161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม

สภาพทั่วไป อบต.หนองพันจันทร์

ประวัติความเป็นมา ตำบลหนองพันจันทร์ เดิมเป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลบ้านคา ซึ่งมีพรานล่าสัตว์คนหนึ่ง ชื่อ นายจันทร์ ซึ่งชอบล่าสัตว์ที่หนองน้ำ ในหมู่บ้านแห่งนี้เป็นประจำ ชาวบ้าน จึงตั้งชื่อ ชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านหนองพรานจันทร์" และได้เรียกกันเพี้ยนจนถึงปัจจุบันนี้ว่า "บ้านหนองพันจันทร์" ต่อมาได้แยกตำบล ตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องถิ่น เป็น ตำบลหนองพันจันทร์ และปัจจุบันได้ยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันจันทร์ เป็นหน่วยการบริหารราชการซึ่งจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศ ลงวันที่ 30 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2539 พื้นที่อาณาเขตและความรับผิดชอบในเขตพื้นที่ตำบลหนองพันจันทร์ เดิมมีจำนวน 9 หมู่บ้าน และปัจจุบันได้แยกหมู่บ้าน เป็น 11 หมู่บ้าน

161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม

ที่ตั้ง ตำบลหนองพันจันทร์ เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 3 ตำบล ของอำเภอบ้านคา จังหวัด ราชบุรี ที่ตั้งของตำบลอยู่ทางทิศเหนือ ของอำเภอบ้านคาและทางทิศตะวันตกของจังหวัดราชบุรี โดยอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 99 องศา 26 ลิปดาตะวันออก 11.4 ฟิลิปดาตะวันออก และระหว่างเส้นแวงที่ 13 องศา 28 ลิปดาเหนือ 24.1 ฟิลิปดาเหนือ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 212.00 เมตร

161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม

เนื้อที่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 143 ตารางกิโลเมตร การเดินทางห่างจากที่ทำการอำเภอบ้านคา โดยทางรถยนต์ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดราชบุรีโดยทางรถยนต์ประมาณ 60 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ปกครองใกล้เคียง ดังนี้

161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา

161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม

ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของตำบลหนองพันจันทร์ มีพื้นที่เป็นภูเขาและที่ราบบางส่วนเหมะแก่ การทำพืชไร่ ไม้ผลและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะ การปลูกสับปะรด , การปลูกต้นยางพาลา , การปลูกอ้อย

161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม

จำนวนหมู่บ้าน ตำบลหนองพันจันทร์ มีจำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็ม 11 หมู่บ้าน ดังนี้

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม

161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านทุ่งมะลิคร้อ 161 263 282 545
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านหนองโก 200 297 260 557
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านช่องลาภ 211 371 359 730
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านหนองจอกบน 273 435 428 863
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านหนองจอก 211 393 383 776
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านหนองพันจันทร์ 215 292 292 584
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านหนองธง 253 356 374 730
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านหนองตาเล็ก 75 102 108 228
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านทุ่งหมูปล่อย 100 178 190 368
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านทุ่งตาลับ 93 173 157 330
161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม
บ้านทุ่งมะลิคร้อเหนือ 205 351 358 709

161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม

ตำบลหนองพันจันทร์มีคนไทยอาศัย 4 ชาติพันธุ์ ดังนี้ ชาวไทยจีน ชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาททางเศรษฐกิจต่อเมืองราชบุรีอย่างมาก G. William Skinner ผู้ศึกษาเรื่องราวของชาวจีนในประเทศไทยระบุว่า ใน พ.ศ. 2450 ตรงกับ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่ชาวจีนอพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยมากที่สุด ชาวจีนที่อพยพเข้ามาสามารถแยกออกเป็น 5 กลุ่ม ตามสำเนียงการพูด ได้แก่ ชาวจีนกลุ่มแต้จิ๋ว จีนแคะ ไหหลำ กวางตุ้ง และฮกเกี้ยน ชาวจีนเหล่านี้กระจัดกระจายกันอยู่ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอบ้านโป่ง และบ้านหนองพันจันทร์ หมู่ที่ 6 , บ้านหนองตาเล็ก หมู่ที่ 8 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา ชาวไท – ยวน ชาวยวนมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางแถบอาณาจักรล้านนา ดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้มีพระราชบัญชา ให้กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ กองทัพเมืองเวียงจันทร์พร้อมด้วยกองทัพเมืองล้านนา ยกขึ้นไปตีเมืองเชียงแสนใน พ.ศ. 2347 ขณะนั้นเมืองเชียงแสนถูกพม่ายึดไว้ เมื่อยึดเมืองเชียงแสนได้และไล่ตีทัพพม่าแตกไปแล้วกองทัพจากกรุงเทพฯ ก็ได้รื้อกำแพงเผาบ้านเมืองแล้วกวาดครัวชาวเมืองราว 23,000 คนเศษ อพยพลงมาทางใต้ แบ่งครัวออกเป็น 5 ส่วน ส่วนหนึ่งให้อยู่ที่เชียงใหม่ ส่วนที่สองอยู่ที่เมืองนครลำปาง ส่วนที่สามอยู่ที่เมืองน่าน ส่วนที่สี่อยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ ส่วนสุดท้ายพาลงมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้ ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สระบุรีบ้าง ราชบุรีบ้าง ชาวยวนที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองราชบุรีนั้น พากันตั้งบ้านเรือนบริเวณริมฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง ห่างจากเมืองราชบุรีปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร เรียกว่าบ้านไร่นที ต่อมา มีการขยายครัวเรือนออกไปจากที่เดิมอีกหลายพื้นที่ อาทิ ตำบลคูบัว ตำบลดอนตะโก ตำบลอ่างทอง ตำบลเจดีย์หัก , บ้านทุ่งตาลับ หมู่ที่ 10 , บ้านหนองโก หมู่ที่ 2 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา ชาวไทยลาวครั่ง ชาวลาวครั่งอพยพเข้าสู่ประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏครั้งแรกเมื่อ โดยประมาณพ.ศ. 2127 หลังจากสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ครั้งนั้นกลุ่มลาวครั่งที่ผลัดถิ่นเข้ามาประเทศสยามด้วยที่ว่าการอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ อาหารการกินต่างๆ ที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้จึงมีกลุ่มลาวครั่งเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมากและได้แตกแยกย้ายออกกันไปทั่วๆทุกภูมิภาคของประเทศไทย หลังจากนั้นก็มีการอพยพต่อมาอีกหลายครั้งทั้งในสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวลาวครั่งในจังหวัดราชบุรีส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานบริเวณสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองในเขตอำเภอโพธารามและ บ้านช่องลาภ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา ชาวไทยทรงดำ (ลาวโซ่ง) ชาวลาวโซ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างญวนกับอาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งทำสงครามรุกรานกันอยู่เป็นประจำ ชาวลาวโซ่งจึงต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีภัยสงคราม บางกลุ่มโยกย้ายเข้าไปอยู่ในอาณาจักรหลวงพระบาง ทั้งไปเองโดยสมัครใจและถูกกวาดต้อนไป รวมทั้งการอพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยด้วย ลาวโซ่งที่เข้ามายังประเทศไทยในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ชาวลาวโซ่งที่อพยพเข้ามาใหม่ ตั้งหลักแหล่งที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ภายหลังเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ชาวลาวโซ่งจึงพากันอพยพโยกย้ายไปตั้งหลักแหล่งในพื้นที่ใกล้เคียงและขยายออกไปส่วนหนึ่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งในจังหวัดราชบุรีที่บ้านตลาดควาย อำเภอจอมบึง , บ้านทุ่งมะลิคร้อเหนือ หมู่ที่ 11 ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา

161 บ.หนองข เห น ต.หนองอ ม อ.ท งศร อ ดม