43 ม.9 ต.เขาห นซ อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเช งเทรา

องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (อบต.เขาหินซ้อน)

องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (อบต.เขาหินซ้อน)

เข้าเว็บไซต์

อยูู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมที่พัดปกคลุมประเทศไทย 2 ชนิด คือ มรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งลมนี้เป็นลมที่พัดพาความหนาวเย็นจากประเทศจีนมาสู่ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว อิทธิพลของลมนี้จะทําให้จังหวัดฉะเชิงเทราประสบกับสภาวะอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง กับมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ ซึ่งพัดปกคลุมในช่วงฤดูฝนซึ่งทําให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนทั่วไป

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์และสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม

มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 27.9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.8 องศาเซลเซียส

43 ม.9 ต.เขาห นซ อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเช งเทรา

ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบัน สภาพการใช้ที่ดินตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งสำรวจโดยกลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน (2564) ประกอบด้วย ประเภทการใช้ที่ดินต่างๆ ดังนี้

  1. พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 15,373 ไร่ หรือร้อยละ 14.12 ของพื้นที่ตำบล
  2. พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 66,242 ไร่ หรือร้อยละ 60.85 ของพื้นที่ตำบล ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้ 2.1) พื้นที่นา มีเนื้อที่ 10,589 ไร่ หรือร้อยละ 9.73 ของพื้นที่ตำบล ได้แก่ นาร้าง มีเนื้อที่ 626 ไร่หรือร้อยละ 0.57 นาข้าว มีเนื้อที่ 9,964 ไร่ หรือร้อยละ 9.15 2.2) พืชไร่ มีเนื้อที่ 31,284 ไร่ หรือร้อยละ 28.74 ของพื้นที่ตำบล ได้แก่ ไร่ร้าง ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด 2.3) ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 28,145 ไร่ หรือร้อยละ 25.85 ของพื้นที่ตำบล ได้แก่ ไม้ยืนต้นร้าง/เสื่อมโทรม ไม้ยืนต้นผสม ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ยูคาลิปตัส สัก สะเดา สนประดิพัทธ์ กระถิน ไผ่ปลูกเพื่อการค้า 2.4) ไม้ผล มีเนื้อที่ 3,049 ไร่ หรือร้อยละ 2.80 ของพื้นที่ตำบล ได้แก่ ไม้ผลร้าง/เสื่อมโทรม ไม้ผลผสม มะพร้าว มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ กล้วย ลำไย มะละกอ ขนุน มะนาว แก้วมังกร ส้มโอ มะปราง/มะยงชิด 2.5) พืชสวน มีเนื้อที่ 282 ไร่ หรือร้อยละ 0.26 ของพื้นที่ตำบล ได้แก่ พืชผัก และเห็ด 2.6) ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่ 2,745 ไร่ หรือร้อยละ 2.52 ของพื้นที่ตำบล ได้แก่ โรงเรือนร้าง ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โรงเรือนเลี้ยงโค-กระบือ และม้า โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก และโรงเรือนเลี้ยงสุกร 2.7) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีเนื้อที่ 581 ไร่ หรือร้อยละ 0.53 ของพื้นที่ตำบล ได้แก่ สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร้าง สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผสม สถานที่เพาะเลี้ยงปลา และสถานที่เพาะเลี้ยงกุ้ง 2.8) เกษตรผสมผสาน มีเนื้อที่ 157 ไร่ หรือ ร้อยละ 0.14 ของพื้นที่ตำบล ได้แก่ เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม
  3. พื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ 1,155 ไร่ หรือร้อยละ 1.06 ของพื้นที่ตำบล ประกอบด้วย ป่าผลัดใบสมบูรณ์
  4. พื้นที่แหล่งน้ำ มีเนื้อที่ 2,225 ไร่ หรือร้อยละ 2.04 ของพื้นที่ตำบล ประกอบด้วย แม่น้ำ ลำห้วย ลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และบ่อน้ำในไร่นา
  5. พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 13,285 ไร่ หรือร้อยละ 12.20 ของพื้นที่ตำบล ประกอบด้วย ทุ่งหญ้าธรรมชาติ ทุ่งหญ้าสลับไม้พุ่ม/ไม้ละเมาะ พื้นที่ลุ่ม เหมืองเก่า/บ่อขุดเก่า บ่อลูกรัง บ่อดิน พื้นที่หินโผล่ พื้นที่ถม และที่ทิ้งขยะ

สภาพเศรษฐกิจและสังคม สภาพสังคมโดยทั่วไป

  1. ประชากร ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน โดยแบ่งออกเป็นเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหินซ้อนจำนวน 14 หมู่บ้าน โดยมีหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 10 รวมอยู่บางส่วน และเขตเทศบาลตำบลเขาหินซ้อน โดยมีพื้นที่ในหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 10 บางส่วน จากหลักฐานทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2562 พบว่า ประชากรที่อาศัยในพื้นที่ตำบล เขาหินซ้อนมีประชากรรวม 16,071 ราย จำแนกเป็นชาย 7,942 ราย หญิง 8,129 ราย โดยประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 41-60 ปี มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 6,314 ครัวเรือน (กรมการปกครอง, 2562) เป็นครัวเรือนเกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนกรมส่งเสริมการเกษตร 1,102 ครัวเรือน หรือร้อยละ 17.45 เป็นครัวเรือนที่ประกอบอาชีพอื่นๆ และครัวเรือนเกษตรกรที่ไม่ได้มาขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 5,212 ครัวเรือน หรือ ร้อยละ 82.55 (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2562)
  1. สภาพทั่วไป ตำบลเขาหินซ้อนแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ส่วน ดังนี้
  1. เขตการปกครองเทศบาลตำบลเขาหินซ้อน ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของจังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากจังหวัดฉะเชิงเทราประมาณ 57 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 12.59 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ในหมู่ที่ 2 บางส่วน หมู่ที่ 9 บางส่วน และหมู่ที่ 10 บางส่วน โดยมีทิศเหนือติดกับหมู่ที่ 7 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนม-สารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศใต้ติดกับหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศตะวันออกติดกับตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ ตำบลหนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี และทิศตะวันตกติดกับหมู่ที่1 และหมู่ที่ 8 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเสนทางคมนาคมสายหลักเชื่อมตัวชุมชนกับอำเภอพนมสารคามและจังหวัดใกลเคียง มีถนนเชื่อมต่อกันระหว่างหมูบ้าน การคมนาคมใชทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (ฉะเชิงเทรา-กบินทรบุรี) เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักเชื่อมตัวชุมชนกับอำเภอพนมสารคาม ทางทิศตะวันตก และเชื่อมตออำเภอศรีมโหสถ อำเภอกบินทรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้มีถนน รพช.ฉช. ๑๑๐๔๑ (บ้านเขาหน้ามอด-บ้านชะนิเอื้อย) ถนน รพช.ฉช.๑๒๐๐๒ (เขาหินซอน-ห้วยสําโรงเหนือ) และถนนอีกหลายสาย ที่ใช้เป็นเสนทางคมนาคมเชื่อมต่อกันระหว่างหมูบ้าน (เทศบาลตำบลเขาหินซ้อน, 2559)
  2. เขตการปกครององค์การบริหารส่วนตำบลเขาหินซ้อน ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของจังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากจังหวัดฉะเชิงเทราประมาณ 57 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 176.60 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 14 ซึ่งมีหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 10 รวมอยู่ด้วยบางส่วน มีทิศเหนือติดกับอำเภอโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ทิศใต้ติดกับตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศตะวันออกติดกับตำบลคู้ยายหมี ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา และทิศตะวันตกติดกับตำบลบ้านซ่อง ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเส้นทางคมนาคมสายหลักติดกับท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง คือ ถนนทางหลวงหมายเลข 304 (พนมสารคาม-ฉะเชิงเทรา) ถนนทางหลวงหมายเลข 311 (พนสมสารคาม-กบินทร์บุรี) ถนนทางหลวงหมายเลข 3245 (พนมสารคาม-สนามชัยเขต) โดยส่วนมากจะใช้ฉะเชิงเทรา-นครราชสีมาเป็นหลัก และถนนสายพนมสารคาม-ปราจีนบุรี ใช้ติดต่อหมู่บ้านต่างๆ (องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหินซ้อน, 2559)
  1. แหล่งน้ำใช้ในครัวเรือนและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ตำบลเขาหินซ้อนมีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคภายในครัวเรือนจากห้วยน้ำโจน คลองระบม คลองหนองปูน คลองหนองเหียง น้ำประปาในหมู่บ้าน น้ำบาดาล น้ำบ่อ และน้ำประปาส่วนส่วนภูมิภาค ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน (องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหินซ้อน, 2559)
  1. สถาบันการศึกษา มีโรงเรียนในสังกัดรัฐบาลดังนี้ โรงเรียนระดับประถมศึกษา 11 แห่ง โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง วิทยาลัยอาชีวศึกษา 1 แห่ง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลเขาหินซ้อน (กศน.) 1 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง
  1. โครงสร้างพื้นฐาน/บริการสาธารณะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 3 แห่ง สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง สำนักงานเทศบาล 1 แห่ง มีวัด (มหานิกาย) 12 แห่ง
  1. สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ตำบลเขาหินซ้อนมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตรที่ได้แบ่งพื้นที่เพื่อสาธิตและทดลองงานต่างๆ ได้แก่ งานพัฒนาที่ดิน งานวิชาการเกษตร งานปศุสัตว์ งานประมง งานส่งเสริมสหกรณ์ งานพัฒนาชุมชน งานสวนพฤกษศาสตร์ งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร นอกจากนี้ยังมีสวนปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ทุกคนสามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  1. เกษตรกรต้นแบบและหมอดินอาสา ตำบลเขาหินซ้อนเป็นพื้นที่ขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีเกษตรกรต้นแบบได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านต่างๆ และมีหมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน

7.1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ, 2564)

  1. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านเกษตรผสมผสาน และการเลี้ยงแพะนม นายสบัน ทะนวนรัมย์ บ้านเลขที่ 163/2 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  2. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านเกษตรผสมผสาน นางสมคิด เพ็งบุปผา บ้านเลขที่ 39/1 หมู่ที่ 5 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  3. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านการเพาะเห็ดครบวงจร นายประสิทธิ์ เส็งมี บ้านเลขที่ 309 หมู่ที่ 11 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  4. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านเกษตรผสมผสาน นายทิม คณะเสน บ้านเลขที่ 33/4 หมู่ที่ 13 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  5. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ นายกำพลศักดิ์ พึ่งมา บ้านเลขที่ 310 หมู่ที่ 13 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  6. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ นายอภิชิต บุญอากาศ บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 14 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

7.2) เกษตรกรต้นแบบ (ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ, 2564)

  1. นางเกสร ผึ้งจินดา เกษตรกรต้นแบบด้านเกษตรผสมผสาน บ้านเลขที่ 73/4 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  2. นางสาวกุหลาบ ทับบรรจง เกษตรกรต้นแบบด้านเกษตรผสมผสาน บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  3. นายสำราญ พุดขุนทด เกษตรกรต้นแบบด้านการปลูกผักอินทรีย์ บ้านเลขที่ 429/2 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  4. นางวิเชียร ปรามพาล เกษตรกรต้นแบบด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านเลขที่ 916 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  5. นายบุญชู เครืออ้น เกษตรกรต้นแบบด้านการปลูกข้าวอินทรีย์ บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 6 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  6. นางสุทิน บุญยรักษ์ เกษตรกรต้นแบบด้านการทำไม้กวาดทางมะพร้าว บ้านเลขที่ 85 หมู่ที่ 9 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  7. นายบัญชา แก้วรัมย์ เกษตรกรต้นแบบด้านการผลิตมะม่วงส่งออก บ้านเลขที่ 66/1 หมู่ที่ 14 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  8. นางละม่อม บุตดีวงศ์ เกษตรกรต้นแบบด้านการทำไม้กวาดดอกหญ้า บ้านเลขที่ 281 หมู่ที่ 14 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
  9. นางชนิดา พ่วงสุข เกษตรกรต้นแบบด้านการปักเลื่อมเสื้อผ้า บ้านเลขที่ 279 หมู่ที่ 14 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

7.3) หมอดินอาสา (สถานีพัฒนาที่ดิน จังหวัดฉะเชิงเทรา, 2563) หมอดินอาสาในตำบลเขาหินซ้อนมีดังนี้

  1. นางนุกูล ถนัดจินดารัตน์ หมอดินอาสาระดับตำบลและหมู่บ้าน หมู่ที่ 8
  2. นายกำพล กันดี หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 1
  3. นายปิยะพงษ์ ถาวร หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 2
  4. นายประสิทธิ์ อินทลักษณ์ หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 3
  5. นายวินัย เกตุสุวรรณ์ หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 4
  6. นายสมปอง จันทวงษ์ หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 5
  7. นางทองมา เครืออ้น หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 6
  8. นางนุกูล พนมสังข์ หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 7
  9. นางพรพิมล ศรีพัฒโนทัย หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 9
  10. นายอนันต์ เหลี่ยมวงศ์ หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 10
  11. นางแหมว อ่อนฤทธิ์ หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 11
  12. นางสาวกัลญาณี กวางทอง หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 12
  13. นายสำเนาว์ พึ่งมา หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 13
  14. นายสายัน ผาวันดี หมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 14
  1. การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2562 ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ถือครองที่ดินตามที่ตั้งแปลงของครัวเรือนเกษตรกรที่แจ้งปรับปรุงกิจกรรมการเกษตรในแต่ละปีของตำบลเขาหินซ้อน พบว่ามีครัวเรือนเกษตรกรจำนวน 772 ครัวเรือน พื้นที่ถือครอง 16,859 ไร่ หรือพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 18.94 ไร่ต่อครัวเรือน โดยลักษณะการถือครองที่ดินของเกษตรกรจะมีทั้งเป็นเจ้าของพื้นที่เอง เช่า และพื้นที่สาธารณะประโยชน์หรือทำฟรี (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2562)

  1. ลักษณะทางเศรษฐกิจ ตำบลเขาหินซ้อนแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ส่วน ดังนี้ – สภาพเศรษฐกิจของเขตการปกครองเทศบาลตำบลเขาหินซ้อน ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รองลงมาเป็นอาชีพค้าขาย อาชีพอื่นๆ พนักงานบริษัท การเกษตร พนักงานรับราชการและรัฐวิสาหกิจ และธุรกิจส่วนตัว ตามลำดับ (กรมการพัฒนาชุมชน, 2562) ด้านอาชีพการเกษตรของเทศบาลตำบลเขาหินซ้อนมีการเพาะปลูกมันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสภาพพื้นที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกและมีแหล่งรับซื้อภายในตำบล นอกจากนี้ยังมีการทำสวนผลไม้ การปลูกข้าว และการเลี้ยงสัตว์

– สภาพเศรษฐกิจของเขตการปกครององค์การบริการส่วนตำบลเขาหินซ้อน ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รองลงมาเป็นอาชีพการเกษตร ค้าขาย พนักงานบริษัท อาชีพอื่นๆ ธุรกิจส่วนตัว และพนักงานรับราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามลำดับ (กรมการพัฒนาชุมชน, 2562) โดยตำบลเขาหินซ้อนมีสภาพพื้นที่เหมาะกับการทำการเกษตร ซึ่งจะอาศัยแหล่งน้ำจากลำห้วยสาขาคลองระบม คลองสียัด อ่างเก็บน้ำต่างๆ และแหล่งน้ำธรรมชาติ สำหรับการเกษตรเป็นหลัก ประชากรส่วนใหญ่จะปลูกมันสำปะหลังซึ่งเป็นพืชที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรสูงสุด รองลงมาเป็นการทำนาหว่าน สวนผลไม้ การปลูกถั่วเหลือง และการเลี้ยงสัตว์

9.1) การประกอบอาชีพ จากข้อมูลกรมการพัฒนาชุมชน (จปฐ.) ปี 2562 พบว่า รายได้เฉลี่ยของประชากรในตำบล เขาหินซ้อน มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 299,844.92 บาทต่อปี รายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ย 184,933.34 บาทต่อปี รายได้บุคคลเฉลี่ย 105,991.08 บาทต่อปี รายจ่ายบุคคลเฉลี่ย 60,028.81 บาทต่อปี โดยรายได้ครัวเรือนจะมากกว่ารายจ่ายครัวเรือนปีละ 114,911.58 บาท และรายได้บุคคลมากกว่ารายจ่ายบุคคลปีละ 45,962.27บาท (กรมการพัฒนาชุมชน, 2562)