42 ม.4 โรงงานเหล กกร งเทพ จำก ด

“ฉุยฟง” ไร่ชาอินทรีย์ จ.เชียงราย ต่อยอดธุรกิจ ตามรอยละครฮิต (ชมคลิป)

เผยแพร่: 22 ส.ค. 2556 09:47 โดย: MGR Online

หลัง “สุบิน วนัสพิทักษกุล” ทายาทรุ่น 2 แห่งไร่ชา “ฉุยฟง” ผู้ผลิตชารายใหญ่อันดับต้นๆ ของ จ.เชียงราย เข้ามารับช่วงจากรุ่นพ่อ ได้ต่อยอดธุรกิจด้วยการปรับวิธีเพาะปลูกสู่เกษตรอินทรีย์ พร้อมเชื่อมโยงไร่ชาเข้ากับการท่องเที่ยว ก่อประโยชน์ทั้งแง่สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสริมให้ธุรกิจแข็งแรงโดดเด่นยิ่งขึ้น สุบินเล่าว่า คุณพ่อ (ทวี วนัสพิทักษกุล) บุกเบิกปลูกชาที่ดอยพญาไพร ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ตั้งแต่เกือบ 40 ปีที่แล้ว มีจุดเด่นเป็นชาสูตรโบราณจากเมืองจีนแท้ๆ ประกอบกับพื้นที่เพาะปลูกอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,000 เมตร อากาศเย็นตลอดทั้งปีจึงปลูกชาได้คุณภาพเยี่ยมเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างสูง โดยเฉพาะในช่วง 10 กว่าปีให้หลังที่ธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียวในเมืองไทยเติบโตอย่างยิ่ง ส่งให้กิจการของไร่ชาฉุยฟงเติบโตตามไปด้วย จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ที่ อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.แม่จัน จ.เชียงราย รวมกว่า 1,200 ไร่ ส่วนตัวแล้ว ทายาทวัย 33 ปีคลุกคลีเรียนรู้และช่วยงานในไร่มาตั้งแต่เกิด กระทั่ง ประมาณ 3-4 ปีที่แล้วเข้ามารับช่วงดูแลกิจการต่อจากพ่อเต็มตัว โดยสิ่งสำคัญพยายามปรับกระบวนการผลิตเป็นเกษตรอินทรีย์ 100% หวังเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ หนีจากการแข่งขันจากชานำเข้า โดยเฉพาะจากจีน อีกทั้งตอบความต้องการของผู้บริโภคยุคนี้ที่ใส่ใจสุขภาพเพิ่มขึ้น

สุบินกล่าวถ่อมตัวว่า จริงๆ แล้วแนวคิดดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ส่วนตนเพียงเข้ามาสานต่อเท่านั้น โดยได้รับการสนับสนุนความรู้ และปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตจากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น เช่น กรมการปกครอง โดย อ.แม่ฟ้าหลวง เป็นต้น เน้นปรับพฤติกรรมเกษตรกรในเครือข่ายให้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำเกษตรอินทรีย์ “การปลูกแบบธรรมชาติจะให้ผลดีกว่าใช้สารเคมี แต่ก็ได้ผลช้า ดังนั้นที่ผ่านมาเราจะทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ทยอยลดสารเคมีลง ควบคู่กับทำความเข้าใจต่อเกษตรของเราว่าการปลูกออร์แกนิกจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่ราคาสูงกว่า และดีต่อสุขภาพของคนในท้องถิ่น และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นเราด้วย ซึ่งจะทำให้เราสามารถทำอาชีพนี้ได้อย่างยั่งยืน” เจ้าของธุรกิจเล่าเสริม คำว่า “ฉุยฟง” ในภาษาจีน หมายถึง “ภูเขาที่เขียวชอุ่ม” จุดเด่นของไร่แห่งนี้อยู่ที่การปลูกแบบขั้นบันได โดยเฉพาะพื้นที่รอยต่อตรง อ.แม่จัน กับ อ.แม่ฟ้าหลวงมีทัศนียภาพสวยงามอย่างยิ่ง นำมาสู่แนวคิดต่อยอดธุรกิจ เชื่อมโยงไร่ชาเข้ากับการท่องเที่ยว สุบินอธิบายเสริมว่า ได้แนวคิดจากการไปดูงานในต่างประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมา โฆษณา และละครโทรทัศน์มักมาขอใช้สถานที่ถ่ายทำจำนวนมาก ก่อให้เกิดกระแสนักท่องเที่ยวอยากมาตามรอยละครดัง จึงเริ่มพัฒนาไร่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยให้เข้าชมฟรี มีมุมสวยๆ ไว้ให้ถ่ายภาพ รวมถึงมีธุรกิจร้านชา ร้านอาหาร และห้องพักที่เตรียมไว้บริการ ตลอดจนขายผลิตภัณฑ์ชา ของที่ระลึก และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากชานานาชนิด ช่วยสร้างรายได้ และสร้างชื่อให้ไร่ชาฉุยฟงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย “เราเพิ่งจะเปิดตัวไม่นาน ทว่าผลตอบรับดีมาก คนมาเที่ยวเยอะเพราะอยากจะมาถ่ายภาพตามละครที่เขาชื่นชอบ ประกอบกับกระแสรักสุขภาพ ทำให้นักท่องเที่ยวอยากจะมาดื่มชา และพักผ่อนในทัศนียภาพที่สวยงาม” ทายาทธุรกิจกล่าว ปัจจุบันไร่ชาฉุยฟงมีคนงานประมาณร้อยกว่าคน กำลังผลิตชากว่า 40-50 ตันต่อเดือน มาตรฐานผลิตระดับสากล ผลิตภัณฑ์กว่า 50% ขายส่งให้โรงงานผลิตเครื่องดื่มน้ำชาเขียวยักษ์ใหญ่เกือบครบทุกยี่ห้อ อีกทั้งส่งออกต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนั้นมีขายปลีกภายใต้แบรนด์ตัวเองผ่านหน้าร้านตามห้างสรรพสินค้า และงานสินค้าชุมชนต่างๆ สุบินกล่าวในตอนท้ายเชื่อว่าตลาดชาเขียวในเมืองไทยยังเติบโตได้อีกมากตามกระแสใส่ใจสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับการนำเกษตรอินทรีย์มาเพิ่มมูลค่า เสริมด้วยการทำตลาดผ่านการท่องเที่ยว ช่วยให้ธุรกิจมีฐานลูกค้าที่กว้าง และแข็งแกร่งกว่าที่ผ่านมา

เผยแพร่: 17 พ.ย. 2559 22:42 โดย: MGR Online

ผู้จัดการรายวัน 360 - “เต็ดตรา แพ้ค” สบช่องการบริโภคเครื่องดื่ม 7 หมื่นล้านลิตรต่อปีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทุ่มทุนกว่า 110 ล้านเหรียญสหรัฐ ผุดโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งที่ 4 ในเวียดนาม ต่อจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินเดีย เร่งผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องเครื่องดื่มหลากหลายรูปแบบกว่า 2 หมื่นล้านกล่องต่อปี ตอกย้ำแผนการการลงทุนระยะยาวในเอเชีย

นายไมเคิล ซาการ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และโอเชียเนีย “เต็ดตรา แพ้ค” ผู้นำด้านกระบวนการผลิตและบรรจุอาหารด้วยโซลูชั่นครบวงจรระดับสากล กล่าวว่า “เต็ดตรา แพ้ค” เริ่มต้นธุรกิจในภูมิภาคเอเชียโดยก่อตั้งโรงงานแห่งแรก ณ เมืองโกเทมบะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2514 โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยนวัตกรรมการผลิตและพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค จนปัจจุบันมีการขยายโรงงานเพิ่มในประเทศสิงคโปร์ และอินเดีย ล่าสุดมีการลงทุนครั้งใหญ่ด้วยงบประมาณกว่า 110 ล้านเหรียญสหรัฐในการสร้างโรงงานเป็นแห่งที่ 4 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ถือเป็นการเสริมกำลังและการยกระดับนวัตกรรมด้านการผลิตร่วมกับโรงงานที่มีอยู่แล้วทั้ง 3 แห่งในญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินเดีย เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าทั่วทั้งภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันกับความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนเป็นการสะท้อนความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของบริษัทฯ ในภูมิภาคนี้

นายไมเคิล กล่าวว่า โรงงานแห่งนี้จะสร้างเสร็จและเริ่มต้นการผลิตได้ในไตรมาสแรกของปี 2562 เพื่อเป็นฐานการผลิตสำหรับลูกค้ากลุ่มประเทศอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยมีสมรรถภาพการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับกล่องเครื่องดื่มในหลากหลายรูปแบบกว่า 2 หมื่นล้านกล่องต่อปี รวมถึงกล่องรุ่น “เต็ดตรา บริค® อะเซ็ปติค” ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทยมาตลอดกว่า 30 ปี “การตัดสินใจสำคัญในการลงทุนครั้งนี้ของ “เต็ดตรา แพ้ค” สืบเนื่องมาจากปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มหลากหลายประเภททั่วทั้งกลุ่มประเทศอาเซียน เอเชียใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ คิดเป็นจำนวนกว่า 7 หมื่นล้านลิตรต่อปี โดยคาดว่าจะยังคงมีอัตราเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 5.6% ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2562”

นายไมเคิล กล่าวในตอนท้ายว่า โรงงานประจำภูมิภาคแห่งใหม่นี้จะส่งผลดีต่อธุรกิจของลูกค้าในประเทศไทยของเราหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการซัปพลายวัสดุบรรจุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง การลดระยะเวลาในการรอสินค้า รวมถึงการเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่บรรจุด้วยกล่องของ “เต็ดตรา แพ้ค” มีแนวโน้มที่จะเติบโตในอัตราที่รวดเร็วกว่าผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ เช่น ขวดแก้ว และกระป๋อง ทางด้าน นายเฮนริค เฮาการ์ด กรรมการผู้จัดการ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด และรองประธานด้านบริหารงานขาย ภูมิภาคเอเชีย กลุ่มบริษัท “เต็ดตรา แพ้ค” กล่าวย้ำว่า การมีโรงงานซึ่งมีศักยภาพสูงในระดับนี้ตั้งอยู่ใกล้กับประเทศไทยนับเป็นผลดีอย่างยิ่งที่จะสามารถรองรับความต้องการบริโภคโดยรวม 3.6 พันล้านลิตรต่อปี หรือคิดเป็นปริมาณ 50 ลิตรต่อคนต่อปี ทั้งยังเป็นการเน้นย้ำถึงการลงทุนระยะยาวของ “เต็ดตรา แพ้ค” ในเอเชียอีกด้วย