2024 ตรา มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราช มงคล พระนคร

ในปี 2549 ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดย สกอ. ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดีเด่นในด้านการเรียนการสอน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการจัดอันดับดีเด่นในด้านการเกษตร

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ถือกำเนิดขึ้นจากการเรียกร้องของนักเรียนอาชีวศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518 ซึ่งถูกสังคมมองว่าเป็นนักเรียนชั้นสองของสังคม จัดการศึกษาได้เพียงแค่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และการก้าวสู่ระดับปริญญาตรี จะต้องผ่านการสอบแข่งขันกับนักเรียนสายสามัญ ประกอบทั้ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามแห่ง (ลาดกระบัง พระนครเหนือ และ บางมด) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ย้ายสังกัดจาก กระทรวงศึกษาธิการไปอยู่ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นรับเฉพาะนักเรียนสายสามัญ และการจัดการสอบแข่งขันที่ยากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนอาชีวศึกษา อาทิ โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งอยู่ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ตั้งอยู่ที่ ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ วิทยาลัยพณิชยการพระนคร วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ วิทยาลัยช่างกลพระนครเหนือ ฯลฯ รวมตัวกันเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาให้ถึงระดับปริญญา

การจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษา[แก้]

ต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพ เทคโนโลยีและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ในช่วงแรกที่เปิดทำการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มีปัญหาอุปสรรคนานัปการ อาทิ ขาดอาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียนการสอน บุคลากร ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศให้โอนบุคลากร ทรัพย์สิน สถาบันการอาชีวศึกษาที่สังกัด กรมอาชีวศึกษา 30 แห่ง ย้ายมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา โดยเปลี่ยนจากวิทยาลัยมาเป็น "วิทยาเขต" ดังต่อไปนี้

ลำดับ วิทยาลัย/โรงเรียน ลำดับ วิทยาลัย/โรงเรียน 1 เทคนิคกรุงเทพฯ 16 เทคนิคขอนแก่น (เทคนิคไทย-เยอรมัน) 2 พณิชยการพระนคร 17 3 18 เทคนิคตาก 4 19 เกษตรกรรมบางพระ จังหวัดชลบุรี 5 20 เกษตรกรรมนครศรีธรรมราช 6 21 เกษตรกรรมจันทบุรี 7 22 เกษตรกรรมลำปาง 8 บพิตรพิมุข จักรวรรดิ 23 เกษตรกรรมพิษณุโลก 9 จักรพงษภูวนารถ 24 เกษตรกรรมสุรินทร์ 10 อุเทนถวาย (โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย) 25 เกษตรกรรมกาฬสินธุ์ ปัจจุบัน แยกไปควบรวมเป็น มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 11 เพาะช่าง 26 เกษตรกรรมสกลนคร 12 เทคนิคภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ 27 เกษตรกรรมปทุมธานี 13 เทคนิคภาคใต้ จังหวัดสงขลา 28 เกษตรและการประมง จังหวัดตรัง 14 เทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา 29 15 30 เกษตรกรรมน่าน

การจัดตั้ง "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"[แก้]

ในปี พ.ศ. 2531 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษา เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ถือเอาวันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันราชมงคล

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงมีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ทำการเรียนการสอนควบคู่กับทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เรื่อยมา อีกทั้งยังทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้จัดตั้งวิทยาเขต จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ จังหวัดนครพนม จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดปัตตานี แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด

ในปี พ.ศ. 2542 มีการแบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ประกอบด้วย

  • สำนักงานอธิการบดี
  • คณะเกษตรศาสตร์นครศรีธรรมราช
  • คณะเกษตรศาสตร์บางพระ
  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • คณะคหกรรมศาสตร์
  • คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร
  • คณะศิลปกรรม
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง
  • สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร
  • สถาบันวิจัยเคมี
  • สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบ

การยกฐานะ 9 มหาวิทยาลัย[แก้]

สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยบริหารจัดการได้โดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาการศึกษาแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการและยกระดับสถานะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ถึงระดับสูง ปริญญาโท เอก จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่งขึ้น โดยมีการรวมวิทยาเขตที่อยู่ใกล้เคียงกันจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง

จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิม ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่งดังต่อไปนี้

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

  • 2024 ตรา มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราช มงคล พระนคร
    ตราสัญลักษณ์ประติมากรรม

ตราสัญลักษณ์ประติมากรรม[แก้]

ประติมากรรมรูปดอกบัวนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งความคิดความรู้สึกร่วมกันในอันที่จะช่วยกันพัฒนาการศึกษาด้านวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้าสืบไป รูปดอกบัวซ้อนกันขึ้น 3 ชั้น สื่อความหมายเพื่อให้เกิดความรู้สึกโปร่งเบามีกลีบบัว 8 เส้น เส้นทั้ง 8 หมายถึง มรรค 8 ประการ ส่วนยอดแหลมแทรกขึ้นสู่ฟ้า หมายถึง ผู้จะพบความสำเร็จได้จะต้องใช้ความพยายาม อย่างสูงสุด ในการผ่านแต่ละขั้นตอนการเรียนรู้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ได้รับพระราชทานนามสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล อีกทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตอัญเชิญตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 9 พร้อม พระมหาพิชัยมงกุฎ มาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ทั้งนี้คณาจารย์และนักศึกษาต่างสำนักในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างหาที่สุดมิได้

สีประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

แต่เดิม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้กำหนดให้สีเหลืองและสีน้ำเงินเป็นสีประจำสถาบัน

  • สีเหลือง ( ███ ) เป็นสีวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  • สีน้ำเงิน ( ███ ) เป็นสีสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์

สืบเนื่องจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลปรับเปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง มีผลให้เกิดสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งมาตามลำดับ

เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีกี่คณะ

ราชมงคลพระนครจัดการเรียนการสอนออกเป็น 9 คณะ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม Faculty of Industrial Education. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ Faculty of Home Economics Technology. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน Faculty of Mass Communication Technology. คณะบริหารธุรกิจ Faculty of Business Administration.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครมีทั้งหมดกี่ศูนย์

ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยวิทยาเขตเดิม 5 แห่ง มีพื้นที่ไม่ห่างไกลกัน ได้แก่ วิทยาเขตเทเวศร์ วิทยาเขตโชติเวช วิทยาเขตพณิชยการพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ วิทยาเขตพระนครเหนือ โดยมหาวิทยาลัยยังคงยึดมั่นในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และ ...

9ราชมงคล มีอะไรบ้าง

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่ไหนดี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ครองที่1กลุ่มราชมงคล ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตามมาเป็นที่ 2 ของกลุ่มนี้ และอยู่อันดับที่ 22 ของประเทศ ด้านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ที่ 3 ของกลุ่ม ติดอันดับที่ 26 ของประเทศ