ม ไนท ไม เช ออย าลบหล ล าสด 21 ก.พ.60

บล.กรุงศรี พัมนสิน ประเมินว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย.25 AOT รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 4/2566 (ก.ค.-ก.ย.2566) ที่ 3,432 ล้านบาท (+358%YoY +9%QoQ) ต่ำกว่าคาด 9% หรือราว 300 ล้านบาท โดยหลักเกิดจากค่าใช้จ่าย SG&A ที่ 4,000 ล้านบาท สูงกว่าคาด +48% หรือสูงกว่าคาดราว 1,300 ล้านบาท จากการจ่ายโบนัสประจำปีให้พนักงาน

อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมค่าใช้จ่าย SG&A ที่สูงกว่าคาด และรายได้พิเศษการคืนหนี้จาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI จะทำให้กำไรสุทธิไตรมาส 4/2566 ใกล้เคียงคาด ทั้งนี้ ประเมิน Downside จากการจ่ายโบนัสพนักงานสูงกว่าคาดต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 (ต.ค.2566-ก.ย.2567) ที่ 3-4%

ในส่วนที่ AOT ออกมาตรการช่วยผู้ประกอบการในสนามบินเพิ่ม (1) ให้ยืดระยะเวลาการจ่ายผลตอบแทน (เฉพาะส่วนต่างระหว่าง Minimum Guarantee กับ % ของรายได้) ในช่วง ม.ค.-มิ.ย.2566 ออกไป 6 เดือน และ (2) ให้การชำระในแต่ละงวดสามารถแบ่งชำระได้ 12 เดือน ทั้งนี้ ประเมินมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 เนื่องจาก AOT ยังเก็บค่าเช่าเท่าเดิม เพียงแต่ให้ยืดการจ่ายออกไป และหนี้ที่ยืดเป็นเพียงช่วงสั้นๆ 6 เดือนเท่านั้น

ขณะที่ AOT เริ่มให้บริการอาคารผู้โดยสาร SAT-1 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย.2566 ทำให้รับรู้ต้นทุนเพิ่ม ได้แก่ (1) ค่าเสื่อมราคาราว 2,300 ล้านบาท/ปี (2) ค่าน้ำ-ค่าไฟราว 500-600 ล้านบาท/ปี และ (3) ค่าใช้จ่ายพนักงานราว 100-200 ล้านบาท/ปี รวมประมาณ 3,000 ล้านบาท/ปี อย่างไรก็ตาม ต้นทุนดังกล่าวได้รวมในประมาณการกำไรสุทธิปี 2566 แล้ว โดยประเมินต้นทุนที่เกิดจาก SAT-1 อยู่ที่ราว 2,800 ล้านบาท ในปี 2567

ขณะเดียวกัน วงการการบิน เผยยอดนักท่องเที่ยวจีนฟื้นช้ากว่าคาด ช่วงเดือน ธ.ค.2566-ม.ค.2567 สายการบินมีการคืนสล็อตการบินเส้นทาง ไทย-จีน ราว 39% จากที่จองไปกว่า 22,000 เที่ยวบิน อย่างไรก็ตาม คาดสถานการณ์มีแนวโน้มค่อยๆ ดีขึ้นจากช่วงต้นปีมีการคืนสล็อตกว่า 85% กลางปีมีการคืน 50-60% และเดือน ต.ค.-พ.ย.2566 ที่ราว 40%

นอกจากนี้ แม้นักท่องเที่ยวจีนและญี่ปุ่น (คิดเป็นสัดส่วน 32% ของนักท่องเที่ยวรวมช่วง pre COVID) จะฟื้นช้ากว่าคาด เดือน ต.ค.2566 ฟื้นมาที่เพียง 35% และ 43% pre COVID อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักท่องเที่ยวอาเซียน ยุโรป เกาหลี และอินเดีย (คิดเป็นสัดส่วน 53% ของนักท่องเที่ยวรวมช่วง pre COVID) ฟื้นตัวดีเดือน ต.ค.2566 ฟื้นมาที่กว่า 91% 93% 85% และ 88% pre COVID ตามลำดับ

ดังนั้น ประเมินเป้าหมายนักท่องเที่ยวปี 2567 ที่ 39.8 ล้านคน มี Downside ไม่มาก ราว 14% เท่านั้น (หรือคิดเป็นเป้าหมายใหม่ที่ราว 34 ล้านคน เติบโต +25%YoY) และเบื้องต้นประเมินเป็น Downside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 ของ AOT ราว 11-12%

อีกทั้ง เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2566 AOT ประกาศขึ้นค่าธรรมเนียมผู้โดยสาร (PSC) ขาออกทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ จาก 100 บาท/คน เป็น 130 บาท/คน และจาก 700 บาท/คน เป็น 730 บาท/คน ตามลำดับ เพื่อชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจาการให้บริการระบบบริการ อย่างไรก็ตาม ในภายหลัง AOT มีการชี้แจงว่าการปรับขึ้นค่า PSC ดังกล่าวไม่มีผลต่อรายได้ของ AOT เนื่องจากเดิมที AOT มีการเก็บค่า PSC ส่วนเพิ่ม (30 บาท) จากผู้ประกอบการสายการบินอยู่แล้ว

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2566 ครม.เห็นชอบหลักการส่งเสริมไทยเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวและการใช้จ่าย โดยมี 5 มาตรการ ประกอบด้วย (1) ลดภาษีสินค้าที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อ เช่น น้ำหอม เสื้อผ้า กระเป๋า เป็นต้น (2) ลดภาษีสรรพสามิต (3) ยกเลิก Duty Free ขาเข้า (4) ขยายเวลาเปิด-ปิด สถานบริการ และ (5) ยกเว้นวีซ่า (หรือวีซ่าฟรี) ให้แก่นักท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก

ทั้งนี้ ประเมินมาตรการดังกล่าวคงช่วยกระตุ้นอุปสงค์นักท่องเที่ยวได้บ้าง เนื่องจากแก้สาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยน้อยกว่าคาดได้เพียงบางข้อเท่านั้น มองว่ายอดนักท่องเที่ยวที่ฟื้นช้ากว่าคาดเกิดจากนักท่องเที่ยวจีน (สัดส่วน 28% ของนักท่องเที่ยวรวมช่วง pre COVID) ฟื้นช้ากว่าคาด

โดยสาเหตุที่นักท่องเที่ยวจีนฟื้นช้ากว่าคาดเกิดจาก (1) ภาวะเศรษฐกิจในประเทศจีนเติบโตต่ำ (คนจีนมีเงินน้อยลง) (2) ความไม่มั่นใจในความปลอดภัยในการเดินทางมาประเทศไทย (จากข้อมูลเชิงลบจากภาพยนตร์และข่าวใน Social media) และ (3) ค่าเงินบาทแข็ง ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น

ขณะที่ผลกระทบจากการยกเลิก Duty Free ขาเข้าเราประเมินว่ามีไม่มาก เนื่องจาก (1) คาดนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ซื้อสินค้า Duty Free ขาออกในสัดส่วนที่มากกว่าขาเข้า และ (2) AOT มีการเรียกเก็บส่วนแบ่งผลประโยชน์ขั้นต่ำ (Minimum Guarantee) จากผู้ประกอบการ Duty free ดังนั้น หากรายได้ผู้ประกอบการ Duty Free ลดจะไม่กระทบรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่จ่ายให้ AOT อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงหากผู้ประกอบการ Duty Free นำประเด็นดังกล่าวมาต่อรองขอส่วนลด Minimum Guarantee

ทั้งนี้ ในช่วง pre COVID (ปี 2562) ประเมิน AOT มีรายได้จากส่วนแบ่งผลประโยชน์จาก Duty Free คิดเป็นสัดส่วนราว 14% ของรายได้รวม และในปี 2566 มีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 22%

อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้น AOT ที่ปรับตัวลดลงในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มองเป็นการสะท้อนปัจจัยลบดังกล่าวที่เข้ามากดดันหุ้น AOT ต่อเนื่องบ้างแล้ว ขณะที่ประเมินปัจจัยลบดังกล่าวเป็น Downside risk ต่อประมาณการกำไรสุทธิและราคาเป้าหมายปี 2567 (ต.ค.2566-ก.ย.2567) ไม่มากราว 16% และ 14% ตามลำดับ แม้รวม Downside risk ดังกล่าวแล้ว ยังคาดกำไรสุทธิปี 2567 ของ AOT ยังเติบโตได้กว่า 155%YoY และในไตรมาส 1/2567 (ต.ค.-ธ.ค.2566) ที่เป็นช่วง High season ของการเดินทางท่องเที่ยว คาดกำไรสุทธิจะเติบโตกว่า 1,734%YoY และ +83%QoQ เป็น 6,300 ล้านบาท