กรรมการอน ม ต ค าเช าบ านโดนละเม ด

แก๊งบ้านเอื้อฯย้ายเอกสารหนี จ่อฟันอาญาแม้วปล่อยกู้พม่า

เผยแพร่: 27 พ.ค. 2550 22:49 โดย: MGR Online

"แก้วสรร"แฉแก๊งงาบบ้านเอื้ออาทร โยกย้ายเอกสารหนีความผิด เตรียมเรียก"เสี่ยไก่" หลังครบกำหนดคัดค้านกรรมการไต่สวน ด้านคตส.ชุดใหญ่ประชุมวันนี้ เตรียมฟันอาญา "ทักษิณ"ฐานผลประโยชน์ทับซ้อนจากการปล่อยกู้ให้พม่า 4 พันล้าน จับตา ครม.ทั้งคณะอาจโดนยกพวง

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) กล่าวว่า คณะอนุกรรมการตรวจสอบกรณีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ เอ็กซิมแบงก์ ปล่อยเงินกู้แก่ประเทศพม่าจำนวน 4 พันล้านบาท ที่มีนายวิโรจน์ เลาหะพันธ์ กรรมการ คตส. เป็นประธาน จะเสนอให้ที่ประชุมใหญ่ คตส.พิจารณาวันนี้ (28พ.ค.) โดยจะพิจารณาผลการตรวจสอบใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1. การเพิ่มวงเงินปล่อยกู้จาก 3 พันล้านบาท เป็น 4 พันล้านบาท ซึ่งวงเงินที่เพิ่มขึ้นมีลักษณะการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน และ 2. การดำเนินงานที่ประเทศไทยไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร เนื่องจากพม่าสั่งสินค้าจากต่างประเทศแทนที่จะเป็นสินค้าจากไทย เพื่อตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหลาย มาตรา เช่น มาตรา 152 ,157 เป็นต้น ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการ หรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

"การตรวจสอบในชั้นนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า รัฐมนตรีคนอื่นๆ ที่ร่วมประชุมเมื่อวันที่ 18 พ.ค.47 ซึ่งเป็นวันที่ ครม. มีมติให้ดำเนินการโครงการดังกล่าว จะทราบชัดเจนหรือไม่ว่าบริษัทในเครือชินคอร์ปจะได้รับประโยชน์จากเงินจำนวนนั้น เพราะก่อนที่จะมีการนำเรื่องเข้าครม.ในตอนนั้น พ.ต.ท. ทักษิณ ได้เดินทางไปเยือนประเทศพม่าด้วยตัวเอง เพื่อเจรจาให้พม่ากู้เงิน โดยหลังจากนั้นพม่าก็นำเงินไปใช้ประโยชน์ในเรื่องดาวเทียมไอพีสตาร์ ที่มีบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ ในเครือครือชินคอร์ป เป็นเจ้าของ ทำให้ธุรกิจครอบครัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับประโยชน์ จึงทำให้อดีตนายกฯ เข้าข่ายความผิดตามมาตรา152 , 157" แหล่งข่าว คตส.กล่าว

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมใหญ่ คตส. สามารถมีความที่เห็นแย้งได้ ในกรณีเพื่อให้มีการชี้มูลความผิด ครม.ทั้งคณะได้ รวมไปถึงผู้บริหารธสน. นำโดยนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา อดีตประธานกรรมการธนาคารเอ็กซ์ซิมแบงก์ ในขณะนั้นด้วย โดยใช้บรรทัดฐานจากการชี้มูลความผิดในโครงการออกสลากเลขท้าย 2-3 ตัว และการจัดซื้อพันธุ์กล้ายางจำนวน 90 ล้านต้น

นายกล้านรงค์ จันทิก อนุกรรมการสอบสวนคดีเอ็กซิมแบงก์ ในคตส. กล่าวว่า อนุกรรมการจะมีการประชุมนอกรอบกันในก่อนในช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งหากว่ามีความพร้อม ก็จะเอาเข้าที่ประชุมใหญ่ คตส.ในช่วงบ่ายได้ทันที

**แก๊งงาบบ้านเอื้อฯโยกย้ายเอกสาร

นายแก้วสรร อติโพธิ ประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนการทุจริตโครงการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทร เปิดเผยว่า ขณะนี้การสอบสวนของอนุกรรมการ ที่มีการชี้มูลความผิดผู้เกี่ยวข้องไปแล้วสองคดี คือการทุจริตกรณีการอนุมัติโครงการให้กับกลุ่มบริษัท พาสทิญ่า บริษัทรับเหมาก่อสร้างสัญชาติมาเลเซีย ที่ได้โครงการจากการเคหะแห่งชาติไปหลายโครงการ และมีการชี้มูลความผิด นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับผู้บริหารบริษัท พาสทิญ่า รวมทั้งโครงการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทร ร่มเกล้า-บางพลีโดยล่าสุดขณะนี้อนุกรรมการได้ส่งหนังสือไปถึงผู้ถูกชี้มูลความผิดทั้งสองคดีไปแล้ว และระหว่างนี้กำลังรอให้ผู้ถูกชี้มูลความผิด ยื่นคำร้องคัดค้านอนุกรรมการไต่สวนภายใน 15 วันซึ่งหลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการเรียกผู้ชี้มูลความผิด มารับทราบข้อกล่าวหาต่อไป

"เวลานี้พบว่ามีการโยกย้ายเอกสารในการสอบสวนกันแล้ว ก็กำลังสอบอยู่ พยายามจะไม่ให้มีการโยกย้ายกันเกิดขึ้น แต่ไม่ต้องห่วงเรื่องการโยกย้ายทรัพย์สินหรือการหนีออกไปนอกประเทศของผู้บริหารที่เป็นชาวมาเลเซียของ พาสทิญ่า เพราะเวลานี้แค่ชี้มูลรอให้ทุกอย่างเสร็จสิ้นกระบวนการก่อน และเงินที่พาสทิญ่าขนมาก็แค่ 1 ล้านบาทไทย เงินอีกส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ฝ่ายอื่น"นายแก้วสรรกล่าว

แหล่งข่าวจากคณะอนุกรรมการไต่สวนการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ที่มี นายอำนวย ธันธรา เป็นประธาน เตรียมหารือกับที่ประชุม คตส. ถึงข้อกฎหมาย เนื่องจากบริษัทโอบายาซิ หนึ่งในบริษัทร่วมทุนกลุ่มไอทีโอ ซึ่งถูก คตส.ชี้มูความผิดก่อนหน้านี้ อนุกรรมการไต่สวนฯไม่สามารถติดต่อได้ รวมทั้งบริษัทดังกล่าวยังได้อ้างกฎหมายประเทศญี่ปุ่น ที่บัญญัติถึงการคุ้มครองความลับของบริษัท จึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเรื่องนี้ขอความเห็นจากที่ประชุม เพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้

เผยแพร่: 29 ต.ค. 2557 12:56 โดย: MGR Online

ชาวบ้าน 5 จังหวัดยื่นหนังสือ กสม.ขอตรวจสอบคัดค้านร่าง พ.ร.บ.แร่ หลัง ครม.เห็นชอบ ชี้่มิชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดสิทธิ หลังเอกชนทำเหมืองในที่ดินชาวบ้าน แถมข้าราชการออกใบรับรองให้ทำประโยชน์ยกข้ออ้าง ปชช.ครองพื้นป่าจัดการ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้มีการอนุญาตให้สำรวจ สงสัย รมว.อุตฯ เพิ่งนั่งเก้าอี้แต่ทำไมอนุมัติเร็ว มีก๊วนการเมืองแฝงหรือไม่ ชี้กฎหมายใหม่ทำให้อนุมัติยิ่งง่าย ด้าน “หมอนิรันดร์” ส่งคนแจ้งความหลังพบใบปลิวกุจ้างคนมาก่อม็อบ

วันนี้ (29 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อเวลา 09.00 น. ตัวแทนชาวบ้าน 5 จังหวัดประกอบด้วย พิจิตร พิษณุโลก สระบุรี ลพบุรี และเพชรบูรณ์ ประมาณ 50 คน นำโดยนางวันเพ็ญ พรหมรังสรรค์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผ่าน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิ เพื่อขอให้ตรวจสอบคัดค้านร่าง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2557 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 ต.ค. เนื่องจากเห็นว่าไม่ชอบด้วยหลักกฎหมาย ละเมิดสิทธิของประชาชน

โดยนางวันเพ็ญกล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านใน 5 จังหวัด เดือดร้อนจากการที่บริษัท อัคราไมนิ่ง หรืออัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เข้าทำการสำรวจพื้นที่เพื่อทำเหมืองแร่ทองคำในที่ดินของชาวบ้าน โดยได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการบางแห่งออกใบรับรองเข้าทำประโยชน์ให้กับบริษัท โดยอ้างว่าที่ดินที่ชาวบ้านครอบครองมาแต่บรรพบุรษนั้นเป็นพื้นที่ป่า และเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้วบริษัทดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรมให้เข้าทำการสำรวจพื้นที่ รวมถึงยังไม่ได้รับประทานบัตรเลย

นางวันเพ็ญยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า รมว.อุตสาหกรรมเพิ่งเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่นาน แต่ทำไมจึงรีบอนุมัติประทานบัตรกับให้บริษัทเอกชนดังกล่าวจำนวนกว่า 100 แปลง เป็นเพราะมีแรงผลักดันจากกลุ่มการเมืองบางกลุ่มหรือไม่ เนื่องจากหากร่าง พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่บังคับใช้ก็จะไม่สามารถย้อนหลังไปเอาผิดกับการสำรวจและการได้รับประทานบัตรที่ไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.แร่ฉบับปัจจุบันได้ อีกทั้งสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ ยังระบุให้การอนุมัติประทานบัตร เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และอบต.แทนรัฐมนตรี ยิ่งจะทำให้การอนุมัติทำได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยขณะนี้ก็พบว่ามีการเคลื่อนไหวของส่วนราชการบางแห่งอย่างผิดปกติ เช่น กรมป่าไม้ประกาศเวนคืนที่ดินของชาวบ้านโดยอ้างว่าที่ดินที่ชาวบ้านครอบครองเป็นพื้นที่ป่าตามมาตรา 4 (1) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่รู้กันของชาวบ้านว่าบริษัทเอกชนต้องการเข้ามาทำการสำรวจสายแร่ ดังนั้นเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการนำไปดำเนินการให้เอกชนประมูลเพื่อเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งต่อไปก็จะทำให้แร่กลายเป็นสิทธิของรัฐร่วมกับบริษัทเอกชนโดยผ่านการประมูล

ด้านนายคำเพลิน บุญธรรม ชาวบ้านหมู่ 9 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร กล่าวว่า ที่ดินของตนเองจำนวน 9 ไร่ซึ่งบรรพบรุษใช้ทำกินมากว่า 40 ปี ปลูกต้นสักและยูคาลิปตัส โดยเสียภาษีบำรุงท้องที่มาตลอด แต่เมื่อปีต้นปี 2557 บริษัทเอกชนกลับใช้รถแมคโครเข้าไถที่ดินทำลายต้นไม้ที่ปลูกและไล่คนงานออกโดยอ้างว่าได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งตนไปร้องเรียนก็อ้างว่าที่ดินตรงนี้เป็นของรัฐ ไม่ใช่ที่ดินของตนเอง

ขณะที่ นพ.นิรันดร์กล่าวว่า การมาร้องเรียนของชาวบ้านครั้งนี้ถือเป็นการแสดงสิทธิในการมีส่วนร่วมในการรักษาทรัพย์สินป่า ลุ่มน้ำ ทะเลชายฝั่ง สินแร่ ที่เป็นของแผ่นดินและเป็นของประชาชน โดยการเสนอนโยบายและกฎหมาย และเป็นการยืนยันว่าสิทธิชุมชนที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 67 มีอยู่จริง ไม่ได้มาเพื่อประท้วง หรือใช้ความรุนแรง และไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อกฎอัยการศึก ทาง กสม.ก็จะได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงต่อไป

“ยืนยันว่าตรงนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง หรือมีความขัดแย้งรุนแรงแต่เกี่ยวกับประโยชน์ของประชาชน ต้องยอมรับว่าทรัพยากรธรรมชาติ ป่า ลุ่มน้ำ สินแร่ ทรัพยากรชายฝั่งไม่ใช่สมบัติของรัฐบาล หรือรัฐมนตรีที่มาเดี๋ยวก็ไป แต่เป็นสมบัติของประชาชน 60 ล้านคน ย่อมต้องมีส่วนร่วมที่จะบอกว่าทองคำที่มีอยู่ที่พิจิตร ลพบุรี เลย เราควรจะจัดการอย่างไร ไม่ใช่ให้เอกชนมาจัดการโดยที่ประชาชนพื้นที่ไม่ได้อะไรเลย” นพ.นิรันดร์ กล่าว

นพ.นิรันดร์ยังกล่าวด้วยว่า ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปแจ้งความในฐานะสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต่อสถานีตำรวจทุ่งสองห้อง เนื่องจากพบว่ามีการเผยแพร่ใบปลิวข้อความและใบเสร็จรับเงินในพื้นที่ จ.ลำปาง ระบุว่า กรรมการสิทธิจ่ายเงินให้กับชาวบ้านตำบลบ้านแหง จ.ลำปาง เป็นค่าประสานงานมวลชนจำนวน 12,000 บาท และค่าเดินทางให้กับชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านแหงใช้เดินทางไปอ.แม่เมาะจำนวน 150 คน เป็นเงิน 75,000 บาท โดยใบเสร็จมีการระบุชื่อบุคคลชัดเจน ซึ่งเมื่อตรวจสอบชื่อดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน กสม.แล้วไม่พบว่ามีชื่อคนดังกล่าว การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการใส่ความทำให้สำนักงานเกิดความเสื่อมเสียชื่อเสีย

“กรณีนี้เป็นเรื่องที่ผมได้ลงไปตรวจสอบเหมืองถ่านหิน ลิกไนต์ และตอนนี้ได้ทำรายงานสรุปเสร็จเตรียมที่จะเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยืนยันว่าการเดินไปตรวจสอบและมีชาวบ้านมาให้ข้อมูล หมอนิรันดร์ ไม่จำเป็นต้องให้เงินชาวบ้านๆ มากันเอง ชาวบ้านมีตังค์ ข่าวดังกล่าวจึงไม่เป็นความจริง เป็นการกุข่าวทำลายความน่าเชื่อถือของ กสม. ยิ่งขณะนี้มีกระแสยุบกสม.ด้วยก็ไม่รู้ว่า เป็นการสร้างกระแสหรือไม่” นพ.นิรันดร์กล่าว