค่าห้องทั้งหมด ในครั้งเดียว ราคาอยู่ที่ ๖๕๐,๐๐๐ - ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท น าเงินรายได้จากการหมุนเวียนห้องพักมา บ ารุงรักษาอาคารและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนางานบริการอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์จุดอ่อน - จุดแข็ง จุดอ่อน ได้แก่ โครงการสวางคนิเวศเป็นการ ซื้อบริการระยะยาว ผู้สูงอายุที่ได้สิทธิเข้าพักอาศัยจะต้องช าระค่าห้องทั้งหมดในครั้งเดียวและห้องพัก จะเป็นทรัพย์สินของสภากาชาดไทย โดยไม่สามารถซื้อขายหรือโอนต่อบุคคลอื่นได้ ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ ผู้สูงอายุได้รับบริการดี มีห้องส่วนตัว มีบริการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพ บริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วมโดยให้ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในโครงการเป็นคณะกรรมการบริหารโครงการ และศูนย์ฯ เป็นจุดเชื่อมต่อให้กับผู้ป่วยสูงวัยที่ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลในพื้นที่ก่อนกลับไปใช้ชีวิตที่บ้าน โดยให้บริการส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจร โดยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบ าบัด นักโภชนาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และเทคโนโลยีช่วยฟื้นฟูพัฒนาการของผู้ป่วย ข้อค้นพบ ผู้สูงอายุที่มีฐานะสามารถจ่ายค่าบริการดังกล่าวได้มีที่พัก ในวัยสูงอายุที่มีบริการครบวงจร ทั้งบริการทางด้านสุขภาพและสังคม ท าให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิต ที่ดี และช่วยลดภาระของญาติและผู้ดูแลในครอบครัว ๓.๒.๕ การจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยโรงพยาบาล ขนาดใหญ่ภาครัฐ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีการตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี

๔๓ ได้จัดตั้ง ศูนย์ที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร (Senior Complex) บนที่ราชพัสดุ ต าบล บางปลา อ าเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จ ากัด และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีส าหรับเป็นศูนย์ที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจรแห่งแรกของ รัฐบาล เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยและเป็นต้นแบบโครงการที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุที่มีสิ่งแวดล้อม เอื้อต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม ออกแบบภายใต้หลักสถาปัตยกรรมเพื่อทุกคน และมีบุคลากรทางการแพทย์ให้การดูแลอย่างถูกต้อง ภายในแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ โซน ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย (Hospice Zone) พื้นที่ส าหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการพักฟื้นหรือฟื้นฟูสุขภาพ (Nursing Home Zone) และ พื้นที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร (Senior Housing Zone) โดยผู้สูงอายุที่เข้าพักอาศัย ต้องมีสุขภาพแข็งแรงและช่วยเหลือพึ่งพาตนเองได้ดี หน้าที่และบทบาท เป็นที่พักอาศัยของผู้สูงอายุที่มีบริการทางการแพทย์ ที่ครบครัน สามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็ว จัดบริการช่วยเหลือเจ็บป่วยฉุกเฉินโดยสถาบัน การแพทย์จักรีนฤบดินทร์หรือโรงพยาบาลอื่น ๆ ตามสิทธิของบุคคลนั้น ๆ หรือหากเจ็บป่วย ในระดับปฐมภูมิสามารถใช้บริการห้องตรวจผู้ป่วยที่ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบ ครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย โดยมีค่าใช้จ่ายตามสิทธิการรักษา ทั้งนี้ การเข้าพัก ในโครงการดังกล่าว ผู้สูงอายุต้องผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ โดยผ่าน การประเมินสุขภาพและสุขภาวะโดยรวมตามประกาศคณะกรรมการบริหารโครงการ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๓ กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ด าเนินการภายใต้ระเบียบการเข้าร่วม โครงการ ผ่านคณะกรรมการบริหารโครงการของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แหล่งงบประมาณ จากผู้เข้ารับบริการที่มีความสามารถทางการเงินในการ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการพักอาศัย โดยมีงบประมาณค่าห้องและค่าส่วนกลาง รวมกันอยู่ในช่วงประมาณ ๒.๕๔ – ๓.๗๒ ล้านบาท ต่อยูนิต ทั้งนี้ผู้เข้าพักจะต้องมีรายได้หลัง เกษียณ อย่างน้อย ๓๐,๐๐๐ บ าท/เดือน และมีสิทธิการเช่าถือครองระยะยาว ๓๐ ปี ผู้พักอาศัยจะไม่ได้กรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่จะน าไปขายต่อ หรือดัดแปลงห้องพักได้ ตามประกาศคณะกรรมการบริหารโครงการ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๖๓ วิเคราะห์จุดอ่อน - จุดแข็ง จุดอ่อน ได้แก่ เป็นรูปแบบสิทธิการเช่า ถือครองระยะยาว ๓๐ ปี เหมาะส าหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะสามารถที่จะจ่ายได้เท่านั้น การบริการ แต่ละอย่างมีค่าใช้จ่าย นอกจากการบริการรักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาของผู้เข้าพัก นอกจากนี้มีข้อจ ากัดที่ต่างจากบ้านพักผู้สูงอายุหรือสถานสงเคราะห์คนชรา คือ มีสุขภาพแข็งแรง

๔๔ และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น ท าความสะอาดห้องเอง และหาอาหารทานเอง ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ บริหารงานโดยโรงพยาบาลจึงท าให้มีบริการทางด้านการดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร มีการ ออกแบบที่เหมาะสมกับคนทุกวัยตามหลักสถาปัตยกรรมเพื่อทุกคน และสะดวกส าหรับผู้สูงอายุ ข้อค้นพบ การจัดบริการในลักษณะนี้มีจุดเด่นเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน แต่ต้องใช้ทรัพยากรสูง ทั้งทรัพยากรของรัฐและของบุคคล จึงควรเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของ การจัดระบบดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่จัดโดยรัฐเท่านั้น ๓.๓ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้วยการให้บริการในลักษณะสถาบันของภาคเอกชน (Private Institutional Care) สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุด้วยการให้บริการในลักษณะสถาบันของภาคเอกชน ได้แก่การจัดบริการโดยภาคธุรกิจองค์กรสาธารณะประโยชน์ มูลนิธิ และวิสาหกิจเพื่อสังคม พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง รวมทั้งผู้พิการที่อยู่ในบ้านพร้อมครอบครัว มีลูกหลานอยู่ร่วมด้วย แต่ญาติและลูกหลานมีความจ าเป็นต้องออกไปท างานนอกบ้านหรือมีภารกิจที่ต้องด าเนินการ จึงไม่สามารถให้การดูแลผู้สูงอายุได้ตลอดเวลา เนื่องจากต้องท างานเลี้ยงชีพ ท าให้เกิดความ ต้องการการบริการในหลายรูปแบบ ได้แก่ ๑) การจ้างผู้ดูแลจากภายนอกมาช่วยดูแลที่บ้านในเวลากลางวัน หรือดูแล ๒๔ ชั่วโมง ๒) การให้ผู้สูงอายุไปอยู่ในความดูแลของสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุ แบบรายวัน (Day Care Center) หรือชั่วคราว ๓) การให้ผู้สูงอายุไปอยู่ในความดูแลของสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุ แบบประจ าหรือรายเดือน ขณะนี้แนวโน้มการให้บริการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบดังกล่าว มีความต้องการ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความต้องการของผู้ใช้บริการและการตอบสนองของธุรกิจ ซึ่งการจัดบริการ ดูแลผู้สูงอายุของภาคธุรกิจเอกชนอยู่ภายใต้การควบคุมก ากับดูแลของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งกฎกระทรวงก าหนดให้กิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงเป็นกิจการอื่นในสถาน ประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ก าหนดให้กิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง เป็นกิจการอื่นในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยได้แบ่งลักษณะการให้บริการออกเป็น ๓ ลักษณะ ได้แก่ ๑) การให้บริการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงระหว่างวันที่มีการจัดกิจกรรมการ ดูแล ส่งเสริม และฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยไม่มีการพักค้างคืน

๔๕ ๒) การให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพแก่ ผู้สูงอายุ โดยจัดให้มีที่พ านักอาศัย ๓) การให้บริการดูแลและประคับประคองผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ที่มีการจัด กิจกรรมการดูแล ส่งเสริม และฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยมีการพักค้างคืน โดยให้ผู้ประกอบกิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงและผู้ปฏิบัติงานในกิจการ ดังกล่าวให้ยื่นค าขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ ค าขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ด าเนินการ และค าขอ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวงก าหนดมาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย และการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิง พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อให้ผู้รับอนุญาตและผู้ด าเนินการใช้ปฏิบัติ กฎกระทรวงฉบับนี้ ประกอบด้วยหมวดที่ก าหนดมาตรฐานด้านสถานที่ มาตรฐานด้านความปลอดภัย และมาตรฐาน ด้านการให้บริการ โดยมีข้อก าหนดทางด้านกายภาพเกี่ยวกับพื้นที่ที่ให้บริการทั้งภายในและ ภายนอก และข้อก าหนดด้านความปลอดภัย ซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมกิจการผู้สูงอายุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดท ามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งด้านอาคาร สถานที่ ผู้ดูแล และหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ แต่พบว่าการก ากับดูแลการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงยังไม่เป็นเอกภาพ อนึ่ง ขณะนี้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพอยู่ระหว่างยกร่างกฎกระทรวงก าหนด ลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามความในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อก าหนดมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับ โรงพยาบาลผู้สูงอายุและโรงพยาบาลส่งเสริมฟื้นฟูผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ ให้มีความเหมาะสมและ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จากข้อมูลของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๕ พบว่า มีการ (๑) ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ ๗,๗๕๐ คน ผ่านการรับรองเป็นผู้ให้บริการ ๕,๔๖๗ คน ไม่ผ่านการรับรองเป็นผู้ให้บริการ จ านวน ๗๗๙ คน โดยอยู่ระหว่างด าเนินการ จ านวน ๑,๕๐๔ คน (๒) ออกใบอนุญาตเป็นผู้ด าเนินการ จ านวน ๑,๘๑๑ คน อยู่ระหว่างด าเนินการ จ านวน ๖๔๔ คน ทั้งนี้ แบ่งประเภทการขออนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการ ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ได้ดังนี้ (๑) ประเภท Day Care ออกใบอนุญาต จ านวน ๓ ราย (๒) ประเภท Residential Care ออกใบอนุญาต จ านวน ๑๑ ราย และ (๓) ประเภท Nursing Home ออกใบอนุญาต จ านวน ๔๙๑ ราย

๔๖ ทั้งนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้อนุญาตให้มีการยื่นขึ้นทะเบียนทั้งในรูปแบบ การให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบกิจการและตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ด้วย ซึ่งจะให้สถานประกอบการจัดส่งวีดีโอ ภาพนิ่ง หรือการพิจารณาสถานที่แบบออนไลน์ผ่าน โปรแกรม Webex โดยกรมฯ จะได้พิจารณาค าขอภายใน ๖๐ วัน ทั้งนี้ เพื่อให้การขออนุญาต มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้กรมฯ ได้ลงพื้นที่ทุกจังหวัดเพื่อตรวจสอบสถานประกอบกิจการดูแล ผู้สูงอายุทั้งที่ขออนุญาตและไม่ได้ขออนุญาตด าเนินการ คาดว่ามีการเปิดด าเนินการกว่า ๑,๐๐๐ แห่ง ซึ่งมีมากในชุมชนเมือง และพบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสถานประกอบกิจการผู้สูงอายุน้อยที่สุด โดยมีจ านวน ๓ แห่ง เนื่องจากมีวัฒนธรรมที่ครอบครัวดูแลผู้สูงอายุเองเป็นหลัก การผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ผู้ให้บริการ) มีประกาศกรมกิจการผู้สูงอายุ เรื่อง มาตรฐาน หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๒ ได้ก าหนดมาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ จ านวน ๓ หลักสูตร ได้แก่ (๑) มาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุขั้นเบื้องต้น จ านวน ๑๘ ชั่วโมง ส าหรับสมาชิก ในครอบครัว อาสาสมัครหรือผู้สนใจที่มีอายุไม่ต่ ากว่า ๑๕ ปี(๒) มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ขั้นกลาง จ านวน ๗๐ ชั่วโมง ส าหรับประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นฐาน ภายใต้การก ากับดูแล ของเจ้าหน้าที่วิชาชีพ และ (๓) มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จ านวน ๔๒๐ ชั่วโมง ส าหรับ ประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยมีหน่วยงานที่จัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ สถานศึกษา โรงเรียนบริบาล สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน องค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานภาครัฐ เช่น วิทยาลัยบรมราชชนนี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กศน.อ าเภอ/เขต เป็นต้น โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องขออนุญาตใช้มาตรฐาน หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุในการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุต่อกรมกิจการผู้สูงอายุกรมอนามัย ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ แล้วแต่กรณีตามที่ประกาศกรมกิจการผู้สูงอายุฯ ก าหนด การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามการให้บริการในลักษณะสถาบันของ ภาคเอกชน (Private Institutional Care) มีการด าเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ๓.๓.๑ บริษัท บั๊ดดี้โฮมแคร์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จ ากัด ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ลงพื้นที่ไปศึกษาข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ โดยในระยะแรกเริ่มก่อนที่จะเป็น บริษัท บั๊ดดี้โฮมแคร์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จ ากัด มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุได้จัดท าเป็นโครงการ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ ต่อมาจึงได้ตั้งเป็นวิสาหกิจ เพื่อสังคม เพื่อให้การด าเนินงานในลักษณะธุรกิจสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของมูลนิธิพัฒนางาน ผู้สูงอายุได้มากขึ้น กิจการสามารถด าเนินการได้ระยะยาว พัฒนาต่อเนื่องได้ โดยไม่ต้องรอการ สงเคราะห์สนับสนุนที่ไม่มีความแน่นอน

๔๗ รูปแบบธุรกิจของบริษัทต้องการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุและครอบครัว ที่มีฐานะป านกลางแต่เข้ าไม่ถึงบ ริการก ารดูแลจากรัฐ โดยบ ริษัทได้ด าเนินก าร ดังนี้ (๑) มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน โดยให้การดูแลสุขภาพและกิจวัตรประจ าวันของผู้สูงอายุ ที่ยากไร้ ขาดทุนทรัพย์ในการจ้างคนดูแลหรือลูกหลานทอดทิ้งโดยไม่คิดค่าบริการ เยี่ยมบ้าน ผู้สูงอายุ โดยบริษัทได้น าผลก าไรมาจัดบริการตอบแทนสังคมร่วมกับโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้านของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุและกลไกเยี่ยมบ้านของชุมชนของรัฐ เช่น อสม. อผส. อาสาสมัครชุมชน และ Care Giver (๒) สนับสนุนเยาวชนที่มีจิตอาสาและขาดแคลนทุนทรัพย์ ในการเรียนให้ได้รับการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น และพัฒนาเป็น Care Giver ตามที่ กฎหมายก าหนด (๓) สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน และ (๔) การให้บริการ ผู้สูงอายุแบบคิดค่าบริการกับลูกค้าทั้งการให้บริการรายวัน รายเดือนแบบอยู่ประจ า และให้บริการ รายเดือนแบบไปเช้า – เย็นกลับ โดยการดูแลผู้สูงอายุเป็นการฟื้นฟูให้ผู้สูงอายุกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ และประคับประคองอาการ ไม่ให้ทรุดลง ซึ่งในการดูแลผู้สูงอายุได้ให้พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสุขภาพ และพนักงานเข้าไปประเมินภาพรวมของผู้สูงอายุแต่ละรายร่วมกัน มีความยืดหยุ่น ในการท างาน สามารถปรับ Care Plan การให้บริการผู้สูงอายุตามความเหมาะสมของบุคคล และมีความต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรองบประมาณจากภาครัฐ ท าให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้มากกว่า หน่วยงานรัฐ ส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพไม่ให้เกิดโรคหรือปัญหาที่รุนแรง กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ด าเนินการภายใต้พระราชบัญญัติ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ และพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. ๒๕๖๒ แหล่งงบประมาณ จากการด าเนินงานธุรกิจเพื่อสังคมของบริษัท บั๊ดดี้ โฮมแคร์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จ ากัด เงินบริจาคที่ผู้บริจาคสามารถน าหลักฐานไปลดหย่อนภาษีได้ และการเขียนโครงการระดมทุนจากหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ วิเคราะห์จุดอ่อน - จุดแข็ง จุดอ่อน ได้แก่ สัดส่วนระหว่างผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุมีสัดส่วนที่ยังไม่สมดุลกัน เนื่องจากการเพิ่มจ านวนพนักงานให้มากขึ้นไม่ใช่พันธกิจ ตั้งแต่แรกของบริษัท เพราะต้องการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนอย่างเข้มข้นให้ได้ผลลัพธ์ เป็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ วิสาหกิจเพื่อสังคมไม่ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากภาครัฐ ทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรการด าเนินงาน จึงส่งผลให้วิสาหกิจเพื่อสังคมต้องจัดหาทุนทรัพย์ การด าเนินงานด้วยตัวเองและมีความเสี่ยงการบริหารธุรกิจ ท าให้ดูแลผู้สูงอายุได้ไม่ทั่วถึง อีกทั้ง ให้บริการผู้สูงอายุได้จ านวนจ ากัด เนื่องจากมีบุคลากรจ านวนน้อย ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ ครอบครัว ของผู้สูงอายุมีเวลาท างานหาเงินเลี้ยงชีพได้อย่างอิสระและมีความไว้วางใจในการให้บริการ เด็กและ เยาวชนที่มีจิตอาสาและขาดโอกาสด้านการศึกษาได้มีโอกาสเรียนและมีอาชีพ Care Giver

๔๘ เป็นอาชีพเริ่มต้นที่สร้างรายได้ให้กับตนเอง บริษัทสามารถให้ความรู้คนในชุมชนได้ดูแลผู้สูงอายุด้วย ตัวเองได้ดีขึ้น ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการดูแลทั่วถึงมากขึ้นด้วย Care Giver ของบริษัทร่วมกับ อาสาสมัครในชุมชน ซึ่งวิสาหกิจเพื่อสังคมดังกล่าวสามารถช่วยแก้ไขปัญหาของพื้นที่ได้จริง ตามบริบทของสังคมที่ประสบปัญหาผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางเข้าไม่ถึงการบริการดูแลจากรัฐ และการขาดแคลนผู้ดูแลผู้สูงอายุ ข้อค้นพบ วิสาหกิจเพื่อสังคมสามารถช่วยแก้ไขปัญหาของพื้นที่ได้จริง ตามบริบทของสังคมแต่ละแห่งที่เกิดขึ้น ซึ่งภาครัฐควรส่งเสริมสนับสนุนให้จริงจังมากขึ้น ๓.๓.๒ การจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยเอกชนภาคธุรกิจ มีการด าเนินงานให้บริการหลากหลายแบบ โดยให้การดูแลสุขภาพและกิจวัตรประจ าวัน ได้แก่ ๑) ให้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านในเวลากลางวัน หรือดูแล ๒๔ ชั่วโมง ๒) ให้บริการรับดูแล ผู้สูงอายุที่ศูนย์ดูแลแบบรายวัน Day Care Center ทั้งแบบรายวันหรือชั่วคราว โดยไม่มีการพักค้างคืน ๓) ให้บริการรับดูแลผู้สูงอายุที่ศูนย์ดูแลแบบประจ าหรือรายเดือนโดยมีการพักค้างคืน และ ๔) ให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ โดยจัดให้มี ที่พ านักอาศัย จากข้อมูลของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๕ พบว่า ในกรุงเทพมหานครมีสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพประเภทกิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง จ านวน ๑๗๑ แห่ง และต่างจังหวัด จ านวน ๓๓๔ แห่ง ซึ่งให้บริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กฎหมายก าหนด เช่น โครงการนายาเรสซิเดนซ์ แอท ริเวอร์ไรน์ วิลเลจ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ลงพื้นที่เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ โครงการฯ จัดท าเป็นที่พักของ ผู้สูงอายุ (วัยอิสระ) ที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงและสามารถดูแลตนเองได้ ออกแบบเพื่อให้ผู้สูงวัยได้ใช้ ชีวิตอิสระ ในแบบ Active Ageing ได้ยาวนานที่สุด ด้วยบริการดูแลส่งเสริมสุขภาพและไลฟ์สไตล์ โดย LivWell ออกแบบห้องพักและพัฒนาอุปกรณ์/เฟอร์นิเจอร์ภายใต้แนวคิด Universal Design

๔๙ ออกแบบ เพื่อการดูแลสุขภาพคนวัยอิสระให้มีความแข็งแรง ปลอดภัย และมีชีวิตที่อยู่ดีมีสุข และ ติดตั้งระบบแจ้งเตือนและช่วยเหลือผู้สูงอายุกรณีฉุกเฉินผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น ตัวรับสัญญาณ ฉุกเฉิน ปุ่มกดฉุกเฉิน เซนเซอร์จับความเคลื่อนไหว เป็นต้น มีทีมผู้เชี่ยวชาญแพทย์เฝ้าระวังและ ให้ความช่วยเหลือ ๒๔ ชั่วโมง มีรูปแบบห้องพัก ๒ แบบ แบบที่ ๑ ห้องนอน ๗๖ ตร.ม. และแบบที่ ๒ ห้องนอน ๑๒๐ ตร.ม. มีจ านวน ๗๐ ห้อง โดยให้บริการในรูปแบบการพักอาศัยระยะสั้นและ ระยะยาว มีเครือข่ายการส่งต่อการดูแลผู้สูงอายุกับบริษัท ศิริอรุณ เวลเนส จ ากัด (สถานฟื้นฟู สุขภาพและดูแลผู้สูงอายุ) ซึ่งเป็นศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้อยู่ในระยะพักฟื้นทุกช่วงวัย ให้บริการฟื้นฟู หลังผ่าตัด กายภาพบ าบัด กิจกรรมบ าบัด และเป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลโดยนักกายภาพบ าบัด นักกิจกรรมบ าบัด พยาบาลวิชาชีพ นักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารและผู้ดูแลวิชาชีพ ที่ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานฝีมือแรงงานพร้อมให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง บริการ ทั้งในรูปแบบการพักอาศัยในระยะสั้นและระยะยาว และมีโรงเรียนเดอะแคร์การบริบาล เป็นเครือข่ายในการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ/พนักงานผู้ช่วยทางการพยาบาลให้แก่บริษัท ซึ่งสอน หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ (๔๒๐ ชั่วโมง เรียน ๓ เดือน) และการดูแลเด็ก (๔๒๐ ชั่วโมง เรียน ๓ เดือน) ควบคู่กัน เพื่อให้นักเรียนสามารถท างานโรงพยาบาลเอกชน คลินิกทันตกรรม ศูนย์ความงาม ร้านขายยา สถานดูแลเด็กเล็ก และโรงเรียนอนุบาล เมื่อส าเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตร “การดูแลผู้สูงอายุและเด็กเล็ก” และสอบผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ อีกทั้ง มีการผลิต ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ท าหน้าที่ให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุในลักษณะผู้ช่วยส่วนตัว (PERSONNAL ASISTANT) ซึ่งเป็นบุคคลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบัน สถานประกอบการและผู้สูงอายุต้องการผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีคุณภาพสูง ซึ่งไม่สามารถผลิตผู้ดูแล ผู้สูงอายุได้เพียงพอกับความต้องการของตลาด

๕๐ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการเปิดสถานบริการดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ได้ด าเนินการ ตามที่กฎหมายก าหนด เช่น กรณีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ “ดีทุกวันโฮมแคร์” ๙ จากการพิจารณาของ คณ ะอนุ ก รรม าธิก ารติ ดต าม ก ารปฏิ รูป ด้ าน สังคม กิ จก ารผู้สูงอ ายุแล ะสังคมสูงวัย ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และ ผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ (ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) วันพุธที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ ได้รับ ทราบข้อมูลว่า ดีทุกวันโฮมแคร์ได้ประกอบกิจการสถานรับดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ได้ขึ้นทะเบียนขออนุญาตด าเนินการกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งศูนย์ดังกล่าวมีสาขา อยู่ในเขตลาดกระบังและเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร และผู้ดูแลผู้สูงอายุของศูนย์เป็นคนต่างด้าว ท างานโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่ต ารวจจึงด าเนินการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ พบว่า ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวได้เคยด าเนินกิจการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ “แม่จ๋าพ่อจ๋าโฮมแคร์” ซึ่งถูกสั่ง ปิดกิจการเนื่องจากพบผู้ติดโควิด- ๑๙ ซึ่งเจ้าหน้าที่ต ารวจได้น าหมายค้นเข้าตรวจสอบสถานที่ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมควบคุมโรคติดต่อ ส านักงานเขต ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และองค์กรเครือข่าย เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุและคนพิการ แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความต้องการบริการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ในขณะที่มีการให้บริการ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ด าเนินการภายใต้พระราชบัญญัติ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง แหล่งงบประมาณ จากการด าเนินธุรกิจ วิเคราะห์จุดอ่อน - จุดแข็ง จุดอ่อน ได้แก่ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประเภทกิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงบางแห่งด าเนินการไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ที่กฎหมายก าหนดจ านวนหนึ่ง จึงเกิดการให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นอันตรายต่อประชาชนได้ ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ สถานประกอบการที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กฎหมายก าหนดเป็นที่ สนใจกับครอบครัวและผู้สูงอายุที่มีก าลังในการจ่ายเพื่อการดูแล ข้อค้นพบ การจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยเอกชน ภาคธุรกิจที่มีอัตราค่าบริการไม่สูงมากนัก สามารถสนองความต้องการของครอบครัวและผู้สูงอายุ มากขึ้น เนื่องจากเศรษฐสถานะของครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางมีมากพอสมควรแต่ไม่สามารถ ๙ มติชนออนไลน์, “บุกค้น “โฮมแคร์เถื่อน”ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามสภาพบางรายถูกลามโซ่”, สืบค้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕, https://www.matichon.co.th/newsmonitor/news_3139466

๕๑ ดูแลบุพการีได้ด้วยตนเอง ยังคงมีความกตัญญูต่อบุพการีแต่ก็เกิดช่องว่างให้มีสถานประกอบการ บางแห่งไม่ได้ด าเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ๓.๓.๓ การจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยองค์กรภาคประชาสังคม (มูลนิธิ) เช่น สถาบันผู้สูงอายุแมคเคน อ าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ลงพื้นที่ศึกษา ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ สถาบันฯ มีภารกิจมาท างานด้านการดูแลผู้สูงอายุ และมีพัฒนาการมาตามล าดับจนถึงปัจจุบันมีพันธกิจหลัก ๖ ประการ ได้แก่ โรงพยาบาลผู้สูงอายุ คลินิกเวชกรรม บ้านดอกแก้ว (บ้านพักผู้สูงอายุ) พันธกิจเพื่อสังคม สถานสู่สุข-ฌาปนสถาน และโรงเรียนบริบาลผู้สูงอายุ ด าเนินการภายใต้มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย โดยไม่แสวงหาก าไร มีการด าเนินงานแต่ละด้าน ดังนี้ ๑) โรงพยาบาลผู้สูงอายุแมคเคน เป็นโรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง ผู้ป่วย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่รับการส่งต่อมาจากโรงพยาบาลทั่วไปอื่น และมาจากครอบครัว มีมาตรฐานการดูแลรักษาที่ดี ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ผู้ป่วยสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และประกันสังคมไม่สามารถเบิกได้ เนื่องจากถูกจัดอยู่ในกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน ทั้งที่ การด าเนินการจริงเป็นการจัดบริการแบบไม่แสวงก าไร (Non-profit , Social enterprise) โรงพยาบาลและสิ่งแวดล้อมดีสะอาด เงียบสงบ ๒) บ้านดอกแก้ว (บ้านพักผู้สูงอายุ) ให้บริการที่พักส าหรับผู้สูงอายุ ที่ท ากิจกรรมต่าง ๆ ได้ มีห้องพักส่วนตัว บริการอาหารและการช่วยเหลือพื้นฐานต่าง ๆ รวมไปถึง กิจกรรมทางการแพทย์ การฟื้นฟูสุขภาพ และอื่น ๆ รับผู้สูงอายุเข้าพักได้สูงสุด ๓๕ คน แบ่งเป็น ๒ โซน คือ โซนผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้มาก (Low-care) และโซนผู้ป่วยที่ต้องให้การดูแลมาก (High-care) มีบุคลากรทางการแพทย์ท าหน้าที่ในการดูแลช่วยเหลือตลอด ๒๔ ชั่วโมง ร้อยละ ๗๕ เป็นผู้ป่วยชาวต่างประเทศ ผู้ป่วยและญาติต้องจ่ายค่าบริการเอง ห้องพัก สถานที่และสิ่งแวดล้อม มีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยและเงียบสงบ ๓) ศูนย์ฟื้นฟูสภาพ (กิจกรรมกายภาพบ าบัด) ให้การบริการทั้งผู้ป่วย ในสถาบันแมคเคนและผู้ป่วยทั่วไปจากภายนอก ๔) โรงเรียนบ ริบ าลผู้สูงอ ายุ เปิ ดให้บ ริก ารตั้งแต่ พ .ศ . ๒๕๖๐ ด้วยหลักสูตรฝึกอบรม ๔๒๐ ชั่วโมง ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย โดยรับผู้เข้าอบรมที่จบวุฒิการศึกษามัธยมต้น อายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ไม่จ ากัดเรื่องสัญชาติ สอนทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในสถาบันผู้สูงอายุแมคเคน ประมาณร้อยละ ๕๐ : ๕๐ ปัจจุบันก าลัง ปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขก าหนด ที่มีมาตรฐานเข้มข้นขึ้นยิ่งกว่าหลักสูตรเดิมของส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย

๕๒ กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ด าเนินการภายใต้พระราชบัญญัติ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ และกฎระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข แหล่งงบประมาณ จากการด าเนินธุรกิจและเงินบริจาค วิเคราะห์จุดอ่อน - จุดแข็ง จุดอ่อน ได้แก่ สถาบันฯ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ โรงพยาบาลเอกชนจึงท าให้ขาดโอกาสการสนับสนุนจากรัฐในการพัฒนาองค์กรและผู้ป่วยที่เข้า รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลผู้สูงอายุไม่สามารถใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการได้และงบประมาณ ส าหรับการพัฒนาองค์กรมีจ ากัด ส าหรับจุดแข็ง ได้แก่ สถาบันฯ มีทุนทางสังคมสูงมาก ทั้งพื้นที่ สิ่งแวดล้อม สถานที่ อาคาร ความเชี่ยวชาญ และบุคลากร ข้อค้นพบ สถาบันผู้สูงอายุแมคเคนให้การดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรที่มี ทุนทางสังคม แต่ยังพัฒนางานได้ค่อนข้างยากล าบากด้วยข้อจ ากัดหลายด้าน

๕๓ ๔. สรุปผลการเสวนา เรื่อง “ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน” คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และ ผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โดยคณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปด้านสังคม กิจการผู้สูงอายุและ สังคมสูงวัยได้จัดการเสวนา เรื่อง “ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน” วันอังคารที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ (ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) สรุปสาระส าคัญได้ว่า (ร่าง) แผนปฏิบัติการก าหนด ขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๕ ได้ถ่ายโอนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยท างานร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุซึ่งการท างานประเด็นระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในชุมชนในระดับนโยบายได้บูรณาการการท างานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อส่งต่อระดับพื้นที่ ต่อไป โดยมีคณะอนุกรรมการบูรณาการจัดท ามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ภายใต้คณะกรรมการ ผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้ศึกษาและจัดท ามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุในด้านสถานดูแลผู้สูงอายุผู้ดูแล ผู้สูงอายุ และหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ๓ หลักสูตร รวมทั้งได้พิจารณาก าหนดแผนก าลังคน (ผู้ดูแลผู้สูงอายุทุกประเภท) ของประเทศให้เพียงพอ การประกอบกิจการสถานดูแลผู้สูงอายุ ถูกควบคุมการด าเนินงานโดยกฎกระทรวงก าหนดให้กิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง เป็นกิจการอื่นในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๓ ภายใต้พระราชบัญญัติสถาน ประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ และประกาศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมกันดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เช่น โครงการ ๓ หมอ ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้จัดระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long–term care) โดยมีผู้ให้การดูแลผู้สูงอายุ : Care giver (CG) ตาม Care Plan ภายใต้การก ากับดูแลของ ผู้จัดการ ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวด้านสาธารณสุข : Care Manage (CM) และมีผลการประเมิน ADL ซึ่ง สปสช. ได้จัดสรรงบประมาณให้แก่ท้องถิ่นต่าง ๆ โดยแต่ละท้องถิ่นจะสมทบเงินเข้าไปในกองทุน ตามศักยภาพและขนาดของท้องถิ่น (Matching Fund)สมาคมการค้าและบริการผู้สูงอายุไทยร่วมกับ ธุรกิจสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุและกรุงเทพมหานครได้รับผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในเขต กรุงเทพมหานครไปดูแลฟื้นฟูสุขภาพที่สถานบริการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และการดูแลผู้สูงอายุ โดยวิสาหกิจเพื่อสังคม แต่พบปัญหาการด าเนินงาน เช่น มีสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานตามที่กฎหมายก าหนด CG มีไม่ครบทุกต าบล เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บางแห่งไม่ได้สมัครเข้าร่วมกับกองทุน สปสช. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งไม่มี อาสาสมัครบริบาล เนื่องจากไม่มีความยั่งยืนเพราะเป็นงบประมาณจากโครงการเงินกู้เพื่อแก้ไข ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ อาสาสมัครหรือ CG ส่วนใหญ่อายุมาก ท าให้กระทบต่อการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง

๕๔ ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงเป็นงานหนักและการลาออกของ CG และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น มีสาเหตุมาจากมีอายุมาก มีภาระดูแลครอบครัวตัวเอง ค่าตอบแทนน้อยจึงไม่เพียงพอกับการด ารงชีพ อาสาสมัคร ๑ คน ปฏิบัติหน้าที่หลายต าแหน่ง จึงส่งผลต่อการดูแลผู้สูงอายุไม่ทั่วถึง ขาดแคลน นักกายภาพบ าบัดในโรงพยาบาลชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุไม่ได้รับการสนับสนุน โดยตรงจากภาครัฐ ทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรการด าเนินงาน จึงส่งผลให้วิสาหกิจเพื่อสังคม ต้องจัดหาทุนทรัพย์การด าเนินงานด้วยตัวเองและมีความเสี่ยงการบริหารธุรกิจ เป็นต้น ๕. การดูแลผู้สูงอายุของต่างประเทศ๑๐ ๕.๑ การดูแลผู้สูงอายุของประเทศสวีเดน รัฐบาลได้ให้ความส าคัญกับการให้ผู้สูงอายุ สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองให้ได้นานที่สุดและให้ผู้สูงอายุเลือกใช้บริการที่หลากหลายจากรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับการสนับสนุนเงินส่วนหนึ่งจากรัฐบาล โดยท้องถิ่นได้ก าหนดนโยบายให้บริการ สาธารณะและจัดเก็บภาษี และมีองค์กรที่ท าหน้าที่ตรวจสอบและเป็นตัวกลางประสานงานเฉพาะ และรัฐบาลจะจ่ายเงินให้แก่ผู้สูงอายุเพื่อให้ไปซื้อบริการตามความต้องการและความเหมาะสมกับบุคคล โดยใช้ภาษีท้องถิ่น รัฐบาล และเงินสมทบจากผู้สูงอายุ (ภาษี) นอกจากนี้ ผู้สูงอายุสามารถเลือกที่พัก อาศัยได้หลายรูปแบบโดยได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล เช่น บ้านพักผู้สูงอายุศูนย์พักฟื้น เป็นต้น ท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการทางสาธารณสุขเพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่ต้องการ ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โดยหน่วยงานท้องถิ่นของประเทศสวีเดนมีศักยภาพมากเพียงพอ ให้บริการสาธารณสุขตามบ้าน โดยมีการจัดตัวแทนผู้ให้บริการที่ไม่เป็นทางการและผู้เชี่ยวชาญลงไป ในชุมชนที่ตนเองดูแล เพื่อลดจ านวนผู้สูงอายุเข้ารักษาที่โรงพยาบาล และประเทศสวีเดนมีเงินบ านาญ ให้แก่ผู้สูงอายุแบ่งเป็น ๑) ระบบบ านาญสาธารณะ ประกอบด้วย ๓ ประเภท ได้แก่ เงินบ านาญจากรายได้ เงินบ านาญพิเศษ (การน าเงินไปลงทุนในกองทุนต่าง ๆ) และเงินบ านาญขั้นพื้นฐาน (เงินที่จะสามารถ อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี) ๒) ระบบบ านาญที่อิงอาชีพ เป็นเงินบ านาญที่กฎหมายก าหนดให้ผู้ว่าจ้าง รับผิดชอบ โดยทั่วไปจะได้รับเงินบ านาญเมื่ออายุ ๖๕ ปีหรือตามที่ตกลงระหว่างบริษัทและพนักงาน และ ๓) ระบบบ านาญเอกชนที่ท าโดยนายจ้างภายใต้กฎหมายเป็นระบบบ านาญที่แรงงานจ่ายเงิน เข้ากองทุนแบบสมัครใจและได้รับสิทธิประโยชน์จากเงินดังกล่าว ๕.๒ การดูแลผู้สูงอายุของประเทศอิตาลีการบริหารจัดการเกี่ยวกับระบบสวัสดิการ ผู้สูงอายุมีการกระจายอ านาจให้หน่วยงานระดับภูมิภาคและท้องถิ่นด าเนินการ โดยรัฐบาลกลาง ควบคุมก ากับดูแลและก าหนดหลักการและสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น ๑๐ ส านักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า, ร่างรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาระบบกิจการผู้สูงอายุรองรับสังคมสูงวัย.

๕๕ ควรได้รับ หน่วยงานระดับภูมิภาคท าหน้าที่จัดการบริการด้านสาธารณสุข และหน่วยงานสาธารณสุข ระดับท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดท าบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานให้กับชุมชน ซึ่งใช้เครือข่ายหน่วยงาน สาธารณสุขระดับท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะให้ทั่วถึงประชาชนทุกคน ซึ่งรัฐบาลได้จ้าง ผู้จัดการประจ าหน่วยงานสาธารณสุขระดับท้องถิ่น และประจ าโรงพยาบาลในรูปแบบสัญญาจ้าง เพื่อบริหารจัดการงบประมาณที่รัฐบาลและท้องถิ่นมีให้ในการจัดการทางด้านสาธารณสุข ซึ่งการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานโดยรัฐมีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่คุณภาพมีความ แตกต่างกันออกไปตามความพร้อมของท้องถิ่น ส าหรับบริการสาธารณสุขที่ให้บริการโดยเอกชน มีผู้รับบริการหรือครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัว และประเทศอิตาลีมีเงินบ านาญให้แก่ผู้สูงอายุแบ่งเป็น ๑) เงินบ านาญคนชรา ๒) เงินอุดหนุน การเกษียณก่อนก าหนด ๓) เงินบ านาญก่อนชราภาพ และ ๔) บ านาญขั้นพื้นฐาน ๕.๓ การดูแลผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลกลางมีอ านาจสูงสุดบริหารจัดการบริการ ด้านสาธารณสุข โดยมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้บริการสาธารณสุขตามกรอบนโยบายรัฐบาล เทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบการจัดท าบริการเกี่ยวก้บการดูแลผู้สูงอายุในระบบประกันสุขภาพระยะยาว (LTC) โดยใช้งบประมาณจากกองทุน Long Term Care Insurance (LTCI) รัฐบาลกลาง จังหวัด เทศบาล และประชาชน นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความส าคัญกับการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การบริการช่วยเหลือผู้สูงอายุเพื่อท ากิจกรรมระหว่างวัน เป็นต้น มากกว่าสถานที่พักผู้สูงอายุ และถ่ายโอนสถานที่พักผู้สูงอายุจากจังหวัดไปให้เทศบาลรับผิดชอบดูแลเพื่อให้สามารถจัดบริการ สาธารณสุขที่ครอบคลุม ส่งผลให้เทศบาลมีหน้าที่ควบคุมดูแลทั้งการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและสถานที่พัก ผู้สูงอายุส าหรับค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุได้มีการก าหนดมาตรการ เช่น มาตรการพิเศษ ส าหรับการจ่ายเบี้ยประกันของผู้สูงอายุ โดยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ และมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ระบบการประกันการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และประเทศญี่ปุ่นมีเงินบ านาญให้แก่ผู้สูงอายุแบ่งเป็น ๑) ระบบประกัน เพื่อบ านาญขั้นพื้นฐาน ๒) ระบบบ านาญเฉพาะกลุ่ม ๓) ระบบบ านาญตามความสมัครใจ

๕๖

บทที่ ๔ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๑. บทสรุป จากการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โดยคณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปด้านสังคม กิจการผู้สูงอายุและสังคมสูงวัย พบว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๗๘ ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับ สุดยอด (Super aged society) คือ มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เพิ่มสูงถึงร้อยละ ๓๐ ของประชากร ทั้งหมด ซึ่งขณะนี้มีหลาย ๆ จังหวัดในประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) เนื่องจากมีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ถึงร้อยละ ๒๐ ของประชากร ในพื้นที่การจ าแนกผู้สูงอายุจากการวัดความสามารถในการท ากิจวัตรประจ าวัน (ADL) แบ่งผู้สูงอายุ ได้เป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ ๑ ผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) กลุ่มที่ ๒ ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจ าวัน (กลุ่มติดบ้าน) และกลุ่มที่ ๓ ผู้สูงอายุ ที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด (กลุ่มติดเตียง) ซึ่งผู้สูงอายุกลุ่มที่ ๒ และกลุ่มที่ ๓ คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เต็มที่ จากโครงสร้างประชากรไทยในสัดส่วนที่อัตราการเกิดลดลงอย่าง รวดเร็วและประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้นและการเปลี่ยนแปลงลักษณะการอยู่อาศัยจากครอบครัว ขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร หรือห้องชุด วัยแรงงานต้องออกไปท างานหาเลี้ยง ครอบครัวโดยให้ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ที่บ้านตามล าพัง ประกอบกับจากการส ารวจประชากรสูงอายุ ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ พบว่า มีจ านวนผู้สูงอายุทั่วประเทศ ๑๑,๓๑๒,๔๔๗ คน มีผู้สูงอายุที่มี ความต้องการผู้ดูแลในการท ากิจวัตรประจ าวัน จ านวน ๙๒๘,๔๐๐ คน และจากประมาณการผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงของส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มีจ านวน ๒๑๘,๓๐๘ คน และ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีจ านวน ๒๒๖,๘๐๙ คน โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในปีพ.ศ. ๒๕๖๓ มีผู้สูงอายุได้รับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนชรา จ านวน ๑,๒๑๒ คน และรอใช้บริการ จ านวน ๒๗๒ คน จากสถานการณ์ดังกล่าวหน่วยงานรัฐ เอกชน ภาคธุรกิจ และองค์กรสาธารณะประโยชน์ได้จัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในหลายรูปแบบ การศึกษาครั้งนี้ได้จ าแนกรูปแบบการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามลักษณะของ ผู้ให้การดูแลได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนด้วยการให้บริการกันเอง ในชุมชน จ าแนกเป็น ๔ ลักษณะ ซึ่งแต่ละลักษณะมีจุดแข็งและจุดอ่อน และสภาพปัญหา ดังนี้ (๑) บริการดูแลสุขภาพส าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยผู้ให้การดูแล (Care Giver : CG) ในโครงการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care : LTC) ซึ่ง CG ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุจ านวน ๗๐ ชั่วโมง

๕๘ จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้หลักสูตรจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียง ปัจจุบันการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดย CG ในชุมชน ยังไม่ครอบคลุมทุกต าบล และมีต าบลที่ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวผ่านเกณฑ์ จ านวน ๖,๖๑๗ ต าบล จากทั้งหมด ๗,๒๕๕ ต าบล ทั่วประเทศมี CG จ านวน ๙๑,๘๖๔ คน โดยมี CG จ านวน ๕ - ๑๐ คน ต่อต าบลซึ่งจากข้อมูลผู้สูงอายุในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุมีความต้องการ การดูแลจากผู้ดูแลในสัดส่วนที่สูง หากค านวณสัดส่วนของ CG ในการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ๑ : ๕ จะต้องการจ านวนผู้ดูแล CG จ านวน ๑๘๕,๖๘๐ คน ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มี CG เพียง ๙๑,๘๖๔ คนเท่านั้น จ าเป็นต้องเพิ่มจ านวน CG ให้ได้อีกหนึ่งเท่าตัว CG ปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ อย่างน้อย ๒ ครั้ง/เดือน สามารถช่วยแบ่งเบาภาระญาติในการดูแลผู้สูงอายุให้ได้พักบ้างแต่ CG ส่วนใหญ่ เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.) ท าให้การจัดบริการ LTC ของประเทศขาดความ เข้มแข็ง เพราะยังไม ่มีหลักประกันว ่าผู้ป ่วยที ่มีภาวะพึ ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างสม่ าเสมอ และขึ้นกับการก ากับดูแลของผู้จัดการดูแล (Care Manager) ซึ่งบางพื้นที่พบว่า การด าเนินการ อยู่ในระยะเริ่มต้น ยังไม่มีกระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน (๒) บริการดูแลสุขภาพส าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ในโครงการตามแผนงานใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศหลังโควิด – ๑๙ ขณะนี้มีอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น จ านวน ๑๓,๓๘๗ คน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ านวน ๖,๘๓๐ แห่ง ซึ่งยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ต าบลทั่วประเทศที่มีจ านวน ๗,๗๗๔ ต าบล โดยดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง จ านวน ๕๖,๐๔๔ คน จากเป้าหมายเดิม คือ ๖๒,๑๙๒ คน อาสาสมัครต้องผ่านการอบรม หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ จ านวน ๗๐ ชั่วโมง จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้หลักสูตร จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อาสาสมัครปฏิบัติงานวันละ ๘ ชั่วโมง เป็นจ านวน ๒๐ วันต่อเดือน ซึ่งค่าตอบแทนที่ได้รับไม่สอดคล้องกับระยะเวลาการปฏิบัติงาน และบางครัวเรือน มอบหมายภารกิจหน้าที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ซักผ้า ล้างจาน และกวาดบ้าน เป็นต้น ท าให้อาสาสมัคร บริบาลท้องถิ่นมีความจ าเป็นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ไปบางส่วน ส่งผลให้จ านวนอาสาสมัครบริบาล ท้องถิ่นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (๓) บริการดูแลสุขภาพส าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยอาสาสมัครอื่น ได้แก่ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) และอาสาสมัครสาธารณสุข เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจ า หมู่บ้าน (อสม.) เป็นต้น ซึ่ง อผส. ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีค่าตอบแทน การด าเนินงานขึ้นอยู่กับความ เข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุและการช่วยเหลือกันของสมาชิก ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการท างาน คือ การขาดเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายปฏิบัติงาน เช่น ค่าน้ ามันรถ ค่าของเยี่ยม เป็นต้น ส าหรับ อสม. ปัจจุบันมีจ านวน ๑.๐๔ ล้านคน ได้รับค่าตอบแทน ๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน กระจายอยู่ทั่วทั้งในเขตเมือง และเขตชนบท โดยเฉลี่ย ๑ คน รับผิดชอบ ๑๐ - ๑๕ หลังคาเรือน ท าหน้าที่ถ่ายทอดความรู้

๕๙ และส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพและป้องกันโรค ท าให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น แต่ อสม. ท างานในพื้นที่ทั้งเชิงรับและเชิงรุกเป็นอย่างมาก มีบทบาทหน้าที่หลายประการ ไม่ใช่เฉพาะการดูแลผู้สูงอายุ อีกทั้ง อสม. ส่วนใหญ่ขาดการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชนและไม่มีเวลาท างานเพื่อผู้สูงอายุ (๔) บริการดูแลสุขภาพส าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการให้บริการในรูปแบบอื่น ที่เป็นนวัตกรรมการบริการสุขภาพเพื่อให้การบริการสุขภาพมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เช่น นวัตกรรมบริการสุขภาพเชิงรุกของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต าบล (รพสต.) ซึ่งเป็นการออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ ท าให้ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และนวัตกรรมบริการสุขภาพเชิงรุกของ โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน เช่น นวัตกรรมของโรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนา อ าเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งให้การดูแลรักษาผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แบบผสมผสานร่วมกับ ธรรมบ าบัด และได้สร้างอาคารศูนย์เทคโนโลยีชุมชนต้นแบบในการดูแลสุขภาพและสิ่งอ านวย ความสะดวกในการด าเนินชีวิตส าหรับผู้สูงอายุและผู้ที่ก าลังฟื้นฟูจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วย โดยภายใน อาคารได้ใช้ระบบเทคโนโลยีช่วยดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ออกแบบโดยอาจารย์ภาควิชากิจกรรมบ าบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นบ้านต้นแบบส าหรับผู้สูงอายุหรือคนพิการ หลังแรกของประเทศไทย นอกจากนี้มีนวัตกรรมบริการสุขภาพเชิงรุก “ท้องถิ่นเป็นหลักร่วมกับ ชุมชน” เช่น กรณีเทศบาลต าบลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน น าร่องโครงการดูแลผู้สูงอายุ ด้วยระบบ Service to Care (STC) ทั้งนี้ การด าเนินงานดังกล่าวยังคงขาดแคลนอัตราก าลังสหวิชาชีพ แต่การท างานมีความร่วมมืออย่างเป็นระบบของหน่วยงานและอาสาสมัครในพื้นที่ ทั้งนี้ พบว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรและห้องชุดซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่ ส่วนบุคคล ไม่สามารถได้รับการดูแลจากอาสาสมัครและนวัตกรรมดังกล่าว อาสาสมัครหรือ CG ส่วนใหญ่อายุมาก ท าให้กระทบต่อการดูแลผู้สูงอายุซึ่งการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงเป็นงานที่หนัก ค่าตอบแทนของอาสาสมัครแต่ละประเภทแตกต่างกันตามภารกิจหน้าที่ และบางกรณีไม่มีค่าตอบแทน เช่น กรณีของทีมโอบอุ้มเทศบาลเมืองทับกวาง จังหวัดสระบุรี กลุ่มที่ ๒ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้วยการให้บริการในลักษณะสถาบันของภาครัฐ (Public Institutional Care) จ าแนกเป็น ๕ ลักษณะ ซึ่งแต่ละลักษณะมีจุดแข็งและจุดอ่อน และ สภาพปัญหา ดังนี้ (๑) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) ภายใต้สังกัดกรมกิจการ ผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้บริการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบ การสงเคราะห์แก่ผ้สูงอายุที่มีฐานะยากจน ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะหรือผู้ดูแล ซึ่งเป็นการ

๖๐ ให้บริการแบบมีที่พักอาศัย โดยมีผู้สูงอายุต้องการเข้ารับบริการจ านวนมาก ท าให้ไม่มีที่ว่างเพียงพอ บุคลากรมีไม่เพียงพอต่อจ านวนผู้สูงอายุ ไม่มีแพทย์และพยาบาลประจ า โดยแต่ละแห่งมีความ พร้อมในการดูแลผู้สูงอายุแตกต่างกัน ท าให้มีข้อจ ากัดในการให้บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แต่การดูแลของ ศพส. มีความใกล้ชิดระหว่างผู้ดูแลกับผู้สูงอายุอีกทั้งหน้าที่หลักอย่างหนึ่งของ ศพส. คือ การพัฒนาวิชาการ มาตรฐานงานการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งยังไม่สามารถท าหน้าที่นี้ได้อย่างดีมากนัก (๒) สถานสงเคราะห์คนชราในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บริการดูแล ผู้สูงอายุในรูปแบบการสงเคราะห์แก่ผ้สูงอายุที่มีฐานะยากจน ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะหรือผู้ดูแล ซึ่งเป็นการให้บริการแบบมีที่พักอาศัย บางแห่งไม่รับผู้สูงอายุข้ามพื้นที่จังหวัด และมีผู้รับผิดชอบดูแล ผู้สูงอายุไม่เป็นไปตามมาตรฐานการจัดบริการของสถานสงเคราะห์คนชรา บุคลากรในสถานสงเคราะห์ คนชราขาดองค์ความรู้ทักษะและวิทยาการสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ โดยแต่ละแห่ง มีความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุแตกต่างกัน แต่มีการให้บริการดูแลที่มีความสะดวก และปลอดภัย ท าให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจ อีกทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกับชุมชนมากกว่า หน่วยงานสังกัดส่วนกลาง (๓) การจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยกรุงเทพมหานคร (โรงพยาบาลราชพิพัฒน์) เป็นโรงพยาบาลภายใต้ส านักการแพทย์จัดให้บริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มีความโดดเด่นในด้านการดูแล สร้างเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจรในรูปแบบ One Stop Service ภายใต้ “คลินิกสุขใจ สูงวัยประคับประคอง” มีหอผู้ป่วยชีวาภิบาลเพื่อดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้าย มีการส่งเสริมการท าพินัยกรรมชีวิต (Living Will) เป็นการตัดสินใจโดยผู้ป่วยโดยญาติ ผู้ป่วยทุกคนที่มาร่วมประชุมกันวางแผนให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุระยะสุดท้ายมีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์มินิดินสอดูแลผู้สูงอายุ ๒๔ ชั่วโมง และรายงานไปยังญาติ แพทย์ และ พยาบาล ผู้สูงอายุต้องการเข้ารับบริการจ านวนมาก ท าให้จ านวนเตียงไม่เพียงพอและเป็นการดูแล ในโรงพยาบาล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการดูแลที่บ้านและที่ชุมชน (๔) การจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยสภากาชาดไทย ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุสภากาชาดไทย ในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรีมีหน่วยบริบาลผู้สูงอายุซึ่งรับดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ที่ช่วยเหลือตนเองได้และช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โดยให้บริการส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ แบบครบวงจร รวมทั้งรับดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะติดเชื้อ หรือภาวะสมองเสื่อม ที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ โดยให้บริการแบบรายวัน (ไป-กลับ) และพักค้างคืน ๒๔ ชั่วโมง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ สภากาชาดไทยมีโครงการสวางคนิเวศ โดยให้บริการที่พักอาศัย ส าหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะระดับกลางและมีสุขภาพดีซึ่งผู้สูงอายุจะได้รับบริการที่ดี มีห้องส่วนตัว มีบริการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ ให้บริการที่มีคุณภาพแต่มีค่าบริการที่สูง

๖๑ (๕) การจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ภาครัฐ เช่น ศูนย์ที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร (Senior Complex) ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างกรมธน ารักษ์ กระทรวงการคลัง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จ ากัด และ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นต้นแบบโครงการที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุที่มี สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม ออกแบบภายใต้หลักสถาปัตยกรรม เพื่อทุกคน มีบุคลากรทางการแพทย์ให้การดูแลอย่างถูกต้อง และบริการส่งต่อการรักษาตามสิทธิของ ผู้สูงอายุโดยภายในแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ โซน ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบ วงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย (Hospice Zone) พื้นที่ส าหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการพักฟื้นหรือ ฟื้นฟูสุขภาพ (Nursing Home Zone) และพื้นที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร (Senior Housing Zone) โดยผู้สูงอายุที่เข้าพักอาศัยต้องมีสุขภาพแข็งแรงและช่วยเหลือพึ่งพาตนเองได้ดี ซึ่งเป็นรูปแบบสิทธิการเช่าถือครองระยะยาว และมีความเหมาะสมส าหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะ ทางการเงินสามารถจ่ายค่าบริการได้เท่านั้น การบริการแต่ละอย่างมีค่าใช้จ่าย และการบริการ รักษาพยาบาลเป็นไปตามสิทธิการรักษาของผู้เข้าพัก ซึ่งเป็นการจัดบริการของรัฐที่ใช้ทรัพยากรมาก แต่มีผู้เข้าถึงบริการได้เพียงเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น กลุ่มที่ ๓ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้วยการให้บริการในลักษณะสถาบันของ ภาคเอกชน (Private Institutional Care) ให้บริการโดยภาคธุรกิจ องค์กรสาธารณะประโยชน์ มูลนิธิ และวิสาหกิจเพื่อสังคม จ าแนกเป็น ๓ ลักษณะ ซึ่งแต่ละลักษณะมีจุดแข็งและจุดอ่อน และสภาพปัญหา ดังนี้ (๑) การจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยวิสาหกิจเพื่อสังคม เช่น บริษัท บั๊ดดี้โฮมแคร์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จ ากัด จังหวัดเชียงใหม่ ให้บริการ ๑) อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน โดยให้การดูแลสุขภาพและกิจวัตรประจ าวันของผู้สูงอายุที่ยากไร้ ขาดทุนทรัพย์จ้างคนดูแลหรือ ลูกหลานทอดทิ้ง โดยไม่คิดค่าบริการ การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ โดยบริษัทได้น าผลก าไรมาจัดบริการ ตอบแทนสังคมร่วมกับโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุและกลไก เยี่ยมบ้านของชุมชนของรัฐ เช่น อสม. อผส. อาสาสมัครชุมชน และ Care Giver ๒) สนับสนุนเยาวชน ที่มีจิตอาสาและขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียนให้ได้รับการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น และพัฒนาเป็น Care Giver ตามที่กฎหมายก าหนด ๓) สนับสนุนค่าใช้จ่าย เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน และ ๔) การให้บริการผู้สูงอายุแบบคิดค่าบริการกับลูกค้า ทั้งการให้บริการรายวัน รายเดือน แบบอยู่ ประจ า และให้บริการรายเดือนแบบไปเช้า – เย็นกลับ มีการท างานโดยทีมสหวิชาชีพและมีความ ยืดหยุ่น สามารถปรับ Care Plan การให้บริการผู้สูงอายุตามความเหมาะสมของบุคคลและมีความ ต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรองบประมาณจากภาครัฐ ท าให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้มากกว่าหน่วยงานรัฐ ส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพไม่ให้เกิดโรคหรือปัญหาที่รุนแรง แต่บริษัทไม่ได้รับการ

๖๒ สนับสนุนโดยตรงจากภาครัฐทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรการด าเนินงาน จึงส่งผลให้บริษัทต้อง จัดหาทุนทรัพย์การด าเนินงานด้วยตัวเองและมีความเสี่ยงการบริหารธุรกิจ ท าให้ดูแลผู้สูงอายุ ได้ไม่ทั่วถึง อีกทั้งให้บริการผู้สูงอายุได้จ านวนจ ากัด เนื่องจากมีบุคลากรจ านวนไม่มาก (๒) การจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยเอกชนภาคธุรกิจ มีการด าเนินงาน ให้บริการหลากหลายแบบโดยให้การดูแลสุขภาพและกิจวัตรประจ าวันผู้สูงอายุได้แก่ ๑) ให้บริการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านในเวลากลางวัน หรือดูแล ๒๔ ชั่วโมง ๒) ให้บริการรับดูแลผู้สูงอายุที่ศูนย์ดูแล แบบรายวัน Day Care Center ทั้งแบบรายวันหรือชั่วคราว โดยไม่มีการพักค้างคืน ๓) ให้บริการ รับดูแลผู้สูงอายุที่ศูนย์ดูแลแบบประจ าหรือรายเดือนโดยมีการพักค้างคืน และ ๔) ให้บริการดูแล ผู้สูงอายุที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ โดยจัดให้มีที่พ านักอาศัย เช่น โครงการนายาเรสซิเดนซ์ แอท ริเวอร์ไรน์ วิลเลจ จังหวัดนนทบุรีให้บริการที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จัดห้องพักที่มีการออกแบบตามหลักสถาปัตยกรรมเพื่อทุกคน มีทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฝ้าระวังและให้ความช่วยเหลือ ๒๔ ชั่วโมง น าระบบเทคโนโลยีมาช่วยดูแลผู้สูงอายุ มีเครือข่ายการส่งต่อการดูแลผู้สูงอายุและเครือข่ายการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ/พนักงานผู้ช่วยทางการ พยาบาลที่ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานฝีมือแรงงาน แต่ปัจจุบันสถานประกอบการ และผู้สูงอายุต้องการผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีคุณภาพสูง ซึ่งไม่สามารถผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุได้เพียงพอกับ ความต้องการของตลาด ทั้งนี้ สถานประกอบการที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กฎหมายก าหนด เป็นที่สนใจกับครอบครัวและผู้สูงอายุที่มีก าลังในการจ่ายเพื่อการดูแล แต่พบว่ายังมีสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพประเภทกิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงบางแห่งด าเนินการไม่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานที่กฎหมายก าหนดจ านวนหนึ่ง ซึ่งให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นอันตรายต่อประชาชน (๓) การจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยองค์กรภาคประชาสังคม (มูลนิธิ) เช่น สถาบันผู้สูงอายุแมคเคน อ าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จัดบริการดูแลผู้สูงอายุแบบครบ วงจรทั้งโรงพยาบาลผู้สูงอายุ บ้านพักผู้สูงอายุศูนย์ฟื้นฟูสภาพ และโรงเรียนบริบาลผู้สูงอายุ ซึ่งสถาบันฯ มีทุนทางสังคมสูง ทั้งพื้นที่ สิ่งแวดล้อม สถานที่ อาคาร ความเชี่ยวชาญ และบุคลากร แต่สถาบันฯ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโรงพยาบาลเอกชนจึงท าให้ขาดโอกาสการสนับสนุนจากรัฐในการ พัฒนาองค์กรและผู้ป่วยที่เข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลผู้สูงอายุไม่สามารถใช้สิทธิสวัสดิการ ข้าราชการได้ และงบประมาณส าหรับการพัฒนาองค์กรมีจ ากัด การจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงดังกล่าวข้างต้นแต่ละรูปแบบมีการด าเนินงานและ การบริหารจัดการที่แตกต่างกันภายใต้นโยบายขององค์กร กฎหมายและงบประมาณที่แตกต่างกัน จึงท าให้มีจุดแข็งและจุดอ่อนของการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และสภาพปัญหาอุปสรรค ของการด าเนินงานดังกล่าวแตกต่างกันออกไป

๖๓ ๒. ข้อเสนอแนะ ๒.๑ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ๒ .๑ .๑ ก ารให้ คว ามส าคัญ กับ ก า รดูแลผู้สู งอ ายุในชุมชน รัฐบ าลโด ย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรเน้นการส่งเสริมสนับสนุนการดูแล ผู้สูงอายุด้วยระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (Community Based Care) เป็นหลัก เนื่องจาก มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมไทยที่มีความเกื้อกูลระหว่างกัน สามารถช่วยเหลือดูแลกันได้ มีต้นทุนการดูแลที่ไม่สูงมาก และผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุข ๒.๑.๒ การส่งเสริมสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนโดยจตุพลังในต าบล ควรส่งเสริมสนับสนุนให้(๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๒) ท้องที่ (๓) องค์กรชุมชน ภาคประชา สังคม องค์กรสาธารณะประโยชน์ ภาคเอกชน และ (๔) หน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่ โดยการสนับสนุน จากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข กรมกิจการผู้สูงอายุ ส านักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันสนับสนุนการจัดบริการการดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนในลักษณะพหุภาคีให้มากขึ้น ๒.๑.๓ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและลดบทบาทของภาครัฐ รัฐบาลโดยกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงการคลัง ส านักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ส านักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรพัฒนานโยบาย และมาตรการส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมและเอกชนได้ใช้วิสาหกิจเพื่อสังคมในการจัดบริการ ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้เป็นรูปธรรมและกว้างขวาง โดยสนับสนุนงบประมาณบางส่วน เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเมือง ๒.๑.๔ การพัฒนาระบบการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กระทรวง สาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและกรมอนามัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์โดยกรมกิจการผู้สูงอายุและส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับ สถาบันการศึกษา ควรด าเนินการดังนี้ (๑) ศึกษาการพัฒนาระบบการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของ ประเทศไทยที่มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมและวิถีชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน เช่น จัดท า ชุดสิทธิประโยชน์และบริการส าหรับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มและตามสภาพปัญหาและความจ าเป็น ด้านบริการสาธารณสุขและสังคมของผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความเหมาะสมและตรงกับความจ าเป็น ของผู้สูงอายุแต่ละคน (Care Model) และการให้ครอบครัวดูแลผู้สูงอายุ เช่น การออกแบบเวลา การท างานให้มีความชัดเจนเพื่อให้บุตรหลานได้มีเวลาดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น

๖๔ (๒) พัฒนารูปแบบและแนวทางการส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุทั่วไป เพื่อชะลอการเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ๒.๑.๕ การก ากับดูแลการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและกรมอนามัย กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด าเนินการ พัฒนาระบบการก ากับดูแลการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้มีเอกภาพและสร้างความ ร่วมมือก ารก ากับดูแลร่วมกับองค์ก รปกค รองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภ าคีเค รือข่ าย โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพไม่ควรท าหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติเอง ๒.๑.๖ การควบคุมก ากับดูแลสถานพยาบาลผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ควรให้ความส าคัญกับการบังคับใช้กฎหมายควบคุมก ากับดูแล สถานพยาบาลผู้สูงอายุที่ให้บริการดูแล รักษา และฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้การด าเนินงาน มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นการคุ้มครองประชาชน และด าเนินการกระจายอ านาจให้ท้องถิ่น เข้ามาร่วมรับผิดชอบ ๒.๒ ข้อเสนอแนะเชิงการปฏิบัติ ๒.๒.๑ ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและกรมอนามัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและส านักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบัน คุณวุฒิวิชาชีพ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ควรด าเนินการ ดังนี้ (๑) เพิ่มและพัฒนาศักยภาพ Care Giver และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพให้ครบทุกต าบล เพื่อให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความครอบคลุมทุกต าบล และมีคุณภาพได้มาตรฐาน (๒) ทบทวนหลักเกณฑ์การคัดเลือก Care Giver และอาสาสมัครบริบาล ท้องถิ่น โดยพิจารณาบุคคลที่อยู่ในวัยแรงงาน มีจิตบริการ จิตสาธารณะ เพื่อทดแทน Care Giver และอาสาสมัครที่สูงอายุ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่มีความเหมาะสม เพื่อเสริมก าลังใจให้กับ คนท างาน และสร้างความภาคภูมิใจในต าแหน่งงาน

๖๕ (๓) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีเส้นทางความก้าวหน้าในการท างาน และปรับทัศนคติของสังคมและบุคคลให้มีความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ เช่น ควรมีหลักสูตรเทียบโอนให้นักเรียนที่ผ่านการอบรม หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุได้เรียนต่อยอดเป็นบุคลากรสายวิชาชีพได้เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันยังคงขาด แคลนผู้ดูแลผู้สูงอายุจ านวนมาก เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่องานการดูแลผู้สูงอายุ (๔) จัดระบบการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านให้มีคุณภาพ โดยให้ Care Giver และ ครอบครัว ได้ร่วมดูแลผู้สูงอายุแบบประคับประคองจนถึงวาระสุดท้ายที่บ้าน เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง (๕) ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรในชุมชนท้องถิ่นหรือบุคคลที่ประกอบอาชีพ อิสระที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเป็นนักบริบาลผู้สูงอายุในชุมชน โดยหน่วยงานรัฐสนับสนุน ค่าใช้จ่ายพื้นฐานตามความจ าเป็น (๖) เพิ่มนักกายภาพบ าบัดในโรงพยาบาลชุมชน แพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้มากขึ้นในสถานพยาบาล เนื่องจากมีบทบาทส าคัญในการดูแล ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก (๗) การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในสถาบันของภาครัฐ ควรเพิ่มบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้แก่ แพทย์ประจ าหน่วยบริการ นักกายภาพ พยาบาลวิชาชีพ และ นักจิตวิทยา (๘) จัดการอบรมให้ความรู้ทักษะในการดูแลผู้สูงอายุให้แก่อาสาสมัคร สาธารณสุขประจ าหมู่บ้านและอาสาสมัครอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องและทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้การดูแลกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุได้มีคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การท างานจริง เพื่อสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ (๙) ส่งเสริมการผลิตอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยการสร้างทักษะใหม่ที่จ าเป็น ต่อการท างาน (Reskill) และการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะที่มีให้ดีกว่าเดิม (Upskill) ให้แก่แรงงาน ที่ว่างงานหรือเพิ่มทักษะให้แก่ผู้ประกอบอาชีพอื่น โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ส าเร็จการศึกษา สาขาอื่นเข้ามาร่วมอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ครอบครัว และชุมชน รวมทั้งเป็นที่ต้องการของสังคมด้วย เช่น บุคคลที่สนใจในการดูแลผู้สูงอายุ แรงงาน ที่ว่างงาน บัณฑิตที่ส าเร็จการศึกษาใหม่ เป็นต้น อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประสบปัญหา การว่างงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ได้รับการ อบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุแนวใหม่ เช่น การอบรมเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุด้านสังคมจิตวิทยา (CG พันธุ์ใหม่) โดยท าหน้าที่ให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุแบบ Personal Assistane เช่น การช่วยเหลือ

๖๖ ผู้สูงอายุในการขับรถยนต์ไปโรงพยาบาล หรือสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น ท าให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และเป็นการฟื้นระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งช่วยเติมเต็มการดูแลผู้สูงอายุอีกทางหนึ่ง (๑๐) สนับสนุนการผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ ให้แก่สถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ลดค่าใช้จ่ายในการ ดูแลตนเอง เพิ่มคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุได้มากขึ้น เนื่องจากหากให้ภาคเอกชนผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ ด้วยตนเองทุกกระบวนการจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการดูแลผู้สูงอายุ และส่งเสริมสนับสนุนการผลิต ผู้ดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกจังหวัด ๒.๒.๒ ด้านการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (๑) หน่วยงานของรัฐที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ และ มหาวิทยาลัย ควรปรับนโยบายให้ความส าคัญกับการพัฒนาวิชาการ มาตรฐานงานบริการ การพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและก าลังคนระดับต่าง ๆ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาระบบการดูแล ผู้สูงอายุในระดับต่าง ๆ โดยจัดโครงการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเท่าที่จ าเป็น เพื่อประหยัด ทรัพยากรสาธารณะในการจัดบริการเอง และลดความเหลื่อมล้ า (๒) กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ ส านักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรประสานงานเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุน การท างานด้านการดูแลผู้สูงอายุของภาคธุรกิจ องค์กรสาธารณะประโยชน์และวิสาหกิจเพื่อสังคม อย่างเป็นระบบและจริงจัง โดยควรสนับสนุนให้มีวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ท างานด้านนี้ให้มากขึ้น รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณด้วย (๓ ) ก ระท รวงส าธ ารณ สุข โด ยก รมสนับ สนุนบ ริก ารสุขภ าพ แล ะ กระทรวงศึกษาธิการ ควรติดตามตรวจสอบสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุและโรงเรียนบริบาล ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณ ะประโยชน์ อาสาสมัครในชุมชน และภาคเอกชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ สมาคมการค้าและการบริการสุขภาพผู้สูงอายุไทย เป็นต้น เพื่อให้การประกอบกิจการเหล่านั้นเป็นไปอย่างได้มาตรฐานตามที่กฎหมายก าหนด (๔) จัดระบบการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านให้มีคุณภาพ โดยให้ Care Giver และ ครอบครัวได้ร่วมดูแลผู้สูงอายุแบบประคับประคองจนถึงวาระสุดท้ายที่บ้าน เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดี (๕) ให้ความส าคัญกับการสนับสนุนงบประมาณดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระดับ ปฐมภูมิ เพื่อลดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลขั้นสูงในระยะยาว (๖) ภารกิจการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน หน่วยงานรัฐ ในชุมชนควรท างานร่วมกับอาสาสมัคร องค์กรชุมชน องค์กรสาธารณะประโยชน์ และภาคเอกชน

๖๗ ในพื้นที่ เพื่อลดภาระงานของหน่วยงานรัฐและเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างครัวเรือน ชุมชน และ โรงพยาบาลในการช่วยกันดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการพัฒนา นวัตกรรมการให้บริการเพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง (๗) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ควรให้ความส าคัญกับบทบาท การพัฒนาวิชาการ สนับสนุนการจัดฝึกอบรมและพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุและอาสาสมัคร กลุ่มต่าง ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ท้องถิ่นจัดบริการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งจะท าให้ผู้สูงอายุได้ด ารงชีวิตอยู่ในชุมชนของตนเองได้อย่างมี ความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้คนในชุมชนมีจิตอาสาและมีความ เอื้ออาทรต่อกัน และช่วยลดจ านวนผู้สูงอายุใช้บริการในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ และสถานสงเคราะห์คนชรา (๘) กองทุนที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและ สวัสดิการสังคมของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ควรร่วมมือกันพัฒนานโยบายและมาตรการสนับสนุนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้มี แผนบูรณ าการร่วมกันในการสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงที่มีเอกภาพและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

๖๘

บรรณานุกรม หนังสือ กรมการแพทย์. “รูปแบบการดูแลสุขภาพระยะกลางของผู้สูงอายุในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุง) Intermediate Care Model for Elderly people of Thailand”. มกราคม ๒๕๖๒ บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จ ากัด. กรมอนามัย. (๒๕๕๗). สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข. ชาญชัย ลิ้มธงเจริญ. “แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวกับการเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน”. ศรีนครินทร์เวชสาร ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๕ เดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๖๐. ระพีพรรณ ค าหอม. (๒๕๖๓). “การจัดที่อยู่อาศัยส าหรับผู้สูงอายุในรูปแบบศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการ สังคมผู้สูงอายุ”. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยส านักงานการวิจัยแห่งชาติ. ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, เล็ก สมบัติ และระพีพรรณ ค าหอม. (๒๕๓๙). แนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม โดยการลดการพึ่งพิงบริการของรัฐ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจ าปีของสมาคม นักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย เรื่อง “การวิจัยทางสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาสังคม” ๒๑ - ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๙. สายฝน กันธมาล, ชัชวาล วงค์สารีและนันทนา พันชนะ. “การเยี่ยมบ้านของพยาบาลเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง Home Visiting of Nurses for Caring the Dependent Elderly People.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓ เดือน กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑ สัมฤทธิ์ ศรีธ ารงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, ศิริพันธ์ สาสัตย์, ขวัญใจ อ านาจสัตย์ซื่อ, อาทิตยา เทียมไพรวัลย. (๒๕๔๙). รูปแบบการดูแลสุขภาพส าหรับผู้สูงอายในระยะยาวโดยชุมชน. ส านักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. ส านักงานวิจัยก าลังคนด้านสุขภาพ. “Caregiver ในระบบ Long Term Care เขาเป็นใครหนอ เขามาจากไหน”. ๒๕๖๒. ส านักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (๒๕๕๙). รายงานการส ารวจ ประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๙. กรุงเทพมหานคร. ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แผนยุทธศาสตร์การด าเนินงานระบบการดูแลระยะยาวส าหรับ ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑ ส านักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า. ร่างรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอ เพื่อการพัฒนาระบบกิจการผู้สูงอายุรองรับสังคมสูงวัย. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (๒๕๖๐). รายงานโครงการการศึกษารูปแบบ การให้บริการ การบริหารและการจัดการที่พักส าหรับผู้สูงอายุ.

๗๐ กฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบ าบัด พ.ศ. ๒๕๔๗ พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๖ พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. ๒๕๖๒ กฎกระทรวงก าหนดให้กิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงเป็นกิจการอื่นในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๓ กฎกระทรวงก าหนดมาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย และการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง พ.ศ. ๒๕๖๓ กฎกระทรวงก าหนดค่าธรรมเนียมและการช าระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นด าเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าป่วยการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.) พ.ศ. ๒๕๕๒ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๔ ระเบียบกรมกิจการผู้สูงอายุว่าด้วยการให้บริการผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๕๘ ระเบียบว่าด้วยการตั้งงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสมทบกองทุน พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการเบิกค่าใช้จ่าย พ.ศ. ๒๕๖๒ เอกสารอื่น กองธุรกิจบริการ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. “พาณิชย์รับมือสังคมผู้สูงอายุ...เร่งพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจดูแล ผู้สูงอายุ”. ข่าวกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ฉบับที่ ๑๔๗/๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๒.

๗๑ ประกาศคณะกรรมการบริหารโครงการ “ศูนย์ที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุครบวงจร” เรื่อง หลักเกณฑ์และ เงื่อนไขโครงการบนที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน สป ๖๒๓ และสป ๖๔๖ ต าบลบางปลา อ าเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๓. ประกาศคณะกรรมการบริหารโครงการ “ ศูนย์ที่พักอาศัยส าหรับผู้สูงอายุครบวงจร” เรื่อง แนวทาง การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ก่อนเข้าพักอาศัยในโครงการฯ บนที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน สป๖๒๓ และสป ๖๔๖ ต าบลบางปลา อ าเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๓. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงมหาดไทยที่ มท ๐๘๑๙.๒/ว ๖๒๙๐ ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๒ เรื่อง ก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตราค่าตอบแทนและการจ่ายค่าตอบแทนของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔, จาก http://www.dla.go.th/.../10/22547_1_1571629914536.pdf กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดที่ ๐๐๗: ร้อยละของต าบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชนผ่านเกณฑ์. ๒๕๖๒. สืบค้นเมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔, จาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1043 เชียงใหม่นิวส์. “ครูบาน้อยช่วยคนพิการ เปิดบ้านใหญ่ดูแลผู้สูงอายุ พร้อมอุปกรณ์ครบ”. วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐. สืบค้นเมื่อ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔, จาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/585571/ บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน Buddy homecare. สืบค้นเมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔, จาก https://buddyhomecare.com/category/knowledge/ มติชนออนไลน์. “บุกค้น “โฮมแคร์เถื่อน”ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามสภาพบางรายถูกลามโซ่”. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3139466 ดร.วีรพงษ์ รามางกูร. “อสส. และ อสม.” คอลัมน์ คนเดินตรอก. หนังสือพิมพ์ประชาชาติ. วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓. สืบค้นเมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔, จาก https://www.prachachat.net/opinion-column/news-458827 พญ.วัจนา ลีละพัฒนะ และผศ.พญ.สายพิณ หัตถีรัตน์. “เมื่อผู้ดูแลท าไม่ไหวแล้ว” (Working with caregiver burnout). ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. สืบค้นเมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔, จาก https://www.hfocus.org/content/20106/12274 สวางคนิเวศ บ้านพักผู้สูงอายุภายใต้สภากาชาดไทย. สืบค้นเมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔, จาก https://goodlifeupdate.com/healthy-body/164604.html ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. คู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ๒๕๖๔. สืบค้นเมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔, จากhttps://www.boi.go.th/upload/section1_th_wt_link.pdf

๗๒ ส านักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การส ารวจประชากรสูงอายุ ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๔. สืบค้นเมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔, จากhttp://www.nso.go.th ส านักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชนด้วยนวัตกรรม ๓ C : Care manager, Caregiver & Care Plan. ๒๕๖๒. สืบค้นเมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔, จาก https://psdg.anamai.moph.go.th