2024 ทำไม metronidazole เหมาะก บแบคท เร ยน ไม ใช ออกซ เจน

⚠️เมื่อยา Metronidazole รับประทานคู่กับแอลกอฮอล์ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อแอลกอฮอล์อย่างรุนแรง ทำให้มีอาการร้อนวูบวาบ คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ใจสั่น เหงื่อออก

ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมกับ Metronidazole ต้องห่างกันอย่างน้อย 3 วัน

\>>ก่อนใช้ยา 3 วัน และหลังหยุดยา 3 วัน ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นะคะ⚠️

นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายตัวที่ต้องระวังเมื่อใช้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ยาฆ่าเชื้อรา Ketoconazole ยาแก้ปวดลดไข้ Paracetamol >>มีผลเสียต่อตับ

ยาแก้ปวดลดอักเสบกลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen Diclofenac จะระคายเคืองกระเพาะเพิ่มโอกาสเกิดแผลทางเดินอาหาร เป็นต้น

โอกาสหน้าทีมจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อควรระวังการแอลกอฮอล์ร่วมกับยาอื่นแต่ละตัวอีกทีนะคะ

หรือท่านใดสนใจสอบถามเรื่องใด อยากทราบหรือให้ทำข้อมูลเรื่องใดคอมเม้นแนะนำกันมาได้เลยนะคะ

#ติดเทรนด์ #สุขภาพดีกับlemon8 #ถามตอบปัญหาสุขภาพ #เภสัชทีมมี่ #แอลกอฮอล์ #เมนูเครื่องดื่ม #ยา #ข้อควรระวัง #ยาฆ่าเชื้อ #สุขภาพดีๆที่อยากแบ่งปัน

‘ปวดฟัน’ เป็นอาการเจ็บป่วยที่หลายคนอาจจะมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากคิดว่าเป็นอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถหายไปเองได้ แต่สำหรับหลายคนที่มีอาการปวดฟันเป็นประจำก็อาจจะรู้สึกรำคาญ จึงพยายามหาวิธีการจัดการกับอาการปวดฟันที่เกิดขึ้น โดยวิธียอดนิยมเลยก็คือ การรับประทานยาแก้ปวดฟัน

แต่การรับประทานยาแก้ปวดฟันเหล่านี้มีผลต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่? จะอันตรายหรือเปล่า แล้วถ้าไม่อยากปวดฟันจนต้องกินยาแก้ปวดฟันแบบนี้อีก ควรที่จะดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างไรบ้าง วันนี้ Curaprox มีคำตอบสำหรับทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับยาแก้ปวดฟันและการดูแลสุขภาพเหงือกและฟันในแบบที่ถูกต้องมาฝากกัน ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปดูสิ่งที่ควรรู้พร้อมๆ กันเลย!

ปวดฟัน กินยาแก้ปวดฟันได้ไหม?

คำตอบก็คือ สามารถรับประทานได้ แต่ไม่ควรที่จะซื้อยาแก้ปวดฟันแล้วนำรับประทานเองแบบสุ่มสี่สุ่มห้า ควรที่จะไปยังร้านขายยาที่มีเภสัชกรให้คำแนะนำ เพื่อที่จะได้สอบถามวิธีการบรรเทาอาการปวดด้วยตัวยาที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดการใช้ยาผิดประเภท หรือเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ ดังนั้น หากรู้สึกว่าอาการปวดฟันไม่หนักมาก หรือยังไม่มีเวลาไปพบทันตแพทย์ได้ ก็แนะนำให้เริ่มต้นจากการซื้อยาแก้ปวดฟันจากเภสัชกรก็จะเป็นวิธีการบรรเทาปวดที่ง่ายที่สุด

2024 ทำไม metronidazole เหมาะก บแบคท เร ยน ไม ใช ออกซ เจน

ยาแก้ปวดฟันมีกี่ประเภท?

ยาบรรเทาอาการปวดฟันนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งเภสัชกรจะแนะนำให้รับประทานยาประเภทไหนก็ขึ้นอยู่กับอาการ โดยจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

  • ยาพาราเซตามอล

สำหรับใครที่มีอาการปวดไม่มาก เป็นอาการปวดทั่วไปในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางสามารถกินยาแก้ปวดฟันอย่างพาราเซตามอลได้ โดยในผู้ใหญ่ แนะนำให้กินครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรกินเกิน 8 เม็ดต่อวัน หรือ 4 กรัม/วัน และไม่ควรกินยาแก้ปวดฟันต่อเนื่องเกิน 5 วัน ส่วนในเด็กหรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคตับ อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาตามคำแนะนำของทางเภสัชกร

  • ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์

ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ NSAIDs ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen), พอนสแตน (Ponstan), ไพร็อกซิแคม (Piroxicam) เป็นต้น จะเป็นตัวยาแก้ปวดฟันสำหรับคนที่มีอาการปวดปานกลางไปจนถึงมาก

  • ยาเมโทรนิดาโซล

ยาเมโทรนิดาโซลจะเป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในร่างกาย จึงสามารถใช้รักษาในผู้ที่มีอาการปวดฟันและเหงือกบวมจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน โดยให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันทีเพราะยานี้อาจระคายเคืองต่อทางเดินอาหารได้

  • ยาเบนโซเคน

ยาเบนโซเคน คือ ยาชาเฉพาะที่ ที่ใช้ลดอาการเจ็บปวด ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นได้แบบชั่วคราว ใครที่มีอาการปวดจากแผลในปาก, บรรเทาอาการปวดฟัน หรือปวดเหงือก สามารถใช้ยาแก้ปวดฟันประเภทนี้ในการทาบริเวณที่ปวด เพื่อบรรเทาอาการได้เลย

  • ยาในกลุ่มต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือแก้อักเสบ

ยาในกลุ่มต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือแก้อักเสบจะเป็นยาที่ใช้เมื่อมีอาการปวดฟัน เหงือกบวม และมีหนองร่วมด้วย โดยมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin), เพนนิซิลิน (Penicillin), เตตร้าซัยคลิน (Tetracyclines), เลโวฟล็อกซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น

2024 ทำไม metronidazole เหมาะก บแบคท เร ยน ไม ใช ออกซ เจน

ยาแก้ปวดฟันอันตรายหรือไม่?

หากใช้อย่างถูกต้องภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรก็จะไม่ได้อันตราย ยกเว้นในกรณียาแก้ปวดฟันบางชนิดที่อาจผลไม่พึงประสงค์หลังการใช้งานตามมาได้ ยกตัวอย่างเช่น

ยา NSAIDs ที่เป็นยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งอาจจะทำให้มีอาการข้างเคียงตามมาได้ อย่างอาการระคายกระเพาะอาหารหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้จากการใช้ยาเป็นเวลานานหรือใช้ในปริมาณมาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้อยู่ก่อนแล้ว รวมถึงอาจทำให้เกิดผลเสียต่อไตได้หากใช้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่อาจทำให้ไตเสื่อมจนถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการฟอกไตได้เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดศีรษะ วิงเวียน ความดันโลหิตเพิ่ม เป็นพิษต่อตับ เยื่อจมูกอักเสบ ฯลฯ ได้ด้วย

ดังนั้น หากจะใช้ยาแก้ปวดฟันประเภทใดก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเอาไว้ด้วยจึงจะปลอดภัยสำหรับการใช้งาน

วิธีดูแลสุขภาพในช่องปากโดยไม่ต้องพึ่งพายาแก้ปวดฟัน

ถึงจะมียาแก้ปวดที่ช่วยเรื่องอาการปวดฟันอยู่หลายตัว แต่คงไม่มีใครอยากกินยาแก้ปวดฟันไปตลอด และคงไม่อยากมีอาการปวดฟันอยู่เรื่อยๆ แน่นอน ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้วิธีการปกป้องฟันไม่ให้นำไปสู่โรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดตามมา โดยการทำความสะอาดในช่องปากทั้งบริเวณเหงือกและฟันอย่างถูกวิธี ด้วยอุปกรณ์ทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพและอ่อนโยนสำหรับสุขภาพในช่องปากมากที่สุด ด้วยวิธีการดังนี้

  • ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มของ CURAPROX ที่ใช้เส้นใย CUREN® วัสดุจดสิทธิบัตรเฉพาะของ CURAPROX ที่มีขนนุ่มเป็นพิเศษแต่ยังคงรูปทรงได้ดี นอกจากนี้ยังอมน้ำน้อย บวกกับลักษณะของขนแปรงแบบปลายมน เวลาใช้งานจึงปลอดภัยต่อเหงือกที่อ่อนไหวง่ายอีกด้วย
  • ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ที่ช่วยป้องกันฟันผุ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคนรู้สึกปวดฟันนั่นเอง
  • ใช้แปรงซอกฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารและคราบแบคทีเรียในส่วนของซอกฟันที่แปรงสีฟันทั่วไปเข้าไม่ถึง

นอกจากนี้ ก็ควรที่จะเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบสุขภาพภายในช่องปากอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือน อย่าปล่อยให้ปวดฟันจนทนไม่ไหวแล้วถึงจะมาพบกับทันตแพทย์ เพราะนั่นอาจทำให้สุขภาพภายในช่องปากของคุณย่ำแย่จากโรคร้ายต่างๆ ไปจนถึงทำให้สูญเสียฟันซี่สำคัญไปได้เลยทีเดียว

สรุป

สรุปแล้วเราสามารถใช้ยาแก้ปวดฟันในการบรรเทาอาการปวดได้ แต่จะต้องได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อที่จะสามารถเลือกรับประทานยาแก้ปวดฟันที่ตรงกับอาการของโรค รวมถึงรู้วิธีการรับประทานที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ทางเภสัชกรก็จะบอกถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ยาให้ได้ทราบ ถ้าหากรับประทานยาแก้ปวดไปแล้วพบผลข้างเคียงเหล่านั้นก็จะได้หยุดรับประทานยาและเข้ารักษาตามอาการได้ทันท่วงที