กกต ร างร ฐธรรมน ญ ประชามต ค ม อคนไทย

การรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอคำถามประชามติในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อรัฐบาลชุดใหม่ มีประชาชนเข้าชื่อกว่า 205,739 คน แม้จะมีอุปสรรคจากระเบียบของ กกต. ที่เพิ่งแจ้ง 3 วันก่อนปิดรับรายชื่อว่า ไม่สามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในการเข้าชื่อเสนอคำถามตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ ได้

นี่คือการรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอคำถามประชามติในแคมเปญ "เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%" ที่ภาคประชาชนกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ" เชิญชวนประชาชนเข้าชื่อเพื่อเสนอคำถามสำหรับการทำประชามติต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่กำลังจัดตั้ง

พลันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันที่ 22 ส.ค. ว่ารายชื่อจากประชาชนที่ลงชื่อมาแล้วมากกว่า 40,000 ชื่อ จาก 57,800 รายชื่อในขณะนั้น อาจไม่ถูกนับ เพราะเป็นชื่อที่ลงผ่านทางช่องทางออนไลน์ ทำให้ต้องมีการรวบรวมรายชื่อแบบมีลายเซ็นบนกระดาษให้ได้ 40,000 ชื่อ ภายใน 3 วัน

"นาทีแรก อึดอัด หดหู่ เครียดมาก ตัดสินใจไม่ได้.... แต่เมื่อเริ่มประชุมสิ่งเดียวที่ตัดสินใจได้ คือ บอกประชาชนตรงไปตรงมา ว่ากระบวนการเป็นอย่างนี้" ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผอ.โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนหรือไอลอว์ ภาคีเครือข่ายของกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวกับบีบีซีไทย

หลังจากแจ้งข่าวต่อประชาชน การรวบรวมรายชื่อผ่านกระดาษก็ไหลมาจากทุกสารทิศ ทั้งการไปลงชื่อตามจุดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวม 186 จุด ใน 42 จังหวัด และการที่ประชาชนส่งรายชื่อมาทางไปรษณีย์ ที่จนถึงวันนี้ (28 ส.ค.) ยิ่งชีพ บอกว่าคิดเป็นกว่า 40% ของรายชื่อทั้งหมด

"พอมันยาก มันเห็นพลังมหาศาล อย่างไม่คาดคิด... พอมันไม่ได้ ทุกคนโกรธ ทุกคนทำมากกว่านั้น แม้จะใช้พลังคนเยอะมาก แต่ทำให้รัฐธรรมนูญใหม่มันเข้าไปอยู่ในเนื้อตัวร่างกายของคนจำนวนมาก มันเป็นการพิสูจน์ความยากที่ทำให้เราเห็นว่าประชาชนไทยเอาจริงเอาจังแค่ไหน" ยิ่งชีพกล่าว

ต่อไปนี้คือเบื้องหลังการเข้าชื่อเพื่อเสนอคำถามประชามติ อันเป็นกระบวนการที่ถือเป็นการ "นับ 1" การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กว่าที่ประชาชนจะรวมตัวแก้รัฐธรรมนูญได้ มีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง

กกต ร างร ฐธรรมน ญ ประชามต ค ม อคนไทย

ที่มาของภาพ, iLaw

คำบรรยายภาพ,

เอกสารการลงชื่อที่ถูกส่งทางไปรษณีย์ คิดเป็นกว่า 40%

การเข้าชื่อของประชาชนครั้งแรก ภายใต้ พ.ร.บ. ออกเสียงประชามติ

ยิ่งชีพ เท้าความถึงการเข้าชื่อเสนอคำถามประชามติว่า ไม่เคยมีใครทำมาก่อนในประเทศไทย เพราะพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ออกมาเมื่อปลายปี 2564 กำหนดให้ กกต. เป็นผู้รับผิดชอบ

หลังจากนั้น กกต. ก็ประกาศใช้ "ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2565" ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยที่ก่อนหน้านี้กลุ่มประชาชนที่ชื่อว่า "ภาคีรัฐธรรมนูญ" นำโดยโคทม อารียา เคยส่งจดหมายไปถาม กกต. แล้วว่าการเข้าชื่อออนไลน์ทำได้หรือไม่ ก่อนได้รับการตอบกลับด้วยการคัดลอกข้อความจากประกาศมาแจ้ง ซึ่งอย่างไรก็ดี ประกาศที่ กกต. ส่งให้ ไม่ได้สร้างความเข้าใจถึงแนวปฏฺิบัติที่ชัดเจน

ครั้งนี้ เมื่อกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ เปิดแคมเปญรวบรวมรายชื่อเสนอคำถามประชามติ ยิ่งชีพเปิดเผยว่า ได้มีการโทรศัพท์ไปสอบถาม กกต. โดย กกต. ขอนัดหมายพูดคุย แต่สุดท้ายก็มีการเลื่อนนัดออกไป จนกระทั่งหลังการเปิดให้ประชาชนลงชื่อผ่านไปกว่า 1 สัปดาห์ ซึ่งมีการลงชื่อทั้งแบบกระดาษและทางออนไลน์ กกต. จึงนัดหมายมาอีกครั้ง

ยิ่งชีพเล่าว่า เมื่อกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญประกาศว่า ได้รายชื่อครบกว่า 50,000 ชื่อในวันที่ 22 ส.ค. ทาง กกต. ได้นัดเข้าไปพูดคุยก่อนแจ้งว่า การลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถทำได้

กกต. ชี้แจงต่อกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญว่า การลงชื่อผ่านเว็บไซต์และพิมพ์ออกมาเป็นแบบฟอร์มนำส่งไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก กกต. ไม่อยู่ภายใต้การกำกับของ พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็นองค์กรอิสระ แตกต่างจากการเข้าชื่อเสนอกฎหมายอื่น ๆ ที่สามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้

กกต ร างร ฐธรรมน ญ ประชามต ค ม อคนไทย

ที่มาของภาพ, ilaw

การตีความระเบียบ กกต. กับอุปสรรคในการเข้าชื่อของประชาชน

อย่างไรก็ดี ยิ่งชีพกล่าวว่า การรวบรวมรายชื่อประชาชนไม่เพียงแต่จะต้องเปลี่ยนมาใช้วิธีการลงชื่อบนกระดาษเท่านั้น แต่คำชี้แจงจาก กกต. ระบุว่า ผู้เสนอการเข้าชื่อ ต้องดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารของรายชื่อต่าง ๆ ให้กับ กกต. ด้วย

"ออนไลน์ไม่ได้ ก็เครียดแล้ว แต่ที่เครียดกว่านั้น คือทุกคนต้องลงชื่อในกระดาษ แล้วกระดาษทุกใบต้องสแกนเป็นพีดีเอฟ (ไฟล์ PDF) และต้องกรอกข้อมูลเป็นเอ็กซ์เซล (เอกสาร Excel) เพื่อยื่นข้อมูลเป็นไฟล์ อันนี้เครียดมาก พูดง่าย ๆ คือ กกต. จะไม่ทำอะไรเลย เขาต้องการให้เสิร์ฟเขา เพื่อให้เขาทำงานต่อได้ง่าย" ยิ่งชีพเปิดเผยเบื้องหลัง

ธนิสรา เรืองเดช ผู้ร่วมก่อตั้ง WeVis กลุ่มคนทำงานเทคโนโลยีภาคประชาชน ซึ่งเข้ามาช่วยการทำระบบการลงชื่อเพื่อเสนอคำถามประชามติผ่านเว็บไซต์ https://conforall.com กล่าวด้วยว่า หาก กกต. ต้องการไฟล์เอกสารข้อมูลของผู้ลงชื่อเสนอกฎหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยอยู่แล้ว การลงชื่อผ่านทางออนไลน์หรือการลงลายเซ็นดิจิทัลน่าจะมีเหตุผลที่เหมาะสมกว่าหรือไม่ พร้อมตั้งคำถามว่า งานเอกสารของการกรอกเลขบัตรประชาชน ชื่อ-สกุล ของผู้มีสิทธิเข้าชื่อ "เป็นงานของประชาชนจริงหรือเปล่า"

กกต ร างร ฐธรรมน ญ ประชามต ค ม อคนไทย

ที่มาของภาพ, ilaw

ความแตกต่างของระบบเข้าชื่อออนไลน์ของรัฐสภา

ธนิสรา กล่าวด้วยว่า การตีความของ กกต. ว่าการส่งลายเซ็นดิจิทัลไม่สามารถทำได้ และต้องเปลี่ยนการส่งทั้งหมดมาเป็นกระดาษ พร้อมด้วยไฟล์ดิจิทัล สะท้อนความไม่เข้าใจเรื่องดิจิทัลของหน่วยงาน และแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ กกต. ไม่อยากอำนวยความสะดวกให้ประชาชน จึงทำให้เกิดการตีความที่ทำให้กระบวนการเข้าชื่อทำได้ยากขึ้น

"กกต.เข้าใจเรื่องดิจิทัลจริงหรือเปล่า ทางรัฐสภาก็ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า เราสามารถเข้าชื่อออนไลน์ได้ เราตั้งคำถามกับ กกต. ว่า คุณอยากจะทันสมัยหรือไม่เข้าใจสิ่งนี้จริง ๆ กันแน่"

ผู้ร่วมก่อตั้ง WeVis ยกตัวอย่างระบบการเข้าชื่อเสนอกฎหมายออนไลน์ของรัฐสภา หรือ e-initiative ซึ่งจัดทำขึ้นหลังจากสภาแก้กฎหมายการเข้าชื่อของประชาชน ระบบดังกล่าวเปิดให้ประชาชนร่วมเข้าชื่อด้วยการลงทะเบียน ก่อนยื่นเอกสารเป็นไฟล์ดิจิทัล ซึ่งสามารถลงลายมือชื่อได้ในแบบดิจิทัลที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลไปใช้ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องยุ่งกับกระดาษ ขณะเดียวกัน สภาก็มีระบบที่เปิดช่องทางการลงชื่อแบบกระดาษเอาไว้ด้วยอยู่แล้ว

ด้านยิ่งชีพ แสดงความคิดเห็นว่า ปัญหาจากการเข้าชื่อครั้งนี้จะถูกนำไปทบทวนและถอดบทเรียนปรับปรุงเพื่อพัฒนาระบบที่อำนวยความสะดวกในการเข้าชื่อให้กับประชาชนต่อไป

"ผมมีความเชื่อว่ามีความหวังว่าครั้งหน้าจะไม่ยาก เพราะบทเรียนจากครั้งนี้มีปัญหา กกต. ไม่ถึงกับเจตนาร้าย ผมคิดว่าเขาเป็นข้าราชการธรรมดา แค่ข้าราชการที่หวาดกลัว ถ้าสั่งให้ลงออนไลน์ได้ จะกลัวว่ามีการปลอมแปลงไหม เขาแค่หวาดกลัวสิ่งที่เขาต้องรับผิดชอบ" ยิ่งชีพแสดงความเห็น

กกต ร างร ฐธรรมน ญ ประชามต ค ม อคนไทย

ที่มาของภาพ, THAI NEWS PIX

ภารกิจหลังบ้าน

ภารกิจหลังบ้านในการดำเนินการเรื่องเอกสารรายชื่อของประชาชน เริ่มต้นตั้งแต่คืนวันที่ 23 ส.ค. หลังได้รับแจ้งขั้นตอนวิธีการจาก กกต. 1 วัน โดยใช้กำลังคน 7-8 คนต่อวัน

หลังจากปิดรับรายชื่อในวันที่ 25 ส.ค. ยิ่งชีพเปิดเผยว่า ต้องรับอาสาสมัครเข้ามาดำเนินการเรื่องเอกสารวันละ 50 คน เขาแจกแจงว่าหนึ่งคน หากทำงาน 8 ชม. จะจัดทำรายชื่อได้ 800 ชุด เฉลี่ยรวมแล้ววันละประมาณ 60,000 ชุด

“การส่งชื่อจะสมบูรณ์ต้องมีทั้งไฟล์เอ็กซ์เซลที่กรอกข้อมูลทั้งหมด ลายมือชื่อในกระดาษ และไฟล์พีดีเอฟที่สแกนให้เหมือนกัน จัดเป็นชุดเดียวกัน” ธนิสรา กล่าวถึงการจัดทำไฟล์เอกสารที่ กกต.กำหนด ซึ่งอาสาสมัครต้องดำเนินการทั้งหมด 205,739 รายชื่อ

ส่วนความเคลื่อนไหววันนี้ (28 ส.ค.) กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ได้เดินทางไปที่พรรคเพื่อไทย และเสนอข้อเรียกร้องต่อพรรคเพื่อไทยให้รับคำถามประชามติจากประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่ต้องคำนึงถึงขั้นตอนทางธุรการของ กกต.

ด้านนายชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุว่า ข้อคำถามที่ภาคประชาชนเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อคณะรัฐมนตรีมาก แต่จะเป็นไปตามที่ภาคประชาชนเสนอทั้งหมดหรือไม่ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณา แต่ในฐานะพรรคแกนนำ ได้บอกกับพรรคร่วมรัฐบาลแล้วว่าขอใช้นโยบายของพรรคเป็นหลักในการดำเนินงาน