188 ม.12 ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม

188 ม.12 ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม

ที่อยู่ : ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาแก เลขที่ 88 หมู่ที่ 7 บ้านสร้างติ่ว ตำบลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม รหัสไปรษณีย์ 48130 ประเทศไทย

Address : Office of the Na Kae Subdistrict Administrative Organization, Number 88, Village No.7, Sangtiw Village, Nakae Sub-district, Nakae District, Nakhonphanom Province, Postal Code 48130, Thailand, Telephone Number +66 4219 0241

พิกัดที่ทำการ/สำนักงาน : 16.929740, 104.516025

หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร สำนักงาน : 0 4219 0241

หมายเลขโทรศัพท์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลนาแก : ไม่มี

หมายเลขโทรศัพท์ เจ็บป่วยฉุกเฉิน (FR) โทรฟรีแต่อย่าโทรเล่น : 1669

หมายเลขโทรศัพท์ ศูนย์ อปพร. หน่วยกู้ชีพ กู้ภัย และหน่วยดับเพลิง : 08 8557 3870

ที่อยู่เว็บ (Web site) : www.nakaenakhon.go.th

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล สำนักงาน (E-mail) : [email protected]

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล งานสารบรรณ (E-mail) : [email protected]

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล ติดต่อสอบถาม (E-mail) : [email protected]

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) : http://www.facebook.com/NakaeSAO

สื่อสังคมออนไลน์ (Social media) : www.youtube.com/channel/UCe7xjPqQuILEC_bDbs8XGKA

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายใน : เครือข่ายไร้สาย จำนวน 6 จุด ของบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด

บทที่ ๒

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์

2.1 ข้อมูลทั่วไป 1.) ที่ตั้ง ตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนาแก ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตั้งอยู่บ้านหนองสังข์ หมู่ที่ 1 ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาแกประมาณ 7 กิโลเมตร มีหมู่บ้านจำนวน 12 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านหนองสังข์ หมู่ที่ 7 บ้านหนองสังข์ หมู่ที่ 2 บ้านหนองสังข์ หมู่ที่ 8 บ้านหนองสังข์ หมู่ที่ 3 บ้านคำเม็ก หมู่ที่ 9 บ้านคำเม็ก หมู่ที่ 4 บ้านหนองห้าง หมู่ที่ 10 บ้านหนองสังข์ หมู่ที่ 5 บ้านหนองกุง หมู่ที่ 11 บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ที่ 6 บ้านส้มป่อย หมู่ที่ 12 บ้านดอนสักทอง

2.) เนื้อที่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 24,807 ไร่ (39.77 ตารางกิโลเมตร) เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 20,891 ไร่

3.) ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มตามริมน้ำก่ำ พื้นที่มีลักษณะลาดเอียงจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้มีลำน้ำก่ำเป็นแนวเขตตำบล พื้นที่โดยทั่วไปเป็นทุ่งนา

4.) เขตการปกครอง ทิศเหนือ ติด ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง ทิศใต้ ติด ตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก ทิศตะวันออก ติด ตำบลนาคู่ อำเภอนาแก ทิศตะวันตก ติด ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง

5.) ครัวเรือนและประชากร - จำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๒,129 ครัวเรือน - จำนวนประชากร 7,330 คน ชาย 3,608 คน หญิง 3,722 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 188 คน / ตร.กม. (ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนอำเภอนาแก ณ วันที่ 20 ม.ค. 59)

6.) แหล่งที่มาของรายได้และอาชีพ - อาชีพหลักของราษฎร คือ การทำนา ผลผลิตเฉลี่ย 440 กก./ไร่ หลังฤดูเก็บเกี่ยว ราษฎรปลูกพืชอื่น ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว ได้แก่ พืชผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้าตัดเย็บเสื้อผ้า ราษฎรมีรายได้ประจำเฉลี่ย/คน/ปี ประมาณ 52,820.- บาท / ปี หรือรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 175,451 บาท/ปี (ข้อมูล จปฐ. ระดับตำบลหนองสังข์ ประจำปี 2559) - อาชีพหลักคือทำนาปี โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 84,896 บาท/ปี - อาชีพรอง โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 42,824 บาท/ปี - แหล่งรายได้อื่นเฉลี่ยต่อครัวเรือน 22,523 บาท/ปี - การปลูก เลี้ยง หาเอง เฉลี่ยต่อครัวเรือน 25,208 บาท/ปี * หมายเหตุ : ข้อมูล จปฐ. ระดับตำบลหนองสังข์ ประจำปี 2559 7.) หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - โรงแรม - แห่ง - ปั๊มน้ำมัน 11 แห่ง (ขนาดกลาง ขนาดเล็กและแบบหยอดเหรียญ ) - โรงงานอุตสาหกรรม 3 แห่ง - โรงสี 43 แห่ง - ร้านค้า 56 แห่ง - ร้านซ่อมยานยนต์และเครื่องจักรกล 6 แห่ง

8.) สภาพทางสังคม 8.1 การศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง - โรงเรียนมัธยมศึกษา - แห่ง - โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง - โรงเรียนขยายโอกาส 1 แห่ง - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 12 แห่ง - ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง - วัด/สำนักสงฆ์ 9 แห่ง 8.2 สาธารณสุข - โรงพยาบาลของรัฐขนาด - เตียง - แห่ง - สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน หรือ รพ.สต. 2 แห่ง - สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง - อัตราการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 8.3 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - สถานีตำรวจ - แห่ง - สถานีดับเพลิง - แห่ง

9.) การบริการพื้นฐาน 9.1 การคมนาคม - ถนนเข้าอำเภอ เป็นถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย - ถนนติดต่อระหว่างหมู่บ้าน เป็นถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย เป็นถนนคอนกรีต จำนวน - สาย เป็นถนนลูกรัง จำนวน 1 สาย 9.2 การโทรคมนาคม - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง - สถานีโทรคมนาคม อื่น ๆ 12 แห่ง (โทรศัพท์สาธารณะ) 9.3 การไฟฟ้า - หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน 12 หมู่บ้าน - จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 1,912 ครัวเรือน - จำนวนประชากรที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน - ครัวเรือน 9.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ , ลำห้วย 10 แห่ง - หนองบึงและอื่น ๆ 40 แห่ง - ฝาย 5 แห่ง 9.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - บ่อน้ำตื้น 2 แห่ง - บ่อโยก , บ่อบาดาล 26 แห่ง - สระน้ำ 26 แห่ง

10.) ข้อมูลอื่น ๆ 10.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ - ทรัพยากรธรรมชาติในตำบลมีป่าสงวน ประมาณ 100 ไร่ 10.2 ศักยภาพของตำบล/มวลชนจัดตั้ง/องค์กรประชาชนในตำบล - สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมี 12 หมู่บ้าน จำนวน 24 คน - คณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับตำบล จำนวน 18 คน - คณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน จำนวน 135 คน - คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 72 คน - คณะกรรมการเยาวชนระดับตำบล จำนวน 12 คน - คณะกรรมการเยาวชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 110 คน - ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) จำนวน 16 คน - ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จำนวน 300 คน - ไทยอาสาป้องกันชาติ จำนวน 245 คน - กองหนุนเพื่อความมั่นคง จำนวน 146 คน - อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 155 คน - อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อปพร. จำนวน 13๔ คน - อาสาสมัครกู้ชีพ จำนวน 42 คน - การรวมกลุ่มของประชาชนทุกประเภท จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ผู้ใช้ปุ๋ย , กลุ่มทอผ้า , กลุ่มเลี้ยงสุกร , กลุ่มเลี้ยงปลา , กลุ่มเพาะเห็ด, กลุ่มผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน 11.) รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปีงบประมาณ 2558 - รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง จำนวน 305,214 บาท - รายได้ที่หน่วยงานอื่นจัดเก็บให้ จำนวน 16,001,004 บาท - เงินอุดหนุนจากรัฐบาล จำนวน 11,798,876 บาท - รายได้เบ็ดเตล็ด จำนวน 308,390 บาท รวมทั้งสิ้น 28,413,524.14 บาท ๑2.) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ รายได้ของประชากร รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล แยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้

ชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ ตำบล รายได้บุคคลเฉลี่ย (บาท/ปี) ชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ ตำบล รายได้บุคคลเฉลี่ย (บาท/ปี) หนองสังข์ ๑ หนองสังข์ 65,833 หนองสังข์ ๘ หนองสังข์ 48,650 หนองสังข์ ๒ หนองสังข์ 43,271 คำเม็ก 9 หนองสังข์ 47,062 คำเม็ก ๓ หนองสังข์ 41,500 หนองสังข์ ๑๐ หนองสังข์ 53,828 หนองห้าง ๔ หนองสังข์ 45,668 หนองไผ่พัฒนา ๑๑ หนองสังข์ 48,175 หนองกุง ๕ หนองสังข์ 54,118 ดอนสักทอง ๑๒ หนองสังข์ 127,699 ส้มป่อย 6 หนองสังข์ 45,961 หนองสังข์ ๗ หนองสังข์ 43,488 รวมรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 52,820 หมายเหตุ : ข้อมูล จปฐ.ปี ๒๕๕9 ณ วันที่ 14 มี.ค. ๕9 ๑๓.) ข้อมูลประชากร ณ วันที่ 20 มกราคม 2559 (สำนักงานทะเบียนอำเภอนาแก) ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน ชาย หญิง รวม หนองสังข์ หมู่ที่ 1 233 444 470 914 หนองสังข์ หมู่ที่ 2 183 361 413 774 คำเม็ก หมู่ที่ 3 259 391 382 773 หนองห้าง หมู่ที่ 4 167 295 312 607 หนองกุง หมู่ที่ 5 134 254 246 500 ส้มป่อย หมู่ที่ 6 187 274 253 527 หนองสังข์ หมู่ที่ 7 157 283 285 568 หนองสังข์ หมู่ที่ 8 163 270 294 564 คำเม็ก หมู่ที่ 9 225 363 384 747 หนองสังข์ หมู่ที่ 10 128 241 243 484 หนองไผ่พัฒนา หมู่ที่ 11 174 265 261 526 ดอนสักททอง หมู่ที่ 12 119 167 179 346 รวม 2,129 3,608 3,722 7,330

๑๔.) ข้อมูลด้านการเมืองการบริหาร ๑.ผู้บริหารท้องถิ่น – นายก อบต. ๑ คน - รองนายก อบต. ๒ คน - เลขานุการนายก อบต. ๑ คน ๒.สมาชิกสภาท้องถิ่น จำนวน ๒๔ คน ๓.หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง จำนวน ๑๒ หน่วย 2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์ ๑.) อัตรากำลังบุคลากร 53 คน -พนักงานส่วนตำบล ๑6 คน -ลูกจ้างประจำ ๑ คน -พนักงานจ้างตามภารกิจ ๑5 คน -พนักงานจ้างทั่วไป ๑ คน -ครูผู้ดูแลเด็ก 12 คน - ผู้ดูแลเด็ก ๘ คน ๒.) การคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล สถิติแสดงฐานะทางการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล เปรียบเทียบย้อนหลัง ๕ ปี

รายการ พ.ศ.๒๕๕4 พ.ศ.๒๕๕5 พ.ศ.๒๕๕6 พ.ศ.๒๕๕7 พ.ศ. 2558 รายรับจริง (บาท) ๒๑,๗๔๕,๕๕๕.๗๕ ๒๓,๖๑๕๒๗๒.๓๙ ๒๘,๘๐๐,๕๘๐.๙๙ 27,372,693.28 28,413,524.14 รายจ่ายจริง (บาท) ๑๘,๖๖๑,๕๑๗.๒๑ ๑๙,๐๙๙,๖๕๖.๗๐ ๒๒,๐๗๔,๙๕๐.๑๗ 25,253,158.71 27,514,423.63

๓.) โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ อบต. หนองสังข์

2.3 จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์ เป็นหน่วยงานที่มีวิสัยทัศน์ “ร่วมใจพัฒนา รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี สามัคคีมีวินัย ใส่ใจการศึกษา” โดยการมุ่งเน้นการพัฒนาจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการบูรณาการร่วมกัน เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญรุ่งเรืองภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์จึงมีแนวทางหรือจุดยืนทางยุทธศาสตร์การพัฒนา อยู่ด้วยกัน ๖ ด้าน ดังนี้ ๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเกษตร เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ๓. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๖. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการบริการ