ระเบ ยบ เก ยวก บ ม.100 2 พรบ.ยาเสพต ด

ระเบ ยบ เก ยวก บ ม.100 2 พรบ.ยาเสพต ด
26เม.ย.2566- นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตนักการเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า . คดียา ผู้ต้องหาหลุด ทนายรวย . คดียาเสพติดศาลลงโทษหนัก แต่ทำให้หลุดได้ ลดได้ . แทนที่จะเดินเข้าคุก กลับเดินขึ้นรถกลับบ้าน แช่อ่างจากุชชี่ เลี้ยงฉลองเฮฮาว่ารอดคุก . ด้วยมาตรา 100/2 “แจ้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ขยายผลจับผู้ค้ารายใหญ่ได้” . ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน . ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ . ทนายดังจึงหากินกับคดียาเสพติด เพราะรู้ช่องทาง ซี้กับนายตำรวจใหญ่ . ไปหาผู้ต้องหาคดียาเสพติดท้องที่ไหนก็ได้ วันๆ นึงมีคนโดนจับเรื่องยาเสพติดเยอะแยะ ก็เอามาโยงว่าได้ข้อมูลมา เพราะลูกความของทนายดัง . ทั้งๆ ที่ไม่ได้ให้ข้อมูลกันเลยแม้แต่น้อย . แต่มีการยัดเงินให้ หรือนายตำรวจใหญ่จี้มา ตำรวจท้องที่ก็ต้องเซ็นรับรองให้ว่าได้รับข้อมูลทำให้จับผู้ต้องหาได้ . เสร็จแล้วทำสำนวนหลอกศาลให้ได้ลดโทษ ได้รอลงอาญา หรือแม้กระทั่งได้ประกันตัวชั่วคราว . ลูกความพอออกมาได้ ก็เผ่นหนีประกัน หรือหากโทษลด ติดน้อย ใส่กำไล EM สบายๆ อยู่บ้าน . ทนายความดังจัดให้ ได้เงินรวยเละมานักต่อนัก . ผมถึงบอกเสมอ “ทนายกับตำรวจ” หากินร่วมกันเหมือน “ผีเน่ากับโลงผุ” . ตำรวจดีๆ ที่จับผู้ต้องหายาเสพติดมาได้ต้องอ้าปากหวอ เพราะเจอลูกเล่นทนายดังกับนายตำรวจใหญ่ . มาตรา 100/2 ต้องระวัง ทนายคดียาเสพติดเอามาใช้ปลอมแปลงทำให้ผู้ต้องหาหลุดกันมาเยอะแล้ว . หากเป็นเรื่องจริงตามกฎหมายก็ดี แต่แต่งเรื่อง ปั้นข้อมูลเท็จ โยงว่าเป็นคนให้ข้อมูลทั้งที่ไม่จริง . แทนที่คนชั่วจะเข้าคุก ดันได้กลับบ้าน ไม่ก็หนีไปต่างประเทศ . อย่างคดีดังดาราสาว “เอมี่” หายวับไปกับตา . ตำรวจน้ำดีให้ข้อมูลมา เพราะกลัวจะเดินพาเหรดเข้าคุกสักวัน . ทั้งตำรวจ ทั้งทนาย เข้าคุกไปคงเจอคนคุกต้อนรับ “คลานบิณฑบาต” . คนคุกอย่างผมรู้ดีเรื่องพรรค์นี้

สาระน่ารู้ใน คดียาเสพติด มาตรา 100/2 คืออะไร

นำเสนอโดย ทนายเมธี ศรีทะ Tel. 062 – 414 9113

คดียาเสพติด ผู้ถูกจับกุมในข้อหายาเสพติดฯ เมื่อถูกนำตัวไปคุมขังภายในคุก(เรือนจำ)แล้ว ก็จะทราบว่า นักโทษในคดียาเสพติดจะถูกจำกัดตัดสิทธิในการที่จะได้รับการลดโทษหลายอย่างไม่เหมือนนักโทษในคดีอื่นๆ เช่น เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในวาระต่างๆ นักโทษคดีอื่นๆก็จะได้รับการลดโทษลงกึ่งหนึ่งเลยทีเดียว เช่น โทษ 30 ปี ก็จะลดลงเหลือ 15 ปี แต่นักโทษคดียาเสพติดหากอยู่ในชั้นดี ดีมาก หรือชั้นเยี่ยม ก็จะได้รับการลดโทษเพียง 1 ใน 6 หรือ 1 ใน 7 หรือ 1 ใน 8 เท่านั้น เช่น โทษ 8 ปี ก็จะได้รับการลดโทษ 1 ปี จาก 8 ปี ก็คงเหลือโทษอีก 7 ปี เป็นต้น ดังนั้น ปัญหาเรื่องโทษในคดียาเสพติดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ จำเลยในคดียาเสพติดแทบทุกคนจะต้องการให้ตนเองได้รับการตัดสินในอัตราโทษสถานเบาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ยังเปิดช่องทางไว้อีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้จำเลยในคดียาเสพติดได้รับโทษ

ในสถานเบาได้อีกเป็นกรณีพิเศษ นั่นคือ ตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดแจ้งเบาะแส หรือให้ข้อมูลสำคัญอันเป็นประโยชน์ในการปราบปราม

ยาเสพติดให้โทษ ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้

คดียาเสพติด จากบทกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจแก่จำเลยในคดียาเสพติด แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้รับผลตามกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น มีเบาะแสยาเสพติดหรือไม่ มีข้อมูลยาเสพติดหรือไม่ แจ้งเบาะแสแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ค้ายาเสพติดรายใหม่ตามเบาะแสนั้นได้หรือไม่

ให้ข้อมูลแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ค้ายาเสพติดรายใหม่ตามที่ให้ข้อมูลนั้นได้หรือไม่ เป็นต้น ซึ่ง

ไม่ง่ายเสียทีเดียวครับ ปัญหาต่างๆเหล่านี้ปรึกษากับทีมทนายความของเราได้นะครับ โทร.062 – 414 9113

ในตอนท้ายนี้ ทางเราได้นำเอาตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับมาตรา 100/2 มานำเสนอให้ท่านได้อ่านด้วยครับ

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการลดโทษกรณีพิเศษ ตาม มาตรา 100/2 แห่ง พรบ.ยาเสพติด ฯ พ.ศ.2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7872/2551 พนักงานอัยการจังหวัดลพบุรี โจทก์ นาย ส. จำเลย พ.ร.บ.ยาเสติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 เหตุที่เจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยและพบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่บริเวณบ้าน ของจำเลยก็เพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับ ส. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 20 เม็ด นาย ส. ให้การว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลย และจำเลยยัง

มีเมทแอมเฟตามีนอยู่ที่บ้าน เจ้าพนักงานตำรวจจึงไปจับจำเลยและพบเมทแอมเฟตามีน เมื่อเมทแอมเฟตามีนอยู่ ภายในบ้านของจำเลย และถูกฝังอยู่ใต้ดินในลักษณะมิดชิด ทั้งพยานโจทก์ก็ยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ขุดดินนำกล่อง บรรจุเมทแอมเฟตามีนขึ้น มา จึงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้ฝังไว้ พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังได้มั่นคงว่า จำเลยกระทำความผิดจริง อย่างไรก็ตาม จำเลยให้การด้วยว่า นำเมทแอมเฟตามีนมาจาก ม. เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจไปจับ ม. และยึดเมทแอมเฟตามีนได้เป็นจำนวนมากถึง 20,200 เม็ด นับได้ว่าจำเลยให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งในการปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ มาตรา 100/2 ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของกฎหมายได้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15,66,100/1,102

ริบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พงศ. 2522 มาตรา 15 วรรค

สาม (2), 66 วรรคท้าย ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 กรณีกักขังแทนค่าปรับมิให้กักขังเกิน 2 ปี ริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง แต่ให้ริบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า วันที่ 1 ธันวาคม 2548 เวลาประมาณ 6 นาฬิกา พันตำรวจโทแทน

บุรีภักดี ดาบตำรวจกรุงไกร ไล้อ่วม เจ้าพนักงานตำรวจภูธรจังหวัดลพบุรี กับพวกร่วมกันจับนาย ส. และยึดเมท

แอมเฟตามีน 20 เม็ด เป็นของกลางได้ที่ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี นาย ส.ให้การว่าเมท

แอมเฟตามีนดังกล่าวรับมาจากจำเลยและจำเลยยังมีเมทแอมเฟตามีน อีก 2,000 เม็ด ซุกซ่อนอยู่ที่บ้าน รอส่งให้

ลูกค้า ซึ่งอยู่จังหวัดอ่างทอง ในเวลา 9 นาฬิกา ดาบตำรวจกรุงไกร สิบตำรวจเอกพิทักษ์ อำไพ และพันตำรวจโท

แทนกันพวกไปที่บ้านจำเลย ขุดพบกล่องใส่โทรศัพท์มือถือที่ฝังอยู่ในดินอยู่ในบริเวณบ้านจำเลย ภายในมีเมท

แอมเฟตามีน 2,000 เม็ด แยกบรรจุในถุงพลาสติกสีฟ้าเข้ม ปากถุงมีที่กดเปิดปิด 10 ถุง ถุงละ 200 เม็ด แต่ละถุง

มีเม็ดสีเขียว 2 เม็ด นอกนั้นเป็นเม็ดสีส้ม ถุงพลาสติกดังกล่าวห่อด้วยกระดาษสาชุบเทียนไข และใส่อยู่ในถุง

พลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ชั้นจับกุมทำบันทึกการจับกุมระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพว่า มีเมทแอมเฟตามีนไว้ใน

ครอบครองเพื่อจำหน่าย จากนั้นพันตำรวจโทแทนกับพวกจึงไปตรวจค้นบ้าน นาย ม.พบเมทแอมเฟตามีนอีก

20,200 เม็ด มีข้อวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า เหตุที่เจ้าพนักงานตำรวจ

ไปจับกุมจำเลยและพบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่บริเวณ บ้านของจำเลยก็เพราะตำรวจจับ นาย ส.ได้พร้อมเมท

แอมเฟาตามีน 20 เม็ด นาย ส. ให้การว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลย และจำเลยยังมีเมทแอมเฟตามีนอยู่

ภายในบริเวณบ้านของจำเลย และถูกฝังอยู่ใต้ดินในลักษณะมิดชิดทั้งพยานโจทก์ปากดาบตำรวจกรุงไกร และ

พันตำรวจโทแทนยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ขุดดินนำกล่องบรรจุเมทแอมเฟตามีนขึ้น มา น่าเชื่อว่าเป็นความจริง เพราะ

หากจำเลยมิได้ขุดดินบริเวณที่ฝังเมทแอมเฟตามีนไว้ เจ้าพนักงานตำรวจคงไม่ทราบ จึงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้ฝังไว้ พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังได้มั่นคงว่า จำเลยกระทำความผิดจริง ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น อย่างไรก็ตามจำเลย