ต วอย างนว ตกรรมภาษาไทย ม.4 การอ านแบบ sq 4 r

ก คํานํา รายงานการพัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นี้ จัดทําขึ้นเพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือก นวัตกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนา การศึกษา ประจําปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 รายงานฉบับนี้สําเร็จได้ด้วยความร่วมมือของข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โรงเรียน บ้านโคกศรีเจริญ ที่ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมจนประสบผลสําเร็จ สามารถนําไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ตลอดจน แก้ไขปัญหาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน ส่งผลให้ครูมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และเกิดกระบวนการ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันกับเพื่อนครู เพื่อร่วมแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกรายวิชาสูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนําผลงานนวัตกรรมเผยแพร่แก่ โรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนประถมศึกษาอื่น และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ขอขอบคุณท่านผู้อํานวยการสถานศึกษา คณะครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนของโรงเรียนบ้าน โคกศรีเจริญ อย่างยิ่ง ที่ร่วมสร้างสรรค์ผลงานการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านโคกศรีเจริญ ให้เป็นที่ยอมรับ ของ บุคคลทั่วไป นายศุภวัฒน์ ทองพา ครูโรงเรียนบ้านโคกศรีเจริญ

ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข แบบรายงานการสร้างนวัตกรรม 1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา 2 เป้าหมายเชิงปริมาณ 2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ 2 กลุ่มเป้าหมาย 3 หลักการ แนวคิด ทฤษฎี 3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการอ่านและการอ่านจับใจความ 9 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวกับการอ่านจับใจความ 9 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวกับการอ่าน 16 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวกับการสอนอ่าน 22 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 24 การออกแบบนวัตกรรม 24 วิธีดำเนินการ 25 ผลการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 29 การเผยแพร่นวัตกรรม 30 ภาคผนวก ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ 32 ชุดแบบฝึก 37 ตารางคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 42 ภาพการดําเนินกิจกรรม 43 บรรณานุกรม 48

1 แบบรายงานการสร้างนวัตกรรม 1. ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2. ชื่อผู้สร้าง ชื่อ นายศุภวัฒน์นามสกุล ทองพา ตําแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านโคกศรีเจริญ เขต/อําเภอภูหลวง จังหวัดเลย โทร 042-039318 มือถือ 085-274-7029 E-mail address [email protected] 3. แนวทางการคิดค้นนวัตกรรม แสวงหานวัตกรรม/แบบอย่างที่ดีจากแหล่งต่างๆ ที่เคยมีผู้สร้างหรือทําไว้แล้ว แล้วนํามาปรับปรุงหรือพัฒนาใหม่ การสร้างนวัตกรรมใหม่ 4. ประเภทของนวัตกรรม การบริหารจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการจัดการศึกษา 5. ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2562 นับเป็นพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติฉบับแรกที่ กล่าวถึงคุณลักษณะและนิสัยด้านการอ่าน โดยตรง โดยในมาตรา 24 วรรค 3 กําหนดให้มีการ “จัดกิจกรรมให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึก ปฏิบัติ ให้ทําได้ คิดเป็น ทําเป็น รักการอ่าน และเกิด การใฝ่รู้อย่าง ต่อเนื่อง” นอกจากนั้นได้กําหนดปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนการอ่านและการเรียนรู้ เช่น มาตรา 7 กล่าว ว่า “กระบวนการเรียนรู้มุ่งให้นักเรียนมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง” มาตรา 23 วรรค 4 เน้นความรู้และทักษะด้านภาษา “เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง” มาตรา 25 กล่าวว่า “รัฐต้อง ส่งเสริมการดําเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบอย่างพอเพียง และมีประสิทธิภาพ” พระราชบัญญัติการศึกษาฉบับนี้นับได้ว่าเป็นรากฐานในการพัฒนาการศึกษายุคใหม่ของ ประเทศ และในด้านการ ส่งเสริมการอ่านยังได้กล่าวถึงคุณลักษณะและนิสัยด้านการอ่านไว้โดยตรง คือ จัดการ เรียนการสอนให้ผู้เรียนมี นิสัยรักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง การอ่านภาษาไทยเป็นทักษะพื้นฐานที่สําคัญต่อการเรียนรู้ ทั้งในการเรียนระดับพื้นฐาน และในระดับสูง ทั้งนี้การเรียนในระดับพื้นฐานจะเน้นในด้านการอ่านการเขียนให้ถูกต้อง มีความแม่นยําในหลักเกณฑ์ภาษา ซึ่งเป็น

2 เรื่องสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งของนักเรียนทุกคน ครูผู้สอนในระดับพื้นฐานจําเป็นต้อง มีความรู้ในเรื่องหลักและ กฎเกณฑ์ทางภาษาไทย อันได้แก่ หลักการสะกดคำ ไตรยางค์ การผันเสียงวรรณยุกต์ คําควบกล้ำ อักษรนํา เป็น ต้น แต่ในปัจจุบันการอ่านภาษาไทยมักจะประสบปัญหา ทําให้กระทบต่อด้านอื่นๆ ด้วยสาเหตุดังกล่าวทําให้ นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ครูผู้สอนใน ระดับพื้นฐานจึงต้องสามารถจัดกระบวนการ เรียนการสอนได้อย่างมีลําดับขั้นตอน จากเรื่องง่ายไปสู่เรื่องยาก ทําให้นักเรียนเรียนรู้ไปตามลําดับอย่างต่อเนื่อง และไม่รู้สึกว่าการเรียนภาษาไทยเป็นเรื่องยาก การศึกษาภาคบังคับจึงจําเป็นต้องพัฒนาการศึกษาในช่วงนี้ให้มั่นคง ดังที่สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงความสําคัญของการอ่านการเขียนภาษาไทยว่า การอ่าน ออกเขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่องและ สื่อสารได้ เป็นพื้นฐานสําคัญสูงสุดอันดับแรกๆของการพัฒนาขีด ความสามารถของผู้เรียนในด้านพื้นฐานของ การจัดการศึกษา มีความจําเป็นต้องให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องตัว อักษรไทย อ่านภาษาไทย เขียนภาษาไทยให้ ถูกต้องชัดเจน จะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และใช้ ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงของการศึกษาของชาติ แต่ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาการศึกษาของครูยังไม่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของ ผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนยังไม่มีวิธีการที่หลากหลายที่จะสามารถ พัฒนา ผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และพัฒนาการด้านการอ่านที่ยังคงเป็นปัญหาที่สําคัญ จึงทําให้การ จัดการเรียนการสอนของเด็กในวัยแรกเริ่ม มีความบกพร่องด้านการอ่านและการเขียน ส่งผลให้กระบวนการเรียนรู้ และความเข้าใจในบทเรียนทุกๆวิชานั้นมีปัญหา ทําให้นักเรียนเบื่อหน่าย ไม่ กระตือรือร้นที่จะเรียน ส่งผลกระทบ ต่อการเรียนรู้ในระดับชั้นสูงๆต่อไป ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ การจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนต้อง วิเคราะห์ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สมรรถนะสําคัญของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการ เรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยมีหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ มีการจัดการเรียนรู้ที่คํานึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองและการจัดการ เรียนรู้ที่เน้น คุณธรรม จริยธรรม นั่นคือนอกจากจะเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถมีทักษะในเนื้อหาที่ เรียนแล้ว ความมี พฤติกรรมดี มีระเบียบวินัย เคารพกฎเกณฑ์ ของสังคม และสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ เป็นอย่างดี ใน กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงย่อม สามารถเกิดปัญหาขึ้นมากมาย โดยเฉพาะจาก ตัวผู้เรียนเอง ครูจึง เป็นบุคคลสําคัญในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็ม ตามศักยภาพของตนเอง ปัญหาที่เกิดขึ้น ในปีการศึกษา 2566 ได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่สอนวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คำสั่งโรงเรียนบ้านโคกศรีเจริญ ที่ 26 /2566 พบว่า หลังจากที่นักเรียนได้มีการ ทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจแล้ว นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านจับใจความได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากนักเรียน ในวัยนี้ส่วนใหญ่เป็นวัยที่ยังต้องมีการค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งที่ตนเองสงสัยทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน รวมถึง การหาคําตอบต้องมีการอ่านและการเขียน แต่เนื่องจากนักเรียนบางส่วนอ่านคําจับใจความไม่ได้จึงไม่สามารถ

3 ตอบคำถามได้ทําให้นักเรียนมีทักษะด้านการอ่านการเขียนน้อยลง และรู้สึกเบื่อหน่ายเมื่อเรียนภาษาไทย ผู้จัดทํา จึงสนใจที่จะแก้ปัญหาการอ่านจับใจความสำคัญ โดยพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้ เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านจับใจความได้มากยิ่งขึ้น 6. วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา 1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน บ้านโคกศรีเจริญ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน บ้านโคกศรีเจริญ เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 17 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโคกศรีเจริญ เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ สูงขึ้น 7. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 17 คน โรงเรียนบ้านโคกศรีเจริญ 8. หลักการ แนวคิด ทฤษฎี 8.1 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 8.2 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน 8.2.1 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวกับการอ่านจับใจความ 8.2.2 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวกับการอ่าน 8.2.3 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวกับการสอนอ่าน 8.2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 8.1 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกําลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่ มี ความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้คุณธรรม มีจิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นใน การ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จําเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญบนพื้นฐานความ เชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กรมวิชาการ,2551:4) หลักการ

4 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีสาระที่สําคัญ ดังนี้ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนดมาตรฐานการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ดังนี้ สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนําไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการ ดําเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน สาระที่ 2 การเขียน มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราว ใน รูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ สาระที่ 3 การฟัง การดูและการพูด มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ความคิดความรู้สึก ใน โอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์ สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลัง ของ ภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษา ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และ นํามาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ตัวชี้วัดชั้นปีชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สาระที่1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนิน ชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 ท 1.1 ป.4/1 อ่านออกเสียง บทร้อยแก้วและ บทร้อยกรองได้ถูกต้อง ท 1.1 ป.4/2 อธิบายความหมายของ คำ ประโยค และสำนวนจากเรื่องที่ อ่าน ท 1.1 ป.4/3 อ่านเรื่องสั้นๆ ตาม เวลาที่กำหนด และตอบคำถามจากเรื่อง ที่อ่าน ท 1.1 ป.4/4 แยกข้อเท็จจริงและ ข้อคิดเห็น การอ่านออกเสียงและการบอกความหมาย ของบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองที่ ประกอบด้วย - คำที่มี ร ล เป็นพยัญชนะต้น - คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ - คำที่มีอักษรนำ - คำประสม

5 จากเรื่องที่อ่าน ท 1.1 ป.4/5 คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่ อ่านโดยระบุเหตุผล ประกอบ ท 1.1 ป.4/6 สรุปความรู้และข้อคิด จากเรื่องที่ อ่าน เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน - อักษรย่อและเครื่องหมายวรรคตอน - ประโยคที่มีสำนวนเป็นคำพังเพย สุภาษิต ปริศนาคำทาย และเครื่องหมายวรรคตอน การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ การอ่านจับใจความจากสื่อต่าง ๆ เช่น - เรื่องสั้น ๆ - เรื่องเล่าจากประสบการณ์ - นิทานชาดก - บทความ - บทโฆษณา - งานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ - ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน - สารคดีและบันเทิงคดี ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ท 1.1 ป.4/7 อ่านหนังสือที่มีคุณค่า ตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น - หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย - หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน ท 1.1 ป.4/8 มีมารยาทในการอ่าน มารยาทในการอ่าน สาระที่2 การเขียน มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบ ต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 ท 2.1 ป.4/1 คัดลายมือตัวบรรจง เต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่ง บรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย

6 ท 2.1 ป.4/2 เขียนสื่อสารโดยใช้คำ ได้ถูกต้องชัดเจน และเหมาะสม การเขียนสื่อสาร เช่น - คำขวัญ - คำแนะนำ ท 2.1 ป.4/3 เขียนแผนภาพโครง เรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้ พัฒนางานเขียน การนำแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพ ความคิดไปพัฒนางานเขียน ท 2.1 ป.4/4 เขียนย่อความจากเรื่อง สั้นๆ การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น นิทาน ความเรียงประเภทต่างๆ ประกาศ จดหมาย คำสอน ท 2.1 ป.4/5 เขียนจดหมายถึงเพื่อน และบิดามารดา การเขียนจดหมายถึงเพื่อนและบิดามารดา ท 2.1 ป.4/6 เขียนบันทึกและเขียน รายงานจากการศึกษาค้นคว้า การเขียนบันทึกและเขียนรายงานจาก การศึกษาค้นคว้า ท 2.1 ป.4/7 เขียนเรื่องตาม จินตนาการ การเขียนเรื่องตามจินตนาการ ท 2.1 ป.4/8 มีมารยาทในการเขียน มารยาทในการเขียน สาระที่3 การฟัง การดูและการพูด มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ความคิด และความรู้สึกใน โอกาสต่าง ๆอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 ท 3.1 ป.4/1 จำแนกข้อเท็จจริงและ ข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู ท 3.1 ป.4/2 พูดสรุปความจากการ ฟังและดู ท 3.1 ป.4/3 พูดแสดงความรู้ความ คิดเห็น และความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง และดู ท 3.1 ป.4/4 ตั้งคำถามและตอบ คำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟังและดู การจำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น จากเรื่อง ที่ฟังและดูในชีวิตประจำวัน การจับใจความ และการพูดแสดงความรู้ ความคิดในเรื่องที่ฟังและดูจากสื่อต่างๆ เช่น - เรื่องเล่า - บทความสั้นๆ - ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน

7 - โฆษณา - สื่ออิเล็กทรอนิกส์ - เรื่องราวจากบทเรียนกลุ่มสาระการ เรียนรู้ ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ท 3.1 ป.4/5 รายงานเรื่องหรือ ประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา การรายงาน เช่น - การพูดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน - การพูดลำดับเหตุการณ์ ท 3.1 ป.4/6 มีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด มารยาทในการฟัง การดูและการพูด สาระที่4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ท 4.1 ป.4/1 สะกดคำและบอก ความหมายของคำในบริบทต่างๆ คำในแม่ก กา มาตราตัวสะกด การผันอักษร คำเป็นคำตาย คำพ้อง ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 ท 4.1 ป.4/2 ระบุชนิดและหน้าที่ของคำ ในประโยค ชนิดของคำ ได้แก่ - คำนาม - คำสรรพนาม - คำกริยา - คำวิเศษณ ท 4.1 ป.4/3 ใช้พจนานุกรมค้นหา ความหมายของคำ การใช้พจนานุกรม ท 4.1 ป.4/4 แต่งประโยคได้ถูกต้องตาม หลักภาษา ประโยคสามัญ - ส่วนประกอบของประโยค - ประโยค 2 ส่วน - ประโยค 3 ส่วน ท 4.1 ป.4/5 แต่งบทร้อยกรองและคำ กลอนสี่

8 ขวัญ คำขวัญ ท 4.1 ป.4/6 บอกความหมายของสำนวน สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต ท 4.1 ป.4/7 เปรียบเทียบภาษาไทย มาตรฐานกับภาษาถิ่นได้ ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาถิ่น สาระที่5 วรรณคดีและวรรณกรรม มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 ท 5.1 ป.4/1 ระบุข้อคิดจากนิทาน พื้นบ้านหรือนิทานคติธรรม ท 5.1 ป.4/2 อธิบายข้อคิดจากการ อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง วรรณคดีและวรรณกรรม เช่น - นิทานพื้นบ้าน - นิทานคติธรรม - เพลงพื้นบ้าน - วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียนและ ตามความสนใจ ท 5.1 ป.4/3 ร้องเพลงพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ท 5.1 ป.4/4 ท่องจำบทอาขยาน ตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มี คุณค่าตามความสนใจ บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า - บทอาขยานตามที่กำหนด - บทร้อยกรองตามความสนใจ

9 8.2 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการอ่านและการอ่านจับใจความ 8.2.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอ่านจับใจความ 1. ความหมายของการอ่านจับใจความ การอ่านจับใจความเป็นวิธีการที่ต้องอาศัยทักษะในการอ่านที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถรับข้อมูล ข่าวสารได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของการอ่านจับใจความไว้ดังนี้หมายของการถ่ อภิรดีเสนาวิน (2555, หน้า 26 ) ให้ความหมายของการอ่านจับใจความว่า หมายถึง การทําความเข้าใจ เนื้อเรื่องที่อ่าน โดยการจับประเด็นสําคัญของเรื่องของที่อ่านให้ได้ว่าใจความสำคัญของเรื่องคืออะไร ผู้เขียน ต้องการเสนอเรื่องหรือแนวคิดใดมายังผู้อ่าน ทั้งนี้ผู้อ่านต้องจับสาระสำคัญของเรื่องได้ว่า ใคร ทําอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร เพราะเหตุใด ตลอดจนเรียงลําดับเหตุการณ์ของเรื่อง และสามารถสรุปเรื่องโดยการเชื่อมโยง ใจความสําคัญของเรื่องได้ แววมยุรา เหมือนนิล (2553, หน้า 12) ได้ให้ความหมายของการจับใจความว่า การอ่านจับใจความคือ การมุ่งค้นหาสาระสําคัญของเรื่อง หรือของหนังสือแต่ละเล่มคืออะไร ซึ่งแบ่งออกได้2 ส่วน ดังนี้ 1. ส่วนที่เป็นใจความสําคัญ 2. ส่วนที่ขยายใจความสําคัญ หรือส่วนประกอบ เพื่อให้เรื่องชัดเจนยิ่งขึ้น ในกรณีที่อ่าน มีย่อหน้าเดียว ในย่อหน้านั้นจะมีใจความสําคัญอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นเป็นส่วนขยายใจความสําคัญหรือส่วนประกอบซึ่งอาจมี หลายประเด็น สิทธิพงศ์สิริวราพงศ์(2550, หน้า 16) ให้ความหมายของการอ่านจับใจความว่า เป็นการอ่านที่ ผู้อ่านต้อง ทําความเข้าใจเนื้อเรื่องและจับสาระสําคัญของเรื่องที่อ่าน ที่ผู้เขียนต้องการเสนอเรื่องใด เรื่องหนึ่งมายังผู้อ่าน โดย มีประเด็นหลัก ประเด็นรอง และสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาที่สําคัญของเรื่องได้ สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์(2545, หน้า 2) ได้ให้ความหมายของการอ่านจับใจความว่าเป็น ความเข้าใจของ คํา กลุ่มคํา ประโยค ข้อความเรื่องราวของสาร ซึ่งผู้อ่านสามารถบอกความหมายได้ สรุปได้ว่า การอ่านจับใจความคือการอ่าน เพื่อมุ่งค้นหาสาระประเด็นที่สําคัญ และทําความเข้าใจกับเนื่อ เรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถสรุปย่อเรื่อง เรียบเรียงเชื่อมโยงเนื้อหาได้และแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่ที่อ่านได้ 2. ความสําคัญของการอ่านจับใจความ กอบกาญจน์วงศ์วิสิทธิ์(2551, หน้า 111) กล่าวถึงความสําคัญของการอ่านจับใจความว่า เป็น ทักษะ เบื้องต้นที่ผู้อ่านจะต้องฝึกฝนตนเองเพื่อให้สามารถจับใจความสําคัญของเรื่องที่อ่านได้เพราะ จะเป็นส่วนสําคัญที่ ทําให้ผู้อ่านทําความเข้าใจกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ ที่ผู้เขียนนําเสนอมายังผู้อ่าน โดยผู้อ่านควรเริ่มต้นค้นหา ข้อคิดสําคัญ ที่ปรากฏในเรื่องให้ได้ก่อน แล้วนําข้อคิดที่ได้เหล่านั้นมาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ใจความสําคัญ

10 ของเรื่องนั้น ๆ ให้ทําความเข้าใจเรื่องราวทั้งหมด ทั้งความหมายของคํา และประโยค และเนื้อหาทั้งหมด ซึ่ง บางครั้งความหมายของคํานั้นๆ อาจมีนัยสําคัญทางความหมาย ดังนั้นผู้อ่านต้องทําความเข้าใจกับบริบทของ เนื้อหาด้วย พัชรา พราหมณี(2549, หน้า 31) กล่าวถึงความสําคัญของการอ่านจับใจความว่า การอ่านจับ ใจความ เป็นทักษะที่จําเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้และพัฒนาชีวิต ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความรู้แล้วยังก่อให้เกิด ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ได้แนวคิดในการดําเนินชีวิต สิทธิพงศ์สิริวราพงศ์(2550, หน้า 15) กล่าวถึงความสําคัญของการอ่านจับใจความว่า เป็น ทักษะการ อ่านที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นอันมาก ถ้าเราจับใจความได้ถูกต้องแม่นยํา จะทําให้อ่าน หนังสือได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยํา และเข้าใจเรื่องที่อ่าน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์มากในด้าน การศึกษาหาความรู้ต่อไป จากความสําคัญของการอ่านจับใจความ สรุปได้ว่าการอ่านจับใจความเป็นทักษะพื้นฐานที่ สําคัญที่จะนํา ให้ผู้อ่านประสบความสําเร็จจากการอ่าน และเป็นทักษะพื้นฐานของการแสวงหาความรู้ เพราะการอ่านจับใจความ เป็นการอ่านที่ฝึกให้ผู้อ่านได้จับประเด็นสําคัญ สาระสําคัญจากเรื่องที่อ่าน ทําความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่เรา อ่านทั้งหมด ทําให้อ่านหนังสือได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจเรื่องที่อ่านและนําความรู้ ข้อคิดที่ได้มาประยุกต์ใช้และพัฒนา ตนให้เกิดประโยชน์ได้ 3. จุดมุ่งหมายของการอ่านจับใจความ มีนักการศึกษาได้กําหนดจุดมุ่งหมายในการสอนอ่านจับใจความไว้ดังนี้ อภิรดี เสนาวิน (2555,หน้า 29) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการอ่านจับใจความไว้ดังนี้ 1. อ่านเพื่อศึกษาแนวคิดสําคัญของเรื่อง 2. อ่านเพื่อบอกรายละเอียดของเรื่องที่อ่านได้ว่า ใคร ทําอะไร ที่ไหน อย่างไร 3. อ่านเพื่อจับใจความสําคัญของเรื่อง 4. อ่านเพื่อบอกลําดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านได้ 5. อ่านเพื่อสรุปความและย่อเรื่องที่อ่านได้ สายสุนีย์ สกุลแก้ว (2534, หน้า 27) ได้แบ่งจุดมุ่งหมายของการอ่านจับใจความออกเป็น 6 ประการ ดังนี้ 1. อ่านเพื่อจับใจความคร่าว ๆ 2. อ่านเพื่อจับใจความสำคัญ 3. อ่านเพื่อสํารวจรายละเอียดและใจความสําคัญโดยทั่ว ๆ ไป ใหม่ 4. อ่านเพื่อความเข้าใจอย่างถ่องแท้ 5.อ่านเพื่อใช้วิจารณญาณติดตามข้อความที่อ่าน 6.อ่านเพื่อการวิเคราะห์ข้อความหรือแนวคิดในเรื่องที่อ่าน สมบัติ มหารศ (2533,หน้า 26) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการอ่านจับใจความ ดังนี้

11 1. เพื่อให้นักเรียนอ่านแล้วจับใจความสําคัญได้ 2. ให้ผู้อ่านสามารถบอกรายละเอียดของเรื่องที่อ่านว่า มีสาระอะไรบ้าง 3. อ่านเพื่อปฏิบัติตามคําสั่งหรือคําแนะนํา 4. ฝึกการใช้สายตา การอ่านเพื่อการจับใจความ นิยมฝึกทักษะการอ่านเร็ว และตอบคําถาม ได้อย่าง ถูกต้องแม่นยํา 5. อ่านเพื่อสรุปหรือย่อเรื่องที่อ่านได้ 6. อ่านแล้วสามารถคาดการณ์ทํานายเรื่องที่อ่านว่าจะลงเอยอย่างไร 7. อ่านแล้วทํารายงานย่อได้การอ่านประเภทนี้ต้องการฝึกการทําโน้ตย่อ 8. อ่านเพื่อหาความจริงและแสดงข้อคิดเห็นประกอบได้ สรุปได้ว่า การอ่านจับใจความเป็นการอ่านที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาสาระสําคัญหลักของเรื่อง ทั้งหมด จับ ใจความสําคัญของเรื่องหาวัตถุประสงค์และหาแนวคิดรวมทั้งรายละเอียดที่สําคัญของเรื่องที่อ่านและสามารถสรุป ความรู้ประโยชน์และนํามาปฏิบัติตามได้อย่างเหมาะสม 4. พื้นฐานการอ่านจับใจความ แววมยุรา เหมือนนิล (2553, หน้า 14-16) ได้กล่าวว่าการอ่านจับใจความให้เข้าใจง่ายและ รวดเร็วต้อง อาศัยแนวทางและพื้นฐานสําคัญหลายประการดังนี้ 1. สํารวจส่วนประกอบของหนังสือคร่าวๆ เพราะการมีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสืออย่างเพียงพอว่าส่วนประกอบใดสามารถชี้แนะให้จับใจความได้อย่างไรจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง 2. ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจน จะเป็นแนวทางกำหนดวิธีอ่านให้เหมาะสมและจับใจความหรือหา คําตอบได้รวดเร็วขึ้น 3. มีความสามารถทางภาษา โดยเฉพาะทักษะในการแปลความหมายของคํา ประโยคและข้อความต่างๆ ในเรื่องให้เข้าใจอย่างถูกต้องรวดเร็ว 4. มีประสบการณ์หรือภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน จะทําให้เข้าใจและจับใจความที่อ่านได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นใน การอ่านจับใจความหนังสือบางเรื่องอาจจะต้องหาประสบการณ์ หรือภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องนั้นไว้ก่อนด้วย จึงจะ เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น 5. เข้าใจลักษณะของหนังสือ มีความเข้าใจลักษณะของเรื่องหรือหนังสือที่อ่านได้ชัดเจนว่ามีรูปแบบ และ กลวิธีการแต่งอย่างไร จะทําให้มีแนวทางการอ่านจับใจความได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์(2538, หน้า 97) ได้กล่าวว่าการอ่านจับใจความต้องมีความรู้พื้นฐาน การอ่านจับ ใจความ ดังนี้ 1. องค์ประกอบความรู้พื้นฐาน องค์ประกอบความรู้พื้นฐานของผู้อ่านจับใจความมี 3 องค์ประกอบดังนี้

12 1.1 ความรู้ด้านภาษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดี หลักภาษาและการใช้ภาษา ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่าน ฟัง พูด อ่าน และเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การรู้จักถ้อยคํา สํานวนหรือ เรื่องราวจากวรรณคดี สามารถ นํามาใช้ประโยชน์ในการอ่านวรรณกรรมสมัยปัจจุบัน เปรียบเทียบ เหตุการณ์ ตลอดจนนําภาษา สํานวน และ ถ้อยคําต่างๆมาใช้ ส่วนผู้ที่มีความรู้ทางหลักภาษาและ โครงสร้างหลักภาษาจะมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้โครงสร้าง และหลักภาษาของชาติอื่นๆ โดยใช้ หลักการเปรียบเทียบความแตกต่าง ทําให้ความรู้ทางภาษากว้างขวางขึ้น อัน จะนําไปสู่การอ่านจับ ใจความเรื่องที่ใช้ภาษาอื่นได้ โดยอาศัยวิธีเดียวกับการอ่านภาษา งตนนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่า ความรู้ทางด้านภาษามีส่วนช่วยพัฒนาการอ่านจับใจความได้มากจะใช้เวลาน้อยลง 1.2 ความรู้เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง หากผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง จะ ในการอ่านจับใจความที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องนั้น 1.3 ประสบการณ์ทางด้านความคิด เมื่อบุคคลเริ่มต้นรู้จักสื่อสาร จะเริ่มต้นคิดเกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์ ที่ผ่านเข้ามาในสมอง ครั้นเมื่อโตขึ้นถึงวัยที่สามารถอ่านจับใจความได้ ก็สะสมความคิดที่ได้จากการอ่านเรื่องต่างๆ เพิ่มมากขึ้น องค์ประกอบทั้ง 3 ประการดังกล่าวเมื่อรวมกันจึงเป็นพื้นฐานที่สําคัญสําหรับที่จะใช้พัฒนาการอ่านจับ ใจความ ผู้ที่มีพื้นฐานมากย่อมได้ประโยชน์ย่อมได้ประโยชนืจากการนำไปใช้ได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้พื้นฐานน้อย 2.ความรู้พื้นฐานกับผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความ ความรู้พื้นฐานของผู้อ่านมีความสัมพันธ์กับ ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความ หากผู้อ่านมีความรู้พื้นฐานมากจะช่วยให้การอ่านจับใจความถูกต้องและรวดเร็ว ตรงกันข้ามกับผู้ที่มีความรู้พื้นฐานน้อยจะใช้เวลาในการอ่านจับใจความมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ส่วน ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความนั้น หมายถึงการที่ผู้อ่าน ประสบความสําเร็จในการอ่านจับใจความนั้นจะต้อง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอ่านตามลําดับขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องที่อ่านจับใจความ โดยรู้จักคําใหม่และเรียงลําดับเหตุการณ์ได้ ถูกต้อง และสามารถบอกสถานการณ์สําคัญรวมทั้งแนวคิดที่ได้จากการอ่านจับใจความในเรื่องประเภทต่างๆ ได้ ด้วย ขั้นที่ 2 เป็นผู้ที่นําความรู้ความเข้าใจจากการอ่านจับใจความ “สาร” หรือเนื้อหาที่ได้อ่านไปใช้ให้เป็น ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน ขั้นที่ 3 เป็นผู้ที่มีวิธีการคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยสามารถ นําไปใช้ในการคิดแก้ปัญหาจาก การอ่านจับใจความ ขั้นที่ 4 เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านจับใจความและสนใจการอ่านอยู่เสมอ

13 ขั้นที่ 5 เป็นผู้ที่ปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ โดยใช้ผลจากการอ่านจับใจความเป็น เครื่องมือในการพัฒนา อารมณ์ของตนเองให้มีความมั่นคง สรุปได้ว่าการอ่านจับใจความให้ประสบความสําเร็จได้นั้น สิ่งที่สําคัญคือผู้อ่านจะต้องมีพื้นฐานความรู้ เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน มีความรู้และทักษะในเรื่องของภาษาและมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านจะทําให้เกิดความ เข้าใจในเรื่องที่อ่านได้ง่ายและถูกต้องชัดเจน และสามารถนําความรู้จากการอ่านไปใช้ในการพัฒนาตนเองได้ 5. ประเภทของการอ่านจับใจความ อภิรดี เสนาวิน (2555, หน้า 31) ได้กล่าวถึงประเภทของการอ่านจับใจความไว้ดังกล่าวข้างต้น สามารถ สรุปได้ว่า การอ่านจับใจความแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. การอ่านเพื่อจับใจความส่วนรวม เป็นการทําความเข้าใจภาพรวมหรือส่วนประกอบของหนังสือที่อ่าน เช่น คํานํา สารบัญ ฯลฯ ตลอดจนสามารถบอกความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ ของเนื้อหาต่างๆ ในภาพรวมของ หนังสือที่อ่านได้อย่างถูกต้อง 2. การอ่านเพื่อจับใจความสําคัญ เป็นการอ่านเพื่อคทำความเข้าใจใจความสำคัญสามารถเก็บสาระสําคัญ ของเรื่องที่อ่านได้ ตลอดจนบอกแนวคิดสำคัญ จุดมุ่งหมายของเรื่องและทัศนคติของผู้เขียนจากเรื่องที่อ่านได้อย่าง ถูกต้อง ปวีณา พิลึก (2546, หน้า 11) กล่าวว่า ประเภทของการอ่านจับใจความที่ดีนั้นควรจะอ่านทั้ง 2 ประเภท รวมกัน คือ อ่านเพื่อจับใจความส่วนรวมและอ่านเพื่อจับใจความสําคัญเพราะจะทําให้ผู้อ่าน ทราบเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ในขณะเดียวกันจะรู้จักคิดวิเคราะห์ สามารถจับ ใจความของเรื่องที่อ่านได้ง่ายและ รวดเร็วยิ่งขึ้น ไพเราะ วุฒิเจริญกุล (2540, หน้า 41) กล่าวว่า การอ่านจับใจความมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้คือ 1. การอ่านเพื่อจับใจความส่วนรวม เป็นการทําความเข้าใจเนื้อหาที่สําคัญของข้อความ หรือหนังสือ เพื่อให้มองเห็นความสัมพันธ์ของรายละเอียดต่างๆ และเข้าใจจุดมุ่งหมายสําคัญของ ข้อความหรือหนังสือนั้นๆ ได้ การอ่านเพื่อจับใจความส่วนรวมทําได้ด้วยการพลิกดู หรือกวาดสายตาผ่านหัวข้อต่าง ๆ เพื่อให้ทราบว่าแต่ละหัวข้อ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีการดําเนินไปสู่จุดหมาย ปลายทางด้วยวิธีการเชื่อมโยงเนื้อหาและแนวความคิด ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ อย่างไรบ้าง 2. การอ่านเพื่อจับใจความสําคัญ เป็นการทําความเข้าใจ ใจความสําคัญของข้อความ ผู้อ่านที่ชํานาญ อาจจะไม่จําเป็นต้องอ่านทุกตัวอักษร ในขณะที่ผู้อ่านมีประสบการณ์น้อยต้องอ่าน อย่างพินิจพิจารณาจึงจะ สามารถจับใจความสําคัญของเนื้อเรื่องได้ใจความสําคัญนั้นมิได้มีความหมายจํากัดเพียงแค่เนื้อเรื่องที่สําคัญเท่านั้น นักอ่านที่ดีอาจจะเก็บสาระสําคัญของหนังสือเล่มหนึ่งๆ หรือ บทความหนึ่งๆ ได้หลายแง่ เช่น เก็บความรู้ เก็บเนื้อ เรื่องที่สําคัญ เก็บแนวความคิดหรือทัศนคติของ ผู้เขียนและจุดมุ่งหมายที่สําคัญของเรื่องซึ่งมีลําดับหรือน้ำหนัก ความสําคัญแตกต่างกัน

14 ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2538,หน้า 65-66) กล่าวถึงประเภทของการอ่านจับใจความว่า มี 2 ประเภทคือ การอ่านเพื่อจับใจความส่วนรวม และการอ่านเพื่อจับใจความสําคัญ 1. การอ่านเพื่อจับใจความส่วนรวม การเข้าใจเนื้อหาส่วนรวมของเรื่องที่อ่านนับเป็นหัวใจสำคัญของการอ่าน เพราะถ้าผู้อ่านไม่สามารถอ่าน จับ ใจความส่วนรวมได้ก็จะไม่เข้าใจรายละเอียดของเรื่องและไม่เข้าใจจุดหมายสำคัญของเรื่อง วิธีจับใจความ ส่วนรวมนั้น ต้องสังเกตส่วนประกอบของหนังสือ เช่น คํานํา สารบัญ เชิงอรรถ อภิธาน คําศัพท์ ฯลฯ อ่านผ่าน หัวข้อต่าง ๆ ทั้งหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย พยายามจัดลําดับ เนื้อหาของหัวข้อนั้นๆ แล้วพิจารณาความสัมพันธ์ของ แต่ละหัวข้อเพื่อเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาโดย ส่วนรวมในหนังสือที่อ่าน สือที่อ่าน วิธีนี้เหมาะสําหรับผู้ที่มีเวลาอ่าน หนังสือจำกัดหรืออ่านเพื่อประกอบการพิจารณาว่าควรซื้อหนังสือเล่มนั้นๆหรือไม่ 2. การอ่านเพื่อจับใจความสําคัญ การอ่านเพื่อจับใจความสําคัญ หมายถึง การอ่านเพื่อเก็บสาระสําคัญของเรื่องที่อ่าน เช่น เก็บจุดมุ่งหมาย สําคัญของเรื่อง เก็บเนื้อเรื่องที่สําคัญ เก็บความรู้หรือข้อมูลที่น่าสนใจ ตลอดจนแนวความคิดหรือทัศนคติของ ผู้เขียน ใจความสําคัญ (Main Ideas) คํานี้มักใช้พิจารณาเนื้อความแต่ละย่อหน้า ซึ่งหมายถึง ใจความสําคัญและ เด่นที่สุดในย่อหน้า เป็นแก่นของย่อหน้า ที่สามารถครอบคลุมเนื้อความในประโยค อื่น ๆ ในย่อหน้านั้น หรือเป็น ประโยคที่สามารถเป็นหัวเรื่องของย่อหน้านั้นได้ ถ้าตัดเนื้อความของ ประโยคอื่นออกหมด หรือสามารถเป็น ใจความหรือประโยคเดี่ยว ๆ ได้โดยไม่ต้องมีประโยคอื่น ประกอบ ในแต่ละย่อหน้าจะมีประโยคใจความสําคัญเพียง ประโยคเดียว หรืออย่างมาก ไม่เกิน 2 ประโยค ใจความสําคัญอาจเป็นประโยคต้นหรือประโยคท้ายย่อหน้าก็ได้ พลความ (Details) เป็นใจความหรือเป็นประโยคสนับสนุนที่ขยายความประโยคใจความสําคัญ ซึ่งในแต่ละย่อหน้า อาจมีประโยคที่เป็นพลความหลายประโยค สรุปได้ว่าการอ่านจับใจความสามารถมี 2 ประเภทคือ การอ่านเพื่อจับใจความในภาพรวมของ เนื้อเรื่อง ทั้งหมด โดยไม่เจาะจง และการอ่านเพื่อจับใจสําคัญเป็นการอ่านเพื่อ สาระสําคัญ ตลอดจนใจความหลักของเนื้อ เรื่อง ตลอดจนแนวคิดหลักจากเรื่องที่อ่าน 6. ลําดับขั้นของการอ่านจับใจความ สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ (2538, หน้า 95) ได้กล่าวว่าการอ่านจับใจความต้องมีลําดับขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 จํา เป็นขั้นแรกของการอ่านที่จะต้องจําเรื่องราวให้ได้ จําความหมายของคํา ให้คําจํากัดความของ คํายาก จําชื่อตัวละครและเหตุการณ์สําคัญ ขั้นที่ 2 เข้าใจ เป็นขั้นที่นักเรียนสามารถเล่าเรื่องที่อ่านได้ด้วยคําพูดของตนเอง เข้าใจความคิด ถ้อยคํา ประโยค และข้อความที่ให้คติสอนใจ สรุปเป็นคําพูดของตนเอง

15 ขั้นที่ 3 นําไปใช้ เป็นขั้นที่นักเรียนควรมีการฝึกนําถ้อยคํา ประโยคและเหตุการณ์ที่ได้จากการอ่านมาใช้ใน การแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ เป็นขั้นที่ให้นักเรียนแยกองค์ประกอบย่อยของแนวคิดที่ได้จากการอ่าน การรู้จักแยก ความหมายของคําที่มีความหมายหลายอย่าง ขั้นที่ 5 สังเคราะห์ เป็นขั้นที่ให้นักเรียนได้รู้จักสรุปแนวคิดของเรื่อง ขั้นที่ 6 ประเมินค่า เป็นขั้นสูงสุดของการคิดที่ให้นักเรียนรู้จักตัดสินใจจากเรื่องที่อ่านว่าอะไรคือส่วนจริง และอะไรคือส่วนที่เป็นเท็จ พิจารณาและค้นหาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่อง สิทธิพงศ์ สิริวราพงศ์ (2550, หน้า 159) กล่าวถึงขั้นตอนการอ่านจับใจความว่ามี 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นรู้จักศัพท์ จําศัพท์ได้ ถ่ายทอดเสียงและความหมายของคําในเรื่องนั้นๆ ได้ ขั้นที่ 2 ขั้นเข้าใจความหมายของคําวลีประโยค โดยใช้ประสบการณ์เดิมมาช่วยตีความ และพิจารณา จุดประสงค์ของผู้เขียนที่ต้องการสื่อ ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิกิริยา เป็นขั้นที่อ่าน โดยมีสติปัญญา และความรู้สึกที่สามารถประเมินได้ว่า ผู้เขียนหมายถึง อะไร ขั้นที่ 4 ขั้นบูรณาการ เป็นขั้นที่นักเรียนสามารถนําความรู้ ความคิด และความหมายของ ที่ได้จากการอ่าน จับใจความไปใช้ประโยชน์ได้ สิทธิพงศ์ สิริวราพงศ์ (2550, หน้า 17) ได้กล่าวว่าการอ่านจับใจความเป็นกระบวนการทํางาน ต่อเนื่อง หรือสัมพันธ์กันของอวัยวะต่างๆ เช่นเมื่ออ่านหนังสือสายตาจะรับรู้ตัวอักษร คําหรือประโยค ส่วนสมองจะเริ่ม ทํางานและตีความในเรื่องที่อ่าน ทั้งนี้ต้องใช้ประสบการณ์ที่อ่านมาช่วยในการตัดสิน เพื่อจะทําให้เกิดความรู้ ความ เข้าใจ และความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องนั้นๆ ได้ สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ (2548, หน้า 26) กล่าวว่าลําดับขั้นการอ่านจับใจความนั้น ควรให้นักเรียน รู้ ความหมายของคํา ให้อ่านเป็นกลุ่มคํา แล้วนําแต่ละส่วนสัมพันธ์กันเป็นประโยคจนได้ใจความเป็น ตอน เกิดความ เข้าใจจากเรื่องง่ายไปหายาก สรุปได้ว่า การอ่านจับใจความให้เกิดประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีลําดับขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกจะต้องรู้จัก คํา ความหมายของคํา วลีหรือประโยคที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องนั้น ซึ่งผู้อ่านจะต้องอ่านโดยใช้สติปัญญาเพื่อ วิเคราะห์สารที่อ่านว่ามีสาระสําคัญอย่างไร มีใจความเกี่ยวกับเรื่องอะไร จากนั้นพิจารณาและประเมินคุณค่า ความรู้ที่ได้รับจากการอ่านแล้วนํามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง 7. ทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการอ่านจับใจความ สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ (2545, หน้า 97) ได้กล่าวว่าการสอนอ่านจับใจความจะมีทฤษฎีทางจิตวิทยา การศึกษาที่เกี่ยวข้องซึ่งควรนํามาใช้ประโยชน์เพื่อเตรียมการสอนดังนี้

16 1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Thordike ซึ่งเน้นทางด้านสติปัญญา โดยกล่าวว่าผู้ที่มีสติปัญญาดีสามารถรับรู้ และอ่านจับใจความได้ในเวลาอันรวดเร็ว ตรงกันข้ามกับผู้ที่สติปัญญาไม่ดี จะใช้เวลาในการอ่านเพิ่มขึ้น ดังนั้นการ ให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนบ่อยๆ เป็นอีกวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนมีทักษะในการอ่านจับใจความดีขึ้น 2. ทฤษฎีการให้สิ่งเร้าและการตอบสนอง เน้นการกระทําซ้ำๆ จนตอบสนองโดยอัตโนมัติ ดังนั้นการจัดหา เรื่องที่ตรงกับความสนใจ จะเป็นสิ่งเร้าที่ช่วยให้เกิดความต้องการที่จะอ่าน ผลที่ได้คือการตอบสนองที่ดี 3. ทฤษฎีของ Gestalt เน้นความสําคัญของการจัดเตรียม คือกฎของการรับรู้ที่ประยุกต์ เข้ามาสู่การสอน อ่าน ซึ่งแยกเป็นกฎ 3 ข้อ คือ 3.1 กฎของความคล้ายกัน เป็นการจัดสิ่งที่คล้ายกันเอาไว้ด้วยกัน เช่น คําที่ คล้ายกัน โครงสร้างของ ประโยค เนื้อเรื่อง รวมทั้งสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน หากจัดไว้เป็น หมวดหมู่ จะช่วยให้เกิดการรับรู้ได้เร็วขึ้น 3.2 กฎของความชอบ เป็นหลักสําคัญในการสอนอ่านจับใจความ หากนักเรียนได้อ่านในสิ่งที่ตนชอบ จะ ช่วยให้กิจกรรมการเรียนการสอนอ่านมีความหมายต่อตัวนักเรียน 3.3 กฎของการต่อเนื่อง เป็นการพิจารณาโครงสร้างของการสอนอ่านให้มีลักษณะ ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เพื่อให้ การพัฒนาการอ่านเป็นไปโดยไม่หยุดชะงัก สรุปได้ว่า การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความเกี่ยวข้องกับหลักจิตวิทยาทฤษฎีการเรียนรู้ ของ Thordike ทฤษฎีการให้สิ่งเร้าและการตอบสนอง กฎแห่งความคล้าย ทฤษฎีของ Gestalt ซึ่งหากครูผู้สอนนํามาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาการอ่าน ก็จะนําไปสู่การอ่านจับใจความได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8.2.2 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน ทฤษฎีการอ่านเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับการอ่าน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกําหนดรูปแบบ การอ่าน แต่ละ ทฤษฎีมีรายละเอียดดังนี้(สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์2545 :58-62) ทฤษฎีเน้นความสัมพันธ์ของข้อความ ทฤษฎีเน้นความสัมพันธ์ของข้อความ เป็นทฤษฎีเน้นใจความสําคัญของสารเป็นหลัก ในข้อความหนึ่ง ๆ จะมีใจความสําคัญ เมื่อผู้อ่านอ่านสารแล้วจะนําใจความรวมกันโดยให้ต่อเนื่อง แล้วทําความเข้าใจ ใจความ เหล่านั้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทฤษฎีนี้ยังแยกออกไปตามแนวคิดของนักการศึกษา ดังนี้ 1. ทฤษฎีของทาบาสโซ (Trabasso)ได้กล่าวว่า การอ่านเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กัน 2 ประการคือผู้อ่านรับรู้สาร ต่อจากนั้นทําการเปรียบเทียบโดยอาศัยประสบการณ์เดิม ทฤษฎีได้เน้นว่าระดับการอ่านของผู้อ่านจะไม่คงที่ในขณะที่อ่านข้อความผู้อ่านจะควบคุมเพียงโครงสร้าง ผิวเผิน จนกว่าสารที่รับรู้จะรับการเปรียบเทียบ เช่น เมื่อเด็กอ่านประโยค “ฉันเห็นลูกบอล สีแดง” เมื่ออ่านเสร็จ แล้ว หากยังไม่มีประสบการณ์ก่อนว่าสีแดงเป็นอย่างไรก็จําเป็นต้องอาศัยผู้รู้แนะนํา ช่วยตัดสิน เมื่อเด็กพบสิ่งที่มีสี แดงก็จะใช้ประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนพิจารณาตัดสินได้ดังนั้น ลําดับขั้นตอนของการอ่านตามพื้นฐานทฤษฎีนี้จึง แบ่งเป็น 3 ขั้น ดังภาพที่ 2.2

17 (สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์2545 :58) ก. การได้รับสารโดยใช้สายตารับรู้ ข. การใช้ประสบการณ์เดิม ความจริงและภาพ ทําการเปรียบเทียบกับสารที่ได้รับว่าแตกต่างไปจาก ประสบการณ์ เดิมหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่รู้จักผู้อ่านจะอ่านทบทวน 2 -3 ครั้งจนกว่าจะตัดสินใจว่าอะไรคือคํา ตอบที่แท้จริง ค. คําตอบที่ได้จากการเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมหรือโดยอาศัยความรู้จากแหล่งอื่นมาช่วย ตัดสินนั้น ถือว่า เป็นความรู้ใหม่ที่ได้จากการอ่าน 2. ทฤษฎีของ เชส และคาร์ค (Chase, Clark) เป็นทฤษฎีที่เน้นถึงความสัมพันธ์ของใจความที่อ่านกับ ประสบการณ์ เดิม โดยมีขั้นตอนของการอ่านดังภาพที่ 2.3 ภาพที่ 2.3 แผนภูมิทฤษฎีของ เชส และคาร์ด (Chase, Cleark) (สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์2545 :59) ก. ผู้อ่านจะรับสารแล้วทําการเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของจริงและภาพ ถ้าไม่ตรงกับ ข้อมูลดังกล่าว หรือยัง ไม่แน่ใจก็ใช้วิธีการอ่านซ้ํา ข้อความนั้น ข. สารที่ให้ความรู้สึกในทางลบ จะใช้เวลาในการรับรู้ไวและนาน หมายความว่า เมื่อรับรู้แล้ว จะเก็บไว้นานกว่าสาร ให้ความรู้สึกทางบวก ซึ่งระยะเวลาในการเก็บจะสั้นกว่าหรืออาจลืมได้เร็วกว่า สารที่ให้ความรู้สึกทางลบ เช่น มาลี เป็นเด็กดีเธอจึงได้รับคําชมเชยจากครู(บวก) นิดไม่ทําการบ้าน จึง ถูกอาจารย์ตี3 ที(ลบ)

18 ค. ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะและความหมายของคําจะได้รับการบันทึกไว้ในสมอง 3. ทฤษฎีของ ลูเมล ฮาร์ท (Rumethart)ได้กล่าวถึงการอ่านว่าเป็นกระบวนการที่ทํางานคล้ายกับ เครื่องคอมพิวเตอร์มีความซับซ้อน แต่ละขั้นตอนจะมีความสัมพันธ์กันถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะทําให้การ อ่านไม่สมบูรณ์ดังภาพ ที่ 2.4 ภาพที่ 2.4 แผนภูมิทฤษฎีของ ลูเมลฮาร์ท (Rumethart) (สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ 2545 :60) ผู้อ่านจะเริ่มต้นด้วยการอ่านสารโดยพิจารณารูปร่างของคํา ที่รู้จักเพื่อทําความเข้าใจความหมาย ต่อจากนั้นจึงทําการเปรียบเทียบความหมายของคํากับความรู้เดิมที่มีอยู่เพื่อเป็นการพิสูจน์หาข้อเท็จจริงโดย ผู้อ่าน จําต้องมีความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของคํา ความหมายการสะกดคํา และชนิดของคํา องค์ประกอบเหล่านี้จะ ช่วยให้ ผู้อ่านสามารถแปลความของสารได้หลักสําคัญของทฤษฎีมีอยู่ 4 ประการ คือ ก. การที่ผู้อ่านจะรับรู้ว่าคํานั้นเป็นคําชนิดใด ต้องสังเกตหน้าที่ของคําที่อยู่ใกล้เคียงในประโยค เดียวกัน หรือในข้อความใกล้เคียงกันว่าคํานั้นทําหน้าที่ที่อย่างไร ข. การที่ผู้อ่านจะรับรู้ความหมายของคําขึ้นอยู่กับความเข้าใจความหมายของคําใกล้เคียงอาจเป็นคํา ที่มาก่อนหรือมาหลังก็ได้จะเป็นแนวทางชี้แนะให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของคําใหม่ได้เร็วขึ้น ค. การที่ผู้อ่านจะรับรู้หน้าที่ของคํานั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจของผู้อ่านเกี่ยวกับหน้าที่ของคําอื่นที่มา ก่อนหรือมาหลังคาใหม่จะเป็นแนวทางช่วยชี้แนะหน้าที่ของคําใหม่ให้ผู้อ่านเข้าใจ ง. การที่ผู้อ่านจะแปลความหมายของคําขึ้นอยู่กับการชี้แนะของคําบางคํา จะเห็นได้ว่าทฤษฎีเหล่านี้เน้นความสัมพันธ์ของคํา ประโยคและข้อความผู้อ่าน จะต้องรู้จักความหมาย ของคํา ชนิด/หน้าที่รูปร่างและสะกดได้จะช่วยให้เข้าใจความหมายของเรื่องราว ทั้งหมด นักการศึกษาได้ ชี้ให้เห็นการทํางานของกระบวนการอ่านซึ่งคล้ายกับระบบการทํางานของเครื่อง คอมพิวเตอร์แท้จริงเป็นการ แยกให้เห็นว่าสมองต้องมีความรู้ในเรื่องอะไรบ้างเป็นการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างสารกับสมองของผู้อ่านนั่นเอง ความหมายการอ่าน การอ่านเป็นเครื่องมือสําคัญในการแสวงหาความรู้ และเป็นทักษะสําหรับนักเรียนที่จะนําไปสู่การ เรียน วิชาอื่นๆ ซึ่งมีนักการศึกษาให้ความหมายของการอ่านในแง่ต่างๆ ดังเช่น

19 จุฑามาศสุวรรณ โครธ (2519:27) ได้สรุปความหมายของการอ่านไว้ว่า การอ่าน คือ การรับรู้ใน สิ่งพิมพ์ หรือการรับรู้เครื่องหมายสื่อสารซึ่งมีความหมาย และสามารถสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้อ่าน โดยอาศัย ประสบการณ์ ของผู้อ่านมาประกอบ การอ่านเป็นพฤติกรรมทางการใช้ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นพิเศษ ไม่ เหมือนกับการ พูด การฟัง การ เขียน การอ่าน หมายถึง การแปลความหมายตัวอักษรออกมา เป็นถ้อยคํา และ ความคิด แล้วนํา ความคิดไปใช้ประโยชน์ ตัวอักษรเป็นเครื่องหมายแทนคําพูดและคําพูดก็เป็นเพียงเสียงที่ใช้ แทนความคิดอีกทอด หนึ่ง เพราะฉะนั้น หัวใจของการอ่านจึงอยู่ที่การเข้าใจความหมายของคํา ที่ปรากฏใน ข้อความนั้น ๆ การอ่านเป็น เสมือนกุญแจวิเศษที่จะไขไปสู่ความกระจ่างในปัญหานานัปการ และยิ่งกว่านั้นใน แง่จิตวิทยาก็ถือว่าการอ่านเป็น ทักษะที่ต้องใช้กระบวนการอันซับซ้อน ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ที่แทน ความหมายของภาษาพูด เพื่อให้ ผู้อ่านเข้าใจความคิดของผู้เขียน การอ่านต้องจับใจความของข้อความและ สามารถผูกเป็นเรื่องราวได้ถูกต้อง ผู้อ่าน จะต้องสร้างมโนภาพขึ้นมาพร้อมกับการอ่านไปด้วย ราชบัณฑิตยสถาน (2525 : 917) ให้ความหมายของการอ่าน ในพจนานุกรมว่า "การอ่านเป็นการออก เสียงตามตัวหนังสือหรือการเข้าใจความจากตัวหนังสือ สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ" บันลือ พฤกษะวัน (2530: 30) ให้ความหมายของการอ่านว่า "การอ่านเป็นการแปลสัญลักษณ์ ออกเป็น เสียงพูด โดยการจํารูปคําเดิมที่เคยอ่าน และรูปคําใหม่ให้เกิดความเข้าใจได้ตรงกัน เป็นแนวทางที่จะ ช่วยให้ผู้อ่าน ได้รับความรู้จากการผสมผสานของตัวอักษร โดยการใช้กระบวนการคิดอย่างสูง เพื่อทําความ เข้าใจเรืองที่อ่าน..." นิรันดร สุขปรีดา (2530 : 11) ให้ความหมายของการอ่านว่า การอ่าน คือ การเข้าใจความหมายของ ตัว ละคร หรือสัญลักษณ์ ซึ่งจะต้องอาศัยความสามารถในการแปลความ การตีความ การขยายความ การจับ ใจความ สําคัญ และ การสรุป สุกัญญา สีสืบสาน (2531:58) ให้ความหมายของการอ่านว่า เป็นการพัฒนาความรู้ สติปัญญา และ จิตใจ ของบุคคลที่เป็นองค์ประกอบของสังคม สําหรับนักเรียนความสําเร็จในการเรียนของเด็กส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ กับ ความสามารถของการอ่าน ทั้งนี้เพราะการอ่านเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่นๆ บันลือ พฤกษะวัน (2534:2) ได้ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า การอ่านเป็นการสื่อความหมายที่จะ ถ่าย โยงความคิด ความรู้จากผู้เขียน (ผู้สื่อ) ถึงผู้อ่าน การอ่านลักษณะนี้เรียกว่า “อ่านเป็น” ผู้อ่านย่อมเข้าใจถึง ความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน โดยผู้อ่านแล้วสามารถประเมินผลของสิ่งที่อ่านแล้วได้ด้วย สุขุม เฉลยทรัพย์ (2530: 27) ได้กล่าวว่า "การอ่านคือกระบวนการค้นหา ความหมายหรือความเข้าใจ จากตัวอักษรและสัญลักษณ์อื่นๆ ที่ใช้แทนความคิดเพื่อเพิ่มประสบการณ์ของผู้อ่าน ซึ่งการอ่านให้เข้าใจ ขึ้นอยู่ กับ ประสบการณ์เดิมของผู้อ่านด้วย การอ่านไม่ใช่การมองผ่านประโยค หรือย่อหน้าแต่ละย่อหน้าเท่านั้น แต่ เป็นการ รวบรวม การตีความและการประเมินความเห็นเหล่านั้น กระบวนการที่ก่อให้เกิดความเข้าใจเป็นการ ผสมผสาน ระหว่างทักษะหลายชนิดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์..."

20 มัทนา นาคะบุตร (2542, หน้า 3) กล่าวว่า การอ่าน หมายถึง การตีความ หรือแปลความหมายจาก ตัวหนังสือ (สัญลักษณ์) ที่มีผู้เขียนไว้ให้เกิดการรับรู้ เกิดความเข้าใจสารและสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ พจนาถ วงษ์พานิช (2547, หน้า 9) กล่าวว่า การอ่าน หมายถึง กระบวนการแปลความหมายจาก ตัวอักษร สัญลักษณ์ กลุ่มคํา หรือวลี และประโยคออกมาเป็นความคิดอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความสามารถ ใน การแปล การตีความ การจับใจความสําคัญ และการสรุปความ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างมีจุดมุ่งหมาย จากนิยามของท่านผู้รู้ที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การอ่านหมายถึง กระบวนการทางสมองที่ ใช้สายตา สัมผัสตัวอักษร การแปลสัญลักษณ์ออกมาจากตัวอักษรจนเกิดการรับรู้ เกิดความเข้าใจในสารนั้น และพร้อมที่จะ สามารถถ่ายโยงความคิด ไปยังผู้อื่นต่อไปได้ โดยอาศัย ความสามารถในการแปล การตีความ การจับใจความสําคัญ และการสรุปความ ความสําคัญของการอ่าน การอ่านมีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งต่อการดําเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน การอ่านช่วยพัฒนา สติปัญญาของผู้อ่าน ช่วยให้ผู้อ่านเป็นผู้รอบรู้และทันต่อเหตุการณ์เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือสําคัญที่สุดใน การ แสวงหาความรู้ เป็นสิ่งที่ส่งเสริมความคิดอ่านและความฉลาดรอบรู้ นอกจากนั้นการอ่านเป็นกิจกรรมที่ ก่อให้เกิด ความเพลิดเพลินในยามว่าง การอ่านเป็นสิ่งจําเป็นและให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทุกด้านและทุกโอกาส ทั้งในด้าน การศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ และการพักผ่อนหย่อนใจ การอ่านช่วยส่งเสริมความรู้ ความคิดของคนเรา ให้เพิ่มพูนขึ้น จึงถือว่าการอ่านเป็นพื้นฐานสําคัญที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งนับว่าเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้อ่าน ซึ่งการอ่านหนังสือจะทําให้นักเรียนมีความเฉลียวฉลาด มีความรู้ กว้างขวางทันสมัย มี จินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์รู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง และมีความเชื่อมั่นในตนเอง การ อ่านจึงมีความจําเป็นต่อ ชีวิต ดังที่ ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยาและวรนันท์ อักษร พงศ์ (2535: 47) กล่าวว่า การ อ่านมีความจําเป็นต่อชีวิตของคนไทยในยุคปัจจุบันยิ่งกว่ายุคที่ผ่านมามาก เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้าน วัตถุ วิทยาการ และความนึกคิดซึ่งเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จึงมีคําเปรียบเทียบว่า "ผู้ที่ไม่อ่านหนังสือคือ ผู้ที่ปิด ขังตัวเองอยู่ในบ้าน คงรู้แต่โลกแคบ ๆในบ้านของตัวเองเท่านั้น ส่วนผู้ที่อ่านหนังสือ คือผู้ที่เปิดประตูหน้าต่าง ทางออกไปสู่โลกข้างนอก ซึ่งเต็มไปด้วยความรู้และความคิดอันหาเขตสุดมิได้" สนิท ตั้งทวี (2538 : 3) การอ่านหนังสือมีส่วนช่วยสร้างความสําเร็จในการดําเนินชีวิตได้อย่างมากผู้ใดมี ความสามารถพิเศษในการอ่านมักจะได้รับความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การอ่านหนังสือเป็นสิ่งจําเป็นแก่ผู้อยู่ ในวงการศึกษา เพราะผู้อยู่ในวงการศึกษาจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวทางวิชาการอยู่เสมอ สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์ (2542 : 136) ได้กล่าวไว้ว่าทักษะการอ่าน เป็นทักษะที่ สําคัญมาก และใช้มากใน ชีวิตประจําวัน เพราะเป็นทักษะที่นักเรียนใช้แสวงหาสรรพวิทยา เพื่อความบันเทิงใจ และการพักผ่อนหย่อนใจ ผู้มี นิสัยรักการอ่านและมีทักษะในการอ่าน มีอัตราเร็วในการอ่านสูง ย่อมแสวงหา ความรู้และศึกษาเล่าเรียนได้อย่างมี

21 ประสิทธิภาพ สามารถนําความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ในการพูด การเขียน ได้เป็นอย่างดีหากนักเรียนมีพื้นฐานใน การอ่านดีแล้วย่อมสามารถนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ในสาขาวิชาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี พูนศรีอิ่มประไพ (2540 : 19-20) กล่าวว่า การอ่านเป็นสิ่งจําเป็นให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากทุกด้าน และ ทุกโอกาส การอ่านจะช่วยส่งเสริมความรู้ความคิดของมนุษย์ให้เพิ่มพูนขึ้น การอ่านเปรียบเสมือนกุญแจ สําหรับไข ความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้การอ่านทําให้เกิดความ เพลิดเพลิน การอ่านเป็นเครื่องมือส่งเสริมความคิด การอ่านทําให้เกิดความสําเร็จในการประกอบอาชีพ การ อ่านเป็นเครื่องมือ รับทอดทางมรดกทางวัฒนธรรมของคนรุ่นต่อ ๆ ไป ฐะปะนีย์นาครทรรพ และประภาศรีสีห์อําไพ (2539 : 12) กล่าวว่า การอ่านช่วยให้คนเรียนเก่ง เพราะ การเรียนวิชาต่างๆ จําเป็นต้องอาศัยการอ่าน การอ่านยังช่วยให้ผู้อ่านปรับปรุงงานตนเอง การอ่านทํา ให้ได้รับ ความบันเทิง ทําให้ผู้อ่านเป็นที่ยอมรับของสังคม เป็นคนที่น่าสนใจ เนื่องด้วยการอ่านมากทําให้มีความคิดลึกซึ้ง สามารถแสดงความรู้ความคิดเห็นได้ในทุกแง่ทุกเวลา จากความสําคัญของการอ่านที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การอ่านเป็นทักษะสําคัญในการเรียนรู้การอ่านเป็น การ แสวงหาความรู้เพื่อนํามาพัฒนาตนเอง พัฒนาสติปัญญา ความสามารถ พฤติกรรมและค่านิยมต่างๆซึ่งจะ มี ความสําคัญต่อบุคคลโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาหรือใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป ลักษณะของกระบวนการอ่าน ในการอ่านแต่ละครั้งนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นการอ่านในเรื่องเดียวกัน ผู้อ่านแต่ละคนจะได้รับประโยชน์ที่ แตกต่างกัน นั่นเป็นเพราะระดับความสามารถในการอ่านของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน แต่ความสามารถนั้น สามารถฝึกฝนกันได้ดังที่มีนักการศึกษาได้กล่าวไว้ดังนี้ พจนาถ วงษ์พานิช (2547, หน้า 9 อ้างใน มอนโร (Monroe 1961, หน้า 87) ได้กล่าวว่า กระบวนการ อ่าน ประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการ ดังนี้ 1. การรับรู้เห็นชัด ลําดับความจํารูปคํา เข้าใจการออกเสียงหรืออ่านได้ 2. เข้าใจคําหรือประโยคที่อ่าน เป็นการเข้าใจความหมายโดยอาศัยการแปลความ การตีความ และใช้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับสิ่งที่อ่าน 3. การตอบสนอง ได้แก่การแสดงออกในด้านอารมณ์ความรู้สึก ทั้งที่ต้องอาศัยพื้นฐานและ ประสบการณ์ เดิม และสติปัญญา เมื่อเกิดความพอใจก็กระหายที่จะอ่านต่อไป หากเกิดความไม่พอใจก็จะเบื่อ หรือเลิกอ่าน 4. บูรณาการ เป็นการได้รับแนวคิดจากเรื่องราวที่อ่าน ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มและขยายประสบการณ์ให้กว้าง ขึ้น บังอร ทองพูนศักดิ์(2539, หน้า 44) กล่าวว่า กระบวนการอ่านของเด็กสามารถแบ่งได้เป็น 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นแสดงความพร้อมในการอ่าน เป็นขั้นที่เด็กยังไม่รู้จักว่าการอ่านคืออะไร ยังไม่รู้จักตัวอักษร

22 ขั้นที่ 2 ขั้นเริ่มเรียนหลักมูลฐานของการอ่าน ขั้นนี้เด็กมีความพร้อมในการอ่านสมบูรณ์แล้ว การ เรียนใน ขั้นนี้เป็นไปอย่างเชื่องช้า เด็กจะหัดจําคําโดยอาศัยภาพประกอบ ขั้นที่ 3 ขั้นหลักมูลฐานของการอ่านเจริญอย่างรวดเร็ว เด็กจะอ่านได้มากขึ้นและรู้จักคําใหม่เพิ่มขึ้น เด็กจะขยายขอบเขตการอ่านออกไปอีก ไม่เพียงแต่อ่านหนังสือเรียน เด็กจะสนใจหนังสือพิมพ์ ใบปลิว และ หนังสืออื่น ๆ ขั้นที่ 4 ขั้นความสามารถและความชํานาญในการอ่านเจริญเต็มที่ ในขั้นนี้ความลําบากในการรู้จักคํา ใหม่ จะหมดไป พอพบคําเด็กจะออกเสียงได้เป็นส่วนใหญ่ ถ้าไม่ทราบความหมายของคํา ก็จะรู้จักถามผู้รู้ หรือ ค้นเอา เองจากพจนานุกรม เด็กรู้จักอ่านในใจ ช่วงสายตากว้างขึ้น เด็กจะอ่านหนังสือทุกประเภท รู้จัก “ติด” หนังสือและ รู้จักเลือกอ่าน เฉพาะหนังสือที่ถูกรสนิยมของตน ขั้นที่ 5 ขั้นการใช้การอ่านรอบรู้ เป็นขั้นที่สูงที่สุดของความสามารถ และความชํานาญในการอ่าน เด็ก จะ อ่านหนังสือทุกประเภท และรู้จักว่าหนังสือประเภทไหนควรอ่านอย่างไร แต่นักเรียนโดยทั่วไปไม่ได้บรรลุถึง ขั้นนี้ ทุกคน จากความหมายดังกล่าวนั้น สามารถสรุปได้ว่า กระบวนการอ่านต้องประกอบไปด้วยการสัมผัสการ รับรู้ และการเข้าใจความหมาย การเข้าใจความหมายของตัวอักษรที่อ่าน จะทําให้เกิดการรับรู้และมีปฏิกิริยา ต่อสารได้ อย่างรวดเร็ว และตรงตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อมายังผู้อ่าน ซึ่งการมีปฏิกิริยาต่อสารและการรวบรวม ความคิดช่วยให้เกิดความเข้าใจในการอ่านได้ดีขึ้น 8.2.3 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการสอนอ่าน ทฤษฎีสกีมา สกีมา (Schemas) คือ โครงสร้างของข้อมูลที่แสดงถึงความคิดรวบยอดซึ่งเก็บไว้ในความทรงจํา มี โครงสร้างความรู้ที่เกี่ยวกับความคิดรวบยอดต่างๆเกี่ยวกับวัตถุสถานการณ์ประสบการณ์การจัดลําดับ ประสบการณ์เหตุการณ์และลําดับของเหตุการณ์การกระทําและลําดับของการกระทําต่างๆ (Reutzel & Cooter, 1996 : 145, Widdowson, 1979 : 79) สมเกียรติกินจําปา (2545 : 78)ได้สรุปการนําเอาทฤษฎีสกีมา มาใช้ในการอธิบายการอ่านดังนี้คือ ความ เข้าใจในการอ่านจะเกิดได้หากผู้อ่านมีความรู้ทางภาษาและความรู้ทั่วไป ในขณะที่อ่านความรู้เหล่านี้จะ ถูกกระตุ้น ให้ทํางานโดยกระบวนการทางสมอง ผู้อ่านจะใช้ทฤษฎีสกีมา หรือโครงสร้างความรู้เดิมทั้งด้าน ภาษา และความรู้ ทั่วไปที่มีอยู่พร้อมแล้ว มาช่วยทําความเข้าใจเรื่องที่อ่าน ซึ่งแนวทางในการนําทฤษีสกีมา ประยุกต์ใช้สรุปได้ว่า 1) ตรวจสอบว่านักเรียนรู้อะไรแล้วบ้าง 2)กระตุ้นให้นักเรียนนําความรู้เดิมออกมาใช้3) เพิ่มเติมความรู้เดิมให้แก่ นักเรียน และ4)เชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม แนวคิดเกี่ยวกับการสอนอ่านของนักการศึกษาไทยที่สําคัญๆมีดังนี้

23 ศศิธร วงศ์ชาลี(2542 : 64) ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับการสอนอ่านจากนักจิตวิทยาหลายท่าน สรุป เป็น ทฤษฎีการสอนอ่านได้3 ทัศนะ ดังนี้ ทัศนะที่ 1 ยึดเนื้อหาเป็นหลัก ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการอ่านถอดสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงเป็นสิ่ง สําคัญ ในกระบวนการอ่าน การอ่านเป็นการวิเคราะห์หน่วยย่อยๆของหน่วยใหญ่ดังนั้นการอ่านจึงต้อง วิเคราะห์สระ และพยัญชนะแต่ละตัว แล้วนํามารวมเป็นคําคําหนึ่ง แล้ววิเคราะห์คําในประโยคว่ามีความหมาย อย่างไร ทัศนะที่ 2 ยึดผู้เรียนเป็นหลัก ถือว่าผู้อ่านเป็นแหล่งที่มาของความหมายที่ได้จากการอ่าน เพราะ ผู้อ่าน เป็นผู้มีประสบการณ์ความรู้ความเชื่อต่างๆ โดยนําสิ่งเหล่านี้มาช่วยในการแปลความหมายใน กระบวนการอ่าน นั้นๆ ทัศนะที่ 3 ยึดเนื้อหาและผู้เรียนร่วมกัน ซึ่งการตอบสนองตัวอักษร ลําดับเหตุการณ์และโครงสร้าง ประโยคต้องนํามาใช้พร้อมกับความเข้าใจในกลุ่มคํา ซึ่งผู้อ่านนนําความรู้ทางภาษาไปสู่การแปลความหมายจาก เนื้อเรื่อง นอกจากนี้บันลือ พฤกษะวัน (2534 : 36-79) ยังได้สรุปหลักการสอนอ่านได้ไว้6 ประเด็นดังนี้ ประเด็นที่ 1 เริ่มบทสอนอ่าน มุ่งให้อ่านได้ใช้ในการอ่านได้ตามความหมายของการอ่านให้อ่านแล้วรู้เรื่อง ได้แก่ 1) การใช้นิทานเรื่องสั้นเรื่องราวสั้นๆ มีภาพประกอบเพื่อให้เด็กประสบความสําเร็จง่าย 2) การสอนให้อ่านเป็นคํา เป็นประโยค และ 3) การให้เด็กได้เรียนอ่านทางตาโดยสังเกตอ่านภาพเดาเรื่อง และฝึก อ่านทีละประโยค ประเด็นที่ 2 สรุปเรื่องที่อ่านโดยการแสดงประกอบเรื่อง อภิปราย สรุปเรื่อง สนองความต้องการและ ความสนใจ ของเด็กผู้เรียน เช่น เด็กสนใจที่จะอ่านและฟังนิทานมากที่สุด ประเด็นที่ 3 ใช้คําแม่บทหรือคําใหม่ที่มีความถี่สูงเป็นตํานําในการสอน ประเด็นที่ 4 ใช้คําในบทอ่าน หรือบทแจกลูกนําไปสู่การสร้างแผนภูมิประสบการณ์สอน ได้แก่ 1) สอนให้อ่านเป็นโดยขยายประสบการณ์จากเรื่องราวที่ได้จากคําในบทอ่านและบทแจกลูก 2) สอนให้อ่านโดยวิธีจํารูปคํา โดยการอ่านแผนภูมิประสบการณ์และ 3) เด็กได้เรียนอ่านทางสมอง ระลึกภาพแล้วเล่าเรื่องจากภาพ แห่งประสบการณ์ครูและนักเรียนนําคําและ ประสบการณ์เหล่านั้นมาเรียบเรียง จัดทําเป็นเรื่องราว มุ่งให้เด็กได้ใช้ประโยชน์จากการอ่านเรียนรู้ในกลุ่มอื่นๆ

24 ประเด็นที่ 5 จัดกิจกรรมหลากหลาย นับเป็นส่วนสําคัญในการสอนอ่าน แลละการสอนทั้งปวงที่ต้อง ใช้ ทั้งนํา บทเรียนเสริมช่วงความสนใจ เชื่อมโยงบทเรียน เสริมบทเรียนและสรุปบทเรียน ประเด็นที่ 6 การประเมินผลงาน เป็นการจัดกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้จัดแสดงผลงาน ทบทวน บทเรียนทั้งการ อ่านและอื่นๆ ตลอดจนเป็นการให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถที่จะปรับปรุงผลงาน หลังจาก ได้สังเกตและ เปรียบเทียบผลงานกับเพื่อนๆ จากทฤษฎีและหลักการต่างๆ ที่กล่าวมา ครูผู้สอนสามารถพิจารณาเลือกใช้ทฤษีที่เหมาะสม และนํา แนวทางการ สอนดังกล่าวไปใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่อ่านและสามารถนําสิ่งที่ได้จากการอ่าน นั้นๆมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไป 8.2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สิรีธร สุขเจริญ (2561) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค SQ4R ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานใต้ พบว่าผลสัมฤทธิ์ ทางการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R ร่วมกับ วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานใต้แตกต่างจากก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 ชุติมา ยอดตา (2561) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เพื่อเสริมสร้างความสามารถ การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R มี ความสารถการอ่านจับใจความหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 88.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ธิดา บู่สามสาย (2559) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า 1) ทักษะการอ่านจับ ใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิธีสอนแบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พรพรรณ พูลเขาล้าน (2563) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การ จัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค SQ4R พบว่ามีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในความสามารถในการ อ่านเพื่อความเข้าใจ สูงขึ้นหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการ พัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค SQ4R อยู่ในระดับพึงพอใจมา 9. การออกแบบนวัตกรรม 9.1 ชื่อนวัตกรรม ผู้พัฒนาตั้งชื่อนวัตกรรม เรื่องการพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเข้าใจง่าย

25 9.2 วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม มี2 ข้อ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน บ้านโคกศรีเจริญ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน บ้านโคกศรีเจริญ 9.3 ทฤษฎี หลักการในการออกแบบนวัตกรรม ผู้พัฒนาศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการอ่านจับใจความที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนานวัตกรรม 9.4 กระบวนการออกแบบนวัตกรรม ผู้พัฒนาใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน Plan - Do - Check – Act หรือ วางแผน - ปฏิบัติ - ตรวจสอบ - ปรับปรุง เป็นกระบวนการที่ใช้ ปรับปรุงการทํางานอย่างเป็นระบบและสามารถ ประยุกต์ใช้ได้กับทุกๆเรื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 9.5 การวัดและประเมินผล 1. ใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 2. ใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3. แบบคัดกรองการอ่านของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 10.วิธีดำเนินการ จากสภาพปัญหา หลักการ แนวคิดและทฤษฎีต่างๆที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าได้ตระหนัก และ เรียนรู้ที่จะดําเนินการแก้ไขปัญหาด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้สามารถอ่านจับ

26 ใจความได้ทุกคน โดยการใช้รูปแบบการสอนแบบอ่านคร่าวๆ SQ4R โดยใช้กระบวนการดําเนินงานวงจรคุณภาพ PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน Plan - Do - Check – Act หรือ วางแผน - ปฏิบัติ - ตรวจสอบ - ปรับปรุง เป็นกระบวนการที่ใช้ ปรับปรุงการทํางานอย่างเป็นระบบและสามารถประยุกต์ใช้ ได้กับทุกๆเรื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 1. P = Plan (ขั้นตอนการวางแผน) ขั้นตอนการวางแผนครอบคลุมถึงการกําหนดกรอบหัวข้อที่ ต้องการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการ พัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการ วางแผนที่จะพัฒนานวัตกรรม “การพัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R” มีขั้นตอนดังนี้ 1.1 วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล 1.2 วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การประเมินความสามารถการอ่านจับใจความของผู้เรียน 1.3 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาและตัวชี้วัด 1.4 การสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนอ่านจับใจความ 1.5 สัมภาษณ์สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัจจุบันและแนวทางในการจัดการเรียนการสอน (PLC) 2. D = Do (ขั้นดําเนินการตามแผน) คือ การลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้กําหนด ไว้ในขั้นตอน การวางแผน ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องมีการตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติด้วยว่าได้ดําเนินไปในทิศทางที่ ตั้งใจหรือไม่ เพื่อทําการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามแผนการที่ได้วางไว้ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการออกแบบการจัดการ เรียนรู้ และดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนการใช้เทคนิค SQ4R

27 3. C = Check (ขั้นการตรวจสอบ) คือ การประเมินผลที่ได้รับจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ ทราบว่าใน ขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดไว้หรือไม่ แต่สิ่งสําคัญก็คือต้องรู้ว่าจะ ตรวจสอบอะไรบ้างและบ่อยครั้งแค่ไหน เพื่อให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบเป็นประโยชน์สําหรับขั้นตอนถัดไป 2 ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนในการสรุปผลการแก้ไขปัญหาการอ่านจับใจความ โดยใช้แบบทดก่อนเรียนและหลังเรียน 4. A = Action (ขั้นตอนการดําเนินงานให้เหมาะสม) ขั้นตอนการดําเนินงานให้เหมาะสมจะพิจารณาผลที่ได้จาก การตรวจสอบ ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี คือ ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่เป็นไปตาม แผนที่วางไว้ หากเป็น กรณีแรก ก็ให้นําแนวทางหรือกระบวนการปฏิบัตินั้นมาจัดทําให้เป็นมาตรฐาน พร้อมทั้ง หาวิธีการที่จะปรับปรุงให้ ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งอาจหมายถึงสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าเดิม หรือเสียค่าใช้จ่าย น้อยกว่าเดิม หรือทําให้ คุณภาพดียิ่งขึ้นก็ได้ แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่สอง คือผลที่ได้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผน ที่วางไว้ ควรนําข้อมูลที่ รวบรวมไว้มาวิเคราะห์และพิจารณาว่าควรจะดําเนินการอย่างไร เช่น มองหาทางเลือก ใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้ ใช้ ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้ หรือเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ เป็นต้น นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้สามารถอ่านออกและเขียนได้ พร้อมมีเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ ผู้ปกครองมี ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมดําเนินงาน เมื่อจัดกระบวนการเสร็จสิ้น นักเรียนมีความกล้าแสดงออกและ มั่นใจ ในการเรียนมากยิ่งขึ้น โดยมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนในแต่ละกิจกรรมที่คุณครูได้ให้นักเรียนทําและฝึกความกล้า แสดงออกในหลายๆกิจกรรม ผู้เรียนเกิดความสุขสนุกสนานในการร่วมทํากิจกรรมต่างๆ เช่น นําเสนอ ภาษาไทย วันละคํา อ่านเรื่องสั้น การ์ตูน หรือเล่านิทานให้เพื่อนฟัง เป็นต้น การพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 การดําเนินงานมีดังนี้หลังการดําเนินการพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การพัฒนาเครื่องมือ ประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนําไปใช้กับนักเรียน ดังนี้ 1. ทําหนังสือบันทึกข้อความเรียนผู้อํานวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโคกศรีเจริญ เพื่อแจ้งให้ทราบใน การนํารูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2. ชี้แจงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องให้นักเรียนได้รับรู้ ในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ หลักการ เหตุผล และประโยชน์ ทําความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล แน ว ทางการปฏิบัติตน เพื่อให้ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อตัวนักเรียนเอง รูปแบบการ จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กิจกรรม 6 ขั้นตอน 1. Survey (S) อ่านอย่างคร่าวๆเพื่อหาจุดสำคัญของเรื่อง การอ่านในขั้นนี้ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป การ อ่านคร่าว ๆ จะช่วยให้ผู้อ่านเรียบเรียงแนวคิดต่าง ๆ ได้

28 2. Question (Q) การตั้งคำถาม จะทำให้ผู้อ่านมีความอยากรู้อยากเห็น ดังนั้นจึงเพิ่มความเข้าใจในการ อ่านมากยิ่งขึ้น คำถามจะช่วยให้ผู้อ่านระลึกถึงความรู้เดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน คำถามจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ เรื่องได้เร็ว และที่สำคัญก็คือคำถามจะต้องสัมพันธ์กับเรื่องราวที่กำลังอ่านในเวลาเดียวกันก็ควรจะต้องถามตัวเองดู ว่า ใจความสำคัญที่ผู้เขียนกำลังพูดถึงอยู่นั้นคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ สำคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องกับอะไรหรือใคร บ้าง ตอนไหนและเมื่อไร อย่างไรก็ตามควรพยายามตั้งคำถามให้ได้เพราะจะช่วยให้การอ่านในขั้นต่อไปเป็นไป อย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถจับประเด็นสำคัญได้ถูกต้องไม่ผิดพลาด 3. Read (R1) การอ่านข้อความในบทหรือตอนนั้น ๆ ซ้ำอย่างละเอียดและในขณะเดียวกัน ก็ค้นหา คำตอบสำหรับคำถาม ที่ได้ตั้งไว้ในขั้นนี้จะเป็นการอ่านเพื่อจับใจความและจับประเด็นสำคัญ ๆ โดยแท้จริง ขณะที่ กำลังอ่านอยู่ถ้านึกคำถามได้อีกก็อาจใช้วิธีจดบันทึกไว้ในที่ว่างริมหน้าหนังสือก่อนแล้วตั้งใจอ่านต่อไปจนกว่าจะ ได้รับคำตอบที่ต้องการ 4. Record (R2) ให้ผู้เรียนจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้อ่านจากขั้นตอนที่ ๓ โดยมุ่งจดบันทึกในส่วนที่ สำคัญและสิ่งที่จำเป็น โดยใช้ข้อความอย่างรัดกุมหรือย่อ ๆ ตามความเข้าใจของผู้เรียน 5. Recite (R3) ให้ผู้เรียนเขียนสรุปใจความสำคัญ โดยพยายามใช้ภาษาของตนเองถ้ายังไม่แน่ใจ ในบทใด หรือตอนใดให้กลับไปอ่านซ้ำใหม่ 6. Reflect (R4) ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ วิจารณ์ บทอ่านที่ผู้เรียนได้อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ ผู้เรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องหรือความคิดเห็นไม่สอดคล้อง บางครั้งอาจขยายความสิ่งที่ได้อ่าน โดยการเชื่อมโยง ความคิดจากบทอ่านกับความรู้เดิมโดยใช้ภาษาอย่างถูกต้อง วิธีสอนอ่านแบบ SQ4R เป็นเทคนิคในการอ่านที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยผู้ริเริ่มคือ โรบินสัน (Robinson) ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio University) ซึ่งได้แนะนํา เทคนิคนี้กับนักศึกษา มีขั้นตอน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นสํารวจ Survey (S) ขั้นตั้งคําถาม Question (Q) ขั้นอ่านอย่างรอบคอบ Read (R1) ขั้นจดจํา Recite (R2) ขั้นทบทวน Review (R3) ในปัจจุบันนี้ได้มีนักการศึกษาค้นคว้าและปรับปรุงขั้นตอนในการอ่านแบบ SQ4R เพื่อให้เกิด ความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับวิธีสอนแบบ SQ4R 3. การประเมินก่อนเรียน 3.1 แบบทดสอบก่อนเรียนในแต่ละกิจกรรม

29 4. ครูดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามโครงสร้างแผนการเรียนรู้ 4.1 จัดกิจกรรมตามขั้นตอนการดําเนินกิจกรรมทั้ง 6 ขั้นตอน โดย กิจกรรมที่ 1 Survey (S) สอนวิธีการให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องแบบคร่าวๆ เพื่อหาประเด็นสำคัญ ไม่ใช้ เวลานานในการอ่าน กิจกรรมที่ 2 Question (Q) ผู้สอนตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นความรู้เดิมของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความ สนใจอยากรู้เรื่องที่จะอ่าน กิจกรรมที่ 3 Read (R1) ฝึกให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องโดยการหาคำตอบ ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เพื่อจับใจความและประเด็นสำคัญ กิจกรรมที่ 4 Record (R2) หลังจากที่อ่านเนื้อเรื่อง ฝึกให้นักเรียนบันทึกข้อมูลตามกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 5 Recite (R3) ฝึกให้นักเรียนจดบันทึกใจความสำคัญเป็นคำพูดของนักเรียนเอง เพื่อความ เข้าใจที่ง่ายขึ้น หากไม่เข้าใจให้กลับไปอ่านเนื้อเรื่อง กิจกรรมที่ 6 Reflect (R4) ฝึกให้นักเรียนสรุปและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน 5. การประเมินผลระหว่างเรียน 5.1 บันทึกผลคะแนนจากการประเมินใบงานจากชุดแบบฝึก 5.2 บันทึกคะแนนจากแบบสังเกตพฤติกรรม 6. การประเมินหลังเรียน 6.1 นักเรียนทําแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (หลังจากจบกิจกรรมในแต่ละขั้น) 7. เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล หลังเสร็จสิ้นการใช้รูปแบบ 11.ผลการสร้างและพัฒนานวัตกรรม จากการที่ครูใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทยเรื่องพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลปรากฎว่านักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ มี ความสามารถในการสรุปใจความสำคัญได้ผ่านตามเกณฑ์ที่ผู้พัฒนาได้กำหนดไว้

30 12. การเผยแพร่นวัตกรรม 12.1 เผยแพร่นวัตกรรมเรื่อง การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผ่าน facebook 12.2 เผยแพร่นวัตกรรมเรื่อง การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผ่านเว็บครูบ้านนอก 12.3 เผยแพร่นวัตกรรมเรื่อง การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผ่านทางกลุ่มไลน์โรงเรียน 12.4 เผยแพร่นวัตกรรมเรื่อง การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผ่านการประชุมโรงเรียน 12.5 เผยแพร่นวัตกรรมเรื่อง การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน SQ4R สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยได้รับการนิเทศจาก ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู

31 ภาคผนวก

32 แผนการจัดการเรียนรู้ที่1 วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่4 เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ เวลา 4 ชั่วโมง สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด การอ่านจับใจความสำคัญ จะต้องรู้จักการตั้งคำถามและตอบคำถาม โดยสรุปใจความสำคัญและ รายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน จะช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้ 2.1 ตัวชี้วัด ท 1.1 ป.4/3 ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ป.4/4 ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน โดยระบุเหตุผล ประกอบ ป.4/5 สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 2.2 จุดประสงค์การเรียนรู้ 1) สรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้ 2) สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง - การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น - นิทาน 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น - สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 4.1 ความสามารถในการสื่อสาร 4.2 ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการอ่าน 2) ทักษะการพูด 3) ทักษะการตั้งคำถาม 4) ทักษะการเรียงลำดับ 5) ทักษะการให้เหตุผล 6) ทักษะการสรุปลงความเห็น 7) ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 4.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

33 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. มีความรับผิดชอบ 3. ใฝ่เรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ SQ4R ขั้นที่1 สังเกต ตระหนัก 1. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด 2. ครูขออาสาสมัครนักเรียนออกมาเล่านิทานเรื่อง หมากับเงา จากบทร้อยกรองเรื่อง หมากับเงา ตามที่ได้ เรียนมาในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14 3. ครูชมเชยอาสาสมัครที่กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์จากนั้น ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่า การเล่า นิทานเป็นการเล่า โดยนำใจความสำคัญของเรื่องมาเรียงลำดับตามเหตุการณ์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้ฟังรู้และ เข้าใจตลอดทั้งเรื่อง ขั้นที่2 วางแผนปฏิบัติ 1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม (กลุ่มเดิมจากแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1) ร่วมกันอ่านนิทานอีสปเรื่อง ลูก ชาวนากับมรดก แล้ว จับใจความสำคัญบันทึกลงในใบงานที่1 เรื่อง การจับใจความสำคัญนิทานเรื่อง ลูกชาวนา กับมรดก 2. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มร่วมกันวางแผน และกำหนดเวลาในการอ่าน เพื่อให้สามารถสรุปใจความสำคัญ ของนิทานได้สมบูรณ์ ขั้นที่3 ลงมือปฏิบัติ สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มร่วมกันปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ และกำหนดเวลาในการอ่าน เพื่อให้สามารถ สรุปใจความสำคัญของนิทานได้สมบูรณ์ ขั้นที่4 พัฒนาความรู้ความเข้าใจ 1. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มคิดหาคำตอบในใบงานที่ 1 ด้วยตนเองภายในเวลาที่กำหนดร่วมกัน เมื่อคิด คำตอบได้แล้ว ให้จับคู่กับเพื่อนในกลุ่มผลัดกันอธิบายคำตอบที่ตนคิดได้(สมาชิกกลุ่มอีกคู่หนึ่งก็ปฏิบัติกิจกรรม เช่นเดียวกัน) 2. นักเรียนรวมกลุ่ม 4 คน แล้วผลัดกันอธิบายคำตอบของคู่ตนเองให้เพื่อนอีกคู่หนึ่งภายในกลุ่มฟัง เมื่อมี ความเข้าใจถูกต้องตรงกันให้สรุปเป็นมติของกลุ่ม แล้วเขียนคำตอบลงในใบงานที่ 1 3. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1 ขั้นที่5 สรุป 1. ครูนำกระดาษโปสเตอร์ขนาดใหญ่มาแจกให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันเขียน แผนภาพโครงเรื่องของนิทานเรื่อง ลูกชาวนากับมรดก ลงในกระดาษโปสเตอร์

34 2. ครูเน้นย้ำว่า นักเรียนทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการสร้างผลงาน จากนั้นให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่ม ออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 3. ครูติชมและให้กำลังใจนักเรียนในการทำกิจกรรม และให้คำแนะนำในการปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น 4. นักเรียนร่วมกันสรุปใจความสำคัญของนิทานเรื่อง ลูกชาวนากับมรดก เพื่อนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน 5. นักเรียนตอบคำถามกระตุ้นความคิด การวัดและประเมินผล วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ ตรวจใบงานที่ 1 ใบงานที่ 1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ ประเมินการนำเสนอผลงาน แบบประเมินการนำเสนอผลงาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ สังเกตความมีวินัย มีความรับผิดชอบ และใฝ่เรียนรู้ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อการเรียนรู้ - ใบงานที่ 1.9 เรื่อง การจับใจความส าคัญนิทานเรื่อง ลูกชาวนากับมรดก 8.2 แหล่งการเรียนรู้ - ห้องสมุด - อินเทอร์เน็ต

35 บัตรภาพ

36

37

38 ใบงานที่ 1 การอ่านจับใจความสำคัญ ชื่อ ชั้น เลขที่ คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิด สรุปข้อควรปฏิบัติในการอ่าน พร้อมกับแสดงความคิดเห็นถึงข้อดี ในการปฏิบัติตนตามข้อควรปฏิบัติในการอ่าน การอ่านหนังสือ ควรปฏิบัติ ดังนี้ • การปฏิบัติตนตามข้อควรปฏิบัติในการอ่าน มีผลดี ดังนี้

39 ใบงานที่ 2 การอ่านจับใจความสำคัญ ชื่อ ชั้น เลขที่ คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านบทความที่กำหนด แล้วสรุปประเด็นสำคัญ สิงโตแอฟริกา สิงโต เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ มีขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่ง ตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขน สร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มัก ทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี สิงโตในอดีตพบกระจัดกระจายอยู่ตามทวีปต่างๆ ทั่วโลก มีสายพันธุ์มากมายแต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ปัจจุบันพบ เพียงแค่ในทวีปแอฟริกา ในทวีปเอเชียยังคงมีอยู่บ้าง เช่น บางแห่งในประเทศอินเดียแถบตะวันตก มี 3 สายพันธุ์ย่อย คือ สิงโตแอฟริกา สิงโตอินเดียหรือสิงโตเอเชีย ซึ่งตัวเล็กกว่า และสิงโตขาว พบในทวีปแอฟริกาตอนใต้ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อย อีกชนิดของสิงโตแอฟริกา สิงโตแอฟริกา และสิงโตอินเดียไม่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ไม่มีลายตามตัวอย่างเสือ ตัวผู้โตเต็มที่ขนคอยาวรอบคอ ดู สง่าน่าเกรงขามจนมีสมญาว่า “เจ้าแห่งสัตว์ป่า” ตัวเมียไม่มีขนรอบคอ ปลายหางขนเป็นพู่ ตัวผู้มีเสียงคำรามที่ดังมากได้ ยินไปไกล การคำรามเป็นการช่วยเรียกตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ด้วย ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wildbirds&month=09- 2007&date=01&group=2&gblog=12

40 ใบงานที่ 3 การอ่านจับใจความสำคัญ ชื่อ ชั้น เลขที่ คำชี้แจง ให้นักเรียนหาข้อมูลจากสื่ออินเทอร์เน็ต แล้ววิเคราะห์ข้อคิดที่ได้ • ข้อคิดที่ได้จากการอ่านข้อมูลดังกล่าว คือ

41 ใบงานที่ 4 การอ่านจับใจความสำคัญ ชื่อ ชั้น เลขที่ คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านเรื่องที่กำหนด แล้วตอบคำถาม เรามีเรื่องเล่าเกี่ยวกับท่านให้เพื่อนๆ ฟังตั้งหลายเรื่อง วันนี้เริ่มเรื่องนี้ก่อนแล้วกันนะ เรื่องมีอยู่ว่า เหตุการณ์เมื่อ ปี 2513 วันนั้นท่านทรงเสด็จไปหมู่บ้านท้ายดอยจอมหด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ใหญ่บ้านลีซอกราบทูล ชวนให้ไปแอ่วบ้านเฮา ท่านก็ทรงเสด็จตามเขาเข้าไปบ้านซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ และมุงหญ้าแห้ง เขาเอาที่นอนมาปูสำหรับ ประทับ แล้วรินเหล้าทำเองใส่ถ้วยที่ไม่ค่อยจะได้ล้างจนมีคราบดำๆ จับ ทางผู้ติดตามรู้สึกเป็นห่วง เพราะปกติไม่ ทรงใช้ถ้วยมีคราบจึงกระซิบทูลว่า ควรจะทรงทำท่าเสวย แล้วส่งถ้วยมาพระราชทานผู้ติดตามจัดการเอง แต่ท่านก็ ทรงดวดเอง กร๊อบเดียวเกลี้ยง ตอนหลังทรงรับสั่งว่า “ไม่เป็นไร แอลกอฮอล์เข้มข้นเชื้อโรคตายหมด” ซึ้งไหมล่ะ ที่มา : http://student.nu.ac.th/up to me project/index2.html 1. การตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ควรตั้งอย่างไรให้ครอบคลุมเนื้อหา เรื่องนี้เป็นเรื่องของใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด และทำไม เรื่องนี้เป็นเรื่องของใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด และทำไม 2. การตอบคำถามเรื่องนี้ควรตอบอย่างไร เรื่องนี้เป็นเรื่องของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปเยี่ยมบ้านผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นพวกลีซอที่หมู่บ้านท้ายดอย จอม หด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พระองค์ได้เสวยเหล้าที่ชาวบ้านทำเองและใส่ในถ้วยซึ่งมีคราบ 3. หลังจากตั้งคำถามและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านแล้ว ควรทำอย่างไร นำข้อมูลที่ได้จากการตั้งคำถามและตอบคำถามมาสรุปใจความสำคัญ นำข้อมูลที่ได้จากการตั้งคำถามและตอบคำถามมาสรุปใจความสำคัญ 4. เรื่องนี้สรุปใจความสำคัญได้อย่างไร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกันเองกับพสกนิกร ไม่ทรงรังเกียจในสิ่งที่เขาจัดมาถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกันเองกับพสกนิกร ไม่ทรงรังเกียจในสิ่งที่เขาจัดมาถวาย 5. การสรุปใจความสำคัญในข้อ 7 มีลักษณะอย่างไร ได้ใจความกระชับ ชัดเจน ได้ใจความกระชับ ชัดเจน

42 แบบประเมินพฒันาการในการเร ี ยนร ู้ของนักเรียน เลขที่ ชื่อ – สกุล นักเรียน คะแนนแบบทดสอบ คะแนน พัฒนาการ (หลัง-ก่อน) พัฒนาการในการเรียนรู้ ก่อน เรียน หลังเรียน ดีมาก ดี ปานกลาง ปรับปรุง 1 เด็กชายวันเฉลิม ขันแก้ว 4 8 8 √ 2 เด็กชายภานุวัฒน์ แสงขาร 5 13 8 √ 3 เด็กชายภานุวัฒน์ จันสแตมป์ 4 13 9 √ 4 เด็กชายปุณยวีร์ ศรีพรม 4 14 10 √ 5 เด็กชายจิรเมธ โสประดิษฐ์ 3 14 9 √ 6 เด็กหญิงพิชามญช์ สุวรรณ์ 8 15 7 √ 7 เด็กหญิงวิฑาดา ศรีบุรินทร์ 6 13 7 √ 8 เด็กหญิงรัญชิดา เกรี้ยงไธสง 7 15 8 √ 9 เด็กหญิงลลิดภัทร วุฒิแสน 5 15 10 √ 10 เด็กหญิงอนินทิตา ศรีบุรินทร์ 3 10 7 √ 11 เด็กหญิงอาฬสา เรงตูม 5 12 7 √ 12 เด็กหญิงเกศรินทร์ ศรีบุรินทร์ 5 7 2 √ 13 เด็กหญิงธิดาทิพย์ แก้วเสน 9 16 7 √ 14 เด็กหญิงนัดดาว ประทุมทอง 2 9 7 √ 15 เด็กหญิงพิมพ์ชนก ทรายขาว 1 11 10 √ 16 เด็กหญิงนลินทิพย์ อุทธบูรณ์ 6 13 7 √ 17 เด็กหญิงชุติมา รัตนี 5 11 6 √ ลงชื่อ...........................................ผู้ประเมิน (……………………………..) ........./...................../........... เกณฑ์คะแนนพัฒนาการ 9 – 10 = ดีมาก 7 – 8 = ดี 5 – 6 = ปานกลาง น้อยกว่า 5 = ปรับปรุง

การอ่านแบบSQ4Rมีกี่ขั้นตอน

การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี ขั้นที่ 1 เรียกว่า ขั้น S (Survey) การอ่านอย่างคร่าวๆ เพื่อสำรวจ ขั้นที่ 2 เรียกว่า ขั้น Q (Question) การตั้งคำถามจากใจความของเรื่อง ขั้นที่ 3 เรียกว่า ขั้น R1 (Read) การอ่านเพื่อหาคำตอบโดยละเอียด ขั้นที่ 4 เรียกว่า ขั้น R2 (Record)

การอ่านจับใจความแบบ SQ4R มีประโยชน์อย่างไร

การสอนอ่านแบบ SQ4R มีจุดเด่น คือหลังจากอ่านเรื่องคร่าว ๆ แล้วให้ผู้อ่านตั้งคำถาม ซึ่งคำถามจะทำให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็นและช่วยให้การอ่านเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย

CIRC มีกี่ขั้นตอน

จากการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมในการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC มี 4 ขั้นตอน จากกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ CIRC ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านที่เป็น ระบบครบวงจร คือ 1) ขั้นนำเสนอบทเรียน 2) ขั้นฝึกทำงานเป็นทีม 3) การทดสอบ 4) ขั้นตระหนักถึง ความสำเร็จของกลุ่ม ขั้นตอนแต่ละขั้นมีการจัดกิจกรรมที่ ...

SQ6R มีอะไรบ้าง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ6R เป็นวิธีการจัดการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียน มีความเข้าใจในการอ่านที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน (Survey, Question, Read, Record, Recite, Review, Reflect, Reshape) เป็นเทคนิคการสอนอ่านที่พัฒนามาจาก การสอน