ประเก นเหลวผน กหน าแปลนอ ณหภ ม ใช งาน-40องศาc to 149องศาc

เทอร์โมมิเตอร์ที่มีหน่วยแบบองศาเซลเซียส (ด้านในวงกลม) และ องศาฟาเรนไฮต์ (ด้านนอกวงกลม) องศาฟาเรนไฮต์นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกาและไลบีเรีย รวมถึงดินแดนใต้อาณัติของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน

ข้อมูลทั่วไประบบการวัดหน่วยจารีตประเพณีของสหรัฐอเมริกาเป็นหน่วยของอุณหภูมิสัญลักษณ์°F ตั้งชื่อตามดาเนียล กาเบรียล ฟาเรนไฮต์การแปลงหน่วย 1 °F ใน ...... มีค่าเท่ากับ ... หน่วยเอสไอ 59(x − 32) °C หน่วยฐานเอสไอ 59(x − 32) + 273.15 K องศาสัมบูรณ์ x + 459.67 °Ra

องศาฟาเรนไฮต์ คือหน่วยมาตรวัดอุณหภูมิชนิดหนึ่ง ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน กาเบรียล ฟาเรนไฮต์ (ค.ศ. 1686-1736) ผู้เสนอระบบมาตรวัดอุณหภูมินี้เมื่อปี ค.ศ.1724 องศาฟาเรนไฮต์เขียนย่อโดยใช้สัญลักษณ์ °F โดยที่ค่าสเกลองศาฟาเรนไฮต์ถััมีจุดอ้างอิงต่ำสุดที่ 0°F เป็นอุณหภูมิจุดเยือกแข็งของ น้ำ น้ำแข็ง และ เกลือแอมโมเนียมคลอไรด์ องศาฟาเรนไฮต์เป็นมาตรวัดอุณหภูมิแรกที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

ในปัจจุบัน องศาฟาเรนต์ไฮต์ใช้จุดแข็งและจุดเดือดของน้ำเป็นจุดอ้างอิง โดยมีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 32°F และ มีจุดเดือดที่ 212°F โดยที่มีระยะห่างระหว่างจุดเยือกแข็งกับจุดเดือดของน้ำคือ 180 องศา ณ ความดันบรรยากาศมาตรฐาน ณ ระดับน้ำทะเล

โดยเมื่อเปรียบเทียบกับองศาเซลเซียส อุณภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 32°F มีค่าเท่ากับ 5/9 (ประมาณ 0.56) ของ 1°C (ซึ่งก็คือ 1 เคลวิน) และที่ระดับอุณหภูมิ -40 °F จะมีค่าเท่ากับ -40 °C

ในปัจจุบัน[แก้]

ฟาเรนไฮต์เป็นมาตรวัดอุณหภูมิอย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา รวมถึงดินแดนใต้อารักขา และประเทศอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วย ประเทศปาเลา, ประเทศสหพันธรัฐไมโครนีเซีย, ประเทศหมู่เกาะมาร์แชล, หมู่เกาะเคย์แมน (ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร) และ ประเทศไลบีเรีย ดินแดนหมู่เกาะที่เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร (UK) จำนวนหนึ่งยังคงใช้องศาฟาเรนไฮต์เคียงข้างเซลเซียส ประกอบด้วย หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน, มอนต์เซอร์รัต, แองกวิลลา และ เบอร์มิวดา ส่วนประเทศแอนติกาและบาร์บูดา และเกาะอื่น ๆ เช่น ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส, ประเทศบาฮามาส และ ประเทศเบลิซ ใช้ทั้งองศาฟาเรนต์ไฮต์และองศาเซลเซียส ประเทศอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมดบนโลกใช้องศาเซลเซียส ซึ่งตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวสวีเดน แอนเดอร์ เซลเซียส

ในอดีต ประเทศสหราชอาณาจักรบริเต็นใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (ประเทศอังกฤษ) มีการใช้มาตรวัดอุณหภูมิ แบบองศาฟาเรนไฮต์ ในหน่วยวัดแบบอังกฤษ ร่วมกับมาตรวัดอื่น ๆ เช่น ไมล์ ปอนด์ แต่ในปัจจุบัน ประเทศอังกฤษได้หันมาใช้หน่วยวัดของระบบเอสไอ (SI) แทน ทำให้ได้มีการเปลี่ยนมาใช้สเกลค่าวัดอุณหภูมิเซลเซียสและเคลวิน แทนองศาฟาเรนไฮต์

ประเก นเหลวผน กหน าแปลนอ ณหภ ม ใช งาน-40องศาc to 149องศาc

ประเทศที่ใช้หน่วยฟาเรนไฮต์

ประเทศที่ใช้ทั้งสองหน่วย

ประเทศที่ใช้หน่วยเซลเซียส

การแปลงหน่วยเป็นมาตรวัดอุณหภูมิอื่น[แก้]

การแปลงหน่วยอุณภูมิระหว่างหน่วยองศาฟาเรนไฮต์ และ องศาเซลเซียส, องศาโรเมอร์, องศาแรงคิน และ เคลวิน:

จาก เป็น สูตร องศาฟาเรนไฮต์ องศาเซลเซียสองศาเซลเซียส องศาฟาเรนไฮต์องศาฟาเรนไฮต์ เคลวินเคลวิน องศาฟาเรนไฮต์องศาฟาเรนไฮต์ องศาแรงกินองศาแรงคิน องศาฟาเรนไฮต์องศาฟาเรนไฮต์ องศาโรเมอร์องศาโรเมอร์ องศาฟาเรนไฮต์

การเปรียบเทียบองศาฟาเรนไฮต์กับมาตรวัดอุณหภูมิอื่น[แก้]

เคลวิน องศาเซลเซียส องศาฟาเรนไฮต์ องศาแรงคิน องศาเดลิเซิล องศานิวตัน องศาโรเมอร์ องศาเรอเมอร์ ศูนย์สัมบูรณ์ 0 −273.15 −459.67 0 559.725 −90.14 −218.52 −135.90 อุณภูมิของน้ำแข็ง น้ำ และ เกลือของฟาเรนไฮต์ 255.37 −17.78 0 459.67 176.67 −5.87 −14.22 −1.83 จุดเยือกแข็งของน้ำ (ณ ระดับน้ำทะเล) 273.15 0 32 491.67 150 0 0 7.5 อุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายมนุษย์ 310.0 36.8 98.2 557.9 94.5 12.21 29.6 26.925 จุดเดือดของน้ำ (ณ ระดับน้ำทะเล) 373.15 100 212 671.67 0 33 80 60 จุดหลอมเหลวของไททาเนียม (ณ ระดับน้ำทะเล) 1941 1668 3034 3494 −2352 550 1334 883 อุณหภูมิของพื้นผิวดวงอาทิตย์ 5800 5526 9980 10440 −8140 1823 4421 2909

ประเก นเหลวผน กหน าแปลนอ ณหภ ม ใช งาน-40องศาc to 149องศาc
เปรียบเทียบระหว่างฟาเรนไฮต์กับอุณหภูมิอื่น ๆ

อ้างอิง[แก้]

  • Robert T. Balmer (2010). Modern Engineering Thermodynamics. Academic Press. p. 9. ISBN 978-0-12-374996-3. สืบค้นเมื่อ 17 July 2011.
  • "Fahrenheit: Facts, History & Conversion Formulas". Live Science. สืบค้นเมื่อ 2018-02-09. http://metricviews.org.uk/2012/10/50-years-of-celsius-weather-forecasts-%E2%80%93-time-to-kill-off-fahrenheit-for-good/