ประว ต หลวงป ม น ในสมเด จพระญาณส งวร

หอพระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร ตั้งอยู่บริเวณวัดเทวสังฆารามพระอารามหลวง (วัดเหนือ) โดยจังหวัดกาญจนบุรี คณะสงฆ์ และทุกภาคส่วนร่วมกันจัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งมีชาติภูมิเป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี ในโอกาสที่ทรงพระชันษาครบ 8 รอบ 96 ปี และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา การศึกษาอบรม การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา อาคารหอพระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 38 ไร่ ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น รูปทรงไทย ยอดเจดีย์พร้อมศาลาราย 4 ทิศ มีซุ้มประตูเข้า - ออก 4 ด้าน ยอดด้านบนสุดมีลักษณะเป็นรูปฉัตรประจำพระองค์ ภายในอาคารมีการจัดนิทรรศการ ชั้นที่ 1 นิทรรศการแผ่นดินทองผู้ครองธรรม สังฆราชามหาสมณะแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และรอยธรรมนำทางย่างสู่ความเจริญพร้อม ชั้นที่ 2 นิทรรศการพระศาสนกิจ พระกรณียกิจทางศาสนาและสมศักดิ์แห่งอัครสงฆ์ ชั้นที่ 3 นิทรรศการธรรมปฏิปทา วิปัสสนากรรมฐาน พระรูปหล่อพระอุปัชฌาย์ และขั้นที่ 4 เป็นจุดชมทัศนียภาพ

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญทางการคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ มาเป็นลำดับ เป็นเหตุให้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา ประเทศชาติ และประชาชน เป็นเอนกประการ นับได้ว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงเพียบพร้อมด้วยอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ และทรงเป็นครุฐานียบุคคลของชาติ ทั้งในด้านพุทธจักรและอาณาจักร

เมื่อทรงบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ครั้นวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงพ่อวัดเหนือได้พามาฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสนหา จังหวัดนครปฐมและได้เริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดเสนหาในพรรษานั้น อาจารย์ผู้สอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อจึงได้พามาถวายตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ในขณะนั้นยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์) เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เพื่ออยู่ศึกษาต่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงได้รับพระเมตตารับไว้และทรงมอบให้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา(เฉลิม โรจนศิริ ป.ธ.๓ ต่อมาลาสิกขา)ทรงได้รับประทานฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สุวฑฺฒโน ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค เมื่อยังทรงเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวงที่วัดบวรนิเวศวิหาร ขณะนั้นมีการพระราชทานผ้าไตรแก่พระภิกษุสามเณรเปรียญทั้งวัด พระองค์เป็นสามเณรเปรียญรูปเดียวในศกนั้น ที่ได้เข้ารับพระราชทานผ้าไตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประว ต หลวงป ม น ในสมเด จพระญาณส งวร

ทรงอุปสมบท

พ.ศ. ๒๔๗๖ พระชนมายุครบอุปสมบทได้ ทรงกลับไปทรงอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา ตรงกับ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดหรุงเจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ทรงอุปสมบทแล้วจำพรรษาอยูที่วัดเทวสังฆาราม อยู่ ๑ พรรษา แล้วกลับมาทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ (ขณะนั้นยังนับเดือน - เมษายนเป็นต้นปี) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และพระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสราโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อทรงอุปสมบทอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ยังคงเวียนไปสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่อีก ๒ ปี และทรงสอบ เปรียญธรรมเรื่อยมาจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในระหว่างนั้นพระองค์ยังได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤต กับสวามีสัตยานันทปุรี นักพรตชาวอินเดียด้วย

พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) พระพี่เลี้ยงเสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีตามขัตติยราชประเพณี

ประว ต หลวงป ม น ในสมเด จพระญาณส งวร

สมณศักดิ์และตำแหน่งหน้าที่ในการคณะสงฆ์และการพระศาสนา

เมื่อทรงสอบได้เปรียญชั้นสูงแล้ว ก็ทรงรับภาระหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งทางวัดและทางคณะสงฆ์ นับแต่ทรงเป็นครูสอนนักธรรมและบาลี และเมื่อมีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์ เป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลีก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลีสนามหลวง ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีเรื่อยมาจนถึงชั้นประโยค ๙ ต่อจากนั้นได้ทรงรับ ภาระทางการคณะสงฆ์และการพระศาสนา เพิ่มขึ้นเป็นลำดับคือ

พ.ศ. ๒๔๘๔ ทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงเป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงเป็นเลขานุการ ในองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ สมเด็จวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระโศภนคณาภรณ์ ทรงเป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๙๔ ทรงเป็นกรรมการอำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ และเป็นกรรมการแผนกตำราของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม และได้เป็นผู้ร่วมในคณะทูตพิเศษที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ส่งไปร่วมฉลองพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระอัครสาวก ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา พ.ศ. ๒๔๙๖ ทรงเป็นกรรมการตรวจชำระคัมภีร์ฎีกา พ.ศ. ๒๔๙๗ ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทถาวร พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์ พ.ศ. ๒๕๐๑ ทรงเป็นกรรมการคณะธรรมยุต และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนาและมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.) พ.ศ. ๒๕๐๓ ทรงเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุต พ.ศ. ๒๕๐๔ ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค เป็พระอุปัชฌาย์ และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ พ.ศ. ๒๕๐๖ ทรงเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรก ตามพระราชบัญัญติคณะสงฆ์ พ. ศ. ๒๔๐๕ พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวร พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์แรกคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดราชสิทธาราม พ.ศ. ๒๕๑๗ ทรงเป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต พ.ศ. ๒๕๒๘ ทรงเป็นรองประธานกรรมการสังคีติการกสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎกเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. ๒๕๓๑ รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต และทรงเป็นนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ และนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

ประว ต หลวงป ม น ในสมเด จพระญาณส งวร

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกเมื่อวันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๓๕๑ ตรงกับ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต