กฎหมายตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน 2565

ในโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นหรือไม่ที่ต้องตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน การตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในโรงงาน คืออะไร

Show

เนื่องจาก พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554  ได้กำหนดไว้ใน หมวด 1 มาตรา  6  ให้นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบการและลูกจ้างให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต จิตใจ และสุขภาพอนามัย

ซึ่งสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่นี้หมายถึง ความร้อน แสงสว่าง เสียง และ สารเคมีอันตราย ในพื้นที่การปฏิบัติงาน 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ 

  1. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 
  2. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ 
  3. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องมาตรฐานความเข้มแสงสว่าง 
  4. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน
  5. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงภายในสภานประกอบกิจการ

ซึ่ง หมวด 1 ความร้อน ของ กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559   

ข้อ 2 ได้กำหนดให้นายจ้างควบคุมและรักษาระดับความร้อนภายในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างทำงานอยู่ ไม่ให้เกินมาตรฐาน โดยได้แบ่งตามลักษณะงาน เป็นงานเบา งานปานกลาง และงานหนัก ซึ่งระดับความร้อนก็มีค่าที่แตกต่างกันออกไป 

  1. งานเบา ระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ 34 องศาเซลเซียส
  2. งานปานกลาง  ระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ 32 องศาเซลเซียส
  3. งานหนัก  ระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ 30 องศาเซลเซียส

กฎหมายตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน 2565

เครดิตภาพ: procaresafety.nl

อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (Wet Bulb Globe Temperature : WBGT) เป็นดัชนีวัดระดับความร้อน

(มีหน่วยวัดเป็นองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮท์) ซึ่งได้นำปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความร้อนที่สะสมในร่างกายมาพิจารณา ได้แก่ ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกายขณะทำงาน และความร้อนจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน ซึ่งความร้อนจากสิ่งแวดล้อมจะถูกถ่ายเทมายังร่างกายได้ 3 วิธี คือ 1.การนำความร้อน 2.การพาความร้อน และ 3.การแผ่รังสีความร้อน

“ งานเบา”  หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงน้อยหรือใช้กำลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายไม่เกิน 200 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง เช่น งานเขียนหนังสือ งานพิมพ์ดีด เป็นต้น

“ งานปานกลาง” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงปานกลาง หรือใช้กำลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิน  200 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง ถึง 350 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง เช่น งานยก ลาก ดัน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของด้วยแรงปานกลาง เป็นต้น

“ งานหนัก” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงมากหรือใช้กำลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิน 350 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง เช่น งานเลื่อยไม้ งานเจาะไม้เนื้อแข็ง งานเคลื่อนย้ายของหนักขึ้นที่สูงหรือที่ลาดชัน เป็นต้น

ก่อนที่เราจะกำหนดลักษณะงาน ว่างานที่ทำในแต่ละกระบวนการ เป็นงานเบา งานปานกลาง หรืองานหนัก ก็ต้องมาจากการคำนวณภาระงาน ซึ่งรายละเอียดในการคำนวณภาระงานนั้น สามารถดูได้จาก “แนวทางการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานและการดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554”  ซึ่งได้ยกตัวอย่างการคำนวณเอาไว้ให้ได้ศึกษา

และยังได้กำหนด  ข้อ 3 ในกรณีที่ภายในสถานประกอบกิจการมีแหล่งความร้อนที่อาจเป็นอันตราย ให้นายจ้างติดป้ายหรือประกาศเตือนอันตรายในบริเวณดังกล่าว โดยให้ลูกจ้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจน 

กฎหมายตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน 2565

และในกรณีระดับความร้อนเกินมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสภาวะการทำงานทางด้านวิศวกรรมถ้าไม่สามารถดำเนินการได้ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการควบคุมหรือลดภาระงานและต้องให้ลูกจ้างสวมใส่ PPE ตามที่กำหนดไว้ตลอดเวลาที่ทำงาน

หมวด 2 แสงสว่าง ข้อ 4 นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด ซึ่งมาตรฐานแสงสว่าง สามารถดูได้จาก “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องมาตรฐานความเข้มแสงสว่าง”  

ข้อ 5 นายจ้างต้องใช้หรือจัดให้มีฉาก แผ่นฟิล์มกรองแสง หรือมาตรการอื่นที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้แสงตรงหรือแสงสะท้อนจากแหล่งกำเนิดแสงหรือดวงอาทิตย์ที่มีแสงจ้าส่องเข้านัยน์ตาลูกจ้างโดยตรงในขณะทำงาน ในกรณีไม่อาจป้องกันได้ ต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่ PPE 

ข้อ 6 ในกรณีที่ลูกจ้างต้องทำงานในสถานที่มืด ทึบ และคับแคบ เช่น ในถ้ำ อุโมงค์ ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ส่องสว่างที่เหมาะสม อาจเป็นชนิดที่ติดอยู่ในพื้นที่ทำงานหรือติดตัวบุคคลได้ หากไม่สามารถทำได้ ต้องให้ลูกจ้างสวม PPE ตลอดเวลาที่ทำงาน

ซึ่งวิธีการตรวจวัดแสงสว่างในแต่ละลักษณะงาน และพื้นที่การทำงานนั้น ก็แตกต่างกันออกไป โดยสามารถดูวิธีการตรวจวัดแสงสว่างได้จาก “แนวทางการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานและการดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554” ซึ่งได้กำหนดวิธีการตรวจวัดแสงสว่างไว้อย่างละเอียด 

ซึ่งจากการทำงานที่ผ่านมา ค่าแสงสว่างมักจะไม่ผ่านตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจุดที่ไม่ผ่านตามมาตรฐานกำหนด ต้องดำเนินการแก้ไข เช่น เปลี่ยนหลอดไฟ เพิ่มโคมไฟ หรือเปลี่ยนพื้นที่การทำงานใหม่ เป็นต้น

หมวด 3 เสียง  ข้อ 7 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงมิให้ลูกจ้างได้รับสัมผัสเสียงในบริเวณสถานประกอบกิจการที่มีระดับเสียงสูงสุด ของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก เกิน  140 เดซิเบลเอ หรือได้รับสัมผัสเสียงที่มีระดับเสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ เกินกว่า 115 เดซิเบลเอ

ข้อ 8 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวัน (Time Weighted Average TWA) มิให้เกินมาตรฐานกำหนด 

มาตรฐานกำหนด สามารถดูได้จาก  “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน”

ข้อ 9 ภายในสถานประกอบกิจการที่สภาวะการทำงานมีระดับเสียงเกินมาตรฐานกำหนด ในข้อ 7 และ 8 นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดทำงานจนกว่าจะได้รับการปรับปรุงหรือแก้ไขให้ระดับเสียงเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด และให้นายจ้างดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขทางด้านวิศวกรรม โดยการควบคุมที่ต้นกำเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียง และจัดให้มีการปิดประกาศและเอกสารหรือหลักฐานในการดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขดังกล่าวไว้ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้

ในกรณีไม่สามารถดำเนินการได้ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างสวมใส่ PPE ตามที่กำหนด ตลอดเวลาที่ทำงาน

ข้อ 10 ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานในข้อ 7 หรือ  8 นายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน

ข้อ 11 ในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ โดยสามารถดูได้จาก “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ” 

นอกจากรายละเอียดการตรวจวัด ข้างต้นแล้ว “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์

วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ”    ได้กำหนดให้นายจ้างตรวจวัดและวิเคระห์สภาวะการทำงาน เกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ภายในสถานประกอบกิจการในสภาวะที่เป็นจริงของสภาพการทำงาน ดังตารางต่อไปนี้

รายการตรวจวัดความถี่ในการตรวจวัดความร้อน1 ครั้ง/ปี (ระยะเวลาที่ลูกจ้างอาจได้รับอันตรายจากความร้อนสูงสุด)แสงสว่าง1 ครั้ง/ปีเสียง1 ครั้ง/ปีสารเคมี2 ครั้ง/ปี

และกรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการผลิต วิธีการทำงาน หรือ

ดำเนินการใดๆ ที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ให้นายจ้างดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์ สภาวะการทำงานบริเวณพื้นที่หรือบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบ ภายใน 90 วัน นับจากวันที่มีการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลง

จากข้อกำหนดของกฎหมายเรื่องการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อนแสงสว่างหรือเสียงในสถานประกอบกิจการนั้นมีข้อกำหนดไว้มากมายหากอยากศึกษาอย่างละเอียดสามารถดูได้จากกฎหมายที่กล่าวไว้แล้วในข้างต้น 

และในการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้นปัจจุบันมีหน่วยงานภายนอกที่รับดำเนินการมากมายแต่การที่จะเลือกให้มาดำเนินการนั้นต้องตรวจสอบการขึ้นทะเบียนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดได้รับการสอบเทียบถูกต้องตามมาตรฐานกำหนดและการจัดทำรายงานในการตรวจวัดรวมถึงการเซ็นต์รับรองรายงานนั้นด้วยโดยสามารถตรวจสอบคุณสมบัติผู้ตรวจวัดได้จาก  “หมวด 5 คุณสมบัติผู้ตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน”  ของประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับ  ระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ

หลังจากที่ดำเนินการตรวจวัดและวิเคระห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อนแสงสว่างและเสียงนายจ้างต้องจัดทำรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับความร้อนแสงสว่างและเสียงตามที่กำหนดไว้ใน“ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงภายในสภานประกอบกิจการ”  โดยรายงานดังกล่าว ต้องส่งสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พื้นที่นั้นๆ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการตรวจวัด และเก็บรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน ไว้ ณ สถานประกอบกิจการ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้

ส่วนใหญ่การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานนั้น จป วิชาชีพ จะเป็นผู้คอบดูแลโดยอาจจะประสานงานกับทาง จป หัวหน้างานที่ทำการชึ้นทะเบียนหรือผ่านการฝึกอบรม จป หัวหน้างานมาแล้วตามกฎหมายเพื่อช่วยกันสรุปรายการที่จะนำมาตรวจวัดสภาพแวดล้อมก็ทำได้เช่นกัน

ขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงานมีอะไรบ้าง

การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานนั้นมีขั้นตอนดังนี้

1.สำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานแต่ละพื้นที่ที่มีกิจกรรมการทำงานและปัจจัยเสี่ยง เช่น แสง เสียง ความร้อน สารเคมีอันตราย (Walk Though Survey)

  • สภาพแวดล้อมทางเคมี
  • สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
  • สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ
  • สภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์ (Ergonomics)

กำหนดพื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานและพารามิเตอร์แต่ละประเภท จำนวนตัวอย่าแบบงพื้นที่ (Area Simple) และตัวอย่างที่ตัวบุคคล (Personal Simple) ที่จะดำเนินการตรวจวัดและประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดตามกฎหมาย, มาตรฐานของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น OSHA, NIOSH, ACGIH

2. การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Working Environmental)

ดำเนินงานตามหลักวิชาการด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม โดยการสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานเบื้องต้นเพื่อค้นหาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กำหนดให้มีการตรวจวัด, วิเคราะห์และประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายหรือมาตรฐานตามข้อแนะนำของสถาบันหรือองค์กรที่เป็นที่ยอมรับ จัดทำรายงานให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะเพื่อการควบคุมป้องกันต่อไป

ความร้อน (Heat Stress) ระดับความร้อน WBGT

  • ตรวจวัดด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีคุณลักษณะตามมาตรฐาน ISO 7243 หรือเทียบเท่า เช่น DIM EN 27243
  • ตรวจวัดระดับความร้อน WBGT เฉลี่ยปริมาณที่ผู้ปฏิบัติงานทำงานแห่งเดียวหรือหลายบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมต่างกัน โดยทำการตรวจช่วงระยะเวลา 2 ชั่วโมงที่ร้อนที่สุด
  • ประเมินภาระงานในช่วง 2 ชั่วโมงที่ร้อนที่สุด เป็นงานเบา, งานปานกลาง หรืองานหนัก ตามแนวทางของ OSHA Technical Manual หรือเทียบเท่า เช่น ISO 8996
  • ประเมินผลการตรวจวัดโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความร้อน และลักษณะความหนัก-เบาของงานกับเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด, มาตรฐานของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

แสงสว่าง (Light)

  • ตรวจวัดค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่างบริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ ทุก ๆ 2×2 ตารางเมตร
  • ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างบริเวณที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน
  • การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างในสถานประกอบกิจการ ใช้เครื่องวัดแสง (Light Meter) มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน CIE 1931 (International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE 10527 หรือเทียบเท่า เช่น JIS
  • เปรียบเทียบผลการตรวจวัดกับเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด, มาตรฐานของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน 2565

เสียง (Noise)

  • ตรวจวัดเพื่อประเมินระดับเสียงที่อาจมีผลกระทบต่อระบบการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อให้ทราบประเภทและลักษณะของเสียงใช้ประโยชน์ในการควบคุมป้องกันเสียง เครื่องตรวจวัดระดับเสียงมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 651 Type 2 หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S1.4, BS EN 60651, AS/NZS 1259.1 เป็นต้น หรือดีกว่า เช่น IEC 60804, IEC 61672, BS EN 60804, AS/NZS 1259.2 เป็นต้น
  • ระดับเสียงแบบพื้นที่ (Leq 5 นาที) ตรวจวัดเฉพาะเสียงดังต่อเนื่อง (Continuous Noise) แบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่อง มีระดับเสียงเปลี่ยนแปลงไม่เกิน3 dB(A)
  • ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA: Time WeightedAverage) ตรวจวัดระดับเสียงประเภทเสียงดังต่อเนื่องแบบไม่คงที่ (Non-steady Stat Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่อง ที่มีระดับเสียงเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 10 dB(A) และเสียงดังเป็นช่วง ๆ (Intermittent Noise)
  • ปริมาณเสียงสะสมที่ตัวบุคคล (Noise Dose) เพื่อประเมินเป็นระดับเสียงที่สัมผัสเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA: Time Weighted Average) เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter) มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐานIEC 61252 หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S1.25 หรือดีกว่า
  • เสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impulse or Impact Noise) เพื่อประเมิน  การสัมผัสกับระดับเสียงกระทบหรือกระแทกที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นและอันตรายจะเกิดขึ้นกับระบบการได้ยิน ขึ้นกับระดับเสียงและจำนวนครั้งที่สัมผัส ตรวจวัดด้วยเครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทก (Impulse or Impact Noise Meter) มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 60804 หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S1.43 หรือดีกว่า
  • ระดับเสียงแบบพื้นที่แยกความถี่ (Sound Pressure Level and Octave band Analyzer) เพื่อประเมินลักษณะของเสียงใช้เป็นข้อมูลในการจัดการควบคุม ป้องกันผลกระทบจากเสียง เครื่องมือวิเคราะห์ความถี่เสียง
  • แผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) โดยใช้ Software ที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทราบการกระจายตัวของเสียงในรูปแบบของแผนที่เสียงในแต่ละพื้นที่มีเสียงอยู่ระดับใดในภาพรวม เพื่อใช้ในการจัดการควบคุม ป้องกันผลกระทบจากเสียงและจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน

กฎหมายตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน 2565

สารเคมี (Chemical Agents)

1) การตรวจวัดเพื่อประเมินปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงานในลักษณะของ

  • เส้นใย เช่น ฝุ่นฝ้าย, ฝุ่นแอสเบสตอส
  • ฝุ่นรวม (Total Dust)
  • ฝุ่นขนาดเล็กหายใจเข้าถึงระบบทางเดินหายใจส่วนปลาย (Respirable Dust)
  • ฝุ่นสารพิษ (Toxic Dust) ของสารโลหะหนักต่าง ๆ
  • ก๊าซ (Gas) ที่เป็นของไหลในสภาพวะปกติ
  • ละออง(Mist) เป็นอนุภาคของของเหลวที่เกิดจากการสเปรย์, การชุบ
  • ไอระเหย (Vapour) ที่เกิดจากสารทำละลาย
  • ฟูม (Fume) ที่เกิดจากอนุภาคของของแข็ง

2) การตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายทางห้องปฏิบัติการใช้วิธีการเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐานสากล หรือเป็นที่ยอมรับโดยอ้างอิงวิธีการจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ได้แก่

  • NIOSH: The National Institute for Occupational Safety and Health
  • OSHA: Occupational Safety and Health Administration
  • ACGIH: American Conference of Governmental Industrial hygienists
  • JISHA: Japan Industrial Safety and Health Association
  • ISO: International Organization for Standardization
  • สมอ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • ASTM: American Society for Testing and Material

3) เครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจวัดและวิเคราะห์สารเคมีอันตรายทางห้องปฏิบัติการ ได้รับการสอบเทียบความถูกต้อง (Calibration)การตรวจสอบและบำรุงรักษาตามบริการของหน่วยงานมาตรฐานอ้างอิง หรือตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด

4) ผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สารเคมีอันตรายประเมินผลโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2560 หรือเกณฑ์มาตฐาน

  • PEL: Permissible Exposure Limit ตามข้อกำหนดของ OSHA
  • REL: Recommended Exposure Limit ตามข้อเสนอแนะของ NIOSH
  • TLV: Threshold Limit Values ตามข้อเสนอแนะของ ACGIH
3. การตรวจวัดด้านชีวภาพ

การตรวจวิเคราะห์ปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศ

  • ปริมาณแบคทีเรียรวม
  • ปริมาณเชื้อรารวม

– เก็บตัวอย่างอากาศด้วยวิธีการใช้เครื่องดูดอากาศให้จุลินทรีย์ในอากาศตกกระทบบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ และนำจานอากาศเลี้ยงเชื้อไปบ่มในตู้อบให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตและทำการวิเคราะห์จำนวนต่อไป

– การประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ตามข้อเสนอแนะของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

4. การตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality)

คุณภาพอากาศภายในอาคารที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบกับสุขภาพอนามัย หรือเกิดอาการเจ็บป่วยของผู้ใช้อาคารจำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ

พารามิเตอร์ที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศในอาคาร ได้แก่

  • อุณหภูมิ
  • ความชื่นสัมพัทธ์
  • ความเร็วลม
  • ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
  • ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
  • ปริมาณความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)
  • ปริมาณความเข้มข้นของไอระเหยอินทรีย์ทั้งหมด (TVOC)
  • ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5), 10 ไมครอน (PM10)
  • ปริมาณแบคทีเรียรวมในอากาศ
  • ปริมาณเชื้อรารวมในอากาศ

พารามิเตอร์พิเศษเฉพาะพื้นที่ ได้แก่

  • -ปริมาณความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2)
  • -ปริมาณความเข้มข้นของโอโซน (O3)
  • -ปริมาณไรฝุ่น (สารก่อภูมิแพ้)
  • -อื่น ๆ

การประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามข้อเสนอแนะของสถาบัน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ASHRAE, SINGAPORE STANDARD Code of practice for indoor air quality for air-conditioned buildings เป็นต้น

5. การประเมินสภาพการทำงานด้านการยศาสตร์ (Ergonomics)

เพื่อประเมินสภาพการทำงานในลักษณะงานต่าง ๆ ทั้งงานในสำนักงาน,ในกระบวนการผลิตหรือกระบวนการทำงานที่มีท่าทางการทำงาน, การใช้ส่วนของร่างกายทำงานไม่เหมาะสมและต่อเนื่องที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ทำงาน เช่น เกิดการเมื่อยตัว, บาดเจ็บกล้ามเนื้อ, เกิดภาระบาดเจ็บสะสมจากการทำงาน เป็นต้น

รูปแบบการประเมินพิจารณาให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน ได้แก่

  • แบบประเมินท่าทางร่างกายส่วนบน RULA (Rapid Upper Limb Assessment)
  • แบบประเมินท่าทางร่างกายทั้งลำตัว REBA (Rapid Entire Body Assessment)
  • แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ (A proposed RULA for computer users)
  • แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธีการ ROSA (Rapid Offices Strain Assessment)

ผลการประเมินเพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุม ป้องกัน และปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน

6. การตรวจวัดและประเมินสภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศ (Inspection&Evaluation in Confine Spaces)

เพื่อตรวจวัดและประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศและลักษณะการทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน โดยการตรวจประเมิน

  • การเตรียมความพร้อมของการทำงานในที่อับอากาศ
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • การตรวจวัดปริมาณออกซิเจน
  • การตรวจวัด % การระเบิด (% LEL)
  • การตรวจวัด % ก๊าซที่ทำให้เกิดการระเบิด

การประเมินผลเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547, มาตรฐานตามข้อกำหนด  ของ OSHA หรือตามข้อเสนอแนะของ NIOSH

7. การตรวจวัดและประเมินระบบระบายอากาศและห้องสะอาด

เพื่อประเมินระบบระบายอากาศในพื้นที่การทำงานจัดไว้ให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพเพียงพอแต่ละลักษณะงานอย่างไร โดยการตรวจวัดและประเมิน

1) ระบบระบายอากาศ (Ventilation)

  • การระบายอากาศโดยทั่วไปในพื้นที่การทำงาน, ตรวจวัดความเร็วลมเฉลี่ย, ทิศทางการไหลของอากาศ
  • ตรวจวัดและประเมินประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศเฉพาะแห่ง (Local Exhaust Ventilation), ความเร็วลมหน้า Hood, ใน Duct, อัตราการไหลของอากาศ
  • ตรวจวัดและประเมินอัตราการไหลเวียนอากาศ (Air Change per Hour) ในพื้นที่การทำงาน
  • ตรวจวัดและประเมินประสิทธิภาพของตู้ดูดควัน (Fume Hood)  ในห้องปฏิบัติการ

การประเมินผลเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, มาตรฐานตามข้อเสนอแนะของ ASHRAE, มาตรฐานตามข้อกำหนดของ OSHA และสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

2) ห้องสะอาด (Clean Room)

  • ตรวจวัดและประเมินระดับความสะอาดของห้องสะอาด (Clean Room)
  • ตรวจสอบการไหลเวียนของลมสะอาด (Airflow Tests)
  • ตรวจสอบอนุภาคฝุ่นและมวลสารภายในห้องสะอาด (Cleanliness Classification Tests)
  • ตรวจสอบแรงดันอากาศภายในห้องสะอาด (Room Pressurization Test)
  • ตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นภายในห้องสะอาด (Temperature and Humidity Test)

มาตรฐานที่ใช้ประเมินคุณลักษณะของห้องสะอาด

  • มาตรฐาน Federal Standard 209E เช่น Class 100, 1000, 10,000, 100,000
  • มาตรฐาน ISO Standard 14644-1 เช่น ISO Class 5, 6, 7, 8
8. การตรวจวัดและประเมินคุณภาพบรรยากาศทั่วไป

การตรวจวัดและประเมินคุณภาพบรรยากาศทั่วไปเพื่อการเฝ้าระวัง

  • เสียงรบกวน ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง(Leq 24 Hour) และระดับเสียงสูงสุด (Lmax)
  • ระดับเสียงของยานพาหนะ
  • ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP), ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10),ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
  • ปริมาณสารมลพิษทางอากาศ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์(CS2), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO),ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)(0.12 ppm)(0.30 mg/m3), ก๊าซโอโซน (O3)
  • ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds)ในบรรยากาศโดยทั่วไปที่เป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) และสารที่มิได้เป็นสารก่อมะเร็ง (non-carcinogen) ตามประกาศกรมควงคุมมลพิษ เช่น  อะซิทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde), อะครอลีน(Acrolein), อะคริโลไนไตรล์(Acrylonitrile), เบนซีน (Benzene), เบนซิลคลอไรด์ (Benzyl Chloride), คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (Carbon Tetrachloride),คลอโรฟอร์ม (Chloroform)และอื่น ๆ
9. การตรวจวัดและประเมินปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน

สารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน โดยออกจากปล่อง หรือช่อง หรือท่อระบายอากาศของโรงงานไม่ว่าจะผ่านระบบบำบัดหรือไม่ก็ตาม

การตรวจวัดใช้วิธีการที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(United States Environmental Protection Agency: US-EPA)กำหนดไว้ หรือใช้วิธีตามมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ

ปริมาณสารเจือปนที่การตรวจวัดและประเมิน ได้แก่

  • ฝุ่นละออง(Total Suspended Particulate: TSP)
  • โลหะ พลวง (Antimony), สารหนู (Arsenic), ทองแดง (Copper), ตะกั่ว (Lead), ปรอท (Mercury)
  • ก๊าซ คลอรีน (Chlorine), ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chloride), กรดกำมะถัน (Sulfuric acid), คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide), ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of Nitrogen)
  • สารระเหยอินทรีย์ ไซลีน (Xylene), ครีซอล (Cresol), และอื่น ๆ
  • การตรวจค่าความทึบแสง (Opacity)
10. การตรวจสอบคุณภาพน้ำ

ตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภค ตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น

  • ตามผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค
  • น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
  • น้ำบาดาลที่ใช้บริโภค
  • ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาดื่มได้สของกรมอนามัย

การตรวจสอบประกอบด้วยคุณลักษณะและดัชนีคุณภาพน้ำที่กำหนดแตกต่างกันไป เช่น

  • ทางกายภาพ 

สี (Color), รส (Taste), กลิ่น (Odour),ความขุ่น (Turbidity), ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

  • ทางเคมี 

ปริมาณสารทั้งหมด (Total solids), คราบกระด้างทั้งหมด (Total dissolved solids),, CI, F,

โลหะ Fe, Mn, Cu, Zn, Ca, Mg, Hg

สารเป็นพิษ Hg, Pb, As, Se, Cr, CN, Cd, Ba

  • ทางจุลชีววิทยา Standard Plate Count, MPN, E.coli, Coliform Bacteria, Disease-causing Bacteria

ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น

  • ตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
  • มาตรฐานน้ำทิ้งลงบ่อน้ำบาดาล
  • มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด
  • มาตรฐานน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร
  • มาตรฐานควบคุมการระเหยน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
  • มาตรฐานน้ำทิ้งจากแหล่งเฉพาะอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

การตรวจสอบประกอบด้วยคุณลักษณะและดัชนีคุณภาพน้ำที่กำหนดแตกต่างกันไปแต่ละมาตรฐาน เช่น

ทางกายภาพ:    

ความเป็นกรด-ด่าง (pH), อุณหภูมิ (Temperature),สี (Color)

ทางเคมี:

ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids), ของแข็งแขวงลอยทั้งหมด(Total Suspended Solids),ปริมาณตะกอนหนัก (Settleable Solids), BOD (Biochemical Oxygen Demand), COD (Chemical Oxygen Demand), ซัลไฟด์ (Sulfide), ไซยาไนด์ (Cyanide: HCN), น้ำมันและไขมัน (Fat, Oil and Grease), TKN, โลหะหนัก: Zn, Cr, As, Cu, Hg, Cd, Ba, Se, Pb, Ni, Mn