กฎหมาย ภรรยา นอก สมรส แต ม บ ตร สาม นอกใจ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกมาพูดกับสื่อว่ารัฐบาลกำลังจะออกกฎหมาย “ห้ามมีกิ๊ก” ซึ่งทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว พ.ศ.. กฎหมายฉบับใหม่นี้จะยกร่างขึ้นมาแทนที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยมุ่งหมายที่จะครอบคลุมถึงการคุ้มครองจิตใจนอกเหนือไปจากร่างกายด้วย โดยในขณะนี้

ร่างกฎหมายนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)นัยว่าจากการตีความของกฎหมายนี้ การมีกิ๊ก รวมไปถึงการนอกใจคู่สมรส ซึ่งนับว่าเข้าข่ายความรุนแรงทางจิตใจ นำไปสู่คำถามที่น่าสนใจว่า สังคมไทยมองเรื่องการมี “กิ๊ก” อย่างไร และเพราะเหตุใดจึงต้องมีกฎหมายมาควบคุมเรื่องนี้

ศ.ดร.สุวรรณา สถาอานันท์ อาจารย์จากภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาทางสังคมและวัฒนธรรม มองว่า เราควรตั้งคำถามก่อนว่า รัฐควรเข้ามากำกับชีวิตทางเพศของพลเมืองหรือไม่ อย่างไร เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล

“รัฐไม่ควรเข้ามากำกับชีวิตส่วนตัวของพลเมือง ถ้ามาทำแบบนี้ ต่อไปรัฐสั่งห้ามกินสปาเกตตี สั่งห้ามทาปากแดง ชีวิตเราจะยุ่ง กฎหมายควรมีไว้เพื่อยุติความขัดแย้ง ไม่ควรมีหน้าที่ควบคุมรสนิยมทางเพศ ความสัมพันธ์ของคน” ศ.ดร.สุวรรณา แสดงทัศนะ

ศ.ดร.สุวรรณา ตั้งคำถามว่า “กิ๊ก” ในการนำเสนอข่าวและที่นายกฯ ประยุทธ์พูด นิยามไว้อย่างไร เป็นเมียน้อย หรืออยู่ระหว่างแฟนและเมียน้อย มีความสัมพันธ์ทางเพศไหม คงต้องหาคำตอบให้ชัดเจน แต่ถ้าถามว่าการนอกใจคู่สมรส หรือมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสในสังคมไทย

เป็นอย่างไร คงต้องตอบว่า “มีมานานแล้ว” และยังคงเป็นวัฒนธรรมและความเชื่อที่ยังฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยจนถึงทุกวันนี้

ทั้งนี้ กฎหมายผัวเดียวเมียเดียวในไทยเพิ่งจะมีเมื่อปี พ.ศ. 2478 รองรับให้ผู้ชายมีภรรยา ได้คนเดียว แต่ถ้ามีภรรยาน้อย กฎหมายไม่รับรู้ หมายความว่า ไม่รับรองสิทธิ หรือมรดกทรัพย์สิน แต่ก็ไม่ได้ห้าม การมีภรรยาน้อยก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย

แต่ถ้าย้อนกลับไปเป็นตอนสมัยอยุธยา หรือต้นรัตนโกสินทร์ สังคมไทยมีการแบ่งประเภทเมียไว้ชัดเจน เช่น ภรรยาหลวง ภรรยาทาส เป็นต้น

ศ.ดร.สุวรรณา บอกว่ากฎหมายไทยควบคุมเรื่องเพศของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เช่น การยอมรับบุตร ผู้ชายสามารถมีลูกกับภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายได้ แต่ผู้หญิงไม่ได้ ถ้ามีลูก ต้องมีสามีตามกฎหมายมาเกี่ยวข้อง

“เรื่องการหย่าร้างก็เช่นกัน ก่อนหน้าปี 2550 เหตุแห่งการหย่าของผู้ชาย คือภรรยามีชู้ แต่เหตุแห่งการหย่าของผู้หญิงคือ สามีเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันภรรยา มันหมายความว่าผู้หญิงมีเซ็กส์นอกสมรสไม่ได้ แต่ผู้ชายมีเซ็กส์นอกสมรส ไม่เป็นเหตุแห่งการฟ้องหย่านะ” ศ.ดร.สุวรรณากล่าว พร้อมเสริมอีกว่า คำว่า “ชู้” นี่ก็ใช้สำหรับเรียกชายชู้เท่านั้น ส่วนถ้าเป็นหญิง เราจะเรียกว่าเมียน้อย

ส่วนประเด็นที่ว่า กฎหมายห้ามมีกิ๊กจะสำเร็จและช่วยลดอัตราการนอกใจของคู่สมรสชายหญิงได้มากน้อยแค่ไหน ศ.ดร.สุวรรณา บอกว่าไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะการนำกฎหมายไปจัดการวัฒนธรรมที่มีมานานและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยมากกว่าร้อยปี

“มหาวิทยาลัยมหิดลเคยทำวิจัยสำรวจชายไทยเรื่องมีชู้ มีกิ๊กนี่แหละ พบว่าร้อยละ 41-42 ยอมรับว่าตนเองมีเพศสัมพันธ์นอกกฎหมาย และยอมรับว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นธรรมชาติของผู้ชาย คือมันแสดงว่าถึงแม้เราจะยอมรับระบบผัวเดียวเมียเดียวมาตั้งแต่ปี 2478 แต่มันก็ไม่ได้จริงจังกับวัตรปฏิบัติจริง เราเพียงแค่ไม่จดทะเบียนซ้อนเท่านั้น” ศ.ดร.สุวรรณา ระบุ

ข้อมูลน่าสนใจอีกอย่างคือ ศ.ดร.สุวรรณาบอกว่า ระบบผัวเดียวเมียเดียวในสังคมไทยได้รับการสนับสนุนโดยชน

ชั้นกลางที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ตรงข้ามกับชนชั้นสูง และชนชั้นล่างที่นิยมอยู่นอกระบบผัวเดียวเมียเดียว

“ต้องเข้าใจว่าชนชั้นกลางมีลักษณะอย่างหนึ่งคือทรัพย์สมบัติมีจำกัด ถ้ามีเมียเยอะ จะแบ่งสมบัติไม่ได้ ไม่พอ แต่ถ้าเป็นชนชั้นสูง เขาสบายมากเพราะเขารวย แจกจ่ายได้ไม่กระทบกระเทือน ส่วนชนชั้นล่าง เขามีสมบัติน้อยมากจนผลกระทบของการมีเซ็กส์นอกสมรส หรือการมีเมียน้อยมันไม่ค่อยมี ผลกระทบต่อทรัพย์สมบัติ” ศ.ดร.สุวรรณาอธิบาย

ส่วนกรณีของทัศนะของหญิงไทย ศ.ดร.สุวรรณาเองก็บอกว่างานวิจัยดังกล่าวได้มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้หญิง ซึ่งจำนวนหนึ่งยอมรับว่าให้ผู้ชายหรือสามีไปซื้อบริการทางเพศ ดีกว่าจะไปมีเมียน้อย เพราะการมีเมียน้อยจะส่งผลกระทบมากในความสัมพันธ์ของครอบครัว แต่การเที่ยวบริการ คือการจ่ายเงินแล้วก็จบอยู่ที่ตรงนั้น

แต่ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้หญิงมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ผู้หญิงมีสิทธิ มีปากมีเสียง ก็พบว่ามีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยมีทัศนคติว่า “ในเมื่อเธอทำได้ ฉันก็ทำได้” และผู้หญิงจำนวนหนึ่งก็เลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสเหมือนกับผู้ชายเช่นกัน ศ.ดร.สุวรรณากล่าวทิ้งท้าย

เมื่อรักไม่ได้มีเพียงสอง แต่มีบุคคลที่สามเข้ามายุ่งเกี่ยวกับครอบครัว ทำให้สุดท้ายใครหลายคนเลือกจบปัญหาดังกล่าวด้วยการ “จ้างทนายฟ้องชู้” เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทน ประเด็นนี้จึงนำมาสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับการฟ้องชู้ว่ามีรายละเอียดข้อกฎหมายอย่างไร? มีขั้นตอนอย่างไร? ต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้าง? Legardy สรุปมาให้ทราบกัน ใครอยากจ้างทนายฟ้องชู้ต้องอ่าน!

จ้างทนายฟ้องชู้ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง?

ก่อนจะเข้าปรึกษาทนายฟ้องชู้ เราต้องเตรียมหลักฐานเบื้องต้นเพื่อให้ทนายสามารถนำสืบประเด็นเรื่องเป็นชู้ได้ โดยหลักฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. หลักฐานเบื้องต้น

หลักฐานทั่วไปที่ต้องใช้ประกอบการร่างฟ้อง และกำหนดค่าทดแทน เช่น สำเนาใบสำคัญการสมรส สำเนาบัตรประชาชนของผู้ฟ้องคดี ทะเบียนบ้านของผู้ฟ้องคดี สูติบัตรของบุตร กรณีมีบุตรด้วยกัน หลักฐานเกี่ยวกับรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน เป็นต้น

2. หลักฐานเกี่ยวกับการเป็นชู้

พยานหลักฐานที่ใช้ยืนยันต่อศาลว่าคู่สมรสกับชู้มีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกันจริง เช่น

  • รูปการสนทนาระหว่างชู้กับคู่สมรสผ่านแอปพลิเคชัน เช่น Line, Facebook หรือแอปพลิเคชันหาคู่ต่าง ๆ
  • รูปถ่าย วิดีโอ ที่แสดงให้เห็นว่าชู้กับคู่สมรสมีความสัมพันธ์กัน
  • หลักฐานการเดินไปสถานที่ต่าง ๆ ของคู่สมรสกับชู้ เช่น ใบเสร็จค่าที่พักโรงแรมต่าง ๆ
  • หลักฐานการซื้อทรัพย์สินให้กันระหว่างชู้กับคู่สมรส เช่น ที่ดิน บ้าน รถ
  • คลิปเสียงการสนทนา
  • สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของเด็ก กรณีที่ชู้และคู่สมรสมีบุตรด้วยกัน
  • รายการเคลื่อนไหวทางบัญชี กรณีที่มีการโอนเงินให้ใช้
  • รูปถ่ายของชู้ในสถานที่ของคู่สมรส หรือรูปถ่ายติดทรัพย์สินของคู่สมรส
  • พยานบุคคลที่รู้เห็นการเป็นชู้

ภรรยาฟ้องชู้-สามีฟ้องชู้ หลักฐานแตกต่างกัน

กรณีภรรยาเป็นคนฟ้องชู้นั้น ต้องเตรียมหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการแสดงตัวเปิดเผย และมีบุคคลอื่น ๆ รับรู้ถึงความสัมพันธ์ทำนองชู้สาว ในขณะที่กรณีสามีเป็นคนฟ้องชู้ ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานที่ต้องแสดงออกโดยเปิดเผยต่อสาธารณะ เพียงมีหลักฐานที่แสดงว่ามีภรรยาและชู้มีความสัมพันธ์กัน แม้จะเป็นในที่ลับก็เพียงพอที่จะฟ้องเรียกเงินทดแทนได้แล้ว ดังนั้นก่อนจะฟ้อง แนะนำปรึกษาทนายฟ้องชู้เพื่อเตรียมหลักฐานให้ถูกต้อง

ข้อกฎหมายเรื่องการฟ้องชู้

การฟ้องชู้เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  • มาตรา 1532 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากัน ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น แต่หากสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการคบชู้ สามีหรือภริยาจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
  • มาตรา 1529 ค่าทดแทนตามมาตรา 1523 และมาตรา 1524 นั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งเดียวหรือแบ่งชำระเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้ ในกรณีที่ผู้จะต้องชำระค่าทดแทนเป็นคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลคำนึงถึงจำนวนทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรสเพราะการหย่านั้นด้วย

กฎหมาย ภรรยา นอก สมรส แต ม บ ตร สาม นอกใจ

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี

ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม

ฟ้องชู้ เรียกค่าทดแทนได้มากแค่ไหน?

กฎหมาย ภรรยา นอก สมรส แต ม บ ตร สาม นอกใจ

หลายคนอาจจะสงสัยว่าฟ้องชู้ได้เงินทดแทนเท่าไร เพราะเคยเห็นข่าวฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้าน ซึ่งค่าทดแทนนั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งเดียวหรือแบ่งชำระเป็นงวดๆ ก็ได้ ซึ่งเรารวบรวมหลักเกณฑ์พอสังเขปที่ศาลนำมาวินิจฉัยกำหนดค่าทดแทนในดคีฟ้องชู้มีดังนี้

  • ฐานะทางสังคม หากคู่สมรสหรือชู้มีฐานะทางสังคมสูง เป็นที่รู้จักกว้างขวาง ก็มีโอกาสที่จะกำหนดค่าทดแทนสูงตามไปด้วย
  • อาชีพ หากคู่สมรสหรือชู้มีอาชีพที่เป็นที่ยอมรับของสังคม การมีชู้ย่อมเป็นเรื่องร้ายแรง เป็นปัจจัยที่ทำให้ศาลกำหนดค่าทดแทนสูง
  • บุตร กรณีที่มีคู่สมรสมีบุตรด้วยกัน ศาลมีโอกาสกำหนดค่าทดแทนสูงกว่าคู่สมรสที่ไม่มีบุตรด้วยกัน เพราะการเป็นชู้ย่อมทำให้บุตรได้รับผลกระทบด้านจิตใจ และขาดการดูแลเอาใจใส่จากฝ่ายที่มีชู้
  • ระยะเวลาแต่งงาน ยิ่งนานค่าทดแทนยิ่งสูง
  • ระยะเวลาที่เป็นชู้ หากเป็นชู้กันระยะเวลาไม่นาน ศาลอาจกำหนดค่าทดแทนต่ำ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวยังไม่มากนัก
  • การฟ้องหย่า หากมีการฟ้องหย่าร่วมด้วย และได้รับส่วนแบ่งทรัพย์สิน ศาลอาจกำหนดค่าทดแทนต่ำ เพราะเห็นว่าฝ่ายโจทก์ได้ทรัพย์สินไปส่วนหนึ่งแล้ว
  • พฤติการณ์สำนึกผิด หากมีการสำนึกผิด และหยุดความสัมพันธ์ทันที ศาลย่อมกำหนดค่าทดแทนให้ต่ำลง

ปรึกษาทนายฟ้องชู้กับ Legardy

ชีวิตคู่พังทลายในพริบตา หลายคนต้องเจ็บปวดหัวใจ เพราะความไม่ซื่อสัตย์ของคู่ชีวิต การฟ้องชู้ จึงเป็นข้อกฎหมายคุ้มครองครัว ที่ช่วยเปลี่ยนความเจ็บช้ำเป็นเงินก้อนได้ ดังนั้นใครที่รู้สึกว่าครอบครัวตนเองมีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหาเรื่องชู้สาว หรือเริ่มระแคะระคายพฤติกรรมของคู่สมรส สามารถปรึกษาทนายฟ้องชู้เบื้องต้นกับ Legardy เรารวบรวมทนายความมืออาชีพ ให้คุณสามารถมีทนายคดีครอบครัวส่วนตัวที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ค้นหาทนายฟ้องชู้ได้แล้ววันนี้ที่ Legardy ตลอด 24 ชม.


คำถามที่พบบ่อย

1. ข้อความแชท สามารถฟ้องชู้ได้ไหม

สามารถนำมาประกอบการดำเนินคดีได้ ทั้งนี้แนะนำปรึกษาทนายฟ้องชู้เพิ่มเติม เพราะหลักฐานฟ้องชายชู้และหญิงชู้แตกต่างกัน

2. ฟ้องชู้ไม่ฟ้องสามีได้ไหม

สามารถฟ้องชู้คนเดียวได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องสามี

3. ฟ้องชู้ต้องฟ้องที่ศาลไหน

การฟ้องชู้ ถือเป็นคดีแพ่ง ต้องพิจารณาคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัว

4. คดีฟ้องชู้มีอายุความกี่ปี

อายุความ 1 ปี โดยนับจากวันที่ผู้เสียหายทราบถึงความสัมพันธ์ทำนองชู้สาว ดังนั้นหากทราบเรื่องแล้ว แนะนำให้รีบรวบรวมหลักฐาน และจ้างทนายฟ้องชู้เพื่อดำเนินการให้เร็วที่สุด ป้องกันคดีขาดอายุความ และศาลอาจถือว่าไม่ติดใจในการที่จะดำเนินคดี

5. ฟ้องชู้ติดคุกได้ไหม

ไม่มีความผิดทางอาญาที่มีโทษจำคุก

6. การฟ้องชู้ ฟ้องได้กี่ครั้ง

หากยังไม่ยุติความสัมพันธ์เชิงชู้สาว สามารถฟ้องได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

7. ฟ้องชู้ใช้เวลากี่เดือน

กระบวนการพิจารณาในศาลชั้นต้นจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน - 1 ปี หากฝ่ายใดไม่พอใจคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ต้องยื่นอุทธรณ์ ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาต่อไป ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี