16 9 ม.11 ต.คลอง2 อ.คลองหลวง จ.ปท มธาน

คลองขุดพระราชทาน งามตระการบัวหลวง โชติช่วงด้านการศึกษา แหล่งการค้าอุตสาหกรรม เด่นล้ำถิ่นอาศัย เมืองน้ำใจใฝ่คุณธรรม

16 9 ม.11 ต.คลอง2 อ.คลองหลวง จ.ปท มธาน

แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอคลองหลวง

พิกัด: 14°3′54″N 100°38′46″E / 14.06500°N 100.64611°Eประเทศ

16 9 ม.11 ต.คลอง2 อ.คลองหลวง จ.ปท มธาน
ไทยจังหวัดปทุมธานีพื้นที่ • ทั้งหมด299.152 ตร.กม. (115.503 ตร.ไมล์)ประชากร

(2564)

• ทั้งหมด292,104 คน • ความหนาแน่น976.44 คน/ตร.กม. (2,529.0 คน/ตร.ไมล์)รหัสไปรษณีย์ 12120, 12110 (ตำบลคลองห้า หมู่ที่ 1 เฉพาะเลขที่ 38 และสถานบำบัดหญิงธัญบุรี; ตำบลคลองหก เฉพาะมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี), 13180 (ตำบลคลองหนึ่ง หมู่ที่ 20 เฉพาะเลขที่ 1-99 และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์)รหัสภูมิศาสตร์1302ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอคลองหลวง เลขที่ 33 หมู่ที่ 7 ตำบลคลองสอง อำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

16 9 ม.11 ต.คลอง2 อ.คลองหลวง จ.ปท มธาน
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

คลองหลวง เป็นอำเภอที่สำคัญ​ของจังหวัดปทุมธานี​เนื่องจากในพื้นที่มีสถานที่สำคัญและที่ตั้งองค์กร​สำคัญ​หลายแห่งเป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดของจังหวัดรวมถึงเป็นแหล่งงานของจังหวัดเนื่องจากมีนิคมอุตสาหกรรม​ตั้งอยู่ทำให้ปัจจุบัน​เกิดความหนาแน่น​ในส่วนของบ้านจัดสรรชุมชนและประชากร

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางปะอินและอำเภอวังน้อย (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) มีคลองเชียงรากน้อย ลำราง คลองหนึ่ง และคลองระพีพัฒน์เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองเสือ มีคลองเจ็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอธัญบุรี มีแนวลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานีและอำเภอสามโคก มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ[แก้]

ท้องที่อำเภอคลองหลวง แต่เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เรียกว่า ทุ่งหลวง ต่อมา พ.ศ. 2446 บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ได้ขุดคลองรังสิต และคลองซอยต่าง ๆ ราษฎรจึงพากันอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพในการทำนา ในที่สุดได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2447

  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองหนึ่ง และตำบลคลองสอง
  • วันที่ 4 ธันวาคม 2516 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลคลองหลวง ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลคลองหนึ่ง และตำบลคลองสอง
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2527 ตั้งตำบลคลองเจ็ด แยกออกจากตำบลคลองหก
  • วันที่ 22 กรกฎาคม 2539 จัดตั้งเทศบาลตำบลท่าโขลง โดยแบ่งพื้นที่บางส่วนจากสุขาภิบาลคลองหลวง ในพื้นที่บางส่วนตำบลคลองหนึ่ง และ ตำบลคลองสอง (ฝั่งทางตอนเหนือของ ถนนคลองหลวง)
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคลองหลวง เป็นเทศบาลตำบลคลองหลวง
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2544 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลท่าโขลง เป็น เทศบาลเมืองท่าโขลง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอคลองหลวงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งเป็นหมู่บ้าน รวม 106 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) ชื่อตำบลเดิม สี แผนที่ 1. คลองหนึ่ง Khlong Nueng

20

96,571

ท่าโขลง

16 9 ม.11 ต.คลอง2 อ.คลองหลวง จ.ปท มธาน
2. คลองสอง Khlong Song

15

47,220

บางหวาย 3. คลองสาม Khlong Sam

16

92,139

บึงอ้ายเสียบ 4. คลองสี่ Khlong Si

16

21,881

บึงเขาย้อน 5. คลองห้า Khlong Ha

16

16,049

บึงจระเข้ 6. คลองหก Khlong Hok

14

13,795

บึงตะเคียน 7. คลองเจ็ด Khlong Chet

9

7,624

แยกจากตำบลคลองหก

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอคลองหลวงมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองท่าโขลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหนึ่งและตำบลคลองสอง เฉพาะฟากเหนือของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214
  • เทศบาลเมืองคลองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหนึ่งและตำบลคลองสอง เฉพาะฟากใต้ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสี่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองห้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเจ็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเจ็ดทั้งตำบล

การคมนาคม[แก้]

อำเภอคลองหลวงมีถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ตัดผ่าน อันเป็นทางสำคัญในการเดินทางไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนถนนสายสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9) ถนนลำลูกกา-วังน้อย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352) ถนนคลองหลวง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214) ถนนสายรองที่สำคัญ ได้แก่ ถนนเลียบคลองสาม ถนนเลียบคลองห้า