2024 ทำไม ฮ องเต ห ามคนเด นทางไปย งท ศตะว นตก

“อภิสิทธิ์” แนะ “สมคิด” ใจเย็นถูกสื่อนอกวิจารณ์นโยบาย ศก. ควรยอมรับความเห็นต่าง

เผยแพร่: 21 ก.ย. 2558 14:04 ปรับปรุง: 21 ก.ย. 2558 14:22 โดย: MGR Online

“มาร์ค” แนะ “สมคิด” ใจเย็น หลังโต้สื่อต่างชาติวิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจ เห็นใจคนทำงานต้องมีแรงกดดัน แต่ต้องยอมรับความเห็นต่าง หมดยุคผูกขาดความถูกต้องที่ตัวเอง ชี้มาตรการเศรษฐกิจช่วยได้ระดับหนึ่ง ห่วงกู้ 7.2 แสนล้านทำหนี้ครัวเรือนพุ่ง แนะคิดให้รอบคอบ เปิดร่วมทุนโครงการรถไฟไทย-จีน กันรับภาระขาดทุน

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ออกมาใช้ถ้อยคำรุนแรงตอบโต้สื่อต่างชาติที่วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจว่า อยากให้ใจเย็น ตนเห็นใจว่าทุกคนที่ทำงานย่อมมีแรงกดดัน คนที่ตั้งใจดีเมื่อถูกวิจารณ์ก็หงุดหงิดได้ แต่ต้องช่วยกัน ว่าสังคมเปิด ต้องยอมรับความเห็นต่าง หมดยุคผูกขาดความถูกต้องอยู่ที่ตัวเอง หรือคิดเพียงว่าตั้งใจดีแล้วคนอื่นวิจารณ์ไม่ได้ ส่วนเรื่องใส่ร้ายป้ายสี หรือมีอะไรแอบแฝงก็ว่าไปตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามเห็นว่ามาตรการเศรษฐกิจที่ออกมาช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ยังมีภาวะเศรษฐกิจหลายปัจจัยเป็นตัวถ่วงอยู่ การกระตุ้นกำลังซื้อมาถูกทางแล้ว แต่ต้องดูว่าเพียงพอหรือไม่

นายอภิสิทธิ์ยังเตือนให้ระวังเรื่องหนี้ครัวเรือน วินัยการเงิน การทุจริต หรือความไม่โปร่งใสจากเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และอยากให้รัฐบาลชัดเจนว่าถ้าไม่ให้ชาวนาทำนาเพราะไม่มีน้ำ ต้องมีโครงการทดแทนว่าจะให้เขามีรายได้อย่างไร

ส่วนการก่อหนี้รัฐที่มีข่าวว่าจะออกกฎหมายกู้เงิน 7.2 แสนล้านบาท อยากให้ระวังและคิดให้ดีเพราะภาวะหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือนอยู่ในภาวะที่ไม่ควรวางใจ หากจะใช้เงินก้อนใหญ่ควรจะเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ที่ปัจจุบันมีรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องกู้เงิน ตนอยากให้เอาจริงเอาจังกับทางเลือกอื่น เช่น การร่วมทุน หรือให้เอกชนเข้ามาทำ จะเป็นหลักประกันที่ดีกว่าทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและเสถียรภาพของประเทศ เช่น โครงการรถไฟไทย-จีน ตนก็ยังเป็นห่วงอยู่ว่าจะเป็นการกู้เงินทั้งหมดหรือไม่ เพราะยังมีการเจรจากันอยู่ ถ้าเลือกได้อยากให้กลับไปสู่การร่วมทุน เพราะหากกู้เรารับหนี้มาเต็มๆ ขาดทุนก็รับหมด แต่ถ้าร่วมทุนภาระไม่ได้อยู่กับเราคนเดียว และเรายังได้ประโยชน์จากประสบการณ์บริหารรถไฟด้วย อีกทั้งเส้นทางนี้ต้องเชื่อมกันหมด จึงเสนอให้เป็นการร่วมทุนและเจรจา 3 ประเทศ ระหว่างลาว จีน ไทยจะดีที่สุด

พม่าเฉลยปลด หน.พรรครัฐบาล เหตุสัมพันธ์ซูจี-หนุนร่างกฎหมายลดอำนาจทหาร

เผยแพร่: 16 ส.ค. 2558 23:28 ปรับปรุง: 17 ส.ค. 2558 09:25 โดย: MGR Online

รอยเตอร์ - ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ปลดฉ่วย มานจากตำแหน่งหัวหน้าพรรครัฐบาลในสัปดาห์นี้ เพราะการสนับสนุนร่างกฎหมายที่เป็นประเด็นถกเถียงในรัฐสภา และความสัมพันธ์กับหัวหน้าพรรคคู่แข่ง รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารพม่าเผยในการให้สัมภาษณ์วานนี้ (15)

ความคิดเห็นของ เย ตุ๊ต ที่มีตำแหน่งโฆษกของเต็งเส่งด้วยนั้น ให้รายละเอียดได้มากที่สุดจนถึงตอนนี้จากรัฐบาลว่าเหตุใด ฉ่วย มาน จึงถูกปลดออกจากตำแหน่งก่อนการเลือกตั้ง 3 เดือน

ในข้อความที่โพสต์ลงบนเฟซบุ๊กเมื่อวันเสาร์ (15) ฉ่วย มาย กล่าวว่า เขาได้ทำงานเพื่อสร้างบทบาทที่แข็งแกร่งมากขึ้นสำหรับรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ

การต่อสู้ระหว่าง 2 บุคคลที่ทรงอำนาจมากที่สุดของพม่าเกิดขึ้นในช่วงข้ามคืนของวันพุธ (12) เมื่อกองกำลังรักษาความปลอดภัยเข้าล้อมสำนักงานใหญ่พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ในกรุงเนปีดอ

ฉ่วย มาน กลายเป็นปรปักษ์ต่อทหารด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับนางอองซานซูจี และสนับสนุนการรณรงค์ของซูจี ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ทหารได้มอบอำนาจให้แก่รัฐบาลกึ่งพลเรือนในปี 2554 แต่ยังคงมีอำนาจในการวีโต้ต่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง

ทั้งเต็งเส่ง และฉ่วย มาน เป็นอดีตนายพลที่มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองพม่ามาเป็นเวลา 49 ปี

สมาชิกของคณะบริหารพรรค USDP ส่งจดหมายลับถึงเต็งเส่ง ไม่กี่สัปดาห์ก่อนเพื่อแสดงความวิตกเกี่ยวกับนโยบายพรรคภายใต้การนำของฉ่วย มาน และยังวิตกเกี่ยวกับการความไม่โปร่งใสในความสัมพันธ์ของฉ่วย มาน กับหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน เย ตุ๊ต กล่าว

แม้ว่าการปลดฉ่วย มาน ไม่ใช่เรื่องดีต่อภาพลักษณ์ของพรรคก่อนการเลือกตั้งเดือน พ.ย. เย ตุ๊ต ระบุว่า ฉ่วย มาน ได้ทำการตัดสินใจบางอย่างที่น่าสงสัยในรัฐสภาเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนความทะเยอทะยานทางการเมืองของเขามากกว่าสิ่งที่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพรรค และประเทศ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนของเขาในเดือน มิ.ย. ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะจำกัดอำนาจทหารในร่างกฎหมายที่ไม่ผ่านมติสภา

“บางครั้งเขาพยายามที่จะบังคับความต้องการของเขาเองกับคนอื่นๆ นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะลักษณะความเป็นผู้นำของเขา มีเรื่องน่ากังวลหลายอย่างเกี่ยวกับประชาธิปไตย” เย ตุ๊ต กล่าว

บนเฟซบุ๊กเมื่อวันเสาร์ ฉ่วย มาน ระบุว่า เขาจะไม่ทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อประเทศ หรือประชาชน และยังปกป้องการทำงานของเขาในฐานะสมาชิกรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร

“ขณะที่คนอื่นๆ ต้องการที่จะทำให้สภาเป็นสภาตรายาง ผมเริ่มทำให้มันเป็นสถาบันที่แท้จริงของสังคมประชาธิปไตย ผมเผชิญต่อความยากลำบากนับแต่นั้น” ฉ่วย มาน กล่าว

ฉ่วย มาน ยังคงครองตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรในสภาล่างของพม่า และในวันศุกร์ (14) ยังได้เดินทางไปที่อาคารรัฐสภา

เต็งเส่ง ได้แจ้งต่อคณะบริหารพรรค USDP ในวันพุธว่า เต อู หนึ่งในพันธมิตรของเขาจะเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ เย ตุ๊ต กล่าว

ไม่นานหลังจากนั้น กองกำลังรักษาความปลอดภัยเข้าล้อมสำนักงานใหญ่พรรค

สหรัฐฯ ได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับการใช้กองกำลังรักษาความปลอดภัยเข้าแก้ปัญหาความขัดแย้ง

เย ตุ๊ต กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะไม่กระทบต่อการปฏิรูปในพม่า

“ไม่มีการถอยหลังในกระบวนการปฏิรูป มันไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อภาพลักษณ์ของ USDP ในขณะที่การเลือกตั้งใกล้เข้ามา แต่นี่เป็นความขัดแย้งภายใน และจะไม่กระทบต่อฝ่ายบริหาร” เย ตุ๊ต กล่าว

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของซูจี คาดว่าจะเอาชนะพรรค USDP ในการเลือกตั้ง แต่รัฐธรรมนูญที่ทหารร่างขึ้นห้ามซูจี จากตำแหน่งประธานาธิบดีเพราะบุตรชาย 2 คน ของซูจี เป็นชาวอังกฤษ แต่ผลงานที่แข็งแกร่งของ NLD จะเพิ่มอิทธิพลให้ซูจี ต่อการเลือกประธานาธิบดีคนถัดไป

รอยเตอร์รายงานเมื่อปีก่อนว่า NLD อาจสนับสนุนฉ่วย มาน เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีหลังการเลือกตั้ง.