2024 ผ ประกอบการทำบ ญช เองได น กบ ญช จะม ทำไม

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีวิต บางชนิดมีบทบาทในการสร้างอาหาร บางชนิดกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร และบางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย!!

2024 ผ ประกอบการทำบ ญช เองได น กบ ญช จะม ทำไม

  1. ผู้ผลิต (producer) => สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด
  1. ผู้บริโภค (consumer) => สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกิน จะสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 2.1 สิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง 2.2 สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต 2.3 สิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์ (omnivore) เช่น ไก่ มนุษย์ 2.4 สัตว์กินซาก (scavenger) เช่น แร้ง
  1. ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (decomposer) => ดำรงชีวิตโดยผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอาหารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลง แล้วดูดซึมสารอาหารไปใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป เช่น เห็ดรา แบคทีเรีย

รู้หรือไม่? ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารเป็นวัฏจักรได้ เช่น วัฏจักรคาร์บอน

เริ่มจากพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช

เมื่อสิ่งมีชีวิตอื่นมากินพืช สารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอนนี้จะถูกถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภค หลังจากสิ่งมีชีวิตตายลง บางส่วนจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายจะทับถมกันเป็นเวลานานภายใต้สภาวะที่เหมาะสมและเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม

การหายใจของสิ่งมีชีวิตและการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไชด์กลับคืนสู่บรรยากาศ ซึ่งพืชจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเกิดการหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นวัฏจักร นอกจากวัฏจักรคาร์บอนแล้ว ยังมีวัฏจักรสารที่สำคัญอื่น ๆ อีก เช่น วัฏจักรน้ำ วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรฟอสฟอรัส

เผยแพร่: 7 ก.ย. 2552 00:00 โดย: MGR Online

รายงานพิเศษ

ASTV ผู้จัดการรายวัน - เปิดกลโกงงบประมาณประชาสัมพันธ์ สตช.18ล้าน ระบุก่อนถูก “เสรีพิศุทธ์” สอบพบจัดจ้างผิดกฎหมายมีเหตุบ่งชี้เตรียมงาบกันมาเป็นขั้นตอน “พัชรวาท-บุญเรือง”สุมหัวร่วมวางแผนเขมือบงบก้อนนี้ตั้งแต่แรก เริ่มจาก “พัชรวาท” ออกคำสั่งเปลี่ยนตัวประธานกรรมการที่ไม่เล่นด้วย พร้อมเอาเพื่อนเลิฟ“อีจ๋อย”เสียบแทน เปิดโครงการประมูลครั้งแรกด้วยงบ 22 ล้านเศษ แต่ฮั้วแตก “อีจ๋อย” เลยใช้อำนาจตีรวนล้มประมูลแต่ยอมแบ่งงานให้บริษัทที่ชนะประมูลไป 3 ล้านเป็นการปิดปาก หลังพบโยกเงินที่เหลืออีก 18 ล้านยัดให้บริษัทลิ่วล้อที่ “พล.อ.ประวิตร” ส่งไม้ต่อมาให้ เป็นบริษัทเดียวที่เข้าเสนอราคาและไม่มีการต่อรอง จนโดนจับผิดได้ ด้าน “เทพเทือก” ที่กางปีกอุ้มคนผิดตลอด เพิ่งยอมเซ็นตั้งกรรมการสอบทุจริต “พัชรวาท” เสียวเป็นคณะกรรมการฟอกผิดแทน

ดึงเรื่องไปได้เกือบสองสัปดาห์ หลังจากที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ซึ่งดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บอกว่าจะตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.และ พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิช ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทุจริตงบประชาสัมพันธ์ 18 ล้านบาท

เพิ่งจะเซ็นแต่งตั้งคณะกรรมการแต่ยังไม่เห็นกรอบการทำงานที่ชัดเจนจะเดินหน้าสรุปผลก่อนคนทำผิดจะเกษียณอายุราชการหรือไม่ แถม สุเทพ ยังกางปีกปกป้องแสดงความมั่นใจในคุณความดีของ พล.ต.อ.พัชรวาท ว่าจะปกป้องข้าราชการที่ดี และในสายตาของตัวเองก็ยังไม่เห็นว่า พล.ต.อ.พัชรวาททำผิด

ไม่รู้ว่า สุเทพ พกความไม่ฉลาดไว้ในสมองมากเกินไป หรือจงใจโง่เพราะมีผลประโยชน์บังตา?

แต่ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตาม ASTV ผู้จัดการรายวัน ในฐานะสื่อมวลชนจะขอย้อนรอยขบวนการทุจริต 18 ล้านกันอีกสักรอบ เผื่อจะทำให้ใครบางคนฉลาดขึ้นมาบ้าง

ที่สำคัญคนบนตึกไทยคู่ฟ้านาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควรจะตัดสินใจดำเนินการกับคนที่ฉ้อฉลโกงเงินหลวงได้แล้ว อย่าปล่อยให้ความไม่ถูกต้องดำรงอยู่นานเกินไป เพราะสุดท้ายความดีของตัวเองจะถูกทำลายไปด้วย

ฉาวตั้งแต่ต้น พิรุธ ‘ป๊อด’ เสนอเปลี่ยน ปธ.

จุดเริ่มต้นของขบวนการงาบงบหลวงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 ก.ค.2548 ซึ่งในขณะนั้น พล.ต.ต.สัจจะ คชหิรัญ ผบก.พธ. ได้ทำเรื่องเสนอ พล.ต.ท.พัชรวาท ผู้ช่วย ผบ.ตร. (บร.1) ขออนุมัติจ้างผลิตรายการ TV เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์งานของ ตร. จำนวน 13 รายการ โดยวิธีพิเศษวงเงิน 22,725,000 บาท และเสนอตั้งกรรมการจัดจ้าง 3 คน ประกอบด้วย พล.ต.ต.วรเทพ เมธาวัธน์ เป็นประธาน พ.ต.ท.พิทักษ์ ท้วมเกร็ด และ พ.ต.ท.ศุภกิจ ดิษยวรรธนะ เป็นกรรมการ

ข้อพิรุธเริ่มปรากฏชัด เมื่อจู่ๆ พล.ต.ท.พัชรวาท ทำหนังสือลงวันที่ 25 ก.ค. 2548 ถึง ผบ.ตร. (พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ) ให้เปลี่ยนตัวประธานกรรมการจัดจ้างจาก พล.ต.ต.วรเทพ เป็น พล.ต.ต.บุญเรือง ผลพานิชย์ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าสำนักงานของ พล.ต.ท.พัชรวาท!!!

ทำไมจึงต้องเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการจัดจ้าง ทั้งที่ไม่ปรากฏเหตุผลว่า พล.ต.ต.วรเทพ ขาดความเหมาะสมในการทำหน้าที่นี้ โดยเห็นได้ชัดเจนจากที่คณะกรรมการจัดจ้างชุดดังกล่าวก็ยังมีชื่อ พล.ต.ต.วรเทพ ร่วมเป็นกรรมการด้วย เพียงแต่ถูกถอดออกจากการเป็นประธานกรรมการเท่านั้น

การส่ง พล.ต.ต.บุญเรือง ไปทำหน้าที่นี้มีเจตนาอะไรแอบแฝงหรือไม่

แฉเจตนาส่ง ‘อีจ๋อย’ ล็อกผลประมูล!

เรื่องนี้มีคำตอบ เพราะเมื่อ พล.ต.อ.โกวิท อนุมัติตามที่ พล.ต.ท.พัชรวาทเสนอ ในวันถัดไป คือ วันที่ 26 ก.ค.48 ขบวนการกินละเมียดก็เริ่มต้นขึ้น

โดย พล.ต.ต.บุญเรือง ทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัทรับจ้างผลิตรายการ TV ให้เข้ายื่นเสนอราคาจำนวน 4 บริษัท และให้มายื่นเสนอราคาในวันที่ 15 ส.ค. 2548

บริษัท อาร์ เอ็น ที เทเลวิชั่น จำกัด เสนอราคารับจ้างผลิตรายการ TV จำนวน 13 รายการ ในวงเงิน 11,560,280 บาท บริษัท อาร์ ที เอ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เสนอราคารับจ้างผลิตรายการ TV จำนวน 7 รายการ ในวงเงิน 15,325,135 บาท บริษัท เยลโล่ว์ พิลโล่ว์ จำกัด เสนอราคารับจ้างผลิตรายการ TV จำนวน 5 รายการ ในวงเงิน 12,779,331 บาท บริษัท เอ็น เอส มีเดีย แอสโซซิเอทส์ จำกัด เสนอราคารับจ้างผลิตรายการ TV จำนวน 13 รายการในวงเงิน 22,700,000 บาท

ที่น่าสนใจคือ บริษัท เอ็น เอส มีเดีย แอสโซซิเอทส์ จำกัด เสนอราคาผลิตรายการในวงเงิน 22,700,000 บาท ใกล้เคียงกับงบประมาณที่ตั้งไว้ 22,725,000 บาท โดยต่ำกว่างบประมาณเพียง 25,000 บาทเท่านั้น

คำถามคือ บริษัทนี้เก็งข้อมูลเก่ง หรือได้ข้อมูลภายใน ?

เมื่อสืบประวัติ บริษัท เอ็น เอส มีเดีย แอสโซซิเอทส์ จำกัด ก็พบว่ามีนายสุรศักดิ์ มุกประดับ เป็นเจ้าของ ที่สำคัญคือเป็นบริษัทที่ได้เวลาหลายช่วงของสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในยุคที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ชาย พล.ต.อ.พัชรวาท เป็นผบ.ทบ.

คงจะถึงบางอ้อกันแล้วว่า เหตุใดบริษัทนี้จึงกลับมาขึ้นหม้ออีกครั้งในยุคของ พล.ต.ท.พัชรวาท ในขณะนั้นกำกับดูแลงานบริหาร

พี่น้องคู่นี้เขารักกันจริงๆ น่าเสียดายที่มัวแต่รักกันเอง โดยไม่คิดที่จะแบ่งปันความรักนั้นมาให้กับแผ่นดินแม่บ้าง ไม่เช่นนั้นก็คงไม่เกิดปัญหาตามมามากมาย

มาตามกันต่อกับการดำเนินการของ พล.ต.ต.บุญเรือง หลังจากได้พิจารณาข้อเสนอของทั้ง 4 บริษัท ก็ทำบันทึกข้อความลงวันที่ 23 ส.ค.48 รายงานผลการพิจารณาการประมูลจัดจ้างในครั้งนั้นว่า เห็นควรให้จ้างบริษัท อาร์ เอ็น ที เทเลวิชั่น จำกัด ผลิตรายการ TV จำนวน 4 รายการ วงเงิน 3,959,000 บาท โดยตัดอีก 9 รายการออกไป อ้างว่าเป็นรายการที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และไม่มีความจำเป็น

ไม่น่าแปลกใจที่คณะกรรมการจัดจ้างจะเลือก บริษัท อาร์ เอ็น ที เทเลวิชั่น จำกัด เพราะเป็นบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุด และยังนำเสนอเอกสารหลักฐาน รวมถึงรายละเอียดการผลิตรายการถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของทางราชการทุกอย่าง

ปัญหาอยู่ที่ว่า ทำไมจึงต้องตัดทอนรายการอีก 9 รายการออก ซึ่งทำให้งบประมาณในการจัดจ้าง บริษัทอาร์ เอ็น ที เทเลวิชั่น จำกัด เหลือเพียง 3,959,000 บาทเท่านั้น

ทำไมไม่ให้ บริษัท อาร์ เอ็น ที เทเลวิชั่น จำกัด ผลิตรายการตามราคาที่เสนอมาทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้ราชการประหยัดงบประมาณได้ถึงกว่า 10 ล้านบาท ต้องการกันงบประมาณอีก 18,766,000 บาทไว้ให้ใคร?

หรือเป็นเพราะว่ามีบริษัทในใจที่ต้องการให้ได้งานนี้อยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะใช้เหตุผลอะไรที่จะไม่ให้งานกับ บริษัท อาร์ เอ็น ที เทเลวิชั่น จำกัด เพราะทำถูกต้องทุกอย่าง แถมเสนอราคาต่ำสุดอย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น จึงใช้วิธีการตัดทอนรายการลง เพื่อกันงบประมาณส่วนใหญ่เอาไว้ให้กับบริษัทในใจของตัวเอง

เรื่องนี้มีคำตอบ เพราะเมื่อมีการตัดทอนรายการออมงบไว้งาบแล้ว ก็ให้ พล.ต.ต.สัจจะ ซึ่งเป็นต้นเรื่องที่ขออนุมัติใช้งบประมาณนี้มาตั้งแต่ต้น ทำบันทึกข้อความลงวันที่ 6 กันยายน 2548 ถึง พล.ต.ท.พัชรวาท ขอความเห็นชอบในการจัดจ้างการดำเนินการโฆษณาและเผยแพร่ของ ตร.ใหม่ จำนวน 3 รายการ คือ รายการคนรู้ทัน รายการเพื่อนเตือนภัย และรายการรักกันไว้เถิด

อันเป็นที่มาของการหยิบเค้กเข้าปากเคี้ยว!!!

ที่บอกว่าเป็นที่มาของการหยิบเค้กเข้าปากเคี้ยว ก็เพราะว่าครั้งนี้มีการเสนอให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีพิเศษ ใช้คณะกรรมการชุดเดิม ซึ่งมี พล.ต.ต.บุญเรือง เป็นประธาน และมีการตั้งราคากลางไว้ที่วงเงิน 18,697,500 บาท โดยการประมูลครั้งนี้แทนที่จะเชิญหลายบริษัทเพื่อให้เกิดการแข่งขัน พล.ต.ต.บุญเรือง กลับมีคำสั่งให้ พ.ต.ท.พิทักษ์ ท้วมเกร็ด หนึ่งในคณะกรรมการ เรียกบริษัท เอ็น เอส มีเดีย แอสโซซิเอทส์ จำกัด ให้มายื่นเสนอราคาเพียงบริษัทเดียว !!!

เมื่อได้ใบสั่งเช่นนี้ พ.ต.ท.พิทักษ์ ก็ได้มีหนังสือลงวันที่ 8 ก.ย. 2548 เชิญบริษัทในดวงใจของประธานคณะกรรมการจัดจ้างมาเสนอราคาในวันที่ 13 ก.ย. 2548 ซึ่งทางบริษัทได้เสนอราคาผลิตรายการ TV จำนวน 3 รายการ ในวงเงิน 18,697,500 บาท เท่ากับราคากลางทุกบาท ทุกสตางค์

คงยังจำกันได้ว่าบริษัทเดียวกันนี้เคยเสนอผลิตรายการในครั้งแรก ด้วยวงเงินที่ใกล้เคียงกับราคากลางอย่างมากมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ในครั้งนั้นมีบริษัทรายอื่นที่เสนอราคาต่ำกว่าก็เลยทำให้ต้องอดเปรี้ยวมากินหวานเอาคราวนี้

ที่สำคัญคือ เมื่อบริษัท เอ็น เอส มีเดีย แอสโซซิเอทส์ จำกัด เสนอราคามา ทางคณะกรรมการจัดจ้างก็ไม่ได้ต่อรองราคาเลย แถมในวันเดียวกัน (13 ก.ย. 2548) พล.ต.ต.บุญเรือง ได้ทำบันทึกเสนอให้จ้างบริษัทนี้ผลิตรายการ TV จำนวน 3 รายการทันที แต่บันทึกนี้ พล.ต.ต..วรเทพ หนึ่งในคณะกรรมการเห็นถึงความไม่ชอบมาพากลจึงไม่ยอมร่วมลงชื่อด้วย แต่ก็ไม่สามารถทัดทานอะไรได้ เพราะเมื่อมีการเสนอเรื่องต่อ พล.ต.ท.พัชรวาท ในวันที่ 15 ก.ย. 2548 ก็มีการเดินเรื่องต่อส่งไปยัง พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร.ขณะนั้น พิจารณา ซึ่งก็อนุมัติให้จ้างบริษัทเอ็น เอส มีเดีย ฯ ทันทีในวันรุ่งขึ้น (16 ก.ย. 2548)

เห็นเส้นทางที่ทิ้งร่องรอยทุจริตไว้ตลอดทางอย่างนี้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีต ผบ.ตร. จึงได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง จนพบว่ามีการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่ และแจ้งข้อกล่าวหากับบุคคลสามคนคือ พล.ต.อ.พัชรวาท พล.ต.ท.บุญเรือง และ พล.ต.อ.โกวิท (เกษียณอายุราชการไปแล้ว)

โดย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวหาบุคคลทั้งสามว่า กระทำความผิดตามกฎหมายและระเบียบหลายประการด้วยกัน 1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติมฯข้อ 18(6) และข้อ 21 2.ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องหลักเกณฑ์การซื้อและการจ้างโดยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ออกตามมติครม. เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2547) ข้อ 6 ข้อ 12 ข้อ 13 และ ข้อ 16 3.พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 12 4.ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 ,151 , 152 และ 157 ประกอบมาตรา 83 , 84 , 86 , 90 และ 91 5.พ..ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 86 และ มาตรา 79 (1)

วัดใจความกล้า “อภิสิทธิ์” อีกยก

จากข้อกล่าวหาทั้งหมดทำให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมีคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาทไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่ทันได้ลงนามตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงก็พ้นจากตำแหน่งไปก่อน

เมื่อเกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่ทันได้ปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ก็มีคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท กลับไปดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ตามเดิม จนทำให้เรื่องทุกอย่างคาราคาซังมาจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 8 เดือนแล้ว

กระทั่งกฤษฎีกาวินิจฉัยแล้วเห็นว่าอำนาจในการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงที่ค้างอยู่ของนายสมชาย ไม่ได้หมดไป แม้ว่านายสมชายจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็ตาม แต่เป็นเรื่องของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่ต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่ ซึ่งนายสุเทพ ในฐานะรับผิดชอบ สตช. ก็ยอมรับที่จะเดินหน้าตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง

แต่จนมาถึงวันที่ พล.ต.อ.พัชรวาท เหลืออายุราชการไม่ถึงเดือน อย่าว่าแต่จะมีคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาทไปช่วยราชการเลย แม้แต่ คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงก็ยังเพิ่งเกิดอย่างที่คนแต่งตั้งทำอย่างเสียไม่ได้ เพราะเป็นประกาศิตของคนในตึกไทยคู่ฟ้า แล้วอย่างนี้จะไม่ให้สังคมตราหน้าว่า “สุเทพ” เข้าด้วยช่วยเหลือให้ พล.ต.อ.พัชรวาท พ้นผิดได้อย่างไร

ความหวังของสังคมต่อกรณีนี้ฝากไว้กับ อภิสิทธิ์ ว่าควรทำให้เป็นไปตามครรลองของความถูกต้อง เมื่อตั้งคณะกรรมการฯก็ควรต้องมีคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท ไปช่วยราชการเพื่อเปิดทางสะดวกให้คณะกรรมการฯเข้าไปสืบสวนหาข้อเท็จจริงได้อย่างตรงไปตรงมา

เพราะถ้าหากปล่อยให้ พล.ต.อ.พัชรวาทนั่งกุมบังเหียน สตช.อยู่ จะแน่ใจได้อย่างไรว่า คณะกรรมการฯชุดนี้ จะได้ข้อมูลที่เป็นจริง และจะไม่ถูก “ผีบังตา” จนทำให้กลายเป็นแค่ “คณะกรรมการฟอกผิด” ให้คนทำชั่วที่มีพี่ชายใหญ่โตคับกองทัพ

อย่ามัวแต่รอคดี 7 ตุลาฯ ซึ่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะชี้ขาดอย่างไร เพราะกรณีนี้ชัดเจนยิ่งกว่าชัดและมีหลักฐานผูกมัดว่ามีเจตนางาบเงินหลวงแน่ๆ