Toyota mighty x plusส เข ยว ม หล งคา

เอาประวัติและรายละเอียดกระบะ toyota มาเล่าให้ฟัง

พอดีเห็นหน้านี้นิ่งๆ เลยเอาอะไรที่เป็นสาระความรู้มาเล้าสู่กันฟัง เป็นประวัติย่อๆของการผลิตรถกระบะของtoyota ข้อก็รวบรวมมาให้อ่านเล่นๆ

1. กำเนิดเริ่มแรกของรถกระบะ TOYOTA ในประเทศไทย เริ่มเมื่อปี พศ.2511(คศ.1968) เปิดตัวครั้งแรกในชื่อของ “ TOYOPET” ด้วยรุ่น RN10 เป็นเครื่องเบ็นซินในรหัส 2R ซึ่งการใช้ชื่อดังกล่าว จะเป็นกันอยู่แค่ระยะเวลาเดียวโดยในปีต่อๆมาได้ เปลี่ยนเป็นชื่อ TOYOTA มาจนถึงปัจจุบัน

เครื่องยนต์ “ 2 R ” : เบ็นซิน 4 สูบเรียง โอเวอร์เฮดวาล์ว ปริมาตรกระบอกสูบ : 1,490 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 78 X 78 มม. แรงม้าสูงสุด : 66 kw ที่ 5,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 124 nm

2. ต่อมาอีก 4ปี พศ.2515 (คศ.1972) รุ่นที่สองก็เกิดขึ้นด้วยตัวถังแบบใหม่หมด พร้อมได้เปลี่ยนการเรียกขานกันใหม่ เป็น TOYOTA “Hilux” แบ่งเป็นรุ่น ช่วงสั้น RN20 และ ช่วงยาว RN25 เครื่องยนต์เบ็นซิน ในรหัส 12R

เครื่องยนต์ “ 12 R ” : เบ็นซิน 4 สูบเรียง โอเวอร์เฮดวาล์ว ปริมาตรกระบอกสูบ : 1,587 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 80.5 X 78 มม. แรงม้าสูงสุด : 66 kw ที่ 5,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 133 nm

3. พศ.2522 (คศ.1979) เป็นการเปลี่ยนรูปโฉมของตัวรถ เริ่มมีทรวดทรงที่เป็นไปตามหลักอากาศพลศาสตร์ ด้วยลักษณะของความโค้งมนทาง ด้านหน้ารถ และใช้ไฟหน้าในรูปแบบ ไฟกลม เรียกว่ารุ่น Hilux Super Star รหัส RN30 ซึ่งจะมีแบบช่วงยาว ให้เลือกหาในรุ่น RN40 เครื่องยนต์ยังเป็น 12R เหมือนเดิม ผู้ใช้ทั่วไปจะนิยมเรียกว่า “รุ่นม้ากระโดด"

4. พศ.2533 (คศ.1980) เป็นการเปิดศักราชการใช้ เครื่องยนต์ดีเซล ในรถกระบะ Toyota ครั้งแรก โดยติดตั้งบนบอดี้ Hilux Super Star เครื่องยนต์รหัส L 2,200 ซีซี วงการสมัยเรียกว่า “รุ่นกรุง ศรีวิไล” และเปลี่ยนโคมไฟหน้าแบบสี่เหลี่ยมมน นอกจากนั้นยังมีรุ่น 4 WD ซึ่งถือได้ว่าเป็นรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อที่ถูกส่งเข้ามาอย่างเป็นทางการรุ่นแรก โดยเป็นการสั่งเข้ามาใช้ของหน่วยงานราชการได้แก่ กรมป่าไม้, กรมแผนที่ทหาร อธิบายรูป 1. รุ่นกรุง ศรีวิไล 2. รุ่น 4 WD 3. ดับเบิ้ลแค็ป 4x4

เครื่องยนต์ “ L” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHV ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,188 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 90 X 86 มม. อัตราส่วนกำลังอัด : 21.5 : 1 แรงม้าสูงสุด : 55 kw ที่ 4,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 130 nm ที่ 2,400 รอบ/นาที

5. จากนั้น พศ.2527 (คศ.1984) ได้มีการเปลี่ยนตัวถังใช้ชื่อรุ่นว่า Hercules เครื่องยนต์ เบ็นซินรุ่น 1Y, ดีเซลเป็น 2L ที่ย้ายแค็มชาฟท์ ขึ้นมาอยู่ในลักษณะ OHC แล้วเพิ่มความจุขึ้นไปในระดับ 2,500 ซีซี โดยมีแรงม้าสูงสุดเท่าเดิมแต่มากันครบตั้งแต่ในรอบเครื่องที่ต่ำกว่า และได้แรงบิดที่มีขึ้นในรอบเครื่องที่น้อยกว่าเช่นกัน

เครื่องยนต์ “ 2L” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,446 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 92 X 92 มม. อัตราส่วนกำลังอัด : 22.3 : 1 แรงม้าสูงสุด : 55 kw ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 156 nm ที่ 2,200 รอบ/นาที

6. ในช่วงเวลาของปี พศ.2530 (คศ.1987) ได้มีการขยับขยายจัดตั้งโรงงานประกอบและผลิตเครื่องยนต์โดยการร่วมทุนกับ บริษัท สยามซีเมนต์ จำกัด และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ในประเทศไทยด้วยการก่อตั้ง บริษัท สยามโตโยต้าแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ขึ้นพร้อมกันนั้นก็ได้ทำการเปิดตัวรุ่น Hilux Hero ซึ่งจะยังคงใช้โครงสร้างหัวเก๋งทรงเดิมแต่เปลี่ยนส่วนประกอบอื่นๆ เช่น หน้ากระจัง ให้เป็นทรงใหม่พร้อมกับเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซล มาเป็นรุ่นที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เป็น 2 L II ที่มีเรี่ยวแรงเพิ่มขึ้นมาอีก 2kw แต่แรงบิด สูงสุดจะใช้รอบเครื่องสูงขึ้นไปอีกนิดเป็นที่ 2,400 รอบ แล้วเปลี่ยนเครื่องเบ็นซินให้เป็นรหัส 2Y ที่มีความจุมากขึ้นเป็นระดับ 1,800 ซีซี. นอกจากนั้นก็ยังจะเริ่มมีรุ่นดับเบิ้ลแค็บ ออกมาให้สั่งทำผ่านทางผู้แทนจำหน่ายในฐานะ รถกระบะดัดแปลง โดยในช่วงท้ายๆ ของรุ่นยังได้นำรูปแบบ X-tra Cab ออกมาต่อสู้กับคู่แข่งเป็นครั้งแรก แต่ด้วยเหตุที่รูปแบบมาตรฐานที่มีใช้อยู่กับรุ่นที่ขายใน อเมริกา จะมีส่วนของแค็บที่ยืนออกไปทางด้านหลังแค่กระติ๊ดเดียวจึงมีการออกแบบดัด แปลงเฉพาะแค่รุ่นในประเทศไทยให้ใหญ่ และยาวขึ้นแถมยังมีส่วนของ หลังคา เป็นแบบ Hi-roof น้อยๆ อีกด้วย อธิบายรูป 1. LN 60 2. หน้ากระจังแบบ 4 ช่อง เครื่อง 2 LII 3. LN 65 ดับเบิ้ลแค็ป 4x4 4. Hero แบบ X-tra Cab หลังคาแบบ Hi-roof 5. Hero ดับเบิ้ลแค็ป

เครื่องยนต์ “ 2L II ” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,446 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 92 X 92 มม. อัตราส่วนกำลังอัด : 22.3 : 1 แรงม้าสูงสุด : 57 kw ที่ 5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 157 nm ที่ 2,400 รอบ/นาที

7. ครั้นถึง พศ.2533 ก็เริ่มเข้าสู่ยุคของ “Mighty X” โดยจะยังคงนำเอา “เครื่องดีเซล” ในรหัส ”2 L II” มาใช้เป็นหลัก พร้อมกันนั้นก็เปลี่ยน เครื่องเบ็นซิน ให้โตขึ้นไปเป็นรหัส 3Y ที่มีความจุอยู่ในพิกัด 2,000 ซีซี. สำหรับรุ่น Mighty X ดังกล่าวนี้นับได้ว่าเป็นรุ่นที่มีช่วงเวลาในการวางจำหน่ายยืนยาวมากที่สุด โดยตลอดระยะเวลาที่เสนอตัวอยู่ในตลาดก็ยังจะได้รับการปรับโฉมใหม่ออกมาเป็น ช่วงๆ หลายครั้งด้วยกัน ซึ่งจะเริ่มจากโฉมแรกที่เป็นแบบ ไฟเว้าลึก และใช้ไฟเลี้ยวตรงมุมหน้ารถเป็นแบบเอียงลงโดยที่ตรง ขอบวงบังโคลนล้อจะเป็นแบบเรียบๆ ไม่มีโป่ง ซึ่งก็ยังจะมีให้เลือกซื้อทั้ง เบ็นซิน-ดีเซล พร้อมกับมี รุ่น 4X4 ประกอบจากนอกที่เรารู้จักกันในนามของ “LN106” แบบหัวเก๋งตอนเดียว ซึ่งใช้ช่วงล่างแบบ หน้าแหนบ-หลังแหนบ และวางไว้ด้วยเครื่องดีเซลในรหัส 3 L เข้ามาให้เลือกสั่งกันได้อีกด้วย ถัดจากนั้นมาอีกสี่ปีซึ่งก็คือในปี คศ.1994 มีการปรับโฉมครั้งแรกด้วยการเปลี่ยนเฉพาะกระบะให้กลายไปเป็นแบบขอบเรียบไม่ มีร่องสะเอว และมี โป่งล้อ ด้านหลังเป็นขอบบวม ออกมา เหมือนรุ่น 4x4 โดยที่ยังจะมีรายละเอียดทางด้านหน้าเป็นทรงเดิม แถมด้วยการนำรุ่น SR5 ในรูปแบบ X-Tra Cab หัวเก๋งตอนครึ่งและใช้ช่วงล่างแบบ หน้าทอร์ชั่น-หลังแหนบ พร้อมเครื่องตัวเก่งในรหัส 3L ที่ผลิตจาก ออสเตรเลียเข้ามาจำหน่ายโดยในส่วนของรุ่น เครื่องยนต์เบ็นซิน ก็จะถูกถอดออกจากสายพานการผลิตนับแต่ในช่วงนี้ แถมด้วยการเปิดตัว Taw ซึ่งเป็นโรงงานในเครือ เพื่อทำหน้าที่ในการประกอบ รถกระบะดัดแปลง อันได้แก่รุ่น ดับเบิ้ลแค็บ ออกมาอย่างเป็นทางการ และอีกแค่เพียงสองปีต่อมา หรือใน คศ.1996 ก็ปรับโฉมอีกครั้งด้วยรุ่น ไฟเต็ม ที่เปลี่ยนด้านหน้าให้เหมือนรุ่น 4x4 ที่มีไฟเลี้ยวทรงเฉียงขึ้นพร้อมด้วย โป่งล้อหน้า แล้วเพิ่มความสะดวกสบายในการขับขี่ ให้ด้วยเกียร์อัตโนมัติ ที่ควบคู่มากับเครื่อง 2 L II โดยในช่วงปลายปีเดียวกันก็เพิ่มทางเลือกมาให้ด้วยรุ่น Mighty X-Plus เปลี่ยนแปลงพลังเป็นเครื่อง 3 L ในระดับ 2,800 ซีซี . อธิบายรูป 1.ไฟหน้าเว้า ชอบบังโคลนเรียบ 2. LN 160 ขับ 4 หน้าและหลังแหนบ 3. กระบะขอบเรียบ โป่งหลังบวม 4. ไฟเต็มพร้อมโป่งหน้า 5. ดับเบิ้ลแค็ป โดย TAW 6. SR5 (LN 111) นำเข้าจาก ออสเตรเลีย 7. Mighty X-plus วาง 3 L มีไฟเบรคบนหลังคา

เครื่องยนต์ “ 3 L” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,779 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 96 X 96 มม. อัตราส่วนกำลังอัด : 22.2 : 1 แรงม้าสูงสุด : 64 kw ที่ 3,800 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 178 nm ที่ 2,400 รอบ/นาที

8. ในช่วงปลายปี พศ.2541 หรือ คศ.1998 Toyota Hilux ก็ได้มีการเปลี่ยนโครงสร้างของตัวรถด้วย โฉมที่เรียกชื่อเพิ่มต่อจากเดิมว่า Tiger โดยการแนะนำตัวในครั้งแรกจะมีมากันแบบครบเครื่องทั้งแบบ 4x2 และ 4x4 พร้อมด้วยแหล่งพลังในรูปแบบ ดีเซลล้วนๆ สองเครื่องนั่นคือ 2L II ตัวดั้งเดิม และ 5L ตัวใหม่ในระดับ 3,000 ซีซี แต่ปรากฎว่าพลังที่ได้จากเครื่องใหม่ที่มีขนาดความจุเพิ่มขึ้นมาอีกมิใช่ น้อยนั้นกลับไม่ค่อยเป็นที่น่าประทับใจนักทั้งในเรื่องของความแรงและความ ประหยัด ในอีกสองปีต่อมาคือ พศ.2543 (คศ.2000) ที่มีการบังคับใช้ข้อกำหนดในเรื่องของ ค่าไอเสีย มิให้พ่นมลภาวะออกมาในระดับที่เทียบได้กับ ยูโร II เพื่อเป็นการรองรับมาตรการคุมเข้มดังกล่าวจึงได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมด้วย การนำชุดควบคุมอิเล็คทรอนิคส์มาติดตั้งเข้าไป ระบบปั๊มหัวฉีดจนกลายมาเป็น 5L-E ที่ให้พลกำลังเพิ่มขึ้นมาอีกนิด พร้อมกันนั้นก็นำความแรงในพิกัด 3,000 ซีซี-เทอร์โบ ที่ได้มาจาก 1 KZ-TE เพิ่มเข้ามาในแถวและจัดให้เป็นรุ่นสุดยอด ซึ่งปรากฎว่าสถานการณ์โดยรวมก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก ในปี พศ.2544 (คศ.2001) นี้จึงต้องนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในระดับ Direc Injection-DOHC-16 Value-Turbo-Common rail ได้เข้ามาเสริมขบวนดังที่เป็นเครื่องยนต์ล่าสุดอยู่ในปัจจุบัน ในรหัส2KD-FTV เครื่องยนต์ของ D4D (Diesel 4 Stroke Direct Injection) ปี 2003 และปี 2004 นั้น มีด้วยกัน 3 แบบ กำลังสูงสุด 2.5 เก่า (75 kw/3,800 RPM) แรงบิดสูงสุด 200 NM/1,400-3,200 RPM กำลังสูงสุด 2.5 ใหม่ (75 kw/3,600 RPM) แรงบิดสูงสุด 200 NM/1,400-3,200 RPM กำลังสูงสุด 2.5 IC (80 kw/3,800 RPM) แรงบิดสูงสุด 320 NM/2,000 RPM นอกจากนั้นในเรื่องรูปทรงของตัวรถก็ยังได้นำรูปแบบ ดับเบิ้ลแค็บ ให้เข้าไปอยู่ในกลุ่มที่ออกมาจากสายพานการผลิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลิตผลจากโรงงานโดยตรงไม่ใช่ รถกระบะดัดแปลง กันอีกแล้ว…. อธิบายรูป 1. โฉมแรก Tiger 2. ขับ 4 ประกอบในประเทศรุ่นแรก 3. Tiger ดับเบิ้ลแค็ป 4. Tiger รุ่นล่าสุด

เครื่องยนต์ “ 5 L” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,986 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 99.5 X 96 มม. แรงม้าสูงสุด : 66 kw ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 192 nm ที่ 2,400 รอบ/นาที ------- เครื่องยนต์ “ 5 LE ” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,986 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 99.5 X 96 มม. แรงม้าสูงสุด : 71 kw ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 200 nm ที่ 2,600 รอบ/นาที ------ เครื่องยนต์ “ 1 KZ ” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC 8 วาล์ว เทอร์โบ ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,982 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 96 X 103 มม. แรงม้าสูงสุด : 85 kw ที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 315 nm ที่ 2,000 รอบ/นาที

9.กลางเดือนสิงหาคม 2547 ทางtoyotaออกแบบรถกระบะรุ่นใหม่“Toyota Hilux Vigo” มีแบ่งรุ่นย่อย 20 รุ่น ประกอบด้วยรุ่นซิงเกิลแค็บ, เอ็กซ์ตร้าแค็บ และดับเบิลแค็บ เครื่องยนต์ดีเซล 2 ขนาด คือ 2.5 ลิตร (รหัส 2KD-FTV) และ 3.0 ลิตร (รหัส 1KD-FTV) ส่วนเครื่องยนต์เบนซิน VVT-i ขนาด 2.7 ลิตร จะเปิดตัวเดือนพฤศจิกายน เครื่องยนต์ที่เป็นตัวเด่นและชูโรงให้Vigoเป็นกระบะที่แรงที่สุดในขณะนั้นคือ1KD-FTV โดยจะประจำการอยู่ใน หลายๆรุ่นตั้งแต่หัวเดียว ขับสอง ขับ4 ขับสองยกสูง คำว่ากระบะบ้าพลังก็เกิดขึ้นในช่วงนี้เอง รหัส 2KD-FTV มี2รุ่นย่อย 2KD-FTV และ 2KD-FTV-IC(2.5อินเตอร์) โดยช่วงแรกๆของการทำตลาด รุ่น2.5อินเตอร์จะประจำอยู่ในรุ่น4x4เท่านั้น ต่อมาระยะหลังได้ประจำในทุกๆรุ่นที่จำหน่าย ต่อมาเพิ่มระบบเทอร์โบแปลผลันในเครื่อง2KD-FTV โดยเพิ่มแรงม้าเป็น144แรงม้า แรงบิดเท่ากับตัว3.0แต่รอบแคบกว่า รหัส 2TR-FE 2.7vvtiมีบรรจุอยู่ในรุ่นขับ4 เกียรAuto แต่การตอบรับจากตลาดน้อยมากจึงเลิกผลิตไปในปี2551 แต่ในปัจจุบันได้นำเครื่อง2.7vvtiกลับมาบรรจุในบอดี้ขับ2 เกียรธรรดา ขวัญใจชาวสาระเหยที่ไม่ต้องการลงเครื่องเชียงกง รหัส 1GR-FE V6 ความจุ4000cc 250แรงม้า ผลิตในประเทศ ไม่มีขายในบ้านเรา ส่งออกไปตะวันออกกลาง ออสเตรีย ฯลฯ

อันนี้เป็นพวกรหัส ขนาดเฟืองท้าย รหัสเครื่องยนต์ เต็ด ฯ ม้ากระโดด (สั้น) xN 30 (2WD) xN 36 (4WD) (ยาว) xN 40 (2WD) xN 46 (4WD) L=2200 cc ใน LN 12R=1600 cc ใน RN

HERO (สั้น) xN 50-51 (2WD) xN 60-61 (4WD) (ยาว) xN 55-56 (2WD) xN 65/67 (4WD) 2L=2446 cc ใน LN 2LT=2446 cc+Turbo (Surf LN60 คานแข็ง และ Surf LN 61 ปีกนกเท่านั้น) 3Y= 2000 cc ใน YN

Mighty X (สั้น) xN 80 (2WD) xN 100,130,185 (4WD) (ยาว) xN 85,90 (2WD) xN 105,106,107,109,111 (4WD) 2LII-turbo/2LII-turboEFI=2446 cc + Turbo 3L = 2800 cc 3YE= 2000 cc 4Y = 2200 cc 1KZ = 3000 cc +Turbo (ในKZN130/185)

ขนาดเฟืองท้าย 8/39--> RN 36,46, YN 60,65,67,100,106 9/41--> LN 36,46,65,100,106 YN 60,61,130 10/43--> LN 60,61,130

- รถบรรทุกความยาวคานแข็งเท่ากันหมดทั้ง3รุ่น Surfคานหลังกว้างกว่า - รถบรรทุกไม่มีLtd. มีLtd.ให้ในSurf(ผ้า) - ผ้าอยู่ใน4WDหนอนและTRD.อยู่ในรถยนต์นั้ง

ขอขอบคุณข้อมูลจากที่นี้ด้วยครับ //www.modkanfire.com/html/index.php?topic=755.0 x77เพราะผมก็ไม่เคยได้รู้ และ คงมีหลายท่านเลยที่เหมือนผม ขอบคุณครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน