2024 ทำไม คนใต ก นอาหารทะเลเยอะ ไม เป น คอเรสเทอร ล

ภาวะไขมันในเลือดสูง อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองชนิดก็ได้ ไขมันที่มีปริมาณสูงนี้จะเกาะที่ผนังด้านในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ควบคุมปริมาณและชนิดของไขมันในอาหาร จะสามารถช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดได้

ไขมันในเลือดสูงเท่าไร ถึงอันตราย

ภาวะไขมันในเลือดสูง เกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเกินความจำเป็นของร่างกาย ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ การขาดการออกกำลังกาย และจากโรคหรือการใช้ยาบางชนิด ซึ่งการมีไขมันในเลือดสูงจะทราบได้ก็ต่อเมื่อทำการตรวจโดยวิธีการเจาะเลือด โดยค่ามาตรฐานของระดับไขมันในเลือด มีดังนี้

ประเภทไขมันในเลือด ค่ามาตรฐาน คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร คอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ เอชดีแอล (High density lipoprotein; HDL) ผู้ชายมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ แอลดีแอล (Low density lipoprotein; LDL) ไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)

หากคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ถือว่า เข้าสู่ภาวะไขมันในเลือดสูง การรักษานั้นจะมีทั้งการรับประทานยาลดไขมัน และการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ควบคุมปริมาณและชนิดของไขมันในอาหาร จะสามารถคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้

อาหารในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

การควบคุมการรับประทานอาหาร ในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงเป็นหลักสำคัญ โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และควรรับประมานมีดังนี้

1. อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  • น้ำมันชนิดกรดไขมันอิ่มตัวสูง (saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมัน หมู ไก่
  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ได้แก่ หนังสัตว์และส่วนติดไขมันสัตว์ เช่น หมูติดมัน เบคอน หมูกรอบ เป็นต้น เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ไส้อั่ว แหนม แฮม โบโลน่า หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น นมและผลิตภัณฑ์จากนมแบบชนิดไขมันเต็มส่วน
  • อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่ปลา ไข่แดง ตับ ไต สมอง ปลาหมึก หอยนางรม จำกัดไข่แดงไม่เกิน 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนไข่ขาวรับประทานได้ไม่จำกัด เครื่องในสัตว์ไม่ควรรับประทานบ่อย
  • ไขมันทรานส์ ได้แก่ เนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม หรืออาหารที่ใช้ไขมันดังกล่าว เช่น เค้ก คุกกี้ พาย ขนมปัง มันฝรั่งทอด น้ำมันทอดซ้ำ
  • การรับประทานไขมันจากมะพร้าว เช่น กะทิข้น ควรเลี่ยงการรับประทานเมนูแกงกะทิ เช่น แกงเผ็ด แกงแพนง แกงเขียวหวาน ต้มข่าไก่ เป็นต้น
  • อาหารหวานหรือมีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม
  • การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

2. อาหารที่ควรรับประทาน ได้แก่

  • อาหารประเภทเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ปลาแซลมอน เนื่องจากมีโอเมก้า 3 ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และจะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDL) โดยรับประทานอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์
  • เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย
  • เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง
  • อาหารประเภทผักใบต่างๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้กากและใยสูง เช่น คะน้า ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก เพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยมากขึ้น และช่วยในการดูดซึมไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
  • ใช้น้ำมันถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน มะกอก ข้าวโพด รำข้าว เมล็ดดอกคำฝอย แทนน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
  • วิธีปรุงอาหารเลือกใช้การนึ่ง ย่าง อบ ยำ แทนการทอด

ตัวอย่างปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารที่รับประทานได้

ชนิดอาหาร ปริมาณ 1 หน่วยบริโภค ปริมาณคอเลสเตอรอล (มิลลิกรัม) หอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ 136 ตับหมู 2 ช้อนโต๊ะ 126 เนื้อกุ้ง 2 ช้อนโต๊ะ 55 เนื้อปู 2 ช้อนโต๊ะ 44 เนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ 24 เนื้อไก่ 2 ช้อนโต๊ะ 23 เนื้อเป็ด 2 ช้อนโต๊ะ 23 เนื้อวัว 2 ช้อนโต๊ะ 20 ไส้หมู 2 ช้อนโต๊ะ 45 กระเพาะหมู 2 ช้อนโต๊ะ 45 ซี่โครงหมู 2 ช้อนโต๊ะ 32 แฮม 2 ช้อนโต๊ะ 31 ไข่ไก่ 1 ฟอง 214 ไข่นกกระทา 1 ฟอง 50 นมรสจืด 200 ซีซี 48

อาหารทะเล คอเลสเทอรอลสูงน่ากลัว จริงหรือ?

โดย อนุรัตน์ โควคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและปฏิบัติการ บริษัทยูเนียนโฟร เซน โปรดักส์ กรุ๊ป จำกัด [22-2-2008]

กระแสการบริโภคอาหารทะเลมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา สหภาพยุโรป หรือญี่ปุ่น และประเทศไทยก็เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เสียด้วย แต่มักได้ยินกันว่า อาหารทะเลมีคอเลสเทอรอลสูง และถ้าเป็นเช่นนั้น ประเทศที่ เจริญแล้วเขาไม่กลัวกันหรือ ลองมาไขปริศนากันดู แล้วท่านอาจพบว่าอาหารทะเล ถือ ว่าเป็นอาหารสุขภาพได้ดีทีเดียว และคนไทยเราอาจพลาดโอกาสเพราะเข้าใจผิดมาโดย ตลอด

มีผู้บริโภคจำนวนมากที่คิดว่าอาหารทะเล โดยเฉพาะเนื้อกุ้งขาวและปลาหมึก ไม่ดี ต่อสุขภาพ เนื่องจากว่ามีคอเลสเทอรอลสูง และก็จริงที่ว่าอาหารทะเลทั้ง 2 ชนิดมี ปริมาณคอเลสเทอรอลสูงกว่าเนื้อหมู และเนื้อไก่ แต่เนื้อปลาซึ่งก็เป็นอาหารทะเล ที่มีให้เลือกบริโภคได้หลากหลายชนิด เช่น เนื้อปลาอินทรี เนื้อปลาเก๋า เนื้อปลา กะพง เป็นต้น ล้วนมีปริมาณคอเลสเทอรอลที่ต่ำกว่า

ดังนั้น การแนะนำให้บริโภคอาหารทะเล คือ ไม่ใช่การบริโภคเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ให้บริโภคสลับกันไปมาตามความเหมาะสมของเวลาและโอกาส ซึ่งถ้าเราบริโภคปลาหมึก กุ้งขาว และปลารวมกันในปริมาณที่เท่าๆ กัน ค่าเฉลี่ยของปริมาณคอเลสเทอรอลจะอยู่ ใกล้เคียงในระดับเดียวกับการบริโภคเนื้อหมูและเนื้อไก่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความ เสี่ยงจากคอเลสเทอรอลยังไม่แตกต่างกันมากนัก แต่สารอาหารที่แตกต่างกันมากในองค์ ประกอบของอาหารทะเลกับเนื้อสัตว์ ก็คือ ไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นไขมันตัวร้ายต่อ ร่างกาย

ในอาหารทะเล ทั้งปลาหมึก กุ้งขาว และเนื้อปลา มีค่าเฉลี่ยของไขมันอิ่มตัวต่ำ ประมาณ 0.17-0.29 กรัม ต่อเนื้อ 100 กรัม ซึ่งเมื่อเทียบกับเนื้อหมู มี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5-2.0 กรัม ต่อเนื้อ 100 กรัม และเนื้อไก่มีค่าเฉลี่ยอยู่ ที่ 0.3-4.4 กรัม ต่อเนื้อ 100 กรัม จะเห็นได้ว่าในเนื้อหมู และเนื้อไก่มี ปริมาณไขมันอิ่มตัวที่สูงกว่าอาหารทะเล 2-15 เท่าเลยทีเดียว

อันตรายที่เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือด เกิดจากองค์ประกอบหลัก 2 ตัว คือคอเล สเทอรอล และไขมันอิ่มตัว โดยคอเลสเทอรอลยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเทอร อลที่มีแอลดีแอล (LDL) เป็นตัวพา เรียกว่าคอเลสเทอรอลชนิดไม่ดี กับคอเลสเทอร อลที่มีเอชดีแอล (HDL) เป็นตัวพา จึงถูกเรียกว่าคอเลสเทอรอลชนิดดี เพราะไม่เป็น อันตรายต่อร่างกาย ซึ่งต่างจากไขมันอิ่มตัว

เพราะไม่ว่าจะเป็นชนิดไหน ล้วนแล้วแต่อันตรายทั้งสิ้น เพราะหากเรารับประทาน ไขมันอิ่มตัวมาก ไขมันในเส้นเลือดก็จะสูงขึ้นทันที และไขมันอิ่มตัวยังเป็น ปัจจัยหลักในอาหารที่เพิ่มระดับคอเลสเทอรอลในเลือดให้สูงขึ้นด้วย ดังนั้น คอเล สเทอรอลจากการบริโภคอาหารทะเลทุกชนิดรวมกันมีค่าเฉลี่ยไม่ต่างจากการบริโภคเนื้อ หมูและเนื้อไก่มาก

แต่ไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นตัวอันตรายต่อการอุดตันของเส้นเลือด ไม่แพ้คอเลสเทอร อลในอาหารทะเลมีต่ำกว่ามาก ซึ่งต่ำกว่าเนื้อหมูและเนื้อไก่หลายเท่าทีเดียว

สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า “อาหารทะเล เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ”

สิ่งที่เห็นได้ชัดอีกกรณีหนึ่งก็คือ การที่ชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคอาหารทะเล ซึ่ง ถือได้ว่ามากที่สุดในโลก มีผลให้ปัจจุบันประชากรญี่ปุ่นมีอายุขัยเฉลี่ยถึง 82 ปี ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในโลก และจากการสำรวจล่าสุดพบว่าชาวญี่ปุ่นที่มีอายุ มากกว่า 65 ปีขึ้นไป มีสูงถึง 22% เทียบกับประเทศแถบยุโรป มีประชากรที่มีอายุ มากกว่า 65 ปี ขึ้นไป 17-19% และท่านเชื่อหรือไม่ว่าประเทศไทยของเราในปัจจุบัน มีประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เพียง 8% เท่านั้น

จึงอยากสนับสนุนให้คนไทยมีอายุยืนยาวเหมือนชาวญี่ปุ่น โดยควรหันมาบริโภคเนื้อ สัตว์ที่ให้โปรตีนเปลี่ยนไปจากอดีตที่บริโภคเพียงเนื้อหมู และเนื้อไก่ เท่านั้น โดยหันมาบริโภคอาหารทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เชื่อว่า อายุขัยเฉลี่ยของ คนไทยจะสูงตามชาวญี่ปุ่นอย่างแน่นอน

“อยากให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงกันทุกคน”

หมายเหตุ **ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอันตรายจากคอเลสเทอรอล และไขมันอิ่มตัวได้ที่ website ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี www.siamhealth.net <http://www.siamhealth.net/> **ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประชากรของญี่ปุ่นได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Demography_of_japan และประชากรของประเทศไทยเรา ได้ที่ https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html ** http://www.nutritiondata.com <http://www.nutritiondata.com/>